โครงอากาศยานของ ซีสตาร์ เป็นลักษณะ ทุ่นลอย เมื่ออยู่บนพื้นน้ำ โดยที่ข้างลำตัวบริเวณส่วนกลางแผ่ออกเป็นปีกพยุงตัว ช่วยในเรื่องเสถียรภาพ
ฐานล้อพับเก็บได้ในลำตัว โดยซีสตาร์ มีพิสัยบินสูงสุด 1,850 ก.ม. และบินได้นาน 8 ชั่วโมง
Sea Star
จาก หนังสือ สมรภูมิ ฉบับที่ 392 เดือน พฤษภาคม 2531
ลำเลียงสิ่งของ
ปราบเรือดำน้ำ
ลาดตระเวณทางทะเล
ภาพไม่ขึ้น เอาใหม่ครับ
ลำเลียงของ
เอาใหม่ครับ
ลำเลียงสิ่งของ
ปราบเรือดำน้ำ
ลาดตระเวณทางทะเล
ลองอีกทีครับ...
ลองอีกครั้ง
ใช้ลำเลียงสิ่งของ
ใช้ต่อต้านเรือดำน้ำ
ใช้ลาดตระเวณทางทะเล
เห็นแล้ว ก็นึกถึง เครื่องบินทะเล....ถ้าได้มีการต่อยอด ขยายขนาด พัฒนา หรือ ปรับใช้...
เป็นเวลา 4 ปี แล้วที่กองทัพเรือซุ่มวิจัยการผลิตเครื่องบินทะเล เครื่องบินขนาดเล็กสารพัดประโยชน์ขึ้นลงได้ทั้งบนบกและบนผิวน้ำ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเล ทร. ล่าสุดได้เปิดตัวอย่างไม่เป็นทางการ “คม ชัด ลึก” ได้ร่วมทดสอบสมรรถนะของเครื่องบินดังกล่าว 2 รุ่นด้วยกัน คือ "NAX 01" และ "NAX 03" (N-naval A-aircraft X- experimental) บริเวณอ่างเก็บน้ำคลองไผ่ อ.บ้านฉาง จ.ระยอง ซึ่งการทดสอบดังกล่าวเป็นที่น่าพอใจอย่างมาก
พลเรือโท สมหมาย ปราการสมุทร ผอ.โครงการวิจัยยานพาหนะทางทะเล เพื่อใช้ประโยชน์กับกองทัพเรือ กล่าวว่า โครงการวิจัยเครื่องบินทะเล นี้เกิดมาครั้งแรกเมื่อสมัยที่ยังเป็น ผอ.สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ได้ร่วมทำโครงการวิจัยยานเหินน้ำร่วมกับนานาชาติ โดยประเทศไทยได้รับสิทธิ์วิจัย ยานเหินน้ำประเภท 2 ที่นั่ง ส่วนสิงคโปร์ได้วิจัยยานเหินน้ำประเภท 8 ที่นั่ง โดยสิทธิ์ดังกล่าวจะต้องใช้เวลาวิจัยทันทีหลังจากได้รับสิทธิ์ไม่เกิน 2 ปี
หลังจากได้รับสิทธิ์ปี 2550 กองทัพเรือให้เงินทุนมา 5 แสนบาท จึงเริ่มศึกษาวิจัยความเป็นไปได้ของการผลิตเครื่องบินประเภทนี้ โดยใช้คอมพิวเตอร์ออกแบบทั้งหมด โดยขั้นตอนดังกล่าวได้รับความร่วมมือจากนักวิชาการหลายๆ ด้าน ทั้งด้านการบิน ด้านการออกแบบโครงสร้าง หลังจากออกแบบเสร็จได้ไปซื้อซากเครื่องบินเก่ามาดัดแปลง ทั้งเครื่องยนต์และสรีระของเครื่องบินที่แต่เดิมสามารถร่อนลงแค่เพียงบนพื้นรันเวย์ปกติเป็นสามารถร่อนลงทั้งบนบกและบนผิวน้ำตามที่ออกแบบไว้ในครั้งแรก
แต่ก็ต้องพบอุปสรรคในช่วงแรกจนทำให้การวิจัยต้องชะงักลงเมื่อ 4 ปีก่อน คือ ไม่มีนักบินคนไหนกล้าบินทดสอบให้แก่เครื่องบินทะเลที่วิจัยขึ้น พลเรือโทสมหมาย วัย 57 ปี จึงตัดสินใจใช้เงินทุนของตัวเองราว 5 แสนบาท เพื่อเข้าเรียนการบินหวังที่จะทดสอบเครื่องบินที่ผลิตขึ้น และหลังจากที่มีการทดลองบินก็มีนักบินทดสอบอาสาสมัครเข้ามาในโครงการมากขึ้นถึง 4 คน และได้รับเงินทุนต่อยอดจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)เป็นเงิน 12 ล้านบาท กระทรวงกลาโหม อีก 15 ล้านบาท
ด้าน นาวาเอก กฤชพล เรียงเล็กจำนง นักบินทดลองในโครงการวิจัยเครื่องบินทะเล ซึ่งมีประสบการณ์การบินผาดแผลงมานานกว่า 10 ปี เปิดเผยว่า ครั้งแรกที่ทราบข่าวว่ามีโครงการสร้างเครื่องบินทะเล ก็มีความสนใจอย่างมาก เพราะชื่นชอบในเครื่องบินและรักการบินเป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว และสิ่งสำคัญที่สุดที่อาสาเข้ามาเป็นนักบินในโครงการนี้คือเครื่องบินดังกล่าวสร้างโดยคนไทยทั้งหมด โดยมีแรงบันดาลใจจากแนวพระราชดำริในการพึ่งพาตนเอง ที่กองทัพเรือได้น้อมนำมาปฏิบัติ
"ครั้งแรกที่เข้ามาเป็นนักบินทดสอบที่โครงการนี้เจอปัญหาทุกอย่าง ทีมงานต้องแก้ไปปัญหาไปทีละจุด ทีละขั้นตอน เรียนรู้กับมันพัฒนาไปทีละขั้น จนวันนี้เราสามารถควบคุมมันได้ทุกอย่างอย่างที่เราต้องการ ถือว่าเป็นความสำเร็จอย่างมากที่สามารถออกแบบและผลิตเครื่องบินทะเลได้เอง" นาวาเอกกฤชพล กล่าว
นาวาเอกกฤชพล บอกอีกว่า เครื่องบินที่สร้างขึ้นมานี้ได้มาตรฐานสากลอย่างแน่นอน เพราะนักบินต่างชาติมาทดสอบเขายังตกใจว่าเราทำได้อย่างไร อย่างเช่นลำตัวเครื่องที่เครื่องบินทั่วไปจะมีความแข็งแรงแค่ 3 จี แต่ของเราแข็งแรงถึง 6 จี หรือพูดง่ายๆ คือถ้าเครื่องบินปกติจะรองรับแรงกระแทกได้ 300 กก. แต่ของโครงการจะมากกว่าเท่าตัว
“ผมบินเครื่องบินเล็กที่สร้างขึ้นจากต่างประเทศ ที่เป็นสากลมาหลายชนิด บอกได้เลยว่าสมรรถภาพที่เราสร้างเองนั้นไม่ได้ด้อยกว่า เราทำได้เหมือนเขาหมด แต่ที่เหนือกว่าคือความแข็งแรงในการลงจอดได้ทั้งบนบกและในน้ำที่สำคัญราคาถูก และถูกออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่สลับซับซ้อน ตั้งแต่ดูแล บำรุงรักษา หรือแม้แต่ตอนบิน” นาวาเอกกฤชพลกล่าว
สำหรับ "เครื่องบินทะเล" ที่โครงการวิจัยอยู่นั้นมี 4 ลำด้วย คือ "NAX01" - "NAX04" ปัจจุบันเสร็จแล้ว 2 ลำคือ "NAX01" และ "NAX03" ส่วน "NAX02" อยู่ระหว่างการประกอบคาดว่าจะเสร็จภายในอีก 2 สัปดาห์ ส่วน "NAX04" จะเสร็จก่อนสิ้นปี โดยน้ำหนักตัวเปล่าอยู่ที่ 360 กก. 2 ที่นั่ง บรรทุกสูงสุดไม่เกิน 600 กก. เติมน้ำมันเชื้อเพลิง 91 และ 95 ได้ 81 ลิตร ระยะบินได้ 576 กม. ความเร็ว 90 น็อต บินได้สูงสุด 1 หมื่นฟุต จอดได้ทั้งบนบกและในน้ำ ระยะเทคออฟและร่อนลง(ทั้งบนบกและผิวน้ำ) 500 เมตร ตัวเครื่องสร้างจากคาร์บอนไฟเบอร์ ใช้เครื่องโลว์เทค 1,100 ซีซี จากออสเตรเลีย ราคาราว 5 ล้านบาท คาดว่าจะถูกลงหากผลิตจำนวนมากในอนาคต
ส่วนภารกิจที่เหมาะกับการใช้ประโยชน์ สามารถใช้ลาดตระเวนตามแนวชายฝั่ง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล ในเขื่อน บินสำรวจ ตรวจการณ์ ถ่ายภาพทางอากาศ โดยภารกิจแรกของเครื่องบินทะเลนั้นจะบินสำรวจพื้นที่จุดขนถ่ายทางทะเลให้แก่กระทรวงคมนาคม วันที่ 19 พฤษภาคมนี้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางคณะผู้จัดสร้างและวิจัยเครื่องบินทะเล ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนาจัดสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเล ทร. เตรียมที่จะทำเรื่องน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องบินทั้ง 4 ลำ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยจะปิดการสัญจรทางน้ำชั่วคราวระหว่างสะพานพุทธถึงสะพานพระปิ่นเกล้า แล้วนำเครื่องบินทะเล บินไปจากสนามบินอู่ตะเภาสถานที่ที่วิจัยและจัดสร้าง ไปลงจอดที่กลางแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คุณjuldas ผมกำลังคิดว่า เครื่องบินทะเล ของทร. นี้ หากสามารถพัฒนาเป็น เครื่องบินลาดตระเวนประจำเรือ เช่นเรือหลวงจักรีนฤเบศได้คงจะดีไม่น้อยครับ เรือจักรีฯ มีเครนยกอยู่แล้วด้วย หรือใช้เป็นเครื่องบินลาดตระเวน ประจำเรือชุด อ่างทอง เปิด Ramp ท้าย แล้วแล่นออกจากท้ายเรือหลวงอ่างทองเลย น่าจะดีครับ
น่าสนใจนะครับ คิดว่าทร.มีศักยภาพจะสร้างเครื่องบินทะเลที่มีขนาดเท่าซีสตาร์มั้ยครับ บ.อีกแบบหนึ่งที่น่าจะสร้างเองก็ พวก IAI Arava ใช้งานร่วม 3 เหล่าทัพ
เครดิต http://www.thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=11&t=3112
โดยคุณ monsoon
พ.ศ.๒๕๓๖ สำนักงานวิจัยและพัฒนาอากาศยาน ออกแบบสร้างเครื่องบินเรี่ยพื้น หรือ ยานเผินน้ำ และมีการทดสอบที่บริเวณอ่าวมะนาว จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นับว่าเป็นแนวความคิดในการพัฒนายานที่ใช้ในการลาดตระเวนชายฝั่ง แต่เนื่องจากการออกแบบสร้างเครื่องบินประเภทนี้ มีไม่กี่ชาติในโลกที่พัฒนาขึ้น อาทิ ประเทศรัสเซีย การศึกษาจึงเป็นไปด้วยความยากลำบาก
การทดสอบ ณ อ่าวมะนาว พบว่า เมื่อเร่งเครื่องยนต์ เพื่อจะบินขึ้นจากผิวน้ำทะเล แรงกดที่หัวเครื่องจะทำให้เหมือนเรือดำน้ำ สาเหตุมาจาก อาการก่อนยกตัวจะกดหัวลง คล้ายกับอาการของเครื่องบินปกติที่ก่อนจะวิ่งขึ้นจากทางวิ่ง เครื่องบินก็จะกดหัวลงเบื้องล่างก่อนเล็กน้อย จึงจะทะยานขึ้นเกาะอากาศ เมื่อความเร็วเพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อเครื่องบินเรี่ยพื้นจะยกตัว น้ำจึงไหลเข้าทางด้านหน้าเข้าห้องนักบิน การพัฒนาแก้ไขแบบกระทำอยู่หลายครั้ง จนกระทั่งโครงการยุติลง
ติดปืน.50ที่จมูกเครื่องด้วยก็ดี เผื่อไว้ก่อน
ติดปืนด้วยก็ดี
ไม่อยากให้กระทู้นี้เงียบครับ หลังจากซุ่มอ่านมานาน เลยเอางานที่ทหารเรือโชว์มาฝากคับ
ต่อครับ
เรื่องแรกไม่ควรนำเครื่องบินทะเลไปเปรียบเทียบกับยาน WIG(เช่นของอิหร่าน หรือรัสเซีย หรือที่ ทอ.เคยวิจัย ทร.ก็สนใจทำวิจัยกับ บริษัทในสิงคโปร์ไปแล้วเหมือนกัน) เพราะเป็นคนละเรื่องกัน
ถ้าพูดถึงบทบาททางทหาร WIG น่าจะใช้งานเหมือนเรือมากกว่า เพียงแต่เร็วกว่า ผมว่าใช้ประโยชน์ในการตรวจการณ์ไม่ได้ เพราะบินแค่เรียพื้นน้ำ ใช้อาวุธในการต่อตีเรือผิวน้ำได้ดีเท่านั้น กับลำเลียงบุคคลหรือของที่ไม่มีน้ำหนักมากจากจุดถึงจุดได้รวดเร็ว ปลอดภัยจากสนามทุ่นระเบิด
ผมเห็นว่าในอนาคตทีมวิจัยที่ทำ บ.ทะเลของ ทร.(ใครไม่รู้ตั้งชื่อเล่นว่า เป็ดน้อย)น่าจะทำ บ.ขนาดใหญ่ขึ้นได้ อาจจะยังไม่ใหญ่ถึง Sea Star แต่ก็ใหญ่กว่าเดิม เพราะทางทีมวิจัยมีเป้าหมายจะสร้างให้บรรทุกได้ 4 คนอยู่แล้ว น่าจะอยู่ที่คนออกแบบน่าจะเลียน(ล ลิง)จากSea Starได้ (ลำตัวกว้าง มีsupport ยื่นออกไปค้ำปีกขนาดใหญ่ที่ยกสูง
ผมเห็นการวิจัยของ ทร.มาตั้งแต่เริ่มแรก มีความเป็นห่วงอยู่เรื่องหนึ่งคือ การที่มีปีก2 ชั้น เพราะปีกล่างอยู่ใกล้น้ำมาก การลงหรือขึ้นในน้ำนั้น ถ้าอยู่ในทะเลสาบน้ำนิ่งไม่น่าเป็นปัญหาครับ แต่ในทะเลไม่ง่าย ยิ่งถ้ามีคลื่นสูงหน่อยลำบากมากครับ เพราะถ้าเครื่องโคลงไปด้านใหน ปีกอาจถูกน้ำกระแทกจนเสียการทรงตัวได้ ผมเคยเห็นเครื่อง CL-215 มีปัญหาในการขึ้นลงในทะเลมาแล้ว แล้วเครื่องลำจิ๋วนี่จะเป็นอย่างไร อย่างไรก็ตามผมเข้าใจว่าเนื่องจากต้องการแรงยกสูงที่ความเร็วต่ำจึงต้องคงปีก 2 ชั้นไว้ และก็รู้สึกยินดีที่สังเกตุเห็นว่า บ.ลำหลังๆ (สร้างแล้ว 4 ลำ )เข้าใจว่า NEX-3 ปีกล่างหดสั้นลงมาบ้างแล้ว (ไม่ได้ยาวเท่ากับบ.เครื่องแรก)นับเป็นพัฒนาการครับ อีกหน่อย เราคงได้เห็นปีกชั้นเดียวสูงที่มีขนาดกว้าง แทนที่จะมีสองชั้น
ผมขอชื่นชมทีมงานอย่างจริงใจที่มีความมุมานะทำต้นแบบจนสำเร็จ และสามารถที่จะหาทุนวิจัยต่อ จนสามารถทำลำที่2-3-4 ได้ ไม่เหมือนโครงการวิจัยอีกหลายสิบโครงการที่ทำต้นแบบชิ้นเดียวแล้วก็เก็บเข้าพิพิธภัณฑ์ และถ้ามีผู้สนับสนุนต่อ มีบ.เอกชนที่สนใจ ทำขายได้แน่นอนในประเทศ แต่ต้องนั่งได้อย่างต่ำ 4 คน มิฉะนั้นจะมีคุณค่าน้อยลงเพราะลำเลียงคนเจ็บจากเกาะสักคนเดียวก็ยังไม่ได้)
">เอา รถบินได้ มาฝาก
สกว.หนุนกองทัพเรือพัฒนา “เครื่องบินทะเล”
สกว.-สกว.หนุนกองทัพเรือพัฒนา "เครื่องบินทะเล" พร้อมเล็งของบเพิ่ม 24 ล้านเพื่อขยายผลเชิงพาณิชย์
พลเรือโทสมหมาย ปราการสมุทร ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษกองทัพเรือ ในฐานะหัวหน้าโครงการสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเลขนาด 2 ที่นั่งด้วยวัสดุคอมโพสิต (วัสดุผสม) กล่าวถึงความสำเร็จในการพัฒนาเป็นอากาศยานสะเทินน้ำสะเทินบกที่มีขีดความสามารถพิเศษในการปฏิบัติการบนพื้นน้ำ เพื่อลดปัญหาด้านความต้องการยุทโธปกณ์ต่อการปฏิบัติงานตามภารกิจกองทัพที่ยังขาดแคลนงบประมาณ
ทั้งนี้ "เครื่องบินทะเล" ถูกนำมาใช้งานราชการทหารและด้านความมั่นคงในหลายด้าน อาทิ การบินตรวจการณ์ชายฝั่ง การบินลาดตระเวนหาข่าว และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล เป็นต้น รวมถึงนำไปใช้กับองค์กรหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้อีกมากมาย อีกทั้งอุตสาหกรรมการบินขนาดเล็กกำลังเป็นที่นิยมมากขึ้นตามลำดับ สกว.จึงให้การสนับสนุนการพัฒนาเครื่องบินดังกล่าว โดยพิจารณาถึงความเป็นไปได้และคุ้มค่า เพื่อกำหนดทิศทางวิจัยเครื่องบินและเป็นจุดเริ่มต้นของการพึ่งพาตนเองในประเทศ
หลังจากสร้างต้นแบบเครื่องบินทะเลตามหลักวิศวรรมอากาศยาน ด้วยลักษณะของโครงสร้างอากาศยานเป็นวัสดุคอมโพสิต และสามารถนำไปปฏิบัติการบินได้ด้วยความปลอดภัยพร้อมกับมีคู่มือประกอบการใช้งาน คณะวิจัยได้ทำการทดสอบคุณสมบัติในรายละเอียดของชิ้นส่วนต่างๆ และโครงสร้างอากาศยาน รวมถึงทดสอบประสิทธิภาพการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานเพื่อการจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงการจัดทำเอกสารรับรองด้านความปลอดภัยการใช้งานของเครื่องบิน และพร้อมที่จะถ่ายทอดในขั้นของการขยายผลสู่การบริโภคและการสร้างอุตสาหกรรมการบิน
สกว.ระบุว่า โครงการนี้ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 5 เท่าในการปฏิบัติการเดียวกัน เมื่อเทียบกับอากาศยานที่ใช้ในกองทัพเรือ โดยมีต้นทุนการบินต่อชั่วโมงของเครื่องบินทะเลประมาณ 3,000 บาทต่อชั่วโมง ขณะที่ต้นทุนการบินของอากาศยานอื่นอยู่ที่ประมาณ 15,000 บาท สามารถทำการขึ้นลงได้ทั้งบนบกและในน้ำ ปฏิบัติการบินได้ในพื้นที่ที่ไม่มีสนามบินรองรับและอยู่ในอากาศนานกว่า 2.5 ชั่วโมง มีรัศมีปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 100 ไมล์ทะเล สามารถจอดในพื้นที่ที่มีน้ำไม่ต่ำกว่า 38 เซนติเมตร คลื่นสูง 2-3 ฟุต
สำหรับต้นทุนเครื่องบินในการวิจัยครั้งนี้อยู่ที่ 5.9 ล้านบาท แต่ทีมวิจัยระบุว่า หากผลิตในเชิงพาณิชย์จะลดต้นทุนการผลิตลงได้อีก จึงขอรับการสนับสนุนการวิจัยต่อเพื่อขยายผลโครงการในเชิงพาณิชย์ ซึ่งคาดว่าจะใช้ทุนวิจัยรวมทั้งสิ้นประมาณ 24 ล้านบาท ในการผลิตเครื่องบินทะเลจำนวน 2 ลำที่มีสมรรถนะสูง สามารถบินได้ในทุกสภาวะอากาศแม้มีฝนฟ้าคะนองรุนแรง เวลากลางคืน และการเดินทางไกล
งานวิจัยดังกล่าวเกิดจากความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือและชุดโครงการอุตสาหกรรมเพื่อความมั่นคงของประเทศ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) บริษัท มาทคอม ไฟเบอร์ จำกัด
ที่มา : http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9550000119922
ขอให้ประสบความสำเร็จด้วยดีครับ...
เพราะผมเห็นว่า เป็นผลดีต่อตลาดการบิน ที่มีโอกาสเป็นได้ง่ายมาก...ดูแล้ว เอกชน ก็จะซื้อใช้เป็นส่วนตัว เช่น กลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ที่มีบ้านตาม หมู่เกาะต่าง ๆ...รวมถึงในกลุ่มประเทศ อาเซียน...โดย เฉพาะ ฟิลิปปินส์ และ อินโดนีเซีย ที่ลักษณะประเทศเป็นหมู่เกาะ...น่าจะเป็น ตลาดกลุ่มเป้าหมายได้...
NAX-2 ออกรายการ คนท้ายซอย 4 ตค. 55 เป็นเครื่องบินทะเล ฝีมือทหารเรือไทยลำที่ 3 ซึ่งก่อนหน้านี้เราเห็นไปแล้ว 2 ลำคือ NAX-1,NAX-3
ดูรายการย้อนหลังตามลิ้งค์ คับ
http://77.nationchannel.com/video/301829/
ดูรายการ คนท้ายซอยย้อนหลัง อีก 1 ช่องทางครับ
ช่วงที่ 1
http://www.rawangpai.com/home/program/end-of-alley/20121004/6405/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2-4-%E0%B8%95%E0%B8%84-55-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%871/
ช่วงที่ 2
http://www.rawangpai.com/home/program/end-of-alley/20121004/6406/%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%A2-4-%E0%B8%95%E0%B8%84-55-%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%872/
ขอบคุณ:https://www.facebook.com/naxproject