หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์ กองทัพบก

โดยคุณ : kaypui42 เมื่อวันที่ : 11/09/2012 09:45:41

โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์


มีหน้าที่
ดำเนินการซ่อมสร้างยานยนต์ทั้งประเภทล้อและสายพาน และที่ได้รับมอบหมายจากกองทัพบก
ประกอบด้วยหน่วยขึ้นตรง
- แผนกวิศวกรรมและซ่อมบำรุง
- แผนกสนับสนุน
- แผนกตรวจสอบคุณภาพ
- แผนกซ่อมสร้างระบบส่งกำลัง
- แผนกซ่อมสร้างเครื่องยนต์์
- แผนกซ่อมสร้างชินส่วนประกอบย่่อย
- แผนกถอดและประกอบตัวรถ
- แผนกผลิตชิ้นส่วนประกอบ
- แผนกซ่อมสร้างตัวถังและโครงรถ
- แผนกซ่อมสร้างยานยนต์สายพานและยานยนต์หุ้มเกราะ

*ตัวอย่าง งานซ่อมสร้างยานยนต์ฯ และโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ ที่ดำเนินการโดย โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์ สังกัด กรมสรรพาวุธทหารบก กองทัพบก

ซ่อมปรับปรุง รถถังเบา 21 (SCORPION)
รถถังเบา 21 (SCORPION) เป็นยานพาหนะประเภทรถรบ ใช้สนับสนุนการยิงด้วยปืนใหญ่ขนาด ๗๖ มม. มีลักษณะทอดเงาต่ำ สามารถลอยตัวและขับเคลื่อนในน้ำได้ เข้าประจำการใน ทบ.ปี ๒๕๒๑

ทบ.มีแนวคิดในการปรับปรุง ถ.เบา ๒๑ โดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์จากเดิมที่เป็นเครื่องยนต์เบนซิน (JAGUAR XK 4.2) เป็นเครื่องยนต์ดีเซล, เปลี่ยนเครื่องควบคุมการยิง, เปลี่ยนกล้องเล็งแบบใช้ในเวลากลางคืน และเปลี่ยนสายพานรถถังเป็นแบบสลักคู่

ถ.เบา ๒๑ ได้รับการซ่อมสร้างจาก กรซย.ฯ ซึ่งเป็นการซ่อมคืนสภาพเดิม จำนวน ๒๕ คัน แล้วเสร็จแจกจ่ายคืนหน่วยเมื่อ พ.ย.๔๙ และ มี.ค.๕๒ ปัจจุบัน ทบ.เรียก ถ.เบา ๒๑ เข้าซ่อมปรับปรุงเปลี่ยนเครื่องยนต์ ใช้สถานที่ ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน โดยการจ้างซ่อม

ดำเนินการซ่อมโดยคืนสภาพโดย กรซย.ศซส.สพ.ทบ.

ปัจจุบัน ทบ.เรียก ถ.เบา ๒๑ เข้าซ่อมปรับปรุงเปลี่ยนเครื่องยนต์ ใช้สถานที่ ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน โดยการจ้าง บริษัท อัพเดท ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ
      http://www.thaiarmedforce.com/forum.html / Re: อนาคตของการผลิตอาวุธ/ยุทธภัณฑ์ในประเทศไทย by crazyfox » 31 Aug 2012

ซ่อมสร้าง รถเกราะ 4 X 4 คอมมานโด V-150


รถเกราะ 4 X 4 คอมมานโด V-150 เป็นรถเกราะล้อยางเหมาะสำหรับการใช้เป็นรถปราบปรามจลาจล รถคุ้มกันขบวน ลำเลียงพล และลาดตระเวน สามารถวิ่งได้ทั้งบนบกและในน้ำ ทบ.ได้นำเข้าประจำการปี ๒๕๒๑ แบบที่ใช้งานมี ๓ แบบ ได้แก่ รถลำเลียงพล, รถติดตั้งปืนใหญ่ขนาด ๙๐ มม. และ รถติดตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด ๘๑ มม. ปัจจุบัน ทบ. ได้เรียกเข้า ซ่อมสร้าง ณ กรซย.ฯ จำนวน ๔๒ คัน

โครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์: โครงการปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ บรรทุกถังน้ำมันเชื้อเพลิง ขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร


ที่มา
ทบ. มีนโยบายในคราวที่ ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยม กรซย.ฯ เมื่อ ๒๕ ส.ค.๔๓ ให้ สพ.ทบ. ปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ซึ่งเป็นรถบรรทุกกระสุนให้กับ ถ.เอ็ม ๔๑ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ มีพื้นที่ในการบรรทุก และใช้เครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง ช่วงล่าง เช่นเดียวกับ ถ.เอ็ม ๔๑ โดยติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร เพื่อใช้เป็นรถสายพานบรรทุกน้ำมันสนับสนุนหน่วย พล.ม.๒

การดำเนินการ
กรซย.ศอ.สพ.ทบ. ได้ซ่อมสร้างรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ที่สภาพชำรุดทรุดโทรม จำนวน ๑ คันฟื้นฟูสภาพให้สามารถใช้งานได้และติดตั้งชุดถังน้ำมันเชื้อเพลิง ขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่ง กรซย.ฯ ได้ดำเนินการในส่วนของตัวรถ สำหรับชุดถังน้ำมันพร้อมอุปกรณ์ไฮโดรลิกยกขึ้นลงได้จ้างให้ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แล้วเสร็จเดือน ก.ย.๔๕ ใช้งบประมาณ ๘ ล้านบาท

ผลการใช้งาน
ม.พัน ๒๒ แจ้งผลการใช้งานให้ทราบว่ามีความสิ้นเปลืองน้ำมันมาก , การเคลื่อนที่ในภูมิประเทศไม่คล่องตัวมีอุปสรรคเนื่องจากความสูงของถังน้ำมัน , การทรงตัว การบังคับเลี้ยวของรถไม่ค่อยดีและเคลื่อนที่ได้ช้าเนื่องจากน้ำหนักของน้ำมันในถัง

แนวความคิดในการแก้ไข
- เปลี่ยนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสิ้นเปลืองน้ำมัน
- ให้บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด พิจารณาออกแบบแก้ไขถังน้ำมันให้ลดการกระเพื่อมของน้ำมัน และการทรงตัวดีขึ้น
- ให้ติดตั้งเกราะ และกระจกป้องกันบริเวณห้องพลขับ และ ผบ.รถ
- ให้ปรับปรุงแท่นติดตั้ง ปก.๙๓ เปลี่ยนเป็นติดตั้ง ปก.เอ็ม ๖๐ แทน

เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ปัจจุบันจึงยังไม่ได้ดำเนินการ



ความเป็นมา
ทบ. มีนโยบายในคราวที่ ผบ.ทบ.ตรวจเยี่ยม กรซย.ฯ เมื่อ ๒๕ ส.ค.๔๓ ให้ สพ.ทบ. ปรับปรุงรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ซึ่งเป็นรถบรรทุกกระสุนให้กับ ถ.เอ็ม ๔๑ เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ มีพื้นที่ในการบรรทุก และใช้เครื่องยนต์ เครื่องส่งกำลัง ช่วงล่าง เช่นเดียวกับ ถ.เอ็ม ๔๑ โดยการติดตั้งแท่นบรรทุกเครื่องสะพานทหารช่าง เพื่อใช้เป็นรถสายพานบรรทุกเครื่องสะพานทหารช่างสนับสนุนหน่วย กช. ในการวางสะพานข้ามลำน้ำ

การดำเนินการ
กรซย.ศอ.สพ.ทบ. ได้ซ่อมสร้างรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ ที่สภาพชำรุดทรุดโทรม จำนวน ๑ คันฟื้นฟูสภาพให้สามารถใช้งานได้และติดตั้งชุดเครื่องสะพานทหารช่าง ซึ่ง กรซย.ฯ ได้ดำเนินการในส่วนของตัวรถ สำหรับชุดเครื่องสะพานทหารช่างพร้อมอุปกรณ์ไฮโดรลิกยกขึ้นลงได้จ้างให้ บริษัท พนัส แอสเซมบลีย์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการ แล้วเสร็จเดือน ก.ย.๔๕ ใช้งบประมาณ ๕.๕ ล้านบาท

ผลการใช้งาน
กช. แจ้งผลการใช้งานให้ทราบว่าหน่วยไม่มีปัญหาในการใช้งาน แต่ต้องการทราบข้อมูลของรถเกี่ยวกับเกณฑ์ความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และน้ำมันอุปกรณ์

แนวความคิดในการแก้ไข
เนื่องจากรถแทรกเตอร์ เอ็ม ๘ เป็นชนิดเดียวกับรถที่ปรับปรุงติดตั้งถังน้ำมันขนาด ๑๐,๐๐๐ ลิตร ให้กับ พล.ม.๒ การแก้ไขปรับปรุงจึงมีแนวทางเช่นเดียวกัน ดังนี้.-
- เปลี่ยนเครื่องยนต์รุ่นใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสิ้นเปลืองน้ำมัน
- ให้ติดตั้งเกราะ และกระจกป้องกันบริเวณห้องพลขับ และ ผบ.รถ
- ให้ปรับปรุงแท่นติดตั้ง ปก.๙๓ เปลี่ยนเป็นติดตั้ง ปก.เอ็ม ๖๐ แทน

เนื่องจากข้อจำกัดในเรื่องของงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าว ปัจจุบันจึงยังไม่ได้ดำเนินการ

*

ที่มา: โรงงานซ่อมสร้างยานยนต์ - thaiomrd.comuf.com

http://www.thaidefense-news.blogspot.com/2012/09/blog-post_7.html





ความคิดเห็นที่ 1


ปัญหามันไม่ได้อยู่ที่ว่าทำได้หรือทำไม่ได้ครับ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำหรือเปล่า จริงจังแค่ไหน รัฐบาลหนึ่งสร้างรัฐบาลหนึ่งยกเลิกก็ไม่ไหว  ถ้าเจอปัญหาต้องหาทางแก้ไขไม่ใช่ยกเลิก ยกเลิกแล้วเอามาโชว์ว่าเราเคยเกือบทำได้เป็นความภูมิใจของเราว่าไม่เคยทำสำเร็จ (ผลการทำวิจัยอันน่าภูมิใจมีเป็นร้อยเอามาโชว์ด้วย ทำไม่สำเร็จแต่ตูภูมิใจ สุดยอด ผมละงง)

หลายคนอ้างโน่นอ้างนี่ว่าเราไม่มีความสามารถ ขาดโน่นขาดนี่ อ้างโน่นอ้างนี่ มันไม่มีที่ไหนหรอกครับที่จะไม่มีคำว่าเริ่มต้น มันไม่มีอะไรหรอกครับที่จะไม่มีปัญหา  เกาหลี ญี่ปุ่น สิงค์โปร มาเลย์ อินโด เขาก็ต้องเรียนรู้เหมือนกัน เริ่มต้นต้องเจอปัญหาเหมือนกัน  หากเราคิดว่าเราจะสร้างรถสักคัน แต่มาบอกว่าเรายังไม่มีล้อ ไม่มีพวงมาลัย เลยไม่สร้างไม่ทำ เราไม่มีทางทำอะไรสำเร็จหรอกครับ ดูอย่าง DT1 สิครับ เมื่อก่อนก็มีคนบอกว่าเราทำไม่ได้ ขาดนั่นขาดนี่เหมือนกันแต่วันนี้เราทำได้ ทำไมละครับ คนไทยไร้ความสามารถจริงหรือ หรือขาดอะไรกันแน่

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 09/09/2012 21:48:40


ความคิดเห็นที่ 2


รื้อ-ซ่อมขนาดนี้ ผมว่าคนที่เป็นช่าง บอกไทยเราก็สร้างเองได้ แน่เลย   ขนาดช่างมอไซย์แถวบ้านผมยัง เอาของเหลือใช้มาทำรถคันเล็กๆได้เลย ซ่อม รื้อจนรู้โครงสร้างหมด  ทำ้เองได้แล้ววกองทัพแค่นี้สบายมาก เชื่อดิ  อะไรทำไม่ได้ก็ซื้อเอาก็ได้เครื่องยน เครื่องมือต่างอิเลคโทนิค แบบนี้ มันไม่ยากเลยท่าจะทำ รถถังก็ทำได้...มั่ง

โดยคุณ cananac11 เมื่อวันที่ 08/09/2012 19:58:59


ความคิดเห็นที่ 3


เห็นด้วยครับ ก๊อป สร้างเองได้เลยเชื่อว่า สพ.ทบ ทำได้อย่างไม่มีข้อสงสัย ถ้ามีโปรเจ็คสร้างเองคงต้องขยายสร้างโรงงานประกอบเพิ่มนะ ดูแล้วเรื่องร่วมมือกับยูเครนคงไม่ยากเกินไปบุคลากรของ สพ.ทบ เก่งอยู่แล้ว ...^_^

โดยคุณ Cute เมื่อวันที่ 08/09/2012 22:45:10


ความคิดเห็นที่ 4


โอว...ถ้าทำได้ขนาดนี้ เหลือเพียงวิจัยวัสดุ กับลิขสิทธิ์ และเครื่องยนต์ ถ้ามีเจ้าภาพอินทิเกรตภาพรวมได้ อืม....น่าคิด

โดยคุณ yam เมื่อวันที่ 09/09/2012 02:18:27


ความคิดเห็นที่ 5


ผมคิดว่า ทหารช่าง มีขีดความสามารถพอ ที่จะผลิตรถถังเองได้

กระบวนการขึ้รูปเป็นชิ้นส่วนแต่ละชิ้น มันคงไม่ยากเกินไป ถ้าคิดจะทำ

แรกๆ ผมก็หวังว่า รัสเซีย ยูเครน สวีเดน จะมาร่วมลงทุน

แต่ .. พอคิดอีกที ผมว่า เราคิดไปเองมากกว่า คงไม่มีประเทศใหน

มาร่วมลงทุนกับไทย ..

 

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 09/09/2012 03:58:18


ความคิดเห็นที่ 6


คิดจะเขียนก่อนจะได้เห็นคอมเม้นก่อนๆ  ผมก็คิดเหมือนกัน ดูจากรูปแล้ว มีคำถามเลย ทำไม ทบ. ไม่สร้างใช้เอง

"ทำไม่สร้างใช้เอง" ก็ไม่รู้ทำไม  แล้วทำไม ไม่คิดจะสร้างเองเหรอ   ณ.เวลาคงไม่มีใครมาเถียงกับเรื่องนี้กันแล้วนะ  ทำนองว่า พูดมันง่าย แต่เวลาทำมันอยาก ขั้นตอนมาก ไม่คุ้มทุน บลาๆๆๆ ... คงไม่มีแล้วนะครับ

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 09/09/2012 04:56:38


ความคิดเห็นที่ 7


รื้อออกมาซ่อมแล้วประกอบกลับเข้าไปใหม่

ไม่เหมือนกันการสร้างใหม่นะครับ ยุ่งยากกว่า ทั้งด้านเทคนิค อุปกรณ์ องค์ความรู้

ในมุมมองของผม

การประกอบเอง และซ่อมได้ระดับโรงงานแบบนี้ ดีแล้วครับ ในอาเซียนเองก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้ทุกประเทศ

จริงๆแล้ว BTR3E1 นี่ถ้ามาประกอบในเมืองไทยล่ะก็แจ่มเลย...

 

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 09/09/2012 08:12:00


ความคิดเห็นที่ 8


ซ่อม รื้อได้ขนาดนี้ ผมว่าเราลอกแบบเขามา แล้วดัดแปลงแบบให้สวยงามและเหมาะกับเราเลยดีกว่า ผมว่าไม่ยากเกินไป  ออกแบบให้สร้างได้อย่างง่ายๆ

โดยแบ่งเป็นระบบช่วงล่าง,เครื่องยนต์ ,อาวุธ หาซื้อที่มีตามท้องตลาดมาดัดแปลง ให้มองแล้วมีความน่าเชื่อถือในการใช้งาน ผมว่ากองทัพจะมีความภาคภูมิใจไม่น้อยเลยครับ

โดยคุณ part88 เมื่อวันที่ 09/09/2012 10:46:58


ความคิดเห็นที่ 9


ลองดูรถชัยเสรี กว่าจะได้เข้าประจำการต้องพัฒนากันมากี่ปี ทั้งที่บริษัทเอกชนมีขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยากน้อยกว่างานราชการมาก ไม่ได้ดูถูกว่ากองทัพทำไม่ได้ แต่กำลังมองว่าจะเกิดได้หรือไม่

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 09/09/2012 11:49:57


ความคิดเห็นที่ 10


งานคิดสร้างแปลนแบบ (งานแรกที่จำต้องสร้างบุคลากร)

โลหะผสมขึ้นชั้นโหะบางแบบ จำต้องหาที่พึ่งทางเทคโนโลยีจำเพราะ

ที่เหลือ ขึ้นรูปโลหะ /ตัด/เจาะ/กลึง สักยภาพโรงงานในไทยมีมากพอ

ยากตรงจุดเริ่มต้นนี้ล่ะครับ  เริ่มต้นใด้ก็น่าจะไปใด้ยาว ถ้างบมีสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง..

การซ่อมสร้างของกองทัพก็ดีไปอย่างหนึ่งคือใด้การฝึกซ้อมทักษะต่างๆ ประหยัดงบ และพัฒนาตนเองไปด้วย ..สนับสนุนครับ

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 09/09/2012 11:54:49


ความคิดเห็นที่ 11


 ไม่ได้จะกวนนะครับ ปัญหาคือเราจะสร้างอะไร และจำนวนเท่าไหร่  ต้องใช้งบในการวิจัยเท่าไร เมื่อสร้างเสร็จแล้วราคาต่อหน่วยมันจะถูกกว่าซื้อเขาจริงหรือไม่  และถ้าจะสร้างเองก็คงไม่สร้าง V-150 กับ scorpion แน่ๆ จริงไหมครับ ในกระทู้ที่ผ่านมา มีสมาชิกท่านหนึ่งได้กว่าถึงเรื่อง สเกลการผลิตและจุดคุ้มทุนได้อย่างน่าฟังทีเดียว มันคงจะฮาไม่ออกแน่ๆ ถ้าหากเราศึกษา รถถังคันหนึ่ง ที่มีคุณสมบัติสูงกว่าscorpion เล็กน้อย แต่ราคาเมื่อวิจัยและผลิตเสร็จแล้ว ราคาต่อหน่วยมันพอๆ กับ Leopard 2 (ผมยกตัวอย่างให้เว่อร์นะครับ) มันจึงเป็นเหตุผลที่ว่า เลือกซื้อดีกว่าผลิตเองเพราะมันไม่คุ้ม หรือเปล่าครับ ส่วนตัวแล้วคิดว่าคนไทยทำได้ครับ เพียงแต่ความเหมาะสมมันยังไม่เกิดเท่านั้นเองนะครับ  

โดยคุณ PIZZi เมื่อวันที่ 10/09/2012 01:48:36


ความคิดเห็นที่ 12


DT1 เราซื้อแบบมาจากจีน ไม่ได้ออกแบบเองตั้งแต่ต้น

ถ้าต้องเริ่มจากนับ 1 คอยดู UAV ว่าจะได้เกิดไม๊ดีกว่า....

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 10/09/2012 09:01:46


ความคิดเห็นที่ 13


     อืมมม......ผมเห็นด้วยกับสมาชิกส่วนใหญ่ว่า  ถ้าทบ.สามารถทำได้ขนาดนี้   จะผลิตรถถังขึ้นมาจริงๆ  ไม่น่าจะยากแล้ว   การออกแบบวิจัยพัฒนานั้นผมว่าทางเรามีโครงสร้างพร้อมอยู่แล้ว  ไม่งั้นชัยเสรีและล็อคเล่ย์จะสามารถวิจัยและผลิตเองได้ไง    ทั้ง firstwin  4X4    และรถลำเลียงหุ้ทเกราะ  8X8  6X6 ที่อยู่ในขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา     ดังนั้นงานส่วนนี้พึ่งพาเอกชนได้แล้วใน    และส่วนการผลิตชิ้นส่วนก็มีโรงงานของภาคเอกชนแล้วไม่งั้นจะผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้รถที่ออกแบบข้างต้นได้ไง   และรถบุสมาสเตอร์จะรับผลิตส่งขายทั่วโลกได้ไง  พึ่งพาบริษัทเอกชนได้ทั้งหมด

    ดูท่าทางที่ทบ.เลือกจะร่วมลงทุนกับยูเครนก็คงเพราะความเสี่ยงเรื่องการตลาดมากกว่า    ต้องการลดความเสี่ยงทางการตลาดอย่างที่ได้เคยบอกไว้น่ะครับ     เพราะดีลของชัยเสรีทำตลาดเองนี่เสี่ยงมากๆ   ถ้าทบ.ไทยเราไม่นำเข้าประจำการ   ก็ขายลำบากครับไอ้ 8X8  6X6  ที่วิจัยพัฒนาอยู่

   เอาเป็นว่าน่าจะสร้างและวิจัยเองได้แล้วล่ะ   เหลือแค่การตลาด  ก็จบ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/09/2012 12:04:16


ความคิดเห็นที่ 14


   โมเดลทางการตลาดและอุตสาหกรรมที่ชัยเสรีเลือกใช้เป็นโมเดลแบบที่บริษัทเกาหลีใช้ทำตลาดอาวุธอยู่ครับ   มีความเสี่ยงทางการตลาดสูง   เพราะขายได้น้อย  สเกลการผลิตจะต่ำแล้วเจอปัญหาอย่างที่เคยกล่าวในกระทู้ Jas-39 ครับ    แต่ถ้าประสบความสำเร็จบูมมมมม......แบบนี้จะสามารถสร้างกำไรมหาศาลให้แก่ผู้ผลิตและประเทศผู้ผลิตมากๆ   เพราะสามารถสร้างแบรนตนเองได้ 

    ส่วนโมเดลที่ทบ.เลือกจะร่วมทุนกับยูเครน   ใช้โมเดลอุตสาหกรรมยานยนต์ของเราเองเป็นต้นแบบ    ไม่สร้างแบรนตนเอง    แต่รับจ้างผลิตครับ   โดยพึ่งความสามารถทางการตลาดของยูเครนแทนหรือทำตลาดร่วมกัน    ส่วนสเกล   ความต้องการของทบ.ไทย   น่าจะมากพอที่จะได้จุดคุ้มทุนอยู่แล้ว    แต่คงต้องการลดความเสี่ยงทางการตลาดลง     แต่กำไรจะน้อยกว่าแบบที่ชัยเสรีเลือกทำพอควร    ก็ตามที่ว่า   "เสี่ยงมากได้มาก  เสี่ยงน้อยได้น้อย"     เพราะต้องแบ่งกำไรกับทางยูเครนด้วย    ซึ่งตรงส่วนกำไร  ทางทบ.เป็นหน่วยงานรัฐคงไม่สนใจมากมาย   เลือกเอาความมั่นคงแบบชัวร์ๆก่อน   ถูกต้องแล้วครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/09/2012 12:25:06


ความคิดเห็นที่ 15


ถ้าไม่เริ่มนับหนึ่งสักทีเห็นทีเราก็ต้องตามหลังเขาวันยังค่ำ ทุกอย่างมันก็มีความเสี่ยงทั้งนั้นแม้แต่เราเดินบนทางเท้ายังเสี่ยงต่อการถูกชน

เรามีบริษัทเอกชนที่จะเข้ามาร่วมตั้งมากมายที่สามารถผลิตชิ้นส่วนได้ เครื่องยนต์ชุดเกียร์วัสดุก็สั่งนำเข้าหรือทำวิจัยก็ได้ ถ้าจะพูดแต่ไม่คุ้ม

ทุนหรือไม่มีงบประมาณอยู่แบบนี้ตลอดไปก็คงซื้อเขาตลอดตัวอย่าง สิงคโปร์ เขาไม่เห็นจะมีทรพยากรอะไรเลย ทำไมเขาทำได้ เพราะเขาเริ่ม

นับหนึ่งแล้วเขาจริงจังเพื่อที่จะยืนบนลำแข้งตัวเองไม่ใช่เตะตัดแข้งตัดขากันเองอยู่แบบนี้ ที่สำคัญกฏหมายเกี่ยวกับอาวุธบ้านเรานะมันล้าสมัยไปแล้วเมื่อไหร่จะแก้สักที

 

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 10/09/2012 12:27:25


ความคิดเห็นที่ 16


ถึงท่าน  PIZZi

คิดแบบท่าน ก็มีส่วนถูก .. คือ ซื้อเอา ดีกว่าผลิตเอง เพราะมันไม่คุ้มทุน

 

แต่ ..  ผมขอยกตัวอย่าง ซัก สองสามตัวอย่าง  เช่น

ย้อนไป เมื่อ 15 ปี ที่แล้ว บิลเกตต์ เป็นผู้นำด้านซอร์ฟแวร์ ( วินโดวส์ )

หันไปทางใหน ก็เห็นแต่คนใช้ พีซี กันทั่วบ้านทั่วเมือง  แม้แต่ผม ก็คิดว่า

คงไม่มีอะไรที่จะมาแทนวินโดวส์ได้อีกแล้ว ..  สตีฟ จ๊อบส์ ก็ทำยี่ห้อแมค

มาสู้ แต่ ดูเหมือนจะห่างใกลเหลือเกิน บิลเกตต์รวยติดอันดับโลก แต่ จ๊อบส์

แทบล้มละลาย ซึ่งถ้าผมเป็นจ๊อบส์ คงยกธงขาว ยอมแพ้ไปแล้ว

.. จ๊อบส์ กลับไปนอนเลียแผลอยู่พักใหญ่ กลับมาอีกที รุกตลาดเครื่องเสียงพกพา

" ไอพอด นาโน " .. กระแสตอบรับดีมาก เพราะสไตล์จ๊อบ เน้นของที่มีคุณภาพ

ไม่ใช่หล่นทีเดียวเจ๊งเหมือนของจีนแดง

.. จ๊อบ กลับมาลืมตาอ้าปากได้ จาก ไอพ็อด นี่เอง .. บิลเกตต์ ยิ้มในใจ และยัง

มั่นใจว่า คงไม่มีใครเทียมทาน .. จ๊อบ อ้อมไปรุกตลาดมือถือ ผลิต ไอโฟน

ทีนี้ ผลกระทบกระเทือน ไปถึงพี่บิ๊ก อย่าง โนเกีย เข้าอย่างจังเบอร์ รวมไปถึง

พวกพ็อกเก็ตพีซีของบิลเกตต์ด้วย .. บิลเกตต์เริ่มรู้ตัว แต่ไม่คิดว่าจะมีใครสู้ได้

จน จ๊อบ รุกตลาดทั้งมือถือ ทั้งแท็บเล็ต ทั้ง แม็คบุ๊ค .. ภายใน 10 ปี จ๊อบ

สามารถทำกำไร เหนือกว่าบิลเกตต์ .. จวบจน กระทั่งปัจจุบัน ..

 

.. ที่ผมยกตัวอย่าง มาให้ดู หวังว่าคงตีความหมายออกน่ะครับ  ถ้าเรามัวแต่คิดว่า

" ผลิตสู้เค้าไม่ได้หรอก มันไม่คุ้ม " เราก็จะไม่มีวันชนะ เพราะเรายอมแพ้ตั้งแต่ในมุ้ง

.. ถ้าเราจะผลิตรถถังขาย เราต้องคิดว่า ต้องทำอย่างไร ให้ของเราดีเลิศที่สุด

ถึงจะสามารถขายได้ แต่ ถ้าผลิตเอาคุณภาพใกล้เคียงทั่วๆไป ก็อย่าหวังว่าจะขายออก

แค่ ชื่อ เมดอินไทยแลนด์ เขาก็แบะปากแล้ว ..

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 10/09/2012 13:09:55


ความคิดเห็นที่ 17


ตามภาพนั้นคือการซ่อมบำรุงและปรับปรุงรถ ซึ่งความยากง่ายนั้น ตามความจริง มันง่ายกว่าการผลิตรถมากครับ เพราะการถอดรื้อซ่อมบำรุงหรือปรับปรุงนั้น อุปกรณ์ทุกชิ้นส่วนทั้งเล็กและใหญ่มีมาให้ครบหมดแล้ว ติดตั้งประกอบตามแบบที่กำหนดเท่านั้น แต่การผลิตรถขึ้นมานั้นแตกต่างกันโดยสิ้นเชิงในเรื่องของการวิจัยพัฒนาลองผิดลองถูกอุปกรณ์ว่าดีหรือบกพร่องหรือไม่ นั่นทำให้หลายๆประเทศที่วิจัยพัฒนารถถังเองต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะได้รถที่สมบุณ์ใช้งานได้จริง หรือใช้งานได้แล้วคุณภาพยังไม่ดีพอ แต่ถ้าหากว่า สมมุติว่า สมมุตินะครับ เราซื้อรถถัง OPLOT มาแต่ไม่ได้ซื้อยกคันสำเร็จรูป แต่ซื้อแบบกึ่งสำเร็จรูปโดยซื้ออุปกรณ์ทั้งหมดทั้งตัวถัง อุปกรณ์ทุกชิ้นส่วน ป้อมปืน ยกชุดเลยมาประกอบเป็นตัวรถในประเทศอันนี้มันได้แน่นอนเพราะรถมันมีแบบแผนมาแล้ว ไม่ใช่แค่เรานะครับ กองทัพอื่นที่มีอู่แบบนี้ก็ทำได้ ทีนี้ปัญหาว่าบริษัท ผู้ผลิตเขาจะยอมมั้ย

ส่วนตัวมองว่า หากจะเริ่มต้อน ควรจะร่วมกับประเทศที่มีประสปการณ์ในการผลิตมาดำเนินการด้วยครับ จะเป็นการร่วมทุนกันกับเอกชนไทยด้วยโดยกองทัพมีส่วนร่วมด้วยหรืออะไรก็ตามครับ อันนั้นผมสนับสนุน

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 10/09/2012 15:43:28


ความคิดเห็นที่ 18


สร้างเพื่อความมั่นคงมันไม่มีจุดคุ้มทุนที่เป็นตัวเงินหรอกครับ จุดคุ้มทุนมันอยู่ที่เราจะรักษาความมั้นคงได้มั้ย นั่นคือจุดคุ้มทุนของเรา ส่วนการขายเป็นผลพลอยได้ ทำไมประเทศที่รำรวยกว่าเราเขาถึงพยายามสร้างขึ้นมาเองไม่ว่าจะสร้างเองหรือซื้อลิขสิทธิ์มาสร้าง เกิดป้ณหาอะไรกับเราตอนร่มเกล้า

ที่ผมล่าวไว้ป้ญหาของเราไม่ใช่เราทำไม่ได้ครับ ผมบอกว่าเราจะทำหรือเปล่า จริงจังแค่ไหนเป็นวาระแห่งชาติเลยมั้ยต่างหาก หลายครั้งที่เราเริ่มทำแล้วสะดุดเจอปัญหา หรือเจอตอ  เราเลือกที่จะผับมันลงไม่ก้าวต่อมันไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้ แต่เราเลือกที่จะไม่ทำต่างหาก เจอปัญหายังมีทางแก้แต่ส่วนมากเราจะเจอตอใหญ่ใช่หรือไม่มันเลยไปต่อไม่ได้

ที่ผมยกDT1 ขึ้นมาเพื่อให้ดูว่าเราทำไมถึงทำได้ นั่นก็คือการขอท่ายถอดเทคโนโลยี่ หรือการซื้อลิขสิทธิ์มาทำ ได้แล้วพัฒนาต่อยอด การขอท่ายถอดเทคโนโลยี่ หรือการซื้อลิขสิทธิ์มาทำมันทำให้เราไม่ต้องเริ่มต้นที่1แต่สามารถก้าวกระโดดได้หลายชาติเขาก็ทำ เมือมีทางเราจะมามัวนับ 1 ให้โง่ทำไม จริงมั้ยครับ

 

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 10/09/2012 18:22:48


ความคิดเห็นที่ 19


   เห็นด้วยกับท่านเด็กทะเล และคุณ speci ลำพังทบ.คงยาก ถ้าจะเริ่มสร้างอะไรด้วยตัวเองโดยไม่พึ่งเทคโนโลยีจากชาติอื่น งบประมาณก็ขอยากเหลือเกิน และปัญหาไม่ได้อยู่ที่ทำได้หรือไม่ได้ เราทำได้แต่งบประมาณล่ะ รัฐบาลพร้อมสนับสนุนหรือเปล่า ภาคเอกชนเราพร้อมหรือไม่ ทำไมต้องให้กองทัพผลิตคนเดียวทั้งๆที่กองทัพอื่นๆเขาก็จ้างเอกชนผลิตทั้งนั้น
   จะผลิตรถถังคันหนึ่งใช่ว่าเรามีแบบแล้วเราก็ก็อปปี้มาทำเลยมันก็ไม่ใช่ เทคโนโลยีบางอย่างมันเป็นความลับ ไม่มีใครเขาเปิดเผยง่ายๆ อย่างระบบ stabilaizer เครื่องยนต์ ระบบควบคุมการยิง กล้องเล็ง ปืนใหญ่รถถัง ของพวกนี้เราต้องซื้อ เพราะถ้าผลิตเองเราก็ต้องตั้งโรงงานขึ้นอีกหลายแห่งผลิตแยกต่างหาก ไม่ใช่ว่ามีอู่เดียวแล้วคิดการใหญ่ ดูอย่างเกาหลีสร้าง K1 และ K2 ใช้งบเท่าไหร่ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่น้อยๆแน่ๆ เพราะเกาหลีซื้อมาผลิตเองทุกอย่าง แต่เขาเองก็มีโรงงานของภาคเอกชนรองรับ อย่าง sumsung hyundai kia รัฐบาลและกองทัพก็สนับสนุนเต็มที่ ถึงขนาดลงทุนซื้อT-80มาตั้ง33คันเพื่อมาลอกแบบ ระบบป้อนกระสุนและเซ็นเซอร์ตรวจจับเลเซอร์ ให้กับK2 ไหนจะเรื่องเกราะอีก 
    ใช้งบมากมายในการผลิตขนาดนี้ก็ไม่ต้องสงสัยว่าทำไมถ.หลักปัจจุบันมันถึงแพงลิบ ถตอนนี้ขอแค่เริ่มจากการประกอบภายในประเทศก่อนก็ได้ น่าจะลดต้นทุนเรื่องค่าแรง และค่าขนส่งได้บ้าง ถ้ารัฐบาลพร้อมสันนับสนุนเมื่อไหร่จะผลิตเมื่อไหร่ก็ได้ครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 10/09/2012 18:39:08


ความคิดเห็นที่ 20


การวิจัยในด้านต่างๆหน้าจะกระจายไปตามบริษัทเอกชนต่างๆได้นะครับ เช่น เกราะก็ให้บริษัทที่วิจัยเกี่ยวกับโลหะช่วยก็ได้นี้ครับเพราะบริษัทพวกนี้คงจะมีความรู้ในด้านนี้อยู่มาก คนไทยเก่งครับได้ลางวัลในสาขาต่างๆเยอะแต่ขาดคนสนับสนุน

 

โดยคุณ ZaddMan เมื่อวันที่ 10/09/2012 20:50:27


ความคิดเห็นที่ 21


    คือว่าท่าน Speci ทำแบบที่ท่านว่าได้ครับ  ก็ต่อเมื่อประเทศเรารวยจริงๆแล้วเท่านั้นครับ   เหมือนที่ญี่ปุ่นผลิตเครื่องบินรบ F-2 เองโดยขยายแบบจาก F-16   แต่ประสิทธิภาพของมันก็ยังด้อยกว่า F-16 50/52+    แต่ราคาระดับ F-15 SE (ราคาเมื่อสิบกว่าปีก่อนด้วย)   โรงงานเมื่อสร้างมาแล้วต้องจ่ายค่าแรงคน   เครื่องจักรเมื่อซื้อมาแล้วพอผลิตเสร็จก็ต้องปล่อยทิ้งไว้เฉยๆเพราะไม่คุ้ม   กิจการในส่วนนี้ของทบ.ขาดทุนย่อยยับติดต่อกันตลอด   มันจะกลายเป็นภาระทางการเงินให้แก่ประเทศแล้วฉุดให้ทุกส่วนแย่ตามนะครับ     ไม่ใช่ว่าไม่มีทหารท่านไหนทำครับ   เมื่อก่อนทำเองทั้งโรงงานฟอกหนัง   รสพ.และอื่นๆ     รสพ.นี่เป็นตัวอย่างที่ดีครับ   สุดท้ายเจ้งและกลายเป็นภาระให้แก่ประเทศ  

    แต่ครั้นจะลุยซื้ออย่างเดียวโดยอ้างว่าสเกลการผลิตไม่พอ  ตลาดไม่พร้อม    อย่างนี้ก็แย่ครับ    ทำแบบพบกันครึ่งทางดีที่สุด   คือ  สร้างเองครับ  การตลาดก็ต้องทำขายและต้องมีกำไรเลี้ยงตัวเองได้โดยไม่เป็นภาระแก่ส่วนรวมถึงจะถูกครับ  

   ยังไงซะดีลนี้พวกเราก็ไม่ต้องห่วงแล้วนี่ครับ  

   ถ้าเน้นผลิตขายเอง  เสี่ยงสร้างแบรนด์และการตลาดเอง  วิจัยพัฒนาเอง    ชัยเสรีที่เป็นเอกชนก็เดินหน้าชนอยุ่แล้วนี่ครับ   กองทัพก็อุดหนุนขั้นต้นและสนับสนุนทางเทคนิคอยู่ตลอด  คอยให้กำลังใจดีกว่า   ถ้า 4X4  6X6  8X8  รอด  ก็มีลุ้นรถถังหลัก

   ส่วนดีลแบบไม่เสี่ยง  โดยร่วมทุนและรับจ้างผลิต   รัฐบาลก็ทำ MOU กับทางยูเครนในเรื่องนี้ไปแล้ว   ก็ใกล้ความจริงเข้าไปอีกขั้นอยู่แล้วนี่ครับ   ยูเครนเองก็ดูดีใจจนเนื้อเต้นเหมือนกัน    เพราะถ้า OPLOT-M  เกิดดังขึ้นมามีเฮทั้งเราและเขา    ได้กำไรน้อยหน่อยแต่พึ่งพาตนเองได้ชัวร์

   อย่าใจร้อนครับ   เพราะเท่ากับว่าตอนนี้ทั้งรัฐและเอกชนทำมันทั้งสองโมเดลเลย  

   ถ้าทอ.และทร. มีงบประมาณอัดฉีดแต่ละเหล่าพอๆกับทบ.  ก็สามารถทำแบบทบ.ได้อย่างไม่ยากเย็น   แต่รัฐต้องเพิ่มงบทหารอีกประมาณ 25-30%   หรือคิดเป็นสัดส่วน GDP ประมาณ 2.2-2.4%  ได้    ก็ไม่ได้มากอะไร   แต่ได้พลังทางอุตสาหกรรมเพิ่มครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/09/2012 22:12:28


ความคิดเห็นที่ 22


ถ้าคดกันง่ายก็เหมือนต่อโมเดลครับ 

เราซื้อมาต่อเราก็ต่อตามแบบที่เค้ากำหนดมาให้ 

แต่ลองมาผลิตเอง เนี้ยคุณจะต้อง กำหนดรูปร่าง ออกแบบชิ้นส่วน ออกแบบข้อต่อต่างๆ คำนวณวัสดุที่จะเอามาขึ้นรูป ส่วนไหนต้องหนาเท่าไร ส่วนไหนควรจะบาง พอออกแบบเสร็จก็สร้าง สร้า้งเสร็จเอามาทดสอบ ความแข็งแรง คุณภาพ แล้วก็บราาาาาาาาา ปวดแก่นกันเลยทีเดียว 

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 10/09/2012 22:34:25


ความคิดเห็นที่ 23


  สำหรับแนวคิดที่ว่ารับจ้างประกอบก่อนแล้วค่อยว่ากันในเรื่องการผลิตชิ้นส่วนเกือบทั้งหมด    ผมว่าตอนนี้พลังทางอุตสาหกรรมยานยนต์เรามันเลยจุดนั้นมาไกลพอควรแล้ว    ไม่ต้องกลับไปเริ่มที่จุดนั้นหรอกครับ

   โรงงานรับจ้างผลิตของล๊อคซ์เลย์   ผมเดาว่าชิ้นส่วนต่างๆล๊อคซเลย์อาจจะไม่ได้ผลิตเองทั้งหมด   และ  Firstwin  เองก็น่าจะเช่นกัน    แต่น่าจะมาจากการจ้างอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเราเองที่มีความพร้อมผลิตชิ้นส่วนตามที่กำหนดให้   ทางล๊อคซ์เลย์และทางชัยเสรีก็แค่จัดสายการประกอบตัวรถขึ้นมาก็เท่านั้น   ถ้าจะผลิตเองก็น่าจะแค่บางชิ้นส่วนเท่านั้น    ไม่งั้นชัยเสรีไม่กล้าเสี่ยงลุยพัฒนาทั้ง  4X4  6X6  8X8  เองทั้งดุ้นหรอกครับถ้าต้องนำเข้าชิ้นส่วนแทบทุกชิ้น

    ดังนั้นโครงการที่ว่าจะร่วมมือกับทางยูเครน   ก็น่าจะออกแนวๆสร้างโรงงานประกอบขึ้น   แล้วจ้างบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศไทยเราผลิตตามสเปกที่กำหนด   ส่วนชิ้นส่วนที่ซับซ้อนสูงมากๆและไม่มีโรงงานประเภทนี้ในไทย  ถึงจะค่อยนำเข้าจากจ่างประเทศ   ก็ไม่น่าจะมากชิ้น  

   ยังไงพลังทางอุตสาหกรรมและสเกลการผลิตรวมถึงความทันสมัยของโรงงานในไทยก็เหนือกว่าทางยูเครนเยอะอยู่แล้ว   ก็เราติดอันดับฐานการผลิตที่สำคัญระดับต้นๆของโลกเลยไม่ใช่หรือครับ   

    โมเดลเดียวกับโครงการแุตสาหกรรมผลิคเครื่องบินที่กล่าวไปแล้วในกระทู้ Jas-39 E/F

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/09/2012 23:14:26


ความคิดเห็นที่ 24


    ยูเครนทำหน้าที่วิจัยและพัฒนาออกแบบเองทั้งหมด (วันข้างหน้าเราอาจจะขอแจมได้)    มาผลิตที่นี่(ยกเว้นชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนซับซ้อนและเป็นความลับ)  เพราะที่นี่สเกลมหาศาลกว่า  คุณภาพการผลิตดีกว่า(มาตรฐานญี่ปุ่นนี่นา)  ต้นทุนต่ำกว่าทางยูเครน   วินวินทั้งเราทั้งเขา  

    

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/09/2012 23:22:27


ความคิดเห็นที่ 25


เราไม่ต้องรวยมากก็ทำได้ครับคุณneosiames2 อินโดก็ไม่รวย และก็ไม่ต้องไปมองสเกลเครื่องบินของญี่ปุ่นก็ได้ครับ. ญี่ปุ่นมีสเกลย่อมๆมากมายครับ ไม่ว่าเป็นปืนเล็กยาว ที่มีรุ่นพัฒนาต่อยอดออกมาแล้ว อินโดก็มีรุ่นสามแล้วมั้ง. แล้วเรื่องเครื่องจักรไม่ต้องห่วงหรอกครับ มีแค่ไทยเรานี่แหละซื้อมาสร้างอะไรแค่อย่างเดียวแล้วทิ้งไม่สร้างไม่พัฒนาต่อ แล้วไปซื้อของนอกใช้ พูดถึงญี่ปุ่นนี่เขาให้เอกชนสร้างให้นะครับไม่ใช่ลงทุนให้ทหารทำเอง ไม่ต้องห่วงเรื่องเครื่องจักร โตโยต้าก็ไม่ซื้อเครื่องจักรมาสร้างรถวีออสแค่รุ่นเดียวหรอกครับ แล้วที่ใครบอกว่าเรายังไม่มีอุตสาหกรรมนั่นนี่รับรอง ไม่ต้องห่วงครับหากเราเริ่มอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจริงจัง เดียวมันก็มาเองเป็นธรรมดาครับ ไม่มีใครลงทุนรอให้เราเริ่มหรอกครับ เราต้องสร้างความมั่นใจให้เขาก่อน เขาถึงจะกล้าลงทุนทำขาย
โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 11/09/2012 09:45:41