ก็มีเรื่องงานซ่อมแล้วจะมีการสร้างอากาศยานมั้ยครับ
รัฐบาลจะเรื้อปัดฝุ่นโครงการมาทำอีกครั้งหรือครับท่าน intelligent
เพราะผมสนใจเรื่องนี้มากครับ ถ้ามีข่าวสารจากสื่อมวลชนกรุณาช่วยทำลิ้งค์ให้ติดตามด้วยนะครับ จะเป็นการกรุณาอย่างยิ่ง เพราะโครงการทางอุตสาหกรรมนี้เป็นหนึ่งในโครงการหลักสำคัญของประเทศแต่เดิมครับ
เดิมจะให้สนามบินดอนเมืองเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเครื่องบินโดยสารครับ จะใหญ่ทันสมัยติดอันดับต้นๆในเอเชียเลยทีเดียว และเป็นศูนย์ขึ้นลงเครื่องบินเช่าเหมาลำและให้เช่าโรงเก็บสำหรับเครื่องเช่าเหมาลำและเคร่องของเศรษฐีทั้งหลายครับ แต่เห็นกระแสจะให้สนามบินดอนเมืองเป็นสนามบินคู่กับสุวรรณภูมิครับ เลยงงว่าตกลงจะเอายังไงกันแน่
ส่วนงานซ่อมเครื่องบินทหารจะให้ทาง TAI เป็นตัวยืนหลักครับ ส่วนการผลิตเครื่องบินนั้น ทางญี่ปุ่นจะเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดครับ เราจะทำหน้าที่เป็นแค่ฐานการผลิตเฉกเช่นเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยญี่ปุ่นจะผลิตเคร่องบินขนาดเดียวกับ airbus A-300 series และ Boing 737 ทางญี่ปุ่นคาดว่าจะผลิตออกสู่ตลาดโลก 5,000 เครื่องในตลอด 20 ปีครับ จะทำให้ประเทศเรามีความพร้อมในเรื่องอุตสาหกรรมอากาศยานใหญ่ติดอันดับโลกทันทีครับ
ถ้าทำได้เราก็เข้าใกล้การผลิตเครื่องบินรบเองได้ไปอีกขั้นหนึ่งครับ เหลือแค่โครงการนิคมอุตสาหกรรมต่อเรือขนาดยักษ์ซึ่งจะต้องทำเป็นคลัสเตอร์ร่วมกับอุตสาหกรรมพานิชย์นาวี และอุตสาหกรรมเหล็กพื้นฐานขนาด 30-35 ล้านตันที่โดนการเมืองล้มไปทั้ง 3 โครงการหลักครับ
ขอบคุณมากครับท่าน kaewmusik สำหรับคลิปข่าว
สรุปว่าย้ายศูนย์ซ่อมบำรุงจากแผนเดิมที่ดอนเมืองไปที่สนามบินที่โคราชที่ใช้ประโยชน์น้อย ก็ OK. นะครับ เพราะไม่ไกลจากกรุงเทพ และเมื่อถนนมอเตอร์เวย์กรุงเทพ-โคราชแล้วเสร็จการเดินทางทางบกก็จะสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ในคลิปเห็นบอกว่าน่าจะให้มีการลงทุนด้านการผลิตยางล้อเครื่องบิน น่าจะสนับสนุนการผลิตยางล้อรถยนต์ทุกรุ่นทุกแบบที่นี่ด้วยเลย เป็นการแปรรูปอุตสาหกรรมยางพาราให้เป็นสินค้าปลายขั้นปลายน้ำสมบูรณ์ ซึ่งเป็นโครงการเดิม ในคลิปก็ยังบอกอีกว่าอยากให้มีอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคการบินด้วย เหมือนเป็นการเตรียมพื้นที่โคราชให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเครื่องบินยังไงไม่รู้ เพราะเห็นว่ามีโครงการเสนอให้สร้างท่อส่งก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นไปที่นิคมอุตสาหกรรมที่โคราชและมีโรงกลั่นและแปรรูปน้ำมันที่นั่นเลย เพื่อจะบูมโคราชเป็นนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ เป็นการลดต้นทุนค่าพลังงาน และกระจายความหนาแน่นของกลุ่มโรงงานจากมาบตาพุทไปยังส่วนอื่นของประเทศ
ปรับแนวคิดเดิมให้เหมาะสมได้ดียิ่งขึ้นอีกนะนี่
ในข่าวที่ลงผมคิดว่าน่าจะเป็นการลงทุนทำในเรื่องการซ่อมบำรุงเครื่องครบวงจรตามแผนเดิมก่อน ที่ว่าจะสามารถซ่อมทำได้ทุกระดับและกับเครื่องขนาด A-380 ได้ แต่ถ้าที่โคราชคงต้องเพิ่มความยาวรันเวย์แน่ๆเลย เห็นว่าจะมีโรงซ่อมขนาดใหญ่ 7 โรง หวังว่าเมื่อย้ายมาทำที่นี่คงจะมีขนาดและขีดความสามารถไม่ได้น้อยลงกว่าแผนเดิมที่จะทำที่ดอนเมืองครับ
ส่วนที่ว่าญี่ปุ่นตอบตกลงแล้วหรือยัง ตอนที่โครงการเริ่มต้นรัฐบาลได้ทำการชักชวนแล้วทางญี่ปุ่นให้ความสนใจสูงมากและมีการต่อรองกันว่าทางไทยต้องไม่ผลิตเครื่องบินแข่งด้วย ทำเหมือนอุตสาหกรรมยานยนต์ ยกเว้นในเครื่องบินทหาร ทางเราตกลงในเรื่องนี้ และทางญี่ปุ่นก็ตอบตกลงครับที่จะลงทุนในไทย แต่การเมืองของเราก็พลิกผันอย่างที่ทราบกันเกิดความวุ่นวายทางการเมืองที่รุนแรง ไฟเขียวก็ถูกยกเลิกไป ทางญี่ปุ่นจึงหันไปหาเวียตนามแทนครับ โดยต่อรองกับเวียตนามเป็นอย่างมากเช่นกัน ดูเหมือนเวียตนามต้องการให้ญี่ปุ่นทุ่มสร้างที่เวียตนามเป็นหลัก ตอนนั้นผมล่ะใจหายเลย.....แต่ญี่ปุ่นบ่นว่า โครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดและกำลังการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ของเวียตนาม รวมถึงคุณภาพบุคคลากรนั้นยังต่ำกว่าเรามากทีเดียว จึงยังไม่ได้ลงทุนในเวียตนามแต่ประการใด
มามีข่าวนี้อีกครั้ง ผมหวังอย่างยิ่งว่าจะไม่มีเหตุการณ์เหนือคาดหมายอีก เท่าที่ทราบตอนนี้ประเทศเราก้าวมาเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ 1 ใน 10 ที่สำคัญของโลก(ชั่วคราว)แล้ว แต่ถ้าเราสามารถผลักดันให้ผลิตรถยนต์ส่งออกได้เกิน 3 ล้านคันต่อปี เราก็จะติดอันดับ 10 ถาวรทันที ส่วนที่ว่าทำไมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์มาเกี่ยวอะไรด้วย ก็เพราะโรงงานพวกนี้สามารถปรับกระบวนการผลิตมาผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้ครับ และทางเรามีโรงงานถลุงและแปรรูปอลูมิเนียมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิต เสียดายโรงงานแทนทาลัมที่โดนเผาไปเมือสักสิบกว่าปียี่สิบปีก่อน รู้สึกว่าจะใช้ในการผลิตโลหะผสมสำหรับจรวดและอากาศยานครับ
ส่วนที่ว่ามีโอกาสไหมที่โรงงานพวกนี้จะรับจ้างผลิตเครื่องบินรบตามที่เราได้สิทธิบัตร
อันนี้ต้องเข้าในก่อนว่าโรงงานผลิตชิ้นส่วนเมื่อทำการผลิตชิ้นส่วนแล้ว ต้องไปทำการประกอบตัวอากาศยานขึ้นอีกที่ในโรงงานประกอบ ซึ่งทางญี่ปุ่นจะลงทุนเองทั้งหมดเพื่อนำชิ้นส่วนต่างๆที่ผลิตขึ้นจากโรงงานผลิตชิ้นส่วนที่อยู่ในไทยมาประกอบในโรงงานประกอบอีกที แต่ถ้าทอ.ไทยเกิดมีการขอสิทธิบัตรผลิตเครื่องบินรบเอง ก็คงออกแนวๆที่ว่านำแบบที่ได้รับสิทธิบัตรมาให้โรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินของญี่ปุ่น(ที่อยู่ในไทย)ทำการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินรบให้ แล้วชิ้นส่วนทั้งหมดก็จะนำมาประกอบในโรงงานของ TAI อีกทีหนึ่งครับ ซึ่ง TAI ต้องลงทุนในส่วนโรงงานประกอบอากาศยานขึ้นอีกส่วน นอกเหนือจากโรงงานซ่อมสร้างที่มีอยู่เดิม แต่ก็ไม่น่าจะลงทุนมากมายมหาศาลอะไรอีกครับ
ส่วนถ้าจะทำเรื่องวิจัยและพัฒนาเอง ผมว่าในส่วนนี้หาหุ้นส่วนที่มีความชำนาญสูงๆ อย่าง SAAB มาร่วมงานด้วยจะดีกว่าครับ เสี่ยงทางอุตสาหกรรมน้อยกว่ามากเลย
step by step ครับ เอาเรื่องโรงงานซ่อมเครื่องพานิชย์ให้ได้ก่อนอันดับแรกครับ ถ้า work ค่อยไฟเขียวให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในการผลิตอากาศยานก็ยังท้น คงไม่กี่ปีจากนี้ล่ะครับ
เป็นไปได้หรือไม่ครับที่หากเรามีโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน ต่อไปนี้หากเราจะซื้ออากาศยานจากใครก็เรียกร้อง Offset ผลิตในประเทศทุกครั้ง บริษัทใดไม่ให้สิทธิ์เช่นนี้ก็หันไปหาบริษัทอื่น คุยไปเรื่อยๆ