ขออนุญาต เปิดกระทู้ใหม่นะครับ อยากให้หลายๆ ท่าน มองเห็นในอีกมุมหนึ่ง
อาจยาวหน่อย แต่ก็อาจทำให้มองเห็นในอีกมุมหนึ่ง
การสร้าง รถถัง ยานยนต์ อาวุธ เช่น ปลย.11 ( HK33 ) ใช้ภายในประเทศ
ที่จริงผมเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ในการทำยุทธโธปกรณ์ใช้ภายในประเทศ เพราะถ้าเรา
มองถึงเรื่อง ทำแล้วคุ้มไหม ทำกี่ชิ้น หรือ ขายเมืองนอกได้หรือเปล่า นั่นแสดงว่า
เราอาจหลงประเด็นเรื่องความมั่นคง ถ้าจะมองในมุมของความมั่นคงแล้ว
ส่วนตัวผมเห็นว่า มันไม่แพงหรอกครับ ที่เราจะทำขึ้นเอง แล้วใช้แค่ในประเทศ
แต่ในอีกมุมหนึ่ง ซึ่งเป็นมุมจริงๆ ที่เกิดขึ้นภายในประเทศ ปืนเล็กยาวกระบอกหนึ่ง
เมื่อส่งซ่อมจากหน่วย ใช้เวลาไปกลับ ประมาณ 8 เดือน นี่เป็นตัวเลขจริงที่เกิดขึ้น
รถส่งซ่อมที รอเป็นปีกว่าจะกลับคืนหน่วย ถ้าเป็นไปได้หน่วยก็ต้องกันงบ สาธารณูปโภค
มาจัดซื้อ จัดซ่อมบำรุงกันเอาเอง แล้วมันเกิดอะไรขึ้น
ที่จริงช่างเรามีฝีมือมาก ผมเคยเห็นกับตา ปืนที่คิดว่าจะต้องจำหน่าย เมื่อส่งซ่อม
ในสายสรรพาวุธ ช่างบ้านเรา กลับนำมันมาซ่อม จนดีเกือบเหมือนเดิม ที่จริงผมก็
ไม่เคยได้ใช้กระบอกต้นแบบ เพราะมันประจำการเมื่อ 40 กว่าปีที่แล้วแต่ช่างก็สามารถ
ปลุกมันขึ้นมาจนใช้ได้ ไม่มีข้อกังขาในฝีมือการซ่อมบำรุง ลองคิดดีๆ ปืนอายุ 40 ปี
ยิงได้ดีไม่มีติดขัด กลุ่มกระสุนก็น่าพอใจ ผมว่าเราดูแลของได้ดีทีเดียว
ยานยนต์ บ้านเรา ต้องจอดทิ้ง จอดรอซ่อมคิวยาวเป็นหางว่าว เพราะอะไร คำตอบเดียวคือ
บุคลากรเราไม่เพียงพอ
นี่เป็นเหตุการที่เกิดขึ้นจริง ในกองทัพของเรา ซึ่งการแก้ปัญหาที่ว่านั้นก็ต้องพึ่งภาคเอกชน
ที่มีความสามารถ แล้วเพราะอะไร ที่ต้องพึ่งเอกชน ทหารทำไม่ไหวหรือ
กำลังทหารในบ้านเรา หลักๆ ก็ประกอบด้วยหน่วยต่างๆ ทั้งหน่วยรบ และสายยุทธบริการ
การจัดกำลัง สายยุทธบริการย่อมมีน้อยกว่า และแยกย่อยตามหน้าที่ ทำให้ภาระหน้าที่
ในการซ่อมบำรุง หนักมาก สายส่งซ่อม รอการซ่อมบำรุงยาวเหยียด ดีอยู่ที่ว่าถ้าเป็นเรื่องปืน
ในบ้านเรายังจัดบรรจุไม่เต็มอัตรา ปืนเล็กยาว และอาวุธต่างๆ ในกองร้อย หรือกองพัน
ถ้าให้ทหารต้องเอาไปหมดคลัง หนึ่งคน คงต้องพกปืน 3 กระบอก ( ปืนมากกว่าคน )
นี่เองทำให้เราไม่มีปัญหาเรื่อง ส่งซ่อมแล้วไม่มียุทธโธปกรณ์ใช้
เรื่องยานยนต์ ถ้าเป็นไปได้ ใช้โรงซ่อมบำรุงของเอกชน ด้วยการว่าจ้าง แบบเดียวกับอเมริกา
ส่วนตัวผมว่าน่าจะดี เพราะประหยัดงบไปได้มากโข ในด้านเงินเดือน เบี้ยเลี้ยง สวัสดิการ
มันมาบั่นทอนงบประมาณของกองทัพทำให้ดูว่าสูงมาก ทั้งการส่งมอบงานก็กำหนดเวลาได้แน่นอน
เราก็แก้ไขกฎหมายเรื่องนี้แล้ว เอกชนก็ทำได้
ผมเชื่อว่าในอนาคต เราคงได้เห็นยุทธโธปกรณ์ฝีมือคนไทย ออกมาอีกเป็นแน่
ตอนนี้ที่เห็นๆ เลย และยังคงทำใช้กันอยู่ และกำลังทำเพิ่มก็มี
- รถฮัมวี่สัีญชาติไทย หัวใจวีโก้ ต่อไปเห็นว่าสนใจรุ่นหลังคาแข็งอยู่
- รถบรรทุก FTS ที่เราเห็นกันในช่วงน้ำท่วม ของอีซุซุ และทบ.กำหนดสเปคต่างๆให้
- กระสุนปืนเล็ก และปืนใหญ่ ก็ผลิตใช้กันเอง
- รถหุ้มเกราะ ชัยเสรี ก็ออกโลดแล่นในภาคใต้ของเราแล้ว
- จรวด DTI 1 ที่ร่วมมือกับจีน ก็เป็นรูปเป็นร่าง
- UAV ก็มีทั้งกำลังวิจัย และหน่วยต่างๆ ก็ผลิตเองใช้เองตั้งมากมาย
- ปืนใหญ่ ปืน ค. เราก็ทำเอง
- ปืนใหญ่อัตราจร เรากำทำเอง กระบอกที่สอง ไกล้เสร็จแล้ว
- ทหารอากาศ เห็นว่าเครื่องบิน บอ.ทอ.6 ลำที่2 กำลังทำอยู่
- UAV ของทหารเรือ ก็หรูไม่แพ้ใคร
- เรือรบเราก็ต่อเองตั้งมากมาย นิ้วมือนิ้วเท้านับไม่พอ
แล้วก็อื่นๆ อีกมายมายกล่าวถึงไม่หมด
ผมว่า เราก็พึ่งตัวเองเยอะอยู่ในปัจจุบัน แต่ที่เราต้องปรับปรุงก็คือ
- จำนวนของกำลังพล ในสายยุทธบริการ ( อาจแก้ด้วยการว่าจ้างเอกชนทำแทน )
- การรวบรวม องค์ความรู้ และจัดทำให้เป็นรูปธรรม
- การเปิดโอกาสให้เอกชนวิจัยพัฒนา อาจทำร่วมกับกองทัพก็ดีไม่น้อย
- แต่การพึ่งตนเองของกองทัพ ก็เป็นอีกจุดที่มองข้าไม่ได้
ยังไง เราก็ช่วยเป็นกำลังใจให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในกองทัพ เห็นพ้องกับแนวหลัง ที่คอยเป็นกำลังใจ
อย่างไม่รู้จัดเหน็ดเหนื่อย และไม่เคยสิ้นศรัทธากับกองทัพไทย ที่คอยปกป้องคุ้มครองพวกเราอยู่
ในเว็ปสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก จะมีนิตยสารของหน่วยงาน(เป็นpdfไฟล์อยู่ด้านท้ายของเว็ป)ซึ่งมีบทความที่น่าสนใจ ดังนี้
1.อนาคตประเทศไทยกับการป้องกันประเทศ
2.การศึกษาดูงานด้านการวิจัยและพัฒนาทางทหาร ณ ประเทศสิงคโปร์
3.โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตปืนกลมือ 9 มม.(ปกม.48)
4.crimson viper 2011 ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
5.หน่วยวิจัยทางทหารของกองทัพบกสหรัฐฯ
6.การศึกษาดูงานการผลิตจรวดหลายลำกล้อง ณ ประเทศจีน
7.เมื่อทหาร "มือใหม่" จะเริ่มทำงานวิจัย
http://ardothailand.com/index2.html
ขออนุญาตแนะนำเพิ่มเติมถ้าจะให้เอกชนไทยร่วมกับกองทัพในการผลิตยุทโธปกรณ์ก็ต้องแก้ไขกฎหมายซะก่อน ผมว่าบริษัทเอกชนไทยมีความพร้อมอยู่แล้ว
จริงอย่างท่านakulaว่าครับเท่าที่ถามดูทีแรกคิดว่าเป็นเรื่องงบประมาณ แต่กลายเป็นเรื่องข้อกฏหมายซะงั้นที่ทำไห้ขึ้นสายพานการผลิตได้โดยเฉพาะเมื่อจำเป็นต้องร่วมมือกับเอกชน แล้วกฏหมายลักษณะนี้เกิดยากด้วยครับ แต่ในอนาคตก็ไม่แน่เพราะเหมือนทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้เริ่มจะเปลี่ยนไปมากก็หวังว่าทางกองทัพจะกล้าๆผลักกดันให้เกิดจริงๆซะที ว่าไงละครับกลาโหมหึๆ
ถ้าทำใช้เองคนที่เสียผมประโยชน์จากการซื้อไม่ยอมแน่..............เราก็คงต้องซื้อกันต่อไป
น่าจะเกี่ยวกับ การเมือง เหมือนกันนะ ต้องแก้ที่การเมืองของเราก่อน
ในแง่การลงทุน สร้างเอง เลย...ผมคิดว่า ในแง่รัฐบาล คงไม่มีการเสี่ยง น่ะครับ...
เพราะอย่างอุตสาหกรรมการบิน การต่ออากาศยานของ อินโดนีเซีย เอง ก็เกือบจะล้มละลาย ไปเมื่อช่วง 10 ปีที่แล้ว...เพิ่งจะมาฟื้นตัว ไม่กี่ปีนี้ครับ...
การลงทุนอุตสาหกรรมอาวุธ ถ้าแบบใช้เทคโนโลยี่ จริง ๆ...ใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งอยู่ที่ว่า รัฐบาลใดก็ตาม จะยอมเสี่ยง หรือเปล่า น่ะครับ...
และการสร้างอาวุธ การสร้างเสร็จสัก 1 อย่าง...ไม่ได้หมายความว่า ประสบความสำเร็จ หรือ ตรงความต้องการ ครับ...จะเป็นเพียง เครื่องต้นแบบ เท่านั้น...
เช่น F-35 มีการสร้างเครื่องต้นแบบถึง 4 ลำ มูลค่าโครงการหลายพันล้านเหรียญสหรัฐ ในจำนวนเพียง 4 ลำ...และเมื่อสร้างเสร็จ ประเมินผลเสร็จ...จะทำปลดทิ้ง ครับ...ตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์...ซึ่งก็เปรียบได้กับ หลาย ๆ โครงการของ กองทัพไทย ที่มีการพัฒนา แต่ไม่ได้สร้างเพื่อประจำการ....
ส่วนการผลิตเพื่อใช้งานจริง จะเป็น ต้นทุนโครงการต่อจากเครื่องต้นแบบนั้นครับ...ซึ่งเป็นต้นทุนใหม่....ซึ่ง รัฐบาล จะกล้าสูญเสีย งบประมาณแบบนั้นหรือเปล่าครับ...
มันจึงเป็นคำกล่าวที่ได้ฟังจน คุ้นหู ว่า...สร้างเอง แพงกว่า ซื้อ ครับ...
ผมว่าในจุดเริ่มต้น...แค่ได้แบบ อิสราเอล หรือ อิหร่าน คือ การสามารถปรับปรุง และพัฒนา ต่อยอดให้ดีขึ้นจากของคนอื่น รวมถึง ซ๋อมบำรุง ได้เอง...สามารถหาชิ้นส่วนทดแทน นำมาปรับใช้ เพื่อให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น อย่างเช่น ตรุกี ที่ยืดอายุใช้งาน T-38A Talon ด้วยตัวเอง....แล้วเมื่อแข็งแรงพอ...ก็ค่อยเปิดตลาด ขาย ให้ประเทศอื่น ๆ....
ขอบคุณท่านyam มากครับ สำหรับเว็บ น่าสนใจมากครับ^_^
รถระบบจรวด70มม. ในนิตยสาร วิจโยสาร เล่ม1นี่ของไทยทำเองใช่ไหมครับ?
แปะคลิปสักหน่อย
จริงอย่างท่าน juldas ว่า การผลิตและวิจัยจนได้ผลิตผล อาจไม่ตรงความต้องการ
ส่วนตัวผมว่า วิธีแก้ง่ายมาก
อยากได้อะไร ก็เริ่มวิจัย ต่อยอด จากตรงนั้นเอาสิ่งที่เราขาดอยู่มาวิจัยให้ได้ผลิตผล
แล้วนำเข้าประจำการ ลองผิด ลองถูก ต้องแก้ต้องปรับก็ทำกันไปไม่น่ายากเย็น
ถ้าเริ่มนับหนึ่ง เดี๋ยวก็เห็นสอง เห็นสาม
ตอนนี้ที่เราต้องการผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของยานยนต์ ปัจจุบันมองไปที่หมวดยานยนต์
ของกองพัน นับดูแล้ว รถประเภทเดียวกัน ยกตัวอย่าง รถ 2 1/2 ตัน มีอยู่ 5 รุ่น
ที่จริงโครงสร้างเราทำเองได้ ไม่ยากเย็น ซื้อเครื่องมาประกอบ ให้เป็นแบบเดียว ผมว่า
น่าจะง่ายเรื่องการปรนนิบัติบำรุงมากกว่า
*อยาก +1 ให้ ทบ. ที่ริเริ่มนำรถ 1 ตัน ผลิตเองในประเทศเข้าประจำการ
อีกอย่างที่ผมว่าประเทศเรายังต้องการอีกเยอะ คือ ปืนใหญ่อัตตาจร แต่ก็เห็นว่า
ไกล้ความเป็นจริงแล้ว
ต่อไปก็รถหุ้มเกราะ ตอนนี้เร่งด่วนก็ซื้อมาก่อน มีใช้ได้เห็นของเขา ถ้าเราวิจัยเอง
ลองเอามาใช้ ลองไปคิดไป ไม่ต้องรีบ แล้วนำเข้าประจำการ
ถ้าได้ทำเรื่อยๆ ในหลายๆอย่าง สักวันเราอาจขายให้เขาได้ใช้ฝีมือคนไทยบ้างก็ได้
อย่าพยายามมองสเกลที่ใหญ่เกินตัวไปครับ มองอะไรที่เราจะสามารถทำได้ ถ้าเรามัวมองสเกลใหญ่ๆและที่ไม่เคยทำมันจะเป็นเรื่องใหญ่และเราจะท้อกันซะก่อน เช่นอย่าไปมองสเกลแบบเครื่องบินล่องหน F-35 เรือรบเอกีส เรือดำน้ำ อย่าว่าแต่จะไปสร้างเลยครับ ปัญญาซื้อจะมีหรือเปล่าก็ไมรู้ เราไม่จำเป็นต้องสร้างให้ได้ทุกอย่าง แต่สร้างให้ได้มากที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ ที่ทำไม่ได้ก็ค่อยซื้อเอา ไม่ใช่ซื้อทุกอย่าง และพยายามซื้อลิขสิทธิ์มาสร้างภายในประเทศ สร้างสัพพลายเออร์ให้อยู่ในประเทศให้มากที่สุด จะเป็นการสร้างความมั่นคงให้เราและสร้างงานไปในตัว
สเกลพอที่เราจะสามารถสร้างได้เช่นการพัฒนารถหุ้มเกราะไม่ว่า 4X4,6X6,8X8 ก็ตาม อย่าง 8X8 ที่เราใช้BTR3E1 เราก็อาจซื้อลิขสิทธิ์มาสร้างในประเทศ แล้วใช้BTR3E1 เป็นพื้นฐานในการพัฒนารุ่นต่อไป อาจจะอัพระบบใหม่ ป้อมปืนใหม่ ออกแบบใหม่ก็ว่ากันไป เช่นเดียวกันกับรถถังเราก็อาจจะเอาOPLOT มาเป็นพื้นฐานซื้อลิขสิทธิ์มาสร้างในประเทศแล้วพัฒนาต่อยอดเอา ไม่จำเป็นต้องดีที่สุดในโลกครับ ขั้นแรกให้ดีสำหรับเราก่อน
4X4 ก็อาจใช้ของชัยเสรีเป็นพื้นฐาน เริ่มต้นก็อาจซื้อมาใช้จำนวนไม่มากนัก ทดลองใช้ปรับปรุงแก้ใขให้ได้ในระดับหนึ่ง ก็อาจจะซื้อเพิ่มขึ้นอีกหน่อยเพื่อให้เอกชนเขามีกำลังที่จะพัฒนาแก้ใขต่อให้สมบูรณ์ ให้เป็นมาตราฐาน แล้วค่อยจัดซื้อเต็มจำนวน และอัพเกรดรุ่นก่อนหน้านั้นให้เป็นมาตราฐานเดียวกัน
มีหลายอย่างที่ผมเชื่อว่าเราทำได้ตั่งแต่ปืนพกยันเรือรบ แต่ที่สำคัญคือต้องจริงจังต่ออุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ลงทุนไม่งั้นสัพพลายเออรไม่เกิดหรือเกิดยาก ถ้าอยากขายเราต้องใช้หรือให้การรับรองทางหน่วยงานที่กำหนดมาตราฐานครับ เพราะถ้าขนาดเราไม่ใช้เรื่องจะขายก็คงลำบาก
จะว่าไปแล้ว เสียดาย ปลย.11 จับใจ เราจะผลิตเมื่อไหร่ก็ได้
แต่ก็ต้องไปซื้อปืนจากต่างประเทศ
เคยได้ยินหลายคนว่ามันไม่ดี ไม่เหมาะ หรืออะไรต่างๆ นานา
ผมได้ใช้เป็นประจำในการฝึกสอน ที่ใช้อยู่ก็ตัวที่ไทยทำเอง ตรากงจักร
ผลิตมาก็ 44 ปีแล้ว ยังใช้ได้ดี ทั้งที่ถ้าเป็นคนก็วัยกลางคนเข้าไปแล้ว
ยอมรับเลยว่า ปืนนี้อายุมากกว่าผม 10 ปี แต่การทำงานก็อยู่ในเกณฑ์
ที่เรียกว่า ให้ผ่านแบบไม่ต้องคิดอะไรมาก ถ้าไม่ติดแบรนด์ หรือรูปลักษณ์
ผมว่า ปลย.11 ( HK33 ) ก็เป็นปืนน่าใช้เหมาะกับบ้านเรา รวมถึง ปืนพก
ขนาด 11 มม. เราก็ผลิตเอง
ทั้ง 2 อย่าง เรามีโรงงานสายงาน และองค์ความรู้พร้อมอยู่แล้ว อย่างน้อย
ก็ควรรักษาไว้ และนำมาใช้ประจำการ หรือผลิตให้กับ อส. ป่าไม้ หรือตำรวจ
ใช้ก็ได้ เพราะเราก็ทำรุ่นพานท้ายสั้น ( แบบพับฐาน ) ยืดหดได้ เป็นรุ่นจู่โจม
ก่อนหน้านี้ ผมเคยเอารุ่นพานท้ายสั้น ซึ่งในหน่วยไม่ค่อยได้ใช้ ยิงน้อยมาก
มาใส่พานท้ายเต็ม ยิงในสนาม 25 เมตร หนุนรองดีๆ ยิงเนียนๆ ปั้น X
กลุ่มกระสุนไม่หลุดเหรียญ 10 พอลองยิง Full Auto ก็ยิงได้จนหมด 40 นัดรวด
จำนวน 3 ซอง ไม่มีติดขัด ก็ถือว่าน่าใช้ระดับหนึ่ง
พอมาคิดถึงอายุปืน อืม ของเขาดีจริงๆ ไทยทำ ไทยใช้ ไทยเจริญ
กรมสรรพาวุธของเรามีศักยภาพมากพอที่จะ "ซ่อมแซม" "ปรับปรุง" ครับ แต่ไม่สามารถก้าวไปถึงระดับ "ผลิต" เองออกมาเป็นจำนวนมากหรอกครับ
การจะทำเช่นนั้นได้ต้องเป็น "เอกชน" เท่านั้น ซึ่งก็ต้องไปแก้ไขกฎหมาย้อบังคับอะไรกันอีกเยอะแยะ และจะต้องลงทุนด้วยเม็ดเงินมหาศาล มากกว่าที่คุณคิดหลายสิบเท่า
ซึ่งที่พูดมานี้ จะเป็นคนหละเรื่องกับงานวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตต้นแบบที่หลายๆหน่อยงานกำลังทำกันอยู่นะครับ
เอกชนที่ผลิตอุปกรณ์ทางการทหารในบ้านเรานอกจากอู่มาร์ซันที่ต่อเรือต.แล้ว ก็มีรถชัยเสรีนนี่ไงหละครับ แต่ก็ยังขายได้น้อยมากๆ
ลำบากนะอุตสาหกรรมทางการทหารเนี่ย ไหนจะเรื่องเส้นสายไหนจะปัญหากฎหมาย ไหนจะเรื่องต้นทุน ไหนจะเรื่องการตลาด อะไหล่ เงินหมุนเวียน
พูดไปก็กลับมาจุดเดิม กองทัพเราต้องซื้อเค้าเอาเพราะถุกกว่าผลิตเองและเราไม่มีนโนบายนั้น ส่วนเอกชนบ้านเราก็ยังไม่มีใครพร้อมทำงานเสี่ยงขนาดนี้
การที่เราซื้ออาวุธมาใช้ไม่ได้เป็นเรื่องเสียหายนะครับ แต่เราต้องจัดซื้ออย่างรัดกุมโปร่งใสและใช้งานได้คุ้มเม็ดเงินที่นำมาจากภาษี
แต่ถ้าเราเอาเงินรัฐบาลลงทุนไป2-3หมื่นล้านแล้วขาดทุนย่อยยับ เป็นหนี้สิน เพราะ"ไม่รู้จักคำว่าพอตัว" มันจะแย่ไปใหญ่นะครับ
รออีก20ปีให้ประเทศเรามั่นคงทางเศษฐกิจและการเมืองกว่านี้(เยอะๆ) อุตสาหกรรมหนักพัฒนาไปมากกว่านี้ แล้วเราค่อยคิดเรื่องนี้ทีหลังก็ยังทันครับ
ยกตัวอย่างซักเรื่อง ทุกวันนี้อุสาหกรรมยานยนต์มุลค่า8แสนล้านต่อปี เรายังเป็นแค่ "คนรับจ้างประกอบรถ"เลยครับ และไม่มีวันจะเป็นผู้ผลืตได้เลยเพราะบริษัทเราจ้างเราจะไม่มีวันถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราเด็ดขาด แต่มาเลย์ต้องการก้าวกระโดดไปเป็นผู้ผลิต รัฐบาลเค้าจึงทุ่มทุนมหาศาลเพื่อสร้างรถยนต์โปรตอนขึ้นมา
ผ่านมา15ปี โปรตอนก็ยังต้องเรารถมิตซูบิชิมาติดตราตัวเองแล้วขาย เอาเครื่องยนต์เรโนลต์มาใส่ มีแค่เพียงรถมินิแวนรุ่นเดียวเท่านั้นที่ออกแบบเองทั้งคัน แต่ก็ยังขนาดทุนมหาศาลอยู่ ดินพอกหางหมูอยู่เนี่ย และตัวรถเองก็ยังขายไม่ดี การประกอบและคุณภาพยังไม่ได้มาตราฐาน เพราะเทคโนโลยีก้าวไปไม่ถึง คนมาเลย์ไม่ได้ภูมิใจอะไรหรอกที่ซื้อใช้เพราะมันถุกกว่าเค้าแหละ
ไม่ต้องคิดสเกลใหญ่ใช้เงินเยอะอะไรหรอกครับ แบบนั้นสงสัยเกิดยาก
เอาแค่สิ่งที่ต้องใช้ แล้วมาประยุก หรือรวม แล้วนำมาใช้ประโยชน์
เช่น ปืนใหญ่อัตตาจร ที่กำลังผลิต ปืนเล็กยาวที่มีสายการผลิตอยู่แล้ว
รถหุ้มเกราะ รถฮัมวี่ และรถ 2 1/2 ตัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เราใช้จำนวนมาก
เราสามารถทำได้ และทำใช้อยู่ในปัจจุบัน เพียงแต่อยากให้ เพิ่มมากขึ้น
ต่อยอด พัฒนา และนำมาใช้โดยทั่วไป เป็นมาตรฐานของกองทัพเพื่อประหยัดงบ
และเงินทองไม่รั่วไหล แถมองค์ความรู้เราก็ยังได้เพิ่มพูนอยู่ตลอด
และยานยนต์ ที่เรากำลังปรับเปลี่ยน ส่วนใหญ่ก็เริ่มใช้ของในประเทศโดย
ว่าจ้างเอกชนกันแล้ว เช่น รถฮัมวี่สัญชาติไทย รวมกันก็หลายพันคัน
FTS อีกสองพันคัน ก็ใช้เอกชนผลิต โดยองค์ความรู้มาจากกองทัพ
ถ้าคิดสเกลใหญ่เกินตัวก็ไม่เหมาะ ยิ่งถ้าตั้งหน่วยงานมาซ้อน DTI ยิ่งไม่เหมาะ
เพราะเขามอง อาวุธที่ต้องพึ่งเทคโนโลยี และขนาดใหญ่ พิสัยไกล
ยิ่งโดยเฉพาะยานยนต์ และอาวุธ จำพวกปืนเล็ก ปืนกล ปืนใหญ่ และ ค.
ควรจะเป็นแบบมาตรฐาน เพื่อง่ายต่อการส่งกำลัง และปรนนิบัติบำรุง
ไม่ใช่ มีมากมายหลากหลายแบบ เช่น ปืนเล็กยาว ที่กองร้อยมีหลายรุ่น
ทั้ง M16 A1 * Hk33 * M4 * TARVO และปืนเก่าเก็บ ปลยบ.88 กับ สปริงฟิล 1903
ลองคิดถึง เจ้าหน้าที่ ที่จะต้องจัดกระสุน เข้าสนับสนุน การแชร์อะไหล่ และการส่งซ่อม
ผมว่ามันซับซ้อนเกินไป รถ 2 1/2 ตัน มีทั้ง GMC * ISUZU ( 2 รุ่น ) * HINO ( 2 รุ่น )
และยังมีตัวจอดรอส่งซ่อม อีก 2 รุ่น รถกระบะ 5 คัน 5 รุ่น
พอนึกถึงว่าจะต้องซ่อม ก็ปวดหัวพอได้ การสต๊อกอะไหล่ที่จำเป็นก็ หลากหลาย
แต่ถ้าเรา กำหนด เช่น 2 1/2 ตัน เป็นรุ่นนั้น รุ่นนี้ ตัวถังจ้างคนนี้ เครื่องคนนั้น ทำนองนี้
เราคงลดภาระการซ่อมบำรุง และความยุ่งยากลงได้อีกมากโข
แต่เอาไปรวมกับพวกจรวด หรืออะไรทำนองนี้ไม่ได้นะ อันนั้นยิ่งมากรุ่นยิ่งดี ทำให้งง
ว่ามารอบนี้ จะโดนอะไร แต่ถ้าเป็นพวกกระสุนเป็นนัด ปืนเล็ก ปืนใหญ่ ค. พวกนี้ไม่มีผล
ที่พูดถึงตรงนี้น่าจะหมายถึงอาวุธที่ไม่ได้ใช้เทคโนโลยี่อะไรมากากมายที่จะต้องใช้งบประมาณมหาศาลเหมื่อนที่พวกพี่เบิ้มเค้าทำกัน เอาแค่ที่เราทำเองได้ตามความสามารถและความจำเป็นเท่านั้น
ผมสรุปเอาง่ายๆ ..
ขนาดปืน ปลย. ประจำกาย ที่ความสลับซับซ้อนไม่มากมาย
เรายังต้องซื้อเลย ทั้งๆที่เราก็สามารถผลิตเองได้ไม่ยาก
นับประสาอะไร กับ ผลิตรถถัง ที่ความยุ่งยากซับซ้อนมีมากกว่า
เป็นพันเท่า .. ผมคิดว่า มันคงติดปัญหาเรื่อง เปอร์เซนต์ ในการ
สั่งซื้อมากกว่า ผลิตใช้เอง ก็ไม่มีเปอร์เซนต์ อะดิ
.. แต่ ในส่วนของทีม ดีไซน์เนอร์ ออกแบบอาวุธช่วยหาทีมใหม่เหอะ
ออกแบบมาแต่ละที ดูโบร๊าน โบราณ เป็นผมก็ไม่กล้าสะพายให้อายคน
ต่างกับ ทราโว่ ดูดีมีตระกูลมากๆ ถ้าให้ผมยืมมาซักวัน จะสะพาย
เดินให้รอบหมู่บ้านเลย อิอิ
ซื้อเค้าให้หมดก็ดีนะครับ จะได้ไม่ต้องเอาหัวไปคิดอะไรให้มันมากมาย อีกหน่อยชุดทหารก็ซื้อจากจีนด้วย ถูกดีอะครับ ถ้าจะดูแค่ในด้านราคาถูกแพง หรือเอาง่ายเข้าว่า ก็ซื้อของชาวบ้านเค้าต่อไปอะดีแล้วครับ แต่ถ้าดูในด้านความมั่นคง จากประวัติศาสตร์ กองทัพด้อยพัฒนาอย่าง กองทัพจีนของเหมาเจ๋อ ตง หรือกองทัพของพวกเวียดกง กองทัพของพวกชนกลุ่มน้อยต่างๆ เค้ามีแค่ คน ปืนประจำกาย กับกระสุน เค้าก็สู้รบได้อย่างสูสีแล้ว ถ้าจะมาเทียบกับบ้านเราในขณะนี้ ที่มีความพร้อมขนาดนี้ แล้วยังต้องพึ่งพาชาวบ้านโดนการซื้อยุทธปกรณ์ทุกอย่างที่มี ตั้งแต่พื้นฐานอย่างกระสุนปืนประจำกายยันเครื่องบินรบแบบปัจจุบัน ก็ยังมีคนไทยจำนวนไม่น้อยคิดว่าไม่คุ้มค่ากับการลงทุนด้านอุตสาหกรรม อาวุธแบบนี้ ประเทศไทยเราก็คงยังไม่พร้อมจริงๆนั้นแหละ(ในด้านความคิดอ่าน)ที่จะกลายเป็น ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศอื่นๆเค้า สรุปก็ซื้อของชาวบ้านเค้ากันต่อไป เด๋วทหารตัวโตๆเค้าจะไม่รวย ฮาๆๆๆ
ผมอ่านความเห็นท่าน potmon แล้วมันขึ้นยังไงไม่รู้ครับ ผมว่าเราคุยกันด้วยเหตุผลดีๆ ดีกว่าครับต่างคนต่างความเห็น ไม่เห็นต้องประชดประชันกันเลย ความเห็นของผมคือ ผมเห็นด้วยกับการกับการพึ่งพาตัวเองของกองทัพเช่น การผลิตปืนเล็กยาว RPG ปืนใหญ่ กระสุนปืนใหญ่ จรวด ระเบิดต่างๆ ฯลฯ ที่ต้องใช้ประจำในกองทัพ แต่หากเป็น รถถัง เครื่องบินรบ เรือดำน้ำ คมคิดว่า คงต้องคิดหนัก นอกเสียจากจะมีข้อเสนอดีๆ ในการร่วมวิจัยกับต่างประเทศอันนี้อีกเรื่องนึงครับ อยากยกตัวอย่าง โครงการ เตจาสและอาจัน ของอินเดีย เป็นตัวอย่างเหมือนกันครับ
หน้าจะรองจากสิ่งเล็กๆกันก่อนนะครับ อย่าเพิ่งคิดใหญ่ เป็นอย่างต้นไม้ที่เริ่มจากเมล็ดเล็กๆเติบโตอย่างช้าๆแต่ขอให้มั้นคง สนับสนุนการพึ่งพาตนเองครับ
ถ้าจะล็อกอินมาเพื่อแขวะอย่างเดียวนี่อย่าทำเลยดีกว่าครับกระทู้ดีๆเสียหมด หลายๆท่านก็ได้แสดงทัศนะและเหตุผลไปแล้ว ท่านได้พิจารณาหรือไม่ หรือว่าท่านอ่านแล้วมันไม่เข้าตาท่าน
สาระของข้อความใดๆนั้น มันไม่ได้อยู่ที่คนเขียนหลอกครับ แต่มันอยู่ที่คนอ่าน คนอ่านอ่านได้แค่ไหน มีสติปัญญาอ่านได้แค่ไหน สาระที่เกิดก็มีแค่นั้นแหละครับ อ่านได้สาระ หรือไม่ได้สาระ ท่านก็ไม่ต้องมาบอกผมหลอก เพราะผมก็เขียนแนวนี้มาตลอด แก้ไม่ได้แล้ว(ท่านอ่านไม่ได้สาระอะไรเลย ผมก็ช่วยไม่ได้อะนะ)
ปล. จากประสบการณ์พ่อบ้านกว่าปีสองปีมั่ง ว่าด้วย การทำกับข้าวที่บ้าน กับการซื้อกับข้าวถุงมากิน มีความต่างกันอยู่ที่ ถ้าทั้งบ้านมีความพร้อมหรือความตั้งใจที่จะทำกินเอง(ทั้งคนทำและก็คนกิน)มัน ก็จะเกิดขึ้นและสำเร็จในที่สุดครับ ถึงอาจจะแพงกว่าซื้อกับข้าวถุง หรือทำเสีย ทำไม่อร่อย(เมื่อพร้อมกันทุกคนก็ต้องทนกันไปทุกคนจริงมะ) แต่สุดท้ายก็จะได้ของที่ถูกปากและตรงกับความต้องการของคนในบ้านครับทั้งปริมาณและคุณภาพ แถมทันตรงต่อเวลาที่ต้องการด้วย(จะกินดึก กินโต้รุ่ง ก็ไม่มีปัญหาเพราะทำกินเองในบ้าน ต่างจากกับข้าวถุงที่ร้านปิดเอ็งก็อด) แต่ถ้าเกิดบางคนคิดว่าพร้อม บางคนคิดว่าไม่พร้อม ตั้งแต่ต้นก็อย่าไปทำมันเลยครับปัญหาเยอะ เพราะบ้านนี้ในด้านความคิดก็ไม่พร้อมซะแล้วในด้านการทำกับข้าวกินเอง เกิดจากไอ้คนที่คิดว่าไม่พร้อมนี้แหละครับ ไม่ว่าจะไปเป็นคนทำหรือคนกินก็เป็นปัญหากับบ้านครับ(ไม่พร้อมทำจะมีให้กินไหม แล้วไม่พร้อมจะกิน กับข้าวจะมีความหมายอะไร) ในบ้านมีปัญหาแน่นอนในเมื่อมีคนไม่เต็มใจจะทำหรือจะกิน และก็มีตัวเลือกเป็นกับข้าวถุงอีก(ถึงกับข้าวถุงอาจจะไม่ตรงกับความต้องการก็ตาม อาจมีแต่วิญญาณหมูหรือกระดูกไก่ แต่ก็อร่อย คุณภาพอาจไม่โดยใจ แต่ก็กำหนดปริมาณได้จากการซื้อถึงจะไม่ตรงตัวเท่าไรก็เถอะ) ไม่มีประโยชน์ที่จะฝืนมาทำกับข้าวกินเองในบ้าน เพื่อให้บ้านแตก ถ้าคนในบ้านยังคิดต่างกัน สุดท้ายก็กลับไปอ่านข้อความบนอีกครั้ง
ผมชอบเรื่องกับข้าวถุงมากๆครับ แต่ก่อนคิดจะทำกับข้าวเอง ผมจะดูอันดับแรกคือเงินในกระเป๋า กับความต้องการอาหารในมื้อนั้นๆ ถ้าวันนึงผมวางแผนอยู่แล้วว่าจะต้องมีอาหาร สัก 10 อย่างเนื่องจาก ครอบครัวผมใหญ่และ ต้องการกินอาหาร หลายอย่าง ผมคงต้อง control budget ที่มีให้เป็นสัดส่วนจริงหรือไม่ครับ กับข้าวถุงนั้นสามารถเปรียบเทียบราคาจากหลายๆร้านที่ให้ประโยชน์คุ้มค่าที่สุดได้ใช่หรือไม่ครับ แต่ถ้าผมอยากทำอาหารชนิดนึงซึ่งไม่เคยทำอาหารชนิดนั้นเลยแต่อยากทำ ผมคงต้องลองผิดลองถูก และใช้เงินไปกับการซื้อเครื่องเทศมาทำกับข้าว ทำให้ต้องชะลอกับข้าวชนิดอื่นออกไปในวันหลังนั้นจะถือว่าคุ้มค่าใช่หรือไม่ครับ ขณะที่เพื่อนบ้านซื้อกับข้าวได้หลายอย่างในราคาที่ถูกกว่า อย่างนี้จะกระทบต่อความมั่นคงได้หรือไม่ครับ เมื่อคุณลองทำกับข้างเองคุณจะรู้เองว่า ไม่ว่าคุณจะทำหรือคุณจะซื้อ โอกาสที่คุณจะโดน จิ๊กเงินมันก็พอๆ กันครับเพียงแต่ใครจะจิ๊กใครเท่านั้นเอง
คือจริงๆ แล้วเหตุผลหลักๆ ที่ริเริ่มพูดคุยเรื่องนี้ ก็หวังลึกๆ ว่าจะถึงหู ถึงตา ผู้มีปากมีเสียงบ้าง
ซึ่งผมก็มั่นใจมากๆ ว่าเขาอ่านเว็บนี้แน่นอน เพราะบางทีได้ยินผ่านหู ข้อมูลต่างๆ หรือข้อคิดเห็น
มันคุ้นๆ ตายังไงก็ไม่รู้ มาค้นๆ รื้อๆ ดู อ้าว เอ่อ คือว่า เว็บเดียวกัน
ก็มีหลายๆ ความคิดเห็นนะครับที่ดูแล้วน่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่เรื่องกระสุนที่เราซื้อน่ะ
( หมายถึงกระสุนปืนเล็ก ) ได้ยินแว่วๆ ว่ามันเรื่องของความคุ้มค่า กระสุนปืนเล็กนัดหนึ่ง 7.9 บาท
แต่เวลาซื้อได้ถูกกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะไม่ผลิต เห็นว่าเราซื้อเขามายิงแล้ว นำปลอกกระสุนมาหลอมใหม่
จะคุ้มค่ากว่าซื้อทองเหลืองผลิตภายในประเทศ ทำให้ประหยัดมากกว่า กระสุนฝึกทหารใหม่ ถึงได้
นิยมซื้อจากจีน หรือไม่ก็ปากีสถาน ส่วนกระสุนฝึกประจำปี จะเป็น RTA รวมถึงกระสุนมูลฐานด้วย
อาจเป็นเพราะเหตุผลนี้ก็ได้ พอคิดแล้ว ทั้งฝึก ทั้งประจำการ มันก็เพียงพอ แทนที่จะขยายโรงงาน
ก็ทำไปตามปกติ ไม่ีต้องเร่งรีบอะไร แต่เท่าที่คำนวณดู กระสุนปืนเล็กปืนใหญ่ บ้านเราสต๊อกไว้
แบบว่า อุ่นใจได้ เวลามีเหตุแล้วไม่สามารถผลิตได้ น่าจะเพียงพอใช้ได้นานโขอยู่
แต่ขอบอกอย่างหนึ่ง บ้านเราผลิตกระสุนได้ดีมาก ล่าสุดได้ยิงกระสุนผลัดเปลี่ยน ที่เก็บคงคลังไว้นานแล้ว
ดูจากเลขล๊อต ที่เบิก เป็นกระสุน RTA เก็บไว้ถึง 28 ปี ( 28 ปี ) นำมายิงจำนวน 20,000 กว่านัด
ไม่ด้านแม้แต่นัดเดียว มองได้ 2 อย่าง
1 มาตรฐานการผลิตเราดีมาก เก็บนานก็ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นเวลาใช้
2 การเก็บรักษา ที่ค่อนข้างดี รักษาสภาพเอาไว้ได้เป็นอย่างดี
ยังไง ก็อยากให้คุยกันด้วยหลักวิชาการ และสร้างสรรค์ ผมว่าจะทำให้สังคมเราน่าอยู่กว่าเยอะนะครับ
ในมุมมองของคนที่สนใจอาวุธทางทหารมาตั้งแต่ F-16 ยังเป็นแค่ YF-16 แข่งขันกับ F-18 ตั้งแต่ยังเป็ฯ YF-17 ผมว่าแนวโน้มของทางอุตสาหกรรมทหารของประเทศไทยเราดูดีขึ้นเรื่อยๆครับ ทหารเริ่มเรียนรู้ว่าการใช้งบประเทศอุดหนุนโครงการความมั่นคงมากๆเพื่อดำรงไว้ซึ่งความมั่นคงแต่เพียงอย่างเดียวเริ่มส่งผลกระทบต่องบประมาณของชาติในระยะยาวมากขึ้นและเป็นภาระ เหมือนๆกับรัฐวิสาหกิจหลายๆหน่วยงานที่กลายเป็นภาระไปเสียแล้ว เช่น ขสมก.
ครั้นซื้ออาวุธอย่างเดียวก็มักจะโดนโจมตีกันตลอดมาจนโครงการบางอันมีปัญหามากมาย และก็กระทบต่อดุลการค้าของประเทศไป โดนวิจารณ์เรื่อง % คอมมิชชั่นกันจนเอียน
มาถึงตอนนี้เริ่มทำการสร้างเองโดยมีภาคเอกชนสนับสนุน และเริ่มมีการพยายามแก้กฎหมายในเรื่องนี้หรือผ่อนผันไปเป็นรายๆไป หลายๆอย่างในกองทัพเริ่มมีแนวโน้มพึ่งพาตนเองหมด ทบ. ก็พวกปินใหญ่ ยานเกราะ ยานยนต์ต่างๆ เครื่องกระสุนแต่ละชนิด และรถถังหลักก็มีแนวโน้มว่าโครงการเหล่านั้นจะได้รับการสนับสนุน ทร. เองก็สามารถสร้างเทคโนโลยีและถ่ายทอดให้เอกชนไปไม่น้อย เสียดายที่โครงสร้างภาคอุตสาหกรรมต่อเรือและเดินเรือกลับโดนเกมส์การเมืองเล่นงาน รวมถึงอุตสาหกรรมถลุงเหล็กที่เป็นพื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมต่อเรือต้องล้มพังพาบไปก่อนเพราะการเมืองที่ชิงอำนาจกันรุนแรง
จะดูช้ากว่าเพื่อก็ที่ทอ. เพราะการลงทุนสร้างอากาศยานจากญี่ปุ่นสะดุด จึงทำให้ไม่สามารถผลิตชิ้นส่วนต่างๆได้แบบอุตสาหกรรมยานยนต์ ซึ่งบอกเลยว่าชิ้นส่วนยานยนต์ไทยนี่ผลิตเองในประเทศเกือบจะทุกชิ้นแล้วครับ ไม่ใช่รับข้างประกอบมานานแล้วด้วย และมีสเกลจนแม้แต่อินเดีย ออสเตเรีย หรือ ชาติสำคัญบางประเทศยังแหยงๆเมื่อจะทำข้อตกลงเปิดเสรีระหว่างกัน จะขาดก็แค่ระบบส่งกำลังและเครื่องยนต์เท่านั้นที่ญี่ปุ่นยังกั๊กเอาไว้ไม่ให้เรา
อตสาหกรรมถลุงเหล็กนี่ถึงขนาดญี่ปุ่นกลัวและต้องต่อรองกันอย่างหนักและมาจบที่ให้โรงงานถลุงนั้นมีบริษัทญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนสำคัญลำดับสองถึงจะยอมกันได้
เรากำลังเดินมาในทางที่เกาหลี ญี่ปุ่น จีน กำลังเดินกันอยู่ครับ ที่ยังชักช้าเพราะยังขัดขากันเองเป็นหลัก
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับท่าน Bravo และท่าน yam
ต้องขอโทษท่าน จขกท. ด้วยครับ แท้จริงแล้วผมเห็นด้วยในการพึ่งพาตนเองของกองทัพแต่อยากให้ในขั้นตนเริ่มพัฒนา เป็นลำดับขั้น เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของรถถัง M60 ซึ่งอิสราเอลทำได้ดีทีเดียวในจุดนี้ครับ หลายสิ่งหลายอย่างเราสามารถทำได้ดีครับ แต่เราควรมีองค์ความรู้ที่เป้นของตัวเองจริงๆ ในความเห็นส่วนตัวหากจะสนับสนุนให้ทางภาคเอกชนเข้าร่วม นอกจากกำหนดนโยบายใหม่และผลักดันเรื่องเรื่องของข้อกฏหมายแล้ว เป้าหมายการตลาดยังสำคัญ ผมเองสมมุติว่า ยูเครนมาร่วมผลิต ยานยนต์หุ้มเกราะในไทย ตลาดในภูมิภาคนี้ น่าจะมีส่วนแบ่ง ของจีน และ รัสเซียเป็นคู่แข่งสำคัญ คิดแล้วเหนื่อยครับ
หวังว่าเมื่อการชิงอำนาจทางการเมืองที่รุนแรงสิ้นสุดลง โครงการสำคัญทางอุตสาหกรรมที่เป็นพื้นฐานสำคัญจะถูกสานต่อไปจนทำได้เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะจะส่งผลในวงกว้างมากกว่าที่คิดครับ ไม่ใข่แค่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นแทบทุกๆอุตสาหกรรม เราจะสามารถแข่งขันกับชาติสำคัญๆของโลกได้อย่างมันหยดติ๋งๆเลย ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันแต่ประการใด เหตุผลเพราะเรามีทำเลที่ตั้งประเทศที่ดีเสียเหลือเกินครับ แถมยังมีแหล่งสำรองน้ำมันขนาดเกือบ 3000 ล้านนาเรลที่รอให้ขุดเจาะขึ้นมาเมื่อตกลงผลประโยชน์กับเพื่อนบ้านกันเรียบร้อย
แหล่งแร่เหล็กในออสเตเรียก็อยู่ใกล้กว่าญี่ปุ่น เกาหลี จีน บ่อน้ำมันรอขุดอยู่ริมรั้ว เส้นทางเดินอากาศที่ทำเสร็จแล้ว เส้นทางขนส่งทางบกที่กำลังทำ มีแต่เส้นทางเดินเรือที่ยังมีอุปสรรค์อยู่อีกมาก
ทำให้ต้นทุนการผลิตนั้นต่ำจนหลายชาติต้องกลัวครับ เช่น รัฐบาลเกาหลีใต้ไม่อนุญาติให้มาลงทุนพัฒนาอู่ต่อเรือขนาด 100,000 ตันที่นี่ด้วยความกลัวในเรื่องต้นทุนการผลิตที่อาจจะทำให้อุตสาหกรรมต่อเรือของเขาต้องพบความยากลำบาก
อุตสาหกรรมอากาศยานที่ต้นทุนต่ำกว่าทั้งในอเมริกาและยุโรป และญี่ปุ่นเป็นผู้บุกตลาด ขนาดอุตสาหกรรมยานยนต์ยังแพ้ แล้วอุตสาหกรรมอากาศยานล่ะ ญี่ปุ่นนี่เป็นหุ้นส่วนสำคัญสำหรับเราที่สุดประเทศหนึ่งเลยครับ
พิมพ์ตกครับ ทางรัฐบาลเกาหลีใต้ไม่อนุญาติให้อู่ต่อเรือฮุนไดเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเรือขนาด 100,000 ตันในไทยตามคำชักชวนของรัฐบาลไทยครับ เพราะตอนนั้นเรามีโครงการถลุงเหล็ก(ที่ตกลงกันได้แล้วกับทางญี่ปุ่นลงต้ว)ถึง 35 ล้านตันที่สามารถครองตลาดเหล็กดิบของอาเซี่ยนได้ มีแหล่งน้ำมันดิบสำรองขนาดเกือบ 3000 ล้านบาเรลอยู่ริมรั้วบ้าน แถมยังมีโครงการตัดคลองกระที่จะทำให้บ้านเรากลายเป็นศูนย์กลางการเดินเรือสำคัญที่สุดในโลกไป
ผมว่าคนไทยดูถูกตนเองเกินไปครับ เมื่อโครงสำคัญทางอุตสาหกรรมได้เกิด อุตสาหกรรมทางทหารของเราจะก้าวกระโดดไปเองโดยอัตโนมัติครับ แต่ขวากหนามยังเยอะ
เท่าที่ผมได้อ่านหลายกระทู้ผมว่าส่วนหนึ่งมาจากการที่เราหลายๆคนไม่เข้าใจหรือความรู้ด้านโครงสร้างอุตสาหกรรมเราไม่ตรงกัน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้ติดตามหรือยังใช้ความรู้เก่าอยู่หรือได้ความรู้มาคนละทาง ทำให้เรามองคนละมุมมอง
^
^
^
เห็นด้วยกับข้างบนครับ บางทีความรู้เรามองไปคนละมุม แต่ส่วนตัวผมว่าไม่แปลกนะครับ
เพราะกระทั่งนักวิชาการเอง บางทีเรื่องเดียวกัน มองกันไปคนละฟากเลย ก็มีเยอะแยะ
แต่อย่างน้อย พอเราแลกเปลี่ยน ก็ได้เห็นอีกมุมหนึ่ง คงมีประโยชน์บ้าง ไม่มากก็น้อย
และก็เห็นด้วยอีก ในเรื่องที่ว่า เราชอบดูถูกตัวเอง ทั้งที่เราก็มีดีเยอะแยะ
อย่างเช่นการใช้มือ ผมว่าการใช้มือของเรา ทำได้ดีกว่าในหลายๆ ชาติ เรามีความละเอียด
มากกว่า ถึงแม้ว่า เราจะไม่ค่อยได้ริเริ่มอะไรมากมาย
แต่เรื่องการประยุกต์ ดัดแปลง ทำให้เกิดประโยชน์สูงขึ้น ดีขึ้น เราไม่น้อยหน้าใครเลยทีเดียว
ขอเสริมนิดนะครับเรื่องกระสุนปืนเล็ก เท่าที่ผมทราบมา ที่เราต้องซื้อกระสุนปืนเล็กปีๆหนึ่งมากกว่าครึ่งมาทุกๆปี(และจะเพิ่มขึ้น เรื่อยๆ)ไม่ใช้ปัญหาเรื่องราคาอะครับ แต่เป็นปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ตัวกระสุน(อย่างกระสุน 5.56 ก็ผลิตได้แค่ตัว 55 เกรนที่ใช้กับปืนเก่าๆแบบ HK-33 กับ M-16 รุ่นเจ้าคุณปู่ ส่วนตัว 62 เกรนที่ใช้กับปืนหน้าใหม่ๆที่เรากำลังซื้อกันให้วุ่นช่วงหลังๆมานี้ ก็ผลิตไม่ได้อะครับ) กับประเภท(ชนิด)กระสุนที่ผลิตได้ก็มีจำกัดอยู่แค่ตัวหลักๆ คือแบบมาตรฐาน(ลูกธรรมดา) ส่วนลูกส่องวิถี ลูกซ้อม ลูกแบงค์ ก็ผลิตไม่ได้หรือผลิตได้น้อยสุดๆ ส่วนลูกปืนสั้น ลูกซอง ลูกกรด เอกชนเราก็ได้แค่ประกอบให้ครบนัด ลูกปืนกลเบาต่างๆก็ซื้อหมด กับอัตราผลิตโดยรวมในประเทศที่น่าจะน้อยกว่าที่ใช้ จะไม่ให้ปีๆหนึ่งประเทศไทยซื้อกระสุนปืนเล็กหลายสิบล้านนัดก็คงเป็นไปไม่ได้ ในเมื่อเรามีความพร้อมขนาดนี้(ยามศึกนี้ไม่ต้องไปนึกเลยอะ)
อีก นิดหนึ่งคือเรื่อง HK-33 ที่เราซื้อเค้ามาในตอนแรก และก็ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตเองในภายหลัง(ลิขสิทธิ์ประกอบหรือผลิตก็ไม่รู้ เพราะเราทำอะไรกับมันไม่ได้เลยนอกจากใช้งานกับซ่อมไปวันๆ) ที่หลังจากบริษัทต้นสังกัดอย่าง HK ยกเลิกสายการผลิต HK-33 ไป ก็ส่งผลให้สายการผลิตของ ทบ.ต้องปิดตายตกตามกันไปด้วย(เพราะเหตุใดก็คิดดูแล้วกัน)
สุดท้ายถึงเราจะเริ่มผลิตอะไรซักอย่างได้เองแล้วแต่ก็มีปัญหาอีกมากมายครับ เช่น ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ ฯลฯ ถ้าเราไม่เริ่มต้นที่พื้นฐาน(ทางความคิด)จริงๆและก็จริงจังในความคิดที่จะพึ่งพาตนเอง(บ้านเราพวกทำดีแป๊บๆเอาหน้าก็มีเยอะนะ) มันก็จะมาจบแบบกระสุนปืนเล็ก อย่าง 5.56 หรือ ปืน HK-33 อีกนั้นแหละครับ ฉนั้นก่อนจะเริ่มโครงการอะไรใหม่ๆก็น่าจะพัฒนาโครงการเก่าๆให้มันดีขึ้นไปด้วยคู่กันไปด้วยอะนะ
ที่ว่ามาเรื่องกำลังการผลิตกระสุนปืนเล็กก็น่าคิด ผมเห็นด้วยนะ
เพราะโรงงานเราก็ไม่ได้ใหญ่มาก แต่เราใช้เยอะ เพราะเครดิต ต่อทหาร 1 นาย
ปีนึงก็มากโขอยู่ เราน่าจะมีกำลังผลิตไม่ถึงจำนวนที่ใช้ ผมว่าเป็นไปได้ครับ
ส่วน HK33 เราผลิตเองครับ ผลิตเต็มกระบอก ผมคิดว่าตอนเลิกสายการผลิตของเรา
อาจเป็นเพราะเราได้รับ M16 A1 มาเยอะมากในช่วงสงคราม และเป็นหลังจากเรา
เปิดสายการผลิตไปไม่นาน กลายเป็นปืนล้นคลัง เพราะตอนนั้น คาร์บิน เราก็ยังมีอยู่
ทำให้ผลิตมาก็ไม่ได้ใช้ เกินความต้องการไปมาก ( อันนี้สันนิฐานนะครับ )
แต่สักประมาณ ปี 44 สมัยเรียน ปืน HK33 ในคลังที่ศูนย์การทหารราบ ใหม่เอี่ยม
แบบว่ายังไม่เคยยิง สลักยังแน่น ต้องเคาะก่อนดึงออก ครูบอกผลิตได้ไม่นาน
ผมเลยไม่รู้ว่า บ้านเราปิดสายการผลิตหรือยัง หรือผลิตเฉพาะอะไหล่มาซ่อม เพราะ
ส่งซ่อม ได้พานท้ายใหม่เอี่ยมปรับปรุงเรียบร้อย แสดงว่าอย่างน้อยที่สุด เราก็ยัง
สามารถผลิตอะไหล่มาซ่อมบำรุงได้