Airbus วางแผนและศึกษา บ.Gunship โดยใช้ CN-235 หรือ C-295
ซึ่งจะมีราคาถูกกว่า C-130 และ C-27
โดยใช้เครื่องยนต์ของ Pratt & Whitney CANADA PW127G
มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ
Asia
ละตินอเมริกา
และ ตะวันออกกลาง
CN-235 Gunship
CN-235 Gunship
CN-235 Gunship
เผื่อ ทบ. สนใจ....
ส่วน Bell-212 ที่ ทบ. จะปรับปรุงเป็น Gunship จำนวน 8 ลำ
จะจัดเต็มขนาดไหน ก็คงต้องลุ้นกันครับ...
ภาพ Bell-212 Gunship น่าจะเห็นภาพคร่าว ๆ ของ ฮ.ที่ ทบ. กำลังจะปรับปรุงให้เป็น Gunship ได้บ้างครับ
รู้สึกว่าทาง EADS เหมือนจะบุกตลาดเครื่องบินที่ใช้เครื่องโดยสารราคาต่ำกว่า C-130 แต่ทำภาระกิจได้หลากหลาย โดยใช้ CN-235/295 เป็นตัวยืน ราคาถูกกว่าฝั่งอเมริกาพอควรทีเดียว
CN-235/295 นอกจากภาระกิจ MSA ASW และ Gunship ก็ยังมี AEW&C ด้วยครับ ใช้เรด้าร์ AESA EL/M 2075 หน้าตาดูดีมีราศรีทีเดียว ไม่รู้ว่าสามารถปรับไปใช้เรด้าร์ Ericeye ได้หรือเปล่า แต่ถือว่ามีทางเลือกสำหรับลูกค้าแล้วครับ ถ้าตัวนี้ทอ.เลือกมาแทน G-222 ก็ไม่เลวเลย เคยได้ยินว่าทอ.ต้องการมันมาเสริม C-130 เข้าท่านะครับ
สงสัยมานานแล้วว่า บ.Gunship เจอกับเจ้านี้ SA-3 มันจะรอดไหม
เครื่องในตระกูลนี้ผมชอบใจมานานตั้งแต่ IPTN ของอินโดรับมันมาผลิตในสายการผลิต แต่ CN-235 มันเล็กไปนิด แต่พอออกรุ่น CN-295 มา มันน่ามองมากครับ ราคาคบหากันได้มากกว่า C-27 ผมว่าเครื่องในซีรี่ย๋นี้ถ้า EADS / Airbus ดันออกสู้เต็มสูบแบบนี้มันน่าจะมีอนาคตไกลครับ ทอ.เคยต้องการมันมาแทน G-222 แต่ไหงหวยออก ATR หน้าตาเฉย ทั้งๆที่ ATR ไม่มี แลมป์ท้าย ซึ่งการมีแลมป์ท้ายจะใช้ประโยชน์ทางทหารมากกว่า งง อ่ะ แต่ผมอยากให้ทอ.มีรุ่นขนส่งเพิ่มมาอีกสัก 12-16 เครื่อง ลดภาระของ C-130 ไปได้มากเลย และวันข้างหน้าถ้าต้องการเครื่อง AEW&C เพิ่ม อาจจะเลือกระบบเรด้าร์ได้ หวังว่ามันรองรับอีรี่ย์ได้นะครับ แต่เรด้าร์ของอิสราเอลนี่ไม่เลวเลยในซีรี่ย์ EL/M 2075 / 2085 / 2090
ส่วนในทร. ถ้า Fokker F-27 ปลดประจำการเมื่อไหร่ ผมสนับสนุน CN-235/295 ครับ เพราะมีทั้ง MPA / MSA จะได้ใช้เครื่องตระกูลเดียวกันกับทอ.ไปได้เลย ลดแบบเครื่องบิน
GUNship ใช้ในภาระกิจ CAS นี่ครับ แต่ต้องมั่นใจว่าอีกฝ่ายไม่มีระบบป้องกันภัยทางอากาศทันสมัยและไม่มีเครื่องบินรบข้าศึกปฎิบัติการอยู่ ถ้าข้าศึกมีระบบป้องกันภัยทางอากาศระยะสั้นเพดานต่ำ พวก ปตอ SAM ระยะใกล้ แบบนี้ต้องพึงเครื่อง Jet โจมตีก่อนครับ จะไม่เอา Gunship แบบนี้ไปใช้ มันเป็นหน้าที่ของพวก F-16 L-39 Alphajet แล้วล่ะครับ พูดง่ายๆ ฟ้าต้องเคลียร์ พื้นต้องโล่งไม่มีบั้งไฟ Gunship จึงจะไปได้ครับ
ATR-72 มาแทน แอฟโร่-748 ครับ...ไม่ได้ ทดแทน G-222 ครับ...
ในใจผม เชียร์ ให้ ทร. จัดหามาใช้ครับ...
ตามโครงการ ทร. มีความต้องการ บ.ลำเลียง เปิดท้าย จำนวน 2-3 ลำ
ซึ่ง CN-235 กับ C-295 ผมว่าเป็นตัวเลือก ที่เหมาะสมกับ งบประมาณ ทร. ดีครับ...
และสามารถ ดัดแปลง ในภายหลัง เมื่อมีความต้องการ MPA ในอนาคตได้...
พอดีเคยอ่านใน TAF ว่า ทบ. มีการศึกษาและแนวทาง การมี กองบินโจมตีปีกตรึง...
ซึ่งน่าจะเหมือนโครงการ LAAS ของ ทอ.สหรัฐ จัดทำโครงการ แต่ให้ นักบิน ทบ. เป็นผู้ใช้หลัก...ซึ่งเป็นการร่วมมือของทั้ง 2 เหล่าทัพ...
แต่ในเบื้องต้น โครงการ LAAS ของ สหรัฐ เองก็ยังไม่เกิด....
ทบ. อาจจะมีแนวคิดจัดหา บ.Gunship ที่มันสามารถดำเนินการสนับสนุนการรบ ด้วยตัวของ ทบ. เอง
และ CN-235 และ C-295 ที่เป็น Gunship ก็น่าจะมี concept เดียวกับ AC-130W คือ
Close air support roles include supporting ground troops, escorting convoys, and flying urban operations.
Air interdiction missions are conducted against planned targets and targets of opportunity.
Force protection missions include defending air bases and other facilities
ซึ่งล่าสุด ทอ.โอมาน ได้จัดหา C-295 เข้าประจำการ จำนวน 8 ลำ...โดย Airbus จะมีการ โมดิฟาย บางลำให้เป็น Gunship
ดังนั้น ทอ.โอมาน คงจะเป้นประเทศแรก ที่มี AC-295 gunship ประจำการ...
ขอโทษทีครับ...ไม่ใช่ LAAS ครับ...เป็น LAAR หรือ LAS
The Light Attack/Armed Reconnaissance (LAAR) or Light Air Support (LAS) program
คุณลักษณะอากาศยานประเภทนี้น่าจะเป็นไปในภารกิจที่ไม่มีการตอบโต้ทางอากาศจากฝ่ายตรงข้าม ผมสงสัยว่าสำหรับลูกค้าในเอเซียนี่คือประเทศอะไร ส่วนกองทัพอากาศไทยนั้นคงไม่มีเหตุผลใดต้องจัดหาเพราะสถานการณืปัจจุบันแตกต่างจากสมันก่อนมากครับ
ระดม ยิงโจรใต้ในป่าจากที่ ก็ไม่เลวนะเนีย ว่าแต่ เป็นขนาดกี่mm หรอครับ
น่าจะเป็นลักษณะ สงครามต่อต้านการก่อการร้าย ครับ...
แบบเดียวกับที่ สหรัฐ ใช้ใน อัฟกานิสถาน...
ผมคิดว่า กลุ่มลูกค้า อาจจะเป็น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไม่แน่ อาจจะรวมถึง ไทย ด้วยก็ได้ครับ...
เพราะคุณลักษณะของ CN-235 เป็น บ.แบบ STOL คือ ใช้ทางขึ้น - ลง ระยะสั้น และไม่ต้องการรูปแบบสนามบิน...
ในความเห็นผม มันอาจจะเหมาะ ศักย์สงคราม บริเวณ ชายแดน พม่า ลาว และ กัมพูชา ครับ...
ส่วนภาคใต้ มันจะเป็นลักษณะ สงครามการแบ่งแยกดินแดน...อาจจะไม่ เหมาะ นัก...
เดิมทีอากาศยานประเภทนี้ใช้่สนับสนุนโจมตีเป้าหมายที่ขาดการป้องกันทางอากาศ คือบริเวณนั้นต้องไร้อาวุธต่อต้านหรืออากาศยาน
เพราะภูมิประเทศรอบบ้านเรานั้นนอกจากเป็นเนินเขาและชายแดนติดกัน โดยเฉพาะกรณีชายแดนติดกัน รอบบ้านเรามีปืนกลหนักที่ทำเป็นปตอ.เช่นขนาด12.7-14.5และ23มม ใช้กระจายกันทั่วครับ ยังไม่รวมMANPAD อีกเช่นกัน อาวุธเหล่านี้สามารถยิงเป้า่หมายในระยะ4-6ก.ม.ได้สบายๆ เรียกว่าใช้บ.ปีกตรึงหรือฮ.บินให้เห็นยังเสี่ยงจะโดนยิงร่วงเอาเลย
ส่วนตัวสนับสนุนรุ่นลาดตระเวณทางทะเลทดแทนP-3 มากกว่าครับ
CN-295 น่าจะเหมาะแบ่งเบาภาระให้ C-130 เหมาะสำหรับกำลังพลขนาดเบาและส่งสายบำรุ่งทางยุทโธปกรณ์และการแพทย์