หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เรือฟริเกตลำใหม่ ของ ทร.พม่า

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 25/10/2012 17:27:24

ทร.พม่า ได้มีการปล่อยเรือฟริเกตลำใหม่ลงน้ำ ซึ่งเป็นการต่อเรือภายในประเทศ หมายเลขเรือ คือ F-12 ซึ่งน่าจะใช้ชื่อเรือว่า Kyansittha

 





ความคิดเห็นที่ 1


เรือลำนี้ได้พัฒนามาจากเรือ F-11 Aung Zeya โดยเพิ่มการสร้างตัวเรือ ให้ลดการสะท้อนเรดาร์ หรือให้ตรวจจับได้ยากขึ้น...

 

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 07:55:12


ความคิดเห็นที่ 2


ระบบอาวุธ ยังคงเป็นแบบเดียวกับเรือ F-11 Aung Zeya

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 07:56:18


ความคิดเห็นที่ 3


โดยน่าจะมีการเพิ่มขนาดเรือ และสร้างตัวเรือ ด้วยรูปแบบ สเตลล์ หรือ ลดการสะท้อนเรดาห์ เพิ่มขึ้น...

ดูจากแบบ เรือหมายเลข F-12 น่าจะเพิ่มโรงเก็บ เอลิคอปเตอร์ ด้วย...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 07:59:13


ความคิดเห็นที่ 4


โดยการออกแบบ ลานจอด ฮ. ได้ ออกแบบไว้ สำหรับรองรับการปฏิบัติการของ Mi-35 ด้วย

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 08:06:56


ความคิดเห็นที่ 5


ผมไม่ได้ดูถุกนะครับ แต่ยังสงสัยว่าด้วยเทคโนโลยีที่พม่ามีในปัจจุบัน สามารถต่อเรือฟรีเกตได้เอง แม้ว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากจีน ผมคิดว่าเรือลำนี้อาจเป็นได้แค่เรือOPV นะครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 22/10/2012 09:35:37


ความคิดเห็นที่ 6


[นอกประเด็น] ไม่เกี่ยวกับสมรรถณะของเรือ แต่ผมสนใจเรื่องชื่อของเรือหนะครับ ในเมื่อลำที่แล้วคือพระเจ้าอลองพญา (พระนามเดิม ออง เซยะ) แล้วลำนี้หละ คือพระองค์ใด

ค้นแล้ว ก็ได้ความดังนี้ครับ
ภาพ : http://www.myanmar-image.com

พระเจ้าจานสิตา (อังกฤษ: Kyanzittha, พม่า: ကျန်စစ်သား; พ.ศ. 1627 - พ.ศ. 1656) เป็นกษัตริย์พม่าในราชวงศ์พุกาม ได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์อีกพระองค์ที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พม่าไม่แพ้พระเจ้าอโนรธา แห่งราชวงศ์พุกามเช่นเดียวกัน เนื่องด้วยพระองค์ทรงเป็นธรรมกษัตริย์ที่ทำนุบำรุงพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด อีกทั้งพระองค์ยังได้รับการยอมรับจากทั้งชาวพม่าและชาวมอญ

พระเจ้าจานสิตา มิได้มีเชื้อสายกษัตริย์ แต่เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งในพระเจ้าอโนรธา เมื่อพระเจ้าซอลู พระโอรสของพระเจ้าอโนรธาขึ้นครองราชย์ พระองค์มิได้ประกอบภารกิจอันใดด้วยความสามารถพระองค์เอง แต่จะทรงใช้และปรึกษาเหล่าเสนา อำมาตย์อยู่บ่อย ๆ ในปลายรัชสมัยพระเจ้าซอลู งะรมัน เจ้าเมืองพะโค ซึ่งเป็นชาวมอญได้ก่อการกบฏขึ้น จับตัวพระเจ้าซอลูเป็นตัวประกัน จานสิตาซึ่งครองเมืองถิเลง อยู่ ไม่สามารถยกทัพกลับมาช่วยพระองค์ได้ทัน งะรมันได้สังหารพระเจ้าซอลูที่เมืองพวาสอ และพยายามเข้ายึดครองอาณาจักรพุกามแต่จานสิตาได้เข้าขัดขวาง เหล่าเสนาอำมาตย์ และพระชินอรหันต์ ที่ปรึกษาองค์สำคัญของพระเจ้าอโนรธา จึงได้อัญเชิญจานสิตาขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์

เมื่อขึ้นครองราชย์ พระเจ้าจานสิถาทรงมีพระนามว่า ศรีตรีภูวทิตย์ธรรมราชา ในภาษาสันสกฤต ในจารึกพม่าเรียกพระองค์ว่า "ถิลุงมัง" (T’iluin Man) แปลว่า "กษัตริย์แห่งถิเลง" แต่เนื่องจากพระเจ้าจานสิตามิได้มีเชื้อสายของกษัตริย์ พระองค์จึงอ้างสิทธิธรรมในการครองราชสมบัติว่าพระองค์ทรงเป็นภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์ และเป็นองค์อวตารของพระวิษณุของชาวพยูอีกด้วย สมัยนี้จึงถือเป็นรัชสมัยที่ศิลปศาสตร์แบบมอญเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในพุกาม

ในรัชสมัยของพระเจ้าจานสิตา ทรงติดต่อกับต่างประเทศเป็นอย่างมาก ในปี พ.ศ. 1638 พระองค์ทรงส่งคณะทูตและช่างฝีมือเดินทางไปพุทธคยา เพื่อไปซ่อมแซมวัดศรีพัชรัส หรือ วัดวัสชราสนะ ซึ่งวัดแห่งนี้เป็นสถานที่พระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้ที่ ใต้ต้นมหาโพธิ์ พระเจ้าจานสิตาทรงซื้อที่ดินกัลปนาให้แก่วัด ขุดอ่างเก็บน้ำ สร้างเขื่อน เพื่อประโยชน์ในการปลูกข้าว ถวายตะเกียงเทียนจำนวนมาก และทรงกัลปนาข้าทาสให้กับวัดอีกด้วย ซึ่งได้ปรากฏความตอนนี้และปรากฏนามของพระองค์ในจารึกซ่อมแซ่มพุทธคยาด้วย

นอกจากนี้แล้วมีพระสงฆ์นิกายมหายานจากทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดียหลบหนีอิทธิพลของ ศาสนาอิสลาม เพื่อมาขอความช่วยเหลือจากพระองค์ พระองค์ทรงให้ความช่วยเหลือพระสงฆ์เหล่านี้ โดยการสร้างวัดเล็ก ๆ ถวายเป็นที่พำนัก อยู่ระหว่างเจดีย์ชเวสิกองกับหมู่บ้านมินดาตุ

ด้านความสัมพันธ์กับจีน ในปี พ.ศ. 1649 ทรงส่งคณะทูตไปยังเมืองไคเฟิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของจีนสมัยราชวงศ์ซ้อง ฮ่องเต้ราชวงศ์ซ้องทรงให้การต้อนรับคณะทูตจากอาณาจักรพุกามเทียบเท่ากับทูตของอาณาจักรเจนละ

ในรัชสมัยนี้จึงถือได้ว่าประสบความสำเร็จที่ทำให้พุกามเป็นที่รู้จักของดินแดนต่าง ๆ

พระเจ้าจานสิตาถึงแก่สวรรคตในปี พ.ศ. 1656 ผู้ที่ได้ครองราชย์เป็นลำดับถัดไป คือ พระเจ้าอลองสิธู ซึ่งมีฐานะเป็นพระราชนัดดา (หลานตา) ของพระองค์

ในกลางปี พ.ศ. 2551 ทางพม่าได้มีการสร้างภาพยนตร์ชีวประวัติของพระองค์ ในชื่อเรื่อง "Kyansit Min" นับเป็นภาพยนตร์ในแบบสากลเรื่องแรกของพม่าอีกด้วย

ที่มา : http://th.wikipedia.org

โดยคุณ Naris เมื่อวันที่ 22/10/2012 09:55:29


ความคิดเห็นที่ 7


จากการต่อในประเทศ ผมว่าใช้อุปกรณ์หลายๆอย่าง ไม่ใช่ Military  standards นะครับ

แต่ถ้าดูจากขนาดและระบบอาวุธ เรือชั้น Aung Zeya มันก็คือเรือฟริเกตนี่แหล่ะ

ถ้าเทียบกับเรืออื่นๆในกองเรือพม่าแล้ว ลำนี้นับว่าออกแบบได้ดีมาก น่าจะเป็นเรือที่ทันสมัยที่สุดของพม่าด้วยซ้ำไป

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 22/10/2012 09:55:38


ความคิดเห็นที่ 8


OPV กับ ฟริเกต ก็เป็นแบบเรือเดียวกันครับ...

เพียงแต่ OPV จะลดการติดตั้งระบบอาวุธที่ไม่จำเป็นในการตรวจการณ์ออกไป...และ ไม่มีความจำเป็นต้องออกแบบตัวเรือ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงระบบอาวุธต่าง ๆ ในอนาคต...จึงจะช่วยลดงบประมาณการสร้างเรือออกไปครับ...และช่วยในเรื่อง ค่าใช้จ่ายในปฏิบัติงานต่ำ...แต่ สมรรถนะเรือในแง่ความคงทนทะเล ความเร็ว จะเหมือน ๆ กันครับ...เพราะทำมาเพื่อปฏิบัติการในทะเลน้ำลึก หรือ ไกลฝั่งออกไป...

เรือชั้นนี้ ทร.พม่า ก็คงจัดสร้างในฐานะ เรือฟริเกต...ครับ...ซึ่งข้อด้อย ของเรือชั้นนี้ ก็น่าจะเป็นในส่วนของ ระบบอำนวยการรบ...และระบบต่อต้านเรือดำน้ำ...หรือ ดูแล้ว ยังคงน่าจะเป็นเรือรบ แบบ 2 มิติ อยู่...คือ ต่อต้ายภัยผิวน้ำ กับ ทางอากาศ...ส่วนสงครามใต้น้ำ คงยังเป็น RBU อยู่...และระบบตรวจจับเรือดำน้ำ อาจจะเป็นลักษณะ ส่งสัญญาณเสียงใต้น้ำ สะท้อนวัตถุ...แบบ ร.ล.ปิ่นเกล้า...

ซึ่ง เมื่อ พม่า มีการเปิดประเทศมากขึ้น..คงต้องจับตาในเรือลำต่อ ๆ ไป ในเรื่องระบบตรวจจับต่าง ๆ และ ระบบอำนวยการรบ รวมถึงระบบโซนาร์ ที่น่าจะมีความทันสมัยมากขึ้น...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 10:07:13


ความคิดเห็นที่ 9


ผมว่าถ้าพม่าได้ต่อเรืออย่างต่อเนื่องแม้จะไม่ได้ตามมาตราฐานบ้างได้บ้างอีกไม่นานพม่าจะมีขีดความสามารถกว่าเราแน่ๆและพม่าได้รับการยอมรับจากตะวันตกแล้วอุปกรณ์ที่ทันสมัยสามารถนำมาติดตั้งในเรือพม่าให้ทันสมัยกว่าเราในอีกไม่อีกปีนี้แน่ๆครับ

โดยคุณ js เมื่อวันที่ 22/10/2012 10:07:32


ความคิดเห็นที่ 10


ฮ่อ รีบพิมพ์รวบรัดไปหน่อยครับ ผมหมายถึงคุณภาพเรือนะครับ เพราะเรือฟรีเกตใช้เทคโนดลยีสูงในการต่อ พม่าน่าจะต่อได้แค่มาตรฐานเรือพานิชย์ เลยมองว่าเรือลำนี้เป็นเรือฟรีเกต แค่ชื่อที่พม่าเรียกนะครับ แต่ถ้าพม่ายังสามารถต่อเรือได้เรื่อยๆน่าจะพัฒนาเทคโนโลยีจนสามารถทำได้แต่น่าจะเกิน10ปีตรับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 22/10/2012 10:29:33


ความคิดเห็นที่ 11


ผมไม่ค่อยแปลกใจกับการพัฒนาของกองทัพเรือประเทศนี้เท่าไหร่

 

เพราะเคยอ่านบทความที่มืออาชีพตัวจริงได้วิเคราะห์ไว้ ซึ่งอยู่ในบอร์ดนี้แหละ และแนวโน้มก็เป็นจริงดังนั้น

 

http://www.thaifighterclub.org/article_detail.php?articleid=34&articleTopic=%BA%B7%A4%C7%D2%C1%E0%A1%D5%E8%C2%C7%A1%D1%BA%20%B7%C3.%E4%B7%C2%20%E2%B4%C2%BE%C5%E0%C3%D7%CD%E0%CD%A1%20%CA%B6%D4%C3.....

 

 

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 22/10/2012 10:33:41


ความคิดเห็นที่ 12


จากบทความของ พล.ร.อ.สถิรพันธ์ ที่ท่านน่าคิด อ้างถึง...

พอจะเห็นแนวทางการพัฒนา เรือรบของ ทร.พม่า ตามภาพประกอบครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 11:43:26


ความคิดเห็นที่ 13


       นายแน่หวะ... อย่างนี้ สบาย... ต่อใช้เอง แรงงาน ราคา ถูก แถม ขยัน พูด กันรู้เรื่อง... ไม่นาน เก่ง ไม่ต่าง เกาหลี แน่นอน... ไม่บ้า แต ของนอก.. เอาให้ติด

ลูกยาวได้ ติดเรด้า ได้...แจ่ม ครับ..

 

อาวุธ ก็จาก พี มังกร นั้นแหละ... แค่นี้ ก็แจ่มใน น่านน้ำ อันดามันแล้ว... บ่อต้องเกรงใจใผ อีก....อิอิอิอิ ....

 

โดยคุณ nidoil เมื่อวันที่ 22/10/2012 12:00:07


ความคิดเห็นที่ 14


ดูแล้วขอเราน่าจะล้าหลังพม่าอยู่ 5-10 ปี ดูจาก OPV ลำแรกยังแย่เลย......เหนื่่อยใจ

โดยคุณ Civil2514 เมื่อวันที่ 22/10/2012 13:23:53


ความคิดเห็นที่ 15


สเป็คอาวุธแบบเดียวกับ F-11 นี่ถือว่าใช้ได้เลยน่ะครับ ลำเดียวครบสามมิติเลยล่ะ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 22/10/2012 13:57:32


ความคิดเห็นที่ 16


เรื่อง ความสามารถต่อเรือระดับเดียวกับ พม่า...ผมว่า เทคโนโลยี่ของ ทร.ไทย คงไม่ได้ล้าหลังกว่าหรอกครับ...

เพียงแต่ว่า...ยัง กังวล อยู่ว่า...แบบเรือของ VT เท่าที่ติดตามข่าวดู...น่าจะยังมีปัญหาด้วยแบบของเรือ รึเปล่า ?

เพราะ แม้แต่ เจ้าของแบบ คือ VT เอง...สร้างเองก็ยังมีปัญหา ในการสร้างและเทคนิค ทำให้ส่งมอบล่าช้าสำหรับเรือของ ทร.โอมาน จะถูกปรับกว่า 8,000 ล้านบาท และไม่แน่ใจว่า หลังสร้างเสร็จแล้วส่งมอบ จะซ้ำรอยกับ ทรินิแดดแอนด์โทเบโค รึเปล่าว ?

ซึ่งใน Lot ของ ทรินิแดดแอนด์โทเบโค...ที่สั่งซื้อ ก็ยกเลิก การรับมอบ...เพราะติดปัญหาเรื่องเทคนิคของเรือ (ไม่รู้ว่าเรื่องอะไร)...จน ปัจจุบัน ต้องขายให้กับ บราซิล แทน....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 14:07:48


ความคิดเห็นที่ 17


เทคโนโลยีการต่อเรือของประเทศไทยนั้นไม่ได้ล้าหลังพม่าแต่อย่างใดครับ คุณภาพและเทคโนโลยีการต่อเรือของไทยนั้นดีกว่าจีนเสียด้วยซ้ำและเป็นที่ยอบรับของชาติตะวันตกด้วย มีอู่แห้งสำหรับต่อเรือใหญ่ ช่างเชื่อมที่ต่อเรือในประเทศไทยมีใบเซอร์รองรับนะครับ ถ้าอู่ต่อเรือในจีนบางที่ช่างเชื่อมก็ไม่มีใบเซอร์ แถมยังต่อต่อบนฝั่ง(นึกถึงอู่ต่อเรือตังเกบ้านเรา) มีประเทศตะวันตกจ้างอู่ต่อเรือในไทยต่อเรือบรรทุกน้ำมันนะครับ ซึ่งเรือประเภทนี้ถ้าไม่เจ๋งจริงไม่มีใครจ้างต่อครับ ทีนี้พูดถึงเรือฟริเกตนั้นเชื่อว่ากองทัพเรือต้องการเก็บเกี่ยวประสปการณ์เพื่อดำเนินการเองในไทยได้ในอนาคตโดยมองไปที่ คุณภาพและขีดความสามารถด้วย ไม่ใช่แค่มีเรือใช้ ไม่กี่ปีซ่อมกันบาน ถามว่าพม่าเขาต่อเรือฟริเกเองได้แล้วถ้าเขาเสนอต่อขายเรา เราจะซื้อมั้ย ถ้าเราสู้เก็บข้อมูลเทคนิคแล้วต่อเรือดีๆใช้ภายหลังดีกว่า ขีดความสามารถในการต่อเรือ OPV เรามีแล้ว ขีดความสามารถในการติดตั้งระบบอาวุธเราก็มีแล้ว เราเก็บข้อมูลเรื่องต่อเรือฟริเกตต่อไป อนาคตเราคงต่อเรือฟริเกตคุณภาพระดับหัวแถวได้ แล้วถ้าเรากับพม่าต่อเรือฟริเกตแล้วต่างก็ไปเสนอขายประเทศอื่นเขาจะสนใจเรือจากใคร

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 22/10/2012 15:38:49


ความคิดเห็นที่ 18


ก็ดีใจกับเพื่อนบ้านด้วยครับ ดีคับ เรื่องประสิทธิภาพก็คงต้องรอดูต่อไป แน่นอนมันอาจจะสสู้ของแพงๆ Importไม่ได้หรอก แต่อย่างน้อยก็ออกมาเป็นรูปเป็นร่าง ให้เห็นได้ลองใช้จริง ได้องค์ความรู้ ได้ประสบการณ์ บางทีมันอาจจะออกมาดีเกินคาดก็ได้ครับ ก็ตรงตามที่ทร.พม่าเค้าต้องการ ถ้าไม่ดีก็จะได้ต่อยอดออกไป เงินก็ไม่รั่วไหลมากนัก ระบบต่างๆก็ยังซื้อต่างประเทศ ยังรักษามิตรภาพกันได้ดี ที่จริงประเทศไทยก็น่าเสียดายหลายอย่างนะครับ เราผลิตเองออกแบบเอง ทำเองแท้ๆ แต่เรายังไม่ยอมใช้เลยส่วนเรื่องปัญหาต่างๆไม่ว่าจะเทคโนโลยีไม่พอ ไม่รองรับ ผมว่าทุกอย่างมันมีปัญหาหมดแหละคับ อย่าว่าแต่จะสร้างเองเลยครับ ขนาดจะซื้อของเค้า มีตังครบแล้วแท้ ยังมีปัญหาเลยคับ เทคโนโลยีบ้านเราไม่ด้อยกว่าเขาหรอกครับ แต่ลองกลับไปดูแผ่นภาพพัฒนาการด้านการต่อเรือของเค้าสิคับ ผมว่ามันบ่งบอกชัดเจนเลยครับว่า อะไรกันแน่คือสิ่งที่เราล้าหลังเค้า^^

โดยคุณ koratshow เมื่อวันที่ 22/10/2012 15:52:30


ความคิดเห็นที่ 19


แต่ที่แน่ๆ กองทัพเรือไทยยังไม่เคยต่อเรือฟริเกต

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 22/10/2012 16:13:56


ความคิดเห็นที่ 20


วิสัยทัศน์เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเองครับ  ที่มุ่งมั่นในการพึ่งพาตัวเองของผู้มีอำนาจที่อยู่ตรงนั้นครับ

เรือ OPV กับเรือฟรีเกต แตกต่างกันที่ความหนาของแผ่นเหล็กที่เชื่อมตัวเรือครับ (Hull) ก็ไอ้ความหนาที่เพิ่มขึ้นนี่ละครับ

มันเป็นปัญหาที่ทำให้งานเชื่อมยากขึ้นครับ  แต่ก็อยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้ครับ  เพียงแต่ทำให้งานยากขึ้นและงานเสร็จช้าลง

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 22/10/2012 17:48:40


ความคิดเห็นที่ 21


ผมว่าเราสามารถต่อเรือฟริเกตได้นะ ครับ  อยากให้ได้ต่อกันจริงก็น่าจะเป็นโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำที่2อ่ะครับ   จากการเดาของผมนะครับเพราะเขาแยกเป็น2เฟส เฟสแรกต่อจากผู้ที่ชนะ โครงการนี้  และลำที่2 ก็มาต่อที่ประเทศไทยเรา

 

แต่รูปทรงเรือฟริเกตของประเทศพม่านั้น   ก็รูปทรงดีนะครับ แต่ก็มีการพัฒนารูปทรงมาเลื่อยๆ   ซึ่งก็ไม่น่าจะแปลกอ่ะครับ

แต่ขอถามไรอย่างนึงดิครับ โซน่าหัวเรือเขาจะนำไปติดตรงไหนเหรอครับ เพราะที่ผมดูมันไม่มีจมูกใต้เรือยื้นออกมาเลยอ่ะครับ หรือว่ามี หว่า 

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 22/10/2012 20:03:14


ความคิดเห็นที่ 22


ออกแบบเรือได้สวยดีครับ ชอบในการพึ่งพาตนเองของพม่าครับ แถมมี MI-35 ด้วย ถ็น่ากลัวอยู่นะ...

โดยคุณ yutthphichai เมื่อวันที่ 22/10/2012 20:26:54


ความคิดเห็นที่ 23


เรือชั้นนี้ ไม่ได้ติด โซนาร์ ครับ...ซึ่งก็ไม่ได้ติดท่อยิง ตอร์ปิโด...มีเพียง Rocket ยิงลูกครก เท่านั้น...

ซึ่งผมคิดว่า คงใช้เพียง ตรวจจับด้วยการปล่อยคลื่นเสียง กระทบวัตถุ (ปล่อยเสียง ปิ๊ง) คล้ายเรือสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประมาณนั้น น่ะครับ...(ในความเห็นส่วนตัว)...

หรือใช้แบบเดียวกับเรือ ปราบเรือดำน้ำ ( เลขนำหน้า หมายเลข 4 ) ของ ทร.พม่า ประมาณนั้น ครับ...

ผมเลยให้ความเห็นว่า เรือชั้นนี้ ดูเหมือนประมาณ 2 มิติ มากกว่าครับ...ในเรื่อง สงครามใต้น้ำ ยังดู ด้อย อยู่ครับ...



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/10/2012 21:43:12


ความคิดเห็นที่ 24


   เทคโนโลยีการต่อเรือของเราเหนือกว่าพม่าครับ   แต่พม่ามีความพยายามและได้รับการสนับสนุนจากผู้มีอำนาจอย่างจริงจังมากกว่า    จากข้อมูลที่ป๋าจูลลงให้   แสดงให้เห็นว่าพม่าเน้นจากกองเรือชายฝั่งขนาดเล็ก  ไปเป็นกองเรือขนาดใหญ่ขึ้นและปฎิบัติการในทะเลที่ลึกขึ้น  ทนทานคลื่นลมมากยิ่งขึ้น   เพื่อก้าวไปสู่กองทัพเรือแบบ Blue navy  แม้ว่าจะมีข้อจำกัดมากมาย

   ในขณะที่เรามีความพร้อมทางเทคโนโลยี  บุคคลากรและการเงินมากกว่าอย่างมากมาย   แต่กลับไม่ได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจที่แท้จริง  กลับปล่อยให้ทร.ต้องดิ้นรนแบบปากกัดตีนถีบแทน   แต่ขนาดอย่างนี้ทร.ยังสามารถผลักดันตนเองมาได้ไกลกว่าเพื่อน     ดังนั้นจากที่พม่าทำโชว์ให้เราดูว่า  Low Tech กว่าเราเยอะ เงินก็ไม่ค่อยจะมี    เขายังสามารถต่อออกมาได้  แม้มันจะเป็นเรือที่ไม่ดี    ดังนั้นผมเชื่อสนิทใจว่าถ้าทร.ไทยจะออกแบบและต่อเรือฟรีเกตคุณภาพเกรดดีออกมาในเวลานี้   ผมว่าทำได้    แต่ก็น่าแปลกนะที่มีคนไทยไม่น้อยดูถูกกันเองว่าไร้ความสามารถ    พม่าล้าหลังกว่าเราเยอะในด้านนี้  ยังทำได้เลย

   แต่ดูจากความพยายามของพม่าแล้วน่านับถือหัวใจจริงๆ  นี่ขนาดเพิ่งจะเปิดประเทศปีแรก  ยังไม่มีเงินมากมายอะไร   ไม่ได้รับเทคโนโลยีถ่ายทอดจากตะวันตก   ยังสามารถทำได้ขนาดนี้    เมื่อเปิดประเทศแล้ว    การเงินดีขึ้นมากเมื่อไร    เทคโนโลยีได้รับการดูดซับจากตะวันตกและประเทศที่ก้าวหน้ามากๆเมื่อไหร่     น่าจับตาดูมากครับสำหรับพม่า 

 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:19:42


ความคิดเห็นที่ 25


ที่ว่ามีเทคโนโลยีต่อเรือเก่งกว่าจีนเอามาจากไหนครับ เรือฟรีเกตยังไม่มีปัญญาต่อเองเลย การต่อเรือไม่ใช่ว่าช่างเชื่อมเก่งจะต่อได้ ถ้าต่อได้ไม่เห็นต่อละครับรออะไร  จีนเขาไปไกลแล้ว เรือใหญ่ๆทั้งนั้น ไหนจะเรือดำน้ำอีก ของเรามีแต่ในนิยายและความฝัน มีแต่ทฤษฎี ต่อได้ต่อออกมาเลย ไม่ต้องให้ดีเลิศหรูสวยงามจับใจ ขอให้พอดูได้ และเมด อิน ไทยแลนด์พอแล้วครับ ไม่ใช่ว่ายังไม่ลงมือทำก็บอกว่าทำได้ไม่มีใครเชื่อคุณหรอก

โดยคุณ baantuer เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:24:31


ความคิดเห็นที่ 26


   ผมหวังอย่างยิ่งว่่าเมื่อทร.ไทยได้รับการสนับสนุนอีกครั้งอย่างจริงๆจัง  ผู้นำรุ่นใหม่ๆคงจะสานต่อความตั้งใจของผู้นำทร.รุ่นก่อนๆให้ทร.เราก้าวหน้าในอุตสาหกรรมทางด้านนี้มากยิ่งขึ้นครับ  

  ถ้าได้ type 206A มาทร.คงใกล้จะกระโดดเข้าไปสู่ขีดความสามารถต่อเรือดำน้ำเองได้มากขึ้น   ที่เหลือก็แค่เงินสนับสนุนสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกในการต่อ   พวก  โรงต่อเรือบังแดดบังฝน  ใหญ่โตกว้างขวาง    สลิปเวย์สำหรับปล่อยเรือขนาดใหญ่ๆเป็น 20,000-30,000 ตันหรือกว่านั้น     เครื่องจักรสำหรับงานต่อที่ทันสมัยกว่านี้  แบบไฮเทคอย่างอุตสาหกรรมยานยนต์บ้านเราที่ใช้แม้แต่เครื่องตัดชิ้นงานเลเซอร์    เครื่องเชื่อมไฮเทคแบบต่างๆ   เครื่องตรวจสอบคุณภาพการเชื่อมชั้นดี  และอื่นๆอีกมากมายที่ไม่เคยมีใครมาสนใจสนับสนุนมากนัก   

   และที่สำคัญอยากให้เอกชนเข้าร่วมแบบจริงจังมากยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอยากให้ภาครัฐรื้อฟื้นแนวคิดคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีอีกครั้งหลังจากสะดุดเพราะพิษการเมือง       รวมถึงอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับอุตสาหกรรมต่อเรือ  คือ  อุตสาหกรรมถลุงเหล็กและผลิตเหล็กกล้าแบบต่างๆ   


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:33:42


ความคิดเห็นที่ 27


ไทยเสร็จแน่ อีกไม่นานพม่าก็ต้องมีเรือดำน้ำ ไทยไม่มีงบ ซ่อมของเก่าก็แย่แล้ว

โดยคุณ yam เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:35:49


ความคิดเห็นที่ 28


  ตามสบายครับท่าน banntuer  จะเชื่อแบบไหนเป็นสิทธิของท่าน   เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์เสมอ   ผมแนะนำว่าคุณควรไปศึกษามูลค่าการผลิตที่ภาคอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีของประเทศตัวเองให้ดีกว่านี้ก่อน   แม้ว่าเรายังด้อยกว่าจีน  แต่เทียบกับพม่าแล้ว   คนละชั้นคนละเกรดเลยครับ  

   ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์และภาคอุตสาหกรรมที่รัฐและเอกชนนำเสนอในแต่ละปีมีให้อ่านนะครับ   ลองไปศึกษาดูก่อนจะดีกว่ามาบอกว่า    เป็นไปไม่ได้  ฉันไม่เชื่อเด็ดขาด

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:41:19


ความคิดเห็นที่ 29


คือ พม่านี้ตัดออกไปได้เลยเรื่องเทคโนโลยีการต่อเรือ หรือเทคโนโลยีต่างๆสู้ไทยไม่ได้เลย ไทยต่อเรือตรวจการณ์ไกล้ฝั่งได้อย่างงดงาม แต่ที่ติดใจคือ จีน มูลค่าการผลิตที่ภาคอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์และนาวี  เขาอยู่อันดับต้นๆของโลกเลยน่ะไปศึกษาขอมูลก่อนดีไหมท่าน

โดยคุณ baantuer เมื่อวันที่ 22/10/2012 22:54:00


ความคิดเห็นที่ 30


   อ้อ.... ท่านพูดถึงจีน .....  เออกลับไปดูใหม่  เออ ท่านพูดถึงจีนจริงๆด้วย    ไอ้ผมมันก็แก่แล้วเลยอ่านข้ามไปมั๊ง  หรือไม่ก็เพราะเขากำลังพูดถึง 

       " พม่า "   

 กันอยู่   และก็ไม่เห็นมีใครบอกในกระทู้แสดงคอมเม้นเกี่ยวกับ  "จีน"  เลย   ก็มีท่านโผล่พรวดมาเกี่ยวกับจีน   เอองงแฮะ   ผมว่าคุณมาผิดกระทู้แล้วนะ   เขาพูดกันถึง    "พม่า"    และภาคอุตสาหกรรมการต่อเรือของพม่า    ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับจีนนี่  กลับไปพิจารณาตนเองก่อนดีกว่านะ

   และถ้าไม่โดนคว่ำเรื่องอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีไปก่อนหน้านั้น   แบบว่าเขาบรรจุเป็นวาระแห่งชาติในเวลานั้น   ผมก็กล้ารับประกันว่าถึงเวลานี้  จีนก็จีนเถอะ    

   ดูเอาเถอะอุตสาหกรรมอากาศยานเองก็เริ่มได้รับการเหลียวแลและสนับสนุนอีกครั้งแล้ว    อีกไม่นานอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีคงจะถูกนำมาขัดถูและเดินเครื่องกันใหม่อีก   หวังว่าคราวนี้คงไม่มีผู้หวังดีต่อประเทศทำให้มันคว่ำอีกหล่ะนะ    

   มาดูกันต่อไปดีกว่า       ผมว่าทร.น่าจะโชว์บ้างนะว่าเราทำได้    และผมก็มันใจว่าทร.ทำได้จริงไม่เพ้อเจ้อ     ไม่งั้นคนไทยด้วยกันเองคงจะดูถูกคนไทยด้วยกันเองตลอดแบบนี้

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/10/2012 23:16:36


ความคิดเห็นที่ 31


   และผมก็มั่นใจว่าถ้าเรื่องอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีได้รับการสนับสนุนจริงจังอีกครั้ง   ไม่น้อยหน้ากว่า จีนเกาหลี  ญี่ปุ่นแน่นอน   และไม่มีเพ้อเจ้อด้วย   

   เพราะคราวที่เรื่องนี้ถูกจัดเข้าวาระแห่งชาติเพื่อสร้างอุตสาหกรรมด้านนี้  มีการไปโรดโชวืและดึงนักลงทุนจากเกาหลีใต้มาลงทุนสร้างอู่ต่อเรือขนาด 100,000 ตันที่นี่    อู่ฮุนไดพิจารณาแล้วก็ต่อ OK.   เพราะทำเลที่ตั้งของเราเหมาสมกว่า    แรงงานคุณภาพสูงแต่ราคาค่าแรงถูกกว่า    กำลังจะตั้งโรงงานถลุงเหล็ก 30-35 ล้านตัน   บ่อน้ำมันบ่อก๊าซใหม่ก้เพิ่งเจอ     ระยะทางจากแหล่งแร่เหล็กจากทั้งจีนและออสเตเรียก็ใกล้    แหล่งถ่านหินที่ใช้ในการถลุงเหล็กก็อยู่แค่อินโดนีเซีย   ต้นทุนดีกว่าทางเกาหลีเยอะ  แถมยังมีโครงการตัดคลองกระ    

   ฮุนได OK.  แต่รัฐบาลเกาหลีใต้ไม่ OK.  เพราะกลัวคู่แข่งรายใหม่อย่างไทยเราจะก้าวขึ้นมาแข่งด้วย   จึงสั่งห้ามฮุนไดมาลงทุนที่นี่

 พอแห้วจากเอกชนเกาหลีใต้   จีนก็เสนอตัวเข้ามาเสียบแทนทันทีไม่ลังเล   ตอนนั้นจีนก็มีโครงการนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดยักษ์และกำลังดำเนินการสร้างอยู่ด้วย    ถ้ามันไม่เจ๋งจริงขนาดนั้น  จีนที่คุณว่ามันเจ๋งมันจะวิ่งเต้นเพื่อครอบครองนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือและพานิชย์นาวีที่รัฐบาลไทยกำลังเริ่มโครงการทำไม่ล่ะครับ   ของบ้านตัวเองก็มี     เพราะตำแหน่งทำเล   ต้นทุนการผลิต   อุตสาหกรรมต้นน้ำที่กำลังจะเริ่มและอุตสาหกรรมข้างเคียงที่สนับสนุนนั้นมีพื้นฐานอยู่ก่อนแล้ว   คุณภาพบุคคลากร   

   และก็เดิมๆๆ    คนไทยด้วยกันเองนี่แหล่ะที่ทำให้มันล้มและก็มาดูถูกคนไทยด้วยกันเอง

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/10/2012 23:30:26


ความคิดเห็นที่ 32


อย่าใช้คำว่าดูถูกเลยน่ะ ผมไม่เคยคิดจะดูถูกหรอกครับ สามเหล่าทัพเนี่ยทัพเรือพึ่งพาตัวเองมากที่สุด ผมพูดออกแนวประชดประชันมากกว่า ใจจริงอย่างให้ทัพเรือต่อเรือเองมากกว่าด้วยซ้ำ  อาจจะร่วมมือกับ เมือนอก ก็ได้

โดยคุณ baantuer เมื่อวันที่ 22/10/2012 23:32:35


ความคิดเห็นที่ 33


...อยาก ทราบ ระดับความก้าวหน้าของ อุตสาหกรรมต่อเรือไทย  ให้ไปดูที่เวบไซด์ ของ 4 บริษัทนี้ครับ

1.  บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิช จำกัด (มหาชน)  WWW.ASIAMAR.COM

2.  บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด  WWW.ITALTHAIMARINE.COM

3.  บริษัท มาร์ซัน จำกัด  WWW.MARSUN.TH.COM

4.  บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ทแอนด์ เอ็นจิเนียริ้ง จำกัด  WWW.UNITHAI.COM

5.  บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด (เวบอะไรก็ไม่รู้)

โดยรวมๆ  ผมว่ายังล้าหลังประเทศอื่นๆ อีกเยอะครับ  โดยเฉพาะ บริษัท ยูนิไทยเมื่อก่อนได้งานซ่อมเรือขนส่งขนาดยาวใหญ่

ให้กองทัพอเมริกันเยอะ ปัจจุบันโดนบริษัท ซ่อมเรือเกาหลีที่ตั้งอยู่ในฟิลิฟปินแย่งงานไปหมด เพราะระยะทางเค้าอยู่ใกล้

ฐานทัพอเมริกันในย่านแปซิฟิกมากกว่า  เลยเสร็จเกาหลีใต้หมด แต่ใช้แรงงานปิน แต่คิดอีกทีเราก็แย่งงานนี้มาจากสิงคโปร์อีกที

สิงคโปร์ก็แย่งงานมาจากเกาหลี  เกาหลีก็แย่งงานมาจากญี่ปุ่น  เวลาเปลี่ยนไป เหตุการณ์ก็เปลี่ยนไป ครับ  คิดอะไรมากกับวัฏจักรโลก

 

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 23/10/2012 00:00:44


ความคิดเห็นที่ 34


ขอแก้หน่อยครับ....

1.  บริษัท เอเชียนมารีน เซอร์ วิสส์ จำกัด (มหาชน)   WWW.ASIMAR.COM

................แก้ใหม่ ครับ  อันบนเข้าไม่ได้ครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 23/10/2012 00:15:26


ความคิดเห็นที่ 35


        อย่าเถียงกันเลยครับ ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ผมเชื่อสุดใจเหมือนกันครับว่าบ้านเรามีของดีเยอะ แต่ถ้ามีของดีแต่ไม่ปล่อยของ ไม่โชว์ของให้โลกได้รู้ มันก็ไม่เกิดประโยชน์อะไร ที่มานั่งเถียงกัน มานั่งอิจฉา อยู่นี่ก็ไม่ใช่เพราะประเทศเขาทำได้จริงหรอครับ ตอนมาเลต่อเรือดำน้ำได้ก็แบบนี้ไม่ใช่หรอครับ เพราะเค้าทำได้จริง เวียดนามชอปอาวุธมหาศาลสำเร็จ เพราะเค้าผลักดันได้สำเร็จ อินโดต่อเรือที่พึ่งไฟไหม้สำเร็จ เชื่อว่าสมาชิกหลายคนดิ้นด้วยความอิจฉา แล้วย้อนมองทรเราแน่นอน ทุกอย่างมันเกิดขึ้นเพราะเรา มีของแต่ไม่ใช้ ไม่โชว์ ชัดที่สุดเลย เห็นท่านหนึ่งพูดถึงคลองไทยในฝันอีกแล้ว(คอคอดกระ) เห็นอยู่ตรงหน้า ศึกษามันจนคนที่ศึกษาตายไปแล้วบ้างเกษียนไปแล้วบ้าง ยังไม่ผุดเลยซักนิด ยังอยู่ในฝันต่อ เงินมี คนพร้อม วิจัยเรียบร้อย รออะไรครับ กลัวประเทศแบ่งแยกหรอครับ อินโด มีไม่รู้กี่เกาะยังอยู่กันได้ มาเลประเทศแบ่งเป็นสองฝั่งห่างกันเป็นพันกิโลทำไมเค้าอยู่ได้ กะอีแค่คลองกั้นนิดเดียวจะปกครองไม่ได้เชียวหรอครับ ก็เข้าประเด็นเดิมครับ มีของดีแต่ไม่ใช้ก็ไม่ต่างอะไรจากไม่มี จะพิสูจน์อะไรเอาแค่ข้อมูลมาเถียงกันมันไม่มีประโยชน์หรอกครับ ถ้าสัมผัสไม่ได้ ไม่เห็นด้วยตามัน มันก็จะเป็นได้แค่ข้อมูลครับ

โดยคุณ koratshow เมื่อวันที่ 23/10/2012 01:44:08


ความคิดเห็นที่ 36


ขอผสมโรง ด้วยคน 5 5 5 5 5.....

ผมคิดว่า นักวิชาการ หรือ คนที่มีต้นทุนทางสังคม มีแต่สร้างภาพ น่ะครับ...

คนที่พูด ให้ความเห็น ดูดี...มัก จะมีบทบาท ในการขัดขวาง มากกว่า คนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ แต่ พูดไม่เป็น...

สังคมไทย...ชอบ ภาพ ชอบ ฟัง (ข่าวลือ ยิ่งชอบ)...แต่ ไม่ชอบ คิด...ไม่ชอบ การปฏิบัติ...

เอาง่าย ๆ แค่ โครงการ 3G...ยัง มะร่อ มะแร่...เล่นกัน มั่ว...

แทนที่ จะปล่อยให้มันเป็นไป ให้มันเกิดขึ้นก่อน เพราะสิ่งที่ดำเนินการมา เขาก็ทำตามหลักการ วิธีการ ที่มันพิสูจน์ได้...ส่วนข้อสงสัย ควาบริสุทธิ ผุดผ่อนร หรือ คิดว่า มีการคอร์รัปชั่น หรือเกิดผลเสียหายต่อประเทศอย่างไร...นักวิชาการ หรือ คนที่ไม่เห็นด้วยก็ควรจะใช้ วิธีปฏิบัติ ในการดำเนินการ เพื่อพิสูจน์...ไม่ใช่ ใช้แค่ความคิด ความเห็นส่วนตัว ซึ่งมันเป็นสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้...ศาลปกครอง ยังไม่รับเรื่องเลย...

กลับมัวแต่จะคิด ขัดขวาง เพื่อไม่ให้ โครงการมันเกิด...โดยใช้ ตรรกะง่าย ๆ ว่า...โครงการ ไม่เกิด...ความเสียหาย ไม่เกิด...ส.ว. ก็เอาด้วย มั่วไปหมด....ทั้ง ๆ ที่ เป็นเรื่องของ ความคิด คาดว่า ทั้งนั้น...ก็ยังไม่เลิกกัน...

ถ้ามันจะเกิดผลเสียหาย...ก็ควรให้มันเกิด วัดค่าเป็นตัวเลขได้ หรือ พิสูจน์ ได้...แล้วก็ดำเนินการตามวิธีการกฎหมาย ที่มีอยู่ เอาความผิดกับผู้ที่เกี่ยวข้อง...แล้วมันจะเป็น บรรทัดฐาน ให้กับประเทศ ต่อไป...

หลาย ๆ โครงการที่ไม่ได้เกิด...ทั้ง คลองคอดกระ หรือ อุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ และแม้แต่ โครงการเรือดำน้ำ Type-206A ก็ล้วนถูกขัดขวาง ด้วย ความคิดของบุคคล ทั้งนั้น...ไม่ได้มาจาก บทพิสุจน์ หรือ มูลค่าที่วัดได้...

ส่วน โครงการเรือฟริเกต ของ ทร. ผมคิดว่า เกิดแน่...เพียงแต่ ผมหวั่นใจ ตามความเห็นของผม ใน กระทู้ ข้างต้นว่า...

แบบเรือของ VT อาจจะยังมีปัญหา รึเปล่า ?

เพราะ ประเทศที่ สั่งต่อเรือจาก VT ทั้ง ของ ทร.โอมาน จำนวน 3 ลำ และ ทรินิแดด แอนด์ โทเบโค จำนวน 3 ลำ...ก็ล้วนประสบปัญหา ความล่าช้า และปัญหาทางเทคนิค (ซึ่งไม่มีข้อมูลว่าเรื่องอะไร เพราะเป็นข้อสัญญาระหว่างกันที่จะไม่เปิดเผย)

ส่งผลให้ เรือของ ทร.โอมาน ผู้ต่อเรือ VT (ปัจจุบันเป็น BAE) จะถูก โอมาน ปรับถึง 8,000 ล้านบาท จากความล่าช้า ในขณะเดียวกัน ต้นทุนก็สูงขึ้นด้วย

ของ ทรินิแดดฯ ก็ถูก ยกเลิกสัญญา...แต่ต่อมา บราซิล ได้มาขอซื้อไป ในราคาประมาณ 6,000 ล้านบาท (จากเดิมมูลค่าโครงการกว่า 20,000 ล้านบาท)

ก็ รู้สึก เสียดาย โครงการเรือฟริเกต ชั้น นเรศวร...ซึ่งแต่เดิม ทร. มีโครงการจัดหา จำนวน 8 ลำ...โดยร่วมมือกับ ประเทศจีน...สร้างที่ จีน บางส่วน สร้างที่ ไทย บางส่วน...แต่ก็ผลจาก เทคโนโลยี่ การต่อเรือของ จีน ในขณะนั้น ไม่เป็นที่ประทับใจ...

หรือ โครงการ OPV ชั้น ปัตตานี...ที่ถูก อิทธิพลทางการเมืองของ จีน...ทำให้ล้มโครงการ จากการที่ อู่กรุงเทพ ร่วมกับ บริษัทเนเธอร์แลนด์ (ถ้าจำไม่ผิด) จะสร้างเองทั้งหมด 2 ลำ...ต้องเปลี่ยนมาเป็น ซื้อ จาก จีน แทน...ทำให้ เรือขนาดฟริเกต ของ ไทย ที่ประกอบเอง ต้องเลื่อนมาจนทุกวันนี้...เพิ่งจะมาเกิด ในโครงการ ร.ล.กระบี่ และต้องใช้เป็นโครงการ เพื่อเทิดพระเกียรติ...ไม่เช่นนั้น คงถูก ล็อบบี้ อีกแน่ (ความเห็นส่วนตัวครับ)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/10/2012 07:03:02


ความคิดเห็นที่ 37


1. บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิช จำกัด (มหาชน) WWW.ASIMAR.COM

2. บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด WWW.ITALTHAIMARINE.COM

3. บริษัท มาร์ซัน จำกัด WWW.MARSUN.TH.COM

4. บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ทแอนด์ เอ็นจิเนียริ้ง จำกัด WWW.UNITHAI.COM

 

บริษัท เอเชียน มารีน เซอร์วิช จำกัด (มหาชน) มีอู่ 2 อู่ครับ เป็นอู่ลอยทั้ง 2 อู่

อู่แรกรับน้ำหนักเรือได้ 5,000 ตัน อู่ที่ 2 รับน้ำหนักเรือได้ 20,000 ตัน

บริษัท อิตัลไทย มารีน จำกัด มีข่าวร่วมทุนกับบริษัทต่างประเทศรับต่อเรือฟริเกตขนาดต่ำกว่า 4,000 ตันได้

บริษัท มาร์ซัน จำกัด ไม่มีข้อมูลขนาดอู่เรือ

บริษัท ยูนิไทย ชิปยาร์ทแอนด์ เอ็นจิเนียริ้ง จำกัด อู่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นอู่ลอยอยู่แหลมฉบัง

รับน้ำหนักเรือได้ 130,000 ตัน

บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด ไม่มีข้อมูลอู่เรือ

 

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 23/10/2012 08:19:08


ความคิดเห็นที่ 38


เป็นการพัฒนาที่น่ากลัวมากสำหรับประเทศพม่าการต่อเรือถ้าถ้ามว่าเรทำได้ไหม คำตอบคือ ทำได้ครับแต่ที่จะทำใม่สามารถทำได้ก็เพราะนักวิชาเกินกับพวกรับจ้างเพื่อขัดขวางการพัฒนาทั้งหลายนั่นแล่ะครับ

สมัยก่อนเรามีโครงการ ทั้งเกี่ยวกับเหล็ก เรือ การบิน แม้แต่การเป็นครัวโลกทุกวันนี้เหลือแค่โครงการที่อยู่ในกระดาษ เหมือนงานวิจัยของนักศึกษาทำเพื่อจบการศึกษาเท่านั้น พอจะเริ่มก็มีคนมาค้าน พอจะทำก้โดนกล่าวหาว่าทุจริต เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม พอเราตามเขาไม่ทันก็ออกมาด่าว่าไร้ความสามารถ เก่งแต่ซื้อกับซ่อมสร้างไม่เป็น ก็อยากถามกลับพวกเขาทั้งหลายเหล่านั้นเหมือนกันว่า ตอนที่จะทำแล้วพวก....ออกมาค้านทำ....อะไรวะ....จริงๆ

เห็นการพัฒนาของประเทศพม่าหลายๆด้านแล้วเมื่อหันมามองประเทศเราเมื่อไหร่มันจะเดินหน้าได้สักที พม่าเขาต่อเรือได้เองทั้งที่เทคโนโลยีก็ไม่ได้ดีไปกว่าเราเท่าไหร่เราต่างหากที่อาจจะดีกว่าเขาเล็กน้อย เขาก็ทำและโครงการอุโมงค์ที่เราสงสัยกันว่าทำเพื่อโครงการนิวเคลียร์ของพม่าตอนนี้ไม่รู้ไปถึงไหนแล้ว แค่ 3G ของเรามันยังไปไม่ถึงไหนเลย ก็อยากรู้เหมือนกันว่าถ้าไม่ใช่ 3 บริษัทนี้ได้มันมีบริษัทหน้าไหนอีกที่จะได้ หืออออออออออออ....

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 23/10/2012 09:11:56


ความคิดเห็นที่ 39


นักวิชาการที่ดีในประเทศไทยก็มีครับ แต่ไม่มีโอกาสแสดงความเห็นออกสื่อเพราะจาสื่อสารกับคนทั่วไปไม่เป็นเหมือนนักวิชาเกินทั้งหลาย ทำให้นักวิชาเกินทั้งหลายออกมาจ้อไมค์ พูดดำให้เป็นขาว พูดแต่ข้อคิดเห็นไม่พูดข้อเท็จจริง ทำให้คนทั้วไปที่ไม่มีข้อมูลหรือไม่รู้จ้อเท็จจริงรับทราบแต่ข้อมูลที่ผิด 

ส่วนเรื่องเรือหลวงกระบี่ ผมเห็นภาพจากในTAF มีการตัดปล่องควันออก คิดว่าน่าจะมีปัญหาจากแบบเรือเหมือนที่คุณJudasว่าไว้จริงๆ คิดว่าแบบเรือรุ่นนี้คงมีปัญหาทร.ก็คงเพิ่งรู้หลังจากต่อเรือเกือบเสร็จแล้ว เลยต้องแก้ปัญหาก่อน ไม่รู้ว่าจะกระทบกับโครงการต่อเรือลำที่2-4หรือไม่ เพราะถ้าแก้ไม่ได้หรือแก้แล้วไม่ดี ทร.จะต้องหาแบบเรือใหม่หรือไม่ แน่นอนคุณภาพและความล่าช้าของโครงการนี้คงจะโดนนักวิชาเกินและสิงห์คีย์บอร์ดรุมแน่ๆครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 23/10/2012 11:31:27


ความคิดเห็นที่ 40


ก็ กังวล ตามที่ท่าน RAF ว่าไว้แหล่ะครับ...แต่คิดว่า น่าจะผ่านปัญหาไปได้...ซึ่งในส่วนนี้ ผมคิดว่า ถ้าได้มีการ อธิบายดี ๆ ก็น่าจะมีความเข้าใจกันได้...ทร. ควรจะเตรียมตัวไว้ด้วย...(คนที่เสียประโยชน์ หรือ คนที่เห็นช่องในการสร้างผลประโยชน์ มันมีอยู่)

ผมว่ามันน่าจะเหมือนกับการ สร้างบ้าน น่ะครับ...เวลาออกแบบโครงสร้าง ก็จะมีมาตรฐานทางวิศวกรรม รองรับไว้หมด...แต่ เวลา ก่อสร้างจริง ๆ ก็อาจจะมีปัญหา หรือ ข้อที่ต้องแก้ไข จากแบบไป...คงไม่ได้ ลงตัว เป๊ะ ๆ...

เหมือนกับ เรือ LCS ของ ทร.สหรัฐ แม้จะมีความทันสมัย ในแง่ผู้ผลิต และ การออกแบบ...แต่เมื่อสร้างเสร็จ และทดลอง เดินทะเลจริง ๆ ก็ยังมีปัญหา ให้ต้องแก้ไข อยู่ดี...

ก็หวังว่า แบบเรือของ VT คงจะไม่ได้มีปัญหาในสาระสำคัญ จนมีผลต่อ การพิจารณาสร้างเรือลำต่อ ๆ ไป ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/10/2012 12:16:39


ความคิดเห็นที่ 41


ผมก็เห็นด้วยกับคุณ : baantuer  นะครับที่ตอนนี้การต่อเรือของพม่าเหนือชั้นกว่าเราจริง ความพร้อมก็น้อยกว่าเราหลายๆด้าน แต่ก็ต่อ ฟรีเกต ในแบบที่เราไม่สามารถต่อออกมาได้ ทั้งๆที่เรามีความพร้อมมากกว่า เขาเหนือชั้นกว่าเราตรงนี้แหละครับ เหมือนกับพริกหยวกกับพริกขี้หนูน่ะแหละ ของเรามันไหญ่แต่ไม่เผ็ด สู้พริกขี้หนูไม่ได้อยู่ดี

 

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 23/10/2012 15:51:40


ความคิดเห็นที่ 42


ที่ ว่ามีเทคโนโลยีต่อเรือเก่งกว่าจีนเอามาจากไหนครับ เรือฟรีเกตยังไม่มีปัญญาต่อเองเลย การต่อเรือไม่ใช่ว่าช่างเชื่อมเก่งจะต่อได้ ถ้าต่อได้ไม่เห็นต่อละครับรออะไร  จีนเขาไปไกลแล้ว เรือใหญ่ๆทั้งนั้น ไหนจะเรือดำน้ำอีก ของเรามีแต่ในนิยายและความฝัน มีแต่ทฤษฎี ต่อได้ต่อออกมาเลย ไม่ต้องให้ดีเลิศหรูสวยงามจับใจ ขอให้พอดูได้ และเมด อิน ไทยแลนด์พอแล้วครับ ไม่ใช่ว่ายังไม่ลงมือทำก็บอกว่าทำได้ไม่มีใครเชื่อคุณหรอก




โดยคุณ : baantuer

ผมคิดว่าเป็นคำดูถูกนะครับ (ตัวสีแดง) ..ส่วนข้างบนก็พูดกัน OPV กับฟริเกตเป็นแบบเรือเดียวกัน

นั่นแสดงให้เห็นว่า ต่อใด้ ปัญหามันไม่ใด้อยู่ที่ช่างเชื่อม หรือขึ้นรูปแบบโลหะ(จุดนี้ไทยเราทำใด้อยู่แล้ว) มันอยู่ที่การวางฝังแปลนของเรือ/การคำนวนน้ำหนัก/การถ่วงของอุปกรณ์ต่างๆ มีความเหมาะสมและสมดุลย์แค่ใหน มันยากตรงนี้  และงปที่จะสนับสนุนล่ะต่อเนื่องใด้นานสักแค่ใหน...?

และที่ผมไม่ทราบและอยากทราบคือ ...?

เมียนมาร์ มีสักยภาพในการต่อเรือรบมากกว่าไทยตรงใหน อย่างไร ...?

ทีละสเต็ป บอกผมหน่อยเถอะ...? ผมไม่รู้และอยากรู้

(จะใด้เห็นหุ่นยนต์เชื่อมประสาน/ตัด/เจาะ/กลึง/โลหะแบบญี่ปุ่นที่ผมเคยเห็นมาก่อน...ในประเทศเมียนมาร์หรือป่าวน้ออยากทราบจริงๆ)

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 23/10/2012 17:03:23


ความคิดเห็นที่ 43


เพื่อให้เป็น คลายข้อสงสัยในเรื่อง ความสามารถการต่อเรือขนาดฟริเกต ของไทย ในระดับหนึ่ง ขอให้ข้อมูล การจัดหาเรือ OPV ชั้น ปัตตานี สรุปมาดังนี้ ครับ

การจัดหา ครั้งที่ 1

ปี 2544           มีบริษัทที่เสนอสร้างเรือ OPV  จำนวน 11 ราย

                        มีผู้ผ่านการพิจารณา จำนวน 8 ราย

                        ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกแบบ คือ

                        บริษัทร่วมค้า บจก.ยูนิไทย ชีฟยาร์ต แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ Vosper Thornycroft (UK) Limited

                        โดยทำการสร้างเรือทั้ง 2 ลำ ในประเทศไทย

                        แ ต่ ราคาสูงกว่า งบประมาณ จึงถูกยกเลิก

การจัดหา ครั้งที่ 2

                        มีบริษัทร่วมค้า ยื่นเสนอราคา จำนวน 5 ราย โดยทั้งหมด เสนอราคามาสูงกว่างบประมาณ มีที่ใกล้เคียงงบประมาณที่สุด จำนวน 2 ราย และสามารถตกลงราคาได้ คือ บริษัทร่วมค้า บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด กับ China Shipbuilding Trading (CSTC) แต่ต่อมา CSTC ยื่นข้อเสนอเพิ่มเติมต่อ ทร. โดยขอเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับ และขอสร้างเรือที่ประเทศจีน ทั้ง 2 ลำ และอื่น ๆ  ซึ่งเป็นผิดเงื่อนไข จึงถูกยกเลิกสัญญา

การจัดหา ครั้งที่ 3

                        มีผู้ยื่นราคา ทั้งหมด 5 ราย  คือ

  1. บมจ.เอเชียนมารีน เซอร์วิสส์
  2. บจก.อู่กรุงเทพ
  3. บริษัทร่วมค้า อิตัลไทย มารีน กับ Finantieri cantieri Navali Italiani
  4. บจก.มาร์ซัน
  5. บริษัทร่วมค้า ยูนิไทย ชิปยาร์ด แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง และ IZAR Construcciones

โดยสุดท้าย บจก.อู่กรุงเทพ ได้รับการคัดเลือก โดยมี บริษัท Schelde Scheepsnieuwbouw ในเครือ DAMEN ของ เนเธอร์แลนด์ ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนในคำปรึกษาในการสร้างเรือ แต่เนื่องจากถูกร้องเรียนว่า ไม่ดำเนินการเป็นไปตามข้อกำหนด G to G และถูกร้องเรียนว่า บจก.อู่กรุงเทพ ไม่มีความสามารถในการสร้างเลยถูกยกเลิก

การดำเนินการครั้งสุดท้าย ปี 2545

กระทรวงกลาโหม ให้พิจารณาการคัดเลือกจากความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นสัญญา รัฐ ต่อ รัฐ  และได้จัดลำดับ ประเทศจีน เป็น ลำดับที่ 1

บริษัทจากประเทศ จีน คือ CSTC จึงได้สัญญาไป และก็ไปสร้างที่ประเทศจีน ทั้ง 2 ลำ

ซึ่งในข้อกำหนดของโครงการ มีทางเลือกให้ 2 ทาง คือ

  1. สร้างในประเทศ จำนวน 1 ลำ และ สร้างในต่างประเทศ จำนวน 1 ลำ
  2. สร้างในต่างประเทศ จำนวน 2 ลำ

โดย CSTC เลือกข้อ 2  ได้คนเดียว เนื้อ ๆ เขี่ย บริษัทไทย กระเด็น กระดอน ไกล...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/10/2012 19:47:48


ความคิดเห็นที่ 44


จากข้อมูล ข้างต้น จะเห็นได้ว่า...

อู่เรือในประเทศ มีความพร้อมที่จะต่อเรือ OPV ขนาดฟริเกต ได้ ตั้งแต่ปี 2545 แล้วครับ....

แต่ติดด้วย อิทธิพลของ จีน...ที่เก่ง กำลังภายใน ตามที่ได้ดูจาก หนังจีน กันมา...นั่นแหล่ะครับ...

และถ้าใน ตอนนั้น เรือ OPV ชั้น ปัตตานี ซึ่งอาจจะได้รูปแบบเรือของ Vosper หรือ Schelde และได้ต่อใน อู่เรือภายในประเทศไทยแล้ว...

คงจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงของ เรือ OPV ลำใหม่ อย่างมีนัยสำคัญทีเดียว...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/10/2012 19:53:20


ความคิดเห็นที่ 45


 พม่าเขาไม่รู้เรื่องอะไรแค่ปล่อยเรือรบมา๑ลำ ก็เป็นกระทู้ยอดฮิทไปแล้วครับ เหมือน stringray ไม่มีผิด
เอาละครับ ในความเห็นของผม ในอาเซียนมีประเทศเดียวเท่านั้นที่ไทยไม่ควรกระทบกระทั่งอย่างยิ่งประเทศนั้นคือพม่า ทำไมครับเพราะว่าไทยต้องอาศัยแหล่งพลังงานจากพม่าเกือบทั้งหมด หากมีเรื่องกันพม่ายึดบ่อแก๊สปตท.เท่านี้ระบบไฟฟ้าประเทศไทยshutdownทั้งประเทศ ยังไม่นับราคาหุ้นptt&pttepร่วงเท่านี้ฐานะการคลังของไทย(รวมทั้งผมด้วย)เจ๊งแล้วครับเพราะถือหุ้นปตท.ไว้เยอะ เท่านี้ผู้นำทหารของพม่าที่เขาสะสมอาวุธ ผมมั่นใจว่าเขาไม่ได้มองไทย แต่มองไปที่ อินเดีย บังคลาเทศ หรือแม้แต่จีน(พม่าไม่คยไว้ใจจีนเช่นเดียวกับเวียดนาม)
   เราอย่าสับสนครับ พม่าพัฒนากองทัพเรือ(ว่ากันที่กองทัพเรือ)อย่างก้าวกระโดดโดยรวดเร็วกว่ากองทัพเรือไทยอันนี้เรื่องจริงปฏิเสธไม่ได้ครับ เพราะอะไร เล่นเจอทั้งอินเดียและบังคลาเทศ(เเบบเวียดนาม เจอ จีน) จะสั่งต่อเรือก็ไม่ได้ ถูกทั้งยุโรปและอเมริกาแซงชั่นห้ามค้าขาย จะหันไปสั่งต่อจากจีน เราก็รู้จีนขายให้เรือรบให้บังคลาเทศหลายลำอยู่และพม่าไม่มีสิทธิที่จะต่อรองราคากับจีนด้วยเหตุข้างต้น ดังนั้นพม่าจึงต้องพัฒนาและออกแบบเรีอด้วยตนเอง(จะว่าใช้จีนเป็นพี่เลี้ยงผมไม่แน่ใจไม่มีข้อมูล แต่รูปเรือรบของพม่าทั้งแบบ11,12 ไม่เหมือนของจีน แถมยังใช้ปืน76/62ของอิตาลี) และพม่าก็ทำได้ดีในระดับหนึ่ง  ที่สำคัญที่สุดคืองบประมาณ งบมีไม่มากแต่อัดมาที่ทหารเต็มที่ รายจ่ายประจำของทหารตัดออกให้มากที่สุด เท่านี้ก็เหลือเงินจัดหาอาวุธก้อนใหญ่    
    แต่ที่ว่าเทคโนโลยี่การต่อเรือของพม่าเหนือกว่าไทยนั้นผมว่าไม่ใช่ครับ ลองกองทัพได้งบจัดหาอาวุธในสัดส่วนเดียวกับพม่า(ไม่ต้องลดรายจ่ายประจำนะครับเดี๋ยวผมถูกโห่) งบจัดหาอาวุธคงเพิ่มขึ้นมาก จะเอาเรือฟรีเกตกี่ลำคุณลักษณะอย่างไรกำหนดออกมาครับ เปิดประมูลทั้งอู่ไทยอู่ต่างประเทศ อู่ไทยเทคโนโลยี่ขั้นสูงไม่เพียงพอ stealthไม่ถึงใจ  ก็jointventureกับบริษัทต่างชาติ มันglobalization แล้วครับ ที่สำคัญคือใครให้ผลประโยชน์ต่อกองทัพเรือได้มากกว่ากัน

โดยคุณ trai เมื่อวันที่ 23/10/2012 20:50:34


ความคิดเห็นที่ 46


- เรือ FAC ของพม่าที่เพิ่งต่อได้ไม่กี่ปี การออกแบบพอๆกับเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงสัตหีบที่ต่อเมื่อ 30 ปีมาแล้ว

- เรือคอร์เวตของพม่าที่เพิ่งต่อไล่หลังหลังเรือ FAC มา ก็ไม่ต่างกันกับเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำอายุ 20 ปี อย่างเรือหลวงคำรณสินธุ์ ของเรายังดูทันสมัยกว่าด้วยซ้ำ

- เรือฟริเกต F11 ก็ยังดูทันสมัยไม่เท่าเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร หรือเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงปัตตานี ที่กองทัพเรือออกแบบ (แม้จะไม่ได้ต่อเองก็ตาม)

นี่คือเครื่องยืนยันว่าเทคโนโลยี เทคนิค ทักษะ และความชำนาญในการต่อเรือของไทยยังนำหน้าพม่าอยู่ อย่างไรก็ดี ปัญหาของไทยในภาพรวมคือเรื่องของนโยบายที่สนับสนุนการพึ่งตนเองในด้านการป้องกันประเทศ หากไม่จริงจัง ต่อเนื่อง อีกไม่นาน พม่าก็คงไล่ทันไทยในด้านการต่อเรือ เพราะจาก FAC มาจนถึงเรือฟริเกต F12 ดูพม่ามีพัฒนาการที่ขึ้นเรื่อยๆ

โดยคุณ Navy เมื่อวันที่ 24/10/2012 03:13:45


ความคิดเห็นที่ 47


เมื่อ เกริ่น ถึง บังคลาเทศ แล้ว...เมื่อ เร็ว ๆ นี้ ก็เพิ่งปล่อยเรือตรวจการณ์ลงน้ำ โดยการต่อเรือเอง ภายในประเทศ

Navy gets first home-built patrol craft
Mon, Oct 8th, 2012 9:28 pm BdST
 
Khulna, Oct 8 (bdnews24.com)—Khulna Shipyard has built first patrol craft for Bangladesh Navy ushering in a new era of coastal defence.

Foreign Minister Dipu Moni handed over the ship to Navy at a programme at Khulna Shipyard on Monday.

Chaired by Managing Director of the state-owned shipyard Commodore Riaz Uddin Ahmed, the programme was also attended by Chief of Naval Staff Vice Admiral ZU Ahmed.

Addressing the programme, Dipu Moni said: "Bangladesh wants to capture a portion of worlds shipbuilding market. The government has undertaken a long-term plan to build a well-organised navy. The government is determined to add submarine to the Navy soon."

She also said the ships made by Khulna Shipyard would play the vital role in keeping the maritime boundary safe.

The 50.4-metre long, 7.5-metre wide and 4.1-metre deep warship can travel 23 nautical miles per hour.

The ship, armed with two 37 millimetre cannons and two 20 millimetre anti-fire craft guns, can move seven days at a stretch.

The warship has been built in one and a half years with technical assistance from China.

Officials said building of a patrol craft locally costs Tk 540 million against its import cost of Tk 1 billion.

Prime Minister Sheikh Hasina on Mar 5 last year inaugurated the construction of the warship and a training school for Navy.

Khulna Shipyard is also building five more patrol ships of the same type for the Navy.

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 09:09:20


ความคิดเห็นที่ 48


จากข่าวข้างต้น อยากจะ เน้น ประโยค ความมุ่งมั่น ของ ทร. บังคลาเทศ

"Bangladesh wants to capture a portion of worlds shipbuilding market. The government has undertaken a long-term plan to build a well-organised navy. The government is determined to add submarine to the Navy soon."

ความต้องการ เรือดำน้ำ ของ ทร.บังคลาเทศ ในระยะอันใกล้ ?

ผลกระทบ ต่อ พม่า คือ คงต้องมีการ จัดหา เรือดำน้ำ มาเพื่อ เทียบเคียง กับ ทร. บังคลาเทศ ?

ผลกระทบ ต่อ ไทย...คงจะ ไม่มี ล่ะมั๊ง..เพราะว่า...อ่าวไทย ยังตื้น อยู่ ?

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 09:13:39


ความคิดเห็นที่ 49


ส่วนเรื่องแบบเรือ ชั้น ปัตตานี ที่เข้าใจว่า กองทัพเรือออกแบบ นั้น...ผมคิดว่า ไม่ใช่ ครับ...

คงเป็นแบบเรือของ CSTC ของ ประเทศจีน เอง...ตามข้อมูลข้างต้นเรื่องการจัดหาเรือ OPV ครับ..ว่า เป็นการ เสนอทั้งแบบ และ ราคา ครับ...ไม่ใช่ การเสนอราคา สร้างตามแบบของ ทร. ครับ...

แต่อาจจะเป็นการเข้าใจว่า เรือชั้นปัตตานี อาจจะพัฒนาการออกแบบมาจาก เรือชั้น นเรศวร น่ะครับ...

ปัจจุบัน แบบเรือชั้น ปัตตานี ประเทศจีน ก็ได้พัฒนา เป็นแบบ Stealth ให้ชื่อว่า Type-56 ซึ่ง จีน เองก็ให้ข้อมูลว่า เป็นเรือที่พัฒนามาจากแบบเรือปัตตานี ที่ จีน ต่อขายให้ ไทย...

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 10:03:39


ความคิดเห็นที่ 50


แบบเรือ OPV ของ ไทย ที่น่าจะผ่านเกณฑ์การคัดเลือกแบบ ใน ขณะนั้น

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 10:16:53


ความคิดเห็นที่ 51


แต่ด้วย กำลังภายใน ของ จีน...เลยได้แบบเรือชั้น ปัตตานี ในปัจจุบัน มาแทน

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 10:19:53


ความคิดเห็นที่ 52


Oh !! แบบเรือเราสวยมาก สวยกว่าแบบของจีนอีก น่าเสียดายครับที่ไม่ได้ต่อเองทำให้เราพัฒนาด้านออกแบบแบบและความสามารถในการต่อเรือช้าลง

ตอนนี้ผมมีความคิดว่า การต่อเรือฟรีเกตใหม่2ลำ เราสามารถใช้โอกาสนี้ได้ โดยขอถ่ายทอดเทโนโลยีและแบบเรือซึ่งอาจจะเป็นแบบของเรือฟรีเกตที่ต่อ มาปรับลดขนาดเป็นOPV หรือ corvett เพื่อต่อในประเทศ น่าจะเป็นช่วยการพัฒนาการต่อเรือของเราได้นะครับ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 24/10/2012 10:40:56


ความคิดเห็นที่ 53


ขอโทษครับ...เดี๋ยวจะเข้าใจผิดกัน...

เป็นการ คาดการณ์ส่วนตัว นะครับ...

ว่า น่าจะเป็น แบบเรือของต่างประเทศที่เสนอให้คัดเลือกครับ...และ ทร. น่าจะคัดเลือกแบบดังกล่าว แต่ถูกยกเลิกไป...โดยแบบเรือดังกล่าว ตามโครงการ คงจะจัดสร้างที่อู่เรือในประเทศไทย ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 11:06:06


ความคิดเห็นที่ 54


ส่วนเรือฟริเกตใหม่ 2 ลำ...

วัตถุประสงค์ คือ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ครับ...ซึ่งจะมีองค์ประกอบของ ระบบอาวุธและระบบตรวจจับ ระบบต่าง ๆ ที่ต้องใช้มาตรฐานสุง...

ผมว่า สั่งจากต่างประเทศ ดีแล้วครับ...เขายังรับประกันความเสียหาย...

ของ ไทย เรา...ค่อย ๆ ต่อยอดพัฒนาจากเรือ OPV ผมว่า ดีอยู่แล้ว ครับ...

นาน ๆ จะได้งบประมาณจำนวนมาก แบบเต็มสเปค สักที ก็เอาให้คุ้ม อยู่กับ กองทัพเรือไป 40-50  ปี ไปเลย...

เพราะ OPV เรายังต้องการอีกไม่น้อยกว่า 3 ลำ...ในเร็ว ๆ นี้...แค่เฉพาะส่วนนี้ ก็ยังไม่แน่ใจว่าอู่ในประเทศจะมีระยะเวลาก่อสร้างเพียงพอ ทันต่อความต้องการหรือเปล่าครับ...

และผมคิดว่า OPV ลำใหม่ ที่อาจจะเกิดขึ้น...น่าจะมี concept เหมือนเรือ LCS ของ ทร.สหรัฐ ครับ...

ซึ่งผมกำลังเก็บข้อมูลของ LCS และจะนำเสนอต่อไปครับ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 11:20:45


ความคิดเห็นที่ 55


ขอบคุณป๋าจูสำหรับข่าวและความรู้ครับ แต่ผมสงสัยนิดนึงทำไมพม่าถึงออกแบบเรือเพื่อรองรับ Mi-35 ได้ แทนที่จะเป็นฮ.ทางทะเลอย่างคามอฟหรือZ-9 มันเหมือนกับว่าพม่ายังไม่ให้ความสำคัญกับการปราบเรือดำน้ำ(อาจจะมองว่าไทยหรือบังคลาเทศยังไม่มีเรือดำน้ำ)

ปล.ช่วงนี้กระทู้กลายพันธุ์บ่อยจริงๆ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 24/10/2012 11:25:40


ความคิดเห็นที่ 56


Concept ของเรือ LCS ของ ทร.สหรัฐ ขออธิบายคร่าว ๆ คือ

1. ตัวเรือ ใช้ความหมายว่า Seaframe + ระบบอาวุธมาตรฐาน (ปืนเรือ + อาวุธป้องกันตัวระยะประชิด)

2. โมดูล ของ ระบบอาวุธ แยกเป็น

2.1 โมดูล ระบบอาวุธ ต่อต้านภัยคุกคามผิวน้ำ

2.2 โมดูล ระบบอาวุธ ต่อต้านเรือดำน้ำ

2.3 โมดูล ระบบอาวุธ ต่อต้าน ทุ่นระเบิด

โดย ตัวเรือ หรือ Seaframe ของเรือทุกลำ จะสามารถปรับเปลี่ยน ภาระกิจ ไปตามภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในขณะนั้น...

โดยการ ใช้ โมดูล แต่ละ ระบบ ใส่ในตัวเรือ...เช่น ในขณะนี้ มีภัย ทุ่นระเบิด ก็จะใส่ โมดูล ต่อต้าน ทุ่นระเบิด...พออีกสักระยะ มีเรือดำน้ำ เข้ามา...ก็ อาจจะเอา โมดูล ต่อต้าน ทุ่นระเบิด...แล้วเอา โมดูล ต่อต้านเรือดำน้ำ เข้าไปใส่แทน...

ถ้ายกตัวอย่างเป็นตัวเลข ก็คือ

LCS = 1 + 2.1

หรือ = 1 + 2.2

หรือ = 1 + 2.3

หรือ = 1 + 2.1 + 2.2

หรือ = 1 + 2.1 + 2.3

ซึ่ง มาเลเซีย กำลังกำหนด คุณสมบัติเรือ OPV เฟสใหม่ ให้มีคุณสมบัติ เหมือนกับ LCS ของ ทร.สหรัฐ...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 11:31:29


ความคิดเห็นที่ 57


ผมเข้าใจแบบเดียวกับที่ ท่าน Akula เข้าใจครับว่า...พม่า ยังเห็นว่า ไทย กับ บังคลาเทศ ยังไม่มีเรือดำน้ำ...จึงยังไม่ให้ความสำคัญในส่วนนี้...หรือ อาจจะ ยกหน้าที่นี้ ให้กับ กองเรือปราบเรือดำน้ำ ที่สั่งซื้อมาจาก จีน จำนวนน่าจะประมาณ 6 ลำ ที่ใช้งานได้ในปัจจุบัน รับหน้าที่ไป...

ซึ่ง พม่า ในขณะนี้ คงยังเป็นลักษณะ กองเรือชายฝั่ง อยู่...เพิ่งจะพัฒนาเป็น กองเรือทะเลน้ำลึก ได้ไม่นาน...ในระดับการ ปราบเรือดำน้ำ แบบชายฝั่ง คงน่าจะเพียงพอ จึงยังไม่ให้ความสำคัญกับการปราบเรือดำน้ำ ในระยะไกลฝั่ง ในขณะนี้...แต่ใน อนาคต ก็คงไม่พ้นแหล่ะครับ..

และสมมติว่า ไทย หรือ บังคลาเทศ จัดหา เรือดำน้ำ ขึ้นมา...ตอนนั้น พม่า คงจะน่า จัดหา เรือดำน้ำ มาใช้เลยครับ...ซึ่งก็เป็นที่ หวั่นใจ ของ ทร. ที่ เปรยให้ได้ยินบ่อย ๆ ว่า...พม่า อาจจะจัดหา เรือดำน้ำ ได้ก่อนไทย ซะอีก...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 11:39:17


ความคิดเห็นที่ 58


เรื่องการต่อเรือ ผมว่าทร. หรือรัฐบาล คงจะเริ่มเข้าใจแล้วล่ะครับว่า

เรามีความพร้อมในการต่อเรือเองได้ และต้องเพิ่มงบให้ทร. มิฉะนั้นจะล้าหลังเพื่อนบ้านไปไกลแน่

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 24/10/2012 13:16:14


ความคิดเห็นที่ 59


ไม่รู้ว่า ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้อากาศยาน จะใช่ KOMAR รึเปล่า ?

ส่วนระบบ อาวุนำวิถี โจมตีเรือ คงเป็น Kh-35 หรือ ฮาร์พูน ฉบับ รัสเซีย ซึ่งเป็น เซมิ ครุยส์ มิสไซด์...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 14:23:18


ความคิดเห็นที่ 60


ผมว่า กองทัพเรือ พม่า ก็คงมี กรมสรรพาวุธกองทัพเรือ ที่ ค้นคว้า วิจัย ตามสภาพที่ กองทัพเรือในขณะนั้น ไม่สามารถจัดหา อาวุธจากประเทศอื่น ๆ ได้...

อย่างแบบ ระบบควบคุมการยิง ปืน 76 ม.ม. ของ เรือ Corvette...

น่าจะเป็นการพัฒนา แบบ TV camera ของ พม่า เอง รึเปล่า ? หรือใช้ IR ที่นำของเก่า มาประยุกต์ ใช้...

ซึ่ง เมื่อ พม่า เปิดประเทศ เข้าสู่การเมือง แบบ ประชาธิปไตย แล้ว...การพัฒนา ทางทหาร เช่น กองทัพเรือ ในอนาคต ก็น่าจับตาดูทีเดียว ครับ...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 24/10/2012 14:28:38


ความคิดเห็นที่ 61


เห็นป๋าจูพูดเรื่อง กำลังภายใน ของจีนแล้วรู้สึกกลัว กลัวว่าเรือฟิเกตลำใหม่จะเป็นของจีน แล้วถ้าเป็นเรือจีนขึ้นมาจริงๆ ก็คงต้องโดน ดาวน์เกตลงมาอีก โธ่ทำไมอาตีชอบทำแบบนี้กับเราเหลือเกิน หรือว่าเขาจะกลัวมีอิธิพลเหนืออาเซียนกันแน่

เราคงต้องถามตัวเองว่าจีนจริงใจกับเราแค่ไหน เราทำเพื่อจีนก็ไม่ใช่น้อย แถมไปจับไม้จับมือกับ เขมร โดยที่รู้ๆอยู่ว่าเรามีปัญหากับทางนู้น ก็ยังไปขายอาวุธให้เขาอีก

ผมเชื่อการที่เราประกาศเป็นพันธมิตรทางทหารกับเวียดนาม คือการตบหน้าจีนอย่างจัง

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 24/10/2012 17:49:26


ความคิดเห็นที่ 62


แล้วขอถามท่านผู้รู้ หน่อยว่าครับว่า  อาวุธของจีนมีอันไหน ที่พอไปวัดไปวา หน่อยครับ

โดยคุณ baantuer เมื่อวันที่ 24/10/2012 22:52:18


ความคิดเห็นที่ 63


ที่ขึ้นชื่อ ก็คง C-802 อาวุธนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ น่ะครับ...

เป็นอาวุธของ จีน ที่ได้รับการยอมรับจากหลายประเทศ จัดหา ไปใช้...คุณภาพ น่าจะเทียบเท่าจากฝั่งตะวันตก แต่ ราคาจะย่อมเยาว์กว่า...แต่ถึงราคาจะย่อมเยาว์กว่า ก็ไม่ใช่ ถูก นะครับ...

ล่าสุดที่ ทร. จัดหามา จำนวน 13 ลูก ใช้งบประมาณรวมส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อให้สามารถยิงได้ ก็ใช้งบประมาณไปกว่า 1,600 ล้านบาท

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/10/2012 08:40:52


ความคิดเห็นที่ 64


หมายเลข 771 มีการปรับปรุงเพิ่มเติมระบบอาวุธ

1. Rocket ยิง ระเบิดลึก

2. จรวดต่อสู้อากาศยาน

3. เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ สำหรับ C-801 ? หรือ C-802 ?

4. เปลี่ยนปืนท้ายเรือจาก 76 ม.ม. ไม่ทราบว่า เป็นระบบอาวุธอะไร ?

หมายเลข 772 ยังคงลักษณะเดิม ส่วนตำแหน่ง SSM จะอยู่ในส่วนตำแหน่งของ ปืน 76 ม.ม.เดิมของ หมายเลข 771

ดูแล้ว ระบบ ต่อต้านภัยทางอากาศระยะใกล้  ทร.พม่า คงให้ระบบ IGLA เป็นระบบหลัก...ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะเป็น ระบบ KOMAR ทั้งหมดรึเปล่า ?

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/10/2012 14:13:37


ความคิดเห็นที่ 65


เป็น แท่นยิง Ghibka สำหรับ Igla ครับ  ส่วนSSM เป็น C-802A ท้ายเรือแท่นที่ปืน 76 ด้วย  Type69 twin-barrel 30มม.   ส่วนจรวดปราบเรือดำน้ำ เป็นรุ่น RDC-32

โดยคุณ FatBoy เมื่อวันที่ 25/10/2012 16:01:45


ความคิดเห็นที่ 66


โอ้ววว...ขอบคุณมากเลยครับ ท่าน FatBoy...ตัวจริง เสียงจริง รู้จริง มาแร่ะ...

 







โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/10/2012 17:15:42


ความคิดเห็นที่ 67


แล้ว อนาคต ถ้า พม่า สร้างลำต่อไป....โอกาส จะมี อนาคต รึเปล่า ? สำหรับเรือป้องกันภัยทางอากาศของ พม่า...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 25/10/2012 17:27:24