RKG-3 เป็นระเบิดต่อต้านรถถังแบบขว้าง มีใช้มาตั้งแต่กลางปี1943 โดยฝ่ายโซเวียตเป็นผู้คิดค้นขึ้นมาล่าทำลายรถถังฝ่ายเยอรมันในชื่อ RPG-43/40/6
RKG-3 สร้างด้วยแนวคิดง่ายๆ ขนาดของระเบิดเหมือนขวด ทหาร1นายพกพาไปได้2-3นัด ซ่อนพรางในเสื้อ ใช้รบในเมืองหรือทหารในจุดซ่อนพราง โดยเลือกขว้างใส่จุดอ่อนสุดของรถถังหรือยานเกราะจำพวก หลังคา ห้องเครื่อง แต่ถ้ารถฮัมวี่ที่ในอิรักโดนกันบ่อยๆก็โดนขว้างใส่หน้ารถไปเลย
ระเบิดชนิดนี้แพร่หลายในยุโรปตะวันออก(โซเวียตเก่า) จนถึงสงครามอิสราเอลกับอาหรับ ถูกใช้กันอย่างกว้างขวางและสุดท้ายก็มีหลงเหลือรวมถึงอิรักก็ได้จัดหาไว้ใช้งานด้วย ผลิตในปี1950
ข้อดีคือพกพาซ่อนพรางง่าย ไม่เปิดเผยจุดยิงเหมือนเครื่องยิงจรวดที่มีควันพุ่งออกมา แต่ก็มีข้อเสียคือระเบิดมีรัศมีระเบิดพร้อมสะเก็ดในระยะ20เมตร เรียกว่าถ้าขว้างไม่ดีจะโดนเองด้วย ยังไม่รวมถึงอาจโดนทหารคุ้มกันยิงเอาง่ายๆ
แต่จุดเด่นข้างต้นคือหากรบในเมืองเหมือนอิรักใช้ แสดงให้เห็นว่าโอกาสที่จะทำลายโดยเป้าหมายไม่รู้ตัวหรือสังเกตุได้ค่อนข้างมากทีเดียว ซึ่งในคลิปมีภาพที่หน่วยลาดตระเวณอเมริกาผ่านคนที่ซ่อนอาวุธหลายคนโดยที่ไม่สงสัยเลย
ประสิทธิภาพของระเบิดตัวนี้น้ำหนักของตัวระเบิด1กิโลกรัมนิดๆ หัวรบระเบิดแรงสูงเจาะเกราะหนา125มม.RHA รุ่นMเจาะเกราะหนา170มม.RHA รุ่นEMเจาะเกราะหนา220มม.RHA เรียกว่าแรงเจาะขนาดนี้เจาะหลังคารถถังหรือยานเกราะสบายๆ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดระเบิดทำงานด้วยระบบกระทบแตก ตัวแรกมีหน่วงด้วยร่ม(ไม่เข้าใจว่าหน่วงทำไม) อาจจะทำให้ระเบิดพุ่งเข้าหาเป้าหมายโดยเอาหัวเข้าชนก็เป็นได้
ในคลิปแสดงการใช้เรียกว่าพรางเนียนสุดๆ
ทำไมไม่ขึ้นหว่า
ร่มทำ 2 หน้าที่
1 จุดชนวน
2 หางเสือ(เหมือนว่าว)
ขออภัยครับดูผิดตัวร่มก็เป็นสลักนิรภัยเหมือนกัน โดยหลังจากดึงสลักนิรภัยภายนอกออกแล้ว
ร่มจะถูกดีดออกพร้อม ๆ กับ Safety Rod ที่ทำหน้าที่ล๊อคเข็มแทงชนวน และ ตุ้มน้ำหนัก(เรียกทางการว่าไรอ่ะ ลืม - -*)
เมื่อ Safety Rod ถอยออกไป ตัว ตุ้มน้ำหนัก กับเข็มแทงชนวน เลื่อนไหวได้อิสระ
เมื่อถูกขว้างออกไปกระทบเป้าตุ้มน้ำหนักจะไปตีเข็มแทงชนวนทำให้ระเบิดทำงาน(ทำหน้าที่เหมือนนกสับ)
สรุปคือ ร่มทำหน้าที่
1 สลักนิรภัย
2 หางเสือ(เหมือนว่าว) ให้ระเบิดเอาหัวกระทบเป้าหมาย