ผมเห็นในหว้ากอหัวข้อ "ถึงเวลาที่ต้องมีเรือดำน้ำ" บอกว่าทางเยอรมันยังเก็บ U206A ไว้ ผมจึงสงสัยว่าทางเยอมันเค้าเก็บ U206A ไว้เพื่ออะไร ครับ
สงสัยเก็บไว้ซ้อมยิงมั้งคับ ฮิฮิ แต่ถ้าเราได้มาก็คงต้องเอาไว้ซ้อมขับจริงๆแหละ เพราะห่างหายไปนานมัีกๆกับเรือดำน้ำ
ขายให้โคลัมเบีย
ถ้าไทยไม่เอา ได้ข่าว ว่า โคลัมเบีย จะเอาน่ะครับ ..
แต่ ตอนนี้ ไม่รู้ว่าเรื่องนี้ไปถึงใหนแล้ว
แรกๆ ผมก็เห็นด้วย ว่าเราควรจะมีเรือดำน้ำ แต่ พอคิดอีกที
เรือมันเก่ามากๆ เยอรมันบอกว่าสามารถใช้งานได้อีก 10 ปี
ผมคิดว่า มันไม่คุ้มกับที่ซื้อของเก่ามา องค์ความรู้เทคโนโลยีใหม่ๆก็ไม่ได้
ดำน้ำไปแล้ว ไม่รู้มันจะโผล่ได้อีกมั๊ย
.. ที่ข่าวเงียบๆ ผมคิดว่า โคลัมเบีย คงจะส่งคนไปตรวจสภาพมาแล้วเมือนกัน
และอาจจะคิดว่า .. " ไม่ควรซื้อขยะ ในราคาแพงขนาดนั้น " .. โคลัมเบียเลยไม่เอา
.
.
เรือดำน้ำ ใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบและประกอบเรือ ทุกอย่างต้องวางแผน
ล่วงหน้าในการวางอุปกรณ์ต่างๆ ( คล้ายๆ การจัดสวนในขวดแก้ว )
ถึงแม้ว่า ทางเยอรมันจะโม้ว่า อัพเกรดแล้ว .. แต่ ในฐานะที่ผมพอมีความรู้ด้านช่างอยู่บ้าง
ขอบอกว่า อุปกรณ์บางอย่าง มันไม่สามาถถอดออกมาได้
เช่น พวก วาล์วควบคุมแรงดัน ซึ่งมันสำคัญต่อชีวิตลูกเรือทั้งลำ หากติดขัด ผิดพลาด หรือ รั่ว
นั่นหมายถึงชีวิตที่ต้องทิ้งไปเปล่าๆ ( รถยนต์ อายุ 30 ปี ยังดังทั้งคัน ยกเว้น แตร กับ เครื่องเสียง
นับประสาอะไรกับ เรือดำน้ำ ที่อายุใช้งาน เกิน 50 ปี )
ใจจริง ผมอยากได้ของใหม่เลย .. ยิ่งถ้ามีออฟชั่น มาประกอบที่ไทยซักลำ เราก็จะได้องค์ความรู้ทั้งหมด
จะเป็นของจีน หรือ เกาหลี ผมก็เอา .. ยังไงๆ มันก้ดีกว่าของเก่า ที่ซื้อมาแล้ว ไม่รู้ว่าค่าซ่อม อีกเท่าไหร่
ขยะเลยเหรอครับ ผมว่าแรงไปนะ เรือมือ 2 ก็คือมือ 2 ไม่น่าเทียบกับขยะนะครับ เพราะขยะมันทำอะไร ไม่ได้แต่เรือมือ 2 มันทำอะไร ได้มากกว่านั้น ผมว่าเราพลาดนะที่ไม่ได้มันมา เหตุผลคงไม่ต้องพูดอะไรกันมากแล้ว
ถ้ามีอายุการใช้งาน 10 ปีแล้วซื้อมาต่อยอดซื้อมาเพื่อเตรียมฝึก ซื้อมาถ่วงดุล ผมว่าคุ้มค่า ยิ่งได้ มา 6 ลำ มันยิ่งคุ้มค่า เรียกว่า"ขยะ"มันก็เกินไปครับ แต่ผมกลัวจะเหมือนเรื่อง "มาเลเซีย มีเรือดำน้ำพลังนิวเคลียร์นะซิครับ"
เยอรมันบอกว่าสามารถใช้งานได้อีก 10 ปี นั่นคืออายุการใช้งาน battery ของเรือดำน้ำครับ ไม่ว่าเรือใหม่เรือเก่ามันมีวงลอบในการเปลี่ยน battery ครับ ไม่ว่าเรือชั้น kilo ,scopian ก็ต้องเปลี่ยน battery กันทังนั้น นึกถึงพวกรถ รถไฮบริดสิครับที่ต้องเปลี่ยน battery ทุก 5 ปีหรือแล้วแต่ระยะเวลาที่บริษัทผลิตกำหนด เรือดำน้ำก็เหมือนกันเยอรมันกำหนด 10 ปีเปลี่ยนครั้ง
ตัว เรือชั้น U206 ทำจากโลหะผสมทองแดง-นิกเกิล ซึ่งขึ้นชื่อว่าทนต่อการกัดกล่อน เพราะฉะนั่นตัวเรือยังมีอายุการใช้งานหลายสิบปี บางคนว่าเรือชั้นนี้เราเชื่อมเองไม่ได้อันนีไม่จริงเพราะลวดเชื่อมชนิดนี้มีขายอยู่ครับ บ้านเราโลหะชนิดนี้นำมาผลิตเป็น Autoclave หม้อนึ่งความดันสูงทนต่อการกัดกร่อน กรด ด่าง
ผมเข้าใจครับ ว่าแบตเตอร์รี่ ใช้ไปซักพักมันจะเสื่อม และเก็บไฟไม่อยู่
แล้ว พวกวาล์ว พวกท่อ พวกสายไฟ ท่อร้อยสายไฟ ข้อต่อ จุดเกลียว จุดเชื่อม ภายในทั้งหมด
เยอรมันเปลี่ยนให้ใหม่หมดหรือเปล่าครับ เพราะอุปกรณ์พวกนี้บางอย่างใช้ไปนานๆ มันก็มีสึกกร่อน
อย่าง บ่าวาล์ว นี่ถ้าเปิดปิดเป็นร้อยเป็นพันครั้ง มันก็จะปิดไม่อยู่ จะมีรั่วมีซึม
แล้ววาล์วในเรือดำน้ำ มีเยอะมากๆ บางตัวก็อยู่ในพื้นที่จำกัด จะถอดก็ลำบาก อาจจะต้องรื้อ
ออกทั้งหมด ..
พอดี ผมเป็นห่วง ทหารเรือที่จะประจำการ หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น มันไม่คุ้ม
แต่ ถ้า มีคนยืนยันว่า เยอรมันเปลี่ยนอุปกรณ์แล้วทุกตัว ผมก็ไม่ขัดครับ
ก่อนจะส่งมอบเรือดำน้ำ อยากให้คนที่อนุมัติซื้อ ลงไปประจำการกับทหารเยอรมันในเรือ
ดำลงไปซัก 2-3 วัน แล้วถ้าโผล่ขึ้นมาได้ เราค่อยรับสินค้า ดีมั๊ย อิอิ
เห็นว่ามีการ overhaul + เปลี่ยน battery พูดง่ายๆคือคืนสะภาพก่อนใช้งานครับ
ส่วนวาร์วต่าง ๆ อันนี้ไม่ทราบว่าเปลี่ยนไหม แต่สวนมากเรือระดับนี้ที่เกียวกับความดัน คงตองมีวงลอบในการบำรุงรักษา Preventive Maintenance อะไหล่สึกหร่อก็ต้องเปลี่ยนตามกำหนด
ส่วน เกจ์วัด ก็คงต้องถอดออกมา สอบเทียบ Calibration ทุกตัว พวกสายไฟนี้เขามีอายุการใช้งานครับ ถึงเวลาเปลี่ยนก็ต้องเปลี่ยน
ถ้าไม่มีใครจัดหาหรือจัดหาไปบางส่วน ที่เหลือก็จะถูกทำลายทิ้งครับ เพราะถ้าเก็บไว้จะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสภาพครับ
ส่วนเรื่องอุปกรณ์ ชิ้นส่วนประกอบหรือวาล์วต่างๆนั้น ทุกอย่างจะต้องมีแผน PM ที่ต้องดำเนินการครับ ไม่ว่าจะเป็น วาล์ว ตลับลูกปืน ซีล หรืออุปกรณ์ทุกชิ้นทุกส่วนจะต้องมีการทำแผนเปลี่ยนตามข้อกำนดครับ เช่นว่า ทุกหกเดือนต้องเปลี่ยน จะดีหรือเริ่มเสีย จะเปลี่ยนยากหรือง่าย ทุกอย่างต้องเปลี่ยนตามที่กำหนดครับ ยิ่งวาล์วแรงดันยิ่งจำเป็น เกจวัดต่างๆและวาล์วทุกตัวต้องมีการสอบเทียบตามแผนสอบเทียบครับ ต้องมีใบเซอร์ที่เชื่อถือได้รับรองด้วย และการตรวจเช็คทุกๆกี่ชั่วโมง ต้องทำเป็นลายลักษณ์อักษรและมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงตรวจซ้ำอีกพร้อมเซ็นต์กำกับ ทำลอยๆไม่ได้เพราะอุปกรณ์พวกนี้สำคัญต่อความปลอดภัยมาก ทุกอย่างที่เปลี่ยน และมตารฐานความปลอดภัยของเยอรมันสูงมาก หากไม่สอดคล้องหรือเป็นไปตามข้อกำหนดไม่มีให้ผ่านครับ(ประสปการณ์ส่วนตัว) หากเขาเจอน็อตเล็กๆตกหรือวางอยู่ในที่บริเวณนั้นตัวเดียวเป็นงานเข้า ต้องสอบหาสาเหตุ และแก้ไขกันเป็นรายลักษณ์อักษรกันเลยทีเดียว ไม่งั้นงานซ่อมบำรุงนั้นไม่จบง่ายๆครับต้องเข้าใจเรื่องนี้ด้วยครับ อย่าสักว่าแต่รู้เรื่องช่างอย่างเดียว
คุณ Soda77 นี่เขียนล่อเป้าอีกแล้ว คงมีคนสงสัยว่าที่ว่ามีความรู้ด้านช่างนั้น ช่างอะไร ช่างที่เห็นกันทั่วๆไปในเมืองไทยหรือเปล่า เพราะช่างไทยเวลาถอดอุปกรณ์อะไรออกมาแล้วมักจะเจอที่ว่า"ผรั่งทำเกิน” แล้วก็ชอบไปดัดแปลงของที่เขาออกแบบมาดีแล้ว จะให้มันดียิ่งขึ้น บางครั้งยังมาคุยอีกว่าฝรั่งยังงงว่าทำได้ยังไง ความจริงฝรั่งงงว่าทำไปได้อย่างไร
เรื่องเรือดำน้ำนี่มีการแสดงข้อคิดเห็น ข้อมูลโดยละเอียดไปเยอะแล้ว เฉพาะที่ TFC นี่ก็นับเป็นร้อยแล้ว ก็ยังเห็นกลับมาวิจารณ์เรื่องเดิมอีก ไม่ทราบว่าเคยอ่านของเก่ามาบ้างหรือเปล่า เช่นเรื่องความเก่า ก็ต้องลองไปค้นดูว่าสิงคโปร์ตอนซื้อ ด.สวีเดนมาปรับปรุงเป็นชุดแรกนั้น ด.ชุดนั้นอายุเท่าไร น้อยกว่า 206A ใหม เรือที่ต่อในเยอรมันที่ยังใช้ใน ทร.ปัจจุบันน่าจะมีอยู่ลำเดียว คือ ร.ล.จันทร สร้าง2503 ขณะนี้อายุเท่าไร มันเป็น"ขยะ"หรือเปล่า เหล็กตัวเรือลองไปเทียบกับเรืออายุ10 กว่าปีจากจีนดูก็ได้ว่าอะไรดีกว่ากัน
ตัวเรือ ด.206Aในสภาพที่จะขาย ราคาเป็นร้อยล้านบาทนะครับ ไม่ได้เป็น พันล้าน มันแพงที่การซ่อมคืนสภาพ เปลี่ยนแบตเตอรี่ ติดเครื่องปรับอากาศ เปลี่ยนอุปกรณ์ ฯลฯ ถูกต้องครับ เรื่องลิ้นน้ำ(Valve)ที่มีนับไม่ถ้วนในเรือ เรือรุ่นนี้มีBack up เป็น Manual เยอะมาก เหมาะที่จะเริ่มต้นใช้งานสำหรับผู้หัดใหม่ เหมือนจะหัดขับรถยนต์ควรหัดรถใช้เกียร์ธรรมดาเสียก่อน ไอ้ที่ว่าชอบเรือใหม่มากกว่า ก็เป็นเรื่องเก่าอีก ให้เงินกองทัพเรือสัก 3-4หมื่นล้านบาทคงซื้อเรือใหม่ได้ลำ-สองลำ
ที่บอกว่าให้ผู้อนุมัติลองลงเรือไปเสียก่อนเมื่อปรับปรุงเสร็จแล้ว ไม่ใช่หรอกครับ เขาไปออกทะเลกับมันตอนไปตรวจสภาพก่อนสนอขออนุมัติแล้ว แต่คงไม่สามารถอยู่เป็นวันได้ มันไม่ได้เป็น "ขยะ"อย่างที่ว่านี่ครับ เขาปลดเพราะเขามีเรือใหม่แล้ว และเร็วๆนี้ ทร.เยอรมันจะเหลือคนแค่ ประมาณไม่ถึง15,000คน จากที่เคยมี38,000 คน เมื่อ 40 ปีมาแล้ว เขาค่อยๆลดลงมาเรื่อย สำหรับการใช้เรือไม่ว่าชาติใหนยิ่งประเทศพัฒนาแล้ว เขามีการตรวจสอบ ซ่อมบำรุงตามแผน ตามระยะเวลาอยู่แล้ว ทร.ไทยขนาดเงินไม่ค่อยมียังทำเป็นประจำ เพียงแต่บางครั้งยืดเวลาออกไปมากกว่าคู่มือเท่านั้น
จากที่กล่าวแล้วว่าเขาลดขนาดกองทัพลงโดยนโยบายรัฐบาล ถ้าไม่มีใครซื้อเรือเขา(กลาโหมเยอรมัน)ก็ทำลายทิ้งเพราะเก็บไว้ก็เสียค่าใช้จ่าย และไม่มีคนประจำเรือพอ เรือมันอยู่ในสภาพพร้อมใช้ทั้ง 6 ลำตอนเอาเรือไปจอดที่เมืองคีลตอนปลายปี53 เขาปลดก่อนกำหนดประมาณ 6-10 ปีครับ แต่พวกเราอาจไม่รู้ว่าเขา (อันนี้คงเป็นบริษัท HDW มากกว่า)เสียค่าใช้จ่ายไปเยอะพอสมควรในการบำรุงรักษา ด.ทั้งหมดให้คงสภาพ warm ตอนที่เราทำท่าจะซื้อแล้วก็ไม่ซื้อ เป็นปีนะครับ ไอ้ที่พูดนี่ไม่ได้เห็นใจบริษัท แต่คือรู้สึกอายที่เราจะซื้อหรือไม่ซื้อก็ไม่ตัดสินใจ หน่วยเหนือก็เตะถ่วงกันไปเรื่อย แล้วก็บอกไม่เอาในท้ายที่สุด โดยใช้เหตุผลว่าเข้า ครม.ไม่ทันตามที่เยอรมันกำหนดเวลาไว้ อันนี้ศัพท์ใหม่เขาเรียก"ไทยมาก"คือตัดสินใจโดยไม่มีเหตุผล อาศัยความรู้สึก ความเชื่อ ฟังคนโนน้คนนี้(หรือมีเหตุผลแต่กล้าพูดตรงๆ) เมื่อตัดสินใจไม่ได้ก็ตั้งกรรมการมาพิจารณาอีกชุดหนึ่ง อย่าหาว่าว่าคนไทยด้วยกันเลย แต่ในใจลึกๆผมว่ามีคนไทยเป็นอย่างนี้จริงๆ ไม่งั้นไปไกลกว่านี้เยอะแล้ว อย่าหลงตัวว่าเราเก่งเลยครับ เราต้องกล้าวิจารณ์ตัวเอง(ไม่ใช่ดูถูกนะครับ-แต่ดูให้ถูก) ดีกว่าให้ต่างชาติมาวิจารณ์
ในงานเสวนา"ประชาคมอาเซียนกับการเตรียมความพร้อมของกองทัพเรือ"เมื่อเร็วๆนี้ พิธีกร (คุณสายสวรรค์ ฯ)ถาม ผช.ผบ.ทร.ว่า ทร.พร้อมใหมก่อนที่เราจะเข้าเป็นประชาคมอาเซียนเต็มรูปแบบในเร็วๆนี้ ผช.ผบ.ทร.ตอบว่า "ยังไม่พร้อมครับ" พิธีกรงงถามว่า ทำไมล่ะ่คะ คำตอบก็คือ "ถ้าผมคิดว่าผมพร้อมแล้ว สมองผมอาจจะหยุดคิด มันก็ไม่สามารถพัฒนาอะไรต่อไปได้อีก ต้องคิดว่ายังไม่พร้อมไว้ก่อน"(ทำนองนี้ละ่ครับจำไม่ได้หมด)
ขยะของคุณไปอยู่ โคลัมเบีย แล้วครับ 2 ลำ
+Like ให้ความเห็น ท่าน sboot
แต่กระทู้อธิบายเหตุ-ผล และวิจาร์ณ การจัดหาเรือดำน้ำ ในเว๊ปนี้ TFC...น่าสงสัยจะถูก หน่วยเหนือ ลบไปหลายสิบกระทู้ครับ...ช่วง Hot ๆ ตอนนั้น...
จนเดี๋ยวนี้ เจอกระทู้เรือดำน้ำ เลย ท้อ ที่จะแสดงความเห็นครับ...
ป๋า juldas หน่วยเหนือกว่าผมก็ ไม่มีน่ะครับ ช่วงนั้นโดน spyware ฝากไวรัสที่ Server ส่วนมากมาจากเยอรมัน อิอิ
ถึงจะจบไปแล้วแต่ก็ยังมีคนคิดกับเรื่อง นี้อยู่ตลอดเลยนะครับ เรื่องเป็นขยะไม่เป็นขยะ เราคงไม่มีทางได้รู้แล้วอะครับเพราะไม่ได้ซื้อมาใช้ แต่ถ้าดูในด้านคุณภาพที่หลายๆคนเอาข้อมูลมาวิเคราห์กันก็ไม่รู้จะเชื่อของ ใครดี เลยมาวิเคราะห์เฉพาะด้านการออกแบบดีกว่า คือปกติการสร้างเรือมี 3 มารตฐานด้วยกัน คือ เรือสินค้ายุโรป เรือสินค้าเมกา รบเรือเมกา ตามลำดับความเข้มงวด(ไม่รู้ว่ามันจะเหมือนเรือดำน้ำเปล่านะ) แต่หนึ่งในที่มีความเหมือนกันทั้ง 3 แบบก็คือการออกแบบโครงสร้างการใช้งานตามอายุการใช้งานของเรือครับ เช่น เรื่องความล้าของเหล็กก็จะเอามาเป็นข้อมูลในการออกแบบให้สามารถคงสภาพเรือได้ในช่วงอายุการใช้งานครับ อย่างเช่น ต้องการเรือให้สามารถทนคลื่นสูงสิบเมตรได้ เค้าก็จะดูว่าประเทศของเค้าหรือที่ๆเรือมันจะไปแล่น ปีๆหนึ่งนี้อะจะมีคลื่นสูงสิบเมตรเกิดประมาณกี่วัน วันหนึ่งๆกี่ครั้งได้ แล้วอายุการใช้งานเรืออยู่ที่เท่าไรปี ก็จะได้จำนวนครั้งเฉลี่ยที่เรือต้องเจอคลื่นสิบเมตรออกมา แล้วนำจำนวนครั้งไปดูค่าความล้าตามแต่วัสดุในการออกแบบเรือที่ต้องทนแรงของ คลื่นสิบเมตรก็จะได้ความหนาความยาวในการออกแบบมาทำตัวเรือจริงๆ(ไม่รวม แฟกเตอร์ความปลอดภัยต่างๆนะ) ก็แปลว่า เรือมันจะทนอยู่ได้ในสภาวะที่ออกแบบแค่อายุการใช้งานเท่านั้นครับ เพราะมันจะพังในระดับโครงสร้างไปเรื่อยๆนั้นเองอะครับ(ง่ายๆก็คือประมาณว่า มีสะพานเชือกเดินที่ละคน ทำจากเชือก 40 เส้น โดยหนึ่งเส้นก็รับน้ำหนักได้หนึ่งคนแล้ว ใช้ไป 30 ปี เชือกเหลืออยู่ 10 เส้น ถามว่าปีต่อๆไปใครมันจะไปอยากใช้จริงไหมอะครับ) คำถามก็ง่ายๆเลย เรือมันได้ออกแบบมาใช้ในอ่าวไทยหรือเปล่า(ไม่อยู่แล้ว) แล้ว อ่าวเรากับอ่าวเค้ามันเหมือนกันบ้างไม(เหมือนดิเป็นทะเลเหมือนกัน) อายุเหลือเยอะไม(ใกล้ฝั่งแล้วเหลือ 10 ปี) ผมเชื่อว่ามีอีกเยอะเรื่องที่ต้องดู ทร.เค้าคงมีข้อมูลเป็นตัวเลขอยู่แล้ว เลยตัดสินใจจะซื้อ แต่ก็ไม่ได้ ส่วนตัวคิดว่าดีแล้วที่ไม่ซื้อมาเพราะไม่มีใครจะรู้ว่ามันจะทนทะเลไทยได้ไป อีก สิบปีหรือเปล่า เพราะมันไม่ได้ออกแบบมาในลักษณะทะเลไทย
เพิ่มเติมนิดเดียวครับ ผมนึกถึงแต่เรือเหล็กเลยบอกว่าเรือที่ต่อในเยอรมันมีลำเดียวคือเรือจันทร แต่ความจริงมีเรือไม้อีกคือเรือบางระจัน กับหนองสาหร่าย
พอมาอ่านดูที่เขียนไปแล้วก็รู้สึกว่าจะไปเหน็บคนอื่นเขาแรงไป ก็ขอโทษด้วย แต่เป็นเพราะไปใช้คำว่า"ขยะ"คำเดียว ที่เหมือนดูถูก ดูหมิ่นคนทั้งกองทัพเรือ ว่าไปเลือกซื้อของห่วยๆทำไม กว่าเขาจะเสนอขึ้นมาได้ใช้เวลาศึกษาอยู่เป็นปี ถ้ามีเงินเยอะๆก็คงจะเลือกง่ายกว่านี้
ถึงเรื่องนี้จะจบไปแล้ว แต่ที่ต้องคำนึงถึงอยู่เสมอก็คือ หากในอีกสิบปีข้างหน้าเราเิ่ริ่มสั่งต่อเรือดำน้ำ เราก็จะแพ้เปรียบด้านประสบการณ์ในการใช้เรือดำน้ำ และยุทธวิธีในการปราบเรือดำน้ำ ต่อประเทศสิงคโปร์ และมาเลเซียประมาณ ๒๐ ปีนะครับ
ขออภัย ที่ผมใช้คำพูดแรงไปหน่อย
แต่ ถ้าอ่านแล้วให้เข้าใจผมด้วย แรกๆที่มีข่าวเรื่องเรือดำน้ำมือสองเยอรมัน
ผมก็เป็นคนหนึ่งที่โพสเถียงกับพวกที่ไม่เห็นด้วยกับการจะมีเรือรุ่นนี้ประจำการ
พอผ่านมาซักพัก ความมีเหตุผมก็ค่อยๆเข้ามาแทนความอยากได้อยากมี
จนผมคิดว่า ถ้าจะต้องจ่ายหลายพันล้าน เพื่อเอามาใช้แค่ 10 ปี ผมว่ามันไม่คุ้ม
ถ้าซื้อมาเพื่อเรียนรู้ เทคโนโลยีองค์ความรู้ใหม่ๆเราก็ไม่ได้ ความปลอดภัยต่อลูกเรือ
ก็ไม่มีใครรับประกัน หากเกิดอุบัติเหตุจากหมดอายุการใช้งาน ใครจะรับผิดชอบ
ทหารเรือที่จะคัดลงไปประจำการ คงเลือกเอาแต่คนเก่งๆ ผมเสียดายตรงนี้ หากเกิดอะไรขึ้นมาจริงๆ
.. ผมเอง ก็อยากให้ทัพเรือ มีเรือดำน้ำ วันนี้ เดี๋ยวนี้ เสียด้วยซ้ำ
ว่าแต่ มันไม่มีทางเลือกอื่นๆเลยเหรอ .. ถ้ารัฐบาลอ้างว่าไม่มีเงินพอที่จะซื้อเรือดำน้ำของใหม่
เช่น ทำสัญญากับสวีเดน จ่ายเป็นงวดๆ ซัก 3 งวด จ่ายครบ .. ใหนๆเราก็เป็นลูกค้าเจ้าประจำ
ของสวีเดนอยู่แล้ว ทาง ผบทร. น่าจะลองเจรจากับสวีเดนดูก่อน
ถ้าเรามีเรือดำน้ำของใหม่ เทคโนโลยีใหม่ๆ ใช้งานได้นาน 80 ปี .. ผม บวกลบคูณหารดูแล้ว
คิดว่า คุ้มค่ากว่ากันเยอะ
.. ขออภัยอีกครั้ง ถ้าทำให้หลายๆคนอ่านแล้ว ขัดใจ
สำหรับเรือ U-206A นั้น ส่วนตัวผมเองก็ไม่เคยชื่นชอบมาแต่แรก แต่ผมเห็นความคุ้มค่าในโครงการที่กองทัพเรือเคยดำเนินการ นั่นคือ องค์ความรู้ที่พร้อมจะนำไปสู่การใช้งานต่อไปเมื่อพร้อมที่จะจัดหาเรือใหม่โดยไม่ต้องเริ่มต้น และ ความพร้อมในเรื่องสิ่งอำนวยการและสถานที่ที่จะรองรับได้ต่อไปในอนาคตโดยไม่ต้องทำโครงการจัดสร้างอีกหากได้เรือใหม่ อีกทั้งช่วงที่ยังไม่มีเรือใหม่ ในขณะที่เพื่อนบ้านเขามีกันขวักไขว่เรายังมีพอที่จะทำให้อุ่นใจได้ว่าเรายังรับมือได้เพราะเราก็ยังมี ในส่วนตัวจึงมองว่า คุ้มค่ากับเงินเพียงไม่กี่พันล้านทั้งๆที่งบแค่นี้ยังไม่ได้เรือใหม่ซักลำเลยด้วยซ้ำ หากจะใช้ได้เวลาสิบปีก็ถือว่าคุ้มเพราะหลังจากนี้คนเราพร้อม สาถานที่พร้อม นั่นหมายถึงว่าหากมีเรือใหม่เราพร้อมรบหลังจากฝึกเปลี่ยนแบบแล้วทันทีไม่ต้องมาเริ่มต้นในขณะที่เพื่อนบ้านดำกันคล่อง ส่วนที่ว่าทำไมเยอรมันจึงปลดและขายต่อก็กล่าวกันไปต้นๆแล้วคงไม่ต้องกล่าวอีก แต่ที่คุณpotmon กล่าวว่ามันไม่ได้ออกแบบมาสำหรับทะเลแถบเมืองไทย เลยทำให้สงสัยว่า อินโดนีเซียทะเลค่อนข้างลึกและแรงกว่าอ่าวไทย แถมอยู่แถบศูนย์สูตรกว่าประเทศไทยเขายังใช้งาน U-206 มาตั้งหลายปี ตั้งนานแล้ว ปัจจุบันก็ยังใช้อยู่ ดีไม่ดีเดี๋ยวเขาก็อาจจะเอามาอวดเรากระมังคอยดู
เออ...ไปๆมาๆ เรามาดราม่าในเรื่องที่ผ่านไปแล้วเนอะ แต่ผมมันประเภท แค้นฝังหุ่น....
แต่ที่แน่ๆ ตอนนี้เพื่อนผมเตรียมผ้าเช็ดน้ำลายและเลือดกำเดา เพื่อรอดู Gril Group จากเกาหลีอยู่ครับ
ข่าวจากเวปพันทิพ บอกว่า 2 ลำนี้มีเจ้าของแล้วนะ (โคลัมเบียซื้อไปแล้ว)
http://www.webinfomil.com/2012/08/armada-nacional-incorpora-los-nuevos.html
ปล. ถ้าของเขาไม่ดี แล้วจะมีคนแย่งซื้อไปทำไม หุ หุ
ตอบคุณ เด็กทะเล นะครับ
ผมพึ่งโดนว่าเขียนไม่รู้เรื่องจากกระทู้อื่นมาหมาดๆ สงสัยจะจริงที่เขียนแล้วมันดูติดๆกันไปหมด แต่ก็จะพยายามแก้ดูนะครับ
พูดถึงว่า ทำไมแถวนี้เจ้า ยู 206 เค้าก็ใข้กันยังได้เลย อธิบายก็ ฟิวคงประมาณรถเก่าของเขมรจากเกาหลีนั้นแหละครับ คือมันจะพังก็ไม่แปลกอะมั่งตอนใช้ แต่ต่างกันก็ตรงเรือดำน้ำมันแวะซ่อมตามข้างทางไม่ได้เท่านั้นเอง แล้วเรื่องความเสี่ยงอธิบายเป็นสะพานเชือกไปแล้วอาจไกลตัวไป เอาเป็นลิฟท์ตามตึกก็แล้วกัน ทำไมกฎหมายถึงกำหนดว่าให้ลิฟท์ต้องมีสลิง 4-5 เส้น(จำไม่ค่อยได้อะตัวเลขแน่นอน) ในเมื่อสลิงเส้นเดียวก็รับน้ำหนักตัวลิฟท์กับภาระได้ทั้งหมดแล้ว(ให้มาเหลือ อีกตังหาก) แน่นอนก็เพื่อความปลอดภัยจากสภาวะไม่คาดคิด แต่ถ้าใครนิยมชมชอบจะใช้ลิฟท์สลิงเส้นเดียวก็ไม่ผิดอะครับ มันก็ใช้ได้ในสภาวะที่ปกตินั้นแหละ(แต่เป็นผมไม่ใช้นะ) มันก็ไม่ได้ต่างไปจากเรือดำน้ำหลอกครับ อีกอัน คือภาระสูงสุดของตัวเรือที่ต้องรับเนื่องจากคลื่น(เอาตอนลอยนะ) จะเกิดขึ้นเมื่อ ความยาวหนึ่งช่วงคลื่นเท่ากับความยาวตัวเรือพอดี และยอดคลื่นสูงตั้งแต่เส้นแนวน้ำเรือขึ้นไป ไม่ใช้ว่าทะเลยิ่งลึกแล้วคลื่นยิ่งใหญ่ยิ่งแรง แล้วมันจะยิ่งมีผลกระทบสูงสุดต่อตัวเรือไปด้วยอย่างที่หลายๆคนเข้าใจนะครับ จะมาเทียบว่าทะเลอินโดเค้าโหดกว่าเราเพราะ ลึก แรง ใหญ่ กว่า ก็คงไม่ได้อะนะ (เรือหักคลื่นน้อยๆมานักต่อนักแล้ว)ส่วนทะเลอินโดเค้าเป็นอย่างไรผมก็ไม่รู้หลอก แต่บ้านเราคลื่นยาว 40-50 ม.เพียบอะ สูง 2-3 ม.เพียงบวก
เมื่อสักครูมีโอกาสได้เข้าไปอ่านบทสัมภาษณ์ของผู้บัญชาการกองเรือดำน้ำจากเวปเพื่อนบ้านมา(TAF) ยิ่งอ่านแล้วก็ยิ่งเสียดายสาวเยอรมันครับ แล้วก็เพิ่งรู้เหมือนกันว่าอุปกรณ์หลายๆตัวในเรือดำน้ำ U-209ที่ผลิตในเกาหลีใต้เหมือนกับ U-206A
ผมว่าถ้าจะเอาจริงๆ ตอนนี้ก็ยังทันน่ะ เอามาจอดมากหน่อย ดำน้ำน้อยหน่อยก็ไม่เป็นไร ไว้เป็นไม้กันหมาให้เกรงใจ ไว้ฝึกทหารให้ชำนาญ ไว้อวดงานวันเด็กให้เกิดความภาคภูมิใจ หรืออะไรก็แล้วแต่เยอะแยะเพราะเราไม่ได้เอามาเป็นแค่เรือดำน้ำ แล้วอีก 5 ปีได้ของมือหนึ่งมาจะได้ไม่ต้องเสียเวลาฝึกนานกว่าจะพร้อมรบ ผมว่าน่าจะ ok น่ะครับ
ได้ U-209 ของเกาหลีใต้มาก็ไม่ต่างจาก U-206a เลย แถมราคาก็แพงว่าหลายเท่าตัว ทำไมคิดไม่ได้นะ
"ขยะที่น่ากลัว"
คนที่เห็นคุณค่าของขยะนี้ เท่านั้น ที่ซื้อไปใช้
ความเป็นจริงพูดเมื่อไรก็ฟังแสลงหูเสมอแหละนะครับ ส่วน ยู 209 ไปคิดว่ามันไม่ต่างกับ ยู 206 เลยก็ต้องบอกว่าแปลกอะครับคนคิด แค่คอนเซ็ปต์ในการออกแบบก็ต้องต่างกันแล้วสำหรับรุ่นส่งออก หรือรุ่นที่มีพื้นที่การใช้งานทั่วโลก(แบบพวกเรือรบเมกา หรือรัสเซีย) แล้วที่มันแพงกว่าก็แน่อยู่แล้วก็อีกอันเป็นของใหม่มือหนึ่งแถมรุ่นก็ใหม่กว่า ทำไมคิดไม่ได้นะ
ผมก็อยากได้ขยะ ที่น่ากัวอะ คุ้มโคตรๆ เซ็งเป็ด