หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


MRLS กับกองทัพเรือ

โดยคุณ : Mr. Bean เมื่อวันที่ : 09/10/2012 16:12:15


Uploaded with ImageShack.us ขึ้นหัวกระทู้ไว้เลยครับ กับ MRLS กับทร. เพราะในเมื่อทบ.จัดหา SR4 MRLS ขั้นต้น 4 ระบบไปแล้ว เหตุใดทร.ไม่จัดหามาใช้บ้าง ยกตัวอย่าง ทร.สปจ. มีการปรับปรุงเรือฟริเกต Type053H ชื่อ Jiujiang (หมายเลข 516 )ติดตั้งแท่นยิงจรวด 122 มม. เพื่อเสริมอำนาจการยิงฝั่ง ซึ่งอำนาจการทำลายเป็นวงกว้าง แม้ไม่แม่นยำ แต่คงช่วยการยกพลขึ้นบกของ นย.ไทย ได้ขึ้นมากครับ





ความคิดเห็นที่ 1


มันหลากหลาย ไปรึเปล่าครับ บนเรือ ลำเดียว...

แชร์นะครับ...

โดยคุณ nidoil เมื่อวันที่ 04/10/2012 14:11:22


ความคิดเห็นที่ 2



Uploaded with ImageShack.us www.militaryphotos.net ด้วยอำนาจการยิงแบบนี้ กับราคาที่ ทร.น่าจะจัดหาได้ ประกอบ กับที่ทร. มีเรือฟก.จีน อย่างร.ล.เจ้าพระยาและบางประกง ที่ไม่ได้รับการปรับปรุง อย่างร.ล.กระบุรีและสายบุรี และอนาคตอวป. อย่าง C-801 คงต้องปลดประจำการไป และด้วยข้อจำกัดเรื่องงบประมาณของทร. ที่แต่ละปีได้น้อยอยู่แล้ว แถมอาจมีภาระผูกพันกับโครงการเรือดำน้ำ เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ ทางเลือกในการปรับปรุงนี้ น่าจะช่วยยกระดับการระดมยิงฝั่งแบบเรือรุ่นพี่ๆ เช่น ร.ล.ปิ่นเกล้าและร.ล.ประแสที่เคยทำมาแล้ว และหากทร.ปรับปรุงร.ล.เจ้าพระยาและบางประกง ด้วยแท่นยิง 122 MRLS นี้ จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการยกพลขึ้นบกได้อย่างมาก โดยเฉพาะหาก ใช้ในการยกพลขึ้นบกบริเวณช่วง จ.ประจวบฯ หรือพื่นที่อื่นที่แคบๆ ฝ่ายตรงข้ามคงจะไม่สามารถตั้งรับได้นาน โดยอำนาจการยิงที่เป็นวงกว้างครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 04/10/2012 14:15:52


ความคิดเห็นที่ 3



Uploaded with ImageShack.us

ครับท่าน Nodial มันอาจจะดูไม่เข้าท่าหรือดูตลก  แต่สำหรับ ทร.ไทย ที่ได้รับงบประมาณน้อย  โดยหากทร. ถอดอวป.C-801 ออก ( เมื่ออวป. หมดสภาพและไม่มีนโยบายเปลี่ยนอวป.อื่นๆแทน )

ซึ่งผมมองว่าระบบจรวดนี้ เป็นตัวเลือกที่คุ้มค่ามากครับ ( เราไม่ได้ใช้ยิงเรือด้วยกัน แต่ใช้ในการระดมยิงฝั่ง ทั้งยิงใส่ฐานทัพเรือ คลังน้ำมัน ท่าเรือ หรือแม้แต่เมืองท่าต่างครับ ซึ่งรวมถึงภารกิจจสนับสนุนนาวิกโยธินในการยกพลขึ้นบกครับ

   และทร.อาจจะถอดปืน 100 มม. หลังและ ปืน 37 มม. แท่นคู่ท้าย ร.ล.เจ้าพระยาและบางประกงออกก่อนครับ ดังเช่นภาพที่ผมลง แล้วติดตั้งแท่นยิงจรวด 122mm. MRLS เข้าไป ครับ 

   ถ้ามีงบประมาณเหลือ อาจเปลี่ยนปืน 100มม. หน้าเป็นปืน NG12-1 Twin 100มม. และปืนรองเป็นปืน NG15-1 Twin มม. แทนแบบร.ล.เจ้าพระยาและบางประกง  รวมถึงระบบอำนวยการรบ Poseidon 3 และFire control ใหม่ครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 04/10/2012 14:26:45


ความคิดเห็นที่ 4


แผนที่ประกอบจาก militaryphoto.net


Uploaded with ImageShack.us

เรือ 1 ลำ ติดตั้งแท่นยิงได้ อย่างต่ำ 4 แท่น แต่ละแท่นมีจรวดพร้อมยิงถึง 40 นัด ยิง 1 ครั้ง 4 แท่นยิง จะมีอำนาจยิงรวม 160 นัด เรือ 2 ลำ สามารถส่งจรวดไปได้ถึง 320 นัด การตอดตั้ง MRLS กับเรือ น่าจะเป็นทางเลือกให้ ทร.ได้นะครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 04/10/2012 14:56:10


ความคิดเห็นที่ 5


น่าสนใจนะครับ แต่ฐานยิงมันต้องมีระบบ STABILIZER ด้วยไม่ใช้เหรอครับ เหมือนปืนเรืออะ แล้ว ทร.เราจะทำได้เหรอ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 04/10/2012 16:38:48


ความคิดเห็นที่ 6


ใจคอจะให้ไม่มีจรวดต่อต้านเรือเลยเหรอครับ ทร.คงไม่โดนปล่อยเกาะขนาดนั้นหรอกครับ ดูอย่างการอัพเกรดชั้นนเรศวรเป็นต้น

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 04/10/2012 17:37:53


ความคิดเห็นที่ 7


น่าจะเป็นระบบที่สนับสนุนการยกพลขึ้นบกมากกว่าครับ เอาไปติดเรือสนับสนุนการระบายพลขึ้นบก

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 04/10/2012 21:31:23


ความคิดเห็นที่ 8


   อืมมม.....ไอเดียเข้าท่านะครับ   เรือจีนลำนี้ติดตั้ง 6 แท่นยิง  40 ลูกต่อ 1 แท่นยิง  หรือ 240 ลูกทีเดียว    แต่ระยะยิงใกล้ไปหน่อย  40 กิโลเมตรเท่านั้น

   จะว่าไปเรือชั้นเจียงหูที่ไม่ได้ปรับปรุงอีกสองลำของเราก็มีประสิทธิภาพดูด้อยไปที่จะไปคุ้มกันกระบวนเรือบรรทุกบ.จักกรี   เพราะภัยคุกคามรอบบ้านน่ากลัวขึ้นมากทีเดียว     ถ้าจะปรับปรุงเรือไปใช้ในภาระกิจสนับสนุนการยกพลแบบนี้    เรือคงถูกปลดออกจากกองเรือฟรีเกตไปอยู่ส่วนของนย.แทนแล้วล่ะ 

   และควรต้องติดตั้งทั้ง  DTI-2   DTI-3  หรือแม้แต่ DTI-1G  ปืนใหญ่ประจำเรือคงต้องถอดถอนออกหมด   เพราะระยะยิงสู้จรวดไม่ได้   และคงต้องมี UAV ชี้เป้าให้ด้วย    น่าจะสามารถจัดหารหน่วยรักษาชายฝั่งข้าศึกได้เหมาะสมทีเดียว      

   แต่ไอเดียเข้าท่าน่าสนใจมากๆครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/10/2012 21:42:29


ความคิดเห็นที่ 9


คิดถึงเรือหลวงนาคา

แต่เรือแบบนี้จำเป็นแค่ไหนในยุคนี้

เรือตรวจการไกลฝั่ง เรือฟริเกต เรือดำน้ำ น่าจะเป็นความจำเป็นเร่งด่้วนมากกว่า

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 04/10/2012 22:14:56


ความคิดเห็นที่ 10


ในวันที่คลื่นลมแรงคงยิงไม่ได้ ยิงไปคงสะเปะสะปะน่าดู

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 04/10/2012 22:30:28


ความคิดเห็นที่ 11


 

ผมก็คิด คล้ายๆกับท่านนีโอครับ

ในอนาคตอีกไม่กี่ปี เมื่อระบบ สเตบิไลเซอร์ พัฒนาใช้กับฐานยิงจรวดในเรือได้

และ ระบบจรวด มีระบบการยิงที่กำหนดพิกัดได้แม่นยำ คิดเป็นตารางนิ้วได้

เมื่อนั้น .. ปืนใหญ่ ประจำเรือคงหมดความสำคัญลงไป หรือ ปลดประจำการไปเลย

 

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 05/10/2012 00:11:32


ความคิดเห็นที่ 12


ผมว่าถ้ามันถูกมากก็โอเคอยู่

แต่ถ้าไม่ถูกสุดๆละก็ไม่น่าทำ เพราะเราน่าจะเน้นป้องกันตัวให้ดีๆก่อนจะไปคิดบุกใคร

เอางบมาทุ่มกับเรือฟริเกต สงครามต่อต้านเรือดำน้ำดีกว่า 

เพราะพูดถึงความน่าจะเป็น เราคงไม่มีการไปบุกเกาะใครในเร็ววันนี้ หรือถ้าจะพูดว่าเราโดนยึดเกาะแล้วจะยึดคืน  การโดนยึดเกาะมันคงไม่เกิดขึ้นถ้าเรามีระบบสงครามทางเรือที่ดีในการป้องกันอธิปไตยเหนือน่านน้ำที่มีเกาะนั้นๆ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 05/10/2012 08:53:38


ความคิดเห็นที่ 13


เข้าใจว่า ระบบ Stabilizer น่าจะมีติดตั้งมาพร้อมกับชุดแท่นยิงแล้วครับ หรือไม่จีนอาจกำลังพัฒนาอยู่หาก สปจ. ยังจะสนใจยุทธวิธีใช้จรวดระดมยิงฝั่งครับ  แต่เท่าที่ค้นหาดู คาดว่ามีเพียงเรือฟริเกต ชั้นType053H ชื่อ Jiujiang เพียงลำเดียวที่ถูกติดตั้งระบบจรวดดังกล่าวในปี 2006 ซึ่งไม่แน่ใจว่ามีปัญหาหรือไม่ จึงไม่มีการดำเนินการติดตั้งกับลำอื่นต่อ    สาเหตุอาจเป็นเรื่องระยะยิงเพียง 40km.  ซึ่งน้อยไปเมื่อเทียบกับอวป.พ-พ ฐานยิงบนบก  

      แต่ล่าสุดดังที่ทราบกันในปี 2012 นี้ จีนเปิดตัวระบบ SR-5 ซึ่งมีจรวด 2 แบบ คือ 122mm. และ 220mm. ( บางสื่อระบุ 300mm. ) โดยมีระยะยิงไกลสุด 50km. และ 70km. ตามลำดับ

     ผมคาดว่าอนาคต เราอาจเห็นระบบจรวดแบบนี้บนเรือสปจ. อีกครั้งครับ เมื่อสามารถพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้อง ที่น้ำหนักเบา ระยะยิงไกลแต่ ตัวจรวดไม่ใหญ่จนเกินไปได้ครับ   ส่วนตัวเชื่ออย่างนั้นเพราะ ระบบอาวุธประเภทนี้ มันเป็นอาวุธที่ใช้ทำลายล้าง ข่มขวัญทหารและพลเรือนฝ่ายตรงข้ามได้ดีครับ 

 

   ในส่วน ทร.ไทย เมื่อเราสามารถพัฒนา DTi-1รุ่นต่างๆ สมบรูณ์แล้ว คงมีโอกาสได้เห็นประจำการบนเรือหลวงของเราครับ ดังที่คุณ Neosiamese2 กล่าว  โดยเฉพาะเรื่องจรวดหลายลำกล้อง ไม่ว่า จะเป็นระบบนำวิถีหรือไม่นำวิถี จะเข้ามาแทนที่ระบบปืนใหญ่เรือ และปืนใหญ่ภาคสนาม แน่นนอนครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 05/10/2012 09:50:16


ความคิดเห็นที่ 14


ผมคิดว่า ทร.จีน  มีความมุ่งหมาย ที่จะทำลายในบริเวณพื้นที่ นอกอาณาเขตของประเทศตัวเอง มากกว่า ครับ...เช่น  ใช้กับ หมู่เกาะที่มีข้อพิพาท กับ ไตหวัน หรือ เวียดนาม

เพราะด้วยรูปแบบ MLRS เป็นการยิงแบบทำลายเป็นวงกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แม่นยำได้

การทำลายเป็นแบบ สะเปะ สะปะ...การนำมาใช้ในพื้นที่ประเทศของตนเอง คงไม่เหมาะสมครับ...เพราะ มันจะทำลาย มั่วไปหมดครับ...และมีความเสียหายเยอะมาก...เพราะ ลูกจรวด ลงเป็นกลุ่ม หรือ บางลูก ก็มีต้องมีหลงออกจากระยะ เพราะมันไม่ใช่ระบบนำวิถี...

ถ้า ทร.ไทย จะติดตั้งบนเรือ...น่าจะหมายถึงว่า ทร. มีภัยคุกคาม ที่จะยกพลขึ้นบก นอกอาณาเขต ประเทศไทย...โดยจะใช้เรือที่ติดตั้ง ไปยิงทำลายเปิดหาด....เพราะไม่ต้องสนใจ ความเสียหาย ที่จะเกิดขึ้นกับบริเวณข้างเคียง...

ความเห็นผมว่า...การมี MLRS คือ การหัน Rocket ยิงลูกจรวด ออกข้างนอกอาณาเขตประเทศไทย ครับ...ไม่น่าจะนำมาใช้ภายในอาณาเขตประเทศ ครับ...มันถึงต้องมีระยะยิง ไกล 20 – 40 ก.ม. เพราะต้องยิงเข้าไปในอาณาเขตฝ่ายตรงข้าม....

ซึ่งถ้า ทร. จะมี คงน่าจะใช้ในหน่วย นาวิกโยธิน เหมือนกับ อินโดนีเซีย (BM-70 ของประเทศเชค)...แต่ การใช้ของ นย. ก็น่าจะเป็นการใช้แบบ อาวุธเชิงรุก หรือ การรักษาฝั่ง ของ สอ.รฝ ที่ยิงออกไปในทะเล เพื่อทำลาย เรือยกพล หรือ ยานลำเลียงพล ที่จะขึ้นสู่ฝั่ง...




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 05/10/2012 16:26:30


ความคิดเห็นที่ 15


พอดีเห็นหลายท่านโพสบอกปืนเรือหมดความสำคัญไป

ก็เลยอยากให้นึกถึง สงครามฟอร์กแลนด์ เรือรบทันสมัยอังกฤษไม่มีปืนเรือหรืออะไรก็ตาม

โดนเอ็กโซเซ่ปล่อยจากเครื่องบินวินาศไปทั้งลำ จำได้หรือไม่ครับ

ปืนเรือยังต้องมีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรือชั้นไหนก็ตาม

เราเรียนประวัติศาสตร์เพื่อเป็นบทเรียน ไม่ใช่เรียนเพื่อทิ้งขว้าง

โดยคุณ bird เมื่อวันที่ 05/10/2012 20:27:14


ความคิดเห็นที่ 16


ก็บอกแล้ว ว่ามันดีกว่าปืนใหญ่ 5ขุม   เห็นเป็นคนพุดเล่นหรืองัย?

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 05/10/2012 22:21:32


ความคิดเห็นที่ 17


   การดัดแปลงเรือฟรีเกต  หรือ  OPV ติดตั้งระบบ MLRS หลายขนาด  เป็นการแสดงออกชัดเจนว่าต้องการยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นในการปฎิบัติการนอกบ้านตนเองอย่างชัดเจนครับ   แต่การที่เรามีเรือระบายพลขนาดใหญ่ LPD  และเรือ sea control สำหรับการสนับสนุนทางอากาศได้ทั้งการปราบเรือดำน้ำและการโจมตีทางอากาศ  ทำให้เพื่อนบ้านแถบนี้ทั้งหมดคิดว่าเรามีจุดประสงค์ในเรื่องความสามารถในการยกพลขึ้นบกนอกประเทศไปแล้วล่ะครับ  ...........    แม้เรามีไว้แค่ขู่ก็เถอะ ....... 

  

        ส่วนเรื่องปืนเรือที่เรากำลังพูดถึงว่าเริ่มหมดความจำเป็นในเรื่องการยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นบกครับ    ไม่ได้หมายถึงทุกภาระกิจ   เพราะหน่วยรักษาฝั่ง สอรฝ.  แทบทุกชาติมีประจำการอาวุธนำวิถ๊ต่อต้านเรือรบทั้งหมดแล้ว   ครั้นจะเอาเรือรบราคาแพงๆปิดระยะเข้าไปยิงปืนเรือใส่ข้าศึกบนฝั่ง   ก็คงไม่ไหว   ส่วนจะใช้พวกจรวดร่อนประเภท Land attack ก็แพงใจหาย   ไม่ได้รวยแบบอเมริกาที่พอไม่มีเงินก็พิมพ์แบงค์เองได้โดยไม่ต้องใช้ทองคำค้ำประกัน (ไม่งั้นมันล้มละลายไปตั้งนานแล้ว)    เครื่องบินเราตอนนี้ก็ไม่มีประจำเรือ     ก็เลยว่า  MLRS  ติดตั้งบนเรือน่าจะเวิอร์คในภาระกิจนี้ครับ

   ส่วนในเรื่องประวัติศาสตร์นั้น  เรืออังกฤษติดตั้งปืนใหญ่เรือแทบทุกลำครับในสงครามฟอร์คแลนด์  ทั้ง 100 มม.  127 มม.  76 มม.   40 มม.   ก็เห็นเดี้ยงแทบทุกครั้งที่ถูกยิงด้วยจรวดหรือแม้แต่ลูกระเบิดธรรมดาๆ    เพราะปืนเรือเหล่านั้นไม่ได้ถูกออกแบบให้ยิงต่อต้านอาวุธนำวิถีใดๆทั้งสิ้น  

   จะเริ่มมีก็พวกปืนใหญ่แบบ  76 SR super rapid นี่แหล่ะที่ดูจะเข้าท่า   เพราะออกแบบมาเพื่อยิงสกัดลูกอาวุธนำวิถีโดยตรง   เหมือนระบบปืนแกตลิ่งต่างๆที่ออกแบบมาเพื่อต่อต้านลูกนำวิถี   เช่น  ระบบฟาลังค์    โกลคีปเปอร์   AK-630   อะไรแนวๆนั้น   แต่ระยะหลังความนิยมเองก็เริ่มตกลงไปเรื่อยๆ   ไปเน้นจรวดที่ทำหน้าที่ CIWS แทนมากขึ้น

   ปืนเรือจะมีความสำคัญในภาระกิจบางประเภทเท่านั้นครับ    ไม่เห็นหรือว่าทร.เองก็เริ่มจะเน้นปืนเรือที่มีคาลิเบอร์ต่ำลงเป็น  76 มม.  และ 30 มม.   ถ้าต้องการระยะยิงไกลเกิน 20 กม.   ก็ล่อด้วยอาวุธนำวิถีแทน    แต่ถ้าเรือฝ่ายตรงข้ามเร็วกว่าและเป็นหนีขนของภาษี   แบบนี้ก็ต้องใช้เรือเร็วประจำเรือ   และฮ. ประจำเรือไปแทน  

  ไม่มีใครละเลยเรื่องเรือปืนหรอกครับ   โปรดพิจารณาเนื้อหาข้อความให้ชัดเจนก่อน

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/10/2012 00:04:19


ความคิดเห็นที่ 18


       อ๊ากกก......พิมพ์ไปตั้งเยอะพอส่งหายหมด   งั้นเอาแค่นี้ละกัน

   HMS  Sheffield  ติดตั้งปืนใหญ่เรือ  4.5 นิ้ว  มาด้วยตามรูปครับ   ตอนถูกยิงด้วยเอ็กโซเซ่   ปืนใหญ่เรือไม่ได้ทันกระดิกด้วยซ้ำครับ    เพราะอาวุธนำวิถีโผล่มาและใช้เวลาเข้าปะทะเรือไม่เกิน 10 วินาที  ที่เรือจมเพราะขาดระบบ  CIWS  ต่างหากละครับ

 
HMS Coventry   ถ้าจำไม่ผิดจะถูกเครื่อง A-4  ที่หลุดรอดจากระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นๆเข้ามาทิ้งระเบิดใส่ในระยะเผาขนเลย   ปืนใหญ่ทุกขนาดทั้งเล็กและใหญ่ไม่ได้ช่วยปกป้องเรือจากลูกระเบิดแต่ประการใด    ทั้งๆที่มันแค่ระเบิดแบบธรรมดาด้วยซ้ำ   

   ที่เป็นแบบนั้นเพราะเรือรบอังกฤษชาดแคลนระบบป้องกันระยะประชิดต่างหากครับ CIWs


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/10/2012 00:47:09


ความคิดเห็นที่ 19


   ถ้าจะมีประโยชน์หลากหลายหน่อยและเหมาะสมกับการป้องกันระยะประชิดก็คงต้องเป็นรุ่นใหม่แบบนี้  76 mm.  SR   รุ่นล่าสุดแก้ไขการสะบัดและสั่นอย่างแรงของลำกล้องปืนขณะยิงด้วยอัตรา 120 นัดต่อนาทีได้    แถมติดตั้งเรด้าร์ชี้เป้าขนาดเล็กติดตัวไปเลย   มีโหมดการยิง CIWS   ถ้าแค่ยิงเป้าอากาศยานความเร็วต่ำแบบ A-4 ที่พุ่งเข้ามาแบบที่อังกฤษเจอ   ก็เรียบร้อย  โดนสอย (แต่ปิดระยะมาในระยะเผาขนขนาดนั้นก็ไม่แน่เหมือนกัน)    ยิงเป้าพื้นน้ำได้สะดวก    แต่ไม่เหมาะสมกับการยิงสนับสนุนการยกพลขึ้นบกนักหรอกครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/10/2012 00:54:51


ความคิดเห็นที่ 20


   ขอโทษครับ  บอกผิด   ทร. เริ่มจัดหาปืนเรือที่มีขนาดลำกล้องเล็กลงมาเป็น 76 mm  และ  30 mm  แต่คาลิเบอร์มากขึ้น    คาลิเบอร์เป็นหน่วยวัดความยาวลำกล้องปืนใหญ่ครับ   ใช้เส้นผ่าศูนย์กลางวัดเทียบกับความยาวลำกล้องปืน  เช่น  76/62 mm  คือ  ปืนขนาด 76 มิลลิเมตร  คาลิเบอร์ 62 เท่าจากขนาดความกว้างของปากลำกล้องครับ    ต้องขอโทษด้วย  พิมพ์มันจนเกินไปหน่อย

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/10/2012 00:59:47


ความคิดเห็นที่ 21


ผมว่าการเอา MLRS ไปติดบนเรือฟริเกตหรือ OPV เนี่ย มันค่อนข้างแสดงเจตนาเชิงรุกกดดันต่อประเทศเพื่อนบ้านมากไปหน่อยหรือเปล่าครับ

แค่เรามี LPD กับ STOVL carrier ประเทศเพื่อนบ้านก็มองด้วยสายตาที่ไม่ไว้ใจอยู่แล้ว แม้ทางเราจะแก้ตัวว่าเอาไว้เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นสำคัญก็เถอะ 

แต่ดูเหมือนประเทศรอบข้างจะไม่ค่อยเชื่อกันเท่าไหร่ อาจเพราะประเทศเราภัยพิบัติมันน้อย เลยดูไม่เนียนเท่าไหร่ เค้าเลยถอยเรือดำน้ำออกมาแก้ทางกันเป็นแถว

ถ้ามีเรือติด MLRS อีก สงสัยเป็นไข้จับสั่นกันทั้งบางเป็นแน่แท้

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 06/10/2012 18:10:29


ความคิดเห็นที่ 22


ถ้าเป็นไปได้ผมก็สนับสนุนครับ ไทยทำ ไทยใช้ มีแต่ไม่ได้ใช้ ก็ยังดีกว่าจะใช้แล้วไม่มี ถ้า DTI-1G สำเร็จแล้ว ติดตั้งได้ ว้าว ว้าว ว้าววว

โดยคุณ akenaptec13 เมื่อวันที่ 06/10/2012 18:40:44


ความคิดเห็นที่ 23


ทำไมเราทำอะไรต้องไปมองว่า เพื่อนบ้านจะคิดยังไงกับเราครับ  แต่เวลาเพื่อนบ้านทำอะไรเค้าจะคิดเหมือนกันกับเราหรือ เราต้องแคร์เพื่อนบ้านด้วยเหรอ ทำไมเราไม่จัดให้ล้ำหน้าเขาไว้หากมีกำลังความสามารถ ผมว่าถ้าเพื่อนบ้านเขามีความสามารถมีกำลังซื้อเค้าก็คงไม่มานั่งกังวลหรอกว่าไทยจะคิดยังไงกับเค้า เค้าคิดแค่ว่าทำยังไงจะทิ้งไทยให้ได้เยอะที่สุดให้ได้ไกลที่สุด


โดยคุณ thanakon เมื่อวันที่ 07/10/2012 13:02:28


ความคิดเห็นที่ 24


ก็ถ้าถามใจจริง ผมก็อยากให้ระยะห่างระหว่างเรากับประเทศเพื่อนบ้านมันห่างมากที่สุดเท่าที่ทำได้

แต่ต้องพิจารณาด้วยว่าประเทศเรามันไม่ได้เป็นมหาอำนาจขนาดนั้น

การที่เราใหญ่ขึ้น แน่นอนย่อมถูกจับตามองมากขึ้น ประเทศรอบข้างเราบางประเทศก็คนเบื้องหลังอยู่

เราใหญ่เกินไปไปเมื่อไหร่ กลัวอยู่แต่ว่าคนเบื้องหลังเค้าหาเรื่องจะกดเราให้ต่ำกว่าเดิมนั้นละ

ทางที่เราจะใหญ่แบบยั่งยืนได้คือเราต้องพึ่งตัวเองให้มากที่สุด

ผมไม่อยากให้ภาพแบบนี้เกิดขึ้นในประเทศไทยครับ

 

โดยคุณ Ricebeanoil เมื่อวันที่ 07/10/2012 13:39:56


ความคิดเห็นที่ 25


MLRS ถ้าระยะยิง 40 กม.อาจสั้นไปหน่อย อาจไม่ได้เปรียบ เมื่อจะนำไปดวลกับปืน 155 มม.ที่ได้เปรียบเรื่องความแม่นยำ ยิ่งถ้า เป็น 155 อัตตาจร เช่น ซีซาร์ หรือ GHN-45 ที่มี APU เรือติด MLRS ลอยลำยิง อาจเป็นเป้านิ่งไปเลยก็ได้    

โดยคุณ terdkiet เมื่อวันที่ 07/10/2012 21:25:12


ความคิดเห็นที่ 26


ใช่ครับ ระยะยิงเพียง  40km ดูจะสั่นไป แต่คิดว่าอนาคต จะมีระยะยิงไกลกว่านี้ครับ เช่น อย่างจรวดขนาด 122m เช่นระบบ BM-21 รุ่นแรกๆ มีระยะเพียง 20km กว่า ต่อมาพัฒนากันจนถึง 40km  หรืออย่างจีนนำมาพัฒนาต่อยอดจนถึง 50km ในรุ่น Type90 อนาคต ทร.หรือ DTI เองอาจพัฒนาให้มีระยะยิงไกลขึ้น เองก็ได้ครับ

     การนำระบบ MLRS มาติดตั้งบนเรือ ใช่ครับมันต้องเป็นอาวุธเชิงรุกและป้องปรามไปในตัวครับ ไม่มีประเทศไหนครับ ที่อยากจะรบกับประเทศที่มีอาวุธยุทโธปกรณ์ดีกว่าครับ  หันกลับมามองสภาพภูมิศาสตร์ การที่เรามีเรือประเภทนี้ไว้ น่าจะได้เปรียบประเทศอื่นครับ  เราใช้เรือประเภทนี้ในการสนับสนุนนาวิกโยธินหรือทหารบกบนฝั่ง หรือใช้เพื่อเปิดทางในการยกพลขึ้นบก  ส่วนเรื่องที่ว่าเรือจะเป็นเป้าของอวป.หรืออาวุธฝ่ายตรงข้าม ใช่อยู่แล้วครับ ดังนั้น เราต้องพัฒนาให้จรวดมีระยะยิงไกลกว่าระบบป้องกันฝั่งของเขา และเรือเอาก็ควรมีการติดตั้ง ระบบป้องกันตนเองในระดับหนุ่ง ทั้งเป้าลวง หรือ CIWS ครับ  ส่วนการป้องกันการโจมตี ทางอากาศ อย่างไรเสียง กองทัพอากาศก็ต้องช่วยป้องกันทั้งกองเรืออยู่แล้วครับ  แล้วเรือไม่ได้ปฎิบัติการเพียง ลำเดียว เราต้องรบกันเป็นทีมครับ

   ส่วนเรื่องที่ว่ามันจะมาแทนปืนใหญ่ ผมหมายถึงเรือการระดมยิงฝั่งครับ ด้วยอัราการยิง ระยะยิง มันรุนแรงกว่าปืนใหญ่เรือมากครับ

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 09/10/2012 15:56:12


ความคิดเห็นที่ 27


ใช่ครับท่าน Juldas มันอาจจะดูเป็นการยิงสะเปะ สะปะ ดูมั่วๆ และอาจดุไม่เหมาะสมในการใช้ยิงประเทศตนเอง แต่หากฝ่ายตรงข้ามยึดพื้นที่เรา เช่นช่วงจังหวัดประจวบฯระนอง  หรือ 3 จังหวัดภาคใต้ เราจะยกพลขึ้นบกเพื่อยึดคืนพื้นที่ อย่างไรเสีย เราก็มีความจำเป็นต้องระดมยิงฝั่ง แม้แต่ตัวเมือง เราก็ต้องทำลายครับ ยิงจนกว่าฝ่ายตั้งรับจะอ่อนกำลัง แล้วเราถึงส่งนาวิกโยธินขึ้นฝั่ง เราคงไม่รบแบบใจอ่อน แล้วปล่อยให้ทหารเราโดนแบบ การยกพลขึ้นบกในช่วง WW2 ครับ

    ในสงครามต้องไม่มีคำว่าปราณีครับ ทำลายได้คือทำลาย อาคารบ้านเรือน สร้างใหม่ได้ครับ ถ้าฝ่ายตรงข้ามยึดเมืองได้ มันก็หมายถึงเราเสียเมืองนั้นไปแล้ว ดังนั้นเราจะยึดคืน  คือเรายึดพื้นที่คืนครับ เพราะเมืองมันตายไปตั้งแต่เขายึดแล้ว ส่วนเรื่องประชาชน สงครามคือสงครามครับ

    หันกับมาเรื่อง MLRS หรือ MRLS  ถ้าจำไม่ผิด ผมเคยอ่านประวัติศาสตร์การรบของจีน จำได้ว่า ทหารฝ่ายหนึ่งแทบไม่เสียกำลังพลเลย ในการเข้ายึดเมือง  เขาใช้ธนูยิงเข้าใส่เมือง เป็นสัปดาห์จนกระทั่งทหารในเมืองยอมแพ้  คิดว่าระบบจรวดหลายลำกล้อง มันก็คือธนูยุคใหม่ครับ  ประกอบกับเห็นเรือฟริเกตจีน ได้ทดลองติดตั้งระบบนี้เข้าไปครับ 

โดยคุณ Mr. Bean เมื่อวันที่ 09/10/2012 16:12:15