ยกตัวอย่างเช่น
sar-21 ของ สิงคโปร์
tar-21 ของ อิสราเอล
ขอบคุณล่วงหน้าครับ
มาตอบ เฉพาะทราโว่
กระบอกสั้น แต่หนักมาาาาก ไม่เหมาะด้วยประการทั้งปวงในการตรวจพร้อมรบ
ที่ต้องยืนกลางแดดเป็นเวลานาน มีปัญหาทั้งในท่า ตามระเบียบพัก และเรียบอาวุธ
ตอนที่ร้อนมากๆ เอามาค้ำเหมือน M-16 ก็ไม่ได้ พึ่งได้รับมาไม่กี่วัน ค่อนข้างมีปัญหากับท่าใหม่เลย
จ่า ที่อยู่มานานบางคนยังหาซองเสียบกระสุนไม่เจอ ด้วยซ้ำ แล้วลุงๆ หลายคนแอนตี้มากกับปืนสั้นๆชนิดนี้
เพราะแกเห็นว่า การถอดหลักสูตร ติดดาบปลายปืน ตะลุมบอนอะไรออกไปนั่น
มันจะทำแกไม่ค่อยสบายใจ เกี่ยวกับอัตตราการรอด ในพื้นที่น้อยลง ร้อยละ 90 คนในหน่วย รีเควส M-16 เหมือนเดิม
tar 21 กระแสตอบรับไม่ดีเลย(แต่ปืนมันเท่นะ)
อยากให้ ทบ จัด M-4 จัง
ข้อดี บูลพัพ สั้น
ข้อเสีย แล้วแต่แบบ
แต่ถ้า TAR 21 ขอลาขาดดดด
แต่ TAR 21 เบากว่า M16 ซีรี่นะครับ ที่ว่าตรวจพร้อมรบหนัก สงสัยเป็นเพราะท่าเรียบอาวุธ เพราะท่าเรียบอาวุธTAR21 ต้องสะพายเฉียงอยู่กับตัว แต่นั่นไม่ใช่ตรรกกะสำคัญของมันเท่าไหร่ ไอ้พวกท่าต่างๆมันเปลี่ยนกันได้ แต่มันมีปัจจัยหลายอย่างสำหรับเราที่ TAR21 ไม่น่าใช้
สำหรับผม ถ้า TAR 21 มาแทน HK33 จะดีมากเลยครับ
เรื่องความหนัก เท่าที่เคยจับ ผมว่า TAR 21 < M16 < HK33
ขอทีเถอะเปลี่ยน HK33 เถอะคร้าบบบบ ยิงเป้าครั้งล่าสุดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ท่าละ 10 นัด
ท่ายืน เข้าวงดำ 4
ท่านั่งยิง เข้าวงดำ 7
ท่าคุกเข่ายิง เข้าวงดำ 5
ท่านอนยิง เข้าวงดำ 10+2 (อีก 2 นัด คนข้างๆ เค้ายิงผิดเป้า ฮ่าา)
HK33 สำหรับผม เหมาะสำหรับท่านอนยิงอย่างเดียวครับ สำหรับท่ายืนยิงต้องยืนติดเสาแล้วเอามือซ้ายจับเสาไว้แล้วเอาปืนมาพาดแล้วยิงจะแม่นขึ้นครับ แต่ตอนยิงไม่มีเสาให้จับนี่สิ T_T เปลี่ยน
ด้วยกระบอกที่สั้นของมันทำไห้มีปัญหาพอตัวเลยหละครับ
เวลา เข้าแถวตรวจความพร้อม เวลาเข้าเวร หรือเวลาฝึกเดินทางไกล
ถึงมันจะเบากว่า แต่ด้วยขนาดและรูปทรงของมันทำให้รู้สึกหนักกว่ามาก
ในการที่จะต้อง ถือปืนด้วยมือข้างเดียว เป็นเวลา 4 หรือ 6 ชั่วโมง ติดต่อกัน
และไม่สามารถแบกอาวุธ ในตอนเดินทางไกล หรือวางพื้นในท่าที่ถูกต้องในตอนยืนได้
ผมมองว่า มันเป็นการทำให้แขนหรือไหล่ล้าเปล่าๆ ซึ่งมันจะทำให้เกิดความเครียดสะสมโดยไม่จำเป็น
ซึ่งน่าจะมีผลมากในการปฏิบัติการที่ค่อนข้างหนักและนาน อย่าง ฝึกเดินเร่งรีบ
และเรื่องศูนย์เล็ง ค่อนข้างจะเป็นปัญหาเลย เพราะ ทราโว่ไม่มีศูนย์หน้า ทำให้ความมั่นใจเวลายิงน้อยลง
และอีกเรื่องที่สำคัญมากคือ ไอ้รังเพลิง มันระเบิดไกล้ตัวมากจนเกินไป
เวลายิงจะมีความรู้สึกแปลกๆ ที่แย่เอามากๆ ทำไห้ผลการยิงแย่สุดๆ แบบว่าเกือบไม่เข้าเป้าดำเลยมั้ง
ไม่รู้ดิ แต่ผมว่า ทราโว่ไม่เหมาะกับคนตัวเล็ก ที่อยู่ในสภาพอากาศ ร้อนชื้นอย่างบ้านเรา
ท่าตามระเบียบพัก นี่ ใช้ สายสะพายปืนได้ไหมครับ ถ้าแขนยาวไม่พอ
ผมสงสัยว่า ทราโว่ มันเหมาะกับคนถนัด ซ้ายมั้ย
สรีระคนไทยน่าจะเหมาะกับ m-4 มากกว่านะ
ขอไล่เป็นข้อๆ เลยละกันนะครับ สำหรับข้อดีข้อเสีย
ที่หน่วยก็ได้รับ tar 21 มาประจำการเหมือนกัน แต่ที่หน่วย มีข้อได้เปรียบ
เรื่องความหลากหลาย ของอาวุธทำให้เปรียบเทียบได้เห็นภาพ
แต่ก็มาถึงข้อเสียเปรียบ เรื่องการส่งกำลัง และการซ่อมบำรุง
สำหรับเรื่องน้ำหนัก สำหรับ tar 21 ไม่ได้หนักไปกว่าปืนประจำกายปกติหรอกครับ
เพียงแต่ น้ำหนักของปืนทั้งหมดอยู่บนตัวของผู้ใช้งาน แตกต่างจากปืนเล็กยาว
ทั่วๆ ไปอย่าง m 16 หรือ hk 33 ปืนพวกนี้เวลาถือปกติในท่าเรียบอาวุธ
น้ำหนักอยู่บนพื้น ทำให้ภาระในการใช้งานแบ่งเบาไปได้บ้าง
ข้อดีนะครับ
- ความสั้น ของปืน ทำให้เคลื่อนย้ายสะดวก ไม่เกะกะ โดยเฉพาะเมื่ออยู่บนยานยนต์
( เนื่องจาก ชุดลูกเลื่อน และ แหนบรับแรงถอย จัดทำให้ขนานกัน เลยไม่ต้อง
มีพื้นที่กระบอกสูบ ในพานท้าย )เหมาะเป็นอย่างยิ่ง สำหรับหน่วยยานเกราะ
ที่ต้องขึ้นลง รถหุ้มเกราะเป็นประจำ
- ถึงแม้ปืนจะสั้น แต่ความยาวของลำกล้องเท่ากับปืนเล็กยาว อำนาจการยิงไม่เปลี่ยนแปลง
- ระยะห่างระหว่างศูนย์หน้า ศูนย์หลัง กรณีใช้ศูนย์เปิดสั้น จับเป้าหมายได้เร็วกว่า
- ถ้าฝึกให้ชำนาญเปลี่ยนซองกระสุนเร็วกว่า ในท่ายิงที่ไม่ใช่ท่านอนยิง
เพราะไกล้กว่า แต่ไม่คุ้นจะรู้สึกติดขัด ( ผมก็เป็น )
- ตัวมาตรฐานบ้านเราเป็น จุดแดง พอปรับได้ที่ แม่นโคตรๆ ( อาจเป็นเพราะปืนใหม่ )
ข้อเสีย
- เวลายิง น้ำหนักของแรงถอย ส่งตรงมาด้านหลัง เวลายิงโหมดออโต้ ปืนจะเหินง่ายกว่า
- เวลายิงในท่านอนยิง เปลี่ยนซองกระสุนยากกว่าปืนเล็กยาวแบบปกติ
- ยิงแบบมีเครื่องหนุนรอง ลำบากมาก ( แต่เป็นท่ายิงมาตรฐานในการตั้งรับ )
- การปรนนิบัติบำรุง สำหรับผู้ใช้งาน ทำได้ไม่มาก ( แต่เขาก็ออกแบบให้เป็นแบบนั้นอยู่แล้ว )
- เวลาเดินทางทางธุรการ เดินเร่งรีบ หรือเคลื่อนย้ายหน่วย พาดหลังไม่ได้ เพิ่มภาระแก่ผู้ใช้งาน
- เวลายิงในท่านอนยิงทางยุทธวิธี ด้วยความที่ปากลำกล้องไกล้ตัวผู้ยิง เวลายิงไกล้พื้น
ฝุ่นกระจายเต็มหน้า และแสงจากปลอกลดแสง เข้าตาเยอะเวลายิงกลางคืน
- พอมันสั้น และไกล้มากๆ ยิงไปกลิ่นดินปืนเข้าเต็มๆ หายใจแทบไม่ออก
- การใช้ต่อสู้ด้วยปืนเล็กยาวติดดาบ ปัจจุบันอาจน้อย แต่ผมว่ามันจำเป็น อย่างน้อย
ก็มีพานท้ายให้ฟาดปากข้าศึกได้
*** สรุป ไม่เหมาะในการใช้งานในหน่วยทหารราบปกติ เพราะโดยทั่วๆ ไปมักใช้การเดิน
เป็นหลักในการปฏิบัติการทางยุทธวิธี แต่ถ้าเป็นหน่วยทหารม้ายานเกราะ
ทหาราบยานเกราะ หรือส่งทางอากาศ ทางเรือ หรือต้องใช้ในพื้นที่แคบๆ
ผมว่าก็น่าใช้อยู่ เพราะด้วยกับขนาดพอๆ กับ M4 แต่อำนาจการยิงต่างกันเยอะ
*** สรุปอีกที หลายหน่วยอาจเหมาะ หลายคนอาจชอบ แต่สำหรับผม ขอปืนเล็กยาวปกติ
แบบที่เคยใช้ดีกว่า คล่องตัวกว่าหลายเท่า
** อันนี้ส่วนตัวนะครับ สำหรับปืนเล็กยาวแบบ 11 หรือ HK 33 ผมว่า ใช้งานได้ดีมาก และ
ยิงค่อนข้างแม่น ที่หลายๆ คนยิงไม่เข้า อาจไม่คุ้นเคย และปืนอาจเก่า ทำให้กลุ่มกระสุน
กว้างขึ้น แต่ถ้าปืนที่เกลียวยังคมอยู่ ขอบอกแม่นมาก แต่ก็ตบมากกว่า M 16 เนื่องจาก
- น้ำหนักปืนโดยรวม เทไปด้านหน้า เวลายิงจึงคุมปืนได้ดี แต่ด้วยกับพานท้ายเบา และเป็น
ระบบ ทำงานด้วยแรงถอย ทำให้ตบบ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไร
- มุมของพานท้ายกับศูนย์ปืน เหมาะกับการยิงมาก ประทับยิงง่าย จับศูนย์ได้รวดเร็ว
- ศูนย์ปืน ออกแบบเป็น ศูนย์หน้าตาย ปรับที่ศูนย์หลังอย่างเดียว และมีโครงศูนย์หน้า
ซ้อนกับศูนย์หลังให้จับเป้าหมาย ( ลักษณะเดียวกับกล้องเล็ง ) ทำให้การยิงปราณีต
หรือการยิงมาตรฐาน ในระยะไกล จะดีกว่าเนื่องจากจับศูนย์พอดีง่ายมาก ไม่ต้อง
กะระยะ จัดเซ็นเตอร์ แบบ M 16
** แต่ก็นั่นแหละ ด้วยกับน้ำหนักที่เทไปด้านหน้า เวลายิงในท่ายืน ปืนมักไม่ค่อยนิ่ง
เนื่องจากน้ำหนักปืน ไปลงที่มือด้านหน้าเป็นหลัก
** และการยิงเร็ว ในระยะไม่ไกลมาก และในพื้นที่แสงน้อย ปืน M 16 ดูจะได้เปรียบกว่าเยอะ
เนื่องจากแสงผ่านศูนย์ เข้ามาได้มากกว่า
*** เป็นความเห็นส่วนตัวจากผมเองนะครับ เนื่องจากผมต้องสอนสิ่งเหล่านี้ตลอด
หากผิดพลาด หรือมีข้อเพิ่มเติม กรุณาบอกด้วยนะครับ ผมได้ไม่สอนไปแบบผิดๆ
ชอบกระทู้แบบนี้ครับ ใช้เหตุผลหลักวิชาคุยกัน ขอให้เป็นแบบนี้นานๆ นะครับ สังคมที่นี่
จะได้อบอุ่นน่ารักแบบนี้ตลอดไป
มันติดดาบปลายปืนไม่ได้ใช่ใหมครับ
ใครได้ดูการ์ตุนผมคงจะเห็นตัวนี้แล้วนะครับ ทราโว่แม็กหน้าที่ผมออกแบบเอง 555+
อยากให้เพื่อนๆช่วยวิจารณ์ว่าถ้าดัดแปลงแบบนี้แล้วจะใช้งานได้ดีขึ้นไหมครับ? หรือควรแก้ตำแหน่งตรงไหนบ้าง
คุณ tan02 ทำอย่างนื้กับปืน bullpup ไม่ได้นะครับ มันเสียชาติเกิดมัน 5555+
แหมท่าน ไทยเรายังเอาเอชเค33 มาทำบูลพัพเลย ไม่เสียชาติเกิดหรอกครับ เค้าเรียกว่าประยุกต์ 555+
ตัวนี้ผมเอามาจากของจริงนะครับ เอชเค33บูลพัพไทยเจเนอเรชั่นล่าสุด
ขอบคุณภาพจากท่านmonsoon TAF ภาพล่างนี่ล่าสุดเลยครับ ท่านผบ.ทบ. ในวันภูมิปัญญาวีรชนไทย
รุ่งไพศาล RPS001S ปืนในตำนาน
เป็นบูลพัพแว้ว 555
ซาร์80ปืนตำรวจ
เป็นบูลพัพอีก
คุณลักษณะมั่วไปท่านอื่นตอบหมดแล้ว ทีนี้ผมตอบในสายตาที่เห็นเวลาขับรถผ่านทหารที่ยืนถือบ้าง
ข้อดี เห็นแล้วสวย เท่ห์
ข้อเสีย เสียว...เวลาทหารที่ถือทำความเคารพไม่รู้ว่ากำลังจะทำความเคารพหรือกำลังยกปืนขึ้นเตรียมจะเล็ง....เอ็งเล่นยกปืนขึ้นมาระดับหน้าเลย..T_T
มันเคยถกหัวข้อนี้ไปแล้วแหละ
ปืนแบบ บูลพัพ ไม่สามารถนำซองกระสุนไว้หน้าโกร่งไกได้ครับ
เพราะถ้าทำ ปืนนั้นจะกลายเป็นคาร์ไบน์ไปทันที
เนื่องจาก กระสุนต้องป้อนตรงด้านหลังของรังเพลิง ถ้าไว้หน้าโกร่งไก
ต้องตัดลำกล้องสั้นลงมาอีก และถ้าไม่ตัดลำกล้องสั้น ความยาวไม่หนี
ไปจากปืนเล็กยาวมาตรฐานสักเท่าไหร่หรอกครับ
เหตุที่ เอาซองกระสุนไว้ด้านหลังโกร่งไก ก็เพื่อให้ลำกล้องส่วนใหญ่อยู่ในตัวปืน
และชุดเคลื่อนที่ ส่วนใหญ่ ก็นำไปซ้อนไว้ด้านบน ทำให้ไม่เสียพื้นที่
แต่ถ้าเป็นปืนเล็กยาวปกติ ชุดเคลื่อนที่ ( ลูกเลื่อน ) จะอยู่หลังลำกล้องครับ
และปืนเล็กยาว HK33 ที่นำมาทำเป็นบูลพัพได้ นั่นก็เพราะว่าปลย.11 ใช้ระบบ
โบลว์แบ๊ค ทำงานด้วยการถอยหลังของส่วนเคลื่อนที่ โดยกำลังอัดจากแรงระเบิด
ของกระสุนปืนดันหน้าลูกเลื่อนโดยตรง ปืนจำพวกนี้ พานท้ายตัน เพราะเหตุนี้
จึงทำเป็นบูลพัพง่าย เพียงย้ายโกร่งไกไว้ด้านหน้า แล้วเอาพานท้ายออก ดัดแปลงใหม่
เป็นพานท้ายบางๆ ปิดห้องลูกเลื่อนก็จบครับ
HK33 หรือ ปลย.11 ของบ้านเรา ชุดลั่นไก และลูกเลื่อนไม่ได้ย้ายไปไหน ย้ายเพียงแต่
ด้ามปืน และโกร่งไก ชุดไกปืน เวลากดไก ใช้แท่งเหล็กไปดันชุดไกปกติครับ ดัดแปลง
ไม่มาก ก็เหมือนใช้ไกชุดเดิม แต่โยงต่อกับไกตัวใหม่แค่นั้นเองครับ ลำกล้องไม่ตัด
ใช้ตัวเดิม เคยลองจับๆ แกะๆ ถอดดู ก็ได้แต่คาดเดาตามหลักวิชา แต่ยังไม่เคยลองยิง
จุดอ่อนของ HK 33 คือ เวลากระสุนระเบิดจะคายแก๊สส่วนหนึ่งมาอุ้มปลอกกระสุนไว้
และดันออก ( เป็นปืนชนิดเดียวที่เคยเห็นทำ ) ระบบนี้ใช้ทั้งปืนเล็กยาวและปืนพก HK
สังเกตุง่ายมาก ปืนตระกูล HK เวลายิงออกมาจะมีแถบดำๆ ที่โดนแก๊สเผาที่ปลอกกระสุน
ทำให้ แก๊สที่คายออกทางช่องคัดปลอก เป็นต้นเหตุให้ คนยิงหายใจยาก และน้ำตาไหล
และถ้าเอามาทำเป็นบูลพัพ ช่องคัดปลอกที่ว่าแก๊สคายออกมานี่แหละ อยู่ประมาณปลายคาง
ลองเดาอารมณ์คนยิงดู สงสัยต้องใส่หน้ากาก กับแว่นกันลม ไม่งั้นสงสัยแสบตากันแน่นอน
หาคริปมาให้ดู ครับ
ขอคุณทุกคนมากเลยครับได้ความรู้เยอะเลย
ว่าจะไม่แล้ว แต่ไหนๆก็มีกระทู้ที่น่าจะเป็นกระทู้ที่ดีอีกกระทู้ ก็ขอสักหน่อยละกันนะครับสำหรับเจ้า TAR-21 ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนนะครับว่าพูดจากที่เคยสัมผัสในระดับผู้ใช้และหน่วยใช้
ก่อนอื่นสำหรับปืนตระกูล TAR-21 Tavor ตามตำราคือมี 5 รุ่นคือ
1 TAR-21 ซึ่งก็คือตัว ปลย.(Rifle)มาตรฐาน มีแท่นรับด้ามดาบปลายปืน สามารถติดดาบได้ทั้ง M7และM9
2 CTAR-21 ตัว C คือ Commander ซึ่งถ้าตามความหมายของบริษัทผู้ผลิต(หรือเราแปลผิดหรือเปล่าก็ไม่รู้)ก็คือ ปืนสำหรับผู้บังคับบัญชา คือ ลำกล้องจะสั้นกว่าตัว TAR-21 ไม่สามารถติดดาบปลายปืนได้ แต่ส่วนตัวถ้าจะให้จัดประเภทมันก็คือตัว Carbine หรือ ปลส.(ปืนเล็กสั้น) ครับ
3 GTAR-21 G ก็คือ Grenade launcher เครื่องยิงลูกระเบิด ตัวนี้คือตัวที่ติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.แบบ M203 ครับ
4 MTAR-21 M ก็คือ Micro เป็นตัวที่ลำกล้องสั้นลงไปอีก(สั้นกว่า CTAR) ถ้าจัดชั้นให้คือ Submachine gun หรือ ปืนกลมือ ปกม. ตัวนี้มีข้อแตกต่างจากพี่น้องร่วมตระกูลอีกคือ เครื่องป้องกันไกจาก การ์ดด้านหน้าเป็นโก่งไกเหมือนปืนทั่วๆไป และตัวปลดซองกระสุนจากก้านปลด(อยู่หน้าช่องรับซองกระสุน) เป็น ปุ่มกด(น่าจะซ้าย-ขวา)เหนือโก่งไก คล้ายๆของปืนตระกูลM16 ครับ
5 STAR-21 S ถ้าจำไม่ผิดคือ Sharp shooter ตัวนี้คือปืนสำหรับพลแม่นปืน หรือ Designated marksman-Rifle (ซึ่งคนละอย่างกับพลซุ่มยิงหรือ Sniper นะครับ) เท่าที่เห็นในรูป(เพราะไม่เคยจับตัวจริงสำหรับเจ้าตัวนี้) มันก็คือ TAR-21 ที่ติดกล้องเล็งกำลังขยาย Trijicon ACOG และติด Bi-pod(ขาทราย 2ขา) เท่านั้นเอง ตรงนี้ไม่ทราบว่า IWI กะเป็นพ่อค้าคนกลางโดยฮั้วกับทริจิค่อนด้วยการเอา ACOG มาติดบน TAR-21 พ่วง Bi-pod เข้าไปแล้วอุปโหลกว่าเป็น DM-R แล้วชาร์จราคาเพิ่มเข้าไป เพราะถ้าจะให้เป็น DM-R จริงๆ ลำกล้องต้องต่างจากตัวมาตรฐานTAR-21 ต้องเป็นลำกล้อง Match grade เพราะถ้าไม่ใช่ลำกล้อง Match grade มันก็คือ TAR-21 ที่เปลี่ยนเครื่องช่วยเล็งยิงเป็น Optic มีกำลังขยาย และติดขาทรายเท่านั้นเอง
ส่วนมากปืนสำหรับพลแม่นปืน(ย้ำอีกครั้งว่าคนละอย่างกับพลซุ่มยิง)จะนิยมนำ ปลย. ประจำการปกติมาพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มความแม่นยำเช่น เปลี่ยนลำกล้องเป็นลำกล้อง Match grade,เพิ่มอุปกรณ์ช่วยเล็งยิงประเภท Optic มีกำลังขยายกลางวัน/กลางคืน แต่ยังคงชิ้นส่วนหลักที่เหมือนๆกับ ปลย.ประจำการเพื่อง่ายในการส่งกำลัง ยกตัวอย่างเช่น ปืน Mk12 Mod 0,1 โดยเฉพาะตัว mod 1 ที่ถ้าดูรูปทรงภายนอกก็แถบจะไม่แตกต่างจาก M16A4 เท่าไหร่ แต่ปัจจัยหลักคือเปลี่ยนลำกล้องเป็นลำกล้อง Match grade 18 นิ้ว (ติดมัสเซิลเบรกและติดอุปกรณ์ลดเสียง) และติดกล้องเล็งกำลังขยายของ ลิวโพว์ ทั้งนี้ทั้งนั้นกระสุนก็เป็นปัจจัยสำคัญเหมือนกัน เพราะถ้าใช้กระสุนทั่วไปล็อตเดียวกับ ปลย. กลุ่มกระสุนจะไม่ดีเท่าที่ควร เช่น Mk12 mod 0,1 ถ้าใช้กับกระสุน Mk262 mod (77เกรน) จะทำกลุ่มได้ดีกว่ากระสุน M855(62เกรน)
สำหรับ ทบ.ไทย เท่าที่ผ่านตาปืนตระกูล Tavor ที่จ่ายให้หน่วยจะเป็น TAR-21 และ X-95(ปรับปรุงมาจาก MTAR-21) เครื่องช่วยเล็งเป็นกล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดง (Red-dot Reflex sight) แบบ Mepro 21M สำหรับ TAR-21 ถ้าจะถอดกล้องเล็งต้องถอดโครงปืนออกก่อนซึ่งในระดับผู้ใช้และหน่วยใช้ไม่ได้รับอนุญาตให้ถอด แต่สำหรับ X-95 จะมาเป็นแบบแท่นยึด(กับรางพิคาทินนี่ มาตรฐาน M1913)พร้อมขาปลดไวและFlash killer กันการสะท้อนแสง ในปัจจุบันมีกล้องเล็งอีก 1 แบบที่เริ่มจ่ายคือ Mepro MOR Mepro MOR เป็น Red-dot Reflex sight เหมือน Mepro 21 M แต่สามารถปรับความเข้มแสงได้และมี Laser aiming device ในตัวทั้งโหมดมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าและโหมด IR (ใช้กับ NVG)
ต่อไปมาถึงข้อดี-ข้อเสียครับ ตรงนี้ขอบอกก่อนนะครับว่ามาจากความคิดเห็นส่วนตัวเท่าที่ได้ใช้งานมาในการฝึกและรับฟังจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ในการใช้งานภาคสนาม
ข้อดี
1 สั้นกะทัดรัดและน้ำหนักเบากว่าเมื่อเทียบกับ ปลย. รูปทรงปกติแบบอื่นๆที่มีในประจำการ ตรงส่วนนี้ที่เคยใช้งานในการออกฝึกเป็นหน่วยมา ตัวสายสะพายที่ได้รับการออกแบบมาให้มีความกว้างเพื่อถ่ายเทน้ำหนักและมีความลื่นไม่บาดคอเวลาสะพายเฉียง และระบบผูกยึดกับตัวที่เป็นขอเกาะ(มีผ้าคลุมตัวขอเกาะอีกที)เกาะกับเชือกร่มที่ผูกกับหูกระวินที่ตัวปืนอีกที(เป็นแพทเทินของสายสะพายปืนของ IDF เหตุผลที่ไม่นำขอเกาะที่เป็นโลหะเกาะเข้ากับหูกระวินปืนโดยตรงแต่กับเกาะเข้ากับเชือกร่มที่ผูกกับหูกระวินปืนอีกทีเป็นเพราะต้องการลดเสียงที่เกิดจากโลหะกระทบรวมถึงการที่มีผ้าคลุมตัวขอเกาะโลหะด้วยเช่นกัน) ตรงนี้ส่วนตัวแล้วชอบมาก
ส่วนตัวเคยใช้ TAR-21 ในการตรวจสภาพความพร้อมรบมาแล้วทั้งช่วงซ้อมช่วงจริงมาแล้วเป็นสิบๆครั้ง(สะพายเฉียงพร้อมแบบเป้สนาม) รวมถึงการออกฝึกเป็นหน่วย(เดิน วิ่ง หมอบ ลุก คลุก คลานในขณะสะพายปืนเฉียงอยู่) ด้วยข้อดีของการออกแบบระบบสายสะพายปืนมาตรฐานประจำปืนดังกล่าวรวมถึงความสั้นและเบาของปืน ส่วนตัวผมว่าสบายกว่า ปลย.ที่ใช้สายสะพายปืนมาตรฐานแบบอื่นๆที่มีในประจำการ ส่วนตัวผมจะปรับสายสะพายปืนค่อนข้างยาว เพราะถ้าปรับสั้นจนชิดตัวมากเกินไปเมื่อมีเครื่องสนามมันจะติด และผมจะสะพายปืนก่อนแล้วค่อยสวมเป้สนาม เคยฝึกเข้าตีด้วยกระสุนจริง สะพายทาวอร์เฉียง มือหนึ่งถือวิทยุ PRC 624 อีกมือถือ แผ่นบริวาร ต้องโผวิ่งตลอด แต่กลับกลายเป็นว่าผมเกือบลืมไปเลยว่าสะพายปืนอยู่ ถ้าเป็น ปลย. แบบอื่นอาจมีสะดุดปลายลำกล้องล้มหัวทิ่มให้นายสิบสื่อสารกับนายทหารยิงสนับสนุนประจำกองร้อยขำก๊ากกเป็นแน่แท้ ดังนั้นถ้าใครบอกว่ามันลำบากมันหนักน่าจะเป็นเพราะความอ่อนแอส่วนตัวมากกว่า
2 ข้อนี้จะว่าเป็นที่ตัวปืนก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เพราะมันเป็นที่เครื่องช่วยเล็งที่มากับปืน(เพราะถ้าปืนแบบอื่นที่ติดเครื่องช่วยเล็งในลักษณะเดียวกันก็ไม่ต่างกัน) ด้วยกล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดง ที่ออกแบบมาสำหรับการยิงฉับพลันในระยะประชิด ทำให้สามารถยิงฉับพลันได้เร็วและมุมตรวจการณ์ไม่เสีย,ไม่ต้องพะวงถึงแหล่งพลังงานภายนอกเพราะไม่ใช้แบตตารี่ รวมถึงการยิงในเวลากลางคืนที่ทำได้ดีกว่าเพราะมองเห็นจุดเล็ง ในส่วนของศูนย์เปิดสำรองหรือ BUIS (Back Up Iron Sight) เองก็มีสารเรืองแสงแต้มไว้สามารถมองเห็นได้ในเวลากลางคืน
ข้อเสีย ผมขอแบ่งเป็น 2 หัวข้อใหญ่คือ ตัวปืน และ เครื่องช่วยเล็ง
ตัวปืน
1 การแก้ไขปืนในกรณีปืนยิงต่อไม่ได้
1.1 ด้วยความที่เป็นปืนบูลพัพที่ส่วนของท้ายรังเพลิงและชุดลูกเลื่อนอยู่ด้านหลัง ดังนั้นในการตรวจสอบรังเพลิงเพื่อดูว่าปืนยิงต่อไม่ได้เนื่องจากสาเหตุอะไรทำได้ยากและช้ากว่าปืนทรงคลาสสิคที่เมื่อเวลาพลิกปืนเพื่อตรวจสอบรังเพลิง รังเพลิงจะอยู่ในแนวสายตาพอดี
1.2 การเปลี่ยนซองกระสุน ด้วยความที่ช่องรับซองกระสุนอยู่ชิดตัว ทำให้เปลี่ยนซองได้ยากและช้า ตรงนี้สามารถฝึกทำความคุ้นเคยได้ ส่วนตัวใช้หลังนิ้วหัวแม่มือข้างที่จับด้ามปืนถอยหลังมากดก้านปลดซองกระสุน(มือยังกำด้ามปืนอยู่) ในขณะที่อีกมือหยิบซองกระสุนใหม่ขึ้นมาเพื่อเสียบเข้ากับช่องรับซองกระสุนแล้วเลื่อนมือไปกดคานปลดหน้าลูกเลื่อนที่แขวนค้างอยู่
1.3 การแก้ไขเหตุติดขัดกรณี กระสุนซ้อนนัด(double feed) ซึ่งต้องมีการแขวนลูกเลื่อน ตรงนี้ด้วยตำแหน่งของคานแขวนที่อยู่ค่อนไปทางพานท้ายปืนทำให้การแขวนลูกเลื่อนที่ต้องใช้มือหนึ่งดึงง้างออกในขณะที่อีกมือหนึ่งเอื้อมไปดึงคันรั้งลูกเลื่อนพร้อมกันทำให้น้ำหนักตัวปืนไม่บาลานซ์และกระทำได้ยาก ส่วนตัวถ้าใช้มือขวาจับด้ามปืนจะพลิกปืนมาด้านซ้ายแล้วใช้มือขวาดึงคานแขวนหน้าลูกเลื่อนในขณะที่มือซ้ายดึงคันรั้งฯโดยกดพานท้ายเข้ากับตัว ตรงนี้ทำได้ยากซึ่งจะมีผลในการแก้ไขปืนติดขัดในขณะปะทะติดพัน
2 ตำแหน่งของก้านปลดซองกระสุนที่อยู่ใกล้ตัวทำให้เกิดการเกาะเกี่ยวและทำซองกระสุนหล่นโดยไม่ตั้งใจได้ง่ายและไม่รู้ตัวเพราะซองกระสุนไม่ได้อยู่ในแนวสายตา
3 การถอดประกอบที่จำกัดชิ้นส่วนในการถอดประกอบในระดับผู้ใช้หน่วยใช้เพื่อลดขั้นตอนของผู้ใช้ก็จริงแต่การถอดประกอบในส่วนของ ลูกเลื่อน,หน้าลูกเลื่อนและเข็มแทงชนวน กระทำได้ยากโดยเฉพาะหากไม่มีแสง เพราะจำเป็นต้องใช้สายตามอง ใช้มือคลำเพื่อสัมผัสได้ยาก
4 ปืนถูกออกแบบมาให้สามารถสลับชิ้นส่วนได้สำหรับการยิงด้วยไหล่ซ้ายและขวาแต่ต้องใช้เครื่องมือควบ ปัญหาไปอยู่ที่ การจำกัดการถอดประกอบในระดับผู้ใช้หน่วยใช้ทำให้ผู้ใช้หน่วยใช้ไม่สามารถสลับชิ้นส่วนดังกล่าวเพื่อผู้ยิงที่ถนัดขวาหรือซ้ายได้ด้วยตนเองเพราะไม่มีเครื่องมือ ถ้าจะสลับจำเป็นต้องส่งให้หน่วยซ่อมโดยตรงทำการสลับให้ ยกตัวอย่าง ร้อย.อวบ.และพัน.ร.ไม่สามารถสลับชิ้นส่วนดังกล่าวได้จำเป็นต้องนำไปให้ กองพันซ่อมบำรุงของ กรมสนับสนุนดำเนินการให้ ซึ่งยุ่งยากและเสียเวลาทางธุรการโดยไม่จำเป็นโดยเฉพาะหากกองพันที่เกี่ยวข้องดังกล่าวมีที่ตั้งอยู่กันคนละจังหวัด
5 และด้วยการจำกัดการถอดประกอบดังกล่าวข้างต้น ทำให้การทำความสะอาดปืนในจุดซ่อนเร้นซอกลืบกระทำได้ยากหรือเป็นไปไม่ได้ ตรงนี้จากการใช้งานในสนามที่มีสภาพอากาศชื้นเคยพบปืนกดไกปืนไม่ยุบตัว(ไม่ลั่น) เนื่องจากก้านกระเดื่องที่ต่อจากไกไปด้านหลังเพื่อปลดเซียเป็นสนิมหรือมีสิ่งอุดตัน และชิ้นส่วนโลหะภายในโครงปืนเป็นสนิมโดยที่เข้าทำความสะอาดได้จำกัด
6 ข้อนี้เป็นข้อสำคัญที่พึ่งพบคือ แหนบขอรั้งปลอกกระสุน ของทาวอร์เป็นลูกยาง(เอ็ม 16 เป็นสปริงโลหะ) ปัญหาที่พบคือ ลูกยางดังกล่าวเสื่อมสภาพ ทำให้การคัดปลอกมีปัญหาและปืนติดขัด ส่วนตัวเคยสงสัยตั้งแต่เห็นชิ้นส่วนดังกล่าวแล้วว่าเป็นลูกยาง แต่ไม่คิดว่ามันจะเสื่อมสภาพเร็วขนาดนี้(ไม่กี่ปี)
เครื่องช่วยเล็ง
กล้องเล็งสะท้อนภาพจุดแดงแบบ Mepro 21 M
1 มีความคลาดเคลื่อนสูง ที่พบคือ เมื่อยิงปรับศูนย์รบแล้ว นำไปใช้งานสมบุกสมบันสักระยะ(แต่ไม่นาน) แล้วนำกลับมายิงใหม่ มีความคลาดเคลื่อนจากเดิมค่อนข้างสูง
2 จุดแดงไม่สามารถปรับระดับความเข้มแสงได้ ทำให้การใช้งานในสภาพแสงต่างๆมีข้อจำกัด เช่น เมื่อผู้ยิงอยู่ในที่แสงน้อยแล้วเล็งยิงไปในที่ที่มีแสงสว่างกว่ามากจะมองเห็นจุดเล็งได้ยากหรือมองไม่เห็น
3 ข้อนี้ไม่สำคัญอะไรนัก ส่วนตัวว่ากล้องเล็งมีตำแหน่งต่ำไป ด้วยความที่เป็นกล้องเล็งแบบสะท้อนภาพดังนั้นจำเป็นต้องให้จุดเล็งอยู่ตรงกลางแว่นแก้ว เมื่อกล้องเล็งต่ำ ทำให้การแนบแก้มกับพานท้ายเพื่อจัดภาพการเล็งดังกล่าวไม่ถนัด
4 ลักษณะของครอบแว่นแก้วและตัวยิงแสงไปสะท้อนที่แว่นแก้วมีพื้นที่ที่สามารถกักเก็บน้ำและสิ่งอุดตัน(ตัวยิงแสง)ได้ ตรงนี้ต้องคอยระวังไม่เช่นนั้นจะมองไม่เห็นจุดเล็ง
5 ด้วยข้อจำกัดของปืนบูลพัพ ที่ตัวปืนสั้น ทำให้การวางศูนย์เปิดมีระยะห่างระหว่างศูนย์หน้า-หลังค่อนข้างสั้น ซึ่งจะทำให้มีความคลาดเคลื่อนในการยิงสูง ส่งผลต่อความแม่นยำ จุดนี้ทำให้ปืนบูลพัพส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้เครื่องช่วยเล็งยิงเป็นแบบ กล้องเล็ง เป็นหลัก(เช่น SA80,AUG,SAR-21) กรณีที่ใช้ศูนย์เปิดเป็นหลักเช่น Famas ผลคือ ระยะยิงหวังผลค่อนข้างต่ำ(เพราะเครื่องช่วยเล็ง) เมื่อเทียบกับ ปลย. แบบอื่นๆในลำกล้องใกล้เคียงกัน กรณี TAR 21 ก็เช่นเดียวกัน BUIS มีระยะห่างน้อย ส่งผลต่อความแม่นยำ ตรงนี้จะเกี่ยวเนื่องถึง การซ่อมบำรุง เพราะกล้องเล็งที่มากับ TAR 21 หน่วยใช้ไม่สามารถถอดเก็บในกรณีที่ไม่จำเป็นต้องใช้งานได้ ส่งผลถึงความเปราะบางในกรณีกล้องเล็งชำรุดโดยไม่จำเป็น หากกล้องเล็งชำรุดหน่วยไม่สามารถส่งซ่อมแยกได้ นั่นหมายถึงปืนกระบอกนั้นไม่สามารถนำออกมาใช้งานได้ หรือถ้านำมาใช้โดยใช้ศูนย์เล็ง BUIS เพียงอย่างเดียวก็จะส่งผลถึงความแม่นยำ ถ้าเปรียบเทียบกับปืนทรงคลาสสิคแบบอื่น เช่น M 16 A 4,M 4 A 1 ซึ่งถ้าหากมีกล้องเล็งในลักษณะเดียวกับ Mepro 21 M ใช้งาน หน่วยสามารถถอดแยกเก็บได้ และ ถ้ากล้องชำรุดก็สามารถส่งซ่อมแยกได้ โดยที่ตัวปืนยังคงนำมาใช้งานได้โดยใช้ศูนย์เปิดและไม่ส่งผลต่อความแม่นยำเพราะตัวปืนถูกออกแบบมาให้ใช้กับศูนย์เปิดเป็นหลักตั้งแต่แรก
เอาเท่านี้ก่อนละกันครับ ตกหล่นตรงไหนเดี๋ยวค่อยมาเพิ่มเติมครับ
ผมสงสัยนิดหนึ่งครับ ตรงที่ว่าอำนาจการยิงเหนือกว่า M 4 นี่หมายถึง แรงปะทะกระสุนใช่หรือไม่ครับ
M 16 A2-4 ลำกล้องยาว 20 นิ้ว
TAR-21 ลำกกล้องถ้าจำไม่ผิดยาว 18 นิ้ว
M 4,A1 ลำกล้องยาว 14.5 นิ้ว
ทั้งหมดใช้กระสุนแบบเดียวกันเป็นหลักคือ M855 Ball
M 16 A4 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 3100 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้องประมาณ 1302 ฟุต-ปอนด์
M 4 A 1 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 2900 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้องประมาณ 1213 ฟุต-ปอนด์
TAR-21 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 2986 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้อง ?
พลังงานปากลำกล้อง TAR-21 หาไม่เจอครับ แต่เร็วกว่า M 4 A 1 อยู่ 86 ฟุต/วินาที ครับ ส่วนตัวว่าอำนาจการยิงไม่เหนือกว่าเท่าไหร่ครับ
IDF เองใช้ Carbine เป็นหลักถ้าตระกูล M 16 ก็เป็น Carbine เกือบทั้งหมดสำหรับทหารประจำการ และเช่นกัน หน่วยที่ได้รับ Tavor เท่าที่เห็นมีแต่รุ่น CTAR-21 และ X95 ตรงนี้น่าแปลกที่ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่โล่งแต่กลับเลือก Carbine
อีกนิด ซองกระสุน Tavor เป็นเหล็ก ใช้งานไปสักพักเคลือบลอกแล้วจะเป็นสนิม ต้องดูแลกันนิดหนึ่ง
หน่วยเคยใช้ TAR-21 วิ่งเร่งรีบ ผลจากแนวยิง เกิดการติดขัดในปริมาณที่ไม่ได้ต่างไปจาก M16A2 ที่เคยใช้งานเดิมเลย แถมแก้ไขเหตุติดขัดยากและช้ากว่าเสียอีก
H&K 33 ผมชอบที่ไก ไกนิ่มครับ(เหมือนตระกูล AK) ศูนย์เล็งจัดศูนย์พอดีง่าย ถ้าสภาพปืนและเกลียวยังดีอยู่ กลุ่มกระสุนไม่น่าเกลียดครับ ส่วนผมตรงข้ามกับคุณ bravo544 นิดหนึ่งตรงที่เวลายิง H&K 33 มีความรู้สึกว่ามันถอยหลังมาตรงๆ ไม่สะบัดออกข้างเหมือนตระกูล M16 (อาจจะเป็นเพราะที่น้ำหนักของมันที่มากกว่า) แต่ถ้านอนยิง H&K 33 ด้วยซองกระสุนแบบ 40 นัดส่วนตัวรู้สึกว่ามันต้องโย่งตัวขึ้นเพราะซองมันติดพื้น ไม่ค่อยถนัดเท่าไหร่ครับ
ข้อเสียของ H&K 33 คือ ไม่แขวนลูกเลื่อนเมื่อยิงกระสุนนัดสุดท้ายในซองกระสุนหมด ตรงนี้ปัจจัยสำคัญคือ เราต้องลั่นไกทิ้งฟรีไป 1 ครั้ง จะได้ยินเสียงนกปืนตีดังแช๊ะ ตรงนี้ถ้าเข้ากับหลักการฝึกแก้ไขปืนกรณี กระสุนด้าน มันจะเหมือนกันคือต้อง ตบ ดึง(คันรั้งลูกเลื่อน) และยิง ซึ่งจะแยกไม่ออกว่า กระสุนหมดหรือกระสุนด้าน ถ้าฝึกจนกล้ามเนื้อจำ ตบ ดึง ยิง โดยอัตโนมัติ จะกลายเป็นว่า เสียเวลาไป 2 แช๊ะ แต่อย่างว่าครับ ถ้ายิงมาระยะหนึ่งแล้ว ถ้ามันแช๊ะ มันก็มีโอกาสกระสุนหมดมากกว่ากระสุนด้าน หรือจะต่อให้กระสุนด้านมันก็ยังเหลือกระสุนในซองน้อยแล้ว เปลี่ยนไปเลยดีกว่า แต่อย่ากระนั้นเลย ถ้าฝึกมาจนกล้ามเนื้อจำ และในขณะปะทะคงไม่ได้พะวงกระสุนในซอง จะพะวงเป้าหมายมากกว่า มันจะสับสนและเสียเวลา อันนี้กรณีติดพันในระยะประชิด กรณี M 16 ที่จะแขวนลูกเลื่อนในการยิงนัดสุดท้ายในซองกระสุนถ้ายิงในสนามยิงปืนปกติและยิงบ่อยๆจะจับเสียง(ผ่านแก้มที่แนบอยู่กับพานท้าย)การเดินของแหนบสปริงรับแรงถอยได้ครับว่ากระสุนหมด(สปริงไม่คืนตัวเดินไปข้างหน้า) หรือกระสุนขัด(สปริงคืนตัวเดินไปข้างหน้าไม่สุด) แต่ก็เหมือนกันถ้าปะทะคงไม่ได้พะวงตรงนั้นเป็นหลักแต่สามารถพลิกปืนตรวจรังเพลิงได้ง่ายและเร็ว ข้อเสียอีกอย่างของ H&K 33 คือ การปรับศูนย์ต้องใช้เครื่องมือเฉพาะช่วย
เพิ่มเติมนิดนึงครับ ถ้าจะพูดถึงอำนาจการยิง ผมแบ่งคร่าวๆ เป็น 2 แบบนะครับ
1 แรงปะทะ ( ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน แรงปะทะดูจากความเร็วกระสุน )
2 ระยะยิงหวังผล ( ระยะที่อยู่ในการยิงที่ได้ผล เกินกว่านั้นยิงโดนตายเหมือนกัน
แต่กระสุนมักเหิน หรือปักหัว จนไม่สามารถยิงโดนอย่าง
ตั้งใจได้ครับ )
*** ทีนี้ทำไม TAR ผมถึงบอกว่ามีอำนาจการยิงมากกว่า ถ้าเรามองเรื่องของ
ความเร็วปากลำกล้อง และพลังงานปากลำกล้องเป็นหลัก อันนั้นอาจถูก
แค่นิดเดียว แต่เกรงว่าจะไม่ใช่ทั้งหมด
ให้ดูตรงความยาวของลำกล้องด้วยครับ การรีดกระสุนผ่านความยาวของลำกล้อง
มีผลต่อความเร็วรอบกระสุน แน่นอนว่าปืนที่ลำกล้องยาวกว่า กระสุนจะมีรอบหมุน
ที่มากกว่า ทำให้การทรงตัวของกระสุนเมื่อยิงออกไปแล้ว อยู่ในแนววิถีที่มากกว่า
ปืนลำกล้องสั้นครับ
ขีปนวิถีถ้าจำไม่ผิดมี 3 แบบใหญ่ๆคือ
1 ขีปนวิถีภายในคร่าวๆ คือ ระยะเวลาที่หัวกระสุนเคลื่อนตัวออกจากปลอกกระสุนวิ่งผ่านสันเกลียวจนสุดปลายเกลียวของลำกล้อง ตรงที่นี้ที่มีผลคือ ความเหมาะสมกันระหว่าง ระยะครบรอบของเกลียว,ส่วนที่สัมผัสสันเกลียวของหัวกระสุน,น้ำหนักของหัวกระสุน(ตรงนี้จะมีผลต่อการทรงตัวของหัวกระสุนในขีปนวิถีที่จะกล่าวถึงต่อไป) ยกตัวอย่างในกระสุนขนาดเดียวกันคือ 5.56x45 ในปืน M 16 A 1 เกลียวครบรอบที่ 12 นิ้ว(1/12) ซึ่งออกแบบมาให้เหมาะสมกับกระสุนธรรมดาหัวบอลแบบ M 193 ที่หัวกระสุนหนัก 55 เกรนเป็นหลัก ในขณะที่ M 16 A 2 เป็นต้นไปและ TAR-21 เกลียวจะครบรอบที่ 7 นิ้ว (1/7) ออกแบบมาเหมาะสมกับกระสุนธรรมดาหัวบอลแบบ M855 ที่หัวกระสุนหนัก 62 เกรน
2 ขีปนวิถีภายนอกคร่าวๆ คือ ระยะเวลาหลังหัวกระสุนพ้นจากปลายสันเกลียวโคจรในอากาศและกระทบเป้า จากปัจจัยในข้อที่ 1 จะส่งผลถึงปัจจัยในข้อนี้ ในเรื่องของ กระสุนวิถี โดยปกติหัวกระสุนจะวิ่งเป็นแนวโค้งและตัดกับเส้นเล็งในแนวสายตาที่มองผ่านศูนย์เล็ง2 ครั้ง คือ ขาขึ้นกับขาลง และมีจุดที่กระสุนโคจรสูงที่สุดที่เรียกว่า ยอดกระสุนวิถี นอกจากปัจจัยในข้อ 1 แล้ว ยังมีปัจจัยเพิ่มเติมอีก คือ รูปทรงของหัวกระสุน,ลม,อุณหภูมิ,แสง กระสุน M 855 ที่ยิงจากเกลียว 1/7 (ในความยาวเท่ากัน) แนวกระสุนวิถีจะค่อนข้างเดินทางราบเรียบ(โค้ง)น้อยกว่ากระสุน M 193 ที่ยิงจากเกลียว 1/12 หัวกระสุน M 193 มีมวลน้อยกว่ากระสุน M 855 ทำให้ความเร็วปากลำกล้องสูงกว่าหัวกระสุน M 855 แต่มวลน้อยแรงเฉื่อยก็น้อยทำให้สูญเสียความเร็วมากกว่าไปได้ใกล้กว่า ถ้ายิงกระสุน M 193 และ M 855 พร้อมกัน(ในลำกล้องยาวเท่ากันที่มีเกลียวที่เหมาะสมในแต่ละแบบ) ในช่วงแรกหัวกระสุน M 193 จะแซงนำ แต่ในช่วงท้าย M 193 จะถูก M 855 แซง
3 ขีปนวิถีหลังกระทบเป้าคร่าวๆก็คือ เวลาที่หัวกระสุนกระทบเป้าและเดินทางภายในมวลของเป้า จากปัจจัยในข้อ 1 และ 2 จะส่งผลถึงปัจจัยในข้อนี้ ซึ่งแบ่งได้ 2 แบบคร่าวๆคือ
- อำนาจการเจาะ เป็นพลังงานที่ทำให้หัวกระสุนวิ่งผ่านแล้วเดินทางแทรกตัวผ่านเป้าที่มีมวลหนาแน่นในระยะทางที่ไกล เป้าหมายหลักคือ การยิงผ่านที่กำบังแล้วทะลุผ่านเพื่อไปทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่อยู่หลังที่กำบังนั้น ตรงนี้จะเกี่ยวข้องในเรื่องของ วัสดุที่ใช้ทำหัวกระสุน,รูปทรงหัวกระสุน,มวลและความเร็ว ณ ขณะที่กระทบเป้า รวมถึงการเสียการทรงตัวของหัวกระสุนในมวลของเป้าแบบต่างๆ หัวกระสุน M 855 มีแกนโลหะทรงกรวยอยู่ที่หัวกระสุนเพื่อลดการเสียรูปทรงของหัวกระสุนหลังกระทบเป้าเพื่อเพิ่มอำนาจการเจาะที่มากกว่ากระสุน M 193
- อำนาจการหยุดยั้ง เป็นพลังงานในชั่วขณะที่หัวกระสุนถ่ายทอดให้กับเป้าหลังกระทบเป้า ซึ่งโดยมากหวังผลต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิต เพื่อทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นเกิดอาการช็อคและไม่สามารถตอบโต้ได้ทันทีทันใด จะเกี่ยวข้องในเรื่องของพื้นที่สัมผัสของหัวกระสุนที่เดินทางในเป้าที่จะถ่ายทอดส่งพลังงานเข้าเป้า
ในข้อ 3 ส่วนมากกระสุนจะมีทั้ง 2 อำนาจ อยู่ที่ว่าจะออกแบบเฉพาะเพื่อหวังในอำนาจแบบใดแบบหนึ่งที่มากกว่าหรือไม่
จากทั้ง 3 ปัจจัยจะส่งผลถึงระยะยิงไกลสุดและระยะยิงหวังผลของปืนและกระสุนแบบนั้นๆ แต่โดยมากเราจะมองที่ ระยะยิงหวังผล เป็นหลัก
ระยะยิงหวังผลไกลสุด ก็คือ ระยะยิงไกลสุดที่ปัจจัยเบื้องต้นในข้อที่ 2 ส่งผลให้มีโอกาสยิงถูกเป้าหมายในเปอร์เซ็นต์ที่สูงและยังมีปัจจัยข้อ 3 มากพอที่จะสังหารหรือทำลายเป้าหมายนั้น
M 16 A 2-4 ระยะยิงหวังผลเป็นพื้นที่ไกลสุด 800 เมตร(ยิงใส่เป้าหมายเป็นกลุ่มก้อนและหวังผลถูกเป้าใดเป้าหนึ่ง) ระยะยิงหวังผลเป็นจุดไกลสุด 550 เมตร(ยิงใส่เป้าหมายเป้าหมายเดียวและหวังผลโดนเป้าหมายเป้านั้น)
M 4 A 1 ระยะยิงหวังผลเป็นพื้นที่ไกลสุด 600 เมตร ระยะยิงหวังผลเป็นจุด 500 เมตร
H&K 33 ระยะยิงหวังผลไกลสุด 400 เมตร
TAR-21 ระยะยิงหวังผลไกลสุดประมาณ 400 เมตร
ระยะยิงหวังผลไกลสุดของ TAR-21 ยังคลุมเครือ เพราะเท่าที่หาไม่ตรงกันสักที่ และถ้าจำไม่ผิดในตำราเขียนไว้แค่ 300 เมตรด้วยซ้ำ เอาเป็นว่าผมต่อให้ 500 เมตร เลยครับ
มาถึงจุดนี้ไอ้เจ้าตัวเลขที่กล่าวมามันเป็นตัวเลขที่ทางโรงงานผู้ผลิตบอกมา ระยะดังกล่าวเป็นระยะที่ได้ตามปัจจัย 1-3 ที่กล่าวข้างต้น แต่ยังมีอีก 1 ปัจจัยที่สำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำให้ยิงโดนเป้านั่นคือ แบบของศูนย์เล็งของปืนชนิดนั้นๆ สิ่งที่เกี่ยวข้องคือลักษณะรูปร่างและการจัดศูนย์พอดี,ระยะห่างศูนย์หน้า-ศูนย์หลัง ซึ่งจะส่งผลต่อความคลาดเคลื่อนเมื่อคิดว่าผู้ยิงคือคนคนเดียวกัน
กล้องเล็ง Mepro 21 M ของ TAR-21 การจัดศูนย์พอดีคือ การวางจุดแดงให้อยู่กึ่งกลางแว่นแก้ว(เนื่องจากเป็นแบบสะท้อนภาพ) แล้วนำจุดแดงทาบทับเป้าหมายที่จะยิง จุดวงกลมสีแดงมีขนาด 3.5 MOA ซึ่งค่อนข้างมีขนาดใหญ่ ข้อดีคือ เมื่อยิงในระยะประชิดจะทำให้จับเป้าได้ง่ายและเร็ว แต่ข้อเสียคือ มีความคลาดเคลื่อนสูงกว่าเมื่อเทียบกับจุดเล็งที่เล็กกว่านี้ แต่ในระยะประชิดไม่ส่งผลมากนัก จะส่งผมเมื่อยิงในระยะไกลด้วยความใหญ่ของจุดเล็งจะทำให้บังเป้า มีความคลาดเคลื่อนสูง ทำให้ระยะยิงหวังผลไกลสุดในความเป็นจริงลดต่ำลงกว่าขีดความสามารถของลำกล้องและกระสุน ในทำนองเดียวกันศูนย์เปิดที่ใช้ใน M 16 ซีรี่ M 4 ซีรี่ H&K 33 มันก็จะทำให้ระยะยิงหวังผลไกลสุดในความเป็นจริงลดต่ำลงกว่าขีดความสามารถของลำกล้องและกระสุนเช่นเดียวกัน
หากเปลี่ยนเครื่องช่วยเล็งของปืนที่บอกมาข้างต้นเป็นแบบ Optic มีกำลังขยาย ก็จะช่วยเพิ่มระยะยิงหวังผลออกไปได้เท่ากับขีดความสามารถของลำกล้องและกระสุน และข้อดีของกล้อง Optic ดังกล่าวอีกอย่างก็คือ ผู้ยิงสามารถตรวจการณ์ตำบลกระสุนตกที่ตัวเองยิงไปได้ไกลกว่าศูนย์เปิดหรือศูนย์ที่ไม่มีกำลังขยาย ในส่วนของกำลังขยายเองก็ต้องเลือกให้เหมาะสมกับภารกิจของแบบปืนนั้นๆ เพราะมันไม่ได้หมายความว่า กล้องที่มีกำลังขยายสูงๆจะเหมาะสมเสมอไป จึงไม่แปลกใจที่ทำไมกองทัพที่มีเงินจึงเลือกกล้องเล็งกำลังขยาย 1-4 เท่าเป็นศูนย์เล็งหลักประจำปืนเล็กในกำลังรบหลัก
“ให้ดูตรงความยาวของลำกล้องด้วยครับ การรีดกระสุนผ่านความยาวของลำกล้อง
มีผลต่อความเร็วรอบกระสุน แน่นอนว่าปืนที่ลำกล้องยาวกว่า กระสุนจะมีรอบหมุน
ที่มากกว่า ทำให้การทรงตัวของกระสุนเมื่อยิงออกไปแล้ว อยู่ในแนววิถีที่มากกว่า
ปืนลำกล้องสั้นครับ”
ในเรื่องของความยาวลำกล้องที่มีผลต่ออัตราเร็วของรอบกระสุนซึ่งจะทรงผลต่อการทรงตัวของหัวกระสุน ตรงนี้ไม่เถียงครับว่า ถ้าลำกล้องที่มีเกลียวแบบเดียวกันที่ใช้กระสุนแบบเดียวกันในปืนแบบเดียวกัน ลำกล้องยาวกว่าจะทำให้กระสุนทรงตัวดีกว่าไปได้ไกลกว่า และส่งผลถึงระยะยิงหวังผล แต่ถ้ามันอยู่ในระยะยิงหวังผลของทั้งคู่ มันก็ยิงโดนทั้งคู่ครับ(คนยิงคนเดียวกัน) แต่ที่มันต่างเลยคือ กระสุนวิถี ที่ไม่เหมือนกัน แต่มันไม่ได้หมายความว่าลำกล้องสั้นกระสุนมันจะวิ่งเป้ไปเป้มาในแนว กระสุนวิถี ที่ควรจะเป็นของมันครับ ซึ่งผู้ยิงต้องทำความเข้าใจกับปืนแบบนั้นๆครับ เพื่อการยิงในระยะยิงหวังผลต่างๆ
ส่วนตัวที่จุดประเด็นคำว่า “อำนาจการยิง” ขึ้นมาคือสงสัยครับ เพราะประเด็นมันดันไปอยู่ที่ว่า ลำกล้องยาวกว่ามีอำนาจการยิงมากกว่า เลยเอาเรื่องความเร็วและแรงปะทะมาถามในขั้นต้น จนเป็นที่มาของ ระยะยิงหวังผลไกลสุด และถ้าย้อนไปดูที่ระยะยิงหวังผลแล้ว ถ้าเอาตัวเลขมาจับอย่างเดียว TAR-21 ไม่ได้เหนือกว่า M 4 A 1 เลย ในส่วนความเร็วต้นและแรงปะทะ TAR-21 มากกว่าเล็กน้อย จนไม่ถือว่าเป็นนัยสำคัญที่จะทำให้มันเหนือกว่าชนิดว่า เทียบกันไม่ได้
มาถึงจุดนี้มีปืน 1 คู่ที่น่าสนใจ ซึ่งทั้งคู่ใช้ศูนย์เปิดเหมือนกัน กระสุนแบบเดียวกัน และเกลียวครบรอบเท่ากัน
M 16 A 1 ลำกล้องยาว 20 นิ้ว ระยะยิงหวังผล 460 เมตร
H&K 33 ลำกล้องยาว 15.4 นิ้ว ระยะยิงหวังผล 400 เมตร
น่าสนใจคือ M 16 A 1 ลำกล้องยาวกว่า H&K 33 4.6 นิ้ว แต่ระยะหวังผลมากกว่าแค่ 60 เมตร(TAR 21 ลำกล้องยาวกว่า M 4 A 1 3.5 นิ้ว)
และส่วนตัวว่า “อำนาจการยิง” ไม่ได้มองเพียงแค่ ระยะยิงหวังผล ความเร็วและแรงปะทะ อย่างเดียวครับ มันยังมีเรื่องของ อัตราการยิง และ จำนวนกระสุนพร้อมยิง(จำนวนปืนเท่ากัน) ครับ ซึ่งทั้ง TAR 21 และ M 4 A 1 มีอัตราการยิงใกล้เคียงกันและกระสุนในซองพร้อมยิงก็ 30 นัดเท่ากัน ดังนั้น แล้วมันก็ดูแปลกๆ ถ้าจะบอกว่า TAR 21 มีอำนาจการยิงที่ต่างกันเยอะเมื่อเทียบกับ M 4 A 1
ยกตัวอย่างเล็กน้อย ระหว่าง ปลย. สปริงฟิวด์ M 1903 กับ M 16 A 2 ถ้าเรื่องระยะยิงหวังผลกับแรงปะทะ สปริงฟิวด์กินขาด แต่ถ้าเรื่อง อัตราการยิงและจำนวนกระสุนพร้อมยิง M 16 A 2 กินขาด และสมมุติว่า มี 2 หมู่ปืนเล็ก 1 หมู่ถือ M1903 ล้วน กับอีกหมู่ถือ M 16 A 2 ล้วน เข้าปะทะกัน ถ้าเทียบเรื่องอำนาจการยิงคิดว่า หมู่ไหนจะมีอำนาจการยิงสูงกว่าครับ
ขอออกตัวก่อนนะครับ ผมอาจผิดพลาดได้ แต่เอาตามความเข้าใจของผมเองก่อนนะครับ
พอดีผมได้มีโอกาสศึกษา เรื่องพวกนี้อย่างจริงจังน่ะครับ พลาดยังไง แก้ไขให้ด้วย
ปืนเล็กยาว ใช้สำหรับการรบปกติ สำหรับคู่มือ ถ้าเป็นของกองทัพบก เล่มเขียว ที่เป็น พ็อกเก็ตบุ๊ค
ระบุไว้ว่า 500 เมตรลงมา
คาร์ไบน์ การออกแบบเพื่อให้ใช้ในพื้นที่ แคบๆ ระยะยิงไม่ต้องไกลมากแบบในเมือง
ถ้าปืนเล็กยาว มีความสามารถ สมรรถนะหรืออะไรก็ตาม ได้เท่ากับปืนคาร์ไบน์ ผมว่าควรเปลี่ยน
มาใช้คาร์ไบน์ ทดแทนให้หมด ไม่ได้ประชดนะครับ แต่มันเป็นไปไม่ได้ เพราะการออกแบบมา
ใช้งานคนละแบบ เอาให้เห็นชัดๆ นะครับ
- ระยะยิงเท่ากัน หรือไกล้เคียง ถ้าดูแค่อันนี้แล้วสรุป มันก็ไม่ถูกเสียทีเดียว เนื่องจากความยาวลำกล้อง
ที่เพิ่มขึ้น ก็ได้รอบเกลียวที่เพิ่มขึ้น อัตราการปั่นก็ย่อมต้องมากตามไปด้วย สิ่งที่ได้ตามมาก็คือ
ระยะยิง ** อันนี้ไกล้เคียงกัน หรือน้อยกว่า
อำนาจการเจาะ ** ด้วยกับรอบที่มากกว่า กระสุนจะมีความเสถียรกว่ากันมาก เสียการทรงตัวน้อยกว่า
นี่เองเป็นเหตุให้การเจาะดีกว่ากันมาก
อำนาจการหยุดยั้ง ** ถ้ายิงเข้าตัวคน หรือวัสดุทดสอบ m 4 a 1 หยุดได้ดีกว่า เนื่องจาก
กระสุนจะเสียการทรงตัว แทบจะทันทีแล้วเอาข้างปัด เนื้อเยื่อจะถูกทำลาย
ถ้ามีการใส่เกราะ m 4 จะเสียเปรียบ ปลย.ตรงจุดนี้
***--*** แต่อันนี้เอาคลิปที่โพสท์ ในยูทูป มาดูจะไม่ค่อยรู้ เนื่องจาก ระยะยิงไกล้
เกินไป ระยะยิงแค่นี้ ต้องเป็นการทดสอบปืนพก จะเหมาะกว่า
ทีนี้มาว่ากันถึงระยะยิง มาตรฐานของการรบ ( รบในแบบ ) ส่วนใหญ่อยู่ที่ 2 - 300 เมตร แต่ก็นั่นแหละ
ปืนเล็กยาว ที่แก้จาก m 16 a 1 ด้วยเหตุผลเอาข้างปัดเวลาถูกเป้าหมาย ถ้ามีอะไรมาบังความแข็งแรง
พอประมาณ ก็ผ่านไม่ได้ จึงได้ปรับปรุง กระสุนใหม่ ให้เจาะได้มากขึ้น
ปืน m 4 a 1 ใช้แก๊สดันหน้าลูกเลื่อน แต่จากท่อแก๊สไปปากลำกล้อง ยาวกว่าปืนเล็กยาวมาตรฐาน
ทำให้ระยะจากท่อแก๊สไป แรงส่งน้อยมาก จนแทบจะเรียกได้ว่าไปด้วยแรงเฉื่อย ทำให้กระสุนหมุน
ในรอบที่ต่ำกว่า ปืนเล็กยาวมาก อำนาจการเจาะเลยลดลงไปเยอะน่ะครับ
*** อีกจุดหนึ่งที่ มองข้ามไม่ได้ ด้วยกับลำกล้องที่สั้นกว่า แก๊สคงเหลือมากกว่า และลูกเลื่อนถอย
เร็วเนื่องจากท่อแก๊สอยู่ไกล้ ทำให้ปืนร้อนเร็วยิงต่อเนื่อง ได้น้อยกว่าปืนเล็กยาว มาตรฐานครับ
เคยเอามาลองยิงเปรียบ ที่กระสุน 500 นัดเท่ากัน
m 4 ร้อนเร็วสุด ไม่กล้ายิงต่อ
hk ยิงได้จบ แต่ควันขึ้น รองลำกล้องร้อนจนจับไม่ได้
a 1 ร้อนควันขึ้น ดูเหมือนจะไหวอยู่ แต่ก็ควรหยุด
tar ร้อน แต่ดูเหมือนจะยังยิงได้ต่ออีกหลายชุด
ด้วยเหตุผลนี้ผมว่าเนื่องจากแก๊สที่ปล่อยออกมาคนละจุดกัน tar ดันหัวลูกสูบ แต่ m 16 ดัน
หน้าลูกเลื่อนโดยตรง ถ้าเอามายิงจับกันจริงๆ จะรู้เลยครับ ต่างกันเยอะโดยสิ่งที่ต่างกันอย่าง
มีนัยยะสำคัญ คือรอบในการหมุนนั่นแหละครับ
ถ้าเอามารวมๆ กัน ผมถึงว่ามันต่างกันเยอะ เพราะปืนเขาออกแบบมาแบบนั้น
แต่ยังไง ผมก็ชอบ m4 มันคุ้นมือ และใช้สะดวกที่สุดครับ
สรุป ให้ดูที่จุดประสงค์ของการออกแบบครับ
ส่วนเรื่อง 1903 กับ a 2 ถึงจะนอกเรื่องไปหน่อย ผมว่า a 2 อำนาจการยิงสูงกว่า
มาให้คะแนนหน่อย กระทู้คุณภาพจริง อ่านตามก็มันแล้ว
ข้อมูลจากการใช้งานจริงของผู้รู้
เอ่อ งงนิดหนึ่งตรงอำนาจการเจาะและยับยั่งมันเกี่ยวกับรอบการหมุนของตัวกระสุนยังไงอะครับ ในตามที่ผมเข้าใจรอบการหมุนของตัวกระสุน มันช่วยในการบังคับวิถีกระสุนในขณะเคลื่อนที่ไม่ใช้เหรอครับ(ใช้คลีบแทนก็ได้นะ) ส่วนอำนาจการเจาะน่าจะขึ้นกับความเร็วปะทะ รูปทรงหัวกระสุน การคงรูป(ความแข็งนั้นแหละ) แล้วก็น้ำหนักหัวกระสุน ครับ(ถ้าเทียบง่ายๆก็ต้องไปดูเทพเจ้าการเจาะตัวจริง อย่าง กระสุนพลังจลน์ต่อต้านรถถัง ที่จะเห็นว่าเค้าใช้คลีบเป็นตัวบังคับวิถีกระสุนในขณะเคลื่อนที่ ไม่ใช่รอบการหมุนของกระสุน เพราะมันไม่มีผลต่อการเจาะอะครับ)
ชอบกระทู้นี้จังเลยครับ ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลดีครับ
เรื่องท่อแก๊สของปืนตระกูล M16 หรือ AR 15 ในทางพลเรือนนั้น ท่อแก๊สแบ่งได้ 4 แบบ 4 ระยะคือ
1 Pistol-Length เป็นท่อแก๊สที่มีระยะสั้นสุด ซึ่งออกแบบสำหรับใช้กับปืนในตระกูล M 16 ที่มีขนาดความยาวลำกล้อง ต่ำกว่า 10 นิ้วลงมา ท่อแก๊ส Pistol-Length มีความยาวประมาณ 4.5 นิ้ว
2 Carbine-Length ท่อแก๊สในชั้นนี้ใช้กับปืนในตระกูลฯ ที่มีความยาวลำกล้องตั้งแต่ 10-18 นิ้ว ท่อแก๊ส Carbine-Length มีความยาวประมาณ 7.5 นิ้ว
3 Mid-Length ท่อแก๊สในชั้นนี้ใช้กับปืนในตระกูลฯ ที่มีความยาวลำกล้องตั้งแต่ 14-20 นิ้ว ท่อแก๊ส Mid-Length มีความยาวประมาณ 9.5 นิ้ว
4 Rifle-Length ท่อแก๊สในชั้นนี้ใช้กับปืนในตระกูลฯ ที่มีความยาวลำกล้อง 20 นิ้ว ท่อแก๊ส Rifle-Length มีความยาวประมาณ 13 นิ้ว
ปืนในตระกูล M 16 ที่ใช้งานทางทหารจะใช้ท่อแก๊ส 2 ระบบเป็นหลักคือ Carbine-Length ยกตัวอย่างเช่น Mk 18 Mod (ความยาวลำกล้อง 10.3-10.5 นิ้ว) M 4 และ M 4 A 1 (ความยาวลำกล้อง 14.5 นิ้ว) และ Rifle-Length ยกตัวอย่างคือ Mk 12 Mod (ความยาวลำกล้อง 18 นิ้ว) M 16 A 2-4 (ความยาวลำกล้อง 20 นิ้ว) ท่อแก๊ส Pistol-Length และ Mid-Length ส่วนใหญ่ทำมาเพื่อรองรับตลาดพาณิชย์สำหรับปืนในตระกูล AR-15 ในส่วนของ Mid-Length เองนั่นเนื่องจากในบางรัฐฯของอเมริกาไม่อนุญาตให้พลเรือนมีปืนตระกูล AR-15 ที่มีความยาวลำกล้องต่ำกว่า 16 นิ้ว ซึ่งหากจะแต่งให้เหมือน M 4 จำเป็นต้องใช้ลำกล้อง 16 นิ้ว ซึ่งถ้าใช้ท่อแก๊ส Carbine-Length (ซึ่งก็ทำได้) จะทำให้ปลายลำกล้องส่วนที่เกิน Gas Box ออกมายาวเกินไป แต่ถ้าใช้ท่อแก๊ส Mid-Length จะทำให้ได้ระยะห่างระหว่างศูนย์หน้า-หลัง(ศูนย์เปิด)มากขึ้นและลดการสึกกร่อนของชิ้นส่วนที่อยู่ในโครงปืนส่วนบน
M 4 A 1 ใช้ท่อแก๊ส Carbine-Length ยาวประมาณ 7.5 นิ้ว ลำกล้องยาว 14.5 นิ้ว ความยาวจากรูแก๊ส(ที่เจาะในลำกล้องสำหรับใส่กับ Gas Box เพื่อต่อไปยังท่อแก๊ส)ไปยังสุดปลายลำกล้องยาวประมาณ 7 นิ้ว ถ้านำไปเปรียบเทียบกับ ปืนเล็กยาวมาตรฐาน ในระบบเดียวกันคือ M 16 A 2-4 ที่ใช้ท่อแก๊ส Rifle-Length ยาวประมาณ 13 นิ้ว ลำกล้องยาว 20 นิ้ว ความยาวจากรูแก๊สไปยังสุดปลายลำกล้องยาวประมาณ 7 นิ้ว จะเห็นว่าระยะดังกล่าวมีความยาวเท่ากันหรือใกล้เคียงกันมากดังนั้นหากบอกว่า “ปืน m 4 a 1 ใช้แก๊สดันหน้าลูกเลื่อน แต่จากท่อแก๊สไปปากลำกล้อง ยาวกว่าปืนเล็กยาวมาตรฐาน
ทำให้ระยะจากท่อแก๊สไป แรงส่งน้อยมาก จนแทบจะเรียกได้ว่าไปด้วยแรงเฉื่อย ทำให้กระสุนหมุน
ในรอบที่ต่ำกว่า ปืนเล็กยาวมาก อำนาจการเจาะเลยลดลงไปเยอะน่ะครับ” ดูจะไม่ถูกต้องนะครับ
ถ้าเทียบกับ TAR-21 ตรงนี้ผมไม่ทราบระยะของรูแก๊สในลำกล้องครับ(M 16 พอหาประมาณได้จากความยาวท่อแก๊สแต่โดยประมาณเพราะว่ามันไม่ได้หมายความว่ารูแก๊สในลำกล้องจะยาวเท่านั้นแต่ก็ใกล้เคียง โดยเฉพาะหากเทียบกับปืนในตระกูลเดียวกัน) เสียดายผมไม่มี TAR-21 ในมือตอนนี้ไม่งั้นจะเอามาวัดโดยประมาณให้ดูครับ แต่ถ้าเปรียบเทียบในรูประยะดังกล่าวไม่หนีกันมากครับ ทั้งตระกูล M 16 ที่ทำงานด้วยระบบแก๊สพ่นโครงนำลูกเลื่อนโดยตรง และ TAR-21 ที่ทำงานด้วยลูกสูบแก๊ส(พ่นใส่แกนกระบอกลูกสูบที่ต่อกับโครงนำลูกเลื่อน) ทั้งคู่ต่างจะต้องเจาะรูแก๊สในลำกล้องเพื่อนำแก๊สที่เกิดจากการเผาไหม้ของดินส่งบางส่วนมาขับดันระบบตามวงรอบการทำงานของปืน ดังนั้นทั้งคู่สูญเสียแรงแก๊สสำหรับการผลักดันดังกล่าวเหมือนกันครับ ดังนั้นถ้าจะบอกว่า TAR-21 หัวกระสุนวิ่งในเกลียวส่วนที่เลยรูแก๊สออกไปด้วยรอบที่มากกว่า M 16 (หรือ M 4) ชนิดที่ว่า M 16 (M4) วิ่งด้วยแรงเฉื่อยแล้วก็ดูจะไม่จริงนักนะครับ แต่ต่างแค่ตระกูล M 16 แก๊สส่วนใหญ่จะพ่นใส่ในห้องลูกเลื่อน(เป็นที่มาเรื่องคราบเขม่าที่จะเกาะสะสมตัวลูกเลื่อนและภายในห้องลูกเลื่อนเร็วรวมถึงความร้อน เร็วกว่าระบบอื่น) แต่ถ้าระบบลูกสูบแก๊ส แก๊สส่วนใหญ่จะพ่นทิ้งบริเวณ Gas Box (คราบเขม่าจะเกาะมากที่หน้าลูกสูบและภายในห้องลูกสูบ) ซึ่งตรงนี้มันเกี่ยวข้องในเรื่องคราบเขม่าและความร้อนภายในห้องลูกเลื่อนมากกว่าครับ
ถ้ามาดูที่เรื่องวัตถุประสงค์ในการออกแบบ บูลพัพ เช่น TAR-21 นั้นเป็นความพยายามในการลำความยาวโดยรวมของปืนโดยที่ไม่ต้องตัดลำกล้องให้สั้นลง ผลที่ได้คือ ได้ปืนลำกล้องในชั้น Rifle ในขณะที่ตัวปืนมีความยาวรวมเท่ากับปืนทรงคลาสสิคในชั้น Carbine ซึ่งตรงนี้ข้อดีที่ตามมาคือ ความเร็วปากลำกล้องและแรงปะทะของหัวกระสุนมากกว่า(ในขนาดลำกล้องและกระสุนชนิดเดียวกัน) คำถามคือ มากกว่าเท่าไหร่ ซึ่งตรงนี้ผมได้ให้ข้อเท็จจริงไปแล้วว่า มากกว่าเท่าไหร่ ส่วนตัวดูแล้วถ้านำไปเปรียบเทียบระหว่างความต่างเรื่องดังกล่าวระหว่าง M 16 A 2-4 Rifle กับ M 4 Carbine แล้วมันต่างกันเยอะนะครับ M 16 A 4 กับ M 4 A 1 ความเร็วต่างกัน 200 กว่าฟุต/วินาที ในขณะที่ TAR-21 กับ M 4 A 1 ต่างกันประมาณ 86 ฟุต/วินาที แต่ถ้าบอกว่าให้ไปดูเรื่องรอบการหมุนของหัวกระสุนในลำกล้อง ตรงนี้ก็ตามที่บอกไปตอนต้นครับ
ยิ่งถ้าเราลองมาพิจารณาระยะยิงจริงสำหรับประเทศเราในภูมิประเทศแบบบ้านเราเท่าที่เราเคยปฏิบัติมา เอาใกล้ๆก่อนคือ กรณีกระทบกระทั้งกับเพื่อนบ้านด้านตะวันออก และใน จชต. ซึ่งมีการปะทะกันด้วย ปืนเล็กยาวและปืนเล็กสั้น จะเห็นว่าระยะดังกล่าวมันต่ำกว่า 300 เมตรลงมา(ใจจริงอยากจะให้ว่าต่ำกว่า 100 เมตรลงมาด้วยซ้ำ) ดังนั้นถ้าติ๊งต่างว่า ในความเป็นจริงแล้วเราต้องการปืนเล็กประจำกายที่ใช้งานในระยะ 300 เมตรลงมา ทั้ง TAR 21 และ M 4 A 1 ตอบโจทย์ดังกล่าวได้หมด สรุปคือ ในระยะดังกล่าว Rifle และ Carbine ตอบโจทย์ได้หมด แต่มันไม่ได้หมายความว่า TAR 21 จะมี “อำนาจมีอำนาจการยิง” ชนิดที่ว่า “ต่างกันเยอะเมื่อเทียบกับ M 4 A 1” ตรงนี้ลองให้ไปดูที่ผมถามไว้เรื่อง M 1903 กับ M 16 A 2 ซึ่งคุณ Bravo 544 ตอบมาแล้วว่า “ให้ M 16 A 2 มีอำนาจการยิงสูงกว่า” ซึ่งน่าจะรู้คำตอบในตัวของมันแล้ว M 1903 มีระยะยิงหวังผล อำนาจการเจาะ และ อำนาจการหยุดยั้ง ที่เรียกได้ว่า “ต่างกันเยอะเมื่อเทียบกับ M 16 A 2” แต่ทำไมถึงยังให้ M 16 A 2 มีอำนาจการยิงสูงกว่า เพราะปัจจัยต่อมาเรื่อง ปริมาณในการยิงและจำนวนกระสุนพร้อมยิง นั่นเอง ยิ่งถ้าในระยะ 300 เมตร ลงมายิ่งชัดเจน แล้วเช่นนั้นในเมื่อ TAR-21 กับ M 4 A 1 ต่างใช้กระสุนเหมือนกัน ปริมาณการยิงและกระสุนพร้อมยิงเหมือนๆกัน ต่างกันแค่ความเร็วต้นเพียง 86 ฟุต/วินาที ทำไมถึงให้ “ TAR 21 มีอำนาจการยิง” ที่ “ต่างกันเยอะ” เมื่อเทียบกับ M 4 A 1
หรือจะบอกว่า M1903 กับM 16 A 2 มันคือ Rifle กับ Rifle แต่ TAR 21 กับ M 4 A 1 มันคือ Rifle กับ Carbine ตรงนี้ผมได้อธิบายไปแล้วนะครับว่า TAR 21 คือ Rifle ในร่าง Carbine จริง แต่ถ้ามาดูข้อมูลลงไปอีก ขีดความสามารถด้านความเร็วต้นกระสุนมันมากกว่า Carbine อย่าง M 4 A 1 ไม่เท่าไหร่ถ้าเทียบกับ Rifle อย่างอื่นเช่น M 16 A 2-4 แต่มันจะได้เปรียบในเรื่องความคล่องตัวถ้าตีค่าว่ามันคือ บูลพัพ Rifle ในร่าง Carbine โดยเฉพาะถ้าเทียบกับ Rifle ด้วยกันอย่าง M 16 A 2-4 และผมก็จะไม่บอกว่า M 16 A 2-4 มีอำนาจการยิง” ต่างกันเยอะเมื่อเทียบกับ TAR 21 ทั้งๆที่ความเร็วต้นของกระสุนสูงกว่าพอสมควร อำนาจการยิงทั้งคู่ใกล้เคียงหรือเท่ากันต่างแค่การนำพา ที่ TAR 21 บูลพัพในร่างคาร์ไบน์ได้เปรียบกว่าแค่นั้นเอง
ถ้าพิจารณาแค่ด้านปืนกับขีดความสามารถของมันแน่นอน TAR 21 ที่เป็น Rifle ในร่าง Carbin ในเบื้องต้นจะดูดีกว่า Carbine ขนานแท้อย่าง M 4 A 1 ในแง่การนำพาที่ดีเท่าๆกัน แถมได้ความเร็วต้นเพิ่มมาอีกเล็กน้อย(แต่มันก็ยังไม่ใช่ได้อำนาจการยิงที่ต่างกันเยอะอยู่ดี) แต่ถ้ามาพิจารณาในหัวข้อต่อๆไปที่สำคัญ ถึงขั้นชี้ผลเรื่องความพร้อมรบของอาวุธประจำกายดังกล่าวในระยะยาว คือในหัวข้อเรื่อง “การส่งกำลัง” ในระบบกองทัพของเราซึ่งเกี่ยวข้องในเรื่องหลักคือ การซ่อมบำรุง และ การส่งกำลังบำรุง ปัญหาตรงนี้เป็นจุดใหญ่เลยที่ผมอธิบายถึงข้อเสียของ TAR 21 ซึ่งก็ได้พูดไปเยอะพอควร และปัจจัยดังกล่าวส่วนตัวเชื่อว่าข้อดีของบูลพัพจะตกไปทันที ข้อดีของปืนตระกูล M 16 ที่ผมชอบที่สุดคือ อะไหล่ใช้ร่วมกันได้ทุกรุ่นถึง 99% ส่วนตัวแล้วอย่าว่าเปรียบเทียบ TAR 21 กับ M 4 A 1 เลยครับ แค่ TAR 21 กับ M 16 A 2-4 ถ้าเทียบเรื่องการส่งกำลังของเราและปัญหาเท่าที่สัมผัสมา ณ ตอนนี้ ผมยังเลือก M16 A2-4 มากกว่าเลยครับ
ที่มาในเรื่องวัตถุประสงค์การออกแบบ Carbine ไม่ได้มาจากเพื่อให้ใช้ในพื้นที่ แคบๆ ระยะยิงไม่ต้องไกลมากแบบในเมือง ครับ ถ้าจำไม่ผิดมันมีที่มาจากความต้องการของหน่วยในเรื่องการนำพาครับ คือในยุคที่ทหารม้ายังขี่ม้าเนื้อนั้น ทหารม้าที่อยู่บนหลังม้าหากใช้ปืนยาวเฟื้อยอย่าง Rifle เหมือนกับทหารราบเดินเท้า ก็จะเกะกะไม่สะดวก จึงต้องการปืนในลักษณะเดียวกันกับ Rifle ของทหารราบแต่ยอมลดความยาวลำกล้องลงสูญเสียระยะยิงหวังผลแต่แลกกับข้อดีในเรื่องการนำพา
Rifle กับ Carbine เป็นอาวุธคู่ขนานกันมานานยกตัวอย่างเช่น
ในยุค WW II และสงครามเกาหลี คือ M 1 Rifle(M 1 Garand หรือ ปลยบ.๘๘) กับ M 1 Carbine (ปสบ.๘๗) M 1 Carbine หรือถ้าชื่อเรียกแบบบ้านๆคือ ปืนคาร์บิ้น นั่นเอง
ในยุคสงครามเวียดนาม(หรือในช่วงกลางๆของสงครามเย็น) Rifle ก็คือ M 16 และ M 16 A 1 ในส่วนของCarbine นั้นจริงๆมีเยอะหลายโมเดล แต่ยกมาหลักๆเช่น XM 177 และ M 653 พอมาในช่วงหลัง NATO ปรับกระสุนใหม่เป็น SS109 หรือ M855 Rifle จึงกลายมาเป็น M 16 A 2 Carbine หลักๆก็คือ M 4 พอเข้ายุค โมเดิน วอร์แฟร์ ที่เทคโนโลยีดีขึ้นจนทำให้อุปกรณ์ช่วยต่างๆสำหรับปืนเล็กย่อขนาดลงจนติดกับปืนเล็กได้โดยที่น้ำหนักเพิ่มไม่มาก(หากเทียบกับยุคก่อนๆ) Rifle จึงปรับเป็น M 16 A 3-4 Carbine หลักๆคือ M 4 A 1 เพื่อรองรับการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆ และในขณะนั้นสิ่งที่ตามไปด้วยก็คือ จากการที่มีอุปกรณ์มาเพิ่มบน Rifle ทำให้น้ำหนักพร้อมรบของปืนเพิ่มขึ้นและเมื่อเทียบกับระยะยิงจริงในการรบส่วนใหญ่ที่อยู่ในขีดความสามารถที่ Carbine ทำได้ ย่อมลดความเร็วต้นของกระสุนลงเพื่อแลกกับการนำพา US Army จึงเริ่มปรับอาวุธปืนเล็กประจำกายจาก Rifle เป็น Carbine ทั้งหมด (ในเบื้องต้น US Marine) ยังคง Rifle ไว้ในหน่วยรบตามแบบหลัก แต่ปัจจุบันก็เริ่มปรับเป็น Carbine ตาม US Army
จากข้างต้นจะเห็นว่าที่มาของ Carbine ไม่ได้มาจากความต้องการในเรื่องระยะยิง แต่เกิดจากความต้องการในการนำพาในบางหน่วย (แต่ยอมแลกเมื่อเทียบกับการสูญเสียระยะยิงลงบ้าง) และปัจจุบันเมื่อพิจารณาจากระยะการปะทะกันจริงๆ จึงเชื่อว่า Carbine ตอบโจทย์ได้ทุกข้อ แต่ในระหว่างนั้นเองก็มีความคิดเพิ่มเข้ามาคือการทำ Rifle ให้นำพาได้เหมือน Carbine จึงเป็นที่มาของ Bullpup ให้เป็นตัวเลือกอีกแบบหนึ่ง
เรื่อง Bullpup มีเรื่องแปลกอยู่อย่างให้น่าสนใจ คือ ประเทศที่เลือกใช้ Bullpup เป็นอาวุธปืนเล็กประจำกายหลักสำหรับหน่วยรบตามแบบหลัก แต่กับหน่วยปฏิบัติการพิเศษ(คนละความหมายกับหน่วยรบพิเศษนะครับ) ของประเทศนั้นๆกลับไปใช้ปืน Carbine ในรูปทรงคลาสสิค(ดั้งเดิม) เช่น อังกฤษประจำการด้วย Bullpup SA80(หรือ L85) ในหน่วยดำเนินกลยุทธหลักเช่น ทหารราบกับ ทหารม้า แต่ในหน่วยปฏิบิติการพิเศษและรบพิเศษเช่น SAS กลับใช้งานปืนในตระกูล M 16 เป็นหลัก ทั้ง Rifle และ Carbine (แต่ส่วนมากคือ Carbine) ซึ่งเป็นปืนทรงคลาสสิค ฝรั่งเศส ที่ประจำการด้วย Famas ในหน่วยรบตามแบบ แต่เช่นกันในหน่วยปฏิบัติการพิเศษก็ใช้ปืนในทรงคลาสสิค ออสเตรเลีย ประจำการด้วย AUG ในหน่วยรบตามแบบ แต่ในหน่วยปฏิบัติการพิเศษกลับใช้ Carbine รูปทรงคลาสสิค
สรุปคือ ถ้า TAR 21 ส่วนตัวเชื่อว่า ข้อเสียโดยรวมมากกว่าข้อดี ซึ่งตรงนี้ผมไม่ได้บอกว่าผมไม่ชอบ Bullpup ทั้งหมด เพราะ Bullpup อื่นๆยังไม่เคยใช้งานจริงเอง แต่เพราะเจ้า TAR 21 เนี่ยแหละที่กำลังทำให้ผมหมดศรัทธาใน Bullpup และที่มาของการแลกเปลี่ยนข้อมูลตรงนี้ เนื่องจากผมติดใจกับคำว่า “อำนาจการยิงเหนือกว่ากันเยอะ” เท่านั้นเองครับ เลยพยายามชี้ให้เห็นว่ามันไม่ได้เหนือกว่ากันเยอะครับ
ตอบคุณ potmon ก่อน รอบการหมุนมีผลต่อการเจาะ
เพราะเจาะไปแล้วยังคงสภาพวิถีกระสุนได้ดีกว่าครับ
ตอบคุณ FW190 เรื่องรอบ และอำนาจการยิงได้มาจากการวิจัยของ ศร. และกรมยุทธ
แต่ได้ข้อมูลมาชักเขว สงสัยต้องศึกษาเพิ่มเติม ขอบคุณครับสำหรับข้อมูล
แต่ยังไงดูเรื่องการใช้งานต่อเนื่องด้วยนะครับ เหตุผลหนึ่งที่แก๊สเป่าลูกสูบ ช่วยเรื่องความสั้นแล้ว
ยังทำให้ อุณหภูมิ ในห้องลูกเลื่อนไม่เพิ่มเร็วจนเกินไป
แต่ในทัศนคติของ bullpub สำหรับผม ต่างกันนิดนึงก็คือ พอได้สัมผัสการใช้งาน TAR21
ทำให้ผมรู้สึกไม่ดีกับ ปืนชนิดนี้ ไม่ว่าจะยี่ห้ออะไร เคยใช้หรือไม่ เหตุผลหลักมาจากตำแหน่ง
ของซองกระสุนน่ะครับ มันขัดกับการใช้งาน ( หรือเฉพาะผมก็ไม่้รู้นะ ) แต่ผมว่าหลายๆ ท่าน
ที่ใช้งานมันอยู่ เชื่อได้ว่า คงไม่ชอบมันเท่าไหร่ ดีอย่างเดียว มีเรดดอท ให้ใช้ยิงได้เร็วกว่า
และแม่นยำโดยไม่ต้องเล็งอะไรมาก
ถ้าเรามี m4 แบบถอดหูหิ้วได้ แล้วติดกล้อง ผมว่าตอบโจทย์ได้ดีทีเดียวแต่ถ้าจะเอา ตัวปกติ
มาติดเรดดอท ผมไม่ค่อยเห็นด้วย เนื่องจากความสูงของกล้อง ทำให้มุมเงยมากเกินไป
พอเปลี่ยนระยะยิง กลุ่มกระสุนต่างกันเยอะมากไป
สุดท้าย คุณ toeytei ผมก็ชอบกระทู้แนวนี้เหมือนกันครับ ผิดถูกเรื่องหนึ่ง คนเรามันพลาดได้
แต่การคุยกันแบบนี้ถ้าเว็บเรามีมากขึ้น ผมว่าน่าอยู่ขึ้นเยอะครับ
จาก ขีปนวิถีภายใน,ภายนอก และ หลังกระทบเป้าที่อธิบายคร่าวๆก่อนหน้านี้
ถ้าจำไม่ผิดในตอนแรกนั้นเกลียวในลำกล้องเกิดจากการทำขึ้นมาเพื่อความง่ายในการบรรจุหัวกระสุนทางปากลำกล้อง(ซึ่งตอนแรกเป็นสันตรงๆยังไม่บิดเกลียว) แต่สิ่งที่ได้ตามมาคือ ความแม่นยำและความง่ายในการทำความสะอาดลำกล้อง ต่อมาจึงได้พัฒนาขึ้นจนกลายเป็นสันเกลียวบิดตัวเพื่อบังคับให้หัวกระสุนเกิดการหมุนตัวหลังจากหลุดพ้นลำกล้องไปแล้ว เพื่อทำให้หัวกระสุนทรงตัวได้ดีขึ้น(รวมถึงการพัฒนารูปทรงหัวกระสุนให้เหมาะสมกับหลักของของไหล) ผลที่ได้คือความแม่นยำและระยะยิงหวังผลที่มากขึ้นเมื่อเทียบกับลำกล้องแบบเรียบ
เกลียวในลำกล้องส่งผลต่อการโคจร หรือ กระสุนวิถี ของหัวกระสุนที่แหวกตัวในอากาศ ซึ่งจะต้องเหมาะสมกันในเรื่องของดินขับ น้ำหนักหัวกระสุน และระยะครบรอบของเกลียว เพื่อทำให้แนว กระสุนวิถีดังกล่าวดีที่สุด
อำนาจการเจาะ(ด้วยพลังงานจลน์) เกิดจาก รูปทรงหัวกระสุน,วัสดุที่ใช้ทำหัวกระสุน,มวลและความเร็วเป็นหลัก ในความเป็นจริงแล้วการหมุนตัวของหัวกระสุนที่เกิดจากเกลียวที่ช่วยในเรื่องการทรงตัวในอากาศนั้นแหละที่เป็นตัวทำให้หัวกระสุนเกิดการเสียการทรงตัวหลังกระทบเป้า(ขีปนวิถีหลังกระทบเป้า) จนหัวกระสุนเกิดอาการตีคว้าน ส่วนกรณีกระสุนเจาะเกราะพลังงานจลน์ที่ใช้ใน ปถ.(ปืนใหญ่รถถัง)นั้นจะเห็นชัดเจนครับ กระสุน APDS (Armour-Piercing Discarding Sabot) หรือกระสุนเจาะเกราะสลัดครอบทิ้ง ที่ใช้ใน ปถ. เช่น ขนาด 105 มม. นั้นจะเห็นได้ชัดถึงลักษณะรูปทรงและวัสดุที่ใช้ทำหัวกระสุนที่ใช้ในการเจาะ กระสุน APDS ยังใช้การทรงตัวด้วยการหมุนตัวผ่านเกลียวในลำกล้อง แต่เกลียวในลำกล้องที่ช่วยในการทรงตัวดังกล่าวเป็นแรงต้านหัวกระสุนและทำให้หัวเจาะทรงลูกดอกเกิดอาการเสียการทรงตัวหลังกระทบเป้าทำให้การเจาะไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อเพิ่มความเร็วต้นและลดอาการสะบัดหลังกระทบเป้า อันดับแรกจึงลดแรงต้านซึ่งก็คือเกลียวในลำกล้อง จึงเป็นที่มาของ ปถ. ลำกล้องเรียบ เช่นขนาด 120 มม. แต่เมื่อไม่มีเกลียว หัวกระสุนไม่เกิดการหมุนตัวช่วยในการทรงตัวในอากาศ จึงเพิ่มครีบหางหัวกระสุนเข้าไปกลายเป็นกระสุน APFSDS (Armor-Piercing Fin-Stabilized Discarding-Sabot) ซึ่งรูปทรงหัวกระสุนวัสดุที่ใช้ทำก็คล้ายๆกับ APDS ครับ นอกจากกระสุน APFSDS ที่ใช้ใน ปถ. ลำกล้องเรียบแล้ว กระสุนแบบอื่นๆก็จำเป็นต้องมีครีบหางเพื่อช่วยในการทรงตัวเนื่องจากไม่มีเกลียวลำกล้องช่วยในการทรงตัวเหมือนกันครับ
กลับมาที่กระสุนปืนเล็กครับในตอนแรกที่ใช้กระสุน 5.56x45 หัวบอล(FMJ – Full Metal Jacket) แบบ M193(แมทชิ่งกับเกลียว 1/12) นั้น เมื่อไปเทียบกับกระสุนในยุคเดียวกันของฝ่ายตรงข้าม ณ ขณะนั้นคือกระสุน 7.62x39 หัวบอล พบว่ากระสุน 7.62x39 ดังกล่าวมีแกนโลหะรูปทรงกรวย(ฝาชี)อยู่บริเวณหัวกระสุนซึ่งแกนดังกล่าวช่วยให้กระสุนเกิดการเสียรูปทรงน้อยเมื่อทะลุผ่านวัสดุที่มีความแข็งจึงเพิ่มอำนาจในการเจาะได้ในระดับหนึ่ง จึงได้พัฒนากระสุน 5.56x45 มม. ที่มีหัวกระสุนเสริมแกนโลหะลักษณะดังกล่าวขึ้นมาเพื่อเพิ่มอำนาจการเจาะบ้างจนกลายเป็นกระสุนแบบ M855(SS-109) แต่สิ่งที่ตามมาคือน้ำหนักหัวกระสุนที่เพิ่มขึ้นเป็น 62 เกรน และแรงดันเพิ่ม จึงต้องออกแบบลำกล้องใหม่ จนได้ระยะครบรอบเกลียวที่เหมาะสมคือ 1/7 จึงกลายเป็นที่มาของลำกล้องดังกล่าวที่ใช้ใน M16 A 2,M 4 และนอกจากอำนาจการเจาะที่เพิ่มขึ้นแล้วสิ่งที่ตามมาอีกอย่างโดยปริยายคือ ระยะยิงหวังผลที่เพิ่มขึ้น(เกิดจากแนว กระสุนวิถี ที่ราบหรือโค้งน้อย) ในทางกลับกันหากนำกระสุน M 193 มาใช้ยิงในลำกล้อง 1/7 ละ ผลคือสามารถยิงได้แต่การทรงตัวของหัวกระสุน 55 เกรน ที่หมุนตัวหลังจากหลุดมาจากเกลียว 1/7 ไม่ดี ส่งผลถึงอัตราการกระจายที่เพิ่มขึ้นประมาณ 10% และอำนาจการเจาะไม่ได้ดีไปจากเดิมที่มันเคยเป็น ทั้งๆที่มันหมุนตัวในเกลียว 1/7 ที่มีอัตราการหมุนมากกว่าเกลียว 1/12 เดิมถึงเกือบเท่าตัว ตรงนี้น่าจะเป็นคำตอบว่า การหมุนตัว ไม่ได้ช่วยในเรื่อง การเจาะ เท่าที่ควร ครับ การหมุนตัวผ่านเกลียวมันเกี่ยวกับเรื่องการทรงตัว ซึ่งจะหมุนเท่าไหร่(เกลียวลำกล้องครบรอบเท่าไหร่) มันจะต้องเหมาะสมกันระหว่างน้ำหนักหัวกระสุน,แรงขับ และความยาวลำกล้อง
ปืนระบบ ลูกสูบแก๊ส ไม่ได้ช่วยในเรื่องทำให้ปืนสั้นลงนะครับ เช่น ปลยบ.๘๘ หรือ M 1 Garand นั่นก็ทำงานด้วยระบบลูกสูบแก๊สแบบช่วงชักยาว ปืน SKS (เซกาเซ่) ก็ลูกสูบแก๊ส(ความยาวลำกล้อง 20 นิ้ว เท่า M 16 Rifle) แต่ถ้าเรื่องความร้อนและคราบเขม่าในห้องลูกเลื่อนที่น้อยกว่าเมื่อเทียบกับระบบพ่นโดยตรงใน M16 อันนี้ถูกครับ
ปกติอัตรากระสุนมูลฐานประจำ ปลย.(หรือ ปลส.) ของ ทบ. คือ 360 นัดต่อกระบอก ซึ่งตรงนี้จะติดตัว 1 อัตรา(หรือที่เรียกว่า 1 เบสิคโหลด) 140 นัด ตรงนี้เป็นคำตอบว่าโอกาสยิง ปลย. ในการปะทะด้วยความเร็วสูงสุดอย่างต่อเนื่องเกิน 500 นัด โดยไม่มีการหยุด มีโอกาสน้อยมากครับ แต่ก็มีตัวอย่างที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือกรณี ปลส. Bushmaster M4 ของนย.(ปืน M 4 ที่ผลิตโดยบริษัท Bushmaster ลำกล้องเป็นเกลียว 1/9 ซึ่งแมทชิ่งกับกระสุนธรรมดาหัวบอล M 855 แต่ไม่แมทชิ่งกับกระสุนส่องวิถี M856 ในขณะที่ลำกล้อง 1/7 จะแมทชิ่งทั้ง M 855 และ M856) ซึ่งปืนดังกล่าวมีโครงปืนส่วนบนที่ทำมาจาก คาร์บอน 15 ซึ่งส่วนตัวเคยลูบๆคลำๆมาแล้วครั้งหนึ่ง ผลคือ จากการฝึกตั้งรับที่ยิงกระสุนจริงต่อเนื่องหลายเบสิคโหลด พบว่า โครงปืนส่วนบนที่ทำจาก คาร์บอน 15 เกิดการละลายครับ ปัจจุบันเลยมีทั้ง Colt M 4 และ Bushmaster M4
จากที่เคยยกตัวอย่างเปรียบเทียบไปแล้วครั้งก่อนระหว่าง M16A1 กับ H&K33 ที่ว่าทั้งๆที่เกลียวเหมือนกันกระสุนเหมือนกัน แต่ M16A1 ลำกล้องยาวกว่าตั้งเกือบ 5 นิ้ว แล้วทำไมระยะยิงหวังผลถึงต่างกันแค่ 60 เมตร ส่วนตัวคิดว่าเป็นเพราะระบบปฏิบัติการหรือไม่ ระหว่างทำงานด้วยแก๊ส(พ่นโดยตรง) กับระบบ โบลแบ็คหน่วงเวลาด้วยลูกกลิ้งขัดกลอน ระบบแก๊สสูญเสียแรงดันแก๊สที่ขับดันหัวกระสุนไปส่วนหนึ่งสำหรับระบบปฏิบัติการของปืนในขณะที่ระบบ โบลแบ็คหน่วงเวลาด้วยลูกกลิ้งขัดกลอนไม่สูญเสียแก๊สส่วนนั้น ทำให้แรงขับดันมากกว่าถึงแม้ลำกล้องจะสั้นกว่า แต่ระยะยิงหวังผลใกล้เคียงกัน ในส่วนของปืนที่ทำงานด้วยระบบแก๊สไม่ว่าจะพ่นโดยตรงหรือพ่นผ่านลูกสูบแก๊สส่วนตัวว่ามันสูญเสียแก๊สใกล้เคียงกันครับ
เรื่องปืนตระกูล M 16 ทั้ง Rifle และ Carbine ที่ใช้ชุดโครงปืนส่วนบนแบบมีชุดหูหิ้วและศูนย์หลังตายตัว(ไม่มีรางพิคาทินนี่) ในการติดตั้งเครื่องช่วยเล็งเช่น กล้องเล็งจุดแดงนั้น มันมีวิธีติดโดยที่ไม่ต้องติดบนหูหิ้วครับ(ซึ่งผมก็เห็นด้วยเรื่องการติดกล้องเล็งดังกล่าวบนหูหิ้วที่นอกจากการเล็งที่จะออกอาการหน้าลอยออกจากพานท้ายและเรื่องความต่างของเส้นแนวเล็งกับ กระสุนวิถี ที่ต่างกันเกินไปในการยิงเปลี่ยนระยะ) ตรงนี้ขึ้นอยู่กับฝาประกับ หรือ Handguard ด้วยครับ ถ้าเป็นอลูมิเนียมพร้อมรางพิคาทินนี่ ก็ติดด้านบนฝาประกับ(รางตำแหน่ง 12 นาฬิกา) หน้าหูหิ้วได้เลยครับ(ถ้ากล้องต่ำก็ต้องเลือกขาจับกล้องที่สูงมาสักนิดเพื่อให้พ้นแนวเล็งของศูนย์เปิดเดิม)
ยกตัวอย่างเช่นเจ้าตัวนี้
หรือถ้าฝาประกับเป็นโพลีเมอร์มาตรฐาน(ซึ่งราคาถูกกว่ารางอลูมิเนียมเท่าตัว) ก็สามารถติดในตำแหน่งดังกล่าวได้เช่นกันแต่ต้องมีอะแดบเตอร์เป็นรางพิคาทินนี่ยื่นมาด้านหน้าอีกที(ยึดกับรูที่หูหิ้ว) เหมือนในระบบการติดที่ IDF นิยมติดสำหรับปืนที่ใช้ฝาประกับโพลีเมอร์ เช่นดังรูป
ไหนๆมาเรื่องปืนแล้วข้ออีกนิดส่วนตัวมีแนวความคิดที่ว่า
ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้อุปกรณ์หลายๆอย่างสามารถนำมายัดลงปืนเล็กได้ ดังนั้นความเหนือกว่าในเรื่องของวัตถุ ไม่ได้อยู่ที่แบบของปืนอีกต่อไป แต่มันอยู่ที่อุปกรณ์เสริมประจำปืนตามแต่ภารกิจ
แต่เช่นเทคโนโลยีเหล่านั้นย่อมแลกมาด้วยเงิน แนวทางไหนละที่จะใช้เงินน้อยสุดและได้ประโยชน์สูงสุด
อุปกรณ์ประจำปืนเล็กที่เพิ่มเข้ามามีอะไรบ้าง ขอแบ่งคร่าวๆ 2 อย่างใหญ่คือ
ตัวอย่างข้างต้นแค่คร่าวๆนะครับ ถ้าลองยกตัวอย่างอุปกรณ์ประจำปืนมาตรฐานสำหรับทหารราบต่อบุคคลของประเทศร่ำรวยอย่างอเมริกาลองมาตีราคากันเล่นๆ อุปกรณ์เวลากลางวัน กล้องเล็ง ACOG ราคาประมาณ 1200 USD อุปกรณ์เวลากลางคืน AN/PEQ15 ราคาประมาณ 2000 USD + AN/PVS 15 ราคาประมาณ 10000 USD เอาเท่านี้ราคารวมก็ไม่มากแค่ 13200 USD เท่านั้นเอง(ราคาเป็นเงินบาทเท่าไหร่ลองคูณกันเอานะจะ) ราคานี้เฉพาะอุปกรณ์ไม่นับราคาปืน แต่ราคาอุปกรณ์พวกนี้แพงกว่าราคาปืนหลายเท่าตัว
ภาพการใช้งานอุปกรณ์ AN/PEQ ในโหมด IR
ย้อนกลับมาที่ประเทศพอมีอันจะกินเช่นเรา ณ ตอนนี้เชื่อว่าในอนาคตจะเหลือปืนอยู่ 2 แบบใหญ่คือ ตระกูล Tavor (TAR 21 และ X95)(ไหนๆมันก็ซื้อมาแล้ว) และตระกูล M 16 (M 16 A 2/4) โดย TAR 21 และ X95 สำหรับหน่วยบรรทุกยานเกราะ,หน่วยใช้ร่ม M 16 A 2/4 สำหรับหน่วยรบเดินเท้ารวมถึงหน่วยสบับสนุนการรบ,ช่วยรบ ต่างๆในกองพลนั้นๆ (สำรองคลัง M 16,M16A1 และ H&K 33 ทั้งหมด) ตรงนี้ข้อดีในเรื่องส่งกำลังเลยคือใช้กระสุนแบบเดียวกันทั้งหมด แต่ต้องจัดหา GTAR 21 (TAR 21 ติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.) สำหรับหน่วยที่ใช้ TAR 21 เพราะไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นในหน่วยที่ใช้ TAR 21 จะมี ปลย.2แบบใน 1 หมู่ ปล. คือ TAR 21 และ M16A2/4ติดเครื่องยิง M203 (ซึ่งปัจจุบันมันเป็นเช่นนั้น) ซึ่งมันดูแปลกๆเพราะหน่วยนั้นจำเป็นจะต้องฝึก ปลย. ทั้งสองแบบ
มาถึงเรื่องอุปกรณ์เครื่องช่วยเล็งเพิ่มเติม ซึ่งถ้าถูกสุดคงหนีไม่พ้นกล้องเล็งยิงเร่งด่วน ถ้าหลักๆที่มีให้เลือกก็ MeProLight,Aimpoint และEOtech ซึ่งทั้งหมดราคาขายปลีกอยู่ราวๆ 500-600 USD แล้วแต่รุ่นของยี่ห้อนั้นๆ สำหรับกล้องเล็งพวกนี้สิ่งที่ต้องตามมาคือ แหล่งพลังงาน ซึ่งก็มีหลายแบบตามแต่ละรุ่น ถ้าเรื่องพลังงานหรือแบตเตอรี่ละก็ Mepro M 21 เดิมได้เปรียบเพราะไม่ต้องใช้แบตเตอรี่จากภายนอก(แต่ข้อเสียคือปรับความเข้มของจุดเล็งไม่ได้) Aimpoint ถ้าเป็นรุ่น Comp M 4 ใช้แบตเตอรี่แบบ AA 1 ก้อน อายุใช้งานแบตเตอรี่ประมาณ 50000-80000 ชั่วโมง ถ้า EOtech จะมีหลายรุ่นถ้ามีโหมด NV(ใช้ร่วมกับ NVG) ก็ซีรี่ 55 ถ้า 551 ก็ใช้ถ่านN-cell 2 ก้อน 552 ใช้ถ่าน AA 2 ก้อน 553 ใช้ถ่าน CR123A 2 ก้อน ( ถ่าน N-cell หายากและราคาแพง ถ่าน CR123A ยิ่งแพงระยับเข้าไปอีก(ก้อนละร้อยกว่า)) EOtech ไม่ว่าจะถ่านแบบไหนอายุใช้งานถ่านประมาณ 5000 ชั่วโมง สรุปถ้าเล่น EOtech 552 เวิร์คสุดในเรื่องถ่าน(แต่ตัวบอร์ดี้กล้องมันยาว) ถ้าทั้ง 3 ตัวเลือก(Mepro 21,Aimpoint CompM4และ EOtech 552) แล้วละก็ส่วนตัวเชียร์ Aimpoint Comp M 4 เพราะเวิร์คสุดทั้งเรื่องถ่าน,อายุการใช้งานถ่าน ปรับระดับความเข้มจุดเล็งได้ จุดเล็งขนาด 2 MOA(เล็งระยะไกลดีกว่า 3.5 MOA ของ Mepro 21 M) แต่ถ้าคิดว่าไหนๆก็มี Mepro 21 M บน Tavor อยู่แล้ว จะเลือก Mepro 21 M ก็ไม่น่าเกลียด เพราะไม่เพิ่มแบบและไม่ต้องกังวลเรื่องแบตเตอรี่(แต่ไม่แน่ใจการใช้งานในโหมด NV) ส่วน EOtech น่าจะตัดมันได้เลยถึงแม้จะมีข้อดีที่เป็นโฮโลกราฟฟิค วางจุดเล็งตรงไหนก็ได้บนแว่นแก้วและมีมุมมองกว้างสุดก็ตาม แต่ถ้าไปดูเรื่องความเปลืองในการใช้แหล่งพลังงานทั้งจำนวนและระยะเวลาใช้งานสั้นแล้วละก็อย่าเอามันเลย เดี๋ยวปัญหาเรื่องส่งกำลังจะตามมา ตรงนี้ก็จะจบที่กล้องเล็งเร่งด่วนในเวลากลางวัน(กลางคืนก็ใช้ได้นะเพราะเห็นเส้นเล็ง แต่ปัญหาคือไม่สามารถพิสูจน์ฝ่ายเป้าหมายได้ แต่ก็ยังใช้งานในเวลากลางคืนได้ดีกว่าศูนย์เปิด) Aimpoint Comp M 4 และ EOtech ซีรี่ 55 สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ NV Device ได้ เช่น กล้อง NVG AN/PVS 14(เรามีใช้งานในหน่วยสนามจำนวนหนึ่ง) ซึ่งนอกจากยึดติดกับหมวกแล้วยังสามารถติดกับขายึดเพิ่มเติมเพื่อติดกับปืนต่อท้ายกล้องเล็งดังกล่าวได้(เปิดโหมด NV ในกล้องเล็งนั้น)
PVS 14 ติดหลัง Aimpoint Comp M2
ต่อไปถ้ามองข้ามช็อตไปที่อุปกรณ์เครื่องช่วยเล็งในเวลากลางคืนในราคาที่ไม่แพงเท่าตระกูล AN/PEQ ทั้งหลาย ก็ยังมีตัวเลือกอีกคือ Mepro MOR (ทบ.มีใช้งานแล้วจำนวนหนึ่งแต่ไม่มาก) ซึ่งมี Laser Aiming Device(ใช้ถ่าน AA 2 ก้อน) ในตัวทั้งโหมดมองเห็นด้วยตาเปล่าและโหมด IR(ใช้งานร่วมกับ NVG) หรือ ITT ISM(นย.มีใช้งานจำนวนหนึ่ง) ซึ่งเป็นกล้องเล็งเร่งด่วนพร้อม Laser Aiming Device (ไม่แน่ใจแต่น่าจะ AA 1-2 ก้อน)ในตัวทั้งโหมดมองเห็นด้วยตาเปล่าและโหมด IR เหมือนกัน แต่ระยะของ IR ไม่เท่า AN/PEQ (AN/PEQ ถ้าเปิดโหมด Hi ลำแสง IR ส่องได้ไกลประมาณ 2000 เมตร) แต่ก็ไม่น่าเกลียด แต่สิ่งที่ต้องตามมาคือ NVG
สรุปก็คือ TAR 21 มี Mepro 21 M เป็นเครื่องช่วยเล็งอยู่แล้ว ส่วน M 16 A 2/4 มี Aimpoint Comp M 4 เป็นเครื่องช่วยเล็งเพิ่มเติม(ถอดแยกเก็บได้และไม่เกี่ยวกับความพร้อมใช้งานของปืนถ้ากล้องชำรุด) ทั้งหมดของหน่วยกำลังรบหลัก เท่านี้ในขั้นต้นก็หรูแล้วละครับ แต่ถ้าเวิร์คสุดถ้าเป็นไปได้ จากข้อดีของ ปืนตระกูล M 16 ที่อะไหล่ใช้งานร่วมกันได้ ถ้าเพิ่มชุดโครงปืนส่วนบนที่เป็นลำกล้อง Carbine เข้าไปละก็ จะเหมือนมีปืน 2 แบบในกระบอกเดียว คือ โครงปืนส่วนล่าง 1 ชุด(ของ M 16 A2/4 เดิมที่มี) มีโครงปืนส่วนบน 2 แบบ คือ Rifle(20นิ้ว ของ M 16 A 2/4 เดิม) กับ Carbine (14.5นิ้ว ที่จัดหาเพิ่มเติมเข้าไป) ให้เลือกสลับใส่ตามแต่ภารกิจละก็จะหรูไปอีกแบบ เลือกแปลงร่างได้ทั้ง Rifle และ Carbine 5555
แถมอีกนิดแล้วกันครับ จากที่กล่าวถึงอุปกรณ์ข้างต้น บางครั้งอาวุธปืนเล็กบางอย่างที่ดูโบราณ ถ้ามันยังเตะปี๊บดัง(ระบบปฏิบัติการยังดี ลำกล้องและเกลียวยังดี) แล้วถ้าจับมาแต่งหน้าทาปากให้ละก็ รับรองไม่อายหลานๆ อัสซัล ไรเฟิล หรือ อัสซัล คาร์ไบน์ ยุคใหม่แน่ๆ เข้า โมเดิน วอร์แฟร์ได้สบายครับ
Before คุณปู่ M 2 Carbine (M 1 Carbine จะยิงได้แค่กึ่งอัตโนมัติ ส่วน M 2 Carbine จะเพิ่มเติมก้านบังคับการยิง ทำให้เลือกได้ระหว่างยิงกึ่งอัตโนมัติ และ อัตโนมัติ)
After หลังจากเปลี่ยนชุดให้ใหม่พร้อมแว่นสายตาใหม่ กลายเป็นคุณปู่ M 2 ซู่ซ่า(ตัวบน) ระยะ 300 เมตรลงมารับรองไม่อายหลานแน่ๆ ในภาพควงคู่มากับคุณหลานสุดเฟี้ยวว
และให้ทายว่านี่คือ M 16 A อะไร
เอ่อสงสัยต่ออีกนิดอะครับ ถ้ารอบการหมุนมีผลต่อการเจาะ ในรูปแบบ เมื่อเจาะไปแล้วยังคงสภาพวิถีกระสุนได้ดีกว่า(ลองคิดในปัจจัยที่มีความต่าง ของจำนวนรอบหมุนกระสุนต่างกันมากๆแง่เดียว จะประมาณได้ว่าเกิดการหักเหจากแนววิถีกระสุนเดิมในตัวเนื้อวัตถุที่เจาะ คิดค่าเป็นมุมองศาได้บวกลบไม่กี่องศา(คิดว่า 1-2 องศาก็เก่งแล้วอะครับ) ที่ความหนาน้อยๆอย่าเสื้อเกราะหรือร่างกายคน สมมุติ อย่าง ที่เสื้อเกราะหนา 3 cm.กระสุนเบี่ยงไป 2 องศาจากแนวตั้งฉากเดิม(ถ้าไม่เบี่ยง ระยะเจาะก็จะ 3 cm.)เมื่อเริ่มเจาะเข้าเสื้อ ระยะเจาะจริงของกระสุนในเสื้อเกราะจะเป็น 3.0018 cm. ครับ และตำแหน่งจะคลาดเคลื่อนจากตำแหน่งเดิมไป(รูกระสุนออกจากเสื้อเกราะไปยัง เนื้อคนอะครับ) 0.1048 cm. และ อย่าง ร่างกายคนที่หนาประมาณ 20 cm. ระยะเจาะจริงจะเพิ่มขึ้นเป็น 20.0122 cm. ตำแหน่งคลาดเคลื่อนจากเดิมไป(รูออกนี้คิดว่าไม่ค่อยมีผลเท่าไรครับ เพราะโอกาศที่จะเบี่ยงไปโดนจุดสำเร็จก็เท่ากับโอกาศเบี่ยงหลบจุดสำคัญเท่า กัน หรือก็ฝังในอะครับ) 0.6984 cm. ครับ(ต้องใช้ไมโครมิเตอร์วัดความต่างกันเลยทีเดียวในด้านการเจาะเพราะว่ามันน้อยมากๆครับ) ผมเลยคิดว่า ที่ความหนาในการเจาะไม่มาก มันไม่มีผลอะไรอะเลยในทางปฎิบัติครับ สรุปก็คือ ถ้ารอบหมุนของหัวกระสุนมีเพียงพอกับการ บังคับวิถีกระสุนในขณะเคลื่อนที่ในอากาศได้ ในระยะหวังผลของปืนนั้นๆแล้ว จำนวนรอบนั้นก็น่าจะเป็นจำนวนรอบที่เหมาะสมที่สุดในการใช้งานครับ(จริงๆรอบ หมุนของกระสุนเยอะๆก็ใช้ว่าดีนะครับ เพราะมันก็จะมีผลกระทบในทางอากาศพลศาสตร์ต่อวิถีกระสุนด้วย) ผมว่าในกรณี M4 ผู้ผลิตเค้าคงคำำนวณและทดสอบแล้วว่าที่ความยาวลำกล้องเท่านี้สามารถสร้าง จำนวนรอบหมุนกระสุนที่เพียงพอกับการบังคับวิถีกระสุนในขณะเคลื่อนที่ในอากาศได้ ในระยะหวังผลของปืน M4 ครับ
ส่วน อำนาจการยับยั่ง เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานจลน์ของกระสุนขณะเข้ากระทบเป้าหมายครับ(ถ้าพูด ถึงพลังงานจลน์ก็หนีไม่พ้นความเร็วแน่นอน) ส่วนเปลี่ยนรูปแบบไหนนั้นไม่ขอพูดแล้วกันนะครับ(ยาวมาก) แต่มาดูลักษณะความเร็วของกระสุนขณะกระทบเป้าหมายครับ(ขอเอาข้อมูลของท่าน FW190 มายกตัวอย่างนะครับ)
M 16 A4 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 3100 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้องประมาณ 1302 ฟุต-ปอนด์
M 4 A 1 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 2900 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้องประมาณ 1213 ฟุต-ปอนด์
TAR-21 มีความเร็วปากลำกล้องประมาณ 2986 ฟุต/วินาที พลังงานที่ปากลำกล้องประมาณ 1249 ฟุต-ปอนด์
M 16 A4 เทียบกับ M 4 A 1(เทียบในตระกูลเดียวกันจะเข้าใจกว่า) ที่ตำแหน่งปากกระบอก M 16 A4 กระสุนมีความเร็วมากกว่า M 4 A 1 อยู่ 6.90% และพลังงานจลน์กระสุนมากกว่าอยู่ 6.90%(TAR-21 จะได้ 2.97%)(เพราะมวลกระสุนเท่ากันพลังงานจลน์จึงขึ้นกับความเร็วกระสุนเพียงอย่างเดียว เลยจะเขียนในด้านความเร็วด้านเดียวนะครับ)
แต่สมมุติกระสุนเดินทางไปที่ระยะ 400 m.แล้วความเร็วลดลงไป 2000 ฟุต/วินาที(จริงๆไม่เท่ากันหลอก แต่มันจะใกล้เคียงกันมากๆจนสมมุติว่าเท่ากันได้) จนทำให้ ปืน M 16 A4 มีความเร็วกระสุน 1100 ฟุต/วินาที ปืน M 4 A 1 มีความเร็วกระสุน 900 ฟุต/วินาที ฉนั้น ที่ตำแหน่ง 400 m. M 16 A4 กระสุนมีความเร็วมากกว่า M 4 A 1 อยู่ 22.22% และพลังงานจลน์กระสุนมากกว่าอยู่ 22.22%(TAR-21 จะได้ 9.55%) จะเห็นว่าเปอร์เซ็นความต่างมันเพิ่มขึ้นจากตำแหน่งปากกระบอก และเปอร์เซ็นความต่างจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเมื่อระยะเดินทางของกระสุน ไกลยิ่งขึ้น เป็นเหตุให้ไม่นิยมนำปืน Carbine ไปยิงที่ระยะไกลๆครับ ไม่ใช้ว่ามันยิงไม่แม่นที่ระยะไกลๆนะครับ แต่ความเร็วกระสุนเมื่อกระทบเป้าที่ระยะไกลมันน้อยกว่าปืนปกติเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นแล้วจะเห็นได้ชัดเจนครับ
อีกอันคือ เรื่องความร้อนขณะยิงครับ คิดว่าไม่น่าจะอยู่ที่ระบบแก๊สอะครับ แต่น่าจะอยู่ที่พื้นที่ผิวสัมผัสอากาศมากกว่า ปืนที่ลำกล้องยาวกว่าได้เทียบกว่าอยู่แล้ว และยิ่งติดกับอุปกรณ์ที่ระบายอากาศได้ดี ก็ยิ่งมีผลครับ ผมคิดว่าอัตราการถ่ายโอนความร้อนจากกระสุนไปตัวปืนต่อนัด ของปืนทั้ง 3 แบบมันน่าจะใกล้ๆกันอยู่แล้วอะครับ จะต่างกันก็ตรงอัตราคายความร้อนของตัวปืนนี้แหละ
สรุป ตามที่ผมรู้ คือ รอบการหมุนของกระสุนมีผลต่อการบังคับวิถีกระสุนในขณะเคลื่อนที่ในอากาศ ครับ(อันนี้ทดลองยิงแล้วรู้เลย) แต่ไม่มีผลต่อการเจาะเป้าหมายครับ(หรือมีแต่น้อยโคตรๆ) และความเร็วกระสุนขณะกระทบเป้าเป็นปัจจัยหลักในการเจาะทะลุเป้าหมายรวมถึง อำนาจการยับยั่งด้วยครับ
ปล.สุดท้ายอยากรู้ว่าตอนนี้ไทยเราประจำการ TAR-21 กี่กระบอกแล้ว แล้วจำนวนประจำการจริงเท่าไรอะครับ
ความเห็นส่วนตัว ผมเห็นด้วยกับคุณ FW190 ที่ว่าของเก่าถ้าใส่เทคโนโลยีใหม่ๆลงไปก็ไม่แพ้ของรุ่นใหม่ๆ ผมอยากให้นำ HK33 มาปรับปรุงให้ทันสมัย เช่น ใส่อุปกรณ์ช่วยต่างๆเข้าไป เปลี่ยนเกรดวัสดุที่ใช้ให้ดีขึ้น และมีน้ำหนักเบา เพิ่มระยะยิง เพ่ิมความแม่นยำ ทำมาซัก 2 รุ่น คือ รุ่นธรรมดาสำหรับทหารราบ รุ่นพานท้ายพับได้สำหรับทหารยานเกราะ ผมว่าประสิทธิภาพไม่น่าจะด้อยกว่า Tavor หรือ M16A2/4 หรือ M4A1 สักเท่าไหร่ แต่ที่ได้มากกว่าคือการผลิตใช้ในประเทศด้วยภูมิปัญญาของเราเอง ครับ เพราะขนาด M16A1 ใช้มา 40 ปีแล้วยังคิดจะซื้อรุ่นใหม่กว่าคือ M16A2/4 มาใช้ แล้วประสาอะไรที่เราจะเปลี่ยนจาก HK33 มาใช้ HK33 mod บ้างล่ะครับ
ในส่วนเรื่องของความเร็วรอบ กับผลของการเจาะนั้น มีผลแน่นอนครับ เพียงแต่ผมเองอาจหลงประเด็น
สงสัยตอนเรียนแอบหลับพอดี
แต่จะว่าไป ที่คุณ potmon กล่าวไว้ ในเรื่องของการรักษาความเร็ว นั่นก็มีผลต่อการเจาะอยู่แล้ว
ผมอาจหลงเอง เดี๋ยวต้องไปแก้ไขเพิ่มเติม เดี๋ยวไปสอนผิดๆ เขาก็เรียนกันผิดๆ เชื่อกันผิดๆ อยู่นั่น
แต่ในเรื่องของระบบแก๊ส มีผลต่อความร้อนแน่ๆ ครับ เพราะ ตระกูล m 16 แก๊สเป่าหน้าลูกเลื่อน
โดยตรง แก๊สส่วนเกินก็เป่าหน้าลูกเลื่อน สะสมเป็นความร้อนสูงๆ ครับ แต่ในส่วนของ hk ใช่ว่าจะ
ไม่เจอปัญหาแบบนี้นะครับ ผมคิดว่าน่าจะมาจากสาเหตุ ที่แก๊สส่วนหนึ่งอุ้มปลอกกระสุน ทำให้ผนัง
รังเพลิงร้อนมาก เคยเจอเคสหนึ่ง ตามรูปที่แปะนะครับ ยิงไปได้ระหว่าง 7 - 800 นัด สลับกัน
100 นัด ยิงทีละนัด อีก 200 นัด ยิงเป็นชุด ก็กะไว้ว่าจะยิง 2 ชุด 600 นัด เคยยิงได้ไม่มีปัญหา
แต่พอดีทหารอีกชุด ตั้งใจมายืมปืนเพื่อน ซึ่งสภาพดีกว่า เลยต่อชุดที่ 3 มีอยู่นัดหนึ่งกระสุนป้อน
ไม่เข้าจนผิดรูป แต่ด้วยกับความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ( ผมเตือนตลอด ห้ามใช้กระสุนผิดรูป ) ผลก็คือ
กระสุนป้อนไม่สุด แล้วรังเพลิงสะสมความร้อนมาก เลยเกิดการเผาไหม้นอกรังเพลิง ระเบิดออกด้าน
ล่างเข้าในส่วนซองกระสุน กระสุนในซองกระจาย ซองบวม ห้องลูกเลื่อนบวม เลยต้องตัดจำหน่าย
พอส่งซ่อม กลายเป็นว่าซ่อมได้ เอามายิงก็ไม่มีปัญหาอะไร
แต่ถ้าเป็นพวกแก๊สเป่าลูกสูบ จะลดความร้อนสะสมตรงนี้ไปได้ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว
ยิ่งถ้าพัฒนาเป็น หน้าลูกเลื่อนเปิดเวลายิงออโต้ได้อีก ปืนกระบอกนั้นจะยิงต่อเนื่องได้มากขึ้นไปอีก
แต่ก็อย่างว่าแหละครับ โอกาสยิงอย่างนั้น คงจะน้อยมากๆ
รูปจากปืนกระบอกที่ว่านะครับ
รูปที่ระเบิดตอนแรก
ซองกระสุนบวม ระเบิดออกด้านล่าง
หน้าตาของกระสุนนัดเกิดเหตุ