หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เห็นข่าวนี้แล้วอึ้ง

โดยคุณ : seaman เมื่อวันที่ : 17/09/2012 22:16:30

โลกแห่งข่าวสาร ฟังหูไว้หูนะครับ

ไม่เหลืออะไรเป็นความลับ .. ฝีมือจอมล้วงตับเหนือทะเลจีนใต้

ทะเลจีนใต้ไม่น่าจะเหลืออะไรเป็นความลับอีกแล้ว สหรัฐฯ ได้ใช้ออสเตรเลียเป็นฐานปฏิบัติการของยาน RQ-4 Global Hawk (โกลบัลฮอว์ค) นานถึง 5 ปี และในตอนนี้เจ้า "เหยี่ยวโลกา" ก็ไปประจำการที่ฐานทัพเกาะกวมในแปซิฟิกเรียบร้อยแล้ว เพิ่งจะมีการเปิดเผยกันสัปดาห์ที่แล้ว ให้เป็นที่ฮือฮา

สหรัฐฯ เลือกใช้ฐานทัพอากาศเอดินเบิร์ก (Edinburg Air Force Base) ทางตอนใต้สุดของออสเตรเลีย เป็นฐานปฏิบัติการลับสุดยอดในการบินตรวจการณ์ ลาดตระเวนและถ่ายภาพเหนือมหาสมุทรอินเดียและแปซิฟิก

ยาน RQ-4 เป็นโดรนหรือยานไร้คนบังคับ (Unmanned Aerial Vehicle) หรือ AUV ที่สุดวิเศษ มีรัศมีปฏิบัติการกว่า 16,000 กิโลเมตร ทั่วมหาสมุทรอินเดีย โอเชียเนีย แผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทะเลจีนใต้จึงไม่น่าจะมีอะไรเหลือเป็นความลับอีก

บินสูง 60,000 ฟุต (กว่า 18,000 เมตร) สูงกว่าเครื่องบินโดยสารทั่วไป 1 เท่าตัว เร็วและเงียบกริบ .. ติดอุปกรณ์ถ่ายรูปพิเศษที่ให้ความคมชัดสูงยิ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่ยังไม่มีใครทำเลียนแบบได้ เพราะฉะนั้นอะไรๆ ที่อยู่เบื้องล่าง ใครว่ายน้ำอยู่ริมหาดทรายที่ไหน ใครขับรถสปอร์ตไปตามถนนสายใด ใครจะไอจะจามก็ล้วนอยู่ในสายตาของ RQ-4 ทั้งหมด ไม่ต้อวงพูดถึงว่าใครจะเคลื่อนกำลังทหาร จะฝึกจะซ้อมอะไรก็ตาม จอมล้วงจับจะส่งข้อมูลเรียบไทมส์กลับรังอย่างต่อเนื่องราวกับส่งหนังสนุกๆ เข้าไปฉายในโรงภาพยนตร์

สหรัฐฯ ปฏิบัติการล้วงความลับโดยใช้ออสเตรเลียเป็นฐานปฏิบัติการระหว่างปี 2543-2549 ปัจจุบัน RQ-4 หนังสือพิมพ์ในออสเตรเลียรายงาน

นั่นคือหนึ่งในบรรดายานโกลบอลฮอว์คทั้งหมด 23 ลำ ที่ประจำการในสหรัฐฯ ปัจจุบัน รวมทั้งขององค์การบริหารการบินและอวกาศหรือ "นาซ่า" ด้วย

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเจ้าหุ่นยนต์บินได้จะไฮเทคสักเพียงไรและแอบปฏิบัติการลับๆ เพียงไรก็ตาม แต่ก็ไม่ได้รอดพ้นสายตานักบินเก่าและนักประวัติศาสตร์การบินกลุ่มหนึ่งในเมืองอะดีเลด (Adelaide) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปใหญ่

กลุ่มนี้มีพนักงานตรวจจับคลื่นวิทยุวันละ 20 ชั่วโมง และตรวจพบ "การสื่อสารลึกลับ" หลายครั้งในช่วงปีดังกล่าวและในที่สุดก็สามารถถ่ายรูปยานโกลบัลฮอว์คไว้ได้เป็นหลักฐาน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่ทางการออสเตรเลียออกมายอมในเวลาต่อมา มีการเปิดเผยเรื่องนี้ในสัปดาห์ต้นเดือน ก.ย.นี้ ในขณะที่รัฐมนตรีกลาโหมยังคงกระอักกระอ่วนใจที่จะพูดถึงเรื่องนี้

กระทรวงกลาโหมสหรัฐประเมินความมีสติระวังตัวกับฝีมือของนักบินแก่ๆ ชาวออสเตรเลียต่ำไปหน่อย กลุ่มเวสต์บีชเอวิเอชั่นกรู๊ป (West Beach Aviation Group) ได้พบว่า RQ-4 จะขึ้นบินในยามค่ำคืน แต่ก็มีบางครั้งที่ยกเว้น -- ขึ้นบินช่วงกลางวัน ทำให้จับภาพเอาไว้ได้ มัดให้ทางการต้องยอมจำนน

พอล ดอวส์ (Paul Daw) โฆษกของกลุ่ม WBAC กล่าวในการแถลงข่าวที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศว่า พวกตนเฝ้าติดตามเรื่องนี้ จนกระทั่งถ่ายภาพเอาไว้ได้ ก่อนหน้านั้นเคยมีเจ้าหน้าที่กองทัพอากาศบางคนไปเยี่ยมถึงสำนักงาน และกำชับว่า เรื่องนี้เป็นความลับสุดยอดของฝ่ายกลาโหม ขอร้องมิให้เปิดเผยเรื่องราวของยาน RQ-4 ต่อสาธารณชน

"ช่างภาพของเราเคยมีแขกไปเยือนโดยไม่ได้เชิญ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทางทหารของออสเตรเลีย สอบปากคำพวกเราหลังจากที่เราเริ่มเผยแพร่เรื่องราวต่างๆ ในเว็บไซต์" พอล ดอว์ กล่าว

"เจ้าหน้าที่กล่าวว่าเรื่องนี้ล่อแหลมต่อความมั่นคงปลอดภัยของฐานทัพออสเตรเลีย"
.
กลุ่ม WBAG กล่าวว่า พวกตนทราบดีความมั่นคงปลอดภัยของออสเตรเลียนั้นมีความสำคัญยิ่งยวด และไม่เคยเผยแพร่ภาพเกี่ยวกับเครื่องบินรบของออสเตรเลีย แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้มีกฎหมายใดที่ห้ามถ่ายรูปยานบินของสหรัฐฯ หรือของประเทศใดเหนือท้องฟ้าออสเตรเลีย

และในที่สุด WBAG ก็ตัดสินใจตีพิมพ์บางส่วนของเรื่องราวเกี่ยวกับโกลบัลฮอว์ค ในจดหมายข่าวที่เผยแพร่อ่านกันภายในกลุ่ม แต่ถึงกระนั้นทางการสหรัฐฯ ก็ยังยืนยันขอให้ออสเตรเลียปิดเรื่องนี้เป็นความลับให้ได้ ซึ่งสายเกินไปเสียแล้ว

ระยะจากปลายปีกข้างหนึ่งไปยังอีกข้างหนึ่งยาวกว่าปีกของโบอิ้ง 737 และราคาลำละ 200 ล้านดอลลาร์ ยาน RQ-4 โกลบัลฮอว์ค เป็นอากาศยานไร้คนบังคับราคาแพงที่สุดและมีเทคโนโลยีสูงที่สุดที่มีใช้อยู่ในโลกขณะนี้ เป็นเครื่องมือสุดยอดของกองทัพอากาศสหรัฐในการจารกรรม ดักฟัง แอบฟัง สอดส่อง สอดแนม เก็บความเคลื่อนไหวของฝ่ายตรงข้าม ส่งภาพถ่ายและข้อมูลผ่านดาวเทียมไปยังฐานปฏิบัติการ หรือตรงไปยังที่ใดๆ ก็ได้ในโลกนี้

สหรัฐฯ ถือเป็นนโยบายที่จะไม่เปิดเผยตำแหน่งที่ตั้งหรือศูนย์ปฏิบัติการของ "เหยี่ยวโลกา" ใช้ชื่อ RQ-4 ซึ่ง "R" เป็นรหัสที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐกำหนดขึ้นใช้กับยานบินตรวจการณ์ และ "Q" หมายถึงระบบอากาศยานไร้คนบังคับ และ เลข "4" หมายถึงซีรีส์ของยานชนิดนี้ที่สร้างขึ้นมา ยังมีรุ่นพิเศษคือ EQ-4 ซึ่งมีการติดตั้งระบบอุปกรณ์สื่อสารพิเศษสำหรับปฏิบัติการเหนือสนามรบ

ตามข้อมูลอย่างเป็นทางการโกลบัลฮอว์คปฏิบัติการประจำฝูงบินตรวจการณ์ที่ 12 ฐานทัพอากาศบีลี (Beale Air Force Base) รัฐแคลิฟอร์เนีย กับฝูงบิน 348 ในรัฐนอร์ธดาโกตา ไม่มีการระบุจำนวน แต่ข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวการทหารหลายแห่งระบุว่ารังใหญ่ของ RQ-4 แท้จริงแล้วอยู่ที่ฐานทัพอากาศเอ็ดเวิร์ด (Edward Air Force Base) ในแคลิฟอร์เนียซึ่งเป็นศูนย์ปฏิบัติการของอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่าง โดยไม่อาจจะมีผู้ใดล่วงล้ำเข้าไปใกล้ได้

เท่าที่โลกภายนอกรับรู้ อย่างน้อยที่สุดก็มีอีก 1 ลำ ประจำในการอยู่ที่ฐานทัพอากาศของประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง คอยสอดส่องความเคลื่อนไหวตั้งแต่อิหร่าน ไปจนถึงกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถานและปากีสถาน

ในช่วงปีหลังๆ นี้ กลุ่มนักรบกองโจรตอลิบานถูกโจมตีทิ้งระเบิดแบบไม่รู้ที่มาที่ไปและไม่รู้เนื้อรู้ตัวมาตลอด ซึ่งว่ากันว่าเป็นผลงานของ RQ-4 กับเครื่องบินทิ้งระเบิด B-2 บี ที่ทำงานร่วมกันเป็นปี่เป็นขลุ่ย

สหรัฐฯ เผยแพร่ภาพหนึ่งออกมาเมื่อเร็วๆ นี้ แสดงให้เห็น RQ-4 อีกลำหนึ่งประจำการที่ฐานทัพอากาศเกาะกวม ทางตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่เกาะฟิลิปปินส์ และตอนใต้คาบสมุทรเกาะหลีกับหมู่เกาะญี่ปุ่น ที่นั่นเป็นฐานอันอบอุ่นท่าสุด มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เหมาะสมที่สุดสำหรับปฏิบัติภารกิจล้วงตับ

ข่าวที่ออกมาต้นเดือนที่แล้วซึ่งระบุว่า สหรัฐฯ อาจจะใช้เกาะกวมเป็นฐานปฏิบัติการจารกรรมของ RQ-4 ในทะเลจีนใต้นั้น จึงเป็นทั้งข่าวจริงและข่าวลวงในขณะเดียวกัน – มันเป็นข่าวลวงก็เนื่องจากสหรัฐฯ แอบทำมานานแล้วนั่นเอง.

 


ภาพยาน RQ-4 Global Hawk เตรียมออกปฏิบัติการในยามกลางคืน ที่ฐานปฏิบัติการในตะวันออกกลางแห่งหนึ่งซึ่งไม่มีการเปิดเผย สหรัฐฯ ถือเป็นโยบายไม่เปิดเผยเรื่องนี้ แหล่งข่าวกลาโหมหลายแหล่งระบุว่าข้อมูลอย่างเป็นทางการที่ให้สาธารณชนได้รับรู้กับข้อมูลที่เป็นจริงนั้นแตกต่างกันทีเดียว และอย่างน้อยที่สุดความลับที่สหรัฐฯ ไม่เคยให้โลกภายนอกได้รับรู้มาก่อนก็รั่วจนได้ โดยฝีมือของนักบินเกษียรณอายุชาวออสเตรเลียกลุ่มหนึ่ง. -- ภาพ: US Air Force.


ภาพจาก Google Earth ระบุวันเวลาชัดเจน เป็นการ "แอบถ่าย" โกลบอลฮอว์คลำหนึ่งกับ U-2 อีก 2 ลำ ทีมจารกรรมนี้ จอดที่ฐานทัพอากาศบีลี (Beale Air Force Base) ในแคลิฟอร์เนีย แหล่งปฏิบัติการหนึ่งใน 2 แห่งของ RQ-4 ในสหรัฐฯ ไม่ทราบจำนวนประจำการ และไม่มีการเปิดเผยว่าจำนวนที่เหลือประจำอยู่ที่ใดในโลกนี้บ้าง.

 


http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000113433





ความคิดเห็นที่ 1


ดีนะที่ไม่มาลงที่อู่ตะเภา ไม่งั้นฑูตไทยในจีนปั้นหน้าไม่ถูกแน่ๆ

โดยคุณ ecos เมื่อวันที่ 15/09/2012 20:38:04


ความคิดเห็นที่ 2


เกาะกวม ก็เป็นพื้นที่ของ สหรัฐ ครับ...

ถ้าเข้าใจไม่ผิด สหรัฐ ก็ตั้งฐานเรือดำน้ำ ที่เกาะนี้เหมือนกันครับ..

.

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2012 06:49:40


ความคิดเห็นที่ 3


กะรทู้ เกาะกวม ใน Thaifighterclub ครับ

http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=11736&topic=%AB%D8%BB%E0%BB%CD%C3%EC%B0%D2%B9%B7%D1%BE%E0%A1%D2%D0%A1%C7%C1%CA%CB%C3%D1%B0

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2012 06:52:34


ความคิดเห็นที่ 4


สหรัฐ ประกาศเอง ครับ ว่าจะลงทุนมูลค่า 8000 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อสร้างเป็น ซุปเปอร์ฐานทัพ ตามกระทู้อ้างอึงข้างบนครับ

อาจจะไม่น่าจะแปลกใจแล้วครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2012 06:54:04


ความคิดเห็นที่ 5


RQ-4 จัดเป็น อากาศยานชั้นความลับ อยู่...คือ ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะชน โดยทั่วไป แต่จะจัดชั้นความลับระดับไหน ก็จะเป็นอีกเรื่องหนึ่ง (มีหลายระดับ)...เช่น Arava ของ ทอ.ไทย...ก็น่าจะจัดอยู่ในชั้นความลับ...แต่ปัจจุบัน คงลดระดับความลับลง...เช่น บ.โจมตี A-4 ในช่วงยุคสงครามเย็น ก็ชั้นเป็น บ.ชั้นความลับในระดับที่ ไม่ให้เปิดเผย ภายใน หรือ ต้องผ่านความเห็นชอบในการเผยแพร่ภาพในบางกรณี...

ประเด็นของข่าว น่าจะเป็นประเด็นหลัก คือ การใช้อากาศยานชั้นความลับ ใน พื้นที่ น่านฟ้าของออสเตรเลีย..

ซึ่งตามข่าว ฐานทัพเอดินเบิรก์ ของ ออสเตรเลีย...ที่มีการใช้ RQ-4 คือ ก็น่าจใช้ในบริเวณ มหาสมุทรอินเดีย กับ แถวขั้วโลกใต้...มากกว่า...

ถ้าให้ เดา...ถ้าใช้ในแง่การสังเกตุการณ์ ก็น่าจะเป็น พม่า กับ อินเดีย...มากกว่า...

แผ่นภาพ การ เดา พื้นที่การปฏิบัติการของ RQ-4



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2012 08:30:23


ความคิดเห็นที่ 6


ฐานทัพอากาศ ออสเตรเลีย

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/09/2012 08:32:56


ความคิดเห็นที่ 7


ขอบคุณครับท่าน juldas  ดูเหมือนว่าอเมริกาจะเก็บข้อมูลการเดินเรือทั้งทางฝั่ง แปซิกฟิกใต้ (ประตูสู่อเมริกากลางและอเมริกาใต้) และมหาสุทมรอินเดีย (ประตูสุ่ตะวันออกกลางและแอฟริกา) ไปหมดแล้ว
ทำให้สงสัยว่านโยบายเรื่องการปิดล้อมจีนอาจมีมูลความจริงไม่มากก็น้อย หากมีปัญหากระทบกระทั่งกันในอนาคต จีนคงลำบากแน่ ถึงจีนจะมีแสนยานุภาพทางทหารไม่น้อยแต่ก็คงเทียบอเมริการไม่ติดแน่


เครติตภาพ http://luckybogey.wordpress.com/2009/08/19/sino-american-like-sharing-the-cave-with-a-dragon/


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 16/09/2012 23:47:07


ความคิดเห็นที่ 8


ผมคิดว่า คงไม่ได้ถึงขั้นปิดล้อม จีน ขนาดนั้นน่ะครับ...

ในแง่ มหาสมุทรอินเดีย....สหรัฐ คงจะต้องสังเกตุการณ์ เป็นปกติในแง่ หลักนิยมของสหรัฐอเมริกา อยู่แล้วครับ...

เพราะในแง่ความกลัวของสหรัฐ คือ อินเดีย มีศักยภาพในสงครามนิวเคลียร์...รวมถึง พม่า ก็ได้รับถ่ายทอดเทคโนโลยี่อาวุธจาก เกาหลีใต้...ซึ่งจะถึงขั้น นิวเคลียร์ หรือไม่...ยังไม่มีใครยืนยัน...

กรณีถ้าเกิดความขัดแย้ง ระหว่าง อินเดีย กับ จีน...หรือ แม้แต่ พม่า มีความขัดแย้งกับประเทศในอาเซียน...หรือ กับ บังคลาเทศ...ซึ่งมันจะมีสะท้อนกับผลประโยชน์ของ จีน ที่ลงทุนอยู๋ในพม่าด้วย...ซึ่งมันอาจจะมี ผลสะท้อน ไปถึง ฝั่งทะเลแปซิฟิก เพราะ จีน ต้องใช้กำลังทางเรือจาก แปซิฟิก ไป มหาสมุทรอินเดีย...

สหรัฐ คงต้องต้อง ตา ที่คอยสอดส่องบริเวณนี้ด้วย แน่ครับ...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 13:57:56


ความคิดเห็นที่ 9


ขอโทษครับ...พิมพ์ผิด...ต้องเป็น พม่าได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี่อาวุธจาก เกาหลีเหนือ ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 13:58:52


ความคิดเห็นที่ 10


บางท่าน อาจจะคิดว่า ทำไม สหรัฐ ต้องยุ่งกับประเทศในภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ ในซีก เอเซีย...

ความเห็นของผมว่า...ก็คงต้องเข้าใจว่า เพราะ สหรัฐ จะได้รับผลกระทบโดยตรง จากความขัดแย้งใน เอเซีย และ ในทะเลแปซิฟิก มากกว่า ประเทศในฝั่งยุโรป...

 

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 14:59:21


ความคิดเห็นที่ 11


รูปซ้ำ...เอาใหม๋ ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 14:59:54


ความคิดเห็นที่ 12


ยกตัวอย่าง ผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่จะถูกกระทบโดยตรง...เกิดเหตุที่ ทะเลจีนใต้ ก็ย่อมกระทบกับ แปซิฟิก และส่งผลสะท้อนไป ทวีปอเมริกา

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 15:01:35


ความคิดเห็นที่ 13


บทเรียนจาก สงครามโลกครั้งที่ 2

แสดงให้เห็นว่า ถึงตอนแรก สหรัฐ จะไม่อยากเกี่ยวข้อง...แต่ในแง่ ยุทธศาสตร์ของสงคราม...สหรัฐ ก็ต้องมาเกี่ยวข้องแบบเต็ม ๆ....โดยเริ่มจาก การถูกโจมตี โดยญี่ปุ่น ที่ อ่าวเพิลล์ฮาร์เบอร์...

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 15:05:08


ความคิดเห็นที่ 14


สงครามมหาเอเซียบูรพา

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 17/09/2012 15:22:01


ความคิดเห็นที่ 15


ขอบคุณครับท่าน juldas  ผมว่าบรรยากาศช่วงนี้มันดูอึมครึมชอบกล เหมือนช่วงสงครามเย็นระหว่างสหรัฐกับโซเวียตในอดีต เพียงแต่ตอนนี้มีเรื่องเศรษฐกิจและแหล่งพลังานเข้ามาเกี่ยวข้อง  ส่วนสหรัฐในปัจจุบันก็ทำหน้าที่ตำรวจโลกอย่างเต็มสูบ และดูเหมือนว่าจะคุมได้หมดแล้วทุกมหาสุมทร นี่ย่อมต้องใช้งบประมาณมหาศาลทีเดียว ไม่รู้จะเล่นบทตำรวจโลกนี้อีกนานแค่ไหน เผอลๆ อาจถังแตกไปก่อน อิอิ


หมายเหตุ กำลังของสหรัฐยังไม่รวมเรื่องการปรับสมดุลใหม่ในกองเรือด้านแปซิฟิก (60) และแอตแลนติก (40)


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 17/09/2012 22:16:30