นั้นคือ อ. ปะนาเระ จ. ปัตตานี ในอนาคตการเดินทางไปในอวกาศอาจจะราคาถูกลง
หรือยังไงไทยก็เป็นที่ๆเหมาะระดับโลกในการสร้างสนามบินอวกาศ เพราะอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร
และมีเส้นทางลงจอดของกระสวยอวกาศที่ไม่ผ่านประเทศอื่น หรือใช้ยานลงจอด(แบบรูประฆัง)
ได้ทั้งสองฝั่งทะเล มีสนามบินมากมายอยู่แล้วที่จะอัพเกรดให้มีทางวิ่งยาวพอให้กระสวยอวกาศลงจอด
อย่าดูถูกที่นี่คืออนาคตของประเทศไทย แต่น่าเสียดายที่ตอนนี้อยู่ในสถานการณ์ความไม่สงบ
หลายคนในเว็บนี้ก็บอกประมาณว่าที่นี้ต้องเป็นสิ่งมีค่าอะไรสักอย่างในอนาคตของไทย ผมว่าคนเหล่านั้นทายไม่ผิด
ที่แน่ๆเป็นที่อิจฉาของหลายๆประเทศทีไม่มี ทีทางดีๆในการสร้างสนามบินอวกาศและท่าปล่อยอวกาศยาน
เพราะอาจมีชิ้นส่วนของลำจรวดตกใส่ประเทศตัวเองหรือตกใส่ประเทศอื่น
รูป1 จ. ปัตตานี
รูป2 อ. ปะนาเระ จ. ปัตตานี สถานที่สร้างสนามบินอวกาศและท่าปล่อยอวกาศยาน
รูป3 แนวเส้นทางบินลงจอดของกระสวยอวกาศ
รูปไม่ขึ้นอีกแหละเอาใหม่ขอทีละรูป
รูป1
ทำไมIE8ของผมมันUploadไม่ขึ้นสงสัยจริงๆ เลยต้องลองอีกที
ที่ไม่มีคนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม คงเป็นเพราะคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ที่ไทยจะมีโครงการอวกาศ
เนื่องจากไม่มีงปประมาณ คงเป็นประมาณนั้นมัง
แต่ที่ปัญหาสำคัญคือขาดงบประมาณไม่ใช่ที่ฝีมือนะจ๊ะขอบอก
ผมก็เห็นด้วย และอยากให้มีการสร้างจริง
แต่ ปัญหาสำคัญที่ผม เห็นคือ
ควรจะทำให้พื้นที่ 3 จังหวัด สงบก่อน นั้นคือ ปัญหาหลักที่ผมเห็น
ที่ต้องแก้ให้ได้ ก่อน ท้าจะสร้างจุดที่ท่าน บอก ครับ
(ผมพูดหรือพิมพ์อะไรผิดไป ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ)
ใกล้เส้นเมอริเดี้ยน เหมาะในการปล่อยจรวดมาก เพราะจะได้แรงเหวี่ยงของโลกช่วยในการผลักดัน การปล่อยจรวดไกลจากเส้นศส. อากาศยานปล่อย จะต้องตะเกียกตะกายวิ่งเข้าใกล้เส้นนี้ เป็นการเปลืองพลังงานมาก ยานวอยเอเจอร์ที่วิ่งหลุดจักรวาลนั้น อย่าเข้าใจว่าไปด้วยพลังงานจรวดตัวเองนะครับ มันไปด้วยแตงเหวี่ยงโลก แรงเหวี่ยงดาวพฤหัส(อันนี้แรงมากจริงๆเพราะเส้นผ่านศูนย์กลางกว้าง) ไอพ่นตัวเองใช้ในการเลียงตัวเป็นแรงส่งให้เคลื่อนอยู่ อนุมานเหมือนพายเรือกลางวังนำ้หมุน แรงพายเพื่อหนีศูนย์กลางจากแรงดูดแต่ตัวที่จะส่งให้หลุดไปไดลนั้น คือแรงหมุนวนของน้ำนั่นเอง
ขออภัย เส้นศูนย์สูตร
แต่เคยได้ยินทางโทรทัศน์อยู่เหมือนกันว่ารัฐบาลไม่สนับสนุน
โครงการอวกาศเพราะเอาเงินไปใช้ช่วยคนดีกว่า(อันนี้จำไม่ได้นะยุคสมัยไหน
หรือข่าวช่องไหน)
อเมริกาและรัสเซีย(โซเวียต)สร้างจรวดไปนอกโลกมาเกิน50ปีแล้ว
ไทยก็น่าจะทำได้ หรือว่าไทยไม่มีคนเก่งเท่าคนนี้(ดูรูปใครเอ่ย?)
ก็คงจะไม่ใช่
ไทยไม่มีทรัพยากรทั้งบุคคลและเงินมากพอจะสร้างสนามบินและปล่อยยาน อย่างน้อยก็ในอนาคต 20 ปีนี้คงไม่มีทาง(นอกจากเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่) มันไม่คุ้มเงินแน่ๆ ครับ นอกจากเราจะให้ต่างประเทศมาลงทุนแล้วเรานั่งเก็บเงิน
ถ้าเราจะปล่อยจรวดเองมันต้องมีสาเหตุ เช่นเราเงินเหลือเฟือและทำการวิจัยมากมายอย่างสหรัฐฯ ค่าใช้จ่ายโครงการอวกาศแพงจะตาย ตอนนี้ทุกๆ ประเทศก็พยายามร่วมมือกันเพื่อลดต้นทุน เช่นสถานีอวกาศนานาชาติเป็นต้น การแข่งกันช่วงสงครามเย็นนั้นมันไม่สมเหตุสมผล มันเป็นการข่มกันของสหรัฐฯ กับโซเวียต
นอกจากนี้ ประเทศเราอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตร เทือกเขาเยอะ มีสองฝั่งทะเล เรื่องดินฟ้าอากาศแปรปรวน อากาศชื้นเมฆหมอกฝนเยอะ เกลือกัด เป็นอะไรที่ต้องหลีกเลี่ยง แม้แต่ nasa ยังเคยคิดจะย้ายฐานปล่อยยานอวกาศจาก kenedy space center เลยครับ นอกจากนี้การอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตรยังทำให้ไม่สามารถปล่อยยานโคจรผ่านขั่วโลกด้วย (polar orbit) มีดีก็มีเสียเช่นกัน
ส่วนการปล่อยยานลงน้ำในขากลับ ใครๆ ก็ไปปล่อยในมหาสมุทรไหนๆ ก็ได้ครับ นอกจากนี้ประเทศเรายังไม่มีพื้นที่ที่เหมาะสำหรับการ landing บนบก
สาเหตุที่เราไม่มีโครงการอวกาศ ไม่ใช่เพราะไม่มีเงินอย่างเดียว แต่เพราะไม่มีความรู้ด้วยครับ ไม่งั้นป่านนี้ DTI-1G คงบินว่อนเหนือน่านฟ้าเขมรไปลงสวนหน้าบ้านฮุนเซ็น(ฮา)ไปตั้งแต่สามปีที่แล้วครับ
ถ้าเราอยากมีโครงการอวกาศ ก็ต้องเริ่มส่งเสริม ส่งคนไปเรียน ตั้งศูนย์วิจัย พัฒนา/ปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันนี้เพื่ออีกสิบปีข้างหน้า
สรุปว่าทำก็ทำได้ แต่ไม่ได้พิเศษกว่าคนอื่นครับ ดังนั้นจึงไม่มีจุดขายหรือสาเหตุที่คนอื่นจะมาใช้ศูนย์อวกาศของเรา
สำหรับไทย โครงการอวกาศขนาดใหญ่คงเป็นไปได้ยาก ถ้าจะทำก็ต้องเป็นโครงการขนาดเล็ก เช่น การสร้างดาวเทียมสำรวจต่างๆที่มีขนาดเล็กๆ โดยเริ่มจาก การสร้างดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก ดาวเทียมสื่อสาร ต่อด้วยดาวเทียมสำรวจอวกาศ หอดูดาวสำรวจอวกาศ เป็นต้นซึ่งใช้งบประมาณและเทคโนโลยีไม่มากนัก เหล่านี้จะสร้างองค์ความรู้และประโยชน์ให้กับไทยได้มากมาย
ส่วนเรื่องส่งคนไปในอวกาศคงต้องไปร่วมมือกับต่างประเทศแบบที่บราซิลเค้าทำ
อีกเรื่องคือการสร้างยานขนส่งอวกาศคงเป็นไปไม่ได้ คงต้องใช้บริการ สหรัฐ ยุโรป รัสเซีย จีน ในการส่งดาวเทียมไปก่อน ครับ
ก็จริงเนอะมันคงไม่เกิด อีกอย่างน้อย20ปี
แต่ในโลกนี้ไม่มีอะไรแน่นอน