ผู้บริหาร อินเทอร์เน็ต โซไซตี้ ประเทศไทย (ไอซอก) ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิก ที่เป็นองค์กรอิสระซึ่งดูแลเกี่ยวกับมาตรฐานอินเทอร์เน็ตโลก กล่าวว่าในปลายเดือนธันวาคมปี 2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 180 ประเทศ จะทำการลงนามสนธิสัญญาการบริหารเครือข่ายโทรคมนาคมของโลก Internet Telecommunication Regulation : ITR ในระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคม ซึ่งทางไอทียูจะจัดขึ้นที่ประเทศดูไบ เนื้อหาของสนธิสัญญาที่จะใช้งาน อินเทอร์เน็ตนั้น มี 10 ประเทศในเอเชียแปซิปิกที่เสนอความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในการแก้เนื้อหาในสนธิสัญญาดังกล่าว ส่วนทางประเทศไทยนั้นไม่มีท่าทีหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นดัง กล่าว เนื้อหาของสนธิสัญญาที่ต้องแก้นั้น จากทั้งหมด 15 ข้อ จะมีเพียง 6 ข้อที่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยมีหัวข้อดังนี้ หนึ่ง ในเรื่องที่ทางไอทียูแก้เนื้อหานั่นก็คือ การใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส ซึ่งระบุว่า ประเทศสมาชิกจะต้องหาวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพื่อคิดค่าบริการจากผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์ เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ไม่ว่าจะเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทุกครั้ง หรือเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่างๆ โดยจะเก็บเงินทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ ซึ่งเป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่า บริการของโทรศัพท์มือถือ ผลกระทบในการแก้ไขสนธิสัญญาในครั้งนี้คือ เมื่อไหร่ที่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและคลิกเข้าไปยังเนื้อหาต่างๆ ผู้ใช้งานก็จะถูกเก็บค่าบริการ ซึ่งเป็นผลเสียกับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวที่โปรโมทสินค้าและห้องพักทางอินเทอร์ เน็ตเพราะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับสถาบันการศึกษา ที่จะต้องจ่ายค่าบริการจากการนำเสนอข้อมูลบนเว็บไซต์ ขณะที่นักเรียน-นักศึกษา ก็จะต้องจ่ายค่าบริการจากการคลิกดูเนื้อหา เนื้อหา ของสนธิสัญญานั้น ได้เปลี่ยนเป็นบังคับใช้ แทนที่จะเลือกยอมรับเฉพาะกฎเกณฑ์ที่เหมาะสมกับประเทศตัวเอง โดยให้ทำการลงนามในสนธิสัญญาซึ่งเป็นการผูกมัดการใช้งานทั้งๆ ที่ไม่เหมาะสมกับประเทศของตนเอง เนื้อหาของสนธิสัญญาที่แก้นั้น ไม่เหมาะสมกับประเทศไทย และประเทศไทยมีทางออกอย่างไรบ้าง เรื่องนี้ ทาง กสทช. และไอซีที ผู้ที่มีอำนาจลงนามในสนธิสัญญา จะต้องแสดงออกถึงจุดยืนที่ชัดเจนต่อเนื้อที่ในสนธิสัญญา เนื่อง จากระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม 2555 เป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่หากเห็นด้วยทั้งหมด 100% ก็จะบังคับใช้ทันทีสิ้นปีนี้ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องจ่ายเงินในการคลิกเข้าดูข้อมูลและเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุก ครั้งคงแย่ และจะทำให้เกิดการชะงักในการใช้งานอินเทอร์เน็ตของทุกคน และที่สำคัญไม่รู้ว่าใครจะต้องเป็นคนที่คิดค่าบริการในการคลิกเข้าดูข้อมูล ในแต่ละครั้ง กรรมการสมาคมธุรกิจคอมพิวเตอร์ (เอทีซีไอ) กล่าวว่า หากประเทศไทยต้องเข้าสู่การจ่ายเงินทุกครั้งที่เข้าดูเนื้อหาออนไลน์และจ่าย เงินทุกครั้งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต การแจกแท็บเล็ตให้กับนักเรียนชั้น ป.1 นั้นจะเกิดปัญหาตามมาแน่นอน เพราะใครจะเป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายดังกล่าว ส่วนผู้ประกอบการธุรกิจก็คงจะแบกภาระเรื่องนี้ไม่ไหว และแน่นอนก็จะส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะประชาชนชาวไทยทุกคนที่ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งตอนนี้มีอยู่ที่ 24 ล้านคน http://news.impaqmsn.com/articles_hn.aspx?id=504210&ch=hn ช่วยวิเคราะห์ความเป็นไปได้หน่อยครับ ว่าจะเกิดขึ้นจริงมั้ย
1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต
2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด
3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม
4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต
5. คุณภาพบริการ
6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย
ดังนั้น ประเทศไทยควรแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ แต่ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญา ก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกไอทียู
ตอบง่ายๆครับว่าไม่มีทางเป็นไปได้ ตราบใดที่ยังตอบไม่ได้ว่าเงินจะเข้ากระเป๋าใคร
เนื่อง จากระหว่างวันที่ 3-14 ธันวาคม 2555 เป็นเวลาที่อยู่ในกระบวนการต่อรองสนธิสัญญา หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ แต่หากเห็นด้วยทั้งหมด 100% ก็จะบังคับใช้ทันทีสิ้นปีนี้
ดังนั้น ประเทศไทยควรแสดงจุดยืนในเรื่องนี้ แต่ทั้งนี้ หากประเทศไทยไม่ลงนามในสนธิสัญญา ก็จะถูกบล็อกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากอีก 179 ประเทศ ที่เป็นสมาชิกไอทียู
คือผมติดใจตรงประโยคนี้ครับ
ที่มาตั้งกระทู้ในบอร์ดนี้เพราะเห็นมีผู้ใหญ่เยอะดีครับ เพราะเห็นว่าถ้าเป็นจริงตามนั้นน่าจะมีผลกระทบกับทุกคน
ปล.รู้จักบอร์ดนี้มา 2 ปีแล้วครับ เข้ามาอ่านทุกวัน ขอบคุณทุกๆความรู้ที่มีให้จากทุกกระทู้นะครับ ^^
เราก็หาประเทศพันธมิตรทําแบบนี้ดูซิครับ คุณเข้าเวปในประเทศไทย คุณก็ไม่ต้องจ่ายเงิน ประเทศไทยเข้าไปเวปในประเทศคุณประเทศไทยก็ไม่ต้องจ่ายเงิน
ลองจับมือเป็นพันธมิตรกลุ่มใหญ่ๆดู ผมว่าสุดท้ายก็เข้าฟรีกันหมด ส่วนประเทศที่บล็อคและเสียเงินก็ไม่มีใครเข้าไปดู
มีแต่ประเทศปํญญาอ่อนเท่านั้นแหละครับที่จะเข้าด้วยอะ เดาว่า 179 ประเทศหลังเขาทั้งนั้นแหละไม่ก็ประเทศตัวต้นคิดที่ได้ประโยชน์ ส่วน จีน รัสเซีย เค้าคงไม่เอาด้วยหลอกเพราะเค้ามีสมองอะ ว่อนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องฟังธงไปเลยครับ ดีไม่ดี แสดงจุดยืนให้ประชาชนเห็น ไม่ใช่รอดูลมดูฝน รักษาตัวรอดไปวันๆแบบนี้
ทุกวันนี้เขาก็เก็บกันอยู่แล้วนี่ครับ
แพคเกจ 3Mbps - 200Mbps มีให้เลือกมากมายหลายราคา
ISP เขาก็แย่งกันใหบริการอยู่แล้ว ในการใช้งานแบบโทรศัพท์มือถือ มีทั้งการเก็บแบบรายชั่วโมง กำหนดความเร็วไว้ที่ 333Kbps
ถ้าแบบตามปริมาณการใช้งาน ก็จะเป็น 2GB 4GB ก็ว่าไป ที่ความเร็วสูงสุด พอครบตามปริมาณก็จะตัด หรือ ลดความเร็วลง ตามแต่เงื่อนไข
ทีนี้ข้อแตกต่างมันอยู่ที่ การใช้งาน มือถือจะใช้คลื่นความถี่วิทยุ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรณ์ที่ใช้แล้วหมดไป มันเลยต้องแบ่งๆ กันใช้ ไม่ทราบว่าหลังจากประมูล 3G แล้วจะเป็นอยางไร
ส่วนการใช้งานตามบ้าน จะใช้ผ่านสายโทรศัพท์ หรือสายเคเบิล ซึ่งมันไม่เป็นทรัพยากรณ์ ที่ใช้แล้วจะหมดไป มันเพิ่มได้เรื่อยๆ เลยไม่คิดค่าบริการ ตามปริมาณข้อมูล
ผมว่า ทำไม่ได้แน่ๆ