หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


จรวด DF-21D

โดยคุณ : สายลับ007 เมื่อวันที่ : 24/09/2012 19:23:09

คือช่วงที่ผ่านมาผมเข้าอ่านทางการทหารในกระทู้พันทิพ มีทั้งโปรจีน และโปรUSA ขับเขี้ยวกันแบบเมามัน ผมอ่านมาสะดุดกับ จรวด DF-21D ซึ่งมีความแม่นยำเหมือนจับวาง แม้ยิงเป้าหมายอยู่ห่างกว่า 3000 กม. แม้แต่เรือที่เป็นเป้าหมายตอนแล่นอยู่ก็ยังไม่รอด ก็เลยต้องมาฝากให้ห้องนี้ช่วยวิเคราห์ให้หน่อยว่าจรวดมันสุดยอดขนาดนั้นเลยหรือ

 http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X12688097/X12688097.html#115

http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic/X12673385/X12673385.htmlD





ความคิดเห็นที่ 1


คุณลักษณะโดยทั่วไปของ DF-21D นั้น มีพื้นฐานมาจาก DF-21  ที่เป็น ICBM (ซึ่งไม่ใช่ ขีปนาวุธต่อต้านเรือแบบแรก รัสเซียเคยพัฒนามาก่อน แต่ต้องล้มเลิกเนื่องจากอเมริกาพัฒนาเอจีสสำเร็จ) จากการทดสอบกับเป้าที่ห่างไป  1200km สามารถชนเป้าได้อย่างแม่นยำ แต่เป็นเป้านิ่ง สำหรับเป้าเคลื่อนที่ในระดับความเร็วของกองเรือ บรรทุก บ. ยังไม่มีการทดลอง จึงสามารถทำได้เพียงคาดคะเนเท่านั้น ถ้าติดตามได้อ่านกระทู้ทั้งหมด จะเห็นว่าทั้งโปรจีน โปรเมกาต่างก็หาเหตุผลมาอ้าง

 

โดยส่วนตัวเชื่อว่า DF-21D สามารถโจมตีกองเรือบรรทุก บ.ได้ ถ้ามีข้อมูลป้อนให้กับหัวรบเพียงพอ แต่กองเรืออเมริกาก็สามารถจัดการหัวรบของ DF-21D ได้เช่นกัน

โดยใช้  SM-3

 

ในส่วนของความได้เปรียบ - เสียเปรียบ

ถึงแม้ระบบ DF-21D จะเป็นระบบเคลื่อนที่ อัตราจร แต่ในการเตรียมยิงก็ต้องเสียเวลาและใช้พื้นที่ ค่อนข้างเยอะในการเตรียมยิงเหมือนๆกับ ICBM ทั่วๆไป ซึ่งเป็นการเปิดเผยตำแหน่ง (ในสงครามจริงๆ เมกาเค้าเฝ้าจับตาตั้งแต่อยู่ในฐานแล้ว คงไม่ทันได้ออก) ดังนั้นวิธีแก้ DF-21 จึงต้องเน้นจำนวนฐานยิงให้มากกว่าระบบทำลายของเมกา ซึ่งน่าจะใช้โทมาฮอกค์กับ บ.ในการโจมตี ส่วนการสกัด DF-21 นั้นก็เหมือนการสกัด ICBM ทุกประการ ถ้าถามโอกาสในการสกัดกั้น % คงไม่หนี ICBM เท่าไหร่ 70-80%

แต่สิ่งที่ควรถามมากที่สุด จีนคิดจะใช้จริงๆหรือ ถ้าเมกาขู่ใช้ ICBM มั่ง คงจะโดนทั้งโลกประนาม

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 24/09/2012 12:21:52


ความคิดเห็นที่ 2


ICBM มันสกัดกั้นไม่ได้ไม่ใช่หรอครับ หรือผมจำผิด ยังไงขอความรู้จากผู้รู้ด้วยครับ ไม่แน่ใจเท่าไหร่ 

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 24/09/2012 13:47:20


ความคิดเห็นที่ 3


ทำไมจะไม่ได้ล่ะ เพียงแต่มันไม่ 100% แค่นั้นเอง

 

http://en.wikipedia.org/wiki/Missile_defense_systems_of_various_nations

http://en.wikipedia.org/wiki/Missile_defense

http://www.airforce-magazine.com/MagazineArchive/Pages/1956/June%201956/0656icbm.aspx

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 24/09/2012 13:55:12


ความคิดเห็นที่ 4


DF21D ก็เหมือนICBMอื่นๆน่ะครับ เพียงแค่มันโจมตีเป้าหมายไม่ว่าการโจมตีกองเรือจะใช้วิธีอะไรก็ตาม แต่จุดที่เหมือนกันคือวิถีโคจร ซึ่งส่วนใหญ่ระบบป้องกันจะเล็งทำลายICBMตอนมันโคจรในห้วงอวกาศเนี้ยล่ะครับ เพราะถือเป็นเป้าเด่น อีกทั้งการนำทางหรือกำหนดพิกัดยังไงก็ไม่พ้นเรือดำน้ำ เครื่องบิน ดาวเทียม ซึ่งหากเปิดสงครามเต็มรูปแบบคงสอยดาวเทียมกันก่อนเพื่อปิดตา อีกทั้งเรือที่ติดSM3 จำนวน1ลำแยกกันไปประจำการในโอกินาว่า ทะเลญี่ปุ่น คาบสมุทรเกาหลี เกาะกวม ผสมเรดาห์ตรวจับขีปนาวุธข้ามทวีปที่มีในญี่ปุ่น เกาหลีใต้ แค่นี้ก็มีฐานยิงป้องกันก่อนจรวดจะโคจรไปถึงกองเรือซะอีก

แต่ไม่ใช่จะมีข้อเสีย ข้อดีจีนสามารถวางDF21Dตลอดแนวชายฝั่งจกี่ร้อยระบบก็ได้ พร้อมระบบแซมและปตอ.ทุกพิสัยยิงเพื่อป้องกันจรวดครูซ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 24/09/2012 14:07:43


ความคิดเห็นที่ 5


อ้อ ครับผม ขอบคุณท่าน MIG31 สำหรับข้อมูลครับ

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 24/09/2012 14:13:11


ความคิดเห็นที่ 6


เห็นโปรจีนเข้าว่า ช่วงที่มันโคจรในห้วงอวกาศ มันขึ้นไปสูงจน SM-3 ยิงไม่ถึงนะครับ จริงรึเปล่า

โดยคุณ randolph69 เมื่อวันที่ 24/09/2012 16:09:14


ความคิดเห็นที่ 7


 

 

 

อันนี้ฝันของผม อยากให้โครงการDTIสำเร็จ เผื่อจะได้มี T-VLS ฮ่าๆยิงได้ซัก 300-400 กม. ก็พอ

ภาพที่เห็นเป็น Babur Land Attack Cruise Missile ของปากีสถาน

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 24/09/2012 17:09:14


ความคิดเห็นที่ 8


ทำไม DF-21D มันรูปทรงเหมือนอะไรสักอย่าง 55+ แล้วพี่แกก้ฝัง....อิอิ

ล้อเล่น^^

ตัวผมก็หวังว่าเราจะทำพวกลูกยาวยิงได้สัก300-500 กม.ได้บ้างครับ แต่หวังว่าถ้าทำได้แล้วจะมีใครมากดดันไม่ให้เรานำเข้าประจำการอีกนะ อึ่ม

นึกถึงตอนทีึ่เราจะซื้อ ขีปนาวุธป็อปอาย จากอิสลาเอลมันแค้นไม่หายเลย........

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 24/09/2012 19:14:31


ความคิดเห็นที่ 9


เพดานบินโคจรจะเอาขนาดไหนล่ะครับ อเมริกาพัฒนาขีปนาวุธข้ามทวีปมินิทแมตในช่วงท้ายสงครามเย็น เพดานบินก็สูงถึงขนาด1120ก.ม. แน่นอนว่าสูงขนาดนี้RIM-161C SM-3 block IB ที่เป็นอาวุธหลักเอจีสในตอนนี้ที่ยิงเป้าหมายสูง160ก.ม. ยังสอยไม่ได้เลยครับ หรือS-400 ใช้ลูกจรวดตัวเทพยิงเป้าหมายสูง180ก.ม. ก็ยังไม่ถึงเช่นกัน..กรณีนี้คือยิงแข่งหาความสูง

แต่.....หัวรบยังไง ก็ต้องโคจรกลับเข้ามาสู่ผิวโลก ในระดับความสูงราวๆ200ก.ม.เหนือพื้นโลกเนี้ยแลที่หัวรบICBMกับABM(anti- ballistic missile) จะมาปะทะกัน 

ประเด็นคือหัวรบICBMจะแตกตัวทันหรือ เป้าหมายอย่างกองเรือก็เคลื่อนที่ตลอดต้องคอยอัพเดทข้อมูล รัสเซียทำมาก่อนยังต้อง

ใช้ เรือดำน้ำ+ดาวเทียม+อากาศยานระยะไกลอยู่เลย แต่การที่จีนจะยิงICBM มาแตกตัวเหนือเป้าหมายในระดับความสูง200ก.ม.+ ขึ้นไป โดยไม่มีการนำทางขั้นสุดท้าย  มันจะดูเทพไปมั้ยย

อีกอย่างการที่หลายชาติพัฒนาให้ABMยิงในระดับความสูง160-180ก.ม. โดยเฉพาะมหาอำนาจICBMอย่างรัสเซียและสหรัฐ ที่แข่งทั้งการยิงและป้องกันมาก่อนใคร ยังไม่พัฒนาจรวดที่ยิงเป้าสูงเกินกว่านั้น อาจจะมีหลายปัจจัยเช่นการนำวิถี ระบบขับเคลื่อน และตัวหัวรบICBM ที่ต้องโคจรเข้ามาในเพดานความสูง200ก.ม. หัวรบถึงจะทำงานได้ดีในการแตกตัวเพื่อกระจายสู่พื้นที่เป้าหมาย

แต่กรณีICBMของสหรัฐและรัสเซีย ต่างก็เล็งหัวรบไปเมืองหลัก เป็นการป้องกันโดยไม่ต้องใช้ABM เลยล่ะครับ ถ้าแกยิงข้าก็ยิง

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 24/09/2012 19:23:09