หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ถ้าไทยสั่งต่อรือประจัญบานขนาดเล็กขึ้นมาใช้ล่ะครับ จะเป็นยังไง

โดยคุณ : F-8_crusader เมื่อวันที่ : 28/09/2012 17:44:21

ถ้าไทยสั่งต่อรือประจัญบานขนาดเล็กขึ้นมาใช้ล่ะครับ จะเป็นยังไง

เเบบว่าขนาดใหญ่พอๆกับเรือฟริเกตที่ไทยใช้อยู่ มีปืนใหญ่5นิ้ว3ป้อม ป้อมละ2กระบอก มีเครื่องปล่อยจรวดc-802จำนวน2เครื่อง มีปืนใหญ่ต่อต้านอากาศยานเเละจรวด  มีปืนกล.50รอบเรือ4กระบอก

จะดีไหมครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ยุคนี้ไม่น่าจะมีคำว่าเรือประจัญบาน (Battleship) ในการเรียกชั้นเรือรบในยุคปัจจุบันเเล้วนะครับ  

จากสเป็กที่ให้มา  น่าจะจัดเทียบชั้นเป็นเรือลาดตระเวนติดขีปนาวุธ (Missile Cruiser) เเบบเรือชั้นโซเรเมนนีของกองทัพรัสเซียน่าจะใกล้เคียง มีป้อมปืนใหญ่เเท่นคู่เหมือนกัน

โดยคุณ tiger2 เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:29:28


ความคิดเห็นที่ 2


ดีครับเป็นตัวของตัวเองดีไม่เหมือนใคร

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:29:48


ความคิดเห็นที่ 3


ขนาดอาวุธที่ท่านบอกมาวางบนเรือที่มีขนาดเท่าเรือฟรีเกตคงเอาไม่อยู่ สเปคที่ท่านบอกไว้มันโบร๊านโบราณไปไหมต่อเรือทั้งทีเอามันที่ทันสมัยจะดีกว่ามั้ง

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:34:37


ความคิดเห็นที่ 4


งั้นถ้าขยายตัวเรือให้ใหญ่ขึ้นล่ะครับ ก็น่าจะพอๆกลับเรือฮู้ดนะครับ เจ๋งดี ผมอยากเห็นรูปเรือรัสเซียที่คุณAkulaพูดอ่ะครับ เเต่ว่าไอ้รูปข้างบนนั่นมันไม่ตรงกับสเปคที่ตั้งไว้เลยนะครับ เก่าซะขนาดนั้นคงไม่ไหว

โดยคุณ F-8_crusader เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:44:10


ความคิดเห็นที่ 5


ขอโทษครับคืออยากเห็นรูปของเรือรัสเซียที่คุณ tiger2 พูดถึงอ่ะครับ

โดยคุณ F-8_crusader เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:46:17


ความคิดเห็นที่ 6


เรือประจัญบานถึงจะเก่าเเต่ไม่กระจอกนะครับ ภารกิจของเรือมิสซูรี่ในสงครามอ่าวตอนปี91ก็เห็นกันเเล้วนี่ครับว่า ถึงจะล้าสมัยเเต่ไม่กระจอก

โดยคุณ F-8_crusader เมื่อวันที่ 21/09/2012 22:48:54


ความคิดเห็นที่ 7


เล็กแบบที่ท่านว่าคงเป็นเรือประจัญบานไม่ได้หรอกครับ เรือประจัญบานมันต้องใหญ่ซึ่งมันเกินความจำเป็น ส่วนเรือโซเวรเมนนีนั่นมันเรือพิฆาต เรือรบปัจจุบันไม่ค่อยติดปืนเยอะนัก 120มม.กระบอกเดียวก็พอแต่ถ้าจะเอาแบบบ้าพลังแบบของรัสเซียมันก็ไม่ไหวใหญ่เกินความจำเป็นครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/09/2012 23:33:38


ความคิดเห็นที่ 8


ของไทยตอนนี้เรามองไปที่เรือฟริเกตสมรรถนะสูงอย่างเดียว ถ้าจะไปเอาเรือพิฆาตผมว่าแพงมากสำหรับทร.ในอาเซียนก็ไม่มีใครมีเรือพิฆาตซักลำแค่เพียงเรือฟริเกตก็พอเพียงแล้ว อีกอย่างเรือประจัญบานคงไม่มีใครต่ออีกแล้วล่ะครับ

 

Udaloy class destroyer

File:USS Gridley (DDG-101) 2008.jpg

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/09/2012 23:41:03


ความคิดเห็นที่ 9


ภัยคุกคามทางเรือในปัจจุบันส่วนมากก็เป็นเรือดำน้ำกับอากาศยานเป็นส่วนมากครับ ที่น่ากลัวจริงๆก็คือเรือดำน้ำ ที่สามารถทำลายเรือที่มีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 22/09/2012 00:22:23


ความคิดเห็นที่ 10


 

ช่ายๆๆๆ   เรือดำน้ำ เป็นภัยคุกคามต่อเรือผิวน้ำมากที่สุด

อย่าง เรือรบเกาหลีใต้ เพิ่งโดนเรือดำน้ำของเกาหลีเหนือ

ยิงจมมาเมื่อไม่นานมานี้เอง

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 22/09/2012 05:33:46


ความคิดเห็นที่ 11


ขอซื้อ สหรัฐ มา แล้วเอามา Mod ดีป่าว...อิ อิ อิ

 




โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/09/2012 07:12:30


ความคิดเห็นที่ 12


เอาเรือฟริเกต 2 ลำให้รอดก่อนเถอะ....เฮ้อ....

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 22/09/2012 07:57:22


ความคิดเห็นที่ 13


ป้าจู เล่นผมตกใจแต่เช้าเลย  เห็นภาพแรกไม่เท่าไร ภาพ 2 เฮ้ย  แต่ผมว่าน่าสนใจในเรื่อง Mod ginvgikot

โดยคุณ jeab2511 เมื่อวันที่ 22/09/2012 09:04:32


ความคิดเห็นที่ 14


55+ ท่าน จูลดัส อารมณ์ดีนะครับเล่นเอาเรือมิสซูรี่(ไม่แน่ใจใช่ไหมเพราะมันมีหลายลำ)มาโมซะเทพเลย

....

 

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 22/09/2012 09:07:07


ความคิดเห็นที่ 15


เป็น โมเดล ของ ตปท. เขานะครับ...ไปดูด เขามา...เขาเอา มิสซูรี่ มา โมดิฟายด์ ใหม่ ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/09/2012 09:16:29


ความคิดเห็นที่ 16


อ่านแล้วฮา

ส่วนความเห็นของผม ถ้าเรือเล็กก็คงไม่ใช่ battelship แล้วมั้งครับ  เรือใหญ่ขนาดนั้นดูแลไม่ไหวมั้งครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/09/2012 09:26:59


ความคิดเห็นที่ 17


เอา 099 มาชนกับป๋าจูหน่อน

Kirov Class Battlecruisers

โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 22/09/2012 10:07:06


ความคิดเห็นที่ 18


ที่มีอยู่ปัจจุบันงบฯซ่อมบำรุงก็ต้องข้ามปีอยู่แล้ว เรือฟริเกตที่รบได้ 3 มิติ ฝั่งอันดามัน กับอ่าวไทย ฝั่งละลำ โดนฝูงบินถล่มรอดยาก แถมเผลอๆพม่าซื้อเรือดำน้ำก่อนไทยอีก 

โดยคุณ yam เมื่อวันที่ 22/09/2012 14:21:29


ความคิดเห็นที่ 19


สนใจรุ่นนี้ไหมครับเรือเร็วโจมตี5555

เมดอินโซมาเลีย

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 22/09/2012 19:03:57


ความคิดเห็นที่ 20


รอเอ เลี่ยนบุกโลกก่อน ค่อยสร้าง ฮาๆๆๆ จริงๆผมเห็นต่างจากท่านอื่นๆนะครับ(ที่คาดว่าเรือรบใหญ่ๆมีปืนเรือเยอะๆแบบ เรือประจัญบาน จะหมดไปจากระบบอาวุธตลอดกาล และเรือดำน้ำจะขึ้นแท่นเทพสงครามทางเรือแทน) ผมว่าเรือแบบเรือประจัญบาน อีกไม่นานก็จะกลับมาแล้วครับ และเรือดำน้ำจะเริ่มด้อยคุณค่าลงไป มาดูความเป็นไปได้ของการกลับมาอีกครั้งของเรือประจัญบานก่อน ด้วยเทคโนโลยี กระสุนปืนนำวิถีระยะไกล LRLAP ระยะยิงสูงสุดได้ประมาณ 200 กิโลเมตรหละมั่ง  และ เทคโน ปืนแม่เหล็กไฟฟ้า โดนหวังว่า จะทำความเร็วต้นที่ปลายกระบอกได้สูงกว่าการใช้ดินส่งหลายเท่าตัว(จริงๆมัน ไม่ได้วิเศษแบบนั้นในหนังหลอกเด๋วผมโดนว่าๆดูหนังมากไปอีก แต่จุดเด่นจริงของ 2 อันนี้ คือ ความประหยัด และราคาถูก) ส่วนที่ว่าเรือดำน้ำจะเริ่มด้อยคุณค่าลงไปก็เพราะเทคโนโลยีระบบป้องกันภัย ใต้น้ำ ที่เริ่มพัฒนาอย่างไม่ลับๆ เช่น ตอร์ต่อต้านตอร์(อันนี้มีมานานหละ) เป้าลวง(มีมานานมาก) ปืนคลื่นน้ำ ปืนใต้น้ำ(ประมาณ CIWS ที่ใช้ในการยิงตอร์นั้นแหละ แต่ตอร์มันช้ามากยิงยังไงก็โดนหละนะ ถ้าเทคโนโลยีตัวกระสุนมันสำเร็จอะ) ก็ประมาณนี้หละนะ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 22/09/2012 23:08:57


ความคิดเห็นที่ 21


ว่าจะตอบเชียว ว่า ถ้าจะติดปืนเยอะ ๆ ขอ แบบ Rail Gun แทน ได้ไหม  ^^

 

โดยคุณ u3616234 เมื่อวันที่ 23/09/2012 10:29:59


ความคิดเห็นที่ 22


แค่คำว่าเรือประจัญบานขนาดเล็กก็คงเป็นไปไม่ได้แล้วล่ะครับ เพราะเรือชั้นนี้ต้องใหญ่ถึงจะเรียกว่าเรือประจัญบาน ยิ่งกว่าเรือพิฆาต

และมีสนธิสัญา(อะไรสักอย่าง)ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ห้ามต่อเรือประัจัญบานแล้วครับ ปัจจุบันเลยไม่มีใครต่อครับ

โดยคุณ m_fighter เมื่อวันที่ 23/09/2012 17:06:59


ความคิดเห็นที่ 23


มันใช้ในสงครามบุคนี้ไม่ได้แล้วน่ะสิ ยุคนี้ ยิงจรวดกันตั้งแต่ไม่เห็นตัว ไอครั้นจะเอาเรือไปจ่อ ยิงปืนใหญ่ใส่กันเหมือในสงครามโลกคงไม่มีแล้ว

 

มีคำถามอีกคำถามนึงครับ ขี้เกียจตั้งกระทู้ใหม่ จะเป็นการรบกวนมากไป ไม่เกี่ยวกับ เรื่องในบอร์ดนี้เลยคือ  พระชุดเบญจบาคี ของปลอม เอาแบบไม่ต้องเนียนก็ได้ถูกๆ เท่าไรครับ คืออยากใส่ไว้ดูโก้ๆน่ะครับ   5555+

โดยคุณ mongkon789 เมื่อวันที่ 23/09/2012 18:52:09


ความคิดเห็นที่ 24


หลังจากมีมิสไซล์ อาวุธปืนเรือหน้าที่หลักก็กลายเป็นยิงระดมฝั่ง ยิงสนับสนุน ไม่ใช่ยิงต่อต้านเรือเหมือนก่อนแล้ว ส่วนเรลกันที่ยิงใกลๆนั้น อีกนานกว่าจะได้เกิดครับ ภายในยี่สิบปีนี้ยังคงไม่ได้ประจำบนเรือจริงๆ อย่างมากก็เป็นต้นแบบ

 

แต่ถึงเรือจะมีปืนเรลกันก็ทำอะไรเรือดำน้ำไม่ได้ดีกว่าเดิมครับ 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 23/09/2012 23:30:00


ความคิดเห็นที่ 25


ต้องปรับปรุงเรือ ให้ตรวจจับเรือดำน้ำโดยไม่ใช้เรดาร์ ตรวจสอบการกระเพี่ยมของน้ำโดยใช้ทุ่นใต้น้ำ ปรับปรุงให้ทุ่นมันเคลื่อนที่ตามที่เราบังคับได้ ให้มันคอยระวังภัยให้เรือให้กว้าง เเล้วพอเรือเคลื่อนที่ก็ให้มันเคลื่อนที่ตามเรือ

โดยคุณ F-8_crusader เมื่อวันที่ 24/09/2012 05:35:07


ความคิดเห็นที่ 26


ปกติเรือก็ไม่ได้ค้นหาเรือดำนำ้ด้วยเรดาร์อยู่แล้วครับ แต่ใช้โซนาร์ตรวจจับคลื่นความสั่น มีทั้งแบบพาสซีฟกับแอ็คทีฟ แบบพาสซีฟก็ทำงานคล้ายกับทุ่นที่คุณ f8 หมายถึง แต่ความกระเพื่อมของน้ำหยาบกว่าคลื่นเสียงเยอะมากๆๆๆๆๆครับ ลองไปค้นข้อมูลดูนะครับ 

 

ถึงอย่างไรก็ตาม ถ้าเรือดำน้ำจอดกบดานนิ่งๆก็ไม่ต้องหากันพอดี 

 

แนวทางที่มีการคิดกันสำหรับอเมริกก็คือให้มีเรือดำน้ำขนาดมินิ หลายๆลำ ทำหน้าที่เหมือนโดรนตรวจการณ์เปิดโซนาร์แอ็คทีฟติดอาวุธล่วงงหน่าเรือแม่ไปรุมกินโต๊ะพลีชีพ (กรณีตรวจพบเรือดำนำ้ข้าศึก)เพื่อให้เรือแม่รอดจากเรือดำน้ำ

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 24/09/2012 08:37:33


ความคิดเห็นที่ 27


ผมขอขยายความเรื่อง เรือประจัญบานในอนาคต ต่อสักนิดนะครับ ขอว่าในด้านการโจมตีเรือผิวน้ำนะครับ(ส่วนโจมตีภาคพื้นดินคิดว่าคงไม่ต้อง อธิบาย) หลักนิยมในการสร้างเรือ(ระดับลาดตระเวนขึ้นไป) มันจะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยอะครับ สมัยสงครามโลก ก็จะเน้น เรือใหญ่ ปืนใหญ่ๆ(แต่มันยิงได้ไม่ไกลและไม่แม่นยำเท่าไร) เกราะหนาๆ(เกราะหนาเป็นระบบป้องกันเรือนั้นเอง)  สมัยปัจจุบัน ก็จะเน้นไปที่ เรือเล็ก(ไม่เกินหมื่นตัน) ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี(รวดเร็ว รุนแรง แม่นยำ) ไม่มีเกราะแต่มีระบบป้องกันตัวต่างๆทดแทน(ตัวเรือบางเท่าเรือโดยสารอะ) ก็ต้องบอกว่าเรือสมัยสงครามโลกคงสู้เรือปัจจุบันไม่ได้อยู่แล้วก็ตรงที่ ระบบอาวุธ และ ระบบป้องกันตัว ทำให้มีแนวคิดที่ว่าในอนาคตน่าจะสร้างเรือที่มีข้อดีของทั้ง 2 สมัยนี้ คือ เรือประจัญบานสมัยใหม่(โดยมีหลักคิดที่ ว่า ใช้ปริมาณในการโจมตีเหนือกว่าปริมาณการป้องกัน) โดยมีระบบ "ปืนยิงกระสุนนำวิถีระยะไกล" รูปแบบประมาณ LRLAP(ระยะยิงประมาณ 200 ก.ม. มันไกลกว่าเจ้า Harpoon หรืออาวุธปล่อยค่ายอื่นๆในรุ่นเดียวกันอีกนะ แต่ราคาต่อลูกมันถูกกว่ามากอะครับ เพราะอาวุธปล่อยจะมี ส่วนหัวรบ ส่วนขับเคลื่อนที่มีมูลค่าสูง และส่วนนำวิถีที่ซับซ่อนมีมูลค่าสูง แต่กระสุนนำวิถีระยะไกล มีแค่ ส่วนหัวรบ กับส่วนนำวิถีที่ไม่ซับซ่อนมีมูลค่าน้อยครับถ้าวิจัยสำเร็จอะนะ) เรือประจัญบานสมัยใหม่นี้ สามารถระดมยิงกระสุนปืนนำวิถีระยะไกลใส่เรือรบเป้าหมายได้ในอัตราที่สูงครับ(เพราะมันราคาถูกมากเมื่อเทียบกันอาวุธปล่อยนำวิถี 1 ลูก เท่ากับกระสุน 40 ลูกเลยที่เดียว ถ้าวิจัยได้สำเร็จอะนะ) จนระบบป้องกันเรือข้าศึกตอบโต้ไม่ทันหรือหมดกระสุนไปเอง

 

ยกตัวอย่างจะเห็นภาพกว่า สมมุติ มีเรือชั้นเดียวกับ USS John Paul Jones(90 cell) แล้วกัน อยู่ 2 ลำ ลำที่หนึ่งแบบต้นตำรับเลยครับ(90 cell ให้ติดตั้ง ESSM 360 ลูกเลย มี harpoon 8 ลูก) ลำที่สอง ดัดแปลงติดปืนเรือใช้กระสุนปืนนำวิถีระยะไกล 8 กระบอก(กระสุนนำวิถีระยะไกลขนาดประมาณลูกปืนใหญ่ 155 ได้อะคิดว่าเก็บบนเรือได้หลายพันนัด) ใช้พื้นที่จนเหลือ (40 cell ติด ESSM 40 ลูกพอ ที่เหลือจิปาถะ) ถ้าเข้ามาในระยะยิงของทั้งคู่แล้วยิงใส่กันแบบหมดหน้าตัก จะได้ว่าลำแรกยิง harpoon 8 ลูก มาที่ ลำสอง ที่มี ESSM 40 ลูก โอกาสป้องกันได้มีสูงมากๆ ในขณะเดียวกัน ลำสอง ยิงกระสุนปืนนำวิถีระยะไกลในอัตรา 120 ลูกต่อนาที(จริงๆยิงแค่ครึ่งนาที ระบบเอจิสก็ล็อคเป้าหมายไม่หมดแล้ว แต่ต่อให้แล้วกัน ว่าสามารถล็อคเป้าได้ไม่จำกัดจำนวน) ยิงติดต่อกัน 3 นาที มาที่ ลำหนึ่ง ที่มี ESSM 360 ลูก ถ้าลำหนึ่งจะป้องกันได้ก็ต้องใช้ ESSM ทั้งหมดที่มี แต่ถ้า ลำสองยิงเกิน 3 นาที จะต้องเป็นหน้าที่ของ CIWS 2 กระบอกรับหน้าที่ต่อ คิดว่าไม่มีทางป้องกันได้(กระสุนนำวิถีระยะไกลอาจมีการเพิ่มความเร็วในช่วงสุดท้ายก็ได้ครับ รูปแบบประมาณ LRLAP คล้ายๆอาวุธปล่อยนำวิถีด้วย บวกกับแรงดึงดูดโลกเพราะเป็นการยิงแบบวิถีโค้ง ความเร็วเข้าปะทะอาจสูงมากขนาดไม่จำเป็นต้องมีหัวรบด้วยซ้ำ) ก็เป็นอันจมแน่นอนครับถ้าลำสองยิงเกิน 3 นาที นี้คือความได้เปรียบของ เรือประจัญบานในอนาคตครับ ซึ่งเป็นความคิดต่อยอดมาจาก กระสุนปืนใหญ่นำวิถี ที่หลายๆประเทศใช้กันอยู่ในปัจจุบันกับปืนใหญ่สนามและปืนใหญ่อัตาจร สุดท้ายก็ต้องรอดูกันต่อไปว่าใครจะเป็นคนเริ่มพัฒนา เรือประจัญบานสมัยใหม่ ก่อนกัน(ถ้ากระสุนนำวิถีระยะไกล รวม กับปืนแม่เหล็กไฟฟ้า คิดว่า ระยะยิงน่าจะไกลถึง 500 ก.ม. เลยที่เดียวถ้าวิจัยกันสำเร็จอะนะ)


โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 25/09/2012 09:28:18


ความคิดเห็นที่ 28


Iowa Class Battleship

General Characteristics

Length:

271 metres

Beam:

33 metres

Draught:

11 metres

Displacement:

58000 tonnes full load

Propulsion:

4 screws; geared turbines; 8 Babcock & Wilcox Boilers; G.E. (BB-61;BB-63); West. (BB-62; BB-64; BB-66); 212,000 shp (158,000 kW) 

Complement:

1800 men

Armament:

Cold War/Gulf War:

9 × 16-inch / 50 cal. Mark 7 guns
12 × 5-inch / 38 cal. Mark 12 guns
32 × BGM-109 Tomahawk cruise missiles
16 × RGM-84 Harpoon anti-ship missiles
4 × 20 mm / 76 cal.Phalanx CIWS

Speed:

30.3 kn (56 km/h) 

Armour:

Belt: 12.1 in (310 mm)
Bulkheads: 11.3 in (290 mm)
Barbettes: 11.6 to 17.3 in (295 to 439 mm)
Turrets: 19.7 in (500 mm)
Decks: 7.5 in (190 mm)

Aircraft:

Cold War/Gulf War:
8 × RQ-2 Pioneer Unmanned aerial vehicle

 

 

  

Zumwalt class destroyer

General Characteristics

Length:

183 metres

Beam:

24.1 metres

Draft:

8.4 metres

Displacement:

14564 tonnes full load

Propulsion:

2 Rolls-Royce Marine Trent-30 gas turbines and emergency diesel generators, 78 MW 

Complement:

140 men

Armament:

20 × MK 57 VLS modules, comprising a total of 80 missiles
Evolved Sea Sparrow Missile (ESSM)
Tactical Tomahawk Block IV
Standard Missile 2 Block III (SM-2MR)
Vertical Launch Anti-Submarine Rocket (ASROC)
2 × 155 mm Advanced Gun System
920 × 155 mm total; 600 in automated store + Auxiliary store room with up to 320 rounds (non-automatic) as of April 2005
70-100 LRLAP rounds planned as of 2005 of total
2 × Mk 110 57 mm gun (CIWS)

Speed:

30.3 kn (56 km/h) 

Armour:

limited Kevlar splinter protection in critical areas

Aircraft:

2 SH-60 LAMPS helicopters or 1 MH-60R helicopter
3 MQ-8 Fire Scout VTUAV

 

 

  

Ticonderoga class cruiser

General Characteristics

Length:

173 metres

Beam:

17 metres

Draft:

9.5 metres

Displacement:

9500 tonnes full load

Propulsion:

4 × General Electric LM2500 gas turbines, 2 shafts, 80,000 shp 

Complement:

360 men

Armament:

2 x Mk 26 Guided Missile Launching System (CG-47 through -51)
? 122 cell Mk 41 Vertical Launch System (CG-52 on)
? SM-2 Standard SAM (has an ASuW mode)
? RIM-162 Evolved Sea Sparrow SAM
? 8 x RGM-84 Harpoon SSM
? BGM-109 Tomahawk (CG-52 on)
? ASROC Anti-submarine Missile
? 2 x 5 inch (127 mm/54) Mk-45 (lightweight gun)
? 2 x 20 mm Phalanx CIWS
? 2 x Mark 32 triple Torpedo tubes (6 x Mk-46 or Mk-50 torpedoes)

Speed:

32+ knots (exact maximum classified) 

Armour:

limited Kevlar splinter protection in critical areas

Aircraft:

2 x SH-60B Seahawk LAMPS III helicopters

 

 

  

O. H. Perry Frigate

General Characteristics

Length:

138 metres

Beam:

17.3 metres

Draft:

6.7 metres

Displacement:

4200 tonnes full load

Propulsion:

2 × General Electric LM2500 gas turbines; 1 shaft; 41,000 shaft horsepower (31 MW); 2 x Auxiliary Propulsion Units, 350 hp (.25 MW) retractable electric azipods for maneuvering and docking. 

Complement:

176 men

Armament:

1 × single-arm Mk 13 Missile Launcher with a 40-round magazine that can handle SM-1MR anti-air/ship missiles and Harpoon anti-ship missiles. Removed from U.S. ships starting in 2003, due to retirement of the SM-1 missile
2 × triple Mark 32 ASW torpedo tubes with Mark 46 or Mark 50 anti-submarine torpedoes
1 × OTO Melara 76 mm/62 caliber naval gun
1 × 20 mm Phalanx CIWS
8 × Hsiung Feng II SSM (Taiwanese units only)

Speed:

30 knots (35 mph or 56 km/h) 

Sensors:

Radar: AN/SPS-49, AN/SPS-55, Mk 92 fire control system
Sonar: SQS-56, SQR-19 Towed Array

Aircraft:

1 or 2 × anti-ship and -sub helicopters (the SH-2 Seasprite on short-hulls, the SH-60 Seahawk LAMPS III on long-hulls)

 

 

 

Skjold Class

General Characteristics

Length:

47.5 metres

Beam:

13.5 metres

Draft:

1.0 metres

Displacement:

274 tonnes full load

Propulsion:

Loiter diesel engine
608.5 kilowatts
Twin boost turbines
12,170 kilowatts
Twin diesel engines
1490 kilowatts

Complement:

16 men

Armament:

8 Naval Strike Missile SSMs (when available) kept in an internal weapons bay
76mm Oto Breda Super Rapid multi-role cannon
Mistral missile SAM
12.7mm gun

Speed:

In rough sea:
45 knots
In calm sea:
60 knots

Sensors:

Thales MRR-3D-NG air/surface radar
Ceros 200 FC
CS-3701 electronic warfare suite
Sagem Vigy 20 Electro-optical sensor

Soft kill:

MASS decoy (32)

 

 

Submarine Typhoon Class

General Characteristics

Length:

175 metres

Beam:

23 metres

Draft:

12 metres

Displacement:

Surfaced:
23,200-24,500 tonnes
Submerged:
33,800-48,000 tonnes

Propulsion:

2×OK-650 pressurized-water nuclear reactors
190 megawatt each
2×VV-type steam turbines
37 megawatt each
2 shaft, 7 blades shrouded screws

Complement:

163 men

Armament:

1×9K38 Igla SAM

4×650 mm torpedo tubes
RPK-7 Vodopad AShMs
Type 65K torpedoes
2×533 mm torpedo tubes
RPK-2 Viyoga cruise missiles
Type 53 torpedoes[1]
D-19 launch system
20×RSM-52 SLBMs

Speed:

Surfaced: 12 knots
Submerged: 27 knots

Maximum depth:

400 metres

Submarine SSN Los Angeles Class

General Characteristics

Length:

360 ft (110 m)

Beam:

33 ft (10 m)

Draft:

32 ft (9.7 m)

Displacement:

6,927 tons submerged

Propulsion:

S6G reactor

Complement:

140 men

Armament:

4 × 21 in (533 mm) forward torpedo tubes 
on SSNs 719?725 and 750?773, 12 Vertical Launch System tubes

Speed:

25+ knots (46 km/h) submerged

Maximum depth:

greater than 800 ft (240 m)

Submarine Akula Class

General Characteristics

Length:

108.0 - 111.7 m (sources vary)

Beam:

13.5 m

Draft:

9.6 m

Displacement:

6,927 tons submerged

Propulsion  and Power:

1 190 MW OK-650B pressurized water nuclear reactor
1 OK-7 steam turbine 43,000 hp (32 MW)
2 OK-2 Turbogenerators producing 2,000 kW
1 seven-bladed propeller
2 retractable electric propulsors for low-speed maneuvering at 3 knots (6 km/h)

Complement:

25 Officers, 26 Enlisted

Armament:

four 533 mm torpedo tubes (plus six external 533 mm tubes on Improved Akulas and Akula II?s)
four 650 mm torpedo tubes
storage space for up to forty torpedoes/mines/missiles etc.
One SA-18 Igla-M Surface-to-air missile launcher fired from sail. (To be used if the sub is forced to remain surfaced)
assorted small arms for security. (Locked away when away from port)

Speed:

20 knots (37 km/h) surfaced
35 knots (65 km/h) submerged

Maximum depth:

450 m test depth
550 m never-exceed depth
600-660 m calculated crush depth

Submarine U212 Class

General Characteristics

Length:

56 m (183.7 feet)

Beam:

7 m (22.96 feet)

Draft:

6 m (19.68 feet)

Displacement:

1450 tonnes surfaced
1830 tonnes submerged

Propulsion:

1 MTU 16V 396 diesel-engine[1] 
9 HDW/Siemens PEM fuel cells, 30-40 kW each (U31) 
2 HDW/Siemens PEM fuel cells 120 kW (U32, U33, U34) 
1 Siemens Permasyn electric motor 1700 kW, driving a single seven-bladed skewback propeller

Complement:

23-27(incl. 5 officers)

Armament:

6 x 533 mm torpedo tubes (in 2 foward-pointing groups of 3) with 12 torpedoes 
24 external naval mines (optional)

Speed:

20 knots (37 km/h) submerged 
12 knots surfaced

Maximum depth:

over 700 m (2,296 feet)

Arleigh Burke class destroyer

Class Overview

Class Type

Guided missile destroyer

Class Name

In honor of Admiral Arleigh ?31 knot? Burke

Preceded By

Spruance-class destroyer

Succeeded By

Zumwalt-class guided missile destroyer

General characteristics

Cost:

~US$800 million

Displacement:

8315 tons full load (Flight I)
8400 tons full load (Flight II)
9200 tons full load (Flight IIA)

Length:

505 ft (154 m) (Flights I and II)
509 ft (155 m) (Flight IIA)

Beam:

59 ft (18 m)

Draft:

30.5 ft (9.3 m)

Propulsion:

4 General Electric LM2500-30 gas turbines;
two shafts,
100,000 total shaft horsepower (75 MW)

Speed:

30+ knots (56+ km/h)

Range:

4,400 nautical miles at 20 knots
(8,100 km at 37 km/h)

Complement:

23 officers, 300 enlisted

Armament:

90 cells Mk 41 vertical launch systems
BGM-109 Tomahawk
RGM-84 Harpoon SSM (not in Flight IIa units)
SM-2 Standard SAM (has an ASuW mode)
RIM-162 ESSM SAM (DDG-79 onward)
RUM-139 Vertical Launch ASROC
one 5 inch (127 mm/54) Mk-45 (lightweight gun) (DDG-51 through -80)
one 5 inch (127 mm/62) Mk-45 mod 4 (lightweight gun) (DDG-81 on)
two 20 mm Phalanx CIWS (DDG-51 through -83, several later units)
two Mark 32 triple torpedo tubes (six Mk-46 or Mk-50 torpedoes, Mk-54 in the near future)

Aircraft:

None, but LAMPS III electronics installed on landing deck for coordinated DDG-51/helo ASW operations (Flights I and II)
two SH-60 Seahawk LAMPS III helos (Flight IIA)

Type 42 destroyer

Class Overview

Class Type

Guided missile destroyer

Class Name

Type 42 class

Builders

Several different

In service

1975

General characteristics

Cost:

unknown

Displacement:

Batch 1 & 2: 4,350 tons full load
Batch 3: 5,350 tons

Length:

Batch 1 & 2: 125 m (413 feet)
Batch 3: 141.1 m (466 feet

Beam:

Batch 1 & 2: 14 m (46 feet)
Batch 3: 14.9 (49 feet)

Draught:

5.8 m (19 feet)

Propulsion:

2 shafts COGOG
2 x Rolls-Royce Olympus TM3B high-speed gas turbines, (50,000 shp (37.5 MW))
2 x Rolls-Royce Tyne RM1A cruise gas turbines, (8,000 shp (6 MW)

Speed:

30 knots (Olympus)
18 knots (Tyne)

Range:

4,400 nautical miles at 20 knots
(8,100 km at 37 km/h)

Complement:

312

Armament:

Twin launcher for GWS-30 Sea Dart missiles,
4.5 inch (114 mm) Mark 8 naval gun,
2 x 3-tube STWS-1 launchers for 324 mm (12.75") A/S torpedoes,
2 x 20 mm Phalanx CIWS,
4 x Oerlikon/BMARC 30 mm L/75 KCB guns in GCM-A03 twin mounts,
2 x Oerlikon / BMARC 20 mm L/70 KBA guns in GAM-B01 single mounts,
2 x quadruple Harpoon anti-ship missile launchers

Aircraft:

1 x Westland Lynx HAS / HMA

Visby class corvette

Class Overview

Class Type

Guided missile corvette

Class Name

-

Builders

Kockums in Karlskrona

In service

2000

General characteristics

Cost:

unknown

Displacement:

650 tonnes

Length:

72 m

Beam:

10.4 m

Draught:

2.5 m

Propulsion:

2 KaMeWa Waterjets, powered by: 
High-speed machinery: 4 Honeywell gas turbines, total rating 16 MW 
Low-speed machinery: 2 squeegie engines, total rating 2.6 MW

Speed:

35+ knots

Range:

-

Complement:

43

Armament:

Bofors 57 mm/70 SAK Mk3 
8 × RBS15 Mk2 AShM 
8 x Umkhonto surface-to-air missile 4 × 400 mm tubes for Type 43/45 torpedoes 
4 x MASS Countermeasure launchers 
mines 
prepared for the installation of heavy Torpedoes

Aircraft:

navy helicopters Hkp15B (Agusta A109)

Stockholm class corvette

Class Overview

Class Type

Guided missile corvette

Class Name

-

Builders

Karlskrona

In service

1984

General characteristics

Cost:

unknown

Displacement:

330 tons

Length:

50 m

Beam:

7,5 m

Draught:

3,3 m

Propulsion:

2 squeegie engines MTU 396 TB94 (2850 hp)
1 gas turbine Allied Signal TF50 (5400 hp)

Speed:

30 knots

Range:

-

Complement:

19 officers, 14 enlisted

Armament:

Sea Dart missiles 6xRBS-15 Mk2
one 71/03 Mk II, 57 mm
Torpedo 4x40 cm anti-submarine torpedoes
anti-submarine grenades m/90 (4x9st)
waterbombs 33
two Ksp 58 machineguns

Aircraft:

none

Hauk class patrol boat

Class Overview

Class Type

Guided missile patrol boat

Class Name

-

Builders

-

In service

-

General characteristics

Cost:

unknown

Displacement:

150 tons

Length:

36.5 m (119.75 ft)

Beam:

6.2 m (20.34 ft)

Draft:

1.50 m

Propulsion:

Twin MTU 16V 3600 hp diesels (Total 7200 hp)

Speed:

32 knots (59 km/h)

Range:

-

Complement:

24 men

Armament:

6 MK 2 Penguin missile SSMs
2 TP 613 torpedoes
Mistral Simbad + Manpad SAMs
Bofors 40 mm L/70 gun

Aircraft:

none

PT Boat

Class Overview

Class Type

patrol boat

Class Name

-

Builders

-

In service

-

General characteristics

Cost:

unknown

Displacement:

56 tons (full load)

Length:

80 feet (24.4 m) overall

Beam:

20 ft 8 in (6.3 m)

Draft:

3 ft 6 in (1.06 m) maximum (aft)

Propulsion:

three 12-cylinder Packard gasoline engines 1500 hp each; three shafts

Speed:

41knots (76 km/h) maximum (trials)

Range:

-

Complement:

3 Officers, 14 Enlisted Men

Armament:

two 12,7 cal. MG`s
4 torpedoes
one 20 mm gun
mines

Number Built:

326

LCAC - Landing Craft Air Cushioned

General Characteristics

Length:

26,4 m

Beam:

14,3 m

Draft:

-

Displacement:

200 tons full load

Propulsion:

4 Avco-Lycoming 

โดยคุณ pop04 เมื่อวันที่ 25/09/2012 14:43:14


ความคิดเห็นที่ 29


ที่คุณpotmonพูดถึงคงไม่ใช่ประจัญบานเเล้วล่ะ น่าจะเป็นเรือปืนพิสัยไกลมากกว่า

โดยคุณ F-8_crusader เมื่อวันที่ 26/09/2012 17:58:03


ความคิดเห็นที่ 30


แล้วมันต่างกันตรงไหนอะครับ เรือปืนพิสัยไกล กับ เรือประจัญบาน

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 27/09/2012 01:47:48


ความคิดเห็นที่ 31


คุณ potmon ครับ ddg 1000 มีกระสุนปืนใหญ่เฉียดๆ พันนัด ไม่ใช่หลายพัน (ddg 1000 ระวางขับน้ำมากกว่าArleugh Burke Class เกือบเท่า)

กระสุน LRLAP ย่อมาจาก Long-Range Land Attck Projectile ดังนั้นคิดค้นมาถล่มฝั่งอย่างแน่นอน ยิงได้ไม่ถึง 200 km หรอกครับ ข้อมูลสองแหล่งระบุว่าระยะยิงเท่ากับ 100, 140 km ครับ (ดูหน้าวิกิภาษาอังกฤษ Long Range Land Attack Projectile) ดังนั้นระยะยังสู้จรวดต่อต้านเรือใหม่ๆ เช่น exocet block 3 (180 km) หรือ harpoon ที่อ้างมา(ฮาร์พูน RGM 84L ระยะ 280 km.)ไม่ได้  ข้อเสียเปรียบของ LRLAP อีกอย่างก็คือมวลน้อยกว่ามิสไซล์

สาเหตุหนึ่งที่สหรัฐ scale-back โปรดักชั่นของ DDG 1000 เพราะว่าหลายๆ ประเทศมีระบบรักษาฝั่งที่พัฒนาขี้นมา ดังนั้นเรือ zumwalt จะบุกไม่ถึงฝั่ง นอกเสียจากจะไปกระทืบประเทศที่ยังล้าหลังดัานระบบร้กษาฝั่ง สหรัฐฯ ตอนนี้เลยเปลี่ยนยุทธศาสตร์ ย้ายสมรภูมิจากน้ำตื้นมาเป็นการตีกันกลางทะเลกับจีน และเพิ่มการผลิต DDG ธรรมดาไปก่อนแต่อัพเกรดระบบ

ดังนั้นผมเชื่อว่า อนาคต เรือดำน้ำกับมิสไซล์จะยังเป็นศัตรูของเรือรบต่อไป ไม่น่าจะเปลี่ยนไปเป็นปืนใหญ่

ขอแนะนำบทความวิเคราะห์ ว่าด้วย USS Zumwalt โดย popularsciene เป็นบทความที่น่าสนใจ เกี่ยวกับอนาคตของเรือรบสไตล์ battelship อย่าง DDG 1000 http://www.popsci.com/technology/article/2012-08/ocean-power?page=

 

ปล. เรือ uss John Paul Jones น่าจะเรียกว่าเรือชั้น Arleigh Burke มากกว่า เดี๋ยวคนงงว่าเรือลำไหน เพราะเรือที่ชื่อ john paul jones, paul jones, มีหลายลำ เดี๋ยวอย่างผมเงี้ยไม่ได้ดูหนัง battelship ก็จะงง

(ขอติภาพที่คุณ pop04 เล็กน้อยครับ ภาพที่เอามาแปะมันสะเปะสะปะไปหน่อย อ่านยากมากครับ)

 

 

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 27/09/2012 04:43:12


ความคิดเห็นที่ 32


ตอบท่าน tongwarit 

       คือ ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับว่า "กระสุนปืนนำวิถีระยะไกล" ผมไม่ได้หมายถึง LRLAP นะครับ(ไม่งั้นผมก็เขียน ย่อๆว่า LRLAP ตลอดไม่ง่ายกว่าเหรอครับ จริงๆกระสุนนำวิถีระยะไกลของเรือมันยังไม่มีชื่อเป็นทางการเลยด้วยซ้ำ(เพราะมันยังไม่ได้เริ่มโครงการ) เลยต้องเขียน กระสุนนำวิถีระยะไกล ตลอด) จริงๆสไตล์การเขียนของผม คือ ถ้าจะอธิบายข้อความข้างต้นผมจะเขียนไว้ในวงเล็บอะครับ แต่ถ้าเว้นวรรคก็แสดงว่าแยกความหมายกันอะครับ อีกอันคือที่ผมไม่ได้ยกตัวอย่างเรือ zumwalt เลย เพราะมันไม่คล้ายจะใกล้เคียงนิยามเรือประจัญบานของผมเท่าไรอะครับ แถมกลัวคนอ่านจะไปดูรูปแบบของมันเข้า เลยไม่ได้กล่าวถึงเลย(จริงๆคอนเซ็ปต์การออกแบบเรือตระกูล DD(X) หรือเรือสเตลท์เต็มรูปแบบ มันไม่ค่อยจะเหมือน เรือประจัญบาน ที่ทั้งใหญ่ ทั้งช้า ตรวจจับง่าย อำนาจการยิงสูง อยู่แล้วอะครับ) เพราะ zumwalt เป็นเรือที่เน้นการตรวจการณ์(สอดแนม) และโจมตีชายฝั่ง(ขนาดแท่น Harpoon ยังไม่มีติดเลย) จึงมี VLS 80 cell ปืน 2 กระบอกกับกระสุนไม่มาก ก็เป็นปกติอะครับ จะไปเทียบกับเรือประจัญบานมันก็แปลกๆอยู่อะนะครับ แต่ที่เรือมันหนัก เพราะไปลงกับการสเตลท์กับการออกแบบแปลกๆ(ไม่รู้ว่าโบราณหรือไฮเทคกัน แน่)นั้นแหละ จริงๆขนาดกว้างยาวก็ใกล้ๆกับ USS John Paul Jones หละนะ อีกอันคือ ที่ไม่ยกตัวอย่างเป็น "เรือชั้น Arleugh Burke" ก็เพราะในชั้นเดียวกันมีหลายรุ่นอะครับ รุ่นเดียวกันติดอาวุธยังไม่เหมือนกันเลย แถมมีใช้หลายประเทศใช้อีกก็ไม่เหมือนกันเลย เลยยกตัวอย่างเป็นตัวเรือเลยจะดูเข้าใจกว่าอะครับ อีกอันคือ ผมไม่ได้จะบอกนะครับว่า อาวุธปล่อยนำวิถีโจมตีเรือแบบต่างๆจะหมดความหมายไปอะครับ เพราะอาวุธใดๆก็มีข้อดีข้อเสียของมัน ข้อได้เปรียบของอาวุธปล่อยนำวิถีก็มี อย่าง ระยะยิง(แค่ระยะก็ชนะขาดอยู่แล้วอะครับถ้าได้ชื่อเป็นจรวด เพราะมันมีระบบขับเคลื่อนภายในนี้ครับ) การติดตั้ง(ติดตั้งง่าย และได้ในหลายๆพาหนะ) ความแม่นยำ(แน่อยู่แล้วไม่งั้นจะแพงเหรอ) แต่ก็มีข้อเสียเปรียบอยู่นะครับ คือ จำนวนบรรทุกกับราคาที่สูงของมัน(คิดง่ายๆเลย จรวดระยะยิง 500 กม. อย่าง C-805 กับ จรวดระยะยิง 40 กม. อย่าง C-801 หรือ กระสุนปืนใหญ่ 1 ลูก โอกาสป้องกันได้ ก็พอๆกันครับถ้าเรือมีระบบป้องกันตัว ก็ต้องเสียจรวดป้องกัน 1 ลูก โอกาสโดนเท่ากัน(ยิงกี่ทีก็ว่ากันไป) แต่ราคาของแต่ละอันนี้คนละเรื่องกันเลยอะนะ และจำนวนบรรทุกก็ต่างกันอีก) อันสุดท้าย เรือประจัญบานในความคิดผม คือ เรือที่สามารถทำลายแนวป้องกันของกองเรือเป้าหมายได้อะครับ(งั้นจะมีชื่อว่า ประจัญบานไหวทำไม) ซึ่ง กองเรือรูปแบบปัจจัยที่มีเรือป้องกันภัยทางอากาศประสิทธิภาพสูง มีโอกาสน้อยครับที่จะโจมตีทำลายแนวป้องกันของกองเรือได้สำเร็จในระหว่างกองเรือที่มีประสิทธิภาพเท่าๆกัน ด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีแบบในปัจุบันอะ

 

ปล.โลก เราทุกวันนี้ ระบบตรวจการณ์ต่างๆมันดีขึ้นทุกๆวันครับ เรือดำน้ำมีจุดเด่นอยู่ที่การอำพรางตัวก็จะด้อยคุณค่าลงไปทุกๆวันครับ แต่ก็ใช้ว่าเรือดำน้ำจะมีคุณค่าอยู่ในแง่เดียว กับหลักคิดที่ว่า ใช้ปริมาณในการโจมตีเหนือกว่าปริมาณการป้องกัน อีกไม่นานคงได้เห็นรูปแบบกันว่าจะไปในทิศทางใด


โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 27/09/2012 12:44:33


ความคิดเห็นที่ 33


ตอบคุณ potmon

ครับ เราสองมีความเห็นในเรื่องนี้ต่างกัน คนละยุทธศาสตร์ 

ที่ผมเข้าเรื่อง LRLAP ก็เพราะคุณพูดถึงครับ และก็พอดีมีเรือชนิดเดียวที่ใช้กระสุนชนิดนี้ผมเลยอ้างถึงเรือชั้น zumwalt   นอกจากนี้เรือชั้น zumwalt ยังถูกวางไว้ให้ทำหน้าที่ยิงสนับสนุนแทนเรือประจัญบาน ดังนั้นผมจึงยกมา ก็เป็นความเข้าใจผิดของผม

ส่วนตัวผมคิดว่าเรือ zumwalt นี่ใกล้เคียงเรือประจัญบานที่สุดแล้วครับในปัจจุบ้นนี้ เรื่องความสเตลธ์ก็เป็นวิวัฒนาการของเรือรบทุกชนิด ไม่ได้ขึ้นกับว่าเป็นเรือระดับไหน    เรื่องความใหญ่ ตรวจจับง่าย ของเรือประจัญบานไม่น่าเรียกว่าเป็นคอมเซปท์ น่าจะเรียกว่าข้อด้อยหรือลักษณะมากกว่า (แต่ตอนนี้ผมเคลียร์แล้วว่าคุณหมายถึง "คอนเซปต์เรือประจัญบานของคุณ")

ขอแย้งเล็กน้อยครับ ผมคิดว่าเรือประจัญบานแต่ละลำเร็วๆ ทั้งนั้นเลยนะครับ  นอกจากนี้เรือ zumwalt ไม่ได้ออกแบบไว้สอดแนมชายฝั่งครับ   ความยาวของเรือที่แตกต่างกัน 20% ผมว่าไม่น้อยทีเดียว ส่วนเรื่องเรือหนักอะไรนั่นผมว่าไม่เกี่ยวกับสเตลธ์หรอกครับ

ปล. การเรียกชื่อเรือ ถ้าคุณต้องการเรียกให้เฉพาะเจาะจงในคลาส ซึ่งในกรณีนี้คือ USS John Paul Jones ชั้น Arleigh Burke  ควรจะเรียกว่า DDG-53 ครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 27/09/2012 15:42:28


ความคิดเห็นที่ 34


อาวุธนำวิถีโจมตีเรือป้องกันยากกว่าลูกกระสุนปืนใหญ่แน่นอน เพราะนอกจากวิ่งเรียดน้ำยังสามารถกำหนดคอร์สให้เลี้ยวไปมาหลบหลีกการตรวจจับของข้าศึก

ส่วนใหญ่อาวุธปืนใหญ่โครงการต่างๆ อย่างของทัพเรืออเมริกาที่จะทำปืนไฟฟ้า เรลกัน เอามาแทนจรวดโจมตีฝั่งครับ ไม่ได้มาแทนจรวดโจมตีเรือ

 

ถ้าดวลกัน เรือลำนึงมีปืนใหญ่ยิงได้มากมายระดมเป็นตับๆ กับอีกฝ่ายมีจรวดโจมตีเรือ จำนวนอาวุธน้อยกว่าแต่ระยะไกลกว่ามาก ก็เหมือนเอาปืนลูกซองมาดวลกันกับไสนเปอร์ 

ในที่โล่ง (ทะเลโล่งอยู่แล้ว ไม่มีรบระยะประชิด)

 

บทบาทของปืนใหญ่เรือในอนาคตคงยังยากที่จะกลับมาเป็นอาวุธต่อต้านเรือหลัก

 

แต่หลักนิยมการรบสมัยใหม่ก็ส่วนใหญ่เน้นป้องกันตัวบ้าเลือดเหมือนกัน อาวุธโจมตีเรือสิหกลูก อาวุธป้องกันตัว ร้อยลูก

ลองเปลี่ยนเป็นโจมตีเรือซักห้าสิบลูก เรือประจันบาญกระสุนพันนัดคงแหลกเหมือนกัน 

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 27/09/2012 17:44:43


ความคิดเห็นที่ 35


ตอบคุณ tongwarit

 

อัน แรกเลยนะครับ "เรือประจัญบาน ที่ทั้งใหญ่ ทั้งช้า ตรวจจับง่าย อำนาจการยิงสูง" ผมไม่ได้บอกนะครับว่าคำพวกนี้เป็นคอนเซ็ปต์ของเรือประจัญบาน(แต่ตอนนี้ผมไม่ ค่อยเคลียร์แล้วว่าคุณตั้งใจจะคุยกันดีๆกับผมหรือเปล่า) ส่วนความเข้าใจในตัวผมแบบแปลกๆของคุณ ก็สุดแล้วแต่สติปัญญาของคุณจะรับรู้ได้อะครับ ส่วนนิยามเรือ ประจัญบานของผม ก็เขียนไปแล้วอะนะ

 

เสริมอีกนิดเรื่อง เรือรบสเตลท์เต็มรูปแบบ กับเรือรบกึ่งสเตลท์(ที่คุณเข้าใจว่าเป็นวิวัฒนาการของเรือรบทุกชนิด ไม่ได้ขึ้นกับว่าเป็นเรือระดับไหน) ตามความเข้าใจของผม เรือสเตลท์เต็มรูปแบบ อย่าง VisbyClass  SeaShadow  Zumwalt   คือ เรือที่ออกแบบมาในวัตถุประสงค์การอำพรางตัวเป็นหลักครับ คอนเซ็ปต์ คือ ออกแบบคุณลักษณะทั้งหมดให้สอดคล้องกับการอำพรางตัวเป็นหลัก ตัวอย่างเช่น เรือ zumwalt ครับ ดูภายนอกก่อนแล้วกัน จะเห็นว่าไม่มีอุปกรณ์มาตรฐานไหนของ เรือ เรือรบ ที่ไม่มีคุณสมบัติการอำพราง หรืออยู่ภายนอกตัวเรือ เช่น สมอ เครื่องชูชีพต่างๆ ตัวอาวุธประจำเรือ เครื่องตรวจการณ์ และสื่อสาร อุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆ มาดูโครงสร้างบ้าง ตัวเรือถูกออกแบบให้มีความสามารถอำพรางตัว เช่น สร้างรูปทรงเรือ หรือสร้างเฟรมคุมอุปกรณ์ เพื่อหักเหคลื่นเรดาห์ รูปทรงเรือแบบ Tumblehome ลดการเกิดเสียงจากการลอยลำและการเคลื่อนที่(Tumblehome ไม่ได้เป็นเทคโนใหม่อะไรครับ มันไม่ได้รับความนิยมมาตั้งแต่ WWI เพราะปัญหาการใช้งาน รูปแบบก็คือ ความกว้างตัวเรือที่เส้นแนวน้ำมากกว่าความกว้างตัวเรือที่ชั้นดาดฟ้าและใน ทุกๆส่วน ฉนั้น พื้นที่ชั้นดาดฟ้าของ zumwalt มันก็ใกล้ๆกับ John Paul Jones นั้นแหละ ที่เห็นต่างกัน 20%(เปล่าหว่า)นั้นมันคือความกว้างยาวสูงสุดที่อยู่ใต้เส้นแนวน้ำด้วยครับ ไม่ได้มีผลต่อพื้นที่ใช้งานบนลำเรือที่สามารถติดอาวุธได้) ตัวผิวสะพานเดินเรือทำจากวัสดุพิเศษลดการสะท้อนคลื่นเรดาห์ มีระบบขับเคลื่อนใบจักรด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าลดการเกิดเสียง และมีอีกหลายอัน จัดไปกับการอำพรางตัว นี้แหละครับเรือตระกูล DD(X) หรือเรือสเตลท์เต็มรูปแบบ(เรือสเตลท์เต็มรูปแบบ อย่าง zumwalt น้ำหนักมากกว่า เรือปกติหรือกึ่งสเตลท์ที่ ประสิทธิภาพเดียวกันแน่นอนครับ เพราะพวกเฟรมสะท้อนคลื่น วัสดุลดการสะท้อน อุปกรณ์ลดและป้องกันเสียง มันมีน้ำหนักนะครับ แล้วไหนจะการออกแบบให้มีคุณสมบัติการอำพรางตัวที่ดีอีก ทำให้พื้นใช้งานน้อยลงและนำไปสู่การเพิ่มขนาดและอุปกรณ์ช่วยเหลืออย่างแน่ นอนครับ)  

  มาดูในส่วนของเรือรบกึ่งสเตลท์กันบ้าง คือ เรือ ที่ออกแบบมาตามวัตถุประสงค์การใช้งานในลักษณะต่างๆตามความต้องการเป็นหลัก ครับ คอนเซ็ปต์ คือ ออกแบบคุณลักษณะการอำพรางตัวบางส่วนให้ไม่เกิดผลกระทบต่อการทำงานและสอด คล้องกับคุณลักษณะการให้งานทั้งหมดครับ ตัวอย่างก็คงเป็นเรือรบทั่วไปที่ต่อหลังยุค 90 นั้นแหละ บ้านเราก็ ชั้น กระบี่ นเรศวร ปัตตานี ก็แล้วแต่ว่าเรือรุ่นไหนๆจะให้ความสำคัญในการอำพรางตัวมากน้อยกว่ากัน ขอ อธิบายเป็นเรือ กระบี่ ก็แล้วกัน ตัวเรือออกแบบให้หักเหคลื่นเรดาห์ได้ในบ้างส่วนของตัวเรือครับ แต่อุปกรณ์บนลำเรือไม่ได้หักเหหรือลดการสะท้อน และไม่มีผิวเรือที่ลดการสะท้อนเรดาห์ด้วย เรื่องเสียงไม่มีการออกแบบให้ลดแต่อย่างได้(จริงๆหัวเรือเอียงหน่อย ข้างเรือเอียงนิด ก็เคลมกันได้แล้วว่ามีสมบัติสเตลท์ ส่วนตัวคิดว่าต่างกันเยอะมากครับระหว่างเรือรบกึ่งสเตลท์กับเรือรบสเตลท์เต็มรูปแบบ) สรุป ผมไม่คิดว่า เรือรบแบบพวก เรือบรรทุกเครื่องบิน เรือส่งกำลังบำรุง เรือสนับสนุนการยกพลขึ้นบก หรือเรือช่วยรบแบบอื่นๆ จะถูกออกแบบมาให้เป็นเรือสเตลท์เต็มรูปแบบได้หลอกนะครับ

 

อีก อันก็ เรื่องความเร็วของเรือประจัญบาน(BB ส่วนใหญ่อยู่ประมาณ 25 น็อต) ถ้าเทียบกันเรือในยุคปัจจุบันก็ถือว่าเร็วครับ แต่ถ้าเทียบในยุคของมันกับเรือ CA CL DD(ประมาณ 35-40 น็อต) แล้วหละก็ช้าสุดในบรรดาทั้งหมดเลยหละนะ

 

อีกอัน คือ เรื่องชื่อเรืออะครับ ต้องขอโทษด้วยที่เขียนเต็มไม่ได้อะเพราะมันยาว จะก๊อบมาก็ต้องก๊อบหลายที่ แต่ส่วนใหญ่ผมไม่ยกตัวอย่าง หรืออธิบายอะไรให้มันเข้าใจยาก หรือกับสิ่งไกลตัว ที่ไม่เป็นที่รู้จะอยู่เลยอะครับ(จริงๆ uss john paul jones มันดังมากเลยนะ) จะให้เขียนเป็น รหัสเรือเลยแบบ DDG-53 ใครจะไปนึกออกอะครับ(ไม่มี google จะมีใครนึกออกบ้างอะ ต้องลำบากไปหาข้อมูลอีก) แต่เขียน uss john paul jones ผมว่าคนส่วนใหญ่เค้านึกออกกันในทันทีเลยอะครับ

 

อีกอันนะ ครับ ส่วนตัวผมไม่คิดว่า เรือ Zumwalt ที่ลงทุนไปกับระบบอำพรางตัวขนาดนี้จะมี บทบาทอยู่แค่เป็นเรือลาดตระเวน และโจมตีชายฝั่งหลอกนะครับ(ยิงปืนใหญ่โจมตีชายฝั่ง ก็เสมือนเปิดตำแหน่งให้ข้าศึกรู้อยู่แล้ว มันไม่ค่อยจะเข้ากันการเป็นเรือสเตลท์เต็มรูปแบบเท่าไรจริงไหมครับ) ถ้าเอาตามโปรโมทของ ทร.เมกา มันไม่ได้ออกแบบมาให้เน้นด้านการสอดแนม ถ้าเชื่อทันทีเลยตามนั้นครับ แต่ความรู้ก็จะหยุดอยู่แค่นั้นด้วยนะครับ(ผมคิดไปเองเปล่าหว่า)

 

ปล. เรื่อง เรือประจัญบานในอนาคต ผมก็อธิบายแนวคิดของผมที่ได้อ่านๆมา ไปหมดแล้วนะครับ ส่วนความเป็นไปได้หรือหลักคิดของเรือประจัญบานในอนาคต ท่านๆอื่นจะเห็นเป็นเช่นไร ก็สุดแล้วแต่มุมมองของแต่ละท่านอะครับ สุดท้ายขอบคุณครับที่มาแบ่งปั้นความรู้กัน

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 28/09/2012 17:44:21