ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)18 ก.ย.มีมติอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ 1.การอนุมัติโครงการของกองทัพเรือในการจัดหาเรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ วงเงิน 30,000 ล้านบาท ระยะดำเนินการ 5 ปี ปี 2555-2559
2.การอนุมัติเงินก่อหนี้ผูกพันปีงบประมาณ 2555-2557 ระยะเวลา 3 ปี โครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร ระยะ 2 มูลค่า 3,297,821,775 บาท โดยงบประมาณปี 2555 เป็นเงิน 495 ล้านบาท, งบประมาณปี 2556 เป็นเงิน 1,335 ล้านบาท, งบประมาณปี 2557 เป็นเงิน 1,467 ล้านบาท
3.การอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2555-2557 โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบใช้งานทั่วไปของกองทัพบก ระยะ 1 ห้วงที่3มูลค่า2,817,981,515 บาท
by Wassana Nanuam ครับ
ช่วยวิเคราะห์หน่อยครับ ถ้าข่าวเป็นจริง อยากรู้จริงๆว่าเรือชั้นใหนแบบใดที่น่าจะเข้าตากองทัพเรือมากที่สุดครับ
อยากได้F-100
ขอแสดงความยินดีกับ ทร. ครับ ส่วนความเห็นเพิ่มเติมคือ น่าจะพิจารณาว่าความต้องการที่แท้จริงในระยะเวลา 10 ปีต่อจากนี้ว่าต้องการกี่ลำ เช่น ถ้าต้องการ 4 ลำ ก็น่าจะพิจารณาสัญญาซื้อลิขสิทธิ์มาต่อเองในประเทศด้วย เช่น ลำแรกจากต่างประเทศ 3 ลำต่อในประเทศ อย่างนี้น่าจะเหมาะสมและได้ประโยชน์มากขึ้นไปอีก ครับ
ส่วนแบบที่ชอบก็แบบเดียวกับสิงค์โปร์ หรือแบบเรือ OPV เรือหลวงกระบี่โดยขยายแบบให้เป็นเรือฟรีเกต (แบบน่าจะเหมือนของโอมาน แต่ขยายจาก 2500 เป็นประมาณ 3500 ตัน) น่าจะทำให้ราคาเรือต่ำลงมาได้ระดับนึง ครับ
ว๊าาาวว 15k ล้าน ได้ระดับเมพเลยนะนั่น
งบ จากข้อ 1 .... วงเงิน สามหมื่นล้าน จัดหาเรือฟรีเก็ต 2 ลำ
ประชาชนคนไทยเกือบทุกคน คงสนใจข้อนี้มากที่สุด
ว่า ทางทัพเรือ จะซื้อ หรือ เอาแบบมาต่อเรือเอง แบบเรือหลวงกระบี่
.. โดยส่วนตัว ผมอยากให้ทัพเรือ ประกาศ ประมูลการจัดสร้างต่อเรือ
โดย ตั้งข้อแม้เป็นอ๊อฟชั่นไว้คือ ต้องมาต่อเรือในไทย 1 ลำ
เป็นการสร้างองค์ความรู้ให้กับกองทัพ และ วิศวกรชาวไทย
ข้อนี้ผมมองว่า สำคัญมากๆ ความรู้มันไม่สูญหายไปใหน
ถ้าทำได้แบบนี้ ประชาชนจะปลื้มทัพเรือขึ้นอีกหลายเท่า
หลังจากที่ปลื้มกับเรือหลวงกระบี่ มาแล้ว
ปล. เป็นความเห็นส่วนบุคคลครับ ทร. เอาไง ก็เอาตามนั้น
ห่วยจะออกที่อะไรลุ้นกันอีกแล้ว
30,000ล้านบาท 2 ลํา จะได้สเปกไหมครับ
งบประมาณเ่ท่านี้ อยากถามผู้รู้ว่าถ้าไม่ต่อเอง จะสามารถซื้อเรือฟริเกตแบบครบเครื่องแบบไหนได้บ้างครับ จริงอยากได้ของเยอร์มันนะครับ
ข่าวแว่วมาว่าหวย น่าจะไปออกเป็นเรือจากฝั่งยุโรป จากฝั่งอาเฮียคงไม่ไหวชักเอียนๆกันแล้วสิ
เรือ ต ไกล้-ไกล พอต่อได้ แต่ฟรีเกต ผมว่า ให้ที่ๆเขาพร้อมประกอบดีกว่ามั้ง
อาจต่อแต่ละบล๊อกในไทย แต่ตอนประกอบ ผมว่าอู่เรายังขาดอะไรอยู่นิดหน่อยอ่ะ
ลป.สอบถามผู้รู้ เงินขนาดนี้ได้ ระดับใหนครับ ซัก ระวางขับน้ำ 5พันตัน
เป็นเรือฟรีเกตขีปนาวุฒต่อต้านเรือดำน้ำไฮโซแบบน้องๆเอจีสนี้พอจะใหวมั๊ยครับ
ผมรอคุณ juldas อยู่นะครับ ข้อมูลเรือแน่นดี
อยากให้ ทร. ยื่นข้อเสนอ ไปยังบริษัทต่างๆ เพื่อประกวดราคาครับ และดูคุณลักษณะของเรือ ยิ่งมีคู่แข่งมาก ก็จะยิ่งได้ของที่มาพร้อมกับ Option ดีๆในราคา ไม่แพงเกิน
หรือว่า อาจจะได้ ลำที่ดีที่สุด ใน งบประมาณ ต่อลำ
ยื่นประกวดราคาไปเลย เยอรมัน / สเปน / ฝรั่งเศส / เกาหลีใต้ / ฮอลแลนด์
มีโหวดใหมครับ ถ้าได้ขอแบบเรือใน BATTLESHIP ชั้น Arleigh Burke 2ลำเลย
เอาเรือจีนอีกไหมครับ เอาแต่ตัวเรือ ใส้ในเอาของยุโรป เมกาปนกันไป เอาไห้ครบสูตร
6.1 ประเภท : เรือฟริเกตสมรรถนะสูง
6.2 โครงการ : 2 ลำ, ระยะเวลาโครงการ : 2549 - 2553
6.3 ขีดความสามารถที่ต้องการ
6.3.1 ต่อต้านภัยผิวน้ำได้
6.3.2 ต่อต้านภัยทางอากาศได้ตั้งแต่ระยะปานกลาง
6.3.3 ต่อต้านภัยจากเรือดำน้ำ
6.3.4 ทำสงครามอิเล็กทรอนิกส์
6.3.5 ระดมยิงฝั่ง
6.3.6 ค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล
6.4 คุณลักษณะทั่วไปที่สำคัญ
6.4.1 ระวางขับน้ำเต็มที่ ระหว่าง 2,000 - 3,000 ตัน
6.4.2 ความเร็วสูงสุดต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 25 นอต
6.4.3 ระยะปฏิบัติการ (ที่ความเร็วมัธยัสถ์ไม่ต่ำกว่า 18 นอต) ไม่น้อยกว่า 4,000 ไมล์ทะเล
6.4.4 ปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 15 วัน
6.4.5 ปฏิบัติการได้ในสภาวะแวดล้อมถึง Sea State 5
6.4.6 มีดาดฟ้า ฮ. และโรงเก็บ สามารถสนับสนุนการปฏิบัติของ ฮ. ได้ถึงขนาดน้ำหนัก 22,000 ปอนด์
6.4.7 ระบบขับเคลื่อน เป็นเครื่องจักรดีเซล หรือแกสเทอร์ไปน์ หรือผสมกัน อย่างน้อย 2 เครื่อง
6.4.8 ระบบอาวุธ : อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น; พื้น-สู่-อากาศ; ตอร์ปิโด
: ปืนหลัก ขนาด 76 มม. ปืนรอง ขนาด 40/30 มม. และ 20 มม.
: อาวุธป้องกันตนเองระยะประชิด 1 ระบบ ระบบเป้าลวง
6.4.9 ระบบอำนวยการรบ เป็นแบบรวมการ
6.4.10 มีระบบสื่อสารทั้งภายในและภายนอก และทัศนสัญญาณตามย่านความถี่และมาตรฐานที่ ทร.กำหนด
6.4.11 มีสายการผลิตอะไหล่สนับสนุนการซ่อมบำรุงให้สามารถปฏิบัติการได้เนื่องอย่างน้อย 30 ปี
น่าจะเป็นแบบนี้นะครับ ตอนนี้ก็ยังนึกไม่ออกว่าจะมาจากประเทศไหน แต่คราวนี้ผมว่าได้ของยุโรปแน่ครับขอแบบ ออฟชั่นเต็ม ไม่เอาแบบเมื่อก่อนนะครับ ซื้อมาแล้วค่อยต่อเติม
งานนี้ท่าน กบ อาจจะำได้เฮ ดังๆก็ได้เนอะใครจะไปรู้ อิอิ ก็เเค่ เอจิส2ลำเอง โธ่่~~
มูลค่าโครงการบอกว่าที่อนุมัติคราวนี้ คือ เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศเดิมที่เคยเกือบจัดหาได้เมื่อ 6-7 ปีก่อนครับ(ตอนนั้นเกือบได้ KDX-2 batch-1 หรือ MEKO-A200)
ราคาขนาดนี้เกือบได้ MEKO A-200 ที่ติดตั้ง AEGIS ชุดเล็กที่ติดตั้ง SPY-1K ครับ สามารถยิง SM-2 ได้ และมีระบบ RAM-21 นัดด้วย
มาคราวนี้งบเท่าเดิม แต่เศรษฐกิจที่โน่นแย่ทั้งฝั่งอเมริกาและยุโรป และยังมีคู่แข่งเพิ่มเข้ามาอีกคือ Thales ที่ออกระบบ I-MAST-500 สำหรับภาระกิจป้องกันภัยทางอากาศ ทางนั้นร่วมมือกับอู่แดวูของเกาหลีใต้ น่าจะราคาถูกกว่าค่ายเยอรมัน และน่าจะสามารถติดตั้ง K-vls ได้นอกจาก MK-41 ของอเมริกา ทำให้สามารถติดตั้ง K-ASROC ได้ด้วย และราคาน่าจะอยู่ในงบประมาณ 30,000 บาท
แต่ปัญหาคือ ถ้าซื้อของ Thales-DW อเมริกาจะยอมขาย SM-2 ให้หรือเปล่า แต่ถ้าซื้อเรือเยอรมัน+AEGIS ไม่แน่เราอาจจะได้ SM-2 ก็ได้ เพราะอเมริกากำลังถังแตกอยู่
แสดงว่าทร.มั่นใจว่าจะสามารถได้เรือดำน้ำมาครบจำนวนแน่นอนถึงได้จัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศตามแผนเดิม (มิน่าทำไมถึงเตรียมความพร้อมในเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกของกองเรือดำน้ำนัก)
ราคานี้ได้ formindable 3-4 ลำเลย และน่าจะได้ DW-3000H 4 ลำ เรือพวกนี้เป็นเรือฟรีเกตอเนกประสงค์ครับ
ยินดีกับทร.ด้วยนะครับ เย้..........เย้.........เย้.........
MEKO A-200 AEGIS ขนาดราวๆ 4,000 ตัน ยาวประมาณ 118-120 เมตร ติดตั้งระบบอำนวยการรบ AEGIS ชุดเล็ก และเรด้าร์ SPY-1K ระยะตรวจจับ 250 กิโลเมตร รองรับจรวด ESSM ASROC และ SM-2 block 3 ได้ สามารถติดตั้ง MK-41 VLS 16-24 cell (หน้าและกลางลำตัว) แท่นยิง RAM-21 นัด และ ระบ ฟาลังคฺ์ที่โรงเก็บฮ.
ถ้าเป็นเรือของเกาหลี + thales ยังไม่ทราบน่าตาครับ และสภาพตึงเครียดกับเพื่อนบ้านอย่างมาเลย์แบบนี้ ไม่น่าจะเป็น KDX-2 ยกเว้นจะเป็น KDX-2 ที่ติดตั้งระบบ I-MAST-500 พร้อม K-VLS แต่อเมริกาจะขาย SM-2 ให้หริอเปล่า
ก็จะออกหน้าตาคล้าย KDX-2 APAR ครับ แต่เปลี่ยนจาก APAR เป็น I-MAST-500 แทน ดังรูปที่ลงเป็น KDX-2 APAR
ดีลนี้ต้องจับตาครับ ถ้าเรือ MEKO A-200 AEGIS ได้ เรือดำน้ำก็น่าจะเป็นเรือจากเยอรมัน น่าผสมระหว่างเรือเก่าและใหม่ อาจจะเป็น type 209/1400 AIP 2 ลำหรือไม่ก็ type 210 mod + AIP 2 ลำ (ราวๆ 30,000 ล้านบาท) และ type 206A ชุดที่เหลือ 4 ลำ 2 เป็นอะไหล่ 2 เป็นเรือฝึกและรบได้ (ราวๆ 5000 ล้านบาทเท่านั้น)
แต่ถ้าเป็น KDX-2 ติดตั้ง I-MAST-500 งานนี้เรือดำน้ำอาจจะต้องเป็น type 209 เมดอินเกาหลีทั้ง 4 ลำ ราคาประมาณ 40,000 ล้าน แต่ถ้าซื้อตอนนี้ระบบ AIP และโซน่าร์ข้างลำตัวเรือยังไม่พัฒนาแล้วเสร็จครับ อาจจะต้อง upgrade ทีหลัง
รูป type 210 mod กับ type 209/1200 ครับ
ผมคิดว่า .. หลังจากข่าวที่ ทร.ได้รับอนุมัต จัดซื้อเรือฟริเก็ต 2 ลำ
ในงบประมาณ สามหมื่นล้าน ..
ป่านนี้ ทั้ง อังกฤษ สเปน เยอรมัน ฝรั่งเศส ฮอลแลนด์ เกาหลีใต้
ตาลุกวาว คงส่งเอสเอ็มเอส มาตามจีบกันใหญ่
เราไม่ต้องรีบร้อนครับ .. ค่อยๆเลือก ว่าใครยื่นข้อเสนอ ที่ดีที่สุด
มีอ๊อฟชั่น อะไรติดบ้าง ..
ช่วงนี้ โซนยุโรป กำลังถังแตก .. ผมว่า คงแย่งกันหัวแตกแน่ๆ 55++
โดยส่วนตัว ชอบสไตล์เยอรมัน พวกนี้ทำงานเนี๊ยบ เรียบร้อย ไม่ค่อยลักไก่ หรือ หมกเม็ด
มาตรฐาน QA QC ของเยอรมัน ถือว่าละเอียดมาก ( เทียบกับจีน ฟ้า กับ เหว )
แต่ ผมยังเคืองเยอรมัน ที่ยึดเครื่องบินพระที่นั่ง เป็นตัวประกัน ยังไม่หาย ..
U-206A ยังอยู่กับเยอรมันหรือเปล่าครับ เลือกเอาเรือฟริเกตุเยอรมัน แล้วขอ 206Aมาเซ็ทเลย ^^
แต่ไม่อยู่เยอรมันแล้วใช่เปล่าครับ
ผมยังอยากได้เรือดำน้ำกว่านะ
ลำละ 15,000 ล้านบาท
เป็นครั้งแรกของ ทร. ครับ...ที่ได้งบประมาณจัดหาเรือแบบเต็มสเปค ขนาดนี้...ราคาน้อยกว่าเรือดำน้ำ เล็กน้อย...
ผมว่า VLS มาพร้อม...ระบบต่อต้านเรือดำน้ำ มาพร้อม...
ลำละประมาณ 460 ล้านเหรียญ
แผ่นภาพที่เคยทำไว้ครับ
งานนี้ ผมว่า เรือจาก เยอรมัน น่าจะมา ( เดา ) ดีไม่ดี อาจจะมีของแถม เป็น เรือดำน้ำมือสองขนาดเล็ก ๆ สัก 2 ลำ พร้อมอะไหล่ยกคลัง...(กลัว อาคารกองบังคับเรือดำน้ำที่กำลังจะสร้าง เป็นอาคารร้าง)
MEKO-D (น่าลุ้น)
ลำละ 460 ล้านเหรียญ...ผมว่า ตัวเลือก ทร.มีเยอะมาก...
ป๋า ดัน Meko-D...(ไม่รู้จะเกินงบประมาณหรือเปล่า ?)
ส่วนโครงการปรับปรุง เรือชั้น นเรศวร ระยะ 2
น่าจะเป็นตามนี้ครับ...
ตำแหน่งเป้าลวง Sagam ยังไม่แน่นอนนะครับ...( เดา )
ยินดีกับ ทร.ครับอย่างน้อยเราจะได้ไม่ตามหลังเพื่อนบ้านมากเกินไป
ถ้าในความเห็นส่วนตัวอยากให้เลือกอาวุธที่มาจากประเทศที่ไม่มีอิทธิพลในภูมิภาคนี้มาก เพราะเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดต่างๆเกิดขึ้นมันจะยุ่งยาก
ของเยอรมันผมว่าโอเคเลยครับหรืออีกที่ก็เสปน ฝรั่งเศษนี่ภาพหลอนแห่งอดีตยังหลอกหลอนอยู่แม้แต่ปัจจุบัน หรือในเอเชียอย่าง KDXก็น่าสนใจ
เข้ามาสะใจกับ ทร. โครงการนี้ถ้าหากได้เรือจากเยอรมันแล้วมี option เรือดำน้ำ 2+2 มาด้วยเป็นนิยาย Happy Ending
พิมพ์ตกครับ...."โครงการนี้ถ้าหากได้เรือจากเยอรมันแล้วมี option เรือดำน้ำ 2+2 มาด้วยคงได้เป็นนิยายที่จบลงแบบ Happy Ending"
ของ สเปน ผมก็ชอบมาก...แต่ราคาต่อลำน่าจะอยู่ระหว่าง 700-1000 ล้านเหรียญ...งบไม่น่าจะพอครับ...เพราะตาม วิกี ล่าสุด ต้นทุนของเรือลำล่าสุด F-105 ชอง สเปน อยู่ที่ 1,100 ล้านเหรียญครับ...
ขอฝันถึงตัวนี้ได้ไหมครับ
Dislocamento | 6.800 |
---|---|
Stazza lorda | 8.300 tsl |
Lunghezza | Fuori tutto 153,97 m, al galleggiamento: 144,43 m |
Larghezza | massima: 20,4 m, al galleggiamento circa 19 m |
Pescaggio | vuota: 7,63 m, a pieno carico 9,32m |
Propulsione | 4 turbine a gas G.E. LM 2500 da 100.000hp. |
Autonomia | 4.000 n.mi. (7.400 km) |
Equipaggio | : |
Sensori di bordo | 1 radar SPY-1D AEGIS, 3 radar di tiro SPG-62, 1 apparato Seafire optronico, 1 radar navigazione, un sonar AN/SQQ-99(V) |
Sistemi difensivi | 1 ESM/ECM SLQ-32(V) mod.2, lanciarazzi Super RBOC, 1 AN/SLQ-25 Nixie per decoys antisiluro |
แล้วถ้าเป็น Iver Huitfeldt class frigate ของเดนมาร์ก ละครับ น่าสนไหมเอ่ย
เรือ Arleigh burke ก็คงได้แต่ฝันจริงแหละครับ ฮา
ดีใจกับ ทร. เช่นกันครับ ส่วนตัวอยากได้เรือดำน้ำมากกว่าเช่นกัน แต่ไม่เป็นไร ได้เร็วแจ่มๆ อย่างนี้มาดุลย์กับทร.ของเพื่อนบ้านไว้บ้างก็ดี
แต่ก็ยังงง ไม่หายว่า ทำไมการหาเรือดำน้ำถึงโดนขัดขวาง? งงมากๆ คือถ้าเป็นไปตามทฤษฎีที่ว่า ทบ. กลัว ทร. ใหญ่เกิน ผมว่ามันก็จะแปลกนะครับ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เรือฟริเกตก็น่าจะเป็นภัยคุกคามต่อ ทบ. มากกว่า เรือดำน้ำ หรือเพื่อนสมาชิกคนอื่นว่าอย่างไร
....ถ้าผลออกมาอย่างนี้แล้ว เรื่ืองที่ ทร. พลาดเรือดำน้ำเพราะถูก ทบ. สกัดเนื่องจากเกรงว่า ทร. จะโตเกิน คงฟังไม่ขึ้นแล้วครับ....ส่วนเรื่องที่มักกล่าวกันว่า ทร. ได้รับงบประมาณจำกัด จำเขี่ย ไม่เพียงพอต่อการจัดซื้อเรือดำน้ำ ก็คงจะถูกปัดตกไปอีกเช่นกัน....ผมคงยืนตามท่าน ผบ.กองเรือดำน้ำครับ....ไม่ทราจริงๆ....จบไปแล้วก็ถือว่าให้แล้วไปครับ เริ่มต้นกันใหม่....มาคอยลุ้นกันดีกว่าว่ารอบนี้ ทร. จะได้เรือพริเกตจากประเทศใด รุ่นใดมาประจำการ....
ตอนแรก ผมก็คิดไปต่าง ๆ นา ๆ...
และสุดท้าย คิดว่า เหลือประเด็นเดียวครับ..คือ....อ่าวไทย น้ำตื้น....
เรือดำน้ำเลยไม่ได้เกิดสักที...ไม่อยากออกความเห็นมากครับ...เพราะผมต้อง ระเห็จ จาก TAF เพราะเรื่อง เรือดำน้ำ เนี่ยล่ะครับ...5 5 5 5 5
ก็มาแบบทำนองเดียวกับ ปืน 40 ม.ม. ครับ...
ในยุคหลัง ทร. เปลี่ยนปืนรองจาก 40 ม.ม. เป็น 30 ม.ม.
ช่วงที่สร้างเรือ ต.991...ก็โดนโจมตีจาก อดีตนายทหารเรือเกษียณอายุ หลายสิบปี หลายคน ถึงขั้นถวายขอความเห็น ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ...ปื่น DS-30 ก็เกือบไม่รอด เหมือนกัน...
เรือดำน้ำ ก็มาแบบเดียวกันครับ...ให้ ทร. ถวายขอความเห็น...จากข่าวที่ผ่านตามาไม่นานนี้ครับ...
คิดแบบเดียวกับหลายๆท่าน ครับ
ทอ.คิดที่จะซื้ออีรี่อายส์มานานมากแต่ไม่ได้รับอนุมัติ ทีนี้ขอซื้อเครื่องบินรบ+อีรี่อายส์ได้เลย2อย่าง
ทร.ขอซื้อเรือดำน้ำไม่ได้ก็ เอามาเป็นแพ็คเกจแบบเดียวกัน MEKO-D+U206a เรือปราบเรือดำน้ำ + เรือดำน้ำไว้ฝึกปราบเรือดำน้ำก็ไม่เลวนะครับ
De Zeven Provinciën class frigate
Forbin – class Frigate
ไม่สนรุ่นนี้หรือครับ
อีกรูป
ราคานี้สามารถจัดหา FREMM ได้เลยนะครับป๋า แพงกว่าดีลจัดหาของทางมาเลย์สัก 1,000-2,000 ล้านบาท แต่สเปกน่าจะต่างกันมากๆ เพราะทางโน้นมีข่าวเรื่องคอรับชั่น
ส่วนเรือสเปน F-100 ไม่น่าจะไหวครับ เพราะราคาประมาณ 50,000 ล้านต่อลำ ส่วน AFCON น่าสนใจครับ แต่ต้องเพิ่มสเปกและขนาดเรือให้ใกล้เคียงของทางเยอะมัน
ส่วน DE ZEVEN ของดัชท์ ราคาเกินปัญญษเราครับ 800 ล้านเหรียญอ่ะครับ
คราวนี้เรือรบหลวงนเรศวรจะได้สมบูรณ์แบบสักทีครับ ใจจริงอยากได้ Sigma seahawk ที่สามารถติดตั้งจรวด mistral ได้ 6-7 นัดต่อแท่นด้วย นอกจากปืน 30 มม.
ส่วนเรื่องที่ว่ามีคนขวางทร.อยู่ตลอด ผมก็ยังเชื่อแบบนั้นอยู่ แต่เท่าที่รู้ซีกทางการเมืองซีกนี้ดูต้องการให้ทร.ขยายขนาดเพื่อสนองตอบการปกป้องในโครงสร้างเมกกะโปรเจคที่เกี่ยวข้องกับงานทางทะเลสูง ในอดีตเห็นทร.จะขยายทีไร ร่วงทุกที ดังนั้นผมกะอยู่แล้วว่ามาคราวนี้และต่อไปทร.คงได้ทุกอย่างครบตามที่ตนต้องการ ไม่ว่าจะเรือดำน้ำ เรือฟรีเกต(ได้ไปแล้ว) เรือ OPV เรือ LPD ลำที่สอง ฮ.ปราบเรือดำน้ำ ซึ่งจะทยอยจัดหาแน่นอนครับ ไม่อยากพูดมากเพราะเฉียดการเมืองรอมร่อแล้วเพราะมีการอิงซีกการเมืองกันอยู่ เอาเป็นว่าถ้าโครงการเมกกะโปรเจคที่เกี่ยวข้องทางทะเลถูกจัดสร้างต่อไปจนครบทุกโครงการ แม้แต่เรือบรรทุกบ.เบาที่เคยมีแผนจัดหา ก็อาจจะจัดหาได้จริงๆในคราวนั้นครับ
MEKO-D + U206A น่าสนใจที่สุด แต่ถ้าไม่ได้ขอ Iver Huitfeldt(SM-2 lllA)
ก็อปมาจากTAF
งานนี้ หากมีแคนดิเดด
ขอพนันว่ามี3รุ่น
1.เรือเยอรมันพื้นฐานMeko ( ระวางขับน้ำ 3000-4000ตัน/ปืน76,127 /mk41 16-32ท่อ/ ฮาร์พูน/ RAM,Phalanx /Ceros200+ CEAFAR + Smart-L/ MU-90 torpedo /9LV Mk4)......มาแนวๆANZAC
2.เรือจีน พื้นฐานไทป์054 (เคยเห็นภาพแว้บๆว่าติดVLSแบบHQ-9 24ท่อยิง) (3000-4000ตัน/ 76มม. / type 073 CIWS /32 HQ-16 หรือ 24 HQ-9 หรือ16-32 Mk41 ) +Song class submarine
3.เรือเกาหลี ไม่ใช่DWH แต่น่าจะเป็น KDX มากกว่า เพราะDWH ถ้าได้มาจะประนามทร.เนื่องจากซื้อของห่วยราคาแพง ( 4000 ตัน /5นิ้ว มาร์ค45หรือ โอโต้ 5นิ้วLW /RAM,Phalanx,Goalkeeper/32 Mk41 +8 K-Asroc/harpoon/STIR /Smart-L/i-mast 500/Thales Tacticos.......Thales Combo!!! ) หรือ DWH-3000 + Type209
(ม้ามืด) FREMM
(ม้ามาโคตะระมืด) Iver Huitfeldt
ประมาณการ ต้นทุนเรือ
FRIGATES
Absalon (Denmark)-$269 million
Bertholf National Security Cutter-$641 million
F100 Bazan (Spain)-$600 million
F105 Cristobal Colon (Spain)-$954 million
De Zeven Provincien (Netherlands)-$532 million
FREMM (Franco/Italian)-$745 million
LCS Freedom-$637 million
Holland (Netherlands)-$169 million
LCS Independence-$704 million
Iver Huitfeldt (Denmark)-$332 millon
Nansen (Norway)-$557 million
Sachsen Type 124 (Germany)-$1.06 billion
Valour MEKO A200 (South Africa)-$327 million
F-22P Zulfiquar (China/Pakistan)-$200 million
FREMM มันเป็นเรือฟริเกต ขนาดระวางขับน้ำ 6,000 ตัน เลยนะครับ จะเกินความต้องการของ ทร.ไทย หรือเปล่า แต่ถ้าจะได้ ก็ดี คงจะน่าเกรงขามเยอะ 555555
เพราะเพื่อนบ้าน ยังมีแค่เรือฟริเกต ระดับ 3,000-3,500 ตัน เท่านั้น (แต่ดูจะ เล็กพริกขี้หนูนะ)
FREMM เวอร์ชั่นฝรั่งเศส ไม่รู้ระบบต่างๆจะต่างจากเรือชั้น Formidable Class ของ สิงคโปร์ หรือเปล่า เพราะใช้ เรดาร์ Herakles ที่ตรวจจับเป้าหมายในอากาศ 250 กิโลเมตร เหมือนกัน
แต่ถ้าเป็น FREDA (Fremm รุ่นป้องกันภัยทางอากาศ โดยเฉพาะ) จะใช้ Herakles รุ่นที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า
ถึงระบบ เรดาร์ จะเหมือนกัน แต่ FREMM เขามีระบบ อำนวยการรบ ที่โฆษณาว่า State of the Art คือ ระบบ SETIS Combat System ไม่รู้จะสู้ AEGIS ได้หรือเปล่า
แล้วก็ไม่ทราบว่า Formidable Class ของ สิงคโปร์ ใช้ระบบอำนวยการรบ SETIS ด้วยหรือเปล่า
แต่ถ้าเลือก FREMM Frigate นอกจากภารกิจ เชิงรับ เรายังเอาใช้ในภารกิจเชิงรุกได้อีกด้วย คือ สามารถใช้ Scalp Naval (คล้ายๆ Tomahawk ) คือ จรวด Cruise Missile ที่ยิงจากเรือ ระยะ 1,000 กิโลเมตร ได้
จรวดป้องกันภัยทางอากาศ ก็มีทั้ง ASTER-15 (ระยะ 30 กิโลเมตร) ASTER-30 ( ระยะ 120 กิโลเมตร)
จะว่าไป Formidable ของ สิงคโปรฺ ก็ใช้ได้ทั้ง ASTER-15 และ ASTER-30 แล้วนะครับ
ถ้าเน้นนโยบายป้องกันประเทศ ผมว่ายังไม่ถึงกับต้อง FREMM Frigate ครับ ขอ La Fayette Class Frigate ใน Design แบบ Formidable Class สัก 2 ลำ ก็สวยงามแล้ว
หรือ Type-26 Global Combat ship
Weapons and systems
Royal Navy ships will use the Artisan 3D search radar, Sonar 2087 (towed array sonar) and Sea Ceptor (CAMM) air-defence missiles launched via a Vertical launching system (VLS). In addition, like the Type 23 frigates that they replace, Global Combat Ship will be equipped with a torpedo launching system probably utilizing the Sting Ray acoustic homing light-weight torpedos, or alternatively a next generation of Royal Navy torpedoes. It is also expected that the GCS will initially be equipped with two quadruple missile launchers for the Harpoon anti-ship missiles. However, in early 2012, BAE Systems released a "New Design" Type 26 Global Combat Ship that showed an additional 24 cell "Main Strike" VLS positioned behind the Sea Ceptor (CAMM) air-defence missile VLS. This would instead provide the option to equip the Type 26 Global Combat Ship with a new generation of multi-role (anti-ship & land-attack) cruise missiles (see CVS401 Perseus) and drop the current Harpoon missile altogether. The main strike VLS could also accommodate Tomahawk land attack cruise missiles.
The Type 26 will be fitted with guns of various calibres. It is expected that the main gun will be either the "127mm Medium Calibre Gun" or the BAE Systems 4.5 inch Mark 8 naval gun as well as two Phalanx CIWS. In addition, smaller guns include two 30mm DS30M Mark 2 Automated Small Calibre Guns and a number of miniguns and general-purpose machine guns.[16] Since the release of BAEs new design Type 26 it appears that the two Phalanx CIWS have been re-added to the weaponry.
Possible partnerships
Britain needs foreign markets to keep the per-unit costs of the new frigates down enough to keep them affordable.[23] As of 31 January 2011 Malaysia, Australia, New Zealand and Turkey had all expressed interest in collaborating on the Global Combat Ship, and the UK was in "close discussion" with Canada.[24] A Canadian union campaigned that the Global Combat Ship threatened Canadian shipbuilders and in the run-up to the May 2011 election a spokesman for the Canadian Defence Minister ruled out involvement with the British programme.[25] Turkey also later rejected the design as not meeting its requirements.[26]
In January 2010, Janes Defence Weekly reported that the governments of the United Kingdom and Australia were exploring the potential for cooperation on the C1 and C3 designs, which corresponds closely to the Royal Australian Navys requirements in replacing its MEKO-200 Anzac-class frigate with a new frigate type (Project SEA 5000).[27] An initial decision for the frigate replacement is not expected until at least 2018.
The British and Brazilian governments agreed on a defence partnership that may lead to the sale of five or six Type 26 frigates to the Brazilian Navy.[28] In October 2010, BAE made a detailed proposal to the Brazilian navy, for a package including Type 26 frigates as well as variants of the Wave Knight-class tanker and River-class patrol vessel
ส่วนปืนรองนเรศวรและตากสิน ยังเชื่อว่าเป็น40 DARDO เพราะ 30มม.ไม่สามารถทำหน้าที่CIWSได้อย่างจริงจังเท่าไหร่ (อัตราการยิงช้า /การหมุนป้อมและการออกแบบไม่ได้เป็นCIWSแต่แรก)
ทีนี้มาดูเรือใหม่ งบ1000ล้านUS(คร่าวๆจริงๆแล้ว 900กว่าๆ) คงจะตัดตัวต่อไปนี้ได้ f124 /de zeven /f100 /aegis ทั้งหลายแหล่ (ถึงมีตังค์พอก็ไม่ขายเชื่อเถอะ)
ทีนี้ที่พอเข้าท่าก็มี meko (รุ่นD น่าจะแพงพอๆกับf124 ดังนั้นถ้าจะเป็นรุ่นD ทำใจได้ว่าตัดVLS ตรงลานฮ.กับPolyphem และ 6phase array ไปได้เลย ถ้าเป้นรุ่นD ที่เป็นไปได้คือ 32mk41 หน้า16 กลาง16 /CEAFAR หรือ i-Mast /SMART-L /CEROS200/9LV-ทร.น่าจะผูกใจกับSAABไปอีกหลายลำ/CODAG หรือCODAD หรือพูดง่ายๆคือ MEKO-D ผสม ANZAC) (รุ่นA200 ก็น่าจะเข้าท่าเช่นกัน)
FREMM (น่าจะเป็นConfigแบบMultirole และไม่ใช่เรดาร์Herakles เพราะทร.น่าจะใช้Mk41มากกว่า )
KDX1.5 ...ตั้งเอง ระวางขับน้ำราวๆ4000ตัน +THALES Combo ด้านบน
Iver Huitfeldt .....ครบเครื่อง ราคาเหมาะสม(400ล้านยูเอส เท่าที่หาข้อมูลได้) APAR +Smart-L + 32MK41 24MK56 ระบบโมดูลาร์ทั้งหมด
Absalon .....อเนกประสงค์ กู้ภัยได้ ขนรถถังได้ RO-ROเด็ค อาวุธหนัก ราคาดี (300กว่าล้านยูเอส ) 32 Mk56 +Smart-s+Scanter +5นิ้ว+16ฮาร์พูน!!!
Type 054 Mod TH ไม่ขอพูด ........
แต่คิดๆดูอีกที ถ้าเราเลือก FREMM ตอนนี้ ก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะว่า ฝรั่งเศส กับ อิตาลี ก็เพิ่งจะประจำการเรือรุ่นนี้ แถมยังประจำการไม่ครบทุกลำ
เรื่องการ Upgrade ตัวเรือ และระบบอำนวยการรบของเรือ เราอาจจะดำเนินไปแนวทางเดียวกันกับ ประเทศผู้ผลิต เป็นการรับประกันได้ว่า ตัวเรือเรายังทันสมัย เทียบเท่ากับ ชาติผู้ผลิต
เรื่องอะไหล่ ก็ไม่น่าเป็นห่วง ก็ประจำการ พร้อมๆกัน ก็คงจะปลดประจำการใกล้เคียงกันกับ ชาติผู้ผลิต
ใจเอนเอียงมาทาง FREMM แล้ว ทีนี้ แต่ดูจาก ระวางขับน้ำแล้ว เกือบจะเป็น Destroyer ได้เหมือนกันนะเนี่ย ถ้าเอาขนาดตัวไปเทียบกับ Horizon Class กับ TYPE-45 (Horizon Class กัปตันเรือ ของฝรั่งเศส ตอนเอาเรือไปอวดทงที่ แคนาดา บอกว่า มันคือ เรือพิฆาติ )
ถ้าเป็นFREMM คงจะเป็นแบบของอิตาลีจะดูเข้าทีกว่า (ถ้าได้127 +Volcano มาด้วยจะดีมาก และเข้ากับความต้องการการระดมยิงฝั่ง) ถ้าเป็นFREMM ขอเดาดังนี้
EMPARหรืออาจจะเป็นAPAR แต่ไม่ใช่herakles แน่ๆ+2*CEROS 200CWI สำหรับESSM +32 Mk41(64-ESSM Mk25 quad 16*SM-2 ????) +127หรือ 76 OTO melara +Italian config อันนี้น่าจะเป็นไปได้ที่สุด
สำหรับผม แบบไหนก็ได้ขอแค่ให้มีSM-2ติดตัวมาด้วยแล้วกัน ระบบดี เรดาห์ดี คนดี เรือดีแต่อาวุธยาวไม่มีก็เปล่าประโยชน์
การจัดหาเรือ2ลำนี้ผมเห็นว่าติดปัญหาอยู่2เรื่อง
1 ถ้าเราต้องการ SM-2 อมเริกาจะขายเราไหม ถ้าไม่จะเอาจรวดแบบไหนที่สมรรถนะใกล้เคียงทดแทนได้ไหม ควรจะมีมานะครับ ถ้าซื้อมาแล้วแค่ESSMก็เสียของเปล่า ระยะยิงไกลสุดแค่50กม.มันเสียวไป เมือเทียบกับเงินที่ลงไป
2 ถ้าเราจะต่อเรือจากเยอรมัน จะมีปัญหาเดิมตามมาหลอกหลอนอีกหรือเปล่า อย่าเพิ่งฝันหวานขนาดแถมเรือดำน้ำ(เจ้าปัญหา)ลำนั้นกันเลยครับ
เรือ2ลำนี้จะเป็นเรือที่แพงที่สุดของกองทัพเรือไทย แพงกว่าเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของเราเสียอีก และจะเป็นเรือที่สำคัญในการป้องกันประเทศเป็นอย่างมากถึงมากที่สุด ฉะนั้น กองทัพเรือจะต้องจัดของดีที่คุ้มราคามาใส่ ด้วยความโปรงใสเปิดเผยทุกข้อมูลกับประชาชน รวมไปถึงการประชาสัมพันธ์อย่างถูกต้อง ตรงเวลาและทั่วถึง อย่ากั๊กอย่าทำตัวลึกลับนะครับ ผมไม่อยากเห็นอาการดราม่าแบบเรือดำน้ำอีก
ประเทศเราไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณแล้ว กองทัพก็ต้องไม่มีปัญหาเรื่องการจัดซื้ออาวุธด้วย ถ้าเรือ2ลำนี้เราทำได้อย่างดีเยี่ยมโอกาสของเรือดำน้ำก็น่าจะอยู่ในขั้นต่อไป แต่ถ้าไม่..ก็เอวังนะครับ
คงไม่ใช่แค่กางสเป๊กแล้วเลือกของจะเอาอันโน้นอันนี้แล้วหละครับงานนี้ ทุกคนควรจะช่วยเหลือกองทัพเรือในเรื่องนี้ด้วย ผมคิดว่าแบบนี้นะ
สุดท้ายท้ายสุด SM-2 หรือตัวเลือกใกล้เคียงมาให้ได้นะ มานะคุณ
SM-2 ตัดไปได้เลยครับ...ไม่มีโอกาสเกิดใน ภูมิภาค นี้ครับ...มีเพียงแค่ ออสเตรเลีย ประเทศเดียวครับ...ที่ สหรัฐ ไว้ใจ...
สำหรับ Meko-D จะสามารถติดตั้ง ASTER-15,30 หัว-ท้าย กับ MICA-VL ตรงกลางลำ ได้ครับ...อาจจะใช้ ระบบ ยุโรป ไป เลย...
Type-26 Global Combat Ship ดีไซน์ล่าสุด ราคาใกล้เคียงที่ประมาณ 460 ล้านเหรียญ
fremm ไม่น่าเป็นไปได้นะครับ แพง ใหญ่ เกิน
เอสเอ็มสอง ก็ตามป๋าว่าไว้ ไม่มีทางเด็ดขาด
ตามสเปค ทร. คือ มีภาระกิจ ค้นหาและช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยในทะเล อยู่ด้วย...
Type-26 ก็มีลานจอด ฮ. ที่ รองรับ ฮ.Chinook ได้...(ซึ่งผมคิดว่า Chinook น่าจะเป็น ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ ตัวเก็งแบบหนึ่ง ที่ ทร. มีความต้องการและน่าจะมีการจัดหาในอนาคต)
จริงๆแล้ว ชอบASTER แต่อย่าลืมว่า หากทร.นำASTERเข้าประจำการ ทร.จะมีจรวดSAMเพิ่มอีกแบบ(หรือ2แบบ) ให้ปวดหัวเรื่องการส่งกำลัง ที่ทร.มีตอนนี้คือ Mistral /Aspide /ESSM หากมีASTER 15และ/หรือ30และVL Mica มาอีก คิดดูว่าสพ.ทร.จะปวดเฮดขนาดไหน
เพราะฉะนั้น ESSM และSM-2 (หากเป็นไปได้) ซึ่งใช้ระบบท่อยิงแบบเดียวกันกับบนนเรศวร/ตากสิน จะง่ายต่อการซ่อมบำรุงมากกว่า
Aspide, Mistal ผมว่าอายุประจำการน่าจะเหลือไม่เกิน 10-15 ปี (ตามอายุคงเหลือเรือชั้น รัตนโกสินทร์ และ 911 โดยประมาณที่อายุเรือ 30 ปี)
ส่วน ESSM อายุประจำการน่าจะอยู่ประมาณ 20 ปี (เนื่องจาก เรือชั้น นเรศวร ปรับปรุงช่วงครึ่งอายุใช้งาน)
ถ้ามีการจัดหา ASTER กับ MICA-VL จะมีอายุประจำการถึง 30 ปี...ถ้าเทียบในระยะอันใกล้...
ปัจจุบัน Missile ที่ประจำการใน ทร.
C-801
C-802A
Harpoon
Exocet
Mistral
Aspide
ESSM
รวม 7 แบบ + 1 (Missile สำหรับติดตั้งเรือ ต.994)
อนาคตในระยะอีก 10 ปีข้างหน้า สมมติจัดหา Aster กับ MICA
C-802A
Harpoon
Mistral
ESSM
Aster
MICA
รวม 6 แบบ +1 (Missile สำหรับติดตั้งเรือ ต.994)
เอาไทป์ 54 แต่ไปไส่ระบบเยรมัน โซน่าฝรั่งเศษ เครื่องอังกิดก็น่าจะโอมั้ง
คือจะดีป่ะถ้าได้อาซ่งแบบที่ท่าน icy_CMU ว่า
เอา Aster 30 แทนก็ได้ครับ มีคนใช้กันเยอะดี อาวุธฝรั่งเศษก็ดีไม่แพ้ใคร ลูกหละประมาณ2.5ล้านเหรียญ พอไหวนะ
Takanami class 4,650
Valour class frigate 3700 tons
Type 22 frigate 4,400
Thetis class ocean patrol vessels 3,500 tons
Oliver Hazard Perry class frigate 4,100
Niteroi class frigate 3,355 tons
Neustrashimyy class frigate 3,800 tons
Godavari class frigate 3,600 tons
Cassard class frigate 4,500 tons
Georges Leygues class frigate 3,550
Bremen class frigate 3,680 tonnes
Brahmaputra class frigate 3,850 tons
Type 054 frigate 4,300 tons
Gwanggaeto the Great class destroyer 3,885–3,900 tonnes
Asagiri class destroyer 3,500 tons
Takanami class destroyer 4,650
Murasame class destroyer 4,550
Type 051 destroyer 3,670 tons
....................................
ถ้าเอาแบบไม่เกิน 5 พันตัน เมื่อตัดตัวเลื่อกต่างๆคงเหลือไม่กี่อย่าง
ท่าทางเรื่องเรือฟรีเกตโดนตีข่าวใส่สีกันอย่างมันแล้วล่ะ สื่อกระแทกกันสนุก มาฟอร์มเดิมอีกแล้ววววว............มันอย่างนี้ทุกทีสิน้า
ถอดใจเรื่อง SM-2 จริงๆครับ อเมริกันมันเรื่องมากจริงๆเลย ต้องดูว่ามีการต่อรองกันได้ขนาดไหน ไม่งั้นก็ต้องระบบของยุโรปไปเลยทั้งระบบ ใช้ ASTER 15/30 ไปให้สิ้นเรื่องสิ้นราว แต่ถ้ารอได้ เรือ KDX-2 + I-MAST-500 ก็น่าสน เพราะเกาหลีกำลังพัฒนา Chelomae 2 อยู่คงอีกไม่นานที่ระบบนี้สามารถยิงได้ไกลเกิน 120-150 กิโลเมตร และน่าจะ match กับของ Thales ที่เป็นพันธมิตรกัน
แต่ผมว่าทร.เทใจให้เรือเยอรมันไปไม่น้อยอยู่ เพราะสามารถเลือกได้ว่าจะติดตั้งระบบของยุโรปได้ และของก็มีพร้อมใช้แล้วไม่ต้องรอให้พัฒนาแล้วเสร็จ แถมเรือดำน้ำก็ชอบพอกันอยู่ ยังไงก็อนุมัติเงินไปแล้ว OK พอใจครับ
คราวนี้ ทร. ก็จะได้สามารถจัดตั้งระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นๆได้สมบูรณ์แบบสักทีนะครับ เพราะจะมีเรือฉากใช้งานแล้วในปี 59
รอลุ้น OPV เป็นเรื่องต่อไป ตกลำละประมาณ 3000 กว่าล้านบาท หรือราวๆ 1 หมื่นล้าน เราก็จะมี OPV ทัดเทียมกองทัพเรือมาเลย์แล้ว แต่ตอนนี้เวลานี้เรือฟรีเกตเรายังเป็นต่อในเรื่องจำนวนและประสิทธิภาพอยู่ จนกว่าเรือฟรีเกตใหม่ทั้ง 6 ลำของมาเลย์จะรับมอบในปี 2018 - 2020 นั่นล่ะจะสูสีกันมากครับ
จะรุ่นไหนก็ได้ผมไม่ค่อยมีความรู้นักเเต่อยากให้ต่อบ้านคนขายลำหนึ่งต่อบ้านเราลำหนึ่งน่าจะดีน่ะครับ
ตามข่าวจาก ผู้จัดการ
ครม.” อนุมัติ 3 โครงการ “กลาโหม” ซื้อเรือฟริเกต 2 ลำ 3 หมื่นล้าน อัปเกรด “เรือนเศวร” 3.2 พันล้าน พร้อมซื้อ ฮ.ทบ.2.8 พันล้าน ด้าน “กห.” เผยรอ ทร.คัดเลือกแบบ คาดเรือสัญชาติเยอรมัน ปัดล็อกสเปกเรือจีน
วันที่ (18 ก.ย.) รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มติอนุมัติงบฯจัดซื้อตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ ดังนี้ 1. การอนุมัติโครงการของกองทัพเรือในการจัดหาเรือฟริเกต จำนวน 2 ลำ วงเงิน 30,000 ล้านบาท ระยะดำเนินการ 5 ปี ปี 2555-2559 2. การอนุมัติเงินก่อหนี้ผูกพันปีงบประมาณ 2555-2557 ระยะเวลา 3 ปี โครงการปรับปรุงเรือฟริเกต ชุดเรือหลวงนเรศวร ระยะ 2 มูลค่า 3,297,821,775 บาท โดยงบประมาณปี 2555 เป็นเงิน 495 ล้านบาท, งบประมาณปี 2556 เป็นเงิน 1,335 ล้านบาท, งบประมาณปี 2557 เป็นเงิน 1,467 ล้านบาท 3. การอนุมัติการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ 2555-2557 โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์แบบใช้งานทั่วไปของกองทัพบก ระยะ 1 ห้วงที่ 3 มูลค่า 2,817,981,515 บาท
แหล่งข่าวระดับสูงกระทรวงกลาโหม ระบุ การจัดซื้อเรือฟริเกตในขณะนี้เป็นเพียงการตั้งเรื่องว่าเตรียมจัดซื้อจัดหาเท่านั้น เพื่อนำมาใช้ในการปกป้องอธิปไตยของไทย ทั้งนี้การจัดซื้อต้องรอขั้นตอนจากกองทัพเรือในการเลือกแบบเรือว่ามีความต้องการเรือฟริเกตจากประเทศใด โดยยืนยันว่าตอนนี้ยังไม่มีการล็อคสเปกเรือตามที่เคยเป็นข่าว อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นการจัดซื้อเรือฟริเกตในครั้งนี้ จะมีอยู่ 2 บริษัทที่ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพเรือไปแล้ว โดยบริษัทหนึ่งจะได้รับโครงการเกี่ยวกับระบบเชื่อมต่อของเรือฟริเกตทั้งหมด จากประเทศสวีเดน ส่วนอีกบริษัทที่ได้รับคัดเลือกในการจัดซื้อเรือลำดังกล่าว ซึ่งจะเป็นเรื่องที่จัดซื้อจากประเทศเยอรมัน เพราะมีสมรรถนะที่ดีและมีคุณภาพ
น่าจะเป็นอย่างที่ท่าน Icy_cmu ให้ความเห็นไว้
ระบบอำนวยการรบ คงเป็น 9VL
ตัวเรือคงเป็นของ เยอรมัน...
ถ้าให้ เดา...
MEKO น่าจะใกล้เคียงที่สุด...
แต่จะเป็น MEKO A-200 หรือ Delta...
MEKO A-200 และใช้ระบบ 9VL ก็เป็นแบบเรือ ANZAC ของ ออสเตรเลีย...
ก็น่าจะพอวิเคราะห์ได้ว่า
ตัวเรือพร้อมระบบตรวจจับต่าง ๆ น่าจะอยู่ประมาณ 360 ล้านเหรียญสหรัฐ ต่อ ลำ
และคาดว่า ทร. คงจัดเต็มกับ ระบบอำนวยการรบ 9VL และอาวุธนำวิถีต่าง ๆ เช่น ESSM และอาจจะ ฮาร์พูน บล็อค 2 ประมาณลำละ 100 ล้านเหรียญ ต่อ ลำ
ป๋าจูครับ ลืมเจ้า นกกระจอกทะเลวิวัฒน์ 555+ ของท่านกบ หรือ AIM 7Sea sparerow ที่จะมาติดตั้งกับ MK41.VLS บนเรือชั้น นเรศวร ไปหรือเปล่าคร๊าฟ ต้องเพิ่มเจ้า นกกระจอกทะเลวิวัฒน์ ของท่านกบ ไปด้วยนะคร๊าฟ ป๋าจู
ในส่วนตัวนั้นก็มองว่า เรือของทางเยอรมันผสมเซนเซอร์สวีเดนบวกจรวดอเมริกาคงจะเข้าตากองทัพเรือพอสมควร แต่ทั้งนี้คงต้องดูเงื่อนไขข้อเสนอของแต่ละแบบที่ยื่นเสนอมาให้กับกองทัพเรือ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นไปในแนวทางถ่ายทอดเทคโนโลยีและทุนการฝึกศึกษา ส่วนเรื่องราคาตามที่ระบุนั้นอาจจะรวมถึงระบบและอุปกรณ์ที่พร้อมจัดเต็มมาเลยทีเดียว ซึ่งอุปกรณ์รวมทั้งอาวุธยุคใหม่ที่ทันสมัยในเวลานี้ราคาค่อนข้างจะสูงจึงทำให้ราคาที่เสนอโครงการสูงตามไปด้วยครับ
MEKO ยังมี MEKO A-200SAN, Valour class เป็นแบบที่สร้างให้แอฟฟริกาใต้ก็น่าสน
Valour class fregate
ลืม unblock ภาพซะงั่น... เอาใหม่
ใส่ไปแล้วครับ ท่าน champ ในชื่อ ESSM ครับ..
งบประมาณ 15,000 ล้านบาท ต่อ ลำ...ผมว่า ถ้า แบบเรือและระบบเซ็นเซอร์ เป็นเพียงระบบ 3D กับ ระบบอำนวยการรบ 9VL...
ระบบอาวุธ ก็น่าจะจัดขนาดหนัก เช่น MK-41 อาจจะเป็นแบบ Strike MK-41 ที่สามารถ ยิง V-Asroc ได้....ระบบตรวจจับเรือดำน้ำ ที่ครบสูตร...
เพราะผมคิดว่า เรือฟริเกตสมรรถนะสูง น่าจะเน้น สงครามปราบเรือดำน้ำ มากกว่า...คือ เป็น เรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ ชั้นนำ จำนวน 2 ลำ ของ ทร.ไทย...เพราะทั้ง 2 ลำ นี้้ ก็คงทดแทน เรือชั้นพุทธฯ...เพื่อจะได้ลดช่องว่าง สงครามใต้น้ำ ไปบางส่วน จากการที่ ทร. ยังไม่สามารถจัดหา เรือดำน้ำ ได้ ในระยะ 5 ปี ข้างหน้านี้...
โครงการเรือดำน้ำ คงจะมาต่อจาก เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ก็น่าจะประมาณ ปี 2560 ขึ้นไป...กรณี จัดหามาได้ กว่าจะประจำการและพร้อมรบ ก็คงจะใกล้ ๆ ปี 2570 โน่น...
ดังนั้น เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำอย่างดี จึงมีความจำเป็นในช่วงระยะเวลาดังกล่าว...
โครงการปรับปรุงเรือชั้น นเรศวร เฟส 2
ที่ผมใช้ปืนรอง DS-30 นั้น...ผมคิดว่า ทร. ไม่ได้ว่า เป็น CIWS หลัก...
การป้องกันตัวหลักของเรือชั้นนี้....ผมคิดว่า ทร. อาจจะเน้นไปที่ Sagam Decoy มากกว่าครับ...
ถ้าเราสังเกตุในเรือชั้น นเรศวร นี้...ยังขาด ปืนต่อต้านภัยคุกคาม ระดับผิวน้ำ...เช่นพวก เรือเร็วที่เป็นภัยคุกคาม ครับ...ซึ่ง 40 ม.ม. คงจะทำหน้าที่นี้ไม่ได้...
ซึ่งเรือฟริเกต ที่มี ฟาลังซ์ เป็น CIWS นั้น...ตอนนี้ ส่วนใหญ่จะปรับปรุงให้เป็น บล๊อค B เพื่อให้สามารถใช้งานต่อต้านภัยคุกคามบนผิวน้ำได้...
ผมเลยมองว่า DS-30 น่าจะเน้นหน้าที่นี้ครับ...ซึ่งไม่แน่ อาจจะเป็น DS-30 รุ่นที่ติด Mistral ด้วยก็ได้ครับ...เพื่อให้เป็น CIWS มากขึ้น...
ตามข่าวเดิมครับ...ในช่วงแรกเมื่อประมาณปี 2549 ที่ ทร.วางแผนจะปรับปรุงเรือชั้น นเรศวร ครับ...มีการระบุว่าจะเปลี่ยนปืนรองเป็น DS-30
เรือ รบหลัก
* การจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น C-802A - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2550 อนุมัติงบประมาณจำนวน 1600 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552 ให้กองทัพเรือดำเนินการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น (โจมตีเรือ) แบบใหม่ ทดแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถี C-801 บนเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา ที่จัดหามาตั้งแต่ปี 2534 และปัจจุบันได้หมดอายุการใช้งานไปแล้ว ซึ่งกองทัพเรือได้ลงในนามในสัญญาจ้างกับบริษัท China National Precision Machinery Import and Export Corp. (CPMIEC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2550 ให้เป็นผู้ดำเนินการกับเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี ประกอบด้วยการติดตั้งแท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น แบบ C-802A จำนวน 4 แท่นยิง ซึ่งแต่ละแท่นยิงรองรับกล่องยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 2 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 1 ลูก ต่อ 1 กล่องยิง) รวม 8 ท่อยิงหรืออาวุธปล่อยฯ 8 ลูก ต่อเรือ 1 ลำ พร้อมระบบควบคุมการยิงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งมอบลูกอาวุธปล่อยฯ C-802A จำนวน 13 ลูก พร้อมกล่องยิง 16 กล่อง นอกจากนี้กองทัพเรือยังได้จัดหาเรดาร์เดินเรือ/ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ BridgeMaster E ของบริษัท Sperry Marine ประเทศสหรัฐอเมริกา มาติดตั้งกับเรือทั้ง 2 ลำด้วย [2] [3]
* การปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ระยะที่ 2 - กองทัพเรือมีโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ด้วยงบประมาณจำนวน 3,800 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2556 แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทัพเรือมีมติ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 52 ให้ชะลอโครงการออกไปก่อน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนโครงการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้ รับ ทั้งนี้คาดว่ารายการปรับปรุงหลักๆ จะประกอบด้วยการจ้างปรับปรุงเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกลแบบ LW-08 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 โดยบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ-อากาศแบบ SMART-S Mk.2 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 จากบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อแท่นยิงแบบ Mk.41 VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ ESSM จำนวน 1 แท่นยิง ซึ่งรองรับท่อยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 8 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 4 ลูก ต่อ 1 ท่อยิง) รวมอาวุธปล่อยฯ 32 ลูกต่อเรือ 1 ลำ จากบริษัืท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมลูกอาวุธปล่อยฯ ESSM จากบริษัท Raytheon ประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดซื้อปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว จากบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร ส่วนการปรับปรุงในระยะที่ 1 กองทัพเรือได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว ในปี 2552 คือ การติดตั้งระบบชักลาก ฮ. ระหว่างลานจอดและโรงเก็บ ฮ. ประจำเรือ แบบ Samahe ของบริษัท DCNS ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท Italthai Marines เป็นผู้ดำเนินการ [4]
ประเมิน ต้นทุน คร่าว ๆ ให้พอเห็นภาพ ครับ...
จะเห็นว่า งานนี้...เรือฟริเกต สมรรถนะสูง...จัดเต็ม...
อัพเดท ข้อมูลว่า 5 ปี ผ่านมา ทร. ได้อะไรไปแล้วบ้างครับ...
ดูแล้ว ยังอีกเยอะ สำหรับ ทร.
ขอบคุณครับป๋าจูลสำหรับข้อมูล และท่าน Icy นะครับ ข้อมูลจากสื่อก็ยืนยันว่าเรือฟรีเกตสมรรถนะสูงชุดแรกนี้ไม่ใช่เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศดังความต้องการเดิม แต่กลายเป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ เพราะเรามีจุดโหว่ช่องใหญ่ที่นี่ นอกจากนี้ก็มาจากการที่อเมริกันอาจจะไม่ขาย SM-2 ให้อีกด้วย เรือชุดนี้จึงมาแทนเรือชั้น Knox ทั้งสองลำที่เก่าแก่มากแล้ว และเรือเองก็ต้องทำหน้าที่เป็นเรือฉากให้จักกรีที่ตอนนี้แปรตัวเองกลายเป็นเรือบรรทุกบ.ปราบเรือดำน้ำไปเต็มตัวแล้ว จึงต้องใช้ระบบสื่อสารและตรวจจับแบบเดียวกันทั้งกองเรือ ถือว่าลงทุนตรงจุดที่กำลังมีปัญหาครับ สรุป เป็นเรือเยอรมัน ระบบตรวจจับและระบบอำนวยการรบสวีเดนและระบบอาวุธเป็นของอเมริกา น่าจะได้มา 16 cell กับ ASROC คงมีทั้งโซน่าร์ลากท้ายและโซน่าร์ข้างลำตัวเรือชั้นดี(หวังเอาไว้)
แต่เรือของมาเลย์ที่เพิ่งสั่งต่อไป 2 ลำแรกก็น่าจะเริ่มรับมอบได้ในเวลาไล่เลี่ยกันกับเรือชุดนี้ของเรา แล้ว 4 ลำที่เหลือต่อเองในประเทศทะยอยเข้าประจำการให้ทันปี 2020 ทางเขาจะมีกองเรือฟรีเกต 8 ลำ 2 ลำเป็นเรืออเนกประสงค์ 6 ลำเป็นฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ
ถ้าโครงการเราได้ที่เรือ 2 ลำนี้มาปี 2016 เราจะมีเรือฟรีเกตมาตรฐานชั้นเจียงหูอับเกรดแล้ว 2 เรือฟรีเกตอเนกประสงค์ 2 เรือฟรีเกตป้องกันต่อต้านเรือดำน้ำ 2 ส่วนเรือเจียงหูที่ไม่ได้อับเกรดขอลดชั้นไม่มานับรวม เพราะสู้ไม่ไหวจริงๆ เราจะมีเรือฟรีเกตชั้นดี 6 ลำเท่านั้น พร้อมเรือบรรทุกบ.ปราบเรือดำน้ำ
ยังขาดเรือดำน้ำและฟรีเกตชั้นดีอีก 2 ลำ ส่วน OPV ในเวลาอันใกล้นี้ ทร.น่าจะได้งบนะครับ 3 ลำประมาณ 1 หมื่นล้าน แต่เรือบรรทุกบ.จักรีก็อาจจะจัดหา Harrier plus 2 มือสองจากอเมริกาได้ในราคาไม่แพง ซึ่งมีอำนาจการยิงสูงกว่าเรือรบอยู่เอาเรื่อง
ตกลงเรือชั้นเจียงหูที่ปรุบปรุง 2 ลำ ไม่รู้ว่ามีลุ้นได้ FM-90 มาใช้หรือเปล่า แต่ถ้าทร.งบลื่นไหลอย่างหวัง ก็คงจะได้มั๊งครับ
รูป Sigma seahawk 30m naval gun จาก MSI และ FM-90
กลัวจริงๆครับว่าก่อนปี 2020 ทางมาเลย์อาจจะทุ่มจัดหาแมงป่องทะเลอีก 2 ลำที่เหลือให้ครบตามความต้องการ ซึ่งเราจะต้องทุ่มงบจัดหาตามหลังนี่สิครับ ลำบาก
ยังไงถ้าทางสะดวกปั๊บไม่ต้องเกรงใจใครอีกคงได้เรือดำน้ำทันที แต่คงต้องจัดหาชุดใหญ่ครบทั้งกองเรือเพื่อตามให้ทัน เป็นเป้าให้สื่อโจมตีมันแน่ๆ แล้วยังต้องเรือฟรีเกตชั้นดีอีก 2 ลำเพื่อให้ทัดเทียม หรือไม่ก็ต้องไปจัดหา harrier มือสองเพื่อเพิ่มอำนาจการยิงให้กองเรือบรรทุกบ.
ในส่วนทอ มาเลย์ยังคงเป็นรองเราอยู่
SU-30 MKM VS Jas-39 + saab 340 (ขาดอยู่ 6 เครื่อง)
F-5E/F VS F-5T มีโปรแกรมอับเกรดให้ติดตั้งเรด้าร์ได้ น่าจะเป็น EL/M 2032 เพราะระบบอิสราเอลทั้งชุด ยิง BVR ได้แน่ เรื่องนี้ทางมาเลย์ต้องขยับ
MIG-29 VS F-16 ADF ประสิทธิภาพสูสี แต่เราพร้อมรบกว่า
F-18(มีแค่ 8) VS F-16 block15 upgrade ให้ใกล้เคียง F-16 block 50/52 (มี 18)
............ VS F-16 ไม่ได้อับเกรด ฝูง 103
Hawk 100 series (เหลือกี่เครื่องแล้ว....ตกถึ่จัด) VS L-39 (เกือบ 40)
ถือว่ากำลังทางอากาศยังเป็นต่ออยู่ครับ มิน่าถึงจัดเรือต่อต้านเรือดำน้ำก่อนทันทีที่ได้เงิน ถ้าไม่ถูกขวางเรื่องเรือดำน้ำ เงินขนาด 30,000 ล้านนี่ไปจัดหาเรือดำน้ำ type 209/1400 AIP หรือ type 210 mod + AIP ได้ 2 ลำให้สิ้นเรื่องสิ้นราวไปเลย จะได้เบาใจขึ้น ทำไมจะต้องไปจัดหาเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำให้มันวุ่นวายแทนเล่าในเมื่อได้เงินแล้ว
ส่วนทบ.ของทั้งสองชาตินั้น เราเป็นต่อหลายขุมครับ และงบของทบ.ไทยก็ลื่นไหลมาโดยตลอดไม่ติดขัด
ถ้าต้องฟัดกัน หลังปี 2020 เรากะเขาจะมีกำลังทางทะเลต่ำกว่าหรือใกล้เคียงกัน ต่ำกว่ากรณีไม่ได้เรือดำน้ำ และใกล้เคียงกันในกรณีได้เรือดำน้ำมาด้วยจำนวนที่เท่ากัน
ปัญหาเรื่องการควบคุมเส้นทางเดินเรือถ้าถูกปิดช่องแคบมะละกา เราจะไม่กระทบเพราะรัฐบาลทุ่มกับโครงการทวายเต็มสูบ เพิ่งผ่านงบเกือบ 49000 ล้านทำมอเตอร์เวย์กรุงเทพทวายเชื่อต่อระบบวงแหวนรอบกรุงเทพ ยิงตรงไปมายตะพุท และรัฐบาลตั้งบริษัท(จำชื่อไม่ได้) เพื่อรองรับกรณีที่ ITD ไม่สามารถดำเนินงานในนิคมทวายได้เนื่องจากขาดแคลนเงินทุน โดยรัฐจะถือเกิน 50% และ ITD น่าจะไม่เกิน 25% ส่วนที่เหลือน่าจะเป็นกลุ่มเอกชนอื่นๆ ทราบชื่อแล้ว แต่ไม่บอกดีกว่าเดี๋ยวกลายเป็นประเด็นการเมือง
ปัญหากลับอยู่ที่
บ่อน้ำมันทั้งหมด (รวมถึงบ่อเจ้าปัญหาที่เพิ่งจะเริ่มตกลงกันได้กับเขมร) จะจัดการอย่างไรถ้ากวาดกองเรือดำน้ำฝ่ายตรงข้ามออกไปจากพื้นที่ไม่ได้ บ่อเจ้าปัญหากับเขมรนี่ใหญ่ขนาดที่ว่าเราอาจไม่ต้องนำเข้าน้ำมันอีกเลย ซึ่งจะทำให้เราไม่ต้องพึ่งน้ำมันจากตะวันออกกลางจึงทำให้แรงกดดันที่มาเลย์ส่งมาที่เรานั้น ไร้น้ำหนักไปเลย แถมยังมีรายได้มหาศาลจากบ่อน้ำมันและโรงกลั่นที่จะสามารถเพิ่มมูลค่าอีกเกือบสิบเท่า (แค่ไม่ต้องนำเข้าน้ำมันก็ปีละ 1 ล้านล้านบาท ไม่นับมูลค่าที่เพิ่มขึ้นอีกเกือบ 10 เท่าเมื่อกลั่นเสร็จแล้ว เรื่องเงินสำหรับกองทัพหมดปัญหาทันที) ซึ่งจะทำให้เรากลับมาเป็นต่ออีกฝ่ายแบบที่เขาไม่สามารถจะตามเราทันได้อีกต่อไป แบบนี้เรื่องทางใต้ง่ายขึ้นมาก
บ่อน้ำมันนี่เป็นคีย์สำคัญในเกมส์การเมืองระหว่างประเทศดีลนี้ระหว่างเรากับมาเลย์จริงๆจะป้องกันมันอย่างไร
คุณ neosiamese2 ยังหวังแฮริเออร์อยู่เหรอครับเนี่ย คงไม่ได้ล่ะครับ ไม่เหลือแล่ว
คิดเหมือนคุณ Icyครับ แต่MEKO +9LVMk4 + Sea-giraffe ? +Smart-L +Ceros 200CWI
Smart-L สามารถติดตั้งบนเรือขนาด 5000 ตันขึ้นไปนะครับ สเปคเรือเราแค่ 2000-3000 หรือ 3000-4000 เอง คงติดได้แค่Smart-S
อีกประเด็นคือ เรือชุดนี้ เราต้องการเพื่ออุดช่องว่างภารกิจปราบเรือดำนำ้ น่าจะเน้นที่ระบบต่อต้า่นเรือดำนำ้ มากกว่า ระบบต่อต้านอากาศยานนะครับ คิดว่าน่าจะเป็นระบบเดียวกับANZACเกือบหมด
หากการจัดหากลายเป็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ ก็เท่ากับว่าทร.พอใจในการอินติเกตระบบป้องกันภัยทางอากาศร่วมกับทอ. และวางใจให้ทอ.เป็นผู้ดูแลกองเรือ เมือมองภาพรวมถือว่าทร.มองการตั้งรับเต็มกำลัง การรุกก็ต้องอยู่ภายในรัศมีรบของทอ.ซึ่งทำให้กำลังการรุกลดทอนลง และก็ติดปัญหาและก็จุดอ่อนอยู่ที่ทอ.ละครับว่าจะสามารถดูแลได้ตลอดหรือเปล่าเพราะมี JAS-39 แค่ 12 ลำ ดูจะเป็นภาระมากเกินไป หากต้องดูแลทั้งน่านฟ้ากับกองเรือ หากทอ.พลาดเท่ากับว่าทรต้องมีความเสี่ยงเพิ่ม ทบ.ก็ด้วย คงไม่ใครคนใดคนหนึ่ง(ทอ.กับทร.)ต้องจัดหาเครื่องบินรบเพิ่ม
มองๆแล้วดูเหมือนว่าเราต้องใช้งบอีกมากในการป้องกันเรือดำน้ำ ในขณะที่หากเราจัดซื้อเรือดำน้ำปัญหาเราจะหมดไปมากที่เดียว
ตกลงเราจะได้MEKO-D มีโอกาสจะได้ลุ้นไหมครับ
คุณกบครับ
ผมเคยเสนอความคิดเรื่อง เรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำไกลฝั่ง นี้ไปแล้วจำได้ไม๊ครับเมื่อสัก 2-3 ปีที่แล้ว สุดท้ายก็โดนโห่กลับมา
ผมต้องคุยตรงๆว่า มีหลายคนในบอร์ดที่จัดว่ามีความรู้เรื่องยุทโธปกรณ์เป็นอย่างดี แต่ไม่ยอมรับความจริงว่า บ้านเรามันจนงบของกองทัพเรือก็ได้ไม่มากนักเมื่อเทียบกับความรับผิดชอบ
ผมเคยแสดงความคิดเห็นไว้ว่า
เรือที่ติดโซน่าร์ค้นหาเรือดำน้ำกำลังจะหายไปจากทะเลไทยไปอีก 5 ลำ
- ร.ล.มกุฏราชกุมาร
- ร.ล.พระพุทธยอดฟ้า
- ร.ล.พระพุทธเลิศหล้า
- ร.ล.ตาปี
- ร.ล.คีรีรัฐ
กองทัพเรือควรต่อเรือตรวจการไกลฝั่ง ให้มีขีดความสามารถในการ ไล่ล่า ค้นหา ทำลาย เรือดำน้ำได้ โดยให้มีขีดความสามารถในการตรวจการณ์ และอำนาจการยิง เทียบเท่าเรือตรวจการปราบเรือดำน้ำชุด คำรณสินธุ
เครื่องบินอยากได้แบบ multirole ส่วนเรือต้องทำหน้าที่ได้เฉพาะตามชื่อที่เรียกเท่านั้น
อ้ออีกอย่างนึง อำนาจการยิงของเรือชุดคำรณสินธุ ไม่ธรรมดานะครับเมื่อเทียบกับน้ำหนักตัว เรียกว่า OPV ที่ต่อมาหลังๆนี่อายเลยละ
ถ้าคุณกบยังพอจำได้
น่าเสียดายมากๆ............ ถ้าเรือชุดใหม่ี้นี้ ต้องใช้เจ้าจรวด นกกระจอกทะเลวิวัฒน์ ควบคู่กับเรดาร์สามมิติพิสัยไกลธรรมดา........... มองว่า การลงทุนต่อเรือรบราคาสูงลิ่วสองลำเพื่อภารกิจปราบ ดอดำน้ำ ดูจะเป็นการลงทุนที่แพงมาก ในผลคุ้มค่าทางด้านความกว้างของมิติ...........
มองว่า เรือตัวใหม่ ควรใส่สูตรผุกไทป์ โดยต้องมองไปถึงระบบ เอไจ้ส์(กระแดะ เรียกตามหนังสือสงครามฉบับยี่สิบปีก่อน) เพื่อความเป็นกองทัพเรือแนวหน้าของภูมิภาค........................ ภัยคุกคามทางอกาศเป็นอุปสรรค์ของกองเรือ อันยังอยู่ในวิสัยการการรับมือด้วยอาวุธติดตั้งซึ่งมีความเป็นไปได้ เมื่อกองเรือบรรทุกฮ.ขยับ การคุ้มกันด้วยเรือเอไจส์สองลำ การันตีความปลอดภัยของกองเรือจากเือบนได้ในระดับที่ดี.......................ส่วนเรอ่งภัยเรือดอ มองว่า ต่อให้ต่อเรือปราบดอที่ว่าเจ๋งเพิ่มอีกสองลำ ก็ยังมองไม่เห็นความเชื่อถือที่จะปลงใจลงเอยฝากชีวิตไว้ได้..............
มีต่อ
ข้อที่คุณน่าคิดกังวล คนในทร.เองกังวลเช่นเดียวกันครับ ส่วนที่นโยบายเปลี่ยนจากเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ เพราะผู้ใหญ่หลายท่านในทร. เริ่มถอดใจกับโครงการเรือดำน้ำครับท่านกบ ถอดใจไม่ใช่เลิกคิดจัดหาครับ แต่เพราะคนนอกกองทัพต้องการให้ ทร.จัดหาเรือฟริเกตก่อนครับ โครงการเรือดำน้ำอย่างไรก็มา แต่หลังจบโครงการเรือฟริเกตก่อนครับ ขนาด เรือLPD ลำที่ 2 ยังต้องหลีกทางให้ก่อนเลยครับ ใหญ่ไม่ใหญ่ ให้รู้กันครับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมกล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กองทัพเรือจัดหาเรือฟริเกตสมรรถสูงเข้าประจำการว่า กองทัพเรือได้ขอจัดซื้อเรือฟริเกตแค่ 1 ลำ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ไม่ได้ซื้อ 2 ลำตามที่เป็นข่าว
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9550000115830
What the...........!!!
ซื้อมาลำนึงก่อน อีกลำค่อยตามมา? หรือข่าวสับสนอีกแล้ว ...........ยังไงกันหว่า
ท่านFatBoy ช่วยเช็คข่าวทีว่ามันมาทีละลำหรือมาแค่ลำเดียวเพียวๆโด่ๆ ?
ข่าวเพิ่มเติมครับ
รมว.กลาโหมแจงซื้อฟริเกตแค่ 1 ลำ 1.5 หมื่นล้าน ยันให้สิทธิ์ ทร.เลือกแบบ ปัดปลอบใจหลังแห้ว "เรือดำน้ำ"
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กองทัพเรือจัดหาเรือฟริเกตสมรรถสูง เข้าประจำการว่า กองทัพเรือได้ขอจัดซื้อเรือฟริเกต แค่ 1 ลำ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ไม่ได้ซื้อ 2 ลำ ตามที่เป็นข่าว ส่วนที่ต้องนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพราะวงเงินดังกล่าวต้องผูกพัน งบประมาณหลายปี เป็นไปตามกฎหมาย และเงินดังกล่าวเป็นเงินที่กองทัพเรือได้รับประจำปีของเขา ไม่ใช่เงินที่รัฐบาลให้พิเศษมา สำหรับเรือฟริเกต เป็นเรือขนาดใหญ่ประมาณ 4 พันตัน ที่กองทัพเรือมีความต้องการจึงได้มีการจัดซื้อ เป็นเรือที่ใหญ่ที่สุดที่กองทัพเรือมี ยกเว้นเรือจักรีนฤเบศร์ ทำการรบได้ 3 มิติ คือการต่อต้านอากาศยาน เรือรบผิวน้ำ และเรือใต้น้ำได้ ความจริงกองทัพเรือมีความต้องการหลายลำ แต่ปัจจุบันมีประจำการแล้ว 4 ลำ ซึ่งใน 4 ลำอายุ 30 กว่าปี 2 ลำ อีก 3 ปีก็จะปลดประจำการแล้ว ซึ่งจะเหลือแค่ 2 ลำ จึงได้ซื้อใหม่ 1 ลำ ทั้งนี้ เรือที่มีอยู่ 2 ลำ คือเรือนเรศวร และเรือตากสิน ซึ่งมีอายุ 17-18 ปีก็ต้องได้รับการปรับปรุงด้วย
รมว.กลาโหม ยังกล่าวถึงการล็อคสเปคซื้อจากประเทศจีนว่า เรื่องการเลือกแบบเป็นหน้าที่ของกองทัพเรือในการเลือก จะซื้อจากที่ไหนยังตอบไม่ได้ เพราะยังไม่ได้ใบเสร็จ ซึ่งทางกองทัพเรือต้องไปพิจารณาเองว่าเรือแบบไหนที่เหมาะกับเขาและอยู่ในวง เงินนี้ อย่างไรก็ตาม ขอยืนยันว่าการที่รัฐบาลอนุมัติโครงการนี้ไม่ได้ปลอบใจเพื่อทดแทนที่ไม่ได้ ซื้อเรือดำน้ำ เพราะตรงนี้เป็นเงินของกองทัพเรือเองที่มีอยู่แล้ว ซึ่งเรือดำน้ำยังหาไม่ได้ ก็ต้องซื้อเรือฟรีเกตไปก่อน สำหรับโครงการซื้อเรือดำน้ำจะมีต่อหรือไม่นั้น ทางกองทัพเรือก็ยังมีอยู่ แต่การหาเรือดำน้ำไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาที่จะหาเรือดำน้ำที่เหมาะสม
แค่เริ่มมาก็โดนแล้ว .......... ถูกตีข่าวและโดนนักวิชาการออกมาสับเช่นเดิม กะดองกองทัพเรือกันขนาดนี้เลยหรือ แทบจะรักษาผลประโยชน์ทางทะเลไม่ได้อยู่แล้วนะครับ ไม่มีน้ำมันส่งมาให้ ไม่มีบ่อน้ำมัน ตายกันทั้งประเทศนะครับ จะให้ทหารบกว่ายน้ำไปป้องกันแท่นขุดเจาะกับพื้นที่ทับซ้อนกับเขมรหรือ
จากข่าว ท่าจะออกมาเป็นเรือเยอรมันแหง๋ MEKO A-200 เพราะระวางขับน้ำตรงกัน
harrier 2+ รออเมริกันเลิกใช้ครับ ก็คงอีกไม่นานนักแล้ว เพราะ F-35B เริ่มทดสอบใกล้จบแล้ว เมื่อเดินสายการผลิตก็จะส่งมอบให้นย.อเมริกันทันที ซึ่งจะต้องปลด harrier 2+ ยกชุด นั่นหละครับ เราจะซื้อมาใช้ก็ตอนนั้น ยิง BVR ได้และติดตั้ง ฮาร์พูนได้ 4 นัดในภาระกิจโจมตี 8 ลำนี่เพียงพอเลยครับสำหรับอำนาจการยิงของกองเรือ ฟรีเกตมาเป็นหมู่เรือ 2-3 ลำนี่ก็รับมือ harrier 8 เครื่องลำบากมากแล้วครับ เพราะระยะยิง 150 กิโล เกินกว่าระบบป้องกันภัยทางอากาศของเรือฝ่ายตรงข้าม และสามารถแบ่งเบาภาระกิจป้องกันภัยให้ทางกองเรือของ Jas-39 ได้ระดับหนึ่งทีเดียว
ท่าน Icy ครับ ในส่วนที่ทราบ เราขอไป 2 ลำ ครับ กรณีข่าวข้างบน คาดว่าเพื่อลดกระแส 30,000ล้านครับ อย่างไรเสียต่อเรือ อย่างน้อย 2 - 3 ปี แต่ผ่านไปประชาชนหลายท่านคงลืมแล้วครับ ไม่ติดใจว่าพอรับมอบกลายเป็น 2 ลำ ** อนุมัติงบประมาณผูกพัน 2555 - 2559 **
ดูท่าทางทีมขวางทร.นี่ต้องการให้ทร.ไทยลดสภาพจากกองเรือทะเลลึก กลายเป็นกองเรือชายฝั่ง เพราะขวางโครงการเรือขนาดใหญ่และเืรือดำน้ำ ซึ่งสามารถใช้เป็นอาวุธเชิงรุกได้ ขวางและบีบรอให้เรือขนาดใหญ่ทยอยปลดประจำการโดยไม่มีเรือมาทดแทน ในขณะที่เพื่อนบ้าน ทุกชาติในอาเซี่ยน
ขยายกองเรือเป็นกองเรือทะเลลึกกันทั้งหมด ไม่รู้ว่าตกยุคไปถึงไหนจะรักษาอธิปไตยกันต่อไปไหวหรือแบบนี้ แค่ถูกเล่นที่น้ำมันและแหล่งน้ำมันทั้งหมด ก็ตายกันทั้งประเทศทีเดียวเลย
อ้อผมลืมไปอันหนึ่ง ทอ.มีฝูง Alpha jet อยู่อีกหนึ่งฝูง ดังนั้นกำลังทางอากาศยังต่างกันพอสมควร
แก้ ใส่สูตผูกไท้..............
จะเห็นว่าระบบตรวจจับเรือดำน้ำยังเชื่อถือได้ยาก ขนาดเรือดอจีน ยังโผล่กลางกองเรือบรรทุกเรือบินไอ้กันได้........ฉนั้นเรือเพียงสองลำคงไม่สามารถเิพิ่มดุลยภาได้สมน้ำสมเนื้อ............................ มองว่า การป้องกัภัยใต้น้ำ ควรฝากความหวังไว้กับการทำงานประสานกันระหว่างเรือและเครืองบิน........................การลงทนต่อเรือภารกิจปราบดอโดยเฉพาะ ราคาต้นทุนต่อหน่วยไม่ควรสูง............ควรเน้นไปที่จำนวนเพื่อเพิ่มมิติความกว้าง..............เรือขนาดสองพันห้าร้อยตัน มีโดมโซนาร์หัวเรือ ประสม โซนาร์ลากท้าย ติดแท่นยิงตอสองกราบ ที่สำคัญที่สุดคือ โรงและลาดจอด ฮ. ซุเปอร์ลิงซ์ ของสำคัญ อย่างน้อยต้องมีลำละหนึ่งตัว อาวุธหลัก ตอปราบดอ ร่วมกับ โซนาร์ชักหย่อน ...................... จำนวนเพียงพอรับมือ อย่างน้อยสักหกลำ................... ที่สำคัญเรือชุดนี้ ไม่ต้องเร็วแบบบ้ารห่ำ สัก ยีบสองถึงยีบห้าน็อต เกาะกองเรือไปกับชาวบ้านได้ (อย่างน้อยต้องเร็วได้เท่า จักรีนฤเบศร) ซึ่งถ้าเห็นความเร็วตามนี้ อู่ในไทยบอกของหมู .....ก็ในเมือเรือกระบี่ ระวางเกือบสองพันตันปล่อยลงน้ำแล้ว.................ต่อโอพีวีปราบดอ อีกสักหกลำไม่น่าเกินวิสัย................ก็ในมื่อเป็นโอพีวีกลายพันธุ์ อาวุธไม่จำเป็ต้องดุ อาศัยใหญ่เข้าว่า (ใหญ่กลวง) ปืนเรือสามนิ้วยิงเร็วหนึ่งกระบอก ฟาแลงซ์หนึ่งระบบ ตอปิโด เท่านี้ก็พอแล้ว................ เรดาร์ตรวจทางอากาศอีกหน่อย โซน่า์ตามเสป็ค จอดเก็บฮ.ได้..........แค่นี้ศักยภาพปราบดอก็ก้าวไกลไปโข
ไม่มีใครขวางทร.ครับ ท่าน Neosiamese2 เพียงแต่ ทร.ขยับช้าๆแบบนี้เสมอครับ ใช้ชีวิตอยู่กับน้ำ ใจเย็นครับ ค่อยๆขยับ อย่างกรมทหารราบที่ 2 นาวิกโยธิน เรารอมาหลายปี ปลายปีที่แล้วพึ่งได้อนุมัติ เราก็รอได้ครับ หรือกรณีกองพันรถถัง นาวิกโยธิน จัดตั้งมาเป็นเกิน 10 ปี ปัจจุบันแม้เราไม่สามารถจัดหารถถังให้ครบอัตราได้ ทร.ใช่นิ่งนอนใจ ในเมื่อเราควบคุมตัวแปรนอกกองทัพเรือไม่ได้ เราปรับกันเองในทร. จากอัตรา 3 กองร้อยรถถัง ปัจจุบันเราเหลือเพียง 1 กองร้อยรถถัง ( T-69II ) 1 กองร้อยยานเกราะ ( V-150 และ BTR-3E1 ) และ 1 กองร้อยต่อสู้รถถัง ( ฮัมวี่ ติด TOW ) ครับ
ตามรูปคับ
งานนี้ ความเห็ฯผมว่า ถ้าอยากลดกระแส ต้องให้ นายกฯ ปู...ชี้แจง ครับ...ถึง ความจำเป็น แล้วทุกอย่างจะเคลียร์...(แต่ต้อง อธิบายให้เข้าใจนะครับ จะช่วยสร้างน้ำหนักในการจัดหาของ กองทัพเรือ ในอนาคต ได้อย่างดีครับ)
เพราะ รมว.กลาโหม คือ หัวหน้าส่วนรับผิดชอบ...การอธิบาย อย่างไร ก็คือ หน่วยงานที่ขออนุมัติงบ...กระแสต่อต้าน มันก็จะเหมือนเดิมครับ...
และ อธิบายเพิ่มเติม ในแง่ งบประมาณด้วยนะครับว่า...การอนุมัติใน หลักการ จำนวน 2 ลำ มูลค่า 30,000 ล้านบาท นี้ ไม่ได้หมายความว่า...จะมีการชำระเงินในครั้งเดียว หรือ ชำระทั้งหมดภายใน 1 หรือ 2 ปี...มันต้องใช้ระยะเวลาจัดหา ไม่ต่ำกว่า 5 - 8 ปี...ซึ่งงบประมาณมันจะทะยอยการชำระ...สอดคล้องกับอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่รัฐบาล วางเป้าหมายการเติบโตเอาไว้...
2555-2561 ก็ประมาณ 6 ปี กับเรือฟรีเกต 2 ลำ 30,000 ล้าน แบบทยอยจ่ายก็ยังพอรับได้ครับ เพราะมองในแง่ดี ใน 6 ปีนี้อย่างน้อย ทร. ก็ยังต้องเผื่องบประมาณไว้จัดซื้ออาวุธอย่างอื่นด้วย เช่น อากาศยานแบบต่างๆ , เรือ OPV , เรือดำน้ำฝึก(หวังลึกๆ) , รถถังยานเกราะ , ปรับปรุงอาวุธที่ชำรุด ฯลฯ รวมๆปีๆนึงต้องใช้งบประมาณอีกเกือบหมื่นล้านต่อปี ดังนั้นมีความก้าวหน้าบ้างก็ยังดีกว่าไม่ได้อะไรเลย ครับ สรุปต้องมองหลายๆมิติ ครับ
ส่วนเรื่องมีเรือรอปลดประจำการหลายลำ แน่นอนคงจัดหาทดแทนไม่ทันแน่ ที่พอทำได้คือยืดอายุการใช้งานออกไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งผมมองว่าน่าจะพอทำได้ และยังคงสภาพความพร้อมรบอยู่ได้ในระดับที่มันเคยเป็นอยู่ ครับ
ถ้ายังไม่คำอธิบายที่ชัดเจนแจกแจงรายละเอียดถึงการใช้งบประมาณครั้งนี้ผมว่าลางแห้วเริ่มมาล่ะครับ..เพราะนักวิช่าการวิชาเกินทั้งหลายจะออกมาถล่มแน่นอนเพราะว่านักวิชาการหลายกลุ่มที่อยู่ตรงข้ามกับทหาร พวกเขาเหล่านี้ไม่มองภัยคุกคามหรอกเขาจะมองแค่ว่าเงินมากขนาดนี้เอามาให้คนจนดีกว่า มันก็จริงว่าเงินมันมากเอามาให้คนจนแต่อย่าลืมว่ามันก็มีงบประมาณอีกหลายส่วนที่สามารถทำได้อยู่แล้ว พวกนักวิชาการเหล่านี้ส่วนมากจะเป็นพวกที่เคยอยู่ในป่าหรือเกลียดกองทัพเข้าใส้ อะไรก็แล้วแต่ขอให้ได้ขวาง ก็อยากถามนักวิชาการเหล่านี้เหมือนกันว่า....พวกคุณเคยทำประกันภัยรถยนต์ไหมหรือ ทำประกันสุขภาพ หรือทำประกันชีวิตไหม ซื้อประกันก็มีส่วนควบอีกมากมาย ทั้งค่ารักษา ค่าห้อง ค่าอาหาร หรือแบบพิเศษค่าเสียรายได้ต่อวัน แน่นอนมันย่อมแพงเป็นธรรมดา...อะไรก็ตามที่เป็นสิ่งที่กล่าวมามันก็เหมือนอาวุธถ้าเวลาจะใช้ไม่มีหรือมีไม่เพียงพอกับภัยคุกคามหรือมีแต่ของที่ประจำการมานานแล้ว พอเกิดเหตุขึ้นถึงจะวิ่งไปซื้อคงไม่มีใครเขาขายให้หรือขายให้กว่าอาวุธจะมาก็เหลือแต่ความย่อยยับ หรืออีกแบบมาเกิดเหตุการณ์ขึ้นทหารเราสู้ไม่ได้ก็ด่าทหารอีกว่าอาวุธก็เก่าตั้งแต่สงครามโลก ไม่รู้จักซื้อของใหม่ๆ พอจะซื้อก็ออกมาด่า เลยตกลงว่าพวกเขาเหล่านั้นจะเอายังไงกันแน่...และอีกอย่างสื่อมวลชนบ้านเรามีความด้านอาวุธขั้นเทพทุกสำนัก
......ยังก็ขอให้ได้มาจริงเถอะเพราะเราตามหลังเพื่อนบ้านเขาจนแทบจะตามเขาไม่ทันแล้ว อย่ามองแค่ว่าเดี๋ยวก็เป็น AEC แล้ว ถึงแม้เป็น AEC ก็ไม่ได้หมายความว่ากองจะไม่ต้องมีหรือมีแค่ไหนก็อยู่แค่นั้น เพราะอำนาจต่อรองมันไม่ได้อยู่ที่เงินหรือเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว ต่อให้มีทุนมากแค่ไหนกองทัพอ่อนแอก็ไม่มีใครหน้าไหนเขาจะเกรงใจหรอก
.....เรื่องเรือถ้าจะออกที่ของเยอรมันก้ดีไม่ใช่น้อยอย่าเป็นตลกร้ายหักมุมตอนท้ายเอาเรือจีนอีกล่ะ เคยพูดไว้แล้วจะซื้ออาวุธต้องซื้อจากประเทศที่มอิทธิพลในภูมิภาคไม่มากโดยฉะเพาะอาวุธหลักส่วนอาวุรองก็ตามความเหมาะสม
ท่าน neosiamese2
MEKO D มี 3 ขนาด ครับ...
Meko D :
* Length O/A : 116 meters
* Displacement : 3,500 metric tons
* Crew : 78 (+15)
* Speed : 28+ knots
* Range : 4,000 NM @ 16 knots
Meko D 500 :
* Length O/A : 134.30 meters
* Displacement : 5,000 metric tons
* Crew : 125
* Speed : 31 knots
* Range : 4,000 NM @ 18 knots
Meko D 600 :
* Length O/A : 141.40 meters
* Displacement : 6,500 metric tons
* Crew : 190
* Speed : 29+ knots
* Range : 5,500 NM @ 16 knots
อาจจะรุ่น D เฉย ๆ ระวางประมาณ 3500 ตัน
รุ่น D-500,D-600 ระหว่าง 5000 - 6000 ตัน
DSME DW300H frigates (all photos : 7seas)
The cabinet yesterday approved a navy proposal to buy two top-class frigates costing around 30 billion baht within the next five years.
According to a source, the navy has turned to frigates following the governments rejection of its preferred option to purchase submarines from Germany. The navy has yet to choose a supplier.
It favours frigates from European shipyards which have good track records of building such top-quality frigates, the source said.
Builders in Germany and Spain are tipped to win the contract to supply the warships for the navy, he added.
However, senior naval officers are concerned that some politicians might try to push for the purchase of Chinese-made frigates.
The navy currently has two frigate flotillas that are capable of launching surface-to-surface missiles. They are all equipped with helipads.
Frigates can defend national waters, operate with fast attack craft, battle other surface vessels, defend against aircraft, as well as protect other vessels and combat submarines.
The navy also intends to keep the frigate, HTMS Naresuan, in service. The cabinet yesterday allowed the navy to borrow 3.29 billion baht from 2012 to 2014 to pay for a refit and to modernise its computer systems which will allow the vessel to link up with the information systems used by the air forces Gripen jet fighters.
The cost of the work will come to 495 million baht this fiscal year, 1.33 billion baht in fiscal year 2013 and 1.46 billion baht in fiscal year 2014.
The cabinet also approved yesterday a request by the army for permission to borrow 2.82 billion baht to buy helicopters. This will take place through to the 2014 fiscal year.
http://www.bangkokpost.com/news/local/312979/cabinet-okays-frigate-buy
South Korea’s DSME Unveils New Frigate Proposal for Thai Navy
Principal dimensions of the DW 3000H are a length of 114 meters, a beam of 13.8 meters, a depth of 8.2 meters, a draft of 3.9 meters, and a displacement of 3,000 tons.
The frigate’s propulsion system is a combined diesel and diesel arrangement driving two controllable pitch propellers for a top speed of 28 knots. To improve seakeeping characteristics, the hull has a pair of adjustable fin stabilizers and two pairs of bilge keels (strakes running along the length of the hull).
In common with other contemporary warship designs, the DW 3000H features an integrated mast – Thales’ I-Mast 500 most likely fitted with ESSM (Evolved Sea Sparrow Missile) uplink/control capability. Fire-control equipment includes a forward-facing gunfire-control director – a Thales Sting – atop the bridgehouse and a rear-facing Thales MIRADOR electro-optical director atop the helicopter hangar.
The DW 3000H is to be multirole frigate with a focus on anti-submarine warfare (ASW). Primary weapon systems are a single Oto Melara 76 mm gun in a stealth turret, an eight-cell vertical launch system for surface-to-air missiles – very likely the ESSM, eight surface-to-surface missiles – most likely American-built Harpoons or the equivalent Korean-built SSM-700K in two quad launchers located amidships, two 30 mm MSI DS30 guns fitted atop the hangar deck and a Phalanx close-in weapon system that is mounted one deck higher. A pair of decoy launchers is also fitted.
The ASW suite comprises two triple-torpedo tubes in enclosed recesses on the main deck level as well as what appear to be two anti-torpedo decoy launchers mounted atop the hangar deck. A hull-mounted sonar is fitted in a retractable sonar dome, though it is not clear if a towed array system is fitted.
The frigate can accommodate one helicopter in the hangar. The display model shows a Lynx helicopter.
Stealthy features include an enclosed foredeck, enclosed boat decks on either side of the superstructure, and enclosed bridge wings that extend from the slab-sided superstructure, as well as funnels that are shielded by the superstructure in profile.
There are indications that if the Thai government decides to move ahead with the frigate acquisition, the Thai Navy’s long-standing and, oft delayed, submarine plans may not be adversely affected.
http://www.defensemedianetwork.com/stories/south-korea%E2%80%99s-dsme-unveils-new-frigate-proposal-for-thai-navy/
MEKO A-200
Meko D-100 (photo : KLSR)
หวยจะออกอะไร อย่าบอกนะออกสาวเกาหลี -*-
ผมว่า .. มีพลิก...สิ่งที่คิด...มักจะไม่ได้ช่วงนี้..
สมมุติ ถ้า ทร. ได้ MEKO D 600 มาจะเป็นยังไงเนี้ย
แต่คงยาก เพราะมันตั้ง 5,000 ตัน แนะ
ขอบคุณมากครับป๋าจูล ....... ท่าทางผมจะอ่อนเรื่องการไปไล่อ่านเก็บหาข้อมมูลไปหน่อยแล้ว 5555 อ่อนซ้อม ระบบอาวุธเปลี่ยนแปลงเร็วจริง ผมจำได้แค่ว่า F-125 ของทร.เยอรมันนั้นใช้แผนแบบ MEKO-D มาปรับเอานิดหน่อยซึ่งระวางสูงตั้ง 6000 กว่าตัน ถ้าป๋าไม่แจงให้ฟังไม่ทราบเลยว่าทางอู่เยอรมันเขาแตกรุ่นย่อยลงมาให้ลูกค้าเลือกใช้ เทคโนโลยีและการแข่งขันด้านนี้นี่ดุเดือดและรวดเร็วจริงๆ
ส่วนราคา FREMM ผมจำได้จากคราวทร.มาเลย์จัดหาเรือฟรีเกตชุด 6 ลำนี้ ราคาเมื่อแปลงจากยูโรเป็นดอล์และจากดอลเป็นบาท ได้ราว 480 ล้านดอล แต่ต้องเป็นรุ่นที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลและระบบต่างๆลดเกรดลง แต่รุ่นครลเครื่องนี้ใช้ได้เลยครับ สามารถยิง ASTER 15/30 ได้ แต่ระวางสูงไปหน่อย
มีระบบอีกอันสำหรับการป้องกันภัยทางอากาศ รู้สึกจะเป็นของอิสราเอล จะมีเรด้าร์คล้ายๆ I-MAST -500 และ SPY-1K ด้วย และรู้สึกว่าใช้ Barak-8 เป็นอาวุธนำวิถีหลีก ซึ่งจะมีรุ่น MR-SAM กับ LR-SAM ที่ให้ระยะยิง 70 กับ 120 กิโลเมตรด้วย แต่ระบบเรด้าร์และระบบอำนวยการรบจำไม่ได้แล้วต้องไปค้นหามาใหม่ครับ
ยินดีกับหน่วยงานที่ได้งบสำหรับการจัดหาเรือใหม่ด้วยนะครับท่าน Fatboy ไม่ค่อยเจอใน TFC เลยนะครับ แต่มักจะเจอท่านบ่อยๆใน TAF ยังไงผมก็กองเชียร์ทร.เสมอมาครับ
ผมเห็นด้วยกับท่านกบที่ว่าระบบตรวจจับเรือดำน้ำในปัจจุบันยังมีจุดบอดพอสมควรครับ ขนาดอเมริกาที่ว่ามีระบบตรวจจับเจ๋งที่สุดแล้วยังหลุดหลายครั้ง ทั้ง A-17 ทั้ง collin ที่ว่าเสียงดังแล้วนะสำหรับเรือดีเซล และแม้แต่ Song ที่ว่าห่วย ก็ยังฝ่าด่านเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เรือ AEGIS เข้าจ่อตูดเรือบรรทุกบ.นิวเคลียร์ได้ ถ้าเป็นช่วงสงครามก็จมไปแล้ว
ดังนั้นการจะจัดการเรือดำน้ำ AIP ล่าสุดได้ก็ต้องเรือดำน้ำ AIP ด้วยกันแหล่ครับน่าจะชัวร์ แต่ทำไงได้ครับ เรือดำน้ำมันยังมาไม่ได้ เงินขนาดนี้ได้ AIP สองลำ หรือ type 209 เกาหลี 3 ลำใหม่เอี่ยมแล้วไปอับเกรดทีหลังเมื่อเกาหลีพัฒนา AIP แล้วเสร็จ
ดูจากราคาเรือฟรีเกตแล้ว ระบบต่อต้านเรือดำน้ำน่าจะขั้นเทพสุดแล้ว เพราะระบต่อต้านอากาศยานอ่อนไปสำหรับราคานี้ แต่ตอนนี้ทำไงได้ครับไม่มีเรือดำน้ำ แต่นี่บ่งบอกได้ว่าทร.ต้องการเรือดำน้ำอย่างเร่งด่วนที่สุดเพื่อรับมือภัยคุกคามจากกองเรือดำน้ำเพื่อนบ้าน เรือชั้น MEKO=D และ MEKO A-200 สามารถอับไปติดตั้งระบบต่อต้านอากาศยานแบบ LR-SAM และระบบอำนวยการรบรวมการทีหลังได้ครับ
ส่วนแนวคิดจัดหาเรือ OPV สำหรับการต่อต้านเรือดำน้ำ ตอนนี้น่าสนใจมากจนถึงมากที่สุดแล้วครับอย่างที่ท่านว่า เพราะภัยคุกคามด้านนี้น่ากลัวจริงๆ แม้แต่ว่าเรือแมงป่องทะเลอยู่ในน่านน้ำของมาเลย์ แล้วให้อากาศยานชี้เป้า ยิง จรวดเข้าโจมตีแท่นขุดเจาะได้เลยโดยตรง แท่นขุดเจาะของเราก็ดันไปอยู่ใกล้เขตของมาเลย์อีกด้วยสินั่น
ตอนแรกที่ไม่เห็นด้วยกับท่านน่าคิดเพราะคิดว่าตอนนั้นคิดว่าทร.น่าจะได้เรือดำน้ำแน่นอน เพราะเพื่อนบ้านลงนามจัดหามาแล้ว และขณะเดียวกันทั้งมาเลย์และเวียตนาม โดยเฉพาะเวียตนาม ทุ่มกำลังจัดหาเครื่องบินรบจำนวนมาก จึงเห็นว่าภัยคุกคามจากฝูงบินรบน่ากลัวกว่า จึงพยายามเน้นเสนอแนวคิดขีดความสามารถในด้านอากาศนาวีและขีดความสามารถของทอ.เป็นหลัก เพราะเรือบรรทุกบ.มันคือ สนามบินเคลื่อนที่ เรือฉากในการป้องกันภัยทางอากาศจึงมีความสำคัญในระบบป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นๆ และแค่ harrier 2+ หรือ Gr7-9 ก็สามารถทำลายกองเรือฟรีเกตที่ไม่ได้มีการคุ้มหัวจากฝูงบินรบได้ง่ายๆแล้ว ถ้าควบคุมฟ้าได้ อะไรก็ง่าย
นอกจากนี้โครงการทางอุตสาหกรรมสำคัญๆมากๆและบ่อน้ำมันที่เพิ่งค้นพบ มันบ่งบอกว่าแนวโน้มที่ประเทศเราจะก่อร่างสร้างตัวให้มั่งคั่งร่ำรวยได้มันอยู่ไม่ไกล
แต่พอการเมืองมีการชิงอำนาจกันดุเดือดขึ้นทุกวัน และโครงการเรือดำน้ำเป๊กอีกแล้ว (หลายครั้งติดๆกันแล้ว) ก็ต้องยอมรับว่ามันเกิดอะไรขึ้นฟร๊ะ ...... กลายเป็นหนทางเดินที่กำลังไปได้สวยสะดุดกระทันหัน ใครจะไปนึกว่าคนไทยกันเองจะฟาดปากกันรุนแรงขนาดนี้ครับ
ถ้าจะรอให้หยุดฟาดปากกันแล้วค่อยซื้อเรือดำน้ำคงต้องรออีกนานนะครับ ถ้าจะซื้อก็ช่วงนี้แหละครับเสียงมากสุด ดูงบแล้วงบไม่ใช่ปัญหาเงินขนาดนี้ซื้อเรือดำน้ำได้สบาย แต่ทำไมไม่ซื้อ ไม่มีคำตอบ
คุณ neosiamese2 มาเลย์สั่งซื้อเรือ Fremm ด้วยเหรอครับ ผมยังไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย
หากทร.เลือกเรือเยอรมัน กลัวว่าจะมีปัญหาครับ " งบประมาณมี เรือดี แต่ติดปัญหาทางเทคนิค " แล้วจะไปลงที่ เรือเกาหลี + Saab ครับ
ระบบ Barak ของอิสราเอล แม้พี่ยิวจะปฎิเสธว่า ไม่ได้เปิดระบบไว้ตอนถูกฮิซบุลลอฮ โจมตีเรือ Hanit แต่จากกรณีดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าระบบดังกล่าว มีประสิทธิภาพจริงหรือไม่ ทร. ไม่ควรเอามาเป้นลิสต์ครับ ดู aster หรือ SM ต่อไป
ไม่ใช่ครับ มาเลย์ซื้อ Gowind 6 ลำ แต่ตอนมาเลย์ซื้อเรือชั้นนี้ 6 ลำ ผมไปดูตารางราคาเปรียบราคาเรือแบบแต่งๆ พบว่ามีราคาเรือแบบ FREMM แสดงอยู่ด้วย 2-3 รุ่น และหนึ่งในนั้นมีราคา FREMM ที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลด้วย
ผมเขียนรีบส่งเกินไปเพราะกลัวว่าเวลาส่ง connect หลุดทุกทีแล้วที่พิมพ์มาทั้งหมดหาย เสียเวลามาก เลยทำให้เขียนสื่อความหมายไม่ดีพอครับ
ผ่านไปแค่2-3วัน กระแสสังคมตีกลับมาจนรมต.ต้องออกมาแก้ข่าวว่าซื้อแค่1ลำ ทร.มักจะทำอะไรช้าเสมอๆ สมัยเรือดำน้ำก็รอบนึงแล้ว
การออกมาประชาสัมพันธ์และให้ข่าวที่ถูกต้องกับสื่อมวลชน จะช่วยเรื่องนี้ได้อย่างมหาศาล ผ่านมา2-3วัน ก็ยังไม่เห็นคนกองทัพเรือออกมาทำอะไร ถ้าพลาดไปได้แค่ลำเดียวหรือโนลดงบเหลือลำหละ1หมื่นล้าน ไม่ใช่ความผิดใครหรอกครับนอกจากกองทัพเรือ
ถึงตอนนั้นมานั่งตีอกชกหัวร้องให้ออกสื่อก็ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว จะทำอะไรต้องเริ่มจากนาทีนี้ ทุกคนก็คงต้องช่วยกันนะครับ
อย่างที่ผมบอก นี่ไม่ใช่การการโบชัวร์แล้วเลือกชบอปปิ้ง จะเอาอันนั้นเอาอันนี้ มันเป็นอะไรที่มากกว่านั้น แล้วเรื่องที่เรือลำนี้เป็นแค่เรือฟริเกตุปราบเรือดำน้ำ ไม่ใช่เรือฟริเกตุต่อสู้อากาศยาน ถ้าสื่อจับมาเล่นข่าวหรือมันปูดออกไปยังโลกไซเบอร์ งานนี้ทร.ลำบากมากนะครับ
อย่างน้อยมีaster30กับเรดาร์มินิทันสมัยเป็นตัวชูโรงก็พอจะอธิบายคนทั่วไปไหว คนทั่วไปไม่รู้หรอกว่าเรือฟริเกตุปราบเรือดำน้ำมันจะปราบยังไง ผมเองก็ยังนึกไม่ออกเลย มันเป็นเรื่องที่ยากจะอธิบายและยากจะทำได้จริง สมัยนี้เรือดำน้ำแค่หาให้เจอก็ยากแล้ว แต่ถ้าเรือฟริเกตุต่อสู้อากาศยานหนะใครๆก็เข้าใจ บอกเอามาป้องกันน่านฟ้าอ่าวไทยแค่นี้ยังไงก็ผ่าน
เข้าใจว่าผู้ใหญ่มนกองทัพคิดดีแล้ว แต่คิดใหม่อีกรอบได้นะครับ จำตัวอย่างในอดีตสมัยเรือดำน้ำมาคิดทบทวนเยอะๆนะครับ ทำอะไรต้องระเอียดรอบคอบและมีการสื่อสารอย่างถูกต้องกับสื่อ ที่สำคัญอย่าชักช้า
ไม่ใช่แค่เลือกของนะครับงานนี้
ท่าน superboy มีมุมมองที่นึกไม่ถึงจริงๆครับ มุมนี้คนที่ไม่มีความรู้ด้านการทหาร โดยเฉพาะสื่อมวลชน นี่อันตรายจริงๆ เพราะมองภาพไม่ออก ข่าวสงครามที่เห็นในโทรทัศน์ คนทั่วไปมักจะเห็นอำนาจการโจมตีจากเครื่องบินรบเป็นหลักที่ทำให้คนทั่วๆไปเข้าใจว่าเครื่องบินรบน่ากลัวที่สุด แต่จริงๆไม่ใช่แค่เครื่องบินรบเท่านั้น เรือดำน้ำน่ากลัวไม่แพ้กัน
ทร.ควรจะชี้แจงจริงๆจังๆแล้วครับว่าขีดความสามารถของเรือดำน้ำน่ากลัวขนาดไหน ทำไมต้องเป็นเรือต่อต้านเรือดำน้ำ ไม่งั้นโดนจวกยับแน่ๆครับ
ที่ลานหน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เชิงสะพานพระราม 8 ธนบุรี วันที่ 21ก.ย.2555 พล.ร.อ.สุระศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ให้สัมภาษณ์กรณีที่ครม.มีมติอนุมัติให้กองทัพเรือจัดซื้อเรือฟริเกตว่า การจัดหายุทโธปกรณ์อยู่ในแผนยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ในห้วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมายุทธศาสตร์ของกองทัพเรือคือ การปรับปรุงเรือเก่าเพื่อใช้งานอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนหนึ่งก็จะมีเรือที่ปลดประจำการเราก็จำเป็นต้องจัดหาเรือมาทดแทน ส่วนเรือฟริเกตเราก็ต้องจัดหาเพื่อนำมาใช้งานในการดูแลผลประโยชน์ของประเทศ ชาติ จำนวน 2 ลำ โดยจะจัดหาทีละลำห่างกัน 2 ปี โดยทั้งหมดใช้งบประมาณของกองทัพเรือ โดยเรือฟริเกตจะมีขนาด 2,000-3,500 ตัน ซึ่งมีสรรถนะรบ 3 มิติ ทั้งภัยทางอากาศ ภัยผิวน้ำและภัยใต้น้ำ โดยเฉพาะอาวุธตรวจจับที่ปฏิบัติการภัยคุกคามใต้น้ำ ทั้งนี้โครงการจัดซื้อเรือดำเนินและเรือฟริเกตถือเป็นแผนยุทธศาสตร์ของกอง ทัพเรืออยู่แล้ว เราสามารถหยิบอะไรมาจัดซื้อจัดหาได้ก่อนหลังได้ตามความจำเป็น
พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการเรือดำน้ำก็มีความจำเป็น โดยเฉพาะการฝึกของกำลังพลให้ทันสมัยพร้อมกับเทคโนโลยี และการปฎิบัติการให้ครบสาขาอาชีพ ทั้งนี้เรื่องการฝึกคนและเครื่องมือที่มีอยู่ก็มีความจำเป็น ซึ่งเรือฟริเกตนั้นเป็นเรือรบ 3 มิติ ซึ่งมิติการปฎิบัติการใต้น้ำกำลังพลต้องมีความรู้ โดยจะต้องผสมผสานกันไม่ได้เลือกอันใดอันหนึ่ง ซึ่งขณะนี้มีหลายประเทศที่เราสนใจโดยมีคณะกรรมการพิจารณา โดยมี พล.ร.ท.จักรชัย ภู่เจริญยศ รองเสนาธิการทหารเรือ เป็นประธาน และทางกองทัพเรือจะเป็นผู้กำหนดความต้องการ หากบริษัทไหนเสนอความต้องการของเราก็เสนอมาตามงบประมาณที่มีอยู่ โดยเอาความต้องการของกองทัพเรือเป็นที่ตั้ง และขณะนี้ยังไม่ได้สนในบริษัทใดเป็นพิเศษ
"อย่างไรก็ตามกองทัพเรือขอยืนยันว่าจะดำเนินการด้วยความโปร่งใส โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ ไม่ได้มีการพิจารณาจากใครคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ และในคณะกรรมการก็มีสาขาอาชีพครบทุกคณะ ทั้งผู้ใช้ ผู้ซ่อม อิเล็คทรอนิคส์ สรรพาวุธ จะเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการ ดังนั้นทุกอย่างต้องโปร่งใสและรอบคอบและตรวจสอบได้ รวมทั้งนโยบายของกองทัพเรือก็เป็นเช่นนี้อยู่แล้ว"พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าว
ถ้า 3500 ตัน Meko-D อีกเสียงครับ แต่ La Fayette ต่อที่สิงตโปร์ ไม่แน่เช่นกัน ท่านทูตฯพึ่งเข้าพบ ผบ.ทร. สัปดาห์ที่แล้ว
Meko D กับ Meko A200 สเป็คต่างกันยังไงหรอครับ
แล้วแบบไหนน่าจะดีกว่ากัน
ความเห็นส่วนตัวนะครับ...
MEKO D หรือ เรือแบบ MEKO รูปทรง Delta หรือ ทรงลูกศร...
จะทำให้เรือมีความเร็วดีขึ้น และน่าจะมีส่วนในเรื่องความสิ้นเปลืองของเชื้อเพลิง น่าจะน้อยกว่า...
และทำให้ในส่วนของท้ายเรือ มีพื้นที่ใช้งานมากขึ้น ประมาณ 15%...
ซึ่งใน กรณี นี้ ทร. มีความต้องการที่มากกว่าปกติ สำหรับเรือรบ 3 มิติ คือ มีระบบตรวจจับใต้น้ำ ที่ประสิทธิภาพสูง...เช่น โซนาร์ แบบลากท้าย...
ยกตัวอย่างเช่น โซนาร์ลากท้าย CAPTAS MK2 V1 ที่ต้องให้ท้ายเรือมีพื้นที่รองรับสำหรับอุปกรณ์...ซึ่ง MEKO D ก็ออกแบบ มาเพื่อรองรับไว้อยู่แล้ว...รวมถึง เรือยางปฏิบัติการ ก็สามารถจะปฏิบัติการได้เร็ว จากการใช้งานใน บริเวณท้ายเรือ...ไม่ต้องใช้การ หย่อน ขึ้น-ลง จากตัวเรือ...ในขณะที่ระวางขับน้ำเรืออาจจะประมาณ 3,500 ตัน แต่สามารถติดตั้งระบบตรวจจับใต้น้ำ ได้เท่ากับ เรือระวางขับน้ำ 4,500 ตัน....
ซึ่งถ้า เรือฟริเกตสมรรถนะสูงของ ทร. เลือกใช้ระบบตรวจจับของ Thales คือ CAPTAS MK2 V1 และ โซนาร์ TSM-2633 ก็จะทำให้ระบบตรวจจับของเรือลำนี้ เทียบเท่ากับเรือชั้น Nansen Class ของ ทร.นอร์เวย์ ซึ่งเป็นเรือฟริเกตต่อต้านเรือดำน้ำ...
ท้ายเรือแบบ MEKO-D
CAPTAS MK2 V1
การติดตั้งอุปกรณ์
โซนาร์ TSM-2633
เรือฟริเกตต่่อต้านเรือดำน้ำชั้น Nansen
ในส่วนตัวเชื่อว่า เรือฟริเกตใหม่นั้นต้องรองรับการรับส่งและบรรทุดเฮลิคอปเตอร์แบบ ซีฮอว์ค ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าอลิคอปเตอร์แบบ ซุปเปอร์ลิงค์ ในเรือชุด ร.ล.นเรศวร คาดว่าขนาดเรือคงไม่ต่ำกว่า 3000 ตัน ซึ่งน่าจะอยู่ในราว 3000-4000 ตัน และติดตั้งอาวุธและระบบที่ทันสมัยที่สุด และตามที่เคยได้ยินข่าวข่าวที่ รมต.กลาโหม ให้สัมภาษณ์ว่างบในการจัดหาเรือฟริเกตชุดนี้เป็นงบในส่วนของกองทัพเรือเองไม่ได้เป็นงบพิเศษเพิ่มเติม และโครงการเรือดำน้ำยังอยู่ไม่ได้ล้มโครงการ ลึกๆจึงเชื่อว่าอนาคตที่ไม่ไกลมากอาจจะมีการจัดงบเพิ่มเติมให้โครงการเรือดำน้ำขึ้นมาก็ได้
ผมว่าอาจจะมีพลังงานบางอย่างก็เป็นได้ มีงบลับเพิ่มมา อาจจะมี 206 พ่วงมาแบบลับๆก็เป็นได้ คลายเครียดนะครับ อย่าถือสาผมเลย^^
มีแต่คนมองเรือฝรั่งกันทั้งนั้น ถ้าหวยมาออกเรือเจ๊กนี่ฮาแน่ๆ
โธ่....ท่าน Akula ....อย่าพูดเป็นลางสิครับยิ่งเสียวๆอยู่ ....... แว๊ก...กลายเป็น Type 054A ไปได้ไง 5555555......... มุขท่านนี่เสียวปนฮาจริงๆ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลที่แม่นเป็นจับวางของป๋าจูลจริงๆครับ ผมรู้แค่ว่ารูปร่างตัวเรือทำให้ได้ความเร็วดีกว่า(อ่านหนังสือสมรภูมิ) และด้านท้ายมีพื้นที่ให้ฮ.ขนาด 10 ตันหรือกว่าเล็กน้อยลงได้สบายๆ แต่ไม่ทราบว่ามันสามารถนำเรือปฎิบัติการขนาดเล็กขึ้นลงได้ ไม่ทราบว่ามันเหมาะสมสำหรับอุปกรณ์โซน่าร์ลากท้าย และเหมาะสมกับภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ ถ้าสเปกเรือเหมาะสมขนาดนี้ MEKO-D น่าจะเวอร์คกว่าในภาระกิจนี้ แต่ไม่ว่าจะ MEKO-A หรือ MEKO-D ก็น่าจะสามารถอับเกรดระบบอำนวยการรบและตรวจจับเพื่อรองรับการเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศได้ครับ เหมือนเรือชั้น Nansen
เรื่อง ระบบการป้องกันภัยทางอากาศ นั้น...ผมว่า ปัจจุบัน เป็นระบบพื้นฐานของเรือรบผิวน้ำอยู่แล้วนะครับ...ในความเห็นผม...
และด้วย ประเทศไทย คงไม่สามารถมี SM-2 ได้...ระบบตรวจจับ คงจะไม่ถึงขนาดต้องมีระบบ เอจีส....อย่างหรูสุด...คือ ระบบที่ประสิทธิภาพ ใกล้เคียง...โดยเพียงรองรับกับ SAM ที่ติดตั้งได้จำนวนสูงสุดบนเรือ เท่านั้น...ซึ่ง ประเทศไทย เอง...ก็ไม่รู้ว่า จะมีงบประมาณซื้อลูกจรวด ได้เต็มประสิทธิความบรรจุสูงสุดของแท่น VLS หรือไม่...
ลองสังเกตุดูครับ...เรือที่มีระบบ เอจีส หรือ เทียบเท่า เอจีส....จะเป็นประเทศที่มี SM-2 ประจำการ...และเป็นประเทศที่มีน่านน้ำในทะเลเปิด มีน่านฟ้าในทะเลกว้างไกล...(ประเทศอิตาลี่ ยังไม่จัดหาระบบ เอจีส ประจำการ ใข้เพียงระบบที่อาจจะเทียบเท่า เนื่องจากทะเล เป็นสภาพทะเลปิด คล้ายกับ อ่าวไทย)
ผมจึงมีความเห็นว่า...ในเมื่อในระยะอีก 10-15 ปี ข้างหน้า....ในสงครามใต้น้ำ จึงมีความสำคัญ มากกว่า สำหรับเรือรบผิวน้ำ ของประเทศไทย ที่ต้องมีเครื่องมือที่ม่ีประสิทธิภาพสูงในการตรวจจับ...เนื่องจาก ประเทศไทย ยังไม่มี เรือดำน้ำ ประจำการ...หรือ โอกาส การมีเรือดำน้ำประจำการ อาจจะไม่เพียงพอ เช่น ประเทศไทย อาจจะมีขั้นสูงสุดเพียง 2 ลำ...แต่ประเทศเพื่อนบ้าน มีประจำการขั้น่ต่ำสุด 4-8 ลำ ...ดังนั้น เรือผิวน้ำที่มีประสิทธิภาพในการต่อต้านเรือดำน้ำ จึงยังเป็นสิ่งจำเป็นในระยะยาว ครับ...
เอ....หรือว่า ไปซื้อ OHP มือสอง มาสัก 4 ลำ เอามา Mod ดีน๊าาาาาาา...5 5 5 5
คุณJudasคงชอบเรือ Oliver มากนะครับ ^^ ผมมีข้อสงสัยอยากถามครับ สมมตินะครับ ว่า ถ้าเรือฟรีเกตที่จะมีการสอดใส่ เอ๊ย สอดไส้ U206 จริง งบ30,000ล้านคงไม่พอแน่ ถ้าจะให้พอคงต้องมีการตัดoption(ค่อยซื้อติดทีหลัง)หรือลดเสปกบางรายการลง
1. ลดรายการอาวุธที่จะติด แต่ยังวางระบบไว้ ค่อยซื้อติดทีหลัง เช่น ฮาร์พูน ESSM
2. ลดขนาดเรือลง เพราะงบลำละ15,000ล้าน น่าจะได้เรือขนาด 4000-5000 ตัน เหลือแค่ 3000 ตัน ทำให้ลดสเปกระบบ เช่น Smart-L ---> Smart-S ฟรือ sea giraff หรือ i-Mast
ถ้าเป็นข้อ1 ควรตัดอะไรดีครับ
หรือ ถ้าเป็นข้อ2 จะดีมั้ยครับ
อันนี้ เป็นเรื่อง สมมติ นะครับ...สมมติ จริง ๆ....5 5 5 5 5
แต่เดิม โครงการ U-206A คือ จำนวน 4 ลำ +2 มูลค่าโครงการประมาณ 210 ล้านเหรียญ...
ตอนนี้ โคลัมเบีย เอาไปแล้ว 2 ลำ...
ลักษณะ ถ้าจะเกิด คงเป็นว่า เป็นการเช่าเพื่อฝึก จำนวน 2 ลำ + 2 (อะไหล่) เป็นระยะเวลา 10 ปี...ซึ่งเป็น ออฟชั่น พิเศษ...ซึ่งเป็นสิ่งที่ บริษัทฯ ผู้เสนอขายเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จะเป็นผู้ดำเนินการ...ในราคาค่าเช่า รวม 13 ล้านเหรียญ...โดยผู้เสนอขาย จะเป็นผู้รับผิดชอบการ refurbished เอง...
คล้าย ๆ กับ ดีล ของ อินโดนีเซีย ที่จัดหา Leopard จำนวน 103 คัน ที่ได้ ออฟชั่น การผลิต มาร์เดอร์ จำนวน 60 คัน นั่นแหล่ะครับ...
ซึ่งการจัดจ้าง ตัวเรือและอุปกรณ์ครบ...ยกเว้น ตัวลูกจรวด ตามความเห็น ข้อ 1. ของท่าน RAF...ที่ว่า...เป็นสิ่งที่ ทร. จะเป็นผู้ดำเนินการจัดหาเพิ่มเติมในคราวหลัง...เพราะเป็น ลูกจรวด ที่ สหรัฐ จะขายตรงกับผู้ซื้อ คงไม่สามารถผ่านตัวแทนผู้ผลิตเรือได้...(จาก กรณี นี้แหล่ะครับว่า ESSM และ ฮาร์พูน บล็อค 2 ต้องผ่านสภาครองเกรส...ผมเลยยังมีน้ำหนักในใจว่า Aster หรือ MICA VL อาจจะมาแทน ESSM เพราะซื้อตรงจากผู้ผลิตได้ (มั๊ง))
โดยรวมโครงการทั้งหมด อาจจะประมาณ 937 ล้านเหรียญ + 13 ล้านเหรียญ ค่าเช่าเรือดำน้ำ = 950 ล้านเหรียญ ต่ำกว่างบประมาณ....
ความเห็นส่วนตัว เผื่อฝากให้ ผู้ขาย MEKO....5 5 5 5 5
ส่วนที่ชอบ OHP ก็คงที่ว่า...น่าจะสามารถจัดหามาได้ ในจำนวนเต็มความต้องการ คือ 4 ลำ...และเมื่อรวมราคา refurbished กับ Mod ให้ครบ 3 มิติ...อาจจะได้ต่ำกว่างบประมาณ...เพื่อจะได้จัดหา อุปกรณ์ ที่ยังขาดต่อไป เช่น ฮ.ลำเลียงขนาดใหญ่ หรือ บ.ลำเลียงเปิดท้าย หรือ LPD ลำที่ 2 หรือ OPV อีกจำนวน 3 ลำ โดยหลังจากปี 2560 คงเป็นเรื่องของเรือดำน้ำ อย่างเดียว...
ขอบคุณครับ คุณ Judas ^^
ขอรถถังกับ ปืนใหญ่ใหม่ให้ นาวิกโยธินด้วยได้ไหมครับ ขอเหอะ นะนะ
ผมว่า รถถัง กับ ปืนใหญ่ ของ นย. อาจจะ ดราม่า มากกว่า เรือดำน้ำ...5 5 5 5 5
จากประวัติศาสตร์ทางการเมือง...รถถัง นย. กับ ปืนใหญ่ นย. เคย ปะทะ กับ ทบ. มาแล้วนะครับ...(กบฎวังหลวง หรือ วังหลัง เนี่ยล่ะครับ ไม่แน่ใจ) ไม่ใช่ แมนฮัตตัน...
ผมคิดว่า อันเนี็ยยยย...การเมือง ล้วน ๆ....5 5 5 5 5
ถ้าได้รุ่นนี้เป็นยังไงบ้างครับ
สวยสุดๆ
ถ้าเป็นดีลอย่างที่ท่าน Jaldas ว่า มันจะเป็นอะไรที่สุดยอดแห่งความเฟอเฟค มีความเหมาะสมในทุกๆด้าน ไหนๆมีเรือปราบเรือดำน้ำ ก็ต้องมีเรือดำน้ำจริงๆให้ทดลองปราบด้วย สาธุขอให้ได้ขอให้โดนเต็มๆจัดหนักๆด้วยเทอญ
สงสัยคุณJudas ได้อ่านนิยายดราม่าหรืองิ้ว มหาโศกฟรีเกต อีกเรื่องแล้วมั้งครับ
ถ้าต้องเลือกระหว่าง
1. เรือ DW3000 เราน่าจะติดระบบเรดาร์และระบบอาวุธอะไรบ้าง จำพวกโซน่าร์หัว+ลากท้ายเรือ หรือจะเป็นsamsung thales ยกชุดเลยครับ ไม่มีoption U209นะครับ
2. ถ้าต้องต่อเรือจีนแล้วมาติดอาวุธเองแบบ เรือนเศวรกับเรือตากสิน จะเลือกติดอะไรดีครับ
หรือเลือกต่อFormidableจากสิงคโปรจะได้ไม่ต้องเลือกเรือข้างบน
เรื่องบางเรื่องต้องทำใจ ไม่มีใครสมหวังในทุกอย่าง ไม่มีของฟรีในโลกนี้ ทุกอย่างต้องแลกเปลี่ยน T_T
อยากให้ดีลคุณ Juldas เป็นจริงจัง สาธุ๊ :)
เรื่องสอดใส้ U-206A นั้นใจจริงถ้าเป็นไปได้ ถ้าหากเยอรมันเสนอ MEKO สอดใส้ U-206A แล้วระบบต่างๆตามเสป็คที่กำหนด ราคาไม่เกินงบโครงการ ถึงแม้ว่าราคาจะสูงกว่าคู่แข่งบ้างก็อาจจะได้รับออเดอร์ไปได้เช่นกัน แต่ทั้งนี้ ปัญหาว่า เรือดำน้ำ U-206A ที่เหลือนั้นปัจจุบันยังอยู่หรือไม่เพราะคาดว่าเยอรมันคงไม่เก็บไว้เพราะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาสภาพและค่าจัดเก็บ อาจจะถูกแยกชิ้นทำลายไปแล้วก็ได้ครับ จึงหวังยากสำหรับกรณีนี้ ส่วนเรือเกาหลีใต้นั้นก็ไม่ถือว่าน่าเกลียดอะไร ระบบก็เป็นแบบตะวันตกที่เราคุ้นเคยและก็มีความทันสมัยพอสมควร ดีไม่ดีอาจจะมีถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือฟริเกตก็ได้(ความเห็นส่วนตัว) ส่วนเรือจีนนั้น กองทัพเรือเคยมีประสปการณ์มาพอสมควรคงจะมีข้อมูลอยู่ในมือเอยะพอสมควร แต่ปัญหาคือการติดอาวุธเพราะมาตรฐานของจีนกับตะวันตกนั้นแตกต่างกัน อย่างเช่นระบบไฟฟ้าจากประสปการณ์ส่วนตัวที่เคยเจอนั้น ระบบไฟฟ้าจีนใช้มาตรฐานของจีนเองไม่ได้เป็นมาตรฐานทั่วไปที่เป็นมาตรฐานตะวันตก(ประเทศไทยใช้มาตรฐานเยอรมัน)ที่เราคุ้นเคย ดังนั้นการเชื่อมต่อกับระบบต่างๆที่เป็นตะวันตกย่อมมีความยุ่งยากและต้องตรวจสอบและศึกษาระบบวงจรไฟฟ้าของจีนให้ชัวร์ครับ เพราะประสปการ์เคยเจอว่าเกิดกรณีคือมีคนเข้าใจว่าสีสายเป็นมาตรฐานเดียวกันต่อจั้มสายไฟเข้าไปพังยกแผงเลย แต่ในเรือผมไม่ทราบว่าของจีนเป็นแบบใด
อ่านคอมเม้นท์ความเห็นของแต่ละท่านมา 3-4 วันแล้วก็ให้ยินดีล่วงหน้ากับ ทร. ด้วย
จะได้งบมาถอยเรือ ทดแทนของที่จะปลดออกในไม่ช้านี้อย่างเรือพุทธฯ ทั้งสองลำ
เพียงแต่...บทสรุปหวยจะไปออกที่ไหน เยอรมัน สเปน เกาหลี จึน กระทั่งสิงค์โปร์
บางที ความต้องการของ ทร. และความเหมาะสมอาจเป็นเหตุผลรอง เหตุผลหลักยังคงอยู่ที่ฝ่ายการเมือง
กลาโหมทุกวันนี้เป็นฝ่ายการเมืองไปแล้วครับ
ทำให้บ่อยครั้ง มีรายการมาตามนัดบ้าง ไม่มาบ้าง หากไม่ล๊อบบี้กันล่วงหน้าก็จะเป็นอย่างที่เห็นกันอยู่นี่แหละครับ
เป็นผม จะเล็งว่าฝ่ายการเมืองต้องการอะไรจากโครงการนี้งบประมาณนี้ เช่น ถ้าแนวโน้มการเมืองจะชี้ไปที่จีน
ผมก็ดูไปที่เรือจีนว่ามีรุ่นไหนแบบไหนที่พอจะเข้าแก็ปกับ ทร. ไม่งั้นเหนื่อยแย่ครับ เหตุผลดีๆ ร้อยแปด เข้าวินแน่เรือเยอรมันแต่การเมืองจะเอาของจีน แบบนี้จบครับ..
ผมว่า การแก้เกมส์การเมือง ก็คือ คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นพิจารณา น่ะครับ...
ในด้านส่วนการเมืองในครั้งนี้...ผมคิดว่า ผู้นำรัฐบาลเอง...ก็มีบทเรียน มาจาก จีน เหมือนกันครับ...เพราะดูแล้ว ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้ช่วยอะไร...และคงไม่มี บุญคุณ อะไรกันมาก...
ดีล ครั้งนี้...ถ้า เรือจีน มา...ก็คงไม่แคล้ว มือเดิม ๆ แหล่ะครับ...มือที่ขวาง เรือดำน้ำ น่ะครับ...เพราะ แบคอัพใหญ่ ๆ ก็ธุรกิจสัญชาติจีน ทั้งนั้นครับ...
เหตุการณ์จะซ้ำรอย ร.ล.ปัตตานี...แต่ครั้งนี้ จะรุนแรง กว่า...ในการสั่นคลอน รัฐบาล...เพราะงบประมาณมันสูงมาก...
สำหรับ เรือจีน...ผมดูแล้ว คงไม่เกินเรือชั้น F-22 ครับ...ส่วน Type-54 หรือสูงกว่านั้น...ผมว่าไม่เกิด...ขนาดเรือดำน้ำ ยัง Down Grade ชั้น song...
และสำหรับ กรณี ที่จะเป็นตัวเรือ จีน และใช้ อาวุธ ฝั่งตะวันตก นั้น...คงเป็นไปไม่ได้ เช่นกัน ครับ...ต่างไม่ใคร ยอมกันในส่วนฝั่งตะวันตก...
ดังนั้น ถ้าเลิอก เรือจีน ก็ต้องระบบอาวุธจีน เท่านั้น...และ เรือชั้น Type-54 จีนคงไม่ขายเช่นกันครับ...เพราะต้องใช้ ระบบจีน ทั้งหมด...จีน ก็กลัวความลับในทางเทคโนโลยี่หลุด เช่นกันครับ...
ผมเลยคิดว่า ถ้าเลือก เรือจีน ไม่เกินชั้น F-22 ครับ...และถ้าใช้งบประมาณเท่าเดิม...รัฐบาล เละเทะ แน่ครับ..เพราะเรือชั้นนี้ ราคาต่อลำประมาณ 200 ล้านเหรียญ...แต่งบประมาณตั้งไว้ 500 ล้านเหรียญ....
ตอนนี้ จีน สร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำหน่าย ที่มีการสั่งซื้อ เพียงแบบ F-22 (Type-53) คือ ปากีสถาน กับ บังคลาเทศ (มีความต้องการ)
ปัจจุบัน Type-54A มีเพียงที่ จีน จะยอมให้ ปากีสถาน เช่า จำนวน 2 ลำ เป็นเวลา 10 ปี คือ หมายเลขเรือ 525 และ 526
ผมจึงมองว่า...โอกาสของเรือฟริเกต จาก จีน น่าจะเป็นแบบ F-22...เท่านั้น...ถ้าเป็น แบบอื่น ๆ ก็ต้องเป็นแบบที่ จีน ออกแบบเอง แต่ไม่ใช่รุ่นที่จีนมีประจำการ แต่ระบบอาวุธ ก็ไม่แตกต่างกัน...
แบบเรือ F-22 ที่จีน เปิดตลาดจำหน่ายให้ ปากีสถาน และ บังคลาเทศ
หมายเลข 525 ที่ จีน จะให้ปากีสถานเช่า 10 ปี
หมายเลข 526 ที่ จีน จะให้ปากีสถานเช่า 10 ปี
เรือดำน้ำชั้น Qing ที่ down grade จากเรือชั้น Song ระวาง 3600 ตัน
โอ๊ะ ขอโทษครับ...เข้าใจผิด...ชั้น Qing เป็นเรือดำน้ำที่พัฒนาจาก ขั้น Yuan ครับ...ไม่ใช่ song Down Grade
ชั้นQing นั้นเป็นเรือSSB คาดการณ์กันว่าน่าจะติดตั้งDF-21Dรุ่นยิงจากเรือดำน้ำ แนวความคิดเรือดำน้ำดีเซลติดขีปนาวุธนั้นมาจากเรือชั้นGolf จริงๆแล้วรุ่นนี้ออกแบบมาเพื่ออุดช่องว่างของกองเรือดำน้ำติดขีปนาวุธของจีนที่จำนวนไม่พอที่จะสร้างอำนาจต่อรองในภูมิภาค รวมถึงยังเป็นเรือที่อาจจะนำมาใช้ในกรณีกการตั้งรับในบ้านหากมีการบุกเกาะไต้หวันแล้วสหรัฐลงมาเล่นด้วย
เห็นว่า ปากีสถาน ขอซื้อชั้น Qing จำนวน 6 ลำ...ไม่รู้ว่า จีน จะขายให้หรือยัง...
ป๋าจูลครับขอจุ๊บทีหนึ่งเถอะ ...... ใจตรงกันจริงว่าถ้าเยอรมันทำดีลแบบให้เช่นเรือเก่าใกล้ยุบทิ้งในราคาถูก เมื่อจบระยะเช่าก็เอาไปเลยแต่สามารถขายเรือฟรีเกตใหม่ราคาโคตรแพงได้แทน ฝ่ายเยอรมันก็ยิ้มกันเฉ่งเลย เปลี่ยนอาชีพมาเป็นพ่อค้าหรือตัวแทนขายอาวุธได้เลยนะครับนี้ การรันตีฝีมือและความรู้จริงๆ
ยิ่งฝ่ายการเมืองซีกฝั่ง...ยังไม่มั่นคงพอ ยังไงก็ต้องเอาใจกองทัพเผื่อเหนียวไว้ก่อนล่ะ และสามารถตอบสื่อได้สบายๆ ไม่ได้จัดซื้อเรือดำน้ำ เขาแถมให้.......... เหมือนซื้อ Jas-39 เขาแถม SAAB-340 AEW&C ให้
ท่านสกายแมนเจอคู่แข่งเข้าแล้ว 55555555555555 แซวเล่นนะครับ อย่าเคือง
ส่วนปัญหาเรื่องระบบจรวดนำวิถีต่อต้านอากาศยานระยะไกล SM-2 นี่มันเป็นปัญหาหนักอกจริงๆครับ ยากจริงๆที่เขาจะขายให้เรา ซึ่ง ASTER-30 ไม่รู้ว่าจะเจอปัญหาคล้ายๆกันหรือเปล่าถ้าทำเรื่องเสนอซื้อ
ยิ่งฝ่ายที่ตอนนี้เราเขม่นกันอยู่เขาเป็นลูกน้องเก่าซีกอังกฤษ ไม่รู้ว่าจะเจอเบรคเหมือนคราว บ.ไต้ฝุ่นหรือไม่ ตอนนั้นเห็นฝ่ายโน้นวิง่ล๊อบบี้ขาขวิด ถ้าโดนแบนอีกรายก็จบ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ผมลองเสนอระบบของอิสราเอลดู และ เสนอระบบของ Thales I-MAST-500 ให้เลือกอีกระบบด้วย
เพราะเห็นว่า Thales เป็นพันธมิตรทางการตลาดที่สำคัญกับทางเกาหลีใต้ที่กำลังพัฒนาระบบ MR-SAM และ LR-SAM เพื่อใช้งานทั้งบนบกและนาวี และเป็นระบบแบบ Hit to kill ด้วย และลักษณะใกล้เคียง AEGIS มากทีเดียว มีพื้นฐานระบบของลูกจรวดรัสเซีย และเกาหลีใต้ก็มี SM-2 ประจำการด้วย น่าจะแกะดูหมดแล้วเหมือนระบบอาวุธอื่นของอเมริกันที่เกาหลีซื้อไป เห็นว่าต้องการนำเข้าประจำการเพื่อพึ่งพาตนเองและส่งออกด้วย
ส่วนอิสราเอลน่าจะพัฒนาแล้วเสร็จไปแล้วด้วย คงต้องติดตามหาข่าวดู เท่าที่ผ่านตาจะเป็นเฟสอะเรย์คล้ายๆกันแบบลอก SPY-1 มาเหมือนๆกันทั้ง IAI และ Thales แม้ว่าระบบของอิสราเอลดูไม่ค่อยน่าเชื่อถืออย่างที่ท่าน Johny กล่าวไว้ แต่เราก็ไร้ทางเลือกจริงๆ พึ่งตัวเองไม่ได้นี่แย่มากๆ ของ Thales และ IAI ก็คงรองรับ ESSM อยู่แล้วแน่นอนครับ น่าจะติดตั้งจรวด barak-8 LR ร่วมกับ ESSM ได้(หวังว่า) หรือ cheolmae-2 ร่วมกับ ESSM ได้(หวังว่า)
ผมคิดว่า Aster ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการขายครับ...
อาวุธของสหรัฐ ที่ขายให้ ยาก ก็น่าจะมาจาก กฎหมาย เกี่ยวกับการสะสมอาวุธในภูมิภาค ครับ...กฎหมาย นี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญครับ...
เวลาเราซื้ออะไร แล้ว สหรัฐ ไม่ขายให้...คงน่าจะเป็นเรื่องนั้นครับ...สหรัฐ เลยเสนอเรื่อง การตั้งคลังอาวุธในประเทศไทย เพื่อแก้ปัญหาให้แทน...
แต่การตั้งคลังอาวุธสหรัฐในประเทศไทย ก็ไม่ผ่าน กฎหมายไทย อยู่ดีครับ...
มันจึงเป็นปัญหา...
ซึ่ง สิงคโปร์ ก็น่าจะไม่ต่างจากไทยครับ...ในความเห็นผมนะ...ระบบจรวดต่าง ๆ คงอยู่ที่คลังสหรัฐ เป็นส่วนใหญ่...แต่คงจะไม่ปรากฎข่าว...
สิงคโปร์ ถึง ไม่จัดหา SM-2 มาประจำการ...ซึ่ง SM-2 ก็คงจะเข้าข่ายเกี่ยวกับการสะสมอาวุธในภูมิภาค...สิงคโปร์ เลยต้องไปจัดหาเรือจาก ฝรั่งเศส เพราะจะได้จรวด Aster 30 มาด้วย ที่มีระยะกว่า 120 ก.ม. ซึ่งผมก็ตั้งข้อสงสัยว่า ทำไม สิงคโปร์ ไม่หาเรือที่ใช้ ESSM...ผมจึงคิดว่า Aster 30 น่าจะเป็นคำตอบนั้น ในการตัดสินใจเลือกเรือที่ใช้ระบบ Aster แทน ESSM...เพราะไม่สามารถจัดหา SM-2 มาประจำการได้ นั่นเอง...
Medium To Long Range Anti Air Missile
อาวุธนำวิถีต่อต้านอากาศยาน ระยะปานกลาง ถึง ระยะไกล จาก พื้น สู่ อากาศ ของ กองทัพเรือ จำนวน 3 แบบ
1. Standard Missile
2. ESSM
3. Aster Missile
หรือในอีกมุมของ SM Missile
http://www.viriyakit.com/catalog/thales_special/combat_management_system.html
สงสัยเรือจีนจะมาจริงๆๆ งานนี้
รูปเดิม
รูปใหม่...ผม ตัดแต่ง ให้...ในความเห็นผม...มันน่าจะเป็น แบบนี้ นะครับ...
ขอบคุณท่าน jirawat007 ครับ...
ผมคิดว่า น่าจะเป็นเพียงตัวแทน จำหน่ายระบบ ครับ...
และ ผมค่อนข้าง เชื่อว่า...จีน...ไม่น่าจะรับ ต่อแต่ ตัวเรือ ครับ...จีน น่าจะต้อง ขายรวมระบบอาวุธ ทั้งหมด...
และถ้า ตัวเรือ เป็น จีน...ระบบข้างต้น คงต้องดำเนินการที่ ประเทศอื่น ๆ หรือ ประเทศไทย ครับ...
บริษัทฯ เจ้าของเทคโนโลยี่ คงไม่ยอมให้ ติดตั้งที่ ประเทศจีน ครับ...แบบเดียวกับ เรือชั้น นเรศวร ครับ...ที่มาแต่ตัวเรือ กับระบบเดินเรือ และราะบบอาวุธที่เป็นของ จีน...
ขนาดปืน 127 ม.ม. ยังต้องมาดำเนินการติดตั้งที่ ประเทศไทย ครับ...
คุณJudas ครับ ถ้าเป็นDH3000H ที่ขยายขนาดเป็น 3500-4000ตัน คิดว่าทร.น่าจะเลือกติดอะไรบ้าง ถ้าไม่ใช้ iMast 500 ครับ
ถ้าเราเลือกเรือเกาหลีราคาค่าตัวเรือน่าจะถูกลง แล้วเอางบมาลงที่ระบบอาวุธได้ดีขึ้นนะครับ
แบบเรือของ เกาหลี ที่เสนอมา...ผมคิดว่า เขาเสนอแบบในสเปคราคา ประมาณ 200 - 300 ล้านเหรียญต่อลำ มากกว่าครับ...
แต่ปัจจุบัน ทร. ได้งบประมาณ ลำละ 500 ล้านเหรียญ...ตัวเลือกเยอะครับ...ในเมื่อได้งบประมาณแล้ว...จะประหยัดทำไมล่ะครับ...เอาให้เต็มสเปค ไปเลยครับ...
เป็นครั้งแรกของ ทร. ครับ...ที่ได้งบประมาณ เต็มสเปค ขนาดนี้ ครับ...
สำหรับที่่ผมเสนอ OHP มือสอง แล้ว Mod นั้น ก็คือว่า...ได้เรือเต็มสเปค ในจำนวนเต็มความต้องการ ครับ จนอาจจะเก์อบแต็มวงเงิน...แต่อาจจะมี งบประมาณ เหลือ ครับ...ส่วนงบประมาณที่เหลือ ก็ไม่สามารถไปใช้อย่างอื่นได้...แต่ในการ นำเสนองบประมาณใหม่ ก็ต้องสู้กันใหม่...แต่ในเบื้องต้น มีกองเรือเต็มประสิทธิภาพ 1 กองเรือ
ส่วนถ้าเราจัดหาเรือจาก เกาหลี หรือ จีน ที่ได้ราคาถูกกว่า...งบประมาณที่เหลือ ก็ไม่สามารถนำไปใช้อย่างอื่นได้....แต่เรือที่ได้ อาจจะต้องทำการ อัพเกรด อีกในภายหลัง...
คราวนี้ คงต้องที่เงื่อนไขแต่ละบริษัทฯ ที่นำเสนอมาครับ...
ประมาณคร่าว ๆ ครับ...กรณี ยกตัวอย่าง เรือมือสอง แต่ปรับประสิทธิภาพ การรบ 3 มิติ...
ตามที่ ท่าน เด็กทะเล ให้ความเห็นไว้ครับว่า...
ถ้าซื้อเรือ จีน...แต่ใช้ระบบตะวันตก...ความวุ่นวาย เรื่องการวางระบบไฟ หรือ อื่น ๆ ของจีน...จะวุ่นวาย หรือ อาจจะแทบต้องรื้อใหม่ เลย ก็เป็นไปได้ครับ...
ผมจึงว่า...ถ้าซื้อ เรือจีน...คงต้องมาทั้งหมด คือ มีระบบอาวุธ จีน และระบบอำนวยการรบของ จีน...มาด้วยกันหมดครับ...
และ ผมก็เชื่อว่า...มีอยู่แบบเดียวตอนนี้ตรับ คือ เรือชั้น F-22 ของ ปากีสถาน ครับ...ระบบ VLS ของจีน คงไม่ปล่อยมาแน่...อาจจะต้องใช้ระบบ VLS ของ รัสเซีย ไปติดตั้งที่ จีน...ซึ่งก็ไม่รู้ว่าระบบอำนวยการรบของ จีน กับ รัสเซีย จะเข้ากันได้หรือไม่...ผมว่า เรือจีน ไม่ใช่ ระบบอาวุธจีน...ปัญหาเยอะแน่ครับ...
เดา ครับ ท่าน jeab2511 ไม่ถึงกับอ้างอิงนักหรอกครับ...สนุก ๆ
ตัวเลข สมมติ ในความเห็นส่วนตัว สำหรับ OHP Mod จำนวนสัก 4 ลำ ครับ..
iver huitfeldt ลำนี้น่าสนใจดีจัง ในราคา300กว่าล้านเหรียญ กับระวาง6000ตัน
สำหรับ iver huitfeldt ก็่น่าสนใจดีครับ...แต่คงต้องพิจารณา ถึง วัตถุประสงค์เรือที่จัดหาประกอบ
ซึ่งถ้าเราจัดหา iver huitfeldt มา...โครงการ opv อาจจะต้องลดจำนวนลง เพราะคุณลักษณะเรือ มันจะซ้ำซ้อนกัน...
เรือชั้น iver huitfeldt ของ ทร. เดนมาร์ก คงต้องดูถึง ความต้องการของ ทร.เดนมาร์ก ว่าทำไมเรือถึงออกคุณลักษณะมาแบบนี้ครับ...
ตามรูปครับ...ทร.เดนมาร์ก แบ่งพื้นที่ความรับผิดชอบของ กองทัพเรือ ออกเป็น 2 กองเรือ
กองเรือที่ 1 รับผิดชอบฝั่งทะเลเหนือ
กองเรือที่ 2 รับผิดชอบฝั่งทะเล บอลติค
ในความเห็นส่วนตัว นะครับ...
เรือชั้น iver huitfeldt จะสังกัดใน กองเรือที่ 2 ฝั่งทะเลบอลติดค โดยประกอบกำลังด้วยเรือชั้นนี้ จำนวน 3 ลำ และเรือชั้น Albason จำนวน 2 ลำ และกองเรือต่อต้านทุ่นระเบิด...โดยไม่มี เรือตรวจการณ์ ประกอบกำลังในส่วนของกองเรือนี้เลย
ดังนั้น iver huitfeldt จึงออกแบบมาเป็นเรือ หลากภาระกิจ ทั้งตรวจการณ์ และช่วยเหลือผู้ประสบภัย และเป็นเรือรบป้องกัน ในทะเลฝั่งนี้...
ส่วน Albason จะเน้นเป็นภาระกิจ สนับสนุนและบัญชาการ
ซึ่งถ้า กองทัพเรือ แบ่งความรับผิดชอบ ให้มี กองเรือรบผิวน้ำ ประจำการประจำในส่วน ฝั่งทะเล อันดามัน เหมือน เดนมาร์ก...
เรือชั้น iver huitfeldt ก็น่าจะเหมาะสม และน่าจะช่วยลดภาระการจัดหา เรือหลายแบบ สำหรับประจำการในฝั่งทะเลนี้...หรือ แม้แต่การเกิดเหตุ สึนามิ อีกครั้ง ก็จะสามารถช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ในเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอเรือจาก ฝั่งอ่าวไทย ที่มีศักยภาพในงานดังกล่าว...ในขณะเดียวกัน ก็มีศักยภาพการรบ เพียงพอรักษาผลประโยชน์ในทะเลฝั่งนี้ด้วย
ป๋าจูครับ ด้วยเหตุผลที่ว่า เรือจีนนั้นต้องมาพร้อมอาวุธและระบบจีน อีกทั้งช่วงนี้อู่จีนงานเยอะ ส่วนตัวผมจึงมองว่า เรือจีนจะเข้าวินก็ต่อเมื่อการเมืองแทรกแซงครับ และถ้าได้มานั้นก็จะทำให้เรือชุดนี้ไม่สามารถติดต่อเน็ตเวิร์คกับ JAS-39C/D ของกองทัพอากศได้เพราะระบบมันคนละอย่าง ถ้าจะให้ติดต่อกันได้ ยังไงก็ต้องอัพระบบให้ใช้ตะวันตกอยู่ดี ถ้าเป็นระบบตะวันตกแจมเข้ากับระบบจีนแบบครึ่งๆกลางๆยิ่งมึนกันหนัก คนทำอาจจะทำสำเร็จได้แต่งานเข้าที่คนซ่อมบำรุงที่จะมึนกว่าคนติดตั้งเสียอีก และจากประสปการณ์ของกองทัพเรือเรื่องต่อเรือชุด ร.ล.นเรศวร นั้นก็กว่าจะติดตั้งระบบจบได้ก็ใช้เวลานาน แม้แต่เรือชุด ร.ล.ปัตตานี นั้นอู่ต่อที่จีนต้องยืดเวลาส่งมอบเพราะบางจุดไม่ละเอียดพอหรือไม่เห็นความสำคัญแต่ทางเราต้องการให้ทำ(อย่างเช่นปลายปล่องควัน)สุดท้ายการส่งมอบล่าช้า ผมจึงมองไปที่เรือจีนอันดับท้ายๆครับ แต่คาดว่ากองทัพเรือนั้นสนใจเรือเยอรมันมากที่สุด แต่ถ้ากล่าวถึงเรื่องอื่นๆเข้ามาด้วยผมมองว่า หวยอาจจะลงที่ เกาหลีใต้ ก็ได้ครับ
ราคาเรือชั้น iver huitfeidt ไม่ใช่ราคาเรือที่สมบูรณ์นะครับ อ่านข่าวในวรสารทร.(จำไม่ได้ว่าฉบับไหนหามาหลายวันแล้ว) เป็นแค่ราคาเรือกับอุกรณ์ที่จำเป็นเพื่อที่จะแล่นเรือเพื่อทดสอบการแก้อาการโคลงของเรือซึ่งเป็นปัญหาในเรือชั้น Absalon เข้าใจว่ายังไม่รวมราคาอาวุะที่จะติดตั้งครับ
แบบเรือ เกาหลี FFX แบบนี้ ไม่แน่ใจว่า จะอยู่ในข่าย เข้าแข่งขันหรือเปล่า ?
มี K-VL กับ VLS 16 cell น่าจะพอสูสี กับ MEKO...
KDX down grade
รูปไม่ขึ้น KDX-II Down Grade
FFXไม่เล็กไปเหรอครับ คุณJudas ถ้าเป็นKDXIIแล้วเปลี่ยนระบบเป็นAPAR+Smart-L ดีกว่ามั้ยครับ ในเมื่อเรือที่ต่อจากเกาหลีมีค่าต่อถูกกว่าเรือยุโรป เราก็สามารถup grade ระบบได้เต็มที่
ป๋าจูครับ แล้วเรื่องเครื่องยนต์ หรืออัตราสิ้นเปลืองล่ะครับ
จะมีปัญหาอะไรรึป่าวครับ เดี๋ยวจะโดนแบบ 911 หาว่าแดรกน้ำมันอีกอ่ะครับ
เรือของ เกาหลี จะถูกกว่า หรือเปล่า อันนี้ ไม่แน่ใจครับ..เพราะ การออกแบบ สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์...อาจจะต้องมีการออกแบบใหม่...เพราะ การออกแบบที่ว่างในตัวเรือ อาจจะไม่ ยืดหยุ่น เท่าของ MEKO...
ส่วนของ เยอรมัน แบบ MEKO เหมือนกับการออกแบบ CASE COMPUTER คือ แต่ละช่อง แต่ละ บล็อค จะสามารถรองรับการวางอุปกรณ์ได้หลายแบบ หลายขนาด...
ส่วนที่เกาหลี น่าจะถูกกว่า คือ ตัวโครงสร้างเรือ เท่านั้นครับ...
ส่วน ระบบอาวุธ ไม่ว่าจะเป็น เกาหลี หรือ เยอรมัน จะราคาเหมือนกัน เพราะต้องไปซื้อของคนอื่นเหมือนกัน
ระบบอำนวยการรบ...ถ้าใช้ ของ เกาหลี ที่พัฒนาเอง ก็อาจจะถูกกว่า...แต่ถ้ากำหนดว่าต้องเป็น 9VL ทั้งของ เกาหลี หรือ เยอรมัน ก็จะราคาเหมือนกัน
แต่เรือเยอรมัน อาจจะได้เปรียบในเรื่อง เครื่องยนต์...ถ้า ทร. ระบุ ใช้เครื่องยนต์ของเยอรมัน...เรือของ เกาหลี อาจจะมีต้นทุนในส่วนนี้สูงกว่า เยอรมัน...เว้นแต่ ทร. จะยอมใช้เครื่องยนต์ของ เกาหลี เอง...เรือ เกาหลี ก็จะถูกกว่า ในเรื่องเครื่องยนต์...
ดังนั้น ในส่วนที่ เรือเกาหลี จะถูกกว่า...ก็คงน่าจะอยู่ในเรื่อง สเปค และ ทร. ยอมรับมาตรฐานของ เกาหลี ขนาดไหน น่ะครับ...ถ้า ทร. ไม่ยอมรับ มาตรฐานในส่วนของระบบอำนวยการรบ และ เครื่องยนต์ ของเกาหลี เลย...ส่วนที่ ถูกกว่าของ เกาหลี กับ เยอรมัน ก็คงแค่ โครงสร้างตัวเรือ และค่าดีไซน์ เท่านั้นครับ...ก็อาจจะไม่ถูกกว่า เท่าไหร่ ครับ...
เหมือน สร้างบ้าน ครับ...ราคาโครงสร้าง ไม่เท่าไหร่ครับ (พวก อิฐ หิน ปูน ทราย เหล็กเส้น)...แต่ ราคาค่าตกแต่ง จะสูงกว่าตัวโครงสร้างมาก 2-3 เท่าครับ...
ดังนั้น ถ้าระบบอาวุธ เป็นของคนอื่นทั้งหมด และต้องใช้เครื่องยนต์ เยอรมัน เหมือนกับ เกาหลี สร้างเฉพาะตัวเรือ...เรือของ เกาหลี จะถูกกว่า เยอรมัน ไม่น่าเยอะครับ...
ขอบคุณครับ คุณJudas
5 5 5 5...ถ้า เอาเรือพิฆาต ไป ตรวจการณ์จับค้าของเถื่อน น้ำมันเถื่อน มันก็ แดร๊ก น้ำมันล่ะครับ...
แต่ถ้า เอาเรือพิฆาต ไปฝึกทางยุทธวิธี หรือ ใช้งานรักษากฎหมายนานาชาติ มันก็ไม่แดร๊กน้ำมันหรอกครับ...มันก็จะราคาเท่าชาวบ้าน เขาครับ...5 5 5 5 5
ผมว่า ในอนาคต ทร. คงไม่น่าจะมีปัญหาเรื่อง เรือกินน้ำมัน แล้วนะครับ...
เพราะในอนาคตเราจะมีเรือ OPV ที่ไม่ต้องแบกปืนเกินความจำเป็น แบกตอร์ปิโด แบกอาวุธนำวิถี ฮาร์พูน หรือ C-802A ไปจับน้ำมันเถื่อน บุหรี่เถื่อน ค้ามนุษย์ หรือ ไปยิงเรือประมง ไม่ปรากฎสัญชาติ ในระยะไกลฝั่ง แล้วน่ะครับ...
และเราจะมีเรือ OPD ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล มากขึ้น ช่วยลดการใช้ เรือบรรทุกเครื่องบิน ไปช่วยคนติดเกาะ...สถานะการณ์ ความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิง น่าจะลดลงครับ...
MEKO แต่เราคงมีโอกาสได้เรือจากเยอรมันน้อยมาก เรือชุดนี้คงจะเป็นเรือเกาหลี ถ้าเป็นKDX II ติด APAR+Smart-L ก็ยังพอได้นะครับ
บางท่าน อาจจะแย้งว่า เรือ 911 วัตถุประสงค์สร้างมา โดยมีวัตถุประสงค์หลัก อย่างหนึ่ง คือ ช่วยเหลือผู้ประสบภัย...ซึ่งมาจากเหตุ พายุเกย์ ในอดีตนั้น...
อันนั้น...ใช่ครับ...แต่เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดหา เรือบรรทุก เฮลิคอปเตอร์...ซึ่งระวางขับน้ำ น้อยกว่าเรือ 911 พอสมควรครับ...และเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ และเรือระบายพลขนาดเล็ก จริง ๆ...แต่โครงสร้างเรือ สามารถรองรับการขึ้น-ลง ของ บ. ขึ้นลงทางดิ่งได้...
แต่ด้วย บริษัทฯ ที่ได้รับสัญญาในตอนนั้น ล้มละลายไป ซะก่อน...และ สเปน ก็เข้ามาเสนอแบบเรือบรรทุกเครื่องบินของสเปน โดยปรับลดขนาดลงให้เพียงพอกับ งบประมาณของ ทร. และขาย บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่ง พร้อมกันด้วยในราคาถูก...จึงทำให้เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ แปรเปลี่ยนไปเป็น เรือบรรทุกเครื่องบิน...
ร.ล.จักรีนฤเบศร ใครจะบอกว่าเป็นเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ยังไง...ผมก็ไม่เชื่อครับ...แต่มันเป็นเรือบรรทุกเครื่องบิน ขึ้น-ลง ทางดิ่ง ครับ (เฮลิคอปเตอร์ ก็คือ เครื่องบินขึ้น-ลง ทางดิ่ง แบบหนึ่ง)...เพราะมันสร้างมาจากต้นแบบเรือบรรทุกเครื่องบินของสเปน...ไม่ได้สร้างหรือดัดแปลงมาจาก เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ของ สเปน แต่อย่างใด...เพราะในสมัยนั้น สเปน ไม่มีแบบเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ แต่อย่างใด...
เวลาที่เกิดเหตุผู้ประสบทางทะเล...แล้วเราใช้ 911 ออกไปช่วยเหลือ ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอันหนึ่งของเรือ ที่เราจัดหามา...มันจึงมองดูว่า มีความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูง...เพราะต้องแบกเรือขนาด 10,000 ตัน ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย...ทั้ง ๆ ที่ มันก็กินน้ำมันตามสภาพเครื่องยนต์เหมือนเรือชาวบ้านทั่วไปแหล่ะครับ...เพราะมันเครื่องยนต์เดียวกัน...แต่เรา อาจจะใช้งานผิดประเภทไปครับ...เพราะเหตุความแปรเปลี่ยนจากการจัดหาในครั้งแรกครับ...
เรือOPD ??? คุณJudas ทางทร.จะมีเรือรับผู้ป่วยนอก(out patein department) ด้วยเหรอครับ ^_____^ สงสัยให้เบิกค่ารักษาพยาบาลด้วยมั้ย ^_____^
แซวเล่นนะ คุณJudas ^^
ที่ผมบอกว่า เฮลิคอปเตอร์ คือ เครื่องบินขึ้น-ลง ทางดิ่งแบบหนึ่ง ก็เพราะว่า...โดยสภาพการใช้งานมันเป็นแบบนั้น
เฮลิคอปเตอร์ คือ คำพูดทับศัพท์ภาษาอังกฤษ
เฮลิคอปเตอร์ ในความหมายราชการ คือ อากาศยาน-ปีกหมุน
เครื่องบิน ในความหมายถราชการ คือ อากาศยาน-ปีกตรึง (จะใบพัด หรือ ไอพ่น ก็เป็นอากาศยานปีกตรึง ที่ปีกมันไม่หมุน นั่นแหล่ะ)
เครื่องบินใบพัด ก็น่าจะเรียกว่า อากาศยาน-ปีกตรึง-ใบพัด คือ การจำเพาะ เจาะจง แน่นอน จะทำให้เครื่องบินแบบนี้ ไม่ไปรวมสับสนกับ บ.V-22 Ospray
เครื่องบินไอพ่น ก็น่าจะเรียกว่า อากาศยาน-ปีกตรึง-ไอพ่น คือ การจำเพาะ เจาะจง บ.ทุกแบบ ในเข้าใจความหมายว่าใช้เครื่องยนต์ไอพ่น
เครื่องบินขึ้น-ลง ทางดิ่ง ก็น่าจะเรียกว่า อากาศยานปีกตรึง-ขึ้น-ลง ทางดิ่ง (เพราะความหมาย ก็จะครอบคลุมถึง AV-8 และ V-22 แต่ไม่รวม เฮลิคอปเตอร์ เพราะปีกมันหมุน แม้มันจะขึ้น-ลง ทางดิ่ง)
ดังนั้น ผมเลยคิดว่า เรือบรรทุกเครื่องบิน และเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ที่เครื่องบินขึ้น-ลง ทางดิ่ง สามารถใช้งานได้ด้วย ก็ควรจะเรียกว่า เรือบรรทุกอากาศยาน ซึ่งมันจะครอบคลุมทั้งหมด...
แต่ถ้า เรือ ดังกล่าง บรรทุกเฮลิคอปเตอร์ได้อย่างเดียว ไม่สามารถรองรับ บ.ขึ้น-ลง ทางดิ่งได้...จะได้เรียกว่า เรือบรรทุกอากาศยานปีกหมุน มันจะจำเพาะ เจาะจง มากขึ้น และจะเข้าใจความหมายของเรือ มากขึ้น
5 5 5 5 เพลินครับท่าน RAF...ข้างบน OPV ข้างล่าง มันเลย OPD ซะเลย...5 5 5 5 แก้ไขเป็น LPD นะครับ...ผมก็ว่า เหมือนกัน พิมพ์ ๆ แล้วมันรู็สึกแปลก ๆ...เดี๋ยวนี้ สมอง เริ่มไม่ค่อยดี...ชักกลัว อัลไซเมอร์ เหมือนกันครับ...(ขี้เหล้า ซะด้วย เรา...เยาวชนที่อ่าน อย่างไปดิ่มสุรานะครับ...มันไม่ดี...ผมลองแล้ว มันไม่ดีต่อสุขภาพครับ...ผมให้คำมั่นว่า...เพราะผมจะพยายามไม่ให้มีสุราเหลือไปมอมเมาน้อง ๆ แน่ครับ...)
อย่าดื่มมากนะครับ จิบแค่พออาเจียร แล้วกัน ^___^
FFX ถูกออกแบบมาเพื่อต่อต้านเรือดำน้ำโดยเฉพาะแต่ประการเดียวครับ ปรับเป็นภาระกิจอื่นได้แค่เรือฟรีเกตอเนกประสงค์ ราคาเรือไม่แพงเลยครับแค่ 129 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 4,000 ล้านบาทเท่านั้น ราคานี้เป็นราคาเรือลำแรกที่ทำการปล่อยลงน้ำไปเมื่อปีที่แล้วครับ ตามกระทู้ที่ผมเคยลงไว้
http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=15776&language=1
สเปกเรือไม่น่้าเกลียดครับ samrt-s mk2 RAM แท่นยิง 21 นัด MK-31 K-VLS K-ASROC Hynmoo ครุซย์ และรองรับ sea hawk ด้วย ระวางประมาณ 2,200-2,300 ตัน ก็เหมาะสมดีกับอ่าวไทย เรือชั้นนี้ใช้ในภาระกิจ ASW และ Land attack
ระบบส่วนใหญ่เป็นของ Thales และเกาหลีใต้พัฒนาเอง จึงได้ราคาถูกครับ ถ้าเราจะเอาอาจจะขอติดตั้งระบบโซน่าร์ลากท้ายได้ ก็ไม่น่าจะเกิน 5000 ล้านต่อลำถ้าเพิ่มสเปกในการต่อต้านเรือดำน้ำให้ดีมากยิ่งขึ้น เงินขนาดนี้ ทร.จะสามารถจัดหาได้ 6 ลำรวด ทำให้ทร. มีกองเรือต่อต้านเรือดำน้ำอย่างเพียงพอเลยทีเดียว
แต่ทร.กลับเสนอซื้อเรือแค่ 2 ลำในราคาถึง 30,000 ล้าน แสดงว่าทร.คงต้องการแบบว่าดังแนวคิดผมอย่างนี้นะครับ เดาเอา
ตอนที่ยังไม่ได้เรือดำน้ำ เราต้องมีเรือต่อต้านเรือดำน้ำแบบ hi end แต่เมื่อได้รับงบประมาณสามารถทำการจัดหาเรือดำน้ำได้แล้ว ทร.จะต้องสามารถปรับเรือไปเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศได้ทันที ดังนั้นผมเดาว่ายังไงเรือเยอรมันคงต้องมา และอาจจะติดตั้งระบบเรด้าร์เฟสอะเรย์ ทีดีๆมา 1 ระบบก่อนเลย แต่ไม่น่าจะมี LR-SAM มาด้วย แต่อาจจะมี VLS มาพร้อมแล้ว ทันทีที่ได้เรืื่อดำน้ำ ก็อาจจะเปลี่ยนเรือชุดนี้ให้กลายเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศได้ทันที
ส่วนการเสริมขีดความสามารถในการต่อต้านเรือดำน้นั้น ผมว่า เรือ FFX เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง ซึ่งอาาจะสามารถจัดหาภายหลังได้ เพราะราคาเรือไม่แพงเลย ถ้าต้องการ 4 ลำ ตามโครงการเดิม ก็สามารถจัดหาได้ในราคาแค่ไม่ถึง 20,000 ล้านบาทเท่านั้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทร. ต้องได้เรือที่จำเป็นที่สุดก่อนในขณะนี้ 2 แบบ คือ เรือดำน้ำ และ เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งเป็นปิดจุดบอดของทร.ที่สำคัญที่สุดก่อนครับ ถ้าได้ตามต้องการแล้ว เรื่องการเสริมให้แข็งขึ้นสามารถจัดหาได้ภายหลัง
เพราะถ้าจัดหาเรือต่อต้านเรือดำน้ำแบบ FFX มาก่อน (สายเกาหลีแข็งโป๊กในรัฐบาลชุดนี้) พอได้เรือดำน้ำมาแล้ว ถ้าต้องการเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศอีก ก็ต้องขึ้นโครงการในราคาที่แพงกว่า 30,000 ล้านแน่ๆครับ และจุดบอดด้านการป้องกันภัยทางอากาศก็ยังคงค้างเติ่งอยู่ และอาจจะโดนโจมตีมากมายได้
จุดบอดทร.มี 2 จุดใหญ่ คือ 1.เรือดำน้ำและการป้องกันเรือดำน้ำ เร่งด่วนที่สุด
2. การป้องกันภัยทางอากาศให้เรือบรรทุกบ. ซึ่งตอนนี้ขาดแค่เรือฉากที่สามารถยิง LR-SAM และมีระบบอำนวยการรบรวมการเท่านั้น
ดังนั้นผมจึงให้น้ำหนักที่เรือเยอรมันก่อนครับ แต่เมื่อได้แล้วทั้งเรือดำน้ำและเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ เรืออื่นๆจึงค่อยๆตามมา ทั้งเรือต่อต้านเรือดำน้ำ 4 ลำตามความต้องการเดิม เครื่องบินโจมตี 8 ลำ ซึ่งถึงเวลานั้น harrier 2+ คงมีให้ช๊อป และ OPV กับ LPD ที่เหลือ
เชื่อว่า เรือขนาดประมาณ 3500 ตัน ที่ ท่านผบ.ทร.กล่าวไว้ เดาว่าทร.เลือกไว้ในใจแล้ว ไม่น่าจะหนีจาก Meko-A200 หรือ Meko-D ครับ แต่ถ้าการเมืองมีผล น่าจะเรือเกาหลีครับคิดว่าแรงส่งเขาจะแรงกว่าเยอรมันมาก ส่วนเรื่องเรือฟริเกตจีนไม่น่าเกิดแล้วครับ ยกเว้น เราถังแตกอีกครั้ง ประเภทลดแหลก แจก แถม
ส่วน Perry class upgrade ของป๋า juldas น่าจะตัดออกได้นานแล้วครับ ผมว่ายากมากๆ กลัวเขาจะเสนอให้ฟิลิปปิลน์มากกว่า ส่วน Aster ทั้ง 15 และ 30 คงไม่มีทางเกิดครับ เต็มที่ขอเราคง ESSM เท่านั้น
นั่งอ่านความเห็นหลายๆท่าน กำลังคิดว่า โครงการเรือฟริเกตใหม่ ทร. นี้จริงๆมันก็คือโครงการเรือฟริเกตอเนกประสงค์ธรรมดาครับ ในที่นี้ผมว่ามันจะออกแนวเรือชุดนเรศวร upgarded ครับ ระว่างขับน้ำมากกว่า ขีดความสามารถใกล้เคียงกัน ไม่ได้ต่างกันมากนักครับ หลักๆ คงเป้นปืน 5" ESSM, MSI-DS30M, CEROS-200, 9LV ,Sea Giraffe หรือ I-MAST 500 หากจะหรูหน่อยอาจได้ โซนาร์ลากท้าย แต่หากได้ประมาณนี้ ผมขอให้ได้เรือเกาหลีครับ เพื่อจะได้ K-VLS ,K-ASROC ติดมาด้วย
ลำพังตอร์ปิโดแฝดสาม 2 แท่น ดูจะด้อยไปนัก เมื่อเทียบกับ ทร.ที่จะเสียเรือชุด พระพุทธยอดฟ้าฯไปครับ
เสียได้ ASROC กับฟาลังซ์ บนเรือชุดนี้จริงๆครับ ปลดประจำการแล้ว จะนำไปใช้กับเรือชุดอื่นๆในอนาคตได้หรือไม่หรือต้องคืนอเมริกัน
เอาแบบนี้ได้ไหมครับโหดดี สองลำ
ใช่ครับคุณ Neosiamess เห็นด้วยว่าสายเกาหลีแข็งครับ แข็งจริงๆ แต่หากงบประมาณ 30,000 ล้านได้แค่เรือFFX ผมว่าราคามันออกจะสูงนะครับ ( คิดในแง่ดีคือ ทุกอย่างมาครบสมบรูณ์ตามความต้องการของทร. รวมถึงอาวุธปล่อยต่างๆด้วย รวมในวงเงินแล้ว )
ตอนนี้กำลังคิดครับว่า หลังทร. จัดหาเรือฟริเกตชุดใหม่มีแล้ว ทร. จะหันมาสนใจต่อเรือตรวจการณ์ปราบเรือดำน้ำเพิ่มขึ้นหรือไม่ เช่นแก้ไขแบบจากเรือOPV ชุดกระบี่ น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีนะครับ โดยเฉพาะลำต่อๆไป ผมกำลังคิดว่า การต่อปะทะกันกับเรือผิวน้ำกับฝ่ายตรงข้าม ควรเป็นหน้าที่ของเรือฟริเกตติดอวป.ครบๆ เช่น เรือฟริเกตชุดใหม่นี้ ชุดนเรศวร ชุดเจ้าพระยา หรือ คอร์เวต อย่างชุดรัตนโกสินทร์ ครับ
ส่วนเรือขนาด OPVชั้นกระบี่ หรือชุดคำรณสินธ์ ที่เราสามารถต่อได้จำนวนมากๆ ในราคาที่เรารับได้ หากเรามอบหน้าที่เป็น OPV ต่อต้านเรือดำน้ำ น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี สำหรับ ทร.ไทยครับ ดังที่คุณน่าคิด กล่าวบ่อยๆ ( ขออภัยหากจำผิดท่าน ) คือผมกำลังคิดว่าหากเราสามารถจัดหาเรือOPV ปราบเรือดำน้ำได้จำนวนมากๆ ลำละประมาณ 1000-1500 ตัน มีการติดตั้งโซนาร์หัวเรือ ข้างเรือและแบบลากท้าย รวมถึงติดตั้งตอร์ปิโด หรืออาจมีลานจอด ฮ. ไม่ต้องติดตั้ง อวป. อาจติดแค่ปืน 30มม. ไว้ป้องกันตนเองเท่านั้น แต่เราสามารถจัดหาได้จำนวนมากๆ มีความพร้อมออกการปฎิบัติการสูง ครั้งละหลายๆลำ น่าจะสร้างข้อกังวลให้กับเรือดำน้ำฝั่งตรงข้ามมากกว่า เรามีเรือฟริเกตไม่กี่ลำ และออกปฎิบัติการได้ในจำนวนมากเพราะต้องหมุนเวียนเข้าซ่อมบำรุงครับ
ผมคงไม่ เทพ ขนาดนั้นครับ ท่าน ccguy
แต่จากคำถามท่าน เรือแบบ MEKO A200 และ D มันตอบโจทย์หมดแล้วครับ...ตามรูปความเห็นข้างบนครับ...ว่าแบบเรือสามารถรองรับได้หมดครับ
และ VL-ASROC ผมยังไม่เห็นมีใครประจำการครับ มีแค่ สหรัฐ กับ ญี่ปุ่น
ผมก็ยังสงสัยว่า ถ้า ไทย ต้องการ จะมีโอกาสหรือเปล่า....
แต่ผมก็ให้น้ำหนักว่า น่าจะได้...ถ้า ไทย มีความต้องการขอซื้อ...
เพราะสหรัฐ ก็สนับสนุนขายเรือชั้น KNOX ให้ พร้อมกับ ASROC...
และ VL-ASROC ปัจจุบัน ทร.สหรัฐ ก็กำลังจะเปลี่ยนเป็นแบบใหม่อยู่แล้ว ในเร็ว ๆ นี้...
ส่วนเรือชั้น OHP นี้...ผมเห็นว่า ชุดปราบเรือดำน้ำ ของเรือชั้นนี้ เป็นแบบเดียวกับเรือชั้น DDG และ CG ที่ใช้งานในปัจจุบันครับ...คงมั่นใจในคุณภาพได้แน่นอน...ซึ่งผมให้ประเด็นในส่วนนี้มากกว่าครับ
เรือระบบป้องกันภัยทางอากาศ ผมมองว่า...โอกาส ที่จะโดนรุม ด้วย SU-30 จำนวนหลาย ๆ ลำ ในน่านน้ำไทย นั้น...มีโอกาส น้อยมาก...
และเป็นการ ดูถูก ระบบเรดาร์กองทัพอากาศไทย เกินไปครับ...
ยิ่ง SU-30 บินมาเป็น หมู่ 5 ลำ ล้ำน่านฟ้ามา (ซึ่งมันต้องรวมถึงน่านฟ้าในทะเลด้วยล่ะครับ) ถ้า เรดาร์กองทัพอากาศ ไม่มีความสามารถตรวจจับได้....มันก็น่ากังวล กับ กองทัพอากาศแล้วล่ะครับ...ดังนั้น โอกาสที่เล็ดลอดมา น่าจะเป็นเพียง 2-3 ลำ และผมยังไม่ค่อยได้ยินข่าวว่า SU-30 จะใช้ดาต้าลิงค์ แล้วปิดเรดาร์ ส่งข้อมูลแบบ GRIPEN คือ บินมา 3 แต่เปิดเรดาร์ 1 แล้วเราดาร์ตรวจจับได้เพียง 1 ลำ เลยนึกว่ามีแค่ 1 ลำ....
ผมเลยมองภัยคุกคามทางอากาศ ของ ทร.ไทย เป็นแบบ เฉพาะจุด มากกว่า แบบพื้นที่...
กองทัพอากาศ น่าจะมีความสามารถตรวจจับภัยคุกคามทางอากาศ ถ้ามีขนาดใหญ่ ได้ในระยะไกลครับ...(ผมมีความเชื่ออย่างนั้น...เพราะโดยหลักแล้ว มันควรจะมีเรดาร์ที่ตรวจจับเกินอาณาเขตประเทศอยู่แล้ว) ดังนั้น กองทัพอากาศ แจ้งเตือน กองทัพเรือ ได้ก่อนอยู่แล้วครับ....และ ทอ. ต้องขึ้น สกัดกั้น ก่อน...โดยการประสานระหว่าง ทร. กับ ทอ. คือ ฝ่ายคุกคาม ก็ต้องเปิดเรดาร์ หา เรือฝ่ายเรา อยู่แล้วครับ....คงไม่ ดุ่ม ๆ มา แล้วเจอเลย....ดังนั้น โอกาสการเล็ดลอด หรือ ยุทธวิธี คือ อากาศยานเพียง 1 หรือ 2 ลำ เท่านั้น ที่ต้องหลบการตรวจจับ และติดอาวุธโจมตีเรือ มาโจมตีเรือ ทร.ไทย....ผมไม่เชื่อว่า จะติด อาวุธโจมตีเรือมากับเครื่องบินทุกลำ
การป้องกันภัยทางอากาศแบบพื้นที่ ผมว่ามันเหมาะกับการใช้กับ การที่เราออกไป โจมตีฝ่ายตรงข้าม หรือ การประกอบกำลัง เพื่อคุ้มครองเรือบรรทุกเครื่องบิน...คือ ออกนอกอาณาบริเวณการป้องกันและการตรวจจับของเราเอง....(ตามรูปประกอบครับ)
ผมมองภัยทางอากาศของกองเรือรบไทย ในขณะนี้ เป็นเพียงเฉพาะจุด...เพราะมี ทอ. สนับสนุนอยู่ในระดับหนึ่งอยู่แล้วครับ...
ดังนั้น ในเรื่องภัยทางอากาศ มันมีการป้องกันมากมายหลายชั้นครับ....
แต่การป้องกันภัยใต้น้ำ มันไม่มี....ถ้า เรือดำน้ำ สามารถทำลายเรือป้องกันภัยทางอากาศชั้นเทพของ เรา ได้ก่อน....มันก็จะทำให้การป้องกันภัยทางอากาศของ เรา หายไปชั้นหนึ่งเช่นกัน....ผมเลยว่า ภัยใต้น้ำ น่ากลัวกว่า ภัยทางอากาศ เยอะกว่าครับ...
ถ้าฝ่ายตรงข้าม รู้ว่า เรา มี เรือป้องกันภัยทางอากาศชั้นเทพ....เขาก็ต้องใช้ เรือดำน้ำ มาทำลาย เรือป้องกันภัยทางอากาศชั้นเทพ ก่อน....เพื่อลดภัยทางอากาศ หรือ เพื่อจะใช้ยุทธิวิธีครองอากาศ....แล้วค่อยให้ บ.ครองอากาศ มาครองอากาศในน่านน้ำต่อไป
ทางฝ่ายเราเอง...ก็ต้องใช้ เรือปราบเรือดำน้ำ สมรรถนะสูง มาต่อต้าน เรือดำน้ำ หรือมาทำการปรามเรือดำน้ำให้ปฏิบัติการในพื้นที่อันจำกัด ก่อนเป็นอันดับแรก....ถึงจะมั่นใจ ปล่อยเรือป้องกันภัยทางอากาศชั้นเทพ มาป้องกันการครองอากาศของฝ่ายตรงข้าม....
ที่ความเห็นผมเป็นแบบนี้ ก็เพราะ ไทย ไม่มี เรือดำน้ำ....
เรือฟริเกต F125 ของกองทัพเรือเยอรมนี
หลังต้อง "อกหัก" จากโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำมือสอง "ยู-206" จากประเทศเยอรมนี จำนวน 6 ลำ มูลค่า 7.7 พันล้านบาท ที่ "ราชนาวีไทย" มีความต้องการเพื่อความสมดุลทางอำนาจการรบทางทะเล ตามแผนยุทธศาสตร์กองทัพเรือต่อสู้ภัยคุกคามความมั่นคงทางทะเลที่มีการกำหนดเอาไว้เดิม ทำให้ไม่มียุทโธปกรณ์มาเสริมเขี้ยวเล็บในการรักษาน่านน้ำไทยด้วยเหตุผลที่ทำให้โครงการจัดซื้อ "เรือดำน้ำ" ต้องสะดุดลงต่างๆ นานา
จนมาถึงในยุคของ "บิ๊กหรุ่น" พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) โครงการบิ๊กโปรเจ็กต์ของ ทร. ก็ได้รับไฟเขียว ได้เฮ..เสียงดัง เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ แต่ทว่ากลับไม่ใช่ "เรือดำน้ำ" แต่เป็น "เรือฟริเกต" จำนวน 2 ลำ มูลค่า 3 หมื่นล้านบาท โดยโครงการนี้มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในปีงบประมาณ 2555 เพื่อชดเชยและถ่วงดุลกำลังอำนาจทางท้องทะเล ด้วยการเพิ่มเติมขีดความสามารถต่อการปราบ "เรือดำน้ำ" รวมถึง เพื่อทดแทนการปลดระวางประจำการของ "เรือฟริเกต" ชุด "เรือหลวงพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" โดยมี "บิ๊กเจี๊ยบ" พล.ร.ท.จักรชัย ภู่เจริญยศ (ตท.13) รอง เสธ.ทร. ในฐานะว่าที่ "เสธ.ทร." คนใหม่เป็นหัวหน้าโครงการ
ในเบื้องต้น งบประมาณในการดำเนินจัดซื้อ ทร.จะใช้งบของ ทร.เอง โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 จำนวน 1 ลำ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ปีงบประมาณ 2555-2559 ส่วนระยะที่ 2 อีก 1 ลำ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ปีงบประมาณ 2557-2561 นอกจากนี้ ทร.ดำเนินโครงการปรับปรุง "เรือฟริเกต" ชุด "เรือหลวงนเรศวร" แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ได้ดำเนินการแล้วเป็นการผูกพันงบประมาณ 4 ปี ระหว่างปี 2554-2557 ระยะที่ 2 เป็นการผูกพันงบประมาณ 3 ปี ระหว่างปี 2555-2557 ระยะที่ 3 เป็นการผูกพันงบประมาณ 3 ปี ระหว่างปี 2556-2558 ทั้งนี้ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการทั้ง 3 ระยะ จะทำให้ "เรือฟริเกต" ชุด "เรือหลวงนเรศวร" มีขีดความสามารถในการรบได้ทั้ง 3 มิติ ได้แก่ การรบผิวน้ำ สงครามใต้น้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศ...ถือเป็นการเพิ่มศักยภาพทางการรบที่ดีเลยทีเดียว
ว่ากันว่า การดำเนินโครงการระยะที่ 2 ครั้งนี้ ทร.ได้ดำเนินการจัดซื้อตามระเบียบของทางราชการ โดยแบ่งออกเป็น 2 รายการ ประกอบด้วย การจัดซื้อระบบการรบ เป็นเงิน 2,699,999,000 บาท การจัดซื้อลูกอาวุธปล่อย นำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ Evolved Sea Sparrow Missile : ESSM เป็นเงิน 597,826,775 บาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 3,297,825,775 บาท
อย่างไรก็ตาม ทร.กำลังเร่งดำเนินการเลือกแบบการจัดซื้อ "เรือฟริเกต" ว่าจะมาจากประเทศใด ซึ่งเบื้องต้น "บิ๊ก ทร." กำลังเล็งซื้อเรือสัญชาติ "เยอรมนี" เพราะมีคุณภาพสูง แต่คงต้องจับตาว่าจะมีแรงบีบจาก "มือที่มองไม่เห็น" ให้เปลี่ยนไปซื้อเรือสัญชาติจีน อย่างที่มีข่าวลือหรือไม่....
คอลัมน์ โฟกัสกองทัพ (มติชนรายวัน 22 กันยายน 2555)
ขอบคุณสำหรับข่าวนะครับท่าน pop04 ก็เป็นอันยืนยันค่อนข้างแน่ในใจทร.ตอนนี้เรือเยอรมันมาแน่นอน และมีแนวโน้มเป็น MEKO-D ตามที่ป๋าเสนอจริงๆด้วย ส่วนเรื่องเรือจีนนี่บอกตรงๆ สภาพแบบนี้ที่ถูกสื่อจับตาดูแบบตามติดพร้อมที่จะตามทุบได้ตลอดแบบนี้ ถ้ามีกำลังภายในมาแทรกให้เป็นเรือจีนมีหวังโดนตียับ ยิ่งจากฝั่งเกาหลีแรงๆแข็งๆอยู่ด้วย โดนไม่ยั้งแน่ๆ ถ้าซื้อเรือเยอรมันคนทั่วไปก็น่าจะยอกมรับกับราคานี้แน่นอน เพราะทุกคนรู้ว่าของเยอรมันหรูดีเยี่ยมและแพงโคตรทั้งนั้น พอทำใจได้ว่าเออได้ของดีนะ แต่อาจจะบ่นนิดหน่อย
ข่าวนี้ก็น่าจะยืนยันแนวคิดของป๋าจูลกับผมว่าทร.ต้องการเรือต่อต้านเรือดำน้ำ Hi end ไว้ปรามก่อน เมื่อไรได้เรือดำน้ำมาปั๊บ งานนี้เราได้เห็นเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำแปลงร่างกลายเป็นเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศแน่นอน โดยยังคงขีดความสามารถต่อต้านเรือดำน้ำได้ระดับสูงเท่าเดิมครับ
ในมุมมองทางการเมือง ผมว่าฝ่ายรัฐบาลไม่กล้าแทรกมากมายอะไรนักครับ เพราะยังไงก็ต้องพึ่งกองทัพอยู่ โดยเฉพาะถ้าต้องการให้เรื่องทางใต้สงบเพื่อหวังผลงานทางการเมือง คงต้องให้ทร.มีขีดความสามารถที่จะข่มขวัญเพื่อนบ้านได้อยู่หมัด
ฝ่ายสายเกาหลีก็คงสนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะว่าเมื่อจบโครงการนี้ เขาจะไปมีลุ้นในโครงการเรือดำน้ำและเรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำที่จะมาทดแทนเรือฟรีเกต Hi end ที่ต้องโอนไปทำหน้าที่เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศครับ จบงานี้สายเกาหลีมีลุ้นเรือดำน้ำและเราอาจจะเห็น FFX ได้เกิดในทร. 4 ลำหรือเปล่าหนา.......มาลุ้นกันครับ
อ๊ะ....ลืม เงินซื้อ ESSM เกือบ 600 ล้านบาท ก็น่าจะได้ราวๆ 20-24 ลูก และจากข่าวก่อนหน้าที่จัดหาไปแล้ว 9 ลูก สรุปว่าน่าจะได้มาราวๆ 32 ลูกแล้วสำหรับ MK-41 8 cell หนึ่งชุด หุหุหุ....พร้อมไปหนึ่งลำล่ะ
แหมๆๆ ทร. ไม่น่าจะออกนอกหน้าขนาดนี้เลย น่าจะเล่นตัวซักหน่อยไป บอกไปว่า เราสนใจเรือเกาหลี งี้ก็อด ดีสป๋าจู เเล้วสิเนี้ย ฮ่าๆๆ
ท่าน neosiamese2...
ราคาดังกล่าวประมาณ 597 ล้านบาท น่าจเป็น ESSM จำนวน 9 ลำ ครับ...
เพราะ ดีล นี้ มูลค่า 18 ล้านเหรียญสหรัฐ ครับ คูณอัตราแลกเปลี่ยนที่ 33 บาท จะได้ 597 ล้านบาท
POLICY JUSTIFICATION Thailand—Evolved SEASPARROW Missiles (ESSM),
The Government of Thailand has requested a possible sale of nine Evolved SEASPARROW Missiles (ESSM); three MK25 Quad Pack canisters; and four MK783 shipping containers; spare and repair parts; support and test equipment; publications and technical documentation; personnel training and training equipment; U.S. Government and contractor engineering; technical and logistics support services; and technical assistance and other related elements of logistical and program support. The estimated cost is $18 million.
This proposed sale will contribute to the foreign policy and national security of the United States by increasing the ability of Thailand to contribute to regional security and improving interoperability with the U.S. Military in operational and exercise scenarios. It is consistent with U.S. national interests to assist Thailand in developing and maintaining a strong and ready ship self-defense capability which will contribute to the military balance in the area. ESSM provides ship self-defense capability. The proposed sale will add to Thailand’s capability to meet current and future threats from anti-ship weapons.
ตามที่ประเมินราคาไว้ให้ครับ...ถ้าจะให้มี ESSM เต็มทุก เซล ทั้ง 2 ลำ คือ 64 ลูก ต้องใช้เงินประมาณ 3,800 - 4,000 ล้านบาท ครับ...
ดังนั้น MK-41 คือ เหมือนกับ กระบอกปืน ครับ...เหมือนเรา ซื้อ ปืน มา...แต่เราจะมี ลูกปืน ครบทั้ง แมกกาซีน หรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งครับ...
ผมเลยมองว่า ตอนนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศของ ทร. เป็นแบบป้องกันภัยเฉพาะ จุด...ทำได้แค่นั้นครับ...
และก็คาดว่า ESSM ของ ทร. สำหรับ 2 ลำ นี้ ในเบื้องต้น คงจัดหามาได้ไม่เกิน 32 ลูก...และ ESSM นี้ ก็คงจะหมุนเวียน ระหว่างเรือทั้ง 2 ลำ นี้ครับ...
คงต้องรอ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ลำใหม่อีก 2 ลำ ครับ...ถ้า ทร. ยังใช้ ESSM อยู่ ก็คงจะจัดหามาเพิ่ม และถ้าเรือลำใหม่มีการติดตั้ง 16 เซล ต่อ ลำ...ผม เดา ว่า ทร. ก็คงจะจัดหามาอีก 64 ลูก...แล้วใช้หมุนเวียนกัน สำหรับ จำนวน 2 ลำ...
ผมเลย เดา ว่า....ถ้า ทร. เลือกที่จะมี ESSM แบบเดียว...คงมีไม่เกิน 96 ลูก ครับ...
ผมถึงยังรู้สึกว่า OHP จำนวน 4 ลำ ใส่ ESSM จำนวน 4 เซล และ VL-ASROC จำนวน 4 เซล...
จะใช้ ESSM รวมทั้งหมด 4 ลำ ไม่เกิน 64 ลูก...
จะใช้ VL-ASROC รวมทั้งหมด 4 ลำ ไม่เกิน 16 ลูก...
และถ้า เรือชั้น นเรศวร ใช้หลักการเดียวกับเรือ OHP คือ ใส่ ESSM จำนวน 4 เซล และ VL-ASROC จำนวน 4 เซล
จะใช้ ESSM รวมทั้งหมด 2 ลำ ไม่เกิน 32 ลูก
จะใช้ VL-ASROC รวมทั้งหมด 2 ลำ ไม่เกิน 8 ลูก
เมื่อรวมจำนวนเรือทั้ง 6 ลำ
จะใช้ ESSM ไม่เกิน 96 ลูก
จะใช้ VL-ASROC ไม่เกิน 24 ลูก (เรือชั้น Ticon ของสหรัฐ จำนวน 1 ลำ บรรจุ VL-ASROC จำนวน 20 ลูก)
แต่ ทร. จะมีเรือจำนวนครบ 6 ลำ ตามยุทธการ และมีอาวุธเต็ม แมกกาซีน ไม่ต้องหมุนเวียน...ใช้ไปอีก อย่างต่ำ 20 ปี....
กำลังคิดว่างบ15,000ล้าน ต่อลำ สามารถติดระบบและอาวุธได้ครบจริงเหรอ เพราะแค่ราคาESSMที่คุณJudasบอกมา กับราคาอาวุธอื่นๆ และCMS+Radar สงสัยว่าทร.อาจต้องต่อเฉพาะเรือ+อุประณ์ที่จำเป็นสำหรับภารกิจASWก่อน หลังจากซื้อเรือดำนำ้แล้วจึงค่อยแปลงเป็น FFG ตามที่ท่าน neosiamese2 คิด
ผมว่า พอ ครับ ท่าน RAF...ถ้า ตัวเรือพร้อมระบบอาวุธตรวจจับ ระบบอาวุธเครื่องยิง ปืน, MK-41 และ ชุดระบบต่อต้านเรือดำน้ำ อยู่ในวงเงินไม่เกิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ครับ...
พิมพ์ไม่หมด...หมายถึง 400 ล้านเหรียญต่อลำ นะครับ...รวม 2 ลำ ประมาณ 800 ล้านเหรียญ...เหลืออีกประมาณ 160 - 200 ล้านเหรียญ จัดหาพวกลูกจรวดต่าง ๆ หรือประมาณ 4,500 - 6,000 ล้านบาท...
ขนาดแค่ C-802A จำนวน 13 ลูก (ถ้าจำจำนวนไม่ผิด) ทร. ยังต้องจ่ายค่าลูกจรวดกว่า 1,600 ล้านบาท
ถ้าพอก็ดีครับ ขอถามนอกประเด็นนิดนึงครับ ผมอ่านspecเรือFormidable แล้วสงสัยว่าเรือติดตั้งแต่ Thales Herakles ซึ่งเป็น multi function แต่ไม่เห็นมี Long rance radar เลยครับ หรือว่าใช้แค่ตัวเดียวก็พอ
สรุปแล้วคงจะได้MEKO-D + essm เป็นแน่แท้ ส่วนจะได้ VL-ASROC หรือเปล่าก็อยุ่อเมริกาจะใจดีหรือเปล่าหละครับ ยังไงจัดหาอาวุธมาให้ครบๆ+เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำตัวจริง ด้วยนะครับ(เงินยังเหลือไหม) เรือ2ลำนี้จะต้องเป็นกระดูกสันหลังกองทัพเรือไทยไปอีก30-40ปี
เห็นหน้าตาที่ชัดเจนของกองเรือก็ดีครับ จะได้ดำเนินการเรื่องอื่นๆได้ต่อไป เรือ2ลำนี้ต้องการมานานสุดท้ายได้ตัวแพงสุด ไม่ว่าจะด้วยอะไรผมก็ดีใจกับกองทัพเรือด้วยครับ หลังๆเราต่อแต่เรือจีนมีแต่เรือเปล่าๆมาโดยตลอด เครื่องบินก็ได้มือ3บินได้แป๊ปๆก็หมดอายุ พอได้แบบนี้ผมก็งงๆเหมือนกันนะ เรือดำน้ำก็ค่อยว่ากันในงวดต่อไป
คิดเผื่อไปว่าอนาคตอเมริกาใจดียอมขายSM-2ให้เราซัก8ลูก ค่อยมาโมใส่กันใหม่อีกรอบ ขอแค่เอาไว้ให้เพื่อนบ้านเกรงใจก็พอนะครับพี่กัน ไม่ได้คิดจะเอาไปยิงใครจริงๆหรอก
BANGKOK, September 24 (Xinhua) -- The Thai government has recently approved the purchase of two medium-sized frigates with a budget of 1 billion U.S. dollars after denying allegation about the countrys navy persistent request for submarines.
The ships will beef up the capability of the Thai maritime force in patrolling the countrys territorial waters in the Gulf of Thailand and Andaman Sea, the navy said.
Navy Chief Admiral Surasak Rounroengrom has officially denied media reports that they prefer frigates made in China than those made in Germany.
The admiral said that the navy is still waiting for studies and suggestions by an ad hoc procurement committee to decide where these frigates should be procured.
The navy, which had been earlier reported to be interested in buying a fleet of four second-hand U-206A submarines from Germany, will meticulously consider the German-made frigates but it is not also discounting the China option, a high-ranking navy officer said.
The 1-billion-US dollar fund, approved by the Yingluck Cabinet for the procurement of the frigates, is to be spent for a 10-year period, beginning from current fiscal year. The two frigates are unlikely be procured at the same time, the navy officer said.
The navy is reportedly looking for boats with an approximate 4, 000-ton displacement, which might be either brand-new or secondhand, depending on specifications and preferences of the commanding admirals.
The two frigates to be acquired will replace two US-made, Knox- class frigates, namely HTMS Phutthayodfa Chulalok and HTMS Phutthalertla Napalai, both scheduled to be decommissioned in 2015, Defense Minister Sukumpol Suwanatat said.
The two frigates would be capable of engaging in three possible combat scenarios with simultaneous maneuverability: anti-aircraft, anti-surface ship and anti-submarine warfare.
One possible candidate is Chinas Type 054A "Jiangkai II" frigates, featuring 4,000-ton displacement, 30-knot speed, 8,000- nautical mile maneuverable range. The Chinese ships cost about 255 million U.S. dollars each.
The Thai navy now has four secondhand Type 053T "Jianghu" frigates, built in China, which have 2,400-ton displacement, 32- knot speed and 4,000-nautical mile range. The Thai navy is also considering a German-made, Bremen-class F122 frigate with a 3,700- ton displacement, 30-knot speed and 4,000-nautical mile range.
The German navy has planned to decommission and replace the F122 frigates with more sophisticated F125 Baden-Wurttemberg-class frigates in 2016.
As to the weapon systems to be fitted in the chosen frigates, the Thai navy is said to be interested in Chinese-made C-802A surface-to-surface missiles as well as US-made Harpoon surface-to- surface missiles and US-made Sea Sparrow surface-to-air missiles. Thailand currently deploys guided missiles acquired from China and the U.S. on its frigates and corvettes.
http://www.chinadaily.com.cn/xinhua/2012-09-24/content_7092489.html
น่าจะได้เฮ กันละครับ ตามหัวข้อกระทู้กันเลย Type054A กับม้ามืด F122 มือสองจากเยอรมัน สนุกคุณ Juldas กับคุณ Neosiamese ละครับ งงมากๆครับ ไปๆมาๆทำไม ข่าวมันกลายเป็นเรือจีน กับเรือเยอรมันมือสอง
ข่าวจาก ไชน่าเดลี่ ก็แค่การคาดการณ์ ยังไม่มีการแถลงแคนดิเดตจริงๆจังๆจาก ทร. เรื่องชาตินิยมของพวกจีนก็เห็นๆกันอยู่หลังๆว่าไม่ต่างกับยิวอิสราเอล(ยังไม่รวมถึงข่าวยูสเซอร์จัดตั้งคอย ปจว. ให้ประเทศตนตามเว็บบอร์ดทั่วโลกตามที่เคยเป็นข่าว) อีกอย่าง ถ้าเป้นจริงละก็ จากงบประมาณที่น่าจะได้เรือมือหนึง กลับไปคว้ามือสอง ผู้ตรวจฯ คงมีงานทำ.....
เป็นการ วิเคราะห์ ครับ ท่าน Mr.Bean ก็เหมือนกับเรา แหล่ะครับ...
ตอนนี้ ยังไม่มีการยื่นประมูล ใด ๆ....ก็สามารถมี เรือหลาย ๆ แบบ ได้ เสนอตัว ได้แสดงความคิดเห็น กันน่ะครับ...
ตอนนี้ ทุกสิ่ง ทุกอย่าง คงอยู่ที่ คณะกรรมการพิจารณาแบบ ครับ...
เราคงทำได้เพียงเป็น กองเชียร์ กับ กองยำ...ครับ...ฮ่า ฮ่า ฮ่า ฮ่า....
ก็หวังว่า ดีล การจัดหาเรือครั้งนี้ คงโปร่งใส และ ทร. มีความเข้มแข็ง และ มีความกล้า ที่จะปฏิเสธ ถ้าแบบเรือมันไม่ใช่จริง ๆ....ถ้ามีกำลังภายใน หรือมีมือล่องหน มาดึงดัน ให้เอาให้ได้...ก็ กรุณา มีความกล้า กันหน่อยรึกันครับ...
ถึงเป็นลูกทะเล ก็จงอย่าเป็นเหมือน น้ำไหลเอื่อย...คือ ใครจะขีดให้ ไหล ไปไหน ก็ไป...ระวัง เขาจะขีดให้ ไหล ไปลงถังส้วมน่ะครับ...มันจะเหม็นเอา...แล้วกองเชียร์ เขาจะสมน้ำหน้าให้...
F122 Bremen Class Frigate, Germany
Type 054A "Jiangkai II" Frigates
-*-
ถ้าสองลำนี้ ขอ Type054A ละกันครับ อีกลำเก่าไป
น่าจะปักหมุดนะกระทู้นี้
ถ้างบขนาดนี้แล้วเอาของมือสอง หรือเอาเรือจีนผมว่าจากเชียร์จะกลายเป็นด่าแทนนะครับโดยเฉพาะฝ่ายการเมือง
ในข่าวของทาง ซินหัวเองก็ยืนยันว่าทางทร.สนใจเรือเยอรมันมากกว่า แต่งง...อ่ะ ทางซินหัวพูดวิเคราะห์ยังกับว่าทางรัฐบาลเขาจะกล้าขาย type 054A พร้อมระบบต่างๆตามมาตรฐานที่ทัพเรือจีนใช้ทั้งหมดเลยหรือ...............ถ้ากล้าขนาดนั้นแสดงว่าจีนต้องการดึงเราเป็นพันธมิตรมากๆ แบบว่าดีลนี้ถ้าซื้อตามที่เขาเสนอ เราได้เรือ 4 ลำ ใช้ type 054A เป็นฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศ และ F-122 ปราบเรือดำน้ำ ว่าง่ายๆ คนวิเคราะห์คงลืมดูความเข้ากันได้ของระบบป้องกันภัยทางอากาศที่เราพึ่งจะลงทุนไปในระบบของสวีเดนว่า มันเข้ากันไม่ได้กับระบบที่เราลงทุนไปแล้วเลย
แต่เรือ F-122 มือสองนี่ก็น่าเล่นนะครับ ถ้าได้เรือดำน้ำแล้ว และเมื่อเรือฟรีเกต Hi end แปรสภาพเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ เรือฟรีเกตต่อต้านเรือดำน้ำ 4 ลำที่ขาด คงได้สู้กันสนุก FFX OHP F-122 ดีพอๆกันเลยทั้ง 3 ดีล แต่ OHP F-122 เหมาะจะตามกองเรือออกไปนอกบ้านมากกว่า FFX เพราะใหญ่กว่าทนทะเลกว่า
ขอบคุณมากนะครับป๋าจูลเรื่องเทียบค่าเงินดอลล์กับบาทในเรื่องการจัดหา ESSM ผมนึกว่าเป็นละดีลกัน
ส่วนการจัดใส่ ESSM ในเรือชั้นนเรศวรนั้น ถ้าทำตามแบบป๋าว่า แสดงว่าต้องการการป้องกันเรือดำน้ำแบบเร่งสุดๆเลยนะนี่ ดังนั้นเราคงได้รู้ผลใน 1-2 ปีนี้ว่าอเมริกันจะขาย VL-ASROC ให้เราหรือเปล่า ถ้าขายให้จริง ทร.ต้องรีบจัดหามาอุดช่องว่างทันที
สำนักข่าวซินหัวเองก็พูดด้วยว่าเราก็ยังสนใจในเรือ type 206A 4 ลำที่เหลืออยู่ ถ้าได้มาพร้อมดีลซื้อเรือฟรีเกต Hi end เราก็จะมีความพร้อมในด้านการต่อต้านเรือดำน้ำได้เร็วขึ้นมาก และเหมาะสมที่จะเป็นเรือฝึกมากๆครับ เพราะ type 209 ทั้งเกาหลีและเยอรมันก็ใช้ระบบอำนวยการรบรุ่นเดียวกันเลย หวังว่าเมื่อถึงเวลาจัดซื้อ เรือเกาหลี type 209 ทางเกาหลีคงพร้อมที่พัฒนา AIP แล้วเสร็จนะครับ เพราะอีก 6 ปีแน๊ะ
รูป F-122 ขนาดเกือบ 3700 ตัน อับเกรดแล้ว ติดตั้ง RAM-21 นัดสองชุด ไม่รู้ว่าสามารถปรับปรุงให้ติดตั้งโซน่าร์ลากท้ายได้โดยไม่ยุ่งยากมากนักหรือเปล่า แต่เรือรุ่นนี้ก็เป็นเรือฟรีเกตที่ดีรุ่นหนึ่งครับ ระบบเครื่องยนต์ก็เป็นแบบที่เราเลือกใช้อยู่
ไม่เอาอะไร ทั่งนั่น จะเอามือ1 ไม่เอาจีนไม่เอามือ2อายุก้หลายสิบปี ว่าแต่สื่อนอกนี้รู้ดีจังนะ คนไทย+สื่อไทยยังไม่ค่อยจะรู้เลย
ใจจริงอยากให้เรือชุดนี้ออกแบบและต่อในประเทศ หรือไม่ก็ซื้อแบบหรือร่วมมือกันกับต่างประเทศในการออกแบบแต่ให้เราได้ลิกสิ ทธิ์ของเรือ แล้วมาต่อในอู่เอกชนในประเทศภายใต้การควบคุมของกองทัพเรือ ส่วนระบบควบคุมและอาวุธต่างให้มาติดตั้งที่ประเทศไทยทั้งหมด เมื่อเรือเสร็จแล้วก็ออกเดินทางทดสอบทั่วโลกสัก 1 รอบ แวะประเทศต่างแถวตะวันออกกลาง แอฟริกา ยุโรป อเมริกาใต้ โดยการสร้างสัมพันธ์โดยการเยี่ยมกองทัพเรือประเทศเหล่านั้น ผมมองแบบธุระกิจไม่แน่อาจมีหลายๆ ประเทศสนใจ งานนี้เราอาจได้ทุนคืนมาบ้าง เพราะประเทศเราเขายอมรับด้านผีมือช่างกันทั้งนั้น ถึงอาจจะไม่ได้ขายทั้งระบบแค่ตัวเรือเปล่าก็ได้แล้ว มันเป็นการสร้างงานสร้างเงินให้กับประเทศ
รูปและข้อมูลเพิ่มเติมของ FFX ใช้ระบบอำนวยการรบของบริษัทร่วมทุน SUMSUNG Thales คือ NS ICMS แต่รูปที่ลงน่าจะเป็น FFX ในเวอร์ชั่นแรกนะผมว่า เพราะเห็นว่าใหญ่ถึง 2700 ตัน(ตัวเปล่า) แต่ลดขนาดลงมาเป็น 2300 ตัน(ตัวเปล่า) ใครชอบเรือมือหนึ่งก็เล็งๆไว้ครับ เป็นเรือที่สวยงามดีนะในเวอร์ชั่นที่ลงไว้
ในเวอร์ชั่นต่อลงน้ำจริง สามารถเปลึ่ยนเป็นปืนใหญ่ 76 มม.ได้ พื้นที่ดาดฟ้าเรือน่าจะดูโล่งขึ้น น่าจะสามารถติดตั้ง VLS ได้ถึง 16 cell
ผมอยากรู้จัก Type 054a ไปค้นใน google เจอกระทู้เก่าๆ งบ 30,000ล้านบาท ได้ 4 ลําเลย
http://bit.ly/P4glvz ลิงค์ครับ
A 4000-ton frigate design that is offered in four different configurations
FM400 Class Frigate ร่างย่อส่วนของ FREMM Frigate คาดว่าน่าจะมาทดแทน La Fayette Class
ตัวเรือระดับ 4,000 ตัน น่าจะรองรับ การเปลี่ยน เรดาร์ ตามใจลูกค้าได้อยู่ครับ
FM400 Version Anti-Submarine Warfare
ลืม Credit
http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t2744.htm
ตัวผมเองก็มีความเห็นสอดคล้อง กับหลายๆท่านด้านบนนะครับในเรื่องการต่อเรือเองภายในประเทศ โดยเฉพาะเรือฟริเกตในระดับนี้ครับไม่ว่าจะเป็นการซื้อสิทธิบัตรในการผลิต หรือร่วมลงทุนอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม เพื่อให้องค์ความรู้อยู่ในประเทศครับและลดกระแสเรื่องการใช้งบประมาณสูงๆ ไปซื้ออย่างเดียว และที่สำคัญ ทร.สามารถเอาองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอดได้อีก เรื่องการพ่วงเรือดำน้ำนั่นตัวผมเองกลับมองเป็นไปได้ยาก และหากฝืนทำก็อาจจะโดนโจมตี ในเรื่องการล๊อคสเปคหรือเปล่าครับ อาจจะมีผลต่อโครงการนี้ได้เหมือนกันนะครับ เหมือนจำได้ว่า เมื่อไม่นาน ท่านผู้บันชาการกองเรือดำน้ำ เพิ่งให้สัมภาษณ์ ว่ายุติโครงการ เรือ U206A ไปแล้วจึงไม่น่าจะปลุกผีขึ้นมาอีก ทั้งนี้ทั้งนั้นโครงการนี้คงต้องดูกันไปยาวๆ ผมว่า ทร.ได้ทำการบ้านกันหนักแน่ครับ
ผมคิดว่าถ้าได้เรือมือ 1 รุ่นอะไรก็ได้ ขนาด 2500-3500 ตัน ในราคา 30,000 ล้าน ซื้อได้ 4 ลำ ดีที่สุด ก็เพราะว่า 2 ลำ ใช้เป็นเรือต่อต้านเรือดำน้ำเป็นหลัก อีก 2 เน้นต่อสู้อากาศยานประมาณว่าติด MK41 1 ชุด ใส่ SM2 6 ลูก ESSM 8 ลูก CIW 1 ชุด ก็ยังพอรับได้ ครับ เรือขนาดนี้น่าจะออกทะเลลึกได้เพราะขนาดก็พอๆกับเรือนเรศวร แล้วถ้าให้ดีแบ่งมาต่อในประเทศสัก 2 ลำ แถวนี้คงไม่มีใครส่งเครื่องบินรบมาโจมตีทีล่ะหลายๆลำ จรวดโจมตีเรือก็มีสะสมกันไม่มากยิงออกแต่ล่ะชุดคงไม่เกิน 4 นัดต่อครั้ง ดังนั้นสเปกที่ผมว่าน่าจะเอาอยู่ ครับ (ดูอย่างไทย ซื้อ RBS-15 มาแค่โหลเดีียว จะยิงแต่ล่ะครั้งคงไม่เกิน 2นัดต่อ 1 เป้า)
แอบมาเชียร์ FM400 Class Frigate ด้วยอีกคน แต่ขอตัวเรือแบบ reverse hull เหมือน zumwalt class กลายๆ
เหตุผลที่เชียร์เพราะมี ระวาง 4,000 ตัน APAR + SMART-L หรือ HERAKLE + SMART-L สบายๆ
ตัวเรือน่าจะทนทะเลกว่าแกว่งน้อยกว่าขณะเจอคลื่นและประหยัดเชื้อเพลิงกว่า
ถ้ามองข้ามข้อเสีย สองข้อไปได้คือ
1 ความน่าเชื่อถือในการส่งอะไหล่ยามสงคราม
2 ความรู้สึกที่มีมาในอดีตของเรา
แต่ก็มีข้อดีคือ มีโอกาสสูงที่จะต่อในฝรั่งเศส หนึ่งลำ แล้วมาต่อในไทยอีกหนึ่งลำ ทำให้เราได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการต่อเรือฟรีเกต คล้ายๆกับสิงคโปร์ หรือดีล สกอร์ปิเน่ของอินเดีย
และยังได้ LR-SAM มาด้วย
ซึ่งหากลำที่สองมาต่อในไทยได้ ผมลองนับเล่นๆดู
ฟรีเกต หนึ่งลำ
LPD หนึ่ง ลำ
OPV สาม ลำ
frigate ASW สี่ลำ
รวมเก้าลำ ตกลำละสองปี อู่นาวีมหิดล มีงานทำตลอด สิบแปดปี และเงินค่าต่อตัวเรือก็จะหมุนเวียนในประเทศ เสียออกนอกเพาะค่าอาวุธและระบบ
ทหารเรือก็จะมีความชำนาญและความรู้มากขึ้นในการต่อเรือรบ
อาจจะดูเหมือนแพงในช่วงแรก แต่ระยะยาวน่าจะคุ้มค่ามาก และอาหลั่ยตัวเรือส่วนใหญ่ก็ต้องสร้างแบบหล่อโลหะเองอยู่แล้ว ยกเว้นส่วนเครื่อง อาวุธ และอิเล็กทรอนิกส์
คือผมมองว่าโอกาสดีลในการถ่ายทอดเทคโนโลยีของฝร่ังเศส น่าจะเป็นไปได้มากกว่าเยอรมันนะครับ
แต่โดยส่วนตัวก็ชอบสินค้าเยอรมันนะครับ เพราะคุณภาพสูง จนมีสำนวนล้อเล่นว่าเวลาซื้อของในเยอรมันจะwith garuntee เสมอ
FM400 Class Frigate reverse
FM400 Class Frigate reverse
ตัว FM 400 ก็สามารถ ติดตั้ง VLS ได้ถึง 4 ระบบเลย
ตอนแรกอาจจะมาแค่ สอง ระบบ ก่อนก็ได้
...ข่าวเงียบแท้เหลา...
ภาพเรือตรงกลางใช่
Iver Huitfeldt class
รึเปล่าครับนิ
ขอ เดา ว่า จะเป็นเรืออีกแบบ ที่อาจจะเข้าร่วมการ เสนอตัว...
จาก สหรัฐอเมริกา...แต่เป็นเรือ แบบเรือฟริเกตเบา...(สงสัย เบา ของ สหรัฐ เพราะ ระวางตั้ง 4,600 ตัน)
เป็นเรือฟริเกตเบา จนเบาสมชื่อเลยครับ ท่านJuldas
ไม่น่าจะเหมาะครับ ระวางขับน้ำถึง 4600 ตัน แต่ติดตั้งอาวุธไม่ได้เหนือกว่า เรือฟริเกต ชุดนเรศวร เท่าไร ยกเว้นเรือ ASW
แต่ที่น่าสนใจ คือที่เรือสามารถรับการปฎิบัติการของ ฮ.ขนาด Seahawk ได้ถึง 2 ลำ หรือ ฮ.1 ลำหรือ UAV 1 ลำ
เรือฟริเกตใหม่ของทร. น่าจะมีขีดความสามารถในการลองรับ ฮ. 2 ลำได้เช่นกันครับ
โดยเฉพาะตรงที่ควรระบุใน Spe. ว่าควร ต้องสามารถปฎิบัติการร่วมกับ ฮ. ทุกแบบที่ทร. มีครับ ทั้งโรงเก็บและลานจอด
ผมว่ามันจำเป็นในยามสงครามครับ ที่ ฮ. ทุกแบบของทร. ตวรลงจอดบนเรือทุกลำของทร. ที่มีลานจอด ครับ
แต่ถ้าเอามาเป็นเรือฟริเกตปราบเรือดำน้ำ 4 ลำ ตามที่คุณ neosiamese ระบุว่า ทร.ต้องการจัดหา 4 ลำ ก้โอเค ครับ แต่คงต้องเพิ่ม VL-ASROC เข้าไปครับ
http://ingalls.huntingtoningalls.com/products/nsc
ดูแล้วน่าจะมาจาก โปรเจคท์NSC -National security Cutter เป๊ะๆเลย แต่เพิ่มระบบต่างๆที่ทันสมัยมากขึ้นเข้าไป ไม่น่าสนใจเท่าไหร่แฮะ .....
เป็นแบบเดียวกันครับ...คือเป็น Patrol Frigate....
ถ้าใช้ Coast Guard ก็จะเป็นรุ่น PF-4501 ถ้าใช้เป็น Light Frigate จะเป็นรุ่น PF-4921...
ซึ่ง รุ่นนี้ ถ้าจะน่าสนใจ คงเป็น เรื่อง ราคา น่ะครับ...เพราะ มีการผลิตใช้ของ สหรัฐ เอง น่าจะหลายลำ อยู่ เห็นอ่านว่า อาจจะมีการสั่งซื้อ ถึง 140 กว่าลำ...อาจจะได้ราคาถูกกว่า เจ้าอื่น ๆ...
แต่เรื่องระบบอาวุธ ก็จะไม่แตกต่าง จาก เจ้าอื่น ๆ ครับ...เพียงแต่ รูปทรง อาจะไม่ทันสมัยเท่ากับเจ้าอื่น ๆ....
A big procurement project of 2 frigate ships for 30bn Baht ($977m) has drawn criticism against the Royal Thai Army and has also raised the question of its necessity and its usefulness amidst the exorbitant price, considering the aftermath of the failed procurement of 6 decommissioned submarines from Germany for 7.6bn Baht ($250m), which was the highest priority of the Royal Thai Navy until it was eventually shelved. When the Royal Thai Navy ordered the HTMS Chakri Naruebet from Spain in 1992, the country’s only aircraft carrier planned as the Navy’s fleet command center, the price then was only 7.1bn Baht ($231m).
On September 18, 2012 the cabinet of Prime Minister Yingluck Shinawatra has approved the budget to buy frigates weighing 2,000 to 3,500 tons for 30bn Baht, after it was submitted by “Big Oh” - Air Chief Marshal Sukumpol Suwanatat, Defense Minister. The Commander-in-Chief of the Royal Thai Navy, Adm Surasak Rounroengrom (“Big Roun”) has assigned a fellow Class 13 graduate from the same army preparatory school, “Big Jieb” Adm Jakchai Poocharoenyos (Royal Thai Navy Chief-of-Staff) to head the project.
In the planned time frame, the navy wanted to have the approval for the frigates before the end of the fiscal year 2012 [September 30, 2012] in order to regain leverage over the internal balance of power after the failed submarines procurement and also to replace the soon-to-be-decomissioned frigate HTMS Phutthayotfa Chulalok.
The procurement of the frigates will supposedly take place in two phases: in the first, one frigate for 15bn Baht ($488m) during the fiscal years of 2012-2016 and during the second phase, another one for 15bn Baht during the fiscal years of 2014-2018. Also, the currently active frigate HTMS Naresuan is being upgraded in three phases, with budget commitments during the fiscal years of 2011-2014, 2012-2014 and 2013-2015. Currently, the Thai navy has two frigate fleets with 11 and 6 ships each.
The procurement committee has decided that the new frigates would be from Germany, since they are known for their well-built, high quality ships for a good value. But the navy would have to push for German frigates even more when submitting the request to the Ministry of Defense. The first hurdle there, “Big Tuey” Adm Chaiwat Bukkaratna, Adviser to the Minister of Defense and overseeing this very procurement, will approve it.
But there are also rumors that the “Big Boss” [possibly the Defense Minister?] wants to have frigate from China instead, which worries the navy officers in charge, since they fear the Chinese ships would be of bad quality and corrode within a few years. The HTMS Naresuan and the HTMS Taksin were procured from China and then commissioned in 1995, but are now in process of being repaired after growing corrosion and upgraded for total budget of 7bn Baht ($228m).
This coincides with rumors that the “Big Boss” [most likely Defense Minister Sukhumpol] has ordered the navy to change the procurement of submarines into the procurement of frigates instead. If they would have insisted to buy a new submarine, the price would have been about 15bn Baht ($488m), same as a frigate ship. But that would still have proven problematic and it could have ended in the same fate like the German second-hand submarines.
This wouldn’t have boded well with Defense Minister Sukumpol Suwanatat, who decided to stop the procurement process for the six decommissioned Type U-206 A submarines from Germany worth 7.6bn Baht ($250m) in total by not submitting the proposal to the cabinet for approval. Apart from letting the bidding deadline pass and other “technical problems”, Sukhumpol has ordered Adm Surasak Rounroengrom to look into other types of submarines and prepare the procurements of new submarines instead.
However in that case, he would have been accused to have deliberately scrapped the procurement process in order to purchase new submarines from Korea or China. In order to avoid this problem, Sukhumpol thus has altered to procurement to the two frigates instead.
ช่วยแปลกันหน่อยครับ
ประมาณว่า ครั้งก่อน ทร.เลือก U-206a จากเยอรมัน แต่ติดปัญหาที่กลาโหม ...ดึง....และอยากให้จัดหาเรือดำน้ำใหม่แทน
มาครั้งนี้ จริงๆแล้ว ทร.ต้องการดันโครงการเรือดำน้ำใหม่ แต่โครงการเรือฟริเกตใหม่ ถูกดันขึ้นมาแทนโครงการเรือดำน้ำ โดยกลาโหม ซึ่งหากทร.จะจัดหาเรือดำน้ำใหม่ มันก็มีราคาพอๆกับเรือฟริเกต คือประมาณ 15000 ล้านบาท เหมือนกัน และตามข้อเขียนระบุว่า ทร. คงจะต้องยอมรับโครงการเรือฟริเกต ประมาณว่ากลัวว่าผลลัพธิ์ในจะจบแบบโครงการ U-206a
นอกนั้นก็เป็นข่าวออกมาก่อนแล้ว คณะกรรมการจัดหาของทร.เลือกเรือฟริเกตจากเยอรมัน แต่กลาโหมอยากได้จากเรือจีน และก็มี กลาโหมดันโครงการเรือฟริเกตมาแทน ประมาณ กลัวว่าอาจเกิดปัญหา เรื่องที่ว่า กลาโหมดันเรือดำน้ำจากเกาหลีและจีนสำหรับเรือดำน้ำใหม่มาแทนโครงการ U-206 ในครั้งก่อน
ผมได้อ่านหลายความคิดเห็นเเล้วก็เลยอยากจะขอเเจม สักนิด คือไม่ว่าจะเลือกหาอะไรรุ่นไหน ผมอยากให้คำนึงเรื่องที่เราจะสามารถ ทำได้เองบ้างได้อย่างไร ซื้อสำเร็จมาพอเป็นเเบบ เน้นที่พยายามซื้อเทคโนโลยีเขามาพัฒนาเองบ้างก็คงดีครับ ซื้อของสำเร็จก็มิวายที่จัต้องซื้ออะไหร่มาซ่อมอยู่เนืองๆ ในระยาวก็ไม่รู้จะต้องใช้งบอีกเท่าไหร่ ซื้อครั้งเดียวเเม้จะเเพงเเต่ถ้าเราเอามาต่อยอดทำทุกอย่างได้เองจะเป็นผลดีมากกว่า
ได้ใหม่ดีกว่าเก่าก็ถือว่าดีแล้วล่ะครับ
ฝากผลการแข่งขันยกแรก ( ข้อเสนอ ) ให้คุณjuldas ครับ
คู่แรก จีน 3 เยอรมัน 2
คู่สอง จีน 3 เกาหลีใต้ 2
คู่สาม จีน 3 สเปน 2
คู่สี่ จีน 3 สิงคโปร์ ( ผู้เล่นฝรั่งเศส ) 2
ขอบคุณ มากครับ คุณfatboy กำลังรอข่าวอยู่เลยครับ ว่าstaff requirement จะออกประเทศไหน ตัวเลขที่ใบ้ คงหมายถึงจำนวนลำใช่ไหมครับ
จีน กับ เยอรมัน พอเดารุ่นได้ แต่เกาหลีใต้ สเปน และ ฝรั่งเศส เนี่ยเดาไม่ออกว่ารุ่นไหนครับ เพราะรุ่นที่เดาน่าจะราคาถูกกว่างบประมาณที่มี
แอบเซ็งเรื่องกองทัพเรือโดน ตอดงบด้วยภาษีอีก มันจะอะไรกันนักหนาก็ไม่รู้ คิดเป็นเงินก็ไม่ใช่น้อยด้วยนะครับ
จีน ใช้ ปริมาณ เข้าสู้...เพื่อ ลดจุดด้อย ในคุณภาพ...
ก็คงไม่เกินรุ่น P-22...ถ้าดีลนี้ จีน ได้ (ทร. เละ)...
ถ้า งานนี้ เยอรมัน ไม่ถูกแทรกแซง จาก มือที่มองไม่เห็น...
ผมให้ เยอรมัน ชนะ...
แต่ถ้า ทร. ยังยอมรับในปัญหาการแทรกแซง แบบ ซ้ำซาก...
ผมให้ คู่ สูสี ที่
คู่ที่ 3 คือ จีน กับ สเปน ครับ...
แต่ สเปน ก็อาจจะชนะแบบ เหนื่อย หน่อย...
ผมว่า เรื่องของเรื่อง คงที่ กองทัพเรือ เอง แหล่ะครับ...ว่า...เป็น กองทัพเรือ จริง ๆ รึเปล่า ?
ในความเห็นว่า คู่ สูสี น่าจะเป็น เยอรมัน กับ สเปน มากกว่านะครับ...
จีน ไม่น่าจะจับคู่กับประเทศอื่นได้...
เกาหลีใต้ กับ สเปน ก็ล้วนใช้ระบบอาวุธ จาก ซีก สหรัฐอเมริกา...ผมให้ คะแนน สเปน ชนะเกาหลีใต้
เยอรมัน และ ฝรั่งเศส จะเด่นในเรื่องระบบอาวุธ ซีก ยุโรป...ผมให้ คะแนน เยอรมัน ชนะฝรั่งเศส
จึงเป็นที่มาของเหตุผลของผม ว่า ควรจะเป็น คู่ชิง ระหว่าง เยอรมัน กับ สเปน...
กองทัพเรือ คงต้อง ขีดเส้นใต้ แบบ เน้น ๆ ชัด ๆ ดำ ๆ ตัวใหญ่ ๆ ว่า
เราจัดซ์้อ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ภาระกิจ ต่อต้าน เรือดำน้ำ
ไม่ได้จัดหา เรือฟริเกตแบบมาตรฐาน ซึ่ง การที่ จีน ในปริมาณ เข้าสู้...จึงไม่ใช่ เหตุผล ที่ จีน จะได้ ดีล ถ้าจะชนะในข้อนี้...
ซึ่ง สเปน อาจจะคว้าชัย เหนือ เยอรมัน...อาจจะด้วยเหตุผลที่...เยอรมัน ถูกปฏิเสธด้วยข้อหาที่ว่า เป็น เยอรมัน...ประกอบกับ สเปน มี สหรัฐ ที่เป็นแบคอัพในเทคโนโลยี่เรือรบ อยู่แล้ว ก็มีความโดดเด่นในเรื่องนี้ด้วย...
ในความเห็นผม จึงให้น้ำหนัก ไปที่ เยอรมัน กับ สเปน ครับ...
ส่วน สิงคโปร์ (ผู็เล่นฝรั่งเศส) ผมว่าราคาออกมา คงสูงกว่า เจ้าอื่น ถ้าข้อกำหนด สเปค เรือที่เท่าเทียมกัน...(ของ ฝรั่งเศส กับ อิตาลี่ ไม่เคยมีของถูก)
ของ สเปน ก็น่าจะเป็น บริษัท Navatia ครับ...
ซึ่งน่าจะเป็น่แบบเรือชั้น Nansen ที่เป็นเรือต่อต้านเรือดำน้ำ ระวางขับน้ำประมาณ 5,000 ตัน
แผ่นภาพครับ...
ผมขอ เดา ว่า...ในจำนวนเรือที่ จีน ให้เพิ่มขึ้นนั้น...คงไม่ใช่ระบบอาวุธเดียวกัน น่ะครับ...
เพราะถ้าใช้ เงื่อนไข ที่ระบบอาวุธ ระบบตรวจับ และระบบอำนวยการรบ ที่เหมือนกันทั้งหมดทุกประเทศ..ราคาระบบต่าง ๆ ดังกล่าว ของทุกประเทศจะมีราคาที่เท่ากัน...
ถ้า สมมติ ซึ่งระบบอาวุธ และระบบอำนวยการรบ จะอยู่ประมาณ 50% ของราคาทั้งหมด มูลค่าโครงการ 30,000 ล้านบาท จำนวน 2 ลำ ถัวเฉลี่ยลำละ 15,000 ล้านบาท...ระบบต่าง ๆ ข้างต้น จะตกลำละ 7,500 ล้านบาท...ตัวเรือ ลำละประมาณ 7,500 ล้านบาท
ถ้า จีน เสนอขายให้ จำนวน 3 ลำ...เฉพาะระบบต่าง ๆ ขั้นต้น จำนวน 3 ลำ ก็จะมีมูลค่า 22,500 ล้านบาท...ดังนั้น เฉพาะมูลค่าตัวเรือ จะมีเพียง 7,500 ล้านบาท เท่านั้น...ซึ่งผมว่า ไม่น่าจะเป็นไปได้ครับ...
ดูแล้ว เรือจีน จำนวน 3 ลำ...ระบบอาวุธ และระบบต่าง ๆ คงต้องเป็นของ จีน ทั้งหมด ครับ...หรือจะมาแนวเดียวกับ เรือชั้น นเรศวร...
ถ้าลองคำนวณดู ในความเห็นผมว่า เรือจีน ก็ไม่ได้ถูกเท่าไหร่นะครับ...
เมื่อเราใช้การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนที่ 30 บาท ต่อ เหรียญสหรัฐ
เรือจีน ตกลำละ 10,000 ล้านบาท หรือ ลำละ 333 ล้านเหรียญ...ก็จะได้เรือที่ระบบต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะเป็นของจีน หรือ อาจจะเป็นระบบจีนทั้งหมด โดยจะมีสมรรถนะเรือก็จะเทียบเคียงกับเรือชั้น นเรศวร...หรือสูงกว่า เล็กน้อย เท่านั้น
ซึ่ง เรือชั้น นเรศวร ใช้เงิน ลำละ ประมาณ 110 ล้านเหรียญ ในการอัพเกรดเป็นเรือสมรรถนะสูง(ระบบอำนวยการรบ 9VL,MK-41VLS,Radar,Decoy,Link E&G และอื่น ๆ) เมื่อหักจำนวนเงินนี้ออก...ตัวเรือจีนรวมระบบขับเคลื่อน จะมีมูลค่าถึงลำละ 223 ล้านเหรียญ...
ในขณะที่เรือประเทศอื่น ๆ ตกลำละ 15,000 ล้านบาท หรือ ลำละ 500 ล้านเหรียญ...ทร.ก็จะสามารถเลือกเรือที่มีเทคโนโลยี่มาตรฐานตะวันตก หรือมีสมรรถนะที่สูงกว่า เรือทุกลำของ กองทัพเรือ และอาจจะในภูมิภาคได้...
ถ้าคู่ชิง เป็นเยอรมัน กับ สเปน จริงๆ นี่เลือกยากจัง ถ้าไม่นับว่าเยอรมันติดโทษแบนอยู่ ไม่ทราบว่าคุณjudas เชียร์ใครครับ
ส่วนผมแอบ ใจเอนเอียงมาทางสเปน ถ้าเป็นnansen class แต่ไม่รู้ว่า ระบบ AEGIS กับเรดาห์ SPY-1Dจะมาด้วยหรือเปล่าถ้ามาครบเนี่ยจัดหนักเลยนะนั่น
แถมnansen ยังใส่VLS มาแค่ 8 cell คล้ายกับเรือชั้นนเรศวรของเรามาก แต่ก็แอบมีที่ spare สำหรับ VLS อีก 24 cell เผื่ออัพเกรดในอนาคต
แถมได้ depth charge มาด้วย ขาดก็แต่ VL-ASROC ถ้าได้มาด้วยเนี่ยครบเครื่องเลย
ไม่รู้ว่าทางเยอรมัน ถ้าส่ง meko-D เข้าชิง จัด APAR + smart-L แถม U-206 สักสี่ลำก็น่าจะตัดใจยากเหมือนกัน ไม่รู้ว่าถ้าเป็น meko-D จะมี depth charge มาด้วยหรือเปล่าครับ
แต่ยังก็อย่าลืม พ่วง OHP อีกสองลำมาด้วยนะครับ
ในส่วนของ สเปน เป็นการคาด เดา เอานะครับ...แต่ก็น่าจะอยู่ราว ๆ แบบเรือนี้...ถ้า ทร. เน้น Anti Submarine...ส่วนเรื่องที่ สเปน จะตบให้อยู่ในงบประมาณ...ผมเชื่อว่า สเปน สามารถทำได้อยู่ครับ...ยกตัวอย่าง ร.ล.จักรีนฤเบศร์...
แต่ถ้าให้เลือก ระหว่าง แบบเรือเยอรมัน MAKO กับ แบบเรือ สเปน...
ผมในคะแนน MAKO มากกว่าครับ...เพราะด้วยรูปแบบเรือสามารถปรับเปลี่ยนระบบต่าง ๆ ได้ในอนาคต เมื่อภัยคุกคามเปลี่ยนแปลงไป...
และผมดูว่าแบบเรือดูจะ เอนกประสงค์ในแง่ภาระกิจ (ถ้าเป็นรุ่น D ที่มีประตูเปิดท้ายได้) และขนาดพอสมส่วนดีครับ...แบบของสเปน ผมว่า ยังดูใหญ่กว่า MAKO...แต่ก็มีข้อได้เปรียบในแง่ การอยู่รอดจากความเสียหายจากการถูกโจมตีอาวุธนำวิถี จาก ใต้น้ำ สู่ ผิวน้ำ...เช่น SUB EXCOCET...ซึ่ง ผมคิดว่า สเปน น่าจะได้แนวคิดความคงทนเรือ มาจาก เทคโนโลยี่ของสหรัฐ...
และ ทร. เคยออกแบบเรือเอง คือ ชั้นนเรศวร ที่ใช้หลักคิดเดียวกับเรือแบบ MAKO...เมื่อ ทร. ได้เรือที่เป็น MAKO จริง ๆ เข้ามาประจำการ...ผมว่า ทร. คงจะศึกษาเทคโนโลยี่และแนวคิด การออกแบบเรือ จากของจริงนำมาพัฒนาแบบเรือในอนาคต และน่าจะมีส่วนในการพัฒนาต่อยอดของ OPV ได้อีก...
เพิ่มเติมรูปครับ ลืม ของ เกาหลีใต้ ไป..อิ อิ
เรือจีนต้องอาวุธจีนครับ งบประมาณแค่นี้ เสนอเรือฟริเกต 3 ลำ จำนวนมากกว่ารายอื่น อย่างไรเสียต้องใช้ระบบจีนและอาวุธจีน เพียงแต่จะไม่ใช่ C-802a แต่จะเป็น C-803 ส่วนเครื่องยนต์เป็นยุโรปครับ แบบเรือฟริเกตชุด เจ้าพระยา แต่ส่วนตัว มีความเชื่อว่า ทร.จะไม่จินเป็นผู้ต่อเรือฟริเกตใหม่ครับ ยกเว้นมันจนใจจริงๆ เพราะทร. ลงทุนให้ เรือของทร.สามารถติดต่อเน็ตเวิร์คกับ ทอ.ได้ ถ้าจัดหาเรือใหม่แล้วเชื่อมต่อไม่ได้ คงเป็นการลงทุนที่ไม่คุ้ม แม้ทร. จะได้จำนวนเรือที่มากขึ้นครับ
ส่วนเรื่อง OHP นั้น ทางสหรัฐ อยากขายแต่อยู่ที่เรา ( รัฐบาล ) จะกล้าเสี่ยงหรือไม่ ทร.อย่างไรก็ได้ครับ เพราะอย่างไรเสียต้องจัดหาเรือฟริเกต ทดแทนเรือชุดพุทธยอดฟ้าฯ ครับ แต่ประเด็นที่กลัวกัน คือจัดซื้ออาวุธมือสอง จะมีปัญหาขยายความเสมอครับ
ตอนนี้กังวลเรื่อง กองเรือลำน้ำ และกองเรือยามฝั่ง มากกว่าครับ เรือที่เรามี ส่วนใหญ่จะมีอายุประจำการนาน และมีความเร็วช้ากว่า เรือที่ผู้ทำผิดกฎหมายใช้ ทั้งการขนยาเสพติด ของหนีภาษี น้ำมันเถื่อน และอาวุธครับ และถึงแม้ ทร.จับกุมได้ในทะเลหรือแม่น้ำโขง ต้องส่งดำเนินคดีต่อ หากตรวจดู ผู้ต้องหาและเรือที่ยึดได้ จะถูกปล่อยเสมอ คนเหล่านี้ก็จะกับมาทำธุรกิจผิดกฎหมายอีก รวมถึงเรือที่ยึดได้ ก็ยังมีการนำกลับมาใช้เช่นเดิม ( กระบวนการทางกฎหมายของเรามีช่องว่างมาก )
เห็นด้วยครับ เรื่อง กองเรือลำน้ำ...ถ้าผมจำไม่ผิด เคยมีโครงการนานหลายปีแล้ว เรือที่จะทดแทนของเดิม แต่ก็เห็นเงียบหายไป...
เคยเก็บข้อมูลในอดีต ประมาณปี 2549 ความพร้อมเรือ มีจำนวนต่ำมาก เมื่อเทียบกับ ความยาวของ แนวแม่น้ำโขง...
ลองจัดทำภาพประกอบครับ....
เผื่อ สมาชิก จะออกความเห็นกันว่า อยากได้แบบไหนกัน ครับ...
แบบที่ 1 จาก เยอรมัน
แบบที่ 2 จาก สเปน
แบบที่ 3 จาก สิงคโปร์
แบบที่ 4 จาก เกาหลีใต้
แบบที่ 5 เรือจาก จีน
ผมคิดว่า ทร. ในระหว่างนี้ เมื่อไม่สามารถจัดหา เรือดำน้ำ ได้...ก็น่าจะใช้ในส่วนนี้ เป็นเหตุ-ผล ในการจัดหา เรือ OHP เพื่อการต่อต้านเรือดำน้ำ...ที่ต้องใช้ ปริมาณเรือรบสมรรถนะสูง ในจำนวน 2-3 ลำ ต่อภัยคุกคามเรือดำน้ำ จำนวน 1 ลำ
เพราะผมคิดว่า เรือดำน้ำ คงต้องรอไปอีกไม่ต่ำกว่า 5 ปี ถึงจะเกิดโครงการใหม่ได้อีก...เพราะในช่วงนี้ ก็อยู่ในโครงการของ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง อยู่...
และผมคิดว่า เมื่อถึงเวลานั้น...ความร้อนแรงของ ข้อพิพาท ในหมุ่เกาะ ทะเลจีนใต้ คงร้อนมากขึ้นกว่านี้แน่ครับ...
ซึ่ง เรือบรรทุกเครื่องบินของ จีน คงมีความพร้อมรบเต็มที่แล้ว...
รวมถึง AEC ที่กำลังเป็นรูป เป็นร่าง...ประเทศไทย คงไม่สามารถ ปฏิเสธ การเป็นส่วนหนึ่งในความมั่นคงของ ภูมิภาค ซึ่งรวมถึง การคุ้มครองผลประโยชน์ของนานาชาติ ในฐานะประเทศที่เป็นกลาง ในบริเวณทะเลจีนใต้...ซึ่ง โอกาส ความรุนแรง มีสูงขึ้นทุกขณะ...
จึงน่าจะเป็น โอกาส ของ เรือดำน้ำไทย ที่จะเริ่มต้นโครงการอีกครั้ง. ในช่วงระยะเวลานั้น...
แต่เพื่อความปลอดภัยและป้องกันไว้ สำหรับระยะเวลาปัจจุบัน...
ไทย ก็ควรจะมี กองเรือผิวน้ำ ทีมีประสิทธิภาพการปราบเรือดำน้ำสมรรถนะสูง ที่สามารถรองรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้น ในช่วงระหว่างนี้...
ผมมองในแง่คนในภาคอุตสาหกรรมน่ะครับ กับเงิน 30000 ล้านบาท ต้องแยกแยะเป็นที่อยากได้ กับที่เป็นไปได้ ออกจากกันดังนี้
ที่ ทร. อยากได้ คือ เรือฟรีเกตสมรรรถนะสูง 2 ลำ 30000 ล้าน จากประเทศยุโรป
ที่ รัฐบาลอยากได้ คือ เรือฟรีเกต 2 ลำ จากจีน โดยเอาข้าวของที่ค้างในสต๊อกไปแลก
ที่เป็นไปได้มากสุดในมุมมองภาคอุตสาหกรรม คือ เรือฟรีเกตจีน 3 ลำ เงินสด 30000 ล้าน เพิ่มข้าวของที่ค้างสต๊อกไปแลกอีกราว 10000 ล้าน คืออย่างนี้ ครับ ในปัจจุบัน สินค้าอุตสหกรรมที่ผลิตส่วนใหญ่จะแบ่งเป็น สินค้าจากจีน(ราคาถูก) สินค้าจากประเทศชั้นนำ(แต่วัสดุจากจีนเพื่อลดราคา) สินค้าจากประเทศชั้นนำ(ราคาแพงปัจจุบันไม่ค่อยมีใครสั่งซื้อ) ซึ่งเราผู้บริโภคไม่มีทางรู้เลยว่าของที่ใช้อยู่มาจากแหล่งไหนเพราะผู้ผลิตจะบอกแค่ยี่ห้อ ไม่บอกแหล่งกำเนิดชิ้นส่วน
มากรณีเรือรบบ้าง เพื่อให้ win-win ทุกฝ่าย ผมจึงเสนอ เงินสด 30000 ล้าน และเพิ่มสินค้า 10000 ล้าน
โดยสินค้าเกษตร 10000 ล้าน แลกกับโครงเรือรบต่อเป็นจิกซาส (ท่อนๆ) ส่งมาประกอบในประเทศไทย 3 ลำ (เหมือนต่อเรือกระบี่เป็นท่อนๆแล้วมาประกอบทีหลัง) ซึ่งในภาคอุตสาหกรรมของไทยก็ทำกันแบบนี้ของเป็น 1000 ตันก็ต้องต่อมาเป็นท่อนๆแล้วมาประกอบในไทย
เงินสด 30000 ล้าน ก็เป็นเงินสำหรับซื้ออุปกรณ์ทุกอย่างตามที่ ทร. อย่างได้ จะของ เยอรมัน สหรัฐ สวีเดน ก็ว่ากันไปโดยการควบคุมของเข้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งคราวนี้จะแตกต่างจากคราวเรือชุดนเรศวรที่ผิดพลาดตรงที่ต่อสำเร็จจากจีนแล้วมาใส่อาวุธในไทยซึ่งมาตรฐานการเดินระบบจีนกับยุโรปจะต่างกันมากทำให้มีปัญหา
ทำแบบนี้ เท่ากับ ทร. ได้เงินถึง 40000 ล้าน กับเรืออีก 3 ลำ และอุตสาหกกรรมต่อเรือในประเทศ และได้ความสัมพันธ์ที่ดีกับทุกประเทศที่เข้าร่วมในโครงการ ไม่มีปัญหาความลับอาวุธรั่วไหล ครับ
ส่วนเรื่องเรือ OHP ของสหรัฐ ผมมองว่าเป็นโอกาศที่ไทยจะได้ของดีราคาไม่แพง 2-4 ลำ แต่ต้องมีการปรับปรุงอีกพอสมควร โดยต้องมี ESSM , ฟาลังค์ , VL Asroc , Harpoon ด้วยจึงจะเหมาะสมกับเรือขนาด 4000 ตัน ไม่อย่างนั้นก็คงไม่คุ้ม ครับ
ผมสงสัยอยู่อย่างนึงว่า อาวุธเก่า เช่น ฟาลังค์ ที่สหรัฐถอดจากเรือเก่าไปเก็บรักษาไว้ มีหรือไม่ และเค้าเคยขายหรือไม่ เพราะบางทีการซื้อเรือเก่ามา ก็อาจจะขอซื้ออาวุธที่ทันสมัยแต่ถูกถอดเก็บไว้มาปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นแล้วติดตั้งกับเรือเก่าของเราได้ เช่น ติดให้กับเรือชั้นรัตนโกสินทร์ นเรศวร หรือแม้แต่เรือจักรีฯ ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันได้ แต่ลงทุนไม่มาก
ผมขออนุญาตยกตัวอย่างการผลิตงานภาคอุตสาหรรมของไทยที่เกิดขึ้นจริงๆมา 1 ตัวอย่างน่ะครับ เช่น อุปกรณ์ reactor ขนาด 2000 ตันยาวมากสุดที่เคยเห็น ก็สัก 100 เมตร โครงเหล็กภายนอกมาจากจีนผลิตตามแบบของเยอรมันแล้วส่งมาเป็นท่อนๆเพื่อให้ขนย้ายได้ประมาณชิ้นล่ะ 100 ตันแล้วมาประกอบในประเทศไทย ชิ้นส่วนภายในก็อาจเป็นสิงค์โปรแต่ออกแบบจากเยอรมัน อุปกรณ์อิเลคทรอนิกจากญี่ปุ่น(แต่ตามข้อกำหนดของเยอรมัน) อุปกรณ์เครื่องยนตร์ต่างๆก็มาจากบราซิล (แต่ตามข้อกำหนดเยอรมัน)
ทุกอย่างทำตามแบบของเยอรมัน แต่ปัญหามีอย่างเดียวสินค้าที่มาจากจีนต้องตรวจสอบคุณภาพ 100 % ทุกชิ้นก่อนรับมอบเพราะไม่เช่นนั้นอาจเป็นของผิดสเปกได้ ครับ
สอบถามนิดครับ เรือ type-54 หรือ F-22 Type ของจีน ถ้าสมมุติใช้ระบบและอาวุธของจีน แล้ว เราไปเพิ่มในระบบดาต้าลิงค์เพิ่มลงไปได้ไหมครับ
ได้ครับ แต่ Saab ไม่ยอมปล่อยข้อมูล interface ให้ทอ.กับทร. เพราะเหตุผลทางการค้านั้นเอง จริงๆแล้วสวีเดนก็กำลังหันไปใช้ Link 16 เพื่อจะได้คุยกับ NATO รู้เรื่อง มีแต่ทร.ไทยถอยหลังตกคลองเอง อาจจะเพราะนายหน้า GT200 มันเส้นใหญ่ด้วยแหละ มันก็เลยกลายเป็นล็อกให้ Saab กินนิ่มๆ จริงๆแล้วเรดาห์ sea gearaf ตัวนี้ก็โบราณโคตรๆ สมัยนี้เค้าใช้ solid state กันหมดแล้ว ทร.เรายังจะไปขุดรุ่นแผ่นเสียงมาฟังอีก สรุปโดนหลอกอีกแล้ว