หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โครงการทวายได้รับการอัดฉีดให้เดินหน้าเต็มที่

โดยคุณ : neosiamese2 เมื่อวันที่ : 11/10/2012 09:07:48

อิตาเลียนไทยเคลมรัฐลงขันแสนล. 60ธุรกิจรุมจองที่ดินกนอ.600ไร่ดันทวายโปรเจ็กต์

09 ต.ค. 2555 เวลา 17:24:43 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์



อิตาเลียน ไทยโล่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ออกแรงช่วยเต็มที่ "โครงการทวาย" 1 แสนล้าน "เสี่ยเปรมชัย กรรณสูต" เผยตอนนี้เนื้อหอมจัด มีเอกชน 60 รายจองที่ดินนิคมอุตสาหกรรมรายใหญ่ "นิคมอมตะ" โผล่จองด้วย 600 ไร่ กระทรวงคมนาคมเร่งสร้างมอเตอร์เวย์ "บางใหญ่-กาญจนบุรี" เสริมอีกแรง

นาย เปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD เปิดเผยว่า เป็นที่ชัดเจนว่าโครงการลงทุนก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกและนิคมอุตสาหกรรมทวาย ทางรัฐบาลไทยจะเข้ามาช่วยหาแหล่งเงินทุนและผู้ถือหุ้นในบริษัท ทวาย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (DDC) ซึ่งเป็นบริษัทรับสัมปทานโครงการนี้ แผนลงทุนหลักจะมีการก่อสร้างถนนและท่าเรือน้ำลึก มูลค่ารวม 1 แสนล้านบาท จากทั้งโครงการที่ใช้เงินลงทุน 3 แสนล้านบาทโดยรัฐบาลไทยจะหาผู้ร่วมลงทุนให้ โดยตั้งเป็นรูปแบบ SPV ซึ่งเป็นนิติบุคคลหรือบริษัทจัดการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ ระดมทุน แนวคิดจะมีทั้งรัฐวิสาหกิจ เช่น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และบริษัทรายใหญ่ในประเทศไทย เช่น บริษัทกลุ่มพลังงาน อาทิ บริษัท ปตท.สผ. เป็นต้น

สำหรับ ITD เมื่อมีผู้ถือหุ้นรายใหม่เข้ามา ก็จะลดสัดส่วนถือหุ้นในบริษัท DDC ลงจาก 60% เหลือ 25% โดยมีพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ (strategic partner) คือ องค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น

หรือไจก้า ถือหุ้นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 20% แลกกับเงื่อนไขทางญี่ปุ่นจะเป็นผู้ให้กู้หลักในโครงการ ในสัดส่วน 80% ของมูลค่าลงทุนรวม ที่เหลือ 20% มาจากสัดส่วนผู้ถือหุ้น

"พอมีความ ชัดเจนเรื่องถนนและท่าเรือแล้ว คาดว่าจะได้ข้อสรุปและเซ็นสัญญาภายในเดือนตุลาคมนี้ หลังจากนี้ทุกอย่างจะเดินหน้าได้ ทั้งหมดก็จะไม่มีปัญหา ทั้งโรงไฟฟ้าที่ตอนนี้ทาง บมจ.ราชบุรีโฮลดิ้งจะเข้ามาถือหุ้น 30% รายอื่น ๆ กำลังเจรจา ซึ่งเราจะลดการถือหุ้นลงจากเดิม 60%"

ส่วนพื้นที่นิคม อุตสาหกรรม นายเปรมชัยกล่าวว่า ขณะนี้ได้รับความสนใจสูงมาก มีผู้ประกอบการหลายรายติดต่อมาประมาณ 60 ราย ในพื้นที่กว่า 600 ไร่ รายใหญ่ ๆ เช่น นิคมอุตฯอมตะของประเทศไทย และนิคมอุตฯจากญี่ปุ่น เป็นต้น

นาย เปรมชัยกล่าวต่อว่า สำหรับ SPV ที่ตั้งขึ้นมาจะมีหน้าที่บริหารจัดการทรัพย์สินคือ ถนน และท่าเรือน้ำลึก พร้อมกับได้สิทธิ์ในการบริหารจัดการ ทางด้านรัฐบาลพม่าจะถือหุ้นในส่วนของท่าเรือน้ำลึก และได้เจรจาให้ปรับแผนธุรกิจเร็วขึ้น โดยขอให้เปิดบริการท่าเรือน้ำลึกปลายปี 2557 จากแผนเดิมจะเปิดปลายปี 2558

นาย จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า โครงการทวาย นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ตั้ง 6 คณะทำงานเพื่อผลักดันให้สำเร็จ ในส่วนคมนาคมจะเข้าไปช่วยลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานในฝั่งประเทศไทย

ขณะ ที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง กล่าวในงานมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นว่า อยากฝากให้รัฐวิสาหกิจไปคิดถึงการขยายบทบาทการลงทุนไปสู่สากล เช่น การลงทุนท่าเรือน้ำลึกทวาย ในประเทศเมียนมาร์ ซึ่งต้องถามว่าทางการท่าเรือแห่งประเทศไทย สนใจและพร้อมจะเข้าไปเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่หรือไม่ รวมถึงการลงทุนสาธารณูปโภคด้านอื่น ๆ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมระหว่างกัน ทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทยก็คงจะต้องพิจารณาว่าจะเข้าไปเป็นผู้ลงทุนหรือ ผู้ร่วมลงทุนหรือไม่

 

เครดิตเวปลิ้งค์ตามนี้ครับ

http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12768467/I12768467.html

ขอบคุณข้อมูลจากท่าน  wild rabit แห่งห้องสินธรนะครับ  

 

  เป็นอันว่าโครงการท่าเรือน้ำลึกสำคัญที่ทำให้ไทยเราสามารถส่งสินค้าผ่านเส้นทางๆบกที่เชื่อมสองฝากฝั่งทะเลมีความมั่นคงในโครงการมากขึ้น    สิ่งนี้สำคัญต่อชาติในกรณีที่ช่องแคบมะละกาถูกปิดลงไม่ว่าด้วยเหตุผลใดครับ    ไทยเราสามารถขนถ่ายและนำเข้าส่งออกสินค้าจากสองฝากทะเลได้โดยไม่ติดขัด     ส่วน R-9  จะเป็นยางสำรองที่สำคัญอีกเส้นหนึ่งกรณีที่ช่องแคบมะละกาถูกปิดเช่นกัน   โดยทางฝ่ายไทยและญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์มหาศาลอย่างยิ่งครับ    

   ในสภาพที่คลองกระถูกพับโครงการไปแบบนี้   โครงการทวายและ R-9 สำคัญอย่างมากต่อประเทศ





ความคิดเห็นที่ 1


ลงทุนน้อยกว่า แต่ มีสเถียรภาพมากกว่าการขุดคลองคลอดกระ

สาทุ อย่าล่มนะโครงการนี้

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 10/10/2012 16:22:17


ความคิดเห็นที่ 2


ยังไงๆซะ คลองคอดกระ มีความสำคัณกว่าเยอะ ในแง่ ความมั่นคงครับ ส่วนเรื่องเปิดให้เรือพานิชผ่านมันคือกำลัย คนส่วนใหญ่ คิดแต่เรื่องว่ามันจะคุ้มทุนหรอขุดตั่งหลายแสนล้าน

ขอโทษท่าน นีโอสยาม ด้วยนะครับที่เปลี่ยนประเด็น 

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 10/10/2012 20:04:09


ความคิดเห็นที่ 3


  ท่าน kapooknet200 กล่าวถูกต้องแล้วครับว่ายังไงซะโครงการคลองกระก็สำคัญกว่าและให้ผลประโยชน์ระยะยาวที่เหนือกว่าทั้งโครงการทวายและเส้นทาง R-9  

  แต่สถานะการณ์ภาคใต้   การเมืองในประเทศ  การเมืองระหว่างประเทศ   คงจะเป็นเหตุผลที่ตอนนี้ต้องพับโครงการไปก่อน   ตอนที่ทราบว่าโครงถูกพับเข้าลิ้นชักไปก่อนผมโกรธมากทีเดียว    แต่พอมาคำนึงถึงเหตุการณ์ที่กล่าวมาก็เลยคิดว่าคงต้องชะลอไปก่อนจริงๆ    แต่เจ็บใจจริงๆ

   โครงการทวายนั้นใช้เวลาน้อยกว่า   เพราะมีโครงสร้างสาธารณูปโภคทางฝั่งไทยมากโขแล้ว  และมีท่าเรือมาบตาพุทที่ถูกสร้างรออยู่    มันใช้เวลาสั้นกว่า  เงินน้อยกว่า  ในสถานะการณ์ที่ไม่น่าไว้ใจกับเพื่อนบ้านทางใต้นี่ครับ 

   เอาง่ายๆ  ถูกปิดช่องแคบมะละกาด้วยเรือดำน้ำ  ทำไง   จะไปไล่ล่ากองเรือดำน้ำต้องขอผ่านน่านน้ำของคู่ปรับ   ไม่ไหวแน่ๆ  

  ลองถ้าประเทศไทยถูกใส่ไฟไม่ให้ OPEC ส่งน้ำมันมาให้  ทำไง   เสร็จสิครับ    ถึงต้องอดทน  อดทน  อดทน และอดทน  จนหน้าแดงด้วยความโกรธอยู่นี่ไง    ดังนั้นพอทราบข่าวว่าเรากับเขมรใกล้ได้ข้อตกลงกันแล้วในกระทู้ข้างล่างผมถึงได้มีเฮมากๆไง    ไม่รู้ว่าถ้าต้องใช้ก๊าซแทนน้ำมันทั้งหมด  ต้องใช้กี่เท่าของที่บริโภคในทุกๆวันนี้    ผมตีว่า 10 เท่า   อีกท่านตีว่า 40 เท่า(จึงได้ 150-170 ปี)    ถ้าตีว่า 20 เท่า ก็ 300-400 ปี     แต่ไงซะก็เป็นปริมาณที่เรามีไม่น้อนกว่าซาอุดิอาราเบียเลยมั๊ง  ไม่ก็ใกล้เคียง  

   พอมีข่าวนี้มาอีกข่าวจึงต้องรีบแจ้ง     เพราะทั้งสองข่าวจะทำให้เราปิดจุดบอดตัวเองที่สำคัญที่สุด 2 ข้อได้แบบสมบูรณ์ครับ  

   แต่เมื่อใดที่คลองกระถูกงัดมาใช้อีก   มีการสร้างจริง   คงทำให้โครงการทวายย่ำแย่ลงเป็นอันมากทีเดียว    ส่วน  R-9 ก็จะกลายเป็นจุดกระจายสินค้าที่สำคัญสำหรับภาคเหนือและอีสานทั้งหมดไปแทนเส้นทางลัดสำรอง

   แต่กว่าจะถึงวันนั้น   ต้องมีกองทัพเรือและกองทัพอากาศที่แข็งพอควรทีเดียว   ต้องจัดการไฟใต้ให้จบ   แม้มันจะต้องแลกมาด้วยการแตกหักกับเพื่อนบ้าน (ถ้ามันย่ำแย่ลงถึงขนาดนั้นและฝ่ายนั้นออกตัวแบบชัดเจนต่อประชาคมโลก) ก็ต้องทำ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/10/2012 21:31:51


ความคิดเห็นที่ 4


คลองกระได้ขุดแน่ เพียงแต่อาจไม่ใช่ในยุคของเรา 

โดยคุณ yam เมื่อวันที่ 11/10/2012 02:04:51


ความคิดเห็นที่ 5


ผมว่าเผลอๆ ทวายอาจจะเสถียรไม่เท่ามะละกาก็ได้ เพราะพม่ามีโอกาสบ้าจี้ทำอะไรแผลงๆ มากกว่าประเทศในช่องแคบ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 11/10/2012 04:33:05


ความคิดเห็นที่ 6


เท่าที่ทรบข่าวมา นอกจากโครงการทวายที่เราให้ความสำคัญอย่างมากแล้ว ก็จะมีโครงการเปิดจุดผ่านแดนถาวรที่ ด่านสิงขร โดยมีโครงการสร้างอาคารรองรับและตลาดใหม่ที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้ด่านสิงขรเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่ใหญ่และน่าสนใจอีกแห่งหนึ่งครับ โดยเฉพาะสินค้าทางทะเลฝั่งอันดามันจากฝั่งพม่าจะสะดวกมาก จากที่ผมเคยไปตามจุดผ่านแดนไทย-พม่า อย่างแม่สอด ด่านเจดีย์สามองค์ และด่านสิงขร นั้น ด่านสิงขรมีระยะทางจากถนนหลักเพียงแค่ 11 กิโลเมตร และเส้นทางที่สะดวกและไม่อันตรายเพราะไม่มีภูเขาสูงชันหรือคดเคี้ยวครับ น่าจะเน้นไปทางท่องเทียวและจับจ่ายซื้อขายลักษณะแบบตลาดโรงเกลือ ส่วนทวายนั้นจะเป็นแหล่งอุตสาหกรรมและขนถ่ายสินค้า ซึ่งพม่าก็ให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆครับ และถ้าสำเร็จเราจะได้รับประโยชน์อย่างมหาศาลในทางเศรษฐกิจครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 11/10/2012 09:07:48