หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


55th years JMSDF Submarine Fleet

โดยคุณ : juldas เมื่อวันที่ : 13/09/2012 23:55:34

ภายหลังจากที่ ญี่ปุ่น พ่ายแพ้สงครามมหาเอเชียบูรพา...ประเทศญี่ปุ่น ต้องทำลายอาวุธต่าง ๆ จนหมดสิ้น รวมถึง เรือรบบางลำ ก็ถูกนำไปใช้โดยประเทศที่ชนะสงคราม เช่น รัสเซีย

กองกำลังป้องกันตนเองแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้เริ่มกลับมามี เรือดำน้ำ ประจำการอีกครั้งหนึ่ง ในปี 1957 เป็นเรือดำน้ำเก่าชั้น Gato จาก สหรัฐอเมริกา และเมื่อนับจากปีดังกล่าว มาจนถึงปีปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 55 ปี

JMSDF มีเรือดำน้ำ เข้าประจำการแล้วกว่า 51 ลำ...หรือ กล่าวได้ว่า ประเทศญี่ปุ่น จะมีเรือดำน้ำใหม่ เข้าประจำการทุกปี

แผ่นภาพนี้เป็น สรุปเรือดำน้ำชั้นต่าง ๆ ของ JMSDF ตั้งแต่ปี 1947 ถึง 2012 และรวมถึงปี 2013

 

 





ความคิดเห็นที่ 1


55 ปี มีเรือดำน้ำ 51 ลำ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:37:37


ความคิดเห็นที่ 2


ทศวรรษที่ 1 ปี 1957 - 1967

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:39:00


ความคิดเห็นที่ 3


ทศวรรษที่ 2 ปี 1968 - 1977



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:40:22


ความคิดเห็นที่ 4


ทศวรรษที่ 3 ปี 1978 - 1987



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:41:46


ความคิดเห็นที่ 5


ทศวรรษที่ 4 ปี 1988 - 1997



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:43:31


ความคิดเห็นที่ 6


ทศวรรษท่ 5 ปี 1998 - 2007



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:45:35


ความคิดเห็นที่ 7


ระหว่างทศวรรษที่ 6 ปี 2008 - 2012



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:47:24


ความคิดเห็นที่ 8


และในปี 2013

 



โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 11/09/2012 23:48:19


ความคิดเห็นที่ 9


ลองขยายใหม่ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2012 00:26:10


ความคิดเห็นที่ 10


ญี่ปุ่นเขามีเยอะจัง  เรายังไม่มีเลย

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 12/09/2012 03:27:18


ความคิดเห็นที่ 11


ป๋าจู. ถ้าทำตารางการประจำการเรือดำน้ำของกองทัพเรือเรา. 60กว่าปี จนถึงปัจจุบัน คงสั้นมีแค่4บรรทัด. แต่ถ้าทำตารางเรือดำน้ำ. ที่ทำโครงการเสนอจัดซื้อ. คงได้สัก A4 นะครับ(เอาฮานะครับไม่ได้เอาเครียด)
โดยคุณ jeab2511 เมื่อวันที่ 12/09/2012 05:10:26


ความคิดเห็นที่ 12


ขอวเรารอญี่ปุ่นให้ฟรีละกัน  เดี๋ยวเขาก็ปลดรุ่นเก่าให้ไง

ไม่ก็หันไปหาชั้น gal ดีมะ น่าจะเก็บไว้อยู่

โดยคุณ end เมื่อวันที่ 12/09/2012 06:52:44


ความคิดเห็นที่ 13


เรือด. ชั้น Soryu  จะว่าไปมันก็คือ Type-214 ขยายแบบเวอรชั่นญี่ปุ่น ที่สร้างโดยอู่มิตซูบิชิ เฮลวี่ และใช้ AIP ของคาวาซากิ

ประเทศคนรวย มีของแต่ล่ะอย่าง น่าอิจฉามั่กๆ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 12/09/2012 10:04:27


ความคิดเห็นที่ 14


เรือชั้น Soryu  ยังคงเหลือยอดระหว่างสร้างอีก 3 ลำ ดังนั้นในปี 2017

JMSDF จะมีเรือชั้น Oyashio จำนวน 8 ลำ และ Soryu จำนวน 8 ลำ และมีเรือดำน้ำฝึก ชั้น Oyachio จำนวน 2 ลำ

และเรือชั้น Soryu ทาง ทร.ออสเตรเลีย...สนใจจะขอความร่วมมือกับ ญี่ปุ่น สำหรับโครงการ เรือดำน้ำใหม่ของ ทร.ออสเตรเลีย...โดยคาดว่าจะสร้างเข้าประจำการประมาณ 12 ลำ โดยอู่ต่อเรือของ ออสเตรเลีย เอง...

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2012 10:58:14


ความคิดเห็นที่ 15


และจากการที่ ญี่ปุ่น กับ จีน เริ่มมีข่าวการรุกล้ำ น่านน้ำ กันมากขึ้น รวมถึง การที่ จีน เริ่มประจำการเรือบรรทุกเครื่องบิน...

ส่งผลให้ เริ่มมีการคุยถึง เรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์ ของ ประเทศญี่ปุ่น

自衛隊も原子力潜水艦の保留を

考慮すべきではないでしょうか

  

2012/08/01
高木 よしあき氏 ブログ転載

7月31日、政府は平成24年版防衛白書を閣議で了承しました(※)。

白書では、中国海軍艦艇の太平洋進出が常態化しつつあるとし、
中国公船による尖閣諸島周辺での日本領海侵入も明示しています。

尖閣諸島周辺を含む東シナ海では、中国の水上艦艇の行動が活発化
していますが、当然、海面下では中国の潜水艦の行動も活発化して
いるものと思われます。

政府もこうした状況などに鑑み、潜水艦の保有数を増加させる方針
ですし、海上自衛隊の潜水艦も東シナ海周辺での行動を強化していると
思われます。

自衛隊の潜水艦の能力は、世界的にも高いと評されていますが、
基本的には全て通常動力の艦です。

対する、中国は原子力潜水艦も多数保有しており、今後もその数と
能力を向上させていくものと思われます。

原子力潜水艦は、通常動力潜水艦に比して、速力や連続潜航時間などが
大きく上回ります。

2009年に就役した海上自衛隊最新の「そうりゅう」型潜水艦では、AIPと
呼ばれる非大気依存推進システムを搭載しており、従来では主に蓄電池に
依存していた通常動力潜水艦の水中での性能を画期的に改善しました。

しかし、AIPはシステムの大きさに比して得られる出力が大きくなく、
原子力にはまだまだ及びません。

現状では、自衛隊の潜水艦は、中国の原子力潜水艦と対峙している場面が
多数生じている可能性があり、今後も自衛隊の優位性がいつまで確保
できるか懸念されます。

福島第一原発事故の影響もあり、日本国内にはまだまだ原子力アレルギー
がある状況ですが、拡大を続ける中国軍の脅威に対する効果的な抑止力と
して、自衛隊が原子力潜水艦を保有することも考えるべき時がきているの
ではないでしょか。

※:7月31日付産経新聞

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 12/09/2012 12:47:30


ความคิดเห็นที่ 16


    เรือชั้นนี้ของญี่ปุ่นใช้ระบบ  string AIP ครับ  จะเป็นของค๊อคครัมสวีเดน   หลักการทำงานตามนี้ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/File:Alpha_Stirling_frame_12.png


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/09/2012 13:52:13


ความคิดเห็นที่ 17


   เรือชั้นนี้ระวางสูงถึง 4200 ตัน(full load)   เหมาะมากสำหรับฝั่งอันดามันครับ   ระบบ stiring AIP ไม่ใช่ Fuel cell แบบชาวบ้านเขา   แต่เป็นเครื่องยนต์ประเภทหนึ่ง   ที่อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้นั้นถูกอัดเก็บไว้ในถังทั้งหมดโดยแยกกัน  ถังอ๊อกซิเจน ถังไนโตรเจ  ถังฮีเลี่ยม  แล้วค่อยฉีดอากาศในสัดส่วนผสมพอเหมาะเข้าห้องเผาไหม้ที่อยู่ภายใต้แรงดันสูง    แล้วเอากำลังนี้ไปปั่นกระแสไฟฟ้าจ่ายให้แก่มอเตอร์ขับเคลื่อน    เสียงจะดังกว่าระบบของประเทศอื่น   แต่ผมว่าน่าจะให้กำลังไฟฟ้าสูงกว่ามาก   เพราะเรือของญี่ปุ่นนี่เกือบเท่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์แล้ว    และน่าจะสามารถดำได้นานกว่าระบบ AIP แบบอื่น   เข้าเวปของค๊อกครัมเพื่อหาข้อมูลแล้ว  แต่ไม่เห็นมีใครบอกถึงระยะเวลาการดำได้นานที่สุดของระบบสวีเดน   แต่ของเยอรมันดำได้นาน 3 สัปดาห์สำหรับ  AIP  และถ้ารวมขีดความสามารถของเครื่องดีเซลก็น่าจะได้ราว 4 สัปดาห์หรือราวๆ 1 เดือน     ระบบ stiring AIP อาจจะดำได้นานกว่าพอควรก็เป็นได้    แต่เสียงดังกว่า  แต่ไม่น่าจะดังกว่าเครื่องดีเซลนะครับ  ดูหลักการทำงานแล้ว   เสียงจากเครื่อง stiring AIP  น่าจะให้เสียงความถี่ที่สูงกว่าเครื่องดีเซล  ซึ่งเสียงความถึ่สูงจะแพร่ไปได้ไม่ไกลนักเมื่อเทียบกับเสียงความถึ่ต่ำ   และสามารถกำจัดได้ระดับหนึ่งด้วยระบบหักล้างคลื่นเสียง  

    ยังไงก็เงียบกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์อยู่ดีครับ   ถ้าดำอยู่ในน้ำได้ 1-2 เดือน  ในทะเลเปิดแบบญี่ปุ่นก็น่าจะวัดกันได้สบายๆ    แต่เรือชั้นนี้น่าสนใจสำหรับฝั่งอันดามันจริงๆ




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/09/2012 14:18:19


ความคิดเห็นที่ 18


      ถังเครื่องยนต์ Stiring AIP เล็กนิดเดียวดังรูปครับ   ดังนั้นลูกสูบน่าจะขนาดไม่ใหญ่  เสียงน่าจะมีความถี่สูงกว่าเครื่องดีเซลหลัก  แต่ละเครื่องจะอยู่ในโมดูลแต่ละชุดแยกกันไป   ดังนั้นจึงต้องใช้หลายโมดูลในการจ่ายกระแสไฟให้เครื่องยนต์   น่าจะให้กำลังไฟฟ้าสำหรับการขับเคลื่อนดีกว่า Fuel cell แน่ๆ  

ข้อมูลจากเวปของค๊อกครัมครับ

http://www.kockums.se/en/products-services/submarines/stirling-aip-system/

   หน้าตาระบบดูไม่น่าเชื่อถือไงก็ไม่รู้    แต่คงดูภายนอกไม่ได้ล่ะ  ใครไปนอนในเซกเตอร์นี้สงสัยต้องฟังเสียงวี้ๆๆๆแบบจิ้งหรีดทั้งคืนแหง๋ๆครับ  ไม่รู้ว่าตัวโมดูลติดตั้งระบบกำจัดคลื่นเสียงให้ด้วยเลยรึเปล่า




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/09/2012 14:34:07


ความคิดเห็นที่ 19


   หลักการของระบบหักล้างคลื่นเสียง  ดูได้ที่นี่ครับ

http://www.neutron.rmutphysics.com/physicsboard/forum/index.php?topic=325.0

http://www.atom.rmutphysics.com/charud/video/6/antisound/antisound.WMV

 

   เรือดำน้ำแทบทุกชนิดในปัจจุบันต้องติดตั้งระบบนี้ที่เครื่องยนต์หลักกันทั้งนั้นครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 12/09/2012 14:54:07


ความคิดเห็นที่ 20


แต่ญี่ปุ่นเขาโดนห้ามส่งออกอาวุธมีได้เพื่อป้องกันตนเองเท่านั้นถ้าญี่ปุ่นส่งออกอาวุธได้ป่านนี้อาวุธบางอย่างอาจมาอยู่เมืองไทยเรา

แล้วก็ได้

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 13/09/2012 13:09:59


ความคิดเห็นที่ 21


ตอนนี้ เข้าใจว่า กฎหมายได้แก้ไปแล้วระดับหนึ่งครับ...แต่เหมือนกับว่า ต้องรอผ่านอีก 2-3 ฉบับ..ถึงจะสมบูรณ์...ตอนนี้ เหมือนกับว่า ส่งออกได้ในระดับหนึ่ง...

เช่น การบริจาค เรือยามฝั่งที่ปลดประจำการ ให้กับ ฟิลิปปินส์ ครับ...อาจจะมีข้อจำกัดในเรื่องระบบอาวุธบางอย่าง....

และ ออสเตรเลีย ก็ขอร่วมพัฒนากับ ญี่ปุ่น อาจจะจัดซื้อ เรือดำน้ำ Soryu โดยการประกอบเองที่ ออสเตรเลีย...

Access to the Soryu technology was discussed during a visit to Australia last month by the Japanese navys chief, Admiral Masahiko Sugimoto. It was only in December that Tokyo lifted its post-World War II embargo on defence exports.

The 4200-tonne Soryu-class boats are the only new conventional submarines of the size and capabilities set out in Canberras 2009 defence white paper for 12 new submarines to take over from the Collins-class subs from the late 2020s.

\Our strategy with the Japanese is one of hope, because there are some very attractive characteristics about the Japanese submarine,\ Rear-Admiral Moffitt said.

As well as having a close alliance relationship with the United States similar to Australias, Japans navy operated in the same Asia-Pacific environment, which was reflected in its submarine design, he said.

\Their submarine, by all accounts, and their design and the evolution of that design, has by all accounts brought them to the point of having a very good submarine,\ Rear-Admiral Moffitt said.

\However, submarine technology tends to be crown-jewel stuff for nations, it tends to be at the most extreme end of sensitivity that nations have about protecting their intellectual property - especially if they have developed it themselves, as Japan has, as the US has. Theyve invested a vast amount of money doing that.\

Under a $214 million allocation in this years budget, the RAN has stepped up work on selecting the new submarine design. Four options are: Adapting an existing \military off the shelf\ or MOTS submarine, a large \evolved MOTS\ design, an evolution of the Collins class, and a completely new Australian design.

Until the Soryu became theoretically available, off-the-shelf submarines included only German, French and Spanish designs of about 2000 tonnes.
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2012 13:49:46


ความคิดเห็นที่ 22


    ไม่เห็นทร.ออสซี่ฟันธงเปรี้ยงสักทีครับ   ลูกพี่เขาไม่มีเรือดีเซลใช้งานเลยต้องไปใช้ของสวีเดน  แต่ผลงานไม่ค่อยน่าชื่นชมใน collin class    เลือกอยู่นานมากๆ   ตอนแรกนึกว่า  Type214 กะ แมงป่องทะเลจะเอาไปกินซะแล้ว   ไหงหวยออกมาที่เรือญี่ปุ่นซะงั้น   แต่ก็ใช้เทคโนโลยีของสวีเดนในส่วน AIP

   จะว่าไป  stiring AIP  มันก็คือเครื่องปั่นไฟดีๆนี่เองนะผมว่า    แปลกนะในเมื่อสามารถทำให้เครื่องปั่นไฟไฮเทคทำงานโดยไม่พึ่งอากาศภายนอกเรือได้   ทำไมไม่ทำให้เครื่องดีเซลหลักไม่ต้องพึ่งอากาศจากภายนอกได้บ้าง   อาจจะ design เครื่องดีเซลใหม่ให้ทำงานในห้องปิดที่อากาศในห้องปิดได้มาจากการผสม อ๊อกซิเจน  ฮีเลี่ยม ไนโตรเจน ที่เตรียมอยู่ในถังแยกส่วนกัน  ให้มันสิ้นเรื่องสิ้นราวไปไม่ต้องมีเครื่องสองแบบสามแบบในเรือเดียวให้วุ่นวาย 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 15:12:46


ความคิดเห็นที่ 23


ไม่รู้เข้าใจผิด รึเปล่า นะครับ คือ...

เรือดำน้ำ เมื่อใช้เครื่องยนต์ดีเซล ต้องใช้อากาศเพื่อการเผาไหม้ เพื่อปั่นไฟ ไปสำรองในแบตเตอรี่...

แต่พอดำน้ำ การเดินเรือใต้น้ำ จะใช้กระแสไฟจาก แบตเตอรี่ เพื่อเดินเรือ...พอกำลังจาก แบตเตอรี่ หมด...ก็ต้องโผล่ขึ้นผิวน้ำ...เพื่อมาเดินเครื่องขาร์ท แบตเตอรี่ ต่อ...

แต่ระบบ AIP คือ สามารถมีเครื่องทำอากาศ สำหรับทำการเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซลใต้น้ำ และปั่นไฟ เข้าแบตเตอรี่ เพื่อใช้เดินเรือต่อ โดยไม่ต้องโผล่มารับอากาศ...

แต่ขนาดบรรจุอากาศ ก็สามารถทำได้ไม่เกินระยะ XX วัน...(ก็คงระยะเวลาพอเพียงสำหรับ เสบียง ของกำลังพล)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2012 16:14:40


ความคิดเห็นที่ 24


ด้วยขนาดเรือ และเสบียงอาหาร และเชื้อเพลิง ที่ติดตัวไป...โอกาส ที่จะดำใต้น้ำ คงไม่เกินระยะเวลา 30-45 วัน...ซึ่งในแง่ความเป็นจริง การจะดำอยู่ใต้น้ำระยะนานขนาดนั้น สำหรับเรือขนาด 2000 - 4000 ตัน ก็เกิดได้น้อยมาก...ยังไง ๆ ก็ต้องโผล่ขึ้นมาผิวน้ำ มาเติมเสบียงและเชื้อเพลิง...และขนาดพื้นที่ ที่ใช้ปฏิบัติการ ก็อยู่ในอาณาเขตอยู่แล้ว....

จึงเป็นที่ว่า ถ้า ความต้องการมี เรือดำน้ำ ที่ต้องกบดานระยะเวลา เกินกว่านั้น คือ การใช้เรือดำน้ำ นอกอาณาเขต มีระยะทางระยะไกล และต้องใช้ระยะเวลานานในการเดินทาง...ก็คงจะใช้ระบบขับเคลื่อนแบบ นิวเคลียร์ ไปเลย...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 13/09/2012 16:24:20


ความคิดเห็นที่ 25


    อันนี้สำหรับสมาชิกใหม่ๆท่านอื่นอาจจะยังไม่ทราบถึงระบบการทำงานแบบ Fuel cell AIP ครับ

เรือเยอรมัน Type 212/214  และเรือ  แมงป่องทะเล  จะใช้ระบบ Fuel cell AIP โดยตอนที่ยังไม่ได้ใช้ระบบ AIP เรือจะขึ้นไปชาร์ทแบตใกล้ผิวน้ำด้วยการเอาท่อดูดอากาศหรือสน็อคเกิลขึ้นไปดูดอากาศครับ

จากนั้นก็เดินเครื่องยนต์ดีเซลเพื่อทำการจ่ายไฟให้มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักของเรือและจ่ายไฟชาร์ทแบต   ซึ่งระหว่างนี้แหล่ะครับที่อันตรายสุดๆสำหรับเรือดำน้ำดีเซลที่ไม่มีระบบ AIP  เพราะมันสามารถตรวจจับสน็อคเกิลได้   และถ้ามาทำกสนดูดอากาศเวลากลางวัน  แถมน้ำทะเลแถบนั้นใสมากมีตะกอนน้อย    เครื่องบินตรวจการณ์อาจเห็นเงาตะคุ่มๆในน้ำได้    และระหว่างเดินเครื่องดีเซล   ก็จะเกิดเสียงขึ้นมาทำให้ถูกตรวจจับได้อีก    จึงทำให้เรือดำน้ำดีเซลเป็นรองเรือดำน้ำนิวเคลียร์มาตลอดครับ   ต้องใช้เวลาชาร์ทเป็นวัน   และดำลงได้ 5-6 วันต่อการชาร์ท 1 ครั้ง

    ต่อมาเมื่อมีเทคโนโลยี  Fuel cell  ทางเยอรมันก็นำเทคโนโลยีนี้มาใช้   ซึ่งหลักการก็ตามนี้เลยครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/Fuel_cell#Submarines

The Type 212 submarines of the German and Italian navies use fuel cells to remain submerged for weeks without the need to surface.

The latest in fuel cell submarines is the U212A—an ultra-advanced non-nuclear sub developed by German naval shipyard Howaldtswerke Deutsche Werft, who claim it to be "the peak of German submarine technology."[112] The system consists of nine PEM (Proton Exchange Membrane) fuel cells, providing between 30 kW and 50 kW each. The ship is totally silent giving it a distinct advantage in the detection of other submarines.[113] Fuel cells offer other advantages to submarines in addition to being completely silent; they can be distributed throughout a ship to improve balance and require far less air to run, allowing ships to be submerged for longer periods of time. Fuel cells offer a good alternative to nuclear fuels.

 

    ก็เลยทำให้เรือดำน้ำของเยอรมันดำได้นานขึ้น   เพื่อเมื่อแบตจากการชาร์ทโดยใช้สน็อคเกิลอ่อนลง   ก็ใชระบบ Fuel cell เข้าทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟให้มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักต่อไปได้อีก 3 สับดาห์    ก็เลยทำให้มันสามารถดำได้นานร่วม 1 เดือนเต็ม  และระบบ fuel cell ไม่มีส่วนใดเคลื่อนไหวจึงเงียบแบบสุดๆครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 22:19:27


ความคิดเห็นที่ 26


กรณี เครื่อง stirling ก็พอจะพูดได้ว่า จากการที่ ทร.สหรัฐฯ ได้ขอไปประเมินค่า และแสดงผลงานที่น่าพอใจคือ ไม่สามารถตรวจจับได้ ต้องให้เรือ gotland เล่นลูก "ต่อให้" ก็เป้นการรับรองคุณภาพให้ ทร.ญี่ปุ่นและออสเตรเลียสนใจเทคโนโลยีนี้ ถึงรายหลังจะไม่ค่อยพอใจเรือชั้น collins นัก....

โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 13/09/2012 18:02:18


ความคิดเห็นที่ 27


http://en.wikipedia.org/wiki/HMS_Gotland_%281995%29

ระบบ stirling ที่ติดในเรือชั้น gotland ระบุว่าดำได้นาน 2 สัปดาห์....เวอร์ชั่นญี่ปุ่น ไม่พบข้อมูล และส่วนตัวมองว่า น่าจะเป็นความลับด้วยครับ

โดยคุณ Johnny_Thunders เมื่อวันที่ 13/09/2012 18:13:05


ความคิดเห็นที่ 28


    ส่วนระบบ  stiring AIP มันก็คือเครื่องปั่นไฟที่ใช้เครื่องเครื่องยนต์แบบ stiring  ดังการอธิบายข้างบนไปแล้ว    จึงสามารถปั่นไฟฟ้าจ่ายแก่มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักของเรือและชาร์ทได้ในชณะดำน้ำโดยไม่ต้องขึ้นมาดูดอากาศเช่นเดียวกับที่ Fuel cell ทำได้   แต่มันจะมีเสียงจากการเดินเครื่อง stiring น่ะครับ   และระบบของมันก็ซับซ้อนน้อยกว่าระบบ Fuel cell  แต่เนื่องจากเครื่องยนต์ลูกสูบเผาไหม้ภายในนั้น  โดยทั่วไปจะสามารถให้พลังขับเคลื่อนได้สูงกว่าระบบ Fuel cell    ดังนั้นระบบ  stiring AIP ก็ควรจะจ่ายกระแสไฟให้แก่ระบบขับเคลื่อนได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า   ซึ่งจะทำให้สามารถขับเคลื่อนเรือได้เร็วกว่าระบบ Fuel cell AIP  และสามารถชาร์ทแบตเสร็จได้เร็วพอๆกับเครื่องดีเซลหลักของเรือ  

    ดังนั้นภาพการทำงานจะออกแนวนี้ครับ    เรือดำน้ำใช้สน็อคเกิลดูดอากาศและชาร์ทแบต   พอเสร็จแล้วดำลงได้ 5-6 วัน  พอแบตอ่อน  ก็เปิดเครื่องยนต์ stiring AIP  เครื่องยนต์ก็จ่ายไฟให้แก่มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักและทำการชาร์ทแบตไปด้วยในขณะที่ดำน้ำ   ไม่จำเป็นต้องโผล่ขึ้นไปอีก  น่าจะเดินเครื่อง 1-2 วัน   หลังจากชาร์ทแบตเต็มก็ปิดเครื่อง  แล้วใช้แบตในการขับเครื่องมอเตอร์ของเรือต่อไป   ทำสลับแบบนี้ไปเรื่อยๆโดยไม่ต้องขึ้นมาที่ผิวน้ำครับ   จนกว่าอากาศเหลวที่อัดกระป๋องสำหรับเครื่อง AIP หมดนั่นหล่ะถึงจะขึ้นมาใช้สน็อคเกิลดูดอากาศและใช้เครื่องดีเซลอีกที

    ถ้าระบบพัฒนาไปมากๆและเครื่อง stiring AIp ทำงานได้ตั้งแต่เรือเริ่มออกจากท่าแล้วลาดตระเวนจบ   โดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมาเลย    เครื่องยนต์ดีเซลหลักจะมีไว้ทำไมต่อไปล่ะครับ   ถอดออกไปดีกว่า

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 22:36:33


ความคิดเห็นที่ 29


    ป๋าจูลกล่าวได้ถูกต้องแล้วครับ  นั่นเป็นข้อเสียของเรือดำน้ำดีเซล   ผมก็เลยแปลกใจครับว่าในเมื่อทำเครื่องปั่นไฟไม่ต้องพึ่งอากาศภายนอกได้   ก็น่าจะทำให้เครื่องดีเซลไม่ต้องพึ่งอากาศภายนอกได้เช่นกันครับ  จะได้ไม่ต้องมีเครื่องปั่นไฟ stiring AIP เข้ามาอีกตัว(ที่ทำให้ราคาแพงขิ้นมาก)   ให้เครื่องยนต์ดีเซลหลักทำการชาร์ทแบตเตอร์รี่ได้ในขณะดำ(หรือจ่ายกระแสไฟเข้ามอเตอร์ขับเคลื่อนโดยตรงพร้อมชาร์ทแบตไปด้วยเลย)

    ไม่รู้ว่าเพราะติดเรื่องกฎหมายอยู่อีกหรือเปล่า  ทำให้ญี่ปุ่นใช้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ยังไม่ได้ในตอนนี้   เลยต้องพึ่งระบบ stiring AIP  และเนื่องจากเรือใหญ่ถึง 4200 ตัน   ผมว่าเครื่องปั่นไฟไฮเทคอันนี้น่าจะทำให้ดำได้นานกว่า 1 เดือนแน่ๆและน่าจะเป็นความลับแบบท่าน  Johny ว่าครับ   

   ผมว่าถ้าวันข้างหน้ามีการพัฒนาระบบ AIP ได้เวอร์คกว่านี้   เครื่องดีเซลเดิมอาจเลิกใช้ก็ได้ครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 21:16:02


ความคิดเห็นที่ 30


    หรือไม่ก็พัฒนาให้เครื่องดีเซลหลักทำงานปั่นไฟได้แบบเครื่อง stiring ไปซะก็หมดเรื่อง   จะได้ไม่ต้องติดตั้งเครื่อง stiring เพื่อปั่นไฟอีก    ในอนาคตถ้ามีการพัฒนาไปทั้งสองทางคือ  ให้เครื่องยนต์ดีเซลหลักกลายเป็น  Diesel AIP  หรือไม่ก็เครื่อง  stiring AIP มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากแล้วตัดเครื่องยนต์ดีเซลหลักออกไป     แบบนี้เรือดำน้ำรุ่นใหม่จะน่าสนใจมากๆครับ     จะเสี่ยงหน่อยก็ตอนชาร์ทแบตด้วยเครื่องยนต์นี่แหล่ะครับ   ที่มันจะแพร่เสียงออกไปให้ถูกตรวจพบได้   ซึ่งระบบ Fuel cell AIP ตัดปัญหาเรื่องเสียงออกไปเลย   แต่ประสิทธิภาพของเครื่องยนต์เผาไหม้ภายในนั้น  ในยุคนี้ยังสูงกว่า Fuel cell มากทีเดียว   ยากที่เครื่อง Fuel cell จะให้กำลังขับเคลื่อนได้เท่าครับ

    เครื่องยนต์ stiring เองก็ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วก็ได้   อาจจะเป็นเบนซีนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าดีเซลก็ได้  

   โดยส่วนตัวไม่ค่อนเสียดาย Type 206A เท่าไร   แต่น่าเสียดายเรือดำน้ำชั้น  A-17 ที่ติดตั้งระบบ stiring AIP สุดๆครับ  ตอนนั้นจวนเกือบได้แล้ว 2 ลำแต่ก็เจอเรื่องคล้ายๆ Type 206A อย่างไงก็อย่างนั้นเลย   ผมจึงปักใจเชื่อมาตลอดว่ามีคนคอยเบรกโครงการเรือดำน้ำครับ

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 22:58:04


ความคิดเห็นที่ 31


    ที่เสียดายมากๆก็เพราะตามลิ้งค์ที่ท่าน Johny ลงไว้ให้ครับ

http://en.wikipedia.org/wiki/HMS_Gotland_%281995%29

เพราะมันสามารถฝ่าเรือโคตร AEGIS เข้าไปจมเรือบรรทุกบ.พลังงานนิวเคลียร์ได้   หลงจู้ท่านก็อุตส่าห์เตรียมเงินให้ทร.เอาไว้แล้ว   โดนเรื่องคอมมิสชั่นใส่ไฟกันสนุก  NGO ทั้งฝั่งเราฝั่งสวีเดน  ขนาดพี่ไปประท้วงที่หน้าอู่ Kockum เลย    นักวิขาการเรียงหน้าออกมาด่า  สื่อก็เอามาเล่นพร้อมๆกัน   อย่างกับนัดแนะกันมาเลย 

      ถ้าได้มาในสมัยนั้น  ป่านนี้น่าจะจัดหาเพิ่มมาครบ 4-6 ลำแล้ว   ไม่มีกลัวไอ้แมงป่องทะเลหรอกครับ

ส่วน type 206A ก็เหมาะกับเรือฝึกไป   เจ็บใจที่สุดครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 23:13:00


ความคิดเห็นที่ 32


   อ้า.....ไหนๆก็ไหนๆแล้ว    เอ้าอธิบายหลักการทำงานอย่างคร่าวๆของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ไปด้วยเลยดีกว่า   สมาชิกท่านใหม่ๆจะได้ไม่สับสน

    เรือดำน้นิวเคลียร์จะใช้เครื่องยนต์นิวเคลียร์ในการปั่นไฟฟ้าแล้วจ่ายไฟให้มอเตอร์ขับเคลื่อนหลักของเรือและก็ทำการชาร์ทแบตในเวลาเดียวกันครับ   โดยที่ไม่ต้องขึ้นไปดูดอากาศแต่อย่างใดทั้งสิ้น     และเมื่อต้องการเดินเรือด้วยความเงียบ   ก็จะใช้แบตในการเดินเรือ   ส่วนเครื่องยนต์นิวเคลียร์นั้นจำทำการเบาเครื่องยนต์ลง(ไม่สามารถปิดเครื่องยนต์นิวเคลียร์ได้ระหว่างปฎิบัติการ  เพราะจุดยาก)   การเบาเครื่องยนต์ลงก็ทำให้เครื่องเทอร์ไบท์ปั่นไฟลดรอบการทำงานลงเพื่อเสียงจะได้เบาลงครับ    ซึ่งจะทำให้เครื่องกำจัดคลื่นเียงสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น    แต่ยังไงซะก็ยังไม่อาจเทียบได้กับเรือดำน้ำดีเซลแบบธรรมดาด้วยซ้ำ   เพราะมันยังคงแพร่เสียงที่ดังกว่าออกมาอยู่ดี    ไม่ต้องไปเพียบกับเรือดำน้ำแบบ Fuel cel AIP เลยครับ    ขานั้นเงียบสนิทชัวร์

   แต่กำลังที่ได้จากเครื่องยนต์นิวเคลียร์นั้นมหาศาลแบบที่เทียบกันไม่ได้ครับ   ดังนั้นมันจึงสามารถจ่ายไฟให้แก่ระบบไฟฟ้าของเรือขนาดใหญ่ทั้งลำและสามารถขับเคลื่อนเรือดำน้ำหนัก 10,000-20,000 ตันให้มีความเร็วกว่า 35 น็อตได้สบายๆ  มีเรือดำน้ำรัสเซียอยู่แบบหนึ่งในสมัยสงครามเย็น (จำชื่อรุ่นไม่ได้ครับ) สามารถแล่นได้เร็วถึง 45 น๊อตได้(เขาว่ากันว่านะครับ)  ยังกะตอร์ปิโด   

   และมันสามารถดำอยู่ใต้น้ำได้นานหลายปีโดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมาเลยจนกว่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์จะหมดลง   แต่ในความเป็นจริง  ลูกเรือและเสบียงทนไม่ไหวหรอกครับ  อย่างเก่ง 3-4 เดือนเท่านั้น

   ดังนั้นในทะเลเปิด  เรือดำน้ำนิวเคลียร์จึงครองความเป็นจ้าวครับ    แต่ในทะเลใกล้ไหล่ทวีป  เป็นอาณาจักรของเรือดำน้ำ AIP  เรือดำน้ำนิวเคลียร์อย่าได้เข้ามาแหยมง่ายๆครับ   ถิ่นใครถิ่นมัน  

   ทะเลญี่ปุ่นเป็นทะเลเปิด   ญี่ปุ่นก็เลยต้องการเรือดำน้ำนิวเคลียร์   แต่ติดเรื่องรัฐธรรมนูญและข้อกฎหมาย  ก็เลยมีไม่ได้    ดังนั้นเรือดำน้ำระบบ  stiring AIP  ที่ให้กำลังขับเคลื่อนสูงกว่า (และน่าจะทำให้ดำได้นานกว่าเรือเยอรมัน)  จึงได้รับการผลิตขึ้นมาใช้งานครับ

   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 13/09/2012 23:55:34