หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ข่าวสวิสเซอร์แลนด์ตัดสินใจเลือก JAS-39 E/F เพื่อทดแทน F-5E/F

โดยคุณ : seaman เมื่อวันที่ : 25/09/2012 10:11:00

หลังจากเลื่อนโครงการจัดหา บ.ขับไล่ที่จะใช้งานแทน F-5E/F มา 2ปี สุดท้ายแล้วสวิสเซอร์แลนด์ก็เลือกกริฟเฟน รุ่นล่าสุด (JAS-39 E/F) จำนวน 22 ลำ  โดยในระยะการเปลี่ยนแบบ บ.รบ นี้ สวิสจะทำการเช่า กริฟเฟน รุ่น ซี/ดี จำนวน 11 ลำ เพื่อฝึกบินไปพลางๆ ก่อน  และจะได้รับมอบกริฟเฟนรุ่นใหม่ในช่วงปี 2018-2021รายละเอียดตามข่าวนี้ครับ (เริ่มมีข่าวออกจาเวปบ้านเราบ้างแล้ว) 

 

Aug 28/12: Contract terms. The Swiss government reveals the details of their Gripen deal. Their 22 planes will all be single-seat JAS-39Es, delivered from 2018-2021 at a firm-fixed-price cost of CHF 3.126 billion (currently $3.27 billion). That total is guaranteed by the Swedish government, and includes mission planning systems, initial spares and support, training, and certification.

 

As a bridging step, Switzerland will replace its F-5 fleet beginning in 2016 with 11 rented Gripens (8 JAS-39Cs, 3 JAS-39Ds) from Sweden, on an initial 5-year lease. They will fly beside Switzerland’s 33 F/A-18C/D Hornets, and their CHF 44 million per year cost is CHF 10 million more than the current cost of maintaining the F-5E/F fleet.

This deal will now go to the Swiss Parliament, with the aim of passing the PA12 budget, as well as a specific law covering the Gripen purchase, by November 2012. The first half of 2013 will involve further legislative reviews and reports, and if there’s no referendum, the goal is a formal contract in autumn 2013. There will almost certainly be a referendum, of course, which would push a contract signing out to mid-2014 – if and when the referendum campaign against the fighter purchase fails. That signing would be accompanied by a A CHF 300 million advance payment. Swiss Government release [in French] and presentation [PDF, in French] | Bloomberg | Flight International

http://www.defenseindustrydaily.com/switzerland-replacing-its-f-5s-04624/#aerospace-competitive-research


Swedish JAS-39D & Swiss F/A-18


Gripen Demo (next-generation JAS-39E/F fighters)




ความคิดเห็นที่ 1


Aug 26/12: EADS’ Ave Maria. According to German Sunday newspaper Der Sonntag, Germany and EADS are offering 33 used Eurofighter jets to Switzerland for CHF 3.2 billion, or about 11 more planes in comparison with the Gripen deal. The German Air Force planes were made in 2003. There is no corroboration from official sources yet.

Back in December 2008, armasuisse said it would consider used offers but they were doubtful of their chances to succeed for a likely lack of fit with technical expectations. Early model Eurofighters would be an almost certain failure, given their limited multi-role capabilities, unless they received significant upgrades. Reuters | Der Sonntag [Swiss edition, in German] | Aargauer Zeitung [in German].

งานนี้ SAAB เหนื่อยน่าดูครับ...

ก่อนหน้านี้ เยอรมัน เสนอขาย ไตฝุ่น มือ 2 ให้จำนวน 33 ลำ ในราคาเดียวกันกับ ดีล Jas-39 E/F

Saab เลยต้องให้เช่าเครื่องอีก 11 ลำ ตามข่าวเพิ่มขึ้น เพื่อให้ได้จำนวน 33 ลำ เท่ากับที่ เยอรมัน เสนอ...

ถ้านับเฉพาะ ดีล นี้ JAS-39 E/F จะมีราคาประมาณ ตกลำละ 148 ล้านเหรียญต่อลำ

ส่วน ไตฝุ่น มือ 2 จะมีราคาประมาณ ตกลำละ 112 ล้านเหรียญต่อลำ

แต่พอ Saab ให้เช่าอีก 5 ปี สำหรับ JAS-39 C/D อีก จำนวน 11 ลำ...ผมคิดว่า เมื่อครบ 5 ปี...JAS-39 C/D จำนวน 11 ลำ นี้...Saab คงจะทำสัญญาเช่าซื้อขายให้ Swiss โดยขอรับชำระเงินอีกจำนวนหนึ่ง (น่าจะประมาณ 74 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อให้ต้นทุนถัวเฉลี่ยออกมาให้ได้ 112 ล้านเหรียญต่อลำ ให้เท่ากับ ไตฝุ่น มือ 2 ของ เยอรมัน...แต่ว่า บ.ของ Saab จำนวน 22 ลำ จะเป็น บ.มือหนึ่ง เกือบทั้งหมด...แถมประกันตลอดอายุใช้งานอีก....

ซึ่งอาจจะทำให้ในอนาคตฝูง JAS-39 ของ สวิต จะประกอบไปด้วย

JAS-39 E จำนวน 22 ลำ

JAS-39 C จำนวน 8 ลำ

JAS-39 D จำนวน 3 ลำ

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 30/08/2012 14:12:52


ความคิดเห็นที่ 2


เห็นราคารุ่น E/F  แล้วเพลียแทน ซื้อ 1 ได้ C/D 2ลำ

อยากได้ไว้แทน ADF จะได้มั๊ยน๊ออ

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 30/08/2012 14:25:21


ความคิดเห็นที่ 3


ขอบคุณครับท่าน juldas เรื่องดีล บ.ขับไล่ของสวิสเซอร์แลนด์นี้ทำเอา saab หืดขึ้นคอเหมือนกัน  ทั้ง ฝรั่งเศส เยอรมัน และอเมริกา วิ่งกันฝุ่นตลบ
แต่สุดท้ายสวีเดน ชนะไปครึ่งลูก ด้วยแพคเกจกริฟเฟนรุ่น ซี/ดี ให้เช่า 11 ลำที่ว่านี้แหละ อิอิ

 

สำหรับราคากริฟเฟน E/F ใหม่นี้เห็นแล้วหนาวเหมือนกัน คงเป็นเพราะเป็น บ.รุ่นแรกในสายการผลิต ซึ่งสวีเดนเองก็มีแผนจะจัดหาไว้จำนวน 40-60 ลำเหมือนกันซึ่งน่าจะใช้งบประมาณราว 4,500-6,500 ล้านเหรียญ สรอ. หากมีลูกค้ารายใหม่ๆ มาร่วมด้วย (เช่น มาเลเซียที่แสดงความสนใจเหมือนกัน) คาดว่าค่าตัวกริฟเฟนใหม่นี้คงลดลงมาบ้างไม่งั้นคงหาตลาดยาก เพราะคู่แข่งมีเยอะแม้ บ.ของเกาหลีเองราคาค่าตัวก็น่าสนใจไม่น้อย 

สำหรับบ้านเรา หากได้ กริฟเฟนอีกสัก 12 ลำไปประจำการที่อุ่ตะเภา ก็คงจะดีไม่น้อย  จะเอาเครื่องมือ 2 จากสวีเดน ซื้อหรือเช่า(ซื้อ) ก็ได้
จะทำให้แนวป้องกันในอ่าวไทยของเราไร้เทียมทานทีเดียว


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 30/08/2012 15:05:35


ความคิดเห็นที่ 4


     เครื่องบินที่มียอดสเกลผลิตก็จะแพงมหาศาลขนาดนี้ล่ะครับ    ราคาลำละกว่า 4500  ล้านบาท   แพงเว่อร์จริงๆ   ทาง SAAB  ถึงได้ลำบากขนาดนี้ไงครับ    ถ้าจะให้ราคาต่ำลงมาเขาก็ต้องหาหุ้นส่วนเพื่อเพิ่มจำนวนการผลิตในสายการผลิตและต้องย้ายฐานการผลิตมาที่เอเซียเพื่อให้ต้นทุนการผลิตถูกลง    ไม่เช่นนั้น  FA-50 จากเกาหลีได้ครองตลาดเครื่องบินขับไล่เบาหมดแน่นอน    เพราะสเปกหนีกันไม่ไกล    แต่ราคานี่ห่างกัน 4 เท่า   เป็นอย่างนี้ต่อไป  SAAB  ไปไม่รอดแน่ๆ 

    ถ้าเราไม่กล้าเป็นหุ้นส่วนกับ  SAAB  และลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ร่วมกัน   ก็คงต้องไปจัดหาจากเกาหลีใต้แน่ๆ     หุ้นส่วนของ SAAB ที่เป็นบริษัทผลิตเครื่องบินจากสาธารณะณัฐเชคที่ผลิตเครื่อง  L-159 ก็กำลังลำบาก   เพราะทางรัสเซียตลาดเก่าเลือกที่จะผลิตเอง    ท่าทางจะไม่รอดแน่ๆทั้งคู่   แต่เทคโนโลยีของ  SAAB สูงเกินพอสำหรับเราครับ     ถ้าได้หุ้นส่วนที่เทคโนโลยีที่ดีอย่างสวีเดน   และถ้าร่วมโครงการกันเพื่อให้ได้สเกลการผลิตมากกว่า 100 เครื่อง  ทั้งเราทั้งเขาต้องร่วมกันจัดหา   และย้ายฐานการผลิตทั้งหมดมาที่ประเทศไทยเรา    ราคาขายรุ่น E/F หรือ NG  ก็น่าจะถูกลงมากกว่าเท่าตัวอยู่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทได้   

   ต้องตกลงกันระดับรัฐบาลล่ะครับ   ไม่งั้นก็คงต้องดู SAAB  ค่อยล่มจมไปช้าๆ     เกาหลีกับรัศเซียมาแรงในตลาดเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา   คงแย่งตลาดไปหมด 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/08/2012 15:05:42


ความคิดเห็นที่ 5


    เครื่องจากเกาหลี  30-35 ล้านเหรียญ  เรด้าร์ AESA  EL/M 2032 จากอิสราเอล   ระบบด้าร์ลิ้งชั้นดี   สเปกเกือบเท่า  Jas-39   ราคา Jas-39 E/F  ราคาเกิอบ 150 ล้านเหรียญ   รอดยากสำหรับ SAAB ครับ    ตอนแรกผมถึงเชียร์เครื่อง  SU-30 MKI ก้เพราะแบบนี้ด้วยแหล่ะครับ  

    ตอนนี้เราเหลือทางเลือกน้อยลงแล้วครับถ้า  E/F แพงขนาดนี้    ถ้าจะซื้ออย่างเดียวแบบเดิม  ไม่ผลิตเอง   ก็คงต้องเกาหลี   ทั้งๆที่เครื่อง  SAAB ดีกว่า   หรือไม่ก็ไปร่วมทุนกอบกู้ SAAB เอา    บอกให้ทางนั้นย้ายฐานมาที่นี่เลย   ทางเราก็ต้องกำหนดจำนวนที่ชัดเจนที่จะจัดหา  เพื่อให้เมื่อรวมกับยอดความต้องการของสวีเดนแล้วเกินกว่า 100 -150 เครื่องเพื่อให้ราคาต่ำลงมามากพอที่จะแข่งขันต่อไป 

   หรือไม่ก็ต้องตัดใจ Jas-39  แล้วไปร่วมมือกับเกาหลีซื้อ  T/F/A-50  เอามาผลิตในประเทศ   รวมความต้องการทั้งเครื่องฝึก 40 เครื่อง   เครื่องโจมตีเบา 50 เครื่อง   เครื่องขับไล่สกัดกั้นอีก 40 เครื่อง   เครื่องของทัพเรืออีกอย่างน้อย 20 เครื่อง ก็กว่า 150 เครื่อง    แบบนี้ถึงจะมีสเกลมากพอสำหรับเปิดสายการผลิตที่จะคุ้มค่าการผลิตเอง  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/08/2012 15:17:17


ความคิดเห็นที่ 6


    ดูสเปกเครื่องแต่เพียงอย่างเดียวเพื่อการจัดหาก็ต้องจบแบบนี้ล่ะครับ     ฝูงถัดไป  Jas-39 คงได้เกิดยากมากๆซะแล้ว  ถ้าราคามันขนาดนี้    ต้องนึกถึงเวลาต้องปลดเครื่องเก่าและเมื่อต้องขยายกองบินเพิ่มเพื่อรับภัยคุกคามด้วย (ซึ่งตอนนี้ควรต้องออกไปเทรนแนวขยายกองบินเพิ่มมากกว่าลดกองบิน เพราะอะไรก็คงทราบกันดี)

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 30/08/2012 15:29:22


ความคิดเห็นที่ 7


อะไรทำให้ น้อง แจ๊ส เราค่าตัวแพงขนาดนี้ละครับ เมื่อเทียบกับเกาหลี ซึ่งไม่สมเหตุผลเลย เกาหลีเองก็ต้องมีค่าพัฒนาเหมือนกันหรือรัฐบาลเขาจ่ายตรงนี้ทั้งหมดโดยไม่ต้อง เพ่ิมราคาขาย ถ้าห่างกัน 20-30 เปอร์ ยังน่าสน แต่นี่ 4เท่าและถ้าคุณภาพพอกัน แบบนี้เรียกว่าเกิดไม่ได้ด้วยซ้ำ ในทางกลับกัน ทำไมไม่สนสินค้าจีนครับ ถ้าด้วยเรื่องราคาต่อคุณภาพ น่าจะดีกว่าเกาหลีอีก แต่ติดแค่ชื่อของจีนเท่านั้นเองทำให้ไม่อยากได้ ถ้าดูแค่ขีดความสามารถในการลดต้นทุนการผลิต ทำให้ราคาต่อคุณภาพ จีนน่าจะพอๆกับเกาหลีนะครับ

โดยคุณ nok43 เมื่อวันที่ 30/08/2012 16:22:24


ความคิดเห็นที่ 8


คุณneosiamese2 มีความเป็นตรงกับผมเลยครับ เคยคิดแบบนี้มานานแล้วว่าในตลาดเครื่องบินรบที่แข่งขันกัแบบนี้ บริษัทอย่างSaab จะรอดได้หรือไม่ เพราะเคีื่องบินของค่ายนี้ก็มีราคาสูงไม่น้อยถ้าให้เขาย้ายฐานมาไทยจะเป็นไปได้หรือไม่ิพราะราคาโภคภัณฑ์ของไทยถูกกว่าสวีเดน แล้วเครื่องบินจากค่ายสวีเดนก็เป็นอะไรที่เหมาะกับประเทศไทย เครื่องบินขับไล่เบามีค่าปฏิบัติการที่ต่ำขนาดค่ายสหรัฐเครื่องบินรบที่เบาที่สุดอย่าง เอฟ16 ยังมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าค่ายสวีเดนอีกแล้วสวีเดนมีนโยบายพัฒนาเครื่องบินขับไล่ของตนเองมาทุกยุคสมัย ล่าสุดก็กำลังจัสร้างเครื่องยุคที่5 เราต้องเลือกค่ายแล้วลงทุนเป็นหุ้นส่วนกับเขาไปในระยะยาวผมเห็นว่าสวีเดนเหมาะสมที่สุด
โดยคุณ intelligent เมื่อวันที่ 30/08/2012 16:29:52


ความคิดเห็นที่ 9


เรื่องจะล่มนี่ก็ไม่แน่อาจจะเมิร์จรวมกันทั้งยุโรป(เฉพาะประเทศผู้เล่นหลักๆนะ)มากกว่า

เพราะอย่างยุคหน้า dasault ก็ทำถ้าว่าจะเดี่ยวต่อไปไม่ไหว

กลายเป็น mbdas ฮา

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 30/08/2012 19:08:24


ความคิดเห็นที่ 10


เห็นราคาเครื่องบินเดี๋ยวนี้แล้วแอบเซ็งเหมือนกัน  แต่ก็มีอีกตัวเลือกหนึ่งนะครับคือ Gripen C/D +  ซึ่งคาดว่าจะใช้เรดาร์ตัวเดียวกับ E/F คิดว่าน่าจะประหยัดไปได้บ้างครับ 


โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 30/08/2012 21:12:09


ความคิดเห็นที่ 11


ผมเห็นด้วยกับการพัฒนารุ่น Jas39 C/D plus เพราะผมเห็นว่าไทยไม่จำเป็นต้องใช้รุ่น E/F  แค่เอารุ่น C/D แต่เพิ่มเรดาร์ของรุ่น E/F มาใส่เข้าไป กับระบบตรวจจับ , data link เพื่อให้สามารถครองอากาศได้ แค่นี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว  ราคาก็จะถูกลงมาพอที่จะจัดหามาใช้ตามจำนวนที่ต้องการได้

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 30/08/2012 22:14:53


ความคิดเห็นที่ 12


  ตัดสินใจถูกจริงๆที่เลือกเรียนสองสาขาคู่ขนานกันไป  ทั้งเศรษฐศาสตร์และวิทยาศาสตร์(สาขาฟิสิกส์เมเจอร์โซลิตสเตท)      พอจะต้องอธิบายในเรื่องว่าทำไมในด้านธุรกิจถึงต้องเป็นแบบนี้  ทำไมในด้านวิศวกรรมต้องเป็นแบบนั้น  เออเข้าท่าแฮะ  

    ลองตอบนะครับ    ที่ Jas-39 แพงบ้าบอคอแตกก้เพราะ  Econnomic of scale สะกดถูกป่าวหวา  ไม่ได้เรียนมาเป็นสิบปีแล้ว    เอาเป็นเว่าเป็นเรื่องของการผลิตระดับโรงงานหรือจุลภาคนั่นเองครับ   มันจะมีกราฟฟังก์ชั่นการผลิต  ที่จะมีจุดตัดว่าจากจุดนี้จะเป็นจุดคุ้มทุนถ้าต้องขายสินค้าที่ราคาตลาด(กรณีตลาดแข่งขันสมบูรณ์)    ถ้าสเกลหรือจำนวนการผลิตไม่ได้ที่ตรงนี้เป็นต้นไป   ต้นทุนทั้ง FIX(เช่นค่าวิจัย  ค่าโรงงาน ค่าเครื่องจักร+ต้นทุนแปรผัน(ค่าจ้างแรงงาน  ค่าน้ำไฟ)  จะทำให้กิจการขาดทุนถ้าต้องขายที่ราคาตลาด    แต่ถ้าจะขายสูงกว่าราคาตลาดก็จะขายไม่ได้เลย   และกิจการต้องเจ้งไป

    ราคาขาย Jas-39 บ่งบอกแล้วว่า  SAAB  เจอปัญหาด้านสเกลการผลิตไม่เพียงพอที่จะเข้าสู่จุดคุ้มทุนครับ   จำนวนที่จัดหาจากทอ.สวัเดนและสวิต   รวมกันประมาณ 80 เครื่อง   ได้ราคาที่ 4500 ล้านบาทถึงจะมีกำไรพอที่จะให้ SAAB อยู่ได้!    สาหัสครับ    ถ้าขายราคาเท่า F-16 50/52   กิจการก็ต้องขาดทุนมหาศาลจนต้องปิดตัวลงอย่างแน่นอน    SAAB อยู่ในสภาวะง่อนแง่นทางการเงินมากๆแล้วครับแบบนี้

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 00:31:26


ความคิดเห็นที่ 13


การที่เราจัดหา Jas-39 มาถ้ามองในแง่ความเหมาะสมของสเปกขีดความสามารถเครื่องและเงินในกระเป๋า+ ภารกิจที่ทอ.ประเมินแล้วจากภัยคุกคาม   ถือว่าเลือกเครื่องได้ดีครับ  เพราะพ่วงด้วยเครื่อง AEW&C มาด้วย      แต่ลืมมองในแง่ความมั่นคงและการอยู่รอดทางการตลาดของผู้ผลิตน่ะครับ   ลืมสนิทเลยยย………..งานเข้าซะแล้ว      ถ้าต้องปลด  F-5T หรือจำต้องขยายฝูงบินขับไล่สกัดกั้นฝูงที่ 3 จะทำอย่างไร         ไม่ก็ต้องซื้อ C/D มือสองมาอับเกรดให้เท่า batch3 ที่เราใช้

   เป็นอย่างนี้ต่อไป  SAAB  ก็ต้องเจ้งและต้องได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐ  หรือไม่ก็ต้องโดน กลุ่มยุโรปผนวก(กลุ่มอุตสาหกรรม EADS)    ความเป็นกลางของสวีเดนก็จะไม่สามารถรักษาเอาไว้ได้อีกต่อไป   เพราะจะถูกชี้นำโดยกลุ่มยุโรปแทน   

        ที่เกาหลีใต้ทำได้เช่นนี้เพราะเกาหลีมีโครงสร้างอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ที่ถึงจุดที่คุ้มทุนและมีกำไรแล้วสามารถปรับกระบวนการผลิตไปรับผลิตเครื่องบินได้      ภาคอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคก็มีเทคนิคสูงพอ  แถมยังได้สเกลการผลิตที่จะสู้ได้ในอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์    ซึ่งอุตสาหกรรมนี้ดัมพ์ราคากันเป็นว่าเล่น    ต้องได้สเกลมหาศาลจริงๆถึงจะอยู่ได้    

    นอกจากนี้   เครื่องตัวนี้ร่วมวิจัยกับ LOCKHEED ซึ่งมักจะชนะการประมูลหลักๆในกองทัพอเมริกา   ดังนั้นถ้ารวมยอดจัดหาจากทอ.เกาหลีใต้และต้นทุนที่เกาหลีมี   ก็สามารถขายราคา 30-35 ล้านเหรียญอยู่แล้ว      และถ้าอเมริกาจัดหาเครื่องฝึกขั้นสูงตามโครงการ TX  ที่ต้องการกว่า 300  เครื่อง   รวมทั้งกองทัพเรืออเมริกันที่ต้องการไม่น้อยกว่า 100 เพื่อมาทดแทน Hawk (ต้องเป็นรุ่นลงบนเรือบรรทุกบ.ได้)     งานนี้คาดว่า  T/F/A-50  น่าจะมียอดผลิตราวๆ   500 เครื่อง    มองเห็นได้ทันทีว่า  KAI  และ  LOCKHEED  วางแผนการตลาดระยะยาวมาไว้แล้วอย่างดีเลย

      มาดูอีกค่ายที่กำลังมาแรง     ค่ายรัสเซีย    Yakolev  ผู้ผลิต  YAK-130  ร่วมมือกับ  ARMACCHI  ของอิตาลีออกแบบและผลิต  YAK-130/M-346     สามารถทำตลาดเครื่องฝึกได้อย่างแจ๋วๆเลย    ทั้งๆที่เครื่อง  MAKO-HEAT ของเยอรมันประสิทธิภาพสูงกว่ามาก    สูงกว่า T/F/A-50  และพอๆกับ Jas-39 เลย       แต่ทำไมเยอรมันเลิกโครงการไปเลยล่ะครับ       เหตุผลคงเพราะเยอรมันคาดว่าตนจะไม่สามารถทำตลาดได้เท่าเครื่องลูกครึ่งอิตาเลี่ยน-รัสเซีย  และ เครื่องลูกเครื่องเกาหลีอ-เมริกัน      ทางรัสเซียต้องการอยู่แล้วกว่า 250 เครื่อง  อิตาลีก็ไม่น้อยกว่า 50-60  แค่นี้ก็ปาไปแล้วกว่า   300  เครื่อง    เท่านี้สเกลการผลิตก็ยากแล้วที่เยอรมันจะเข้ามาแข่งด้วย   ถึงเครื่องจะดีกว่ามาก       แถมรัสเซียยังมีตลาดเก่าของค่ายโซเวียตเดิมในประเทศต่างๆนับพันเครื่อง   แถมยังกะจะผลิตรุ่น  YAK-133 IB ซึ่งเป็นรุ่นขับไล่โจมตีเบา    กะเอามาขายให้ประเทศที่มี  MIG-21 ใช้เพื่อทดแทน   เหมือนเกาหลีอเมริกันเล็งขายให้ประเทศที่ใช้ F-5 เพื่อทดแทน    ดังนั้นสเกลของเครื่องสองค่ายนี้น่าจะมหาศาลเกินกว่าที่ใครจะเข้ามาแข่งด้วย    

     ตามการคาดเดาของผมนะครับ    ถ้า Yakolev/Aermaachi จะต้องสู้กับทางค่าย  KAI/LOCKHEED  ในเรื่องเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา    งานนี้อาจจะต้อง redesign เครื่อง Yak-130 ใหม่    โดยต้องเพิ่มขนาดให้มีน้ำหนักอยู่ในช่วง 5.5-6 ตัน    ขนาดความยาวคงไม่น้อยกว่า  12.5-13 เมตร   และน่าจะต้องเป็นเครื่องยนต์เดียว   และสถาปัตยกรรมเปิด   อาจจะร่วมกับ Elbit จากอิสราเอลเพื่อปรับให้ใช้กับอุปกรณ์ฝั่งตะวันตกได้    รองรับเรด้าร์  AESA  และจะต้องมีรุ่นขึ้นลงจากเรือบรรทุกบ. แน่นอน    เห็นว่ารุ่นฝึกขึ้นลงบนเรือบรรทุกบ.จะมาจากโครงอากาศยานของ  YAK-133 IB เป็นหลักมากกว่า  YAK-130       

     จากสภาพแบบนี้    ถามหน่อยว่า  SAAB  จะรอดเหรอ………………..ถ้าต้องขนกับ  YAK-133 IB และ T/F/A-50 

 ผมถึงบอกไงว่าทหารไม่ใช่พ่อค้า    มองเทรนทางการตลาดของผู้ผลิตไม่ออก     ผมถึงสนับสนุน  SU-30 MKI  ด้วยเหตุผลที่ว่า    มี  YAK-130/133 IB รองรับสำหรับเครื่องขับไล่สกัดกั้น  และเครื่องฝึก LIFT  รวมถึงเครื่องที่ใช้งานบนเรือบรรทุกบ.    แถมยังสามารถโมดิฟายจากอิสราเอลได้อีก      เพราะผู้ผลิตวางแผนการตลาดกันมายอดเยี่ยมแล้วก่อนจะลงมือเริ่มโครงการผลิต  




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 01:47:32


ความคิดเห็นที่ 14


      ดีลแบบนี้เหลือทางเลือกน้อยแล้วสำหรับทอ.ไทย      ถ้ายังชอบ  Jas-39 C/D   ก็ต้องขอรุ่นเดิมต่อไป    แต่ถ้าผู้ผลิตไม่มีสเกลสำหรับต้นทุนต่ำให้เราอีก    งานนี้คงต้อง C/D มือสองแล้วอับเกรดให้เท่า Batch3 ที่เราใช้

    ถ้าต้องร่วมการผลิตและให้  SAAB  ย้ายฐานการผลิตทั้งหมดมาที่นี่เพื่อลดต้นทุน    วิจัยที่โน่น  ผลิตที่นี่    ทางสวีเดน- ไทย   ต้องสร้างยอดความต้องการให้ได้ไม่น้อยกว่า 200 เครื่องล่ะ   ถึงจะผลิต E/F ได้ต่ำกว่า 2000  ล้านบาทต่อเครื่อง  (ดูจากราคาขายที่ส่งให้สวิต  ซึ่งน่าจะบวกกับจำนวนเครื่องที่ทอ.สวีเดนจะจัดหาอีกไม่เกิน 60 เครื่อง เป็น 82 เครื่องเท่านั้น   แถมต้นทุนการผลิตที่ยุโรปก็สูงปรี๊ดดด)    ซึ่งหมายถึงว่าถ้าเราสั่งซื้อเพิ่มเติมจากเขาอีกแค่ 40 กว่าเครื่อง(สำหรับ 3 ฝูงบินขับไล่สกัดกั้น)    ราคาก็คงราวๆ 3000 ล้านได้มั๊ง       แต่จะให้ต่ำกว่านี้ก็ต้องย้ายฐานการผลิตและเพิ่มสเกลให้ได้กว่า 200 เครื่อง    เพื่อให้ได้ราคาต่ำกว่า 2000 ล้านบาทต่อเครื่อง        แบบนี้อาจจะพอแข่งขันต่อไปได้   แต่ก็ลำบาก   เพราะคู่แข่งราคาแค่  1000  ล้านบาทเอง      ยังไม่นับเครื่อง  L-15 จากจีนที่ราคาแค่ 500 ล้านเท่านั้น    เพราะเห็นว่าได้สเกลไปจากจีนราวๆ  250-300  เครื่องไปแล้ว     แต่สินค้าจีนยังไม่ได้รับความน่าเชื่อถือเท่าคู่แข่งอีกสองราย

 

      ทางเลือกอีกอันถ้าไม่อยากออกแรงผลิตและพึ่งลมหายใจเขาต่อ    ปลด F-5T  แล้วไปซื้อเครื่องเกาหลีแทน  

 

รูปแสดง  MAKO-2000   เครื่องดีมากๆ   แต่การตลาดสู้ไม่ไหว   ไม่ได้เกิด



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 02:06:16


ความคิดเห็นที่ 15


แต่ถ้าอยากจะลงทุนทางอุตสาหกรรม    ตอนนี้เราพร้อมแล้วในเรื่องผลิตชิ้นส่วน  เพราะมีอุตสาหกรรมยานยนต์รองรับคุ้มค่าเครื่องจักรไปแล้ว     และยังมีอุตสาหกรรมถลุงและผลิตอลูมิเนี่ยมในประเทศแล้ว    อุตสาหกรรมผลิตเส้นใยคาร์บอนก็ใหญ่ติดอันดับต้นๆของเอเชีย     ขาดก็แต่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่เป็นต้นน้ำของอุปกรณือิเลคทรอนิคต่างๆนี่แหล่ะครับ    แต่อาจจะซื้อเขามาประกอบกับเครื่องของเราได้       ถ้าจะไม่อยากเสี่ยงที่จะต้องไปโอบอุ้มกิจการของ SAAB   ก็ต้องขอสิทธิบัตรการผลิตเครื่องง YAK-130/133 IB  หรือ  T/F/A-50   เพื่อใช้งานทั้งเครื่องฝึก  LIFT  40  เครื่อง       เครื่องโจมตีเบา  50 เครื่อง(แม้สเปกเกินความต้องการของทอ.ไทยก็ต้องใช้เพื่อหวังผลทางอุตสาหกรรม)     เครื่องขับไล่สกัดกั้นอีก 40-48 เครื่องเพื่อให้ครบ 3 ฝูงบิน    และเครื่องของทัพเรืออีกจำนวนหนึ่ง (แม้สเปกเครื่องจะต่ำกว่าที่ต้องการ  ยกเว้นจะซื้อเรือบรรทุกบ.เบาให้ก็สามารถจัดหา YAK-133 IB หรือ F/A-50  รุ่นใช้งานบนเรือบรรทุกบ.ได้

   ยังมีเวลาให้คิดอีก เกือบ 10 ปีครับถ้าจะหวังผลทางอุตสาหกรรม     ไม่รู้ว่า  SAAB จะทนไปได้ถึงวันที่เราตัดสินใจหรือเปล่า


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 02:12:34


ความคิดเห็นที่ 16


T/F/A-50 ของเกาหลีไม่ได้เทพมากนะครับ เรด้าร์ EL/M 2032 จากอิสราเอล  ก็เป็นpulse Doppler ครับไม่ใช้ AESA  สาเหตุที่เจ้า FA50 ไม่สามารถเทพได้ เพราะมันผลิตและพัฒนาภายใต้สิทธิบัตรของ Lockheed Martinเจ้าของ F16 ดังนั้นจึงมีการตั้งกฏที่จะไม่ให้เจ้า FA50 มาขายแข่งกับ F16 ดังนั้นจึงไปขายได้ในตลาดรองที่สเปกต่ำกว่า F16 แต่ราคาถูกกว่ามาก จึงไม่แปลกที่จะทำราคาได้ต่ำถึง 30 MU$

 

เรด้าร์ EL/M 2032เท่าที่ดูก็ขายให้กับเครื่องบินที่ทำการ upgrade พวก F5, Harrier, Mirage , F16 เพราะติดตั้งง่ายมีขนาดเล็ก สเปกก็น่าจะประมาณ APG 68V7- V8 (ต้องด้อยกว่า APG V9 แน่นอนเพราะไม่งั้นมันจะไปเก่งเท่า F16 และไม่งันเราคงไม่เลือก APGV9 มาให้ F16 MLU)

 

เท่าที่ดูเจ้า เรดาห์ AESA ตัวเปล่าๆก็ราคาตกประมาณ 20-30 MU$ ก็เลยไม่น่าแปลกที่เจ้า Jas 39 E/F จะราคากระโดดไปไกล

 
Korea Aerospace Industries has a very broad set of cooperation agreements with Lockheed Martin, from licenses to build and maintain the ROKAF’s F-16s, to the T-50 family’s development and international marketing agreements. One of those agreements states that the T-50 family of trainers and lightweight fighters may not be equipped with radars more sophisticated than the ones carried in the ROKAF’s KF-16s.

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 31/08/2012 02:15:05


ความคิดเห็นที่ 17


 ส่วนตัวไม่คิดว่าการย้ายฐานการผลิตมาเมืองไทยจะเป็นการลดต้นทุนของ gripen ได้ เพราะไทยดูไม่มีความพร้อมในการประกอบอากาศยาน ถ้าเป็นอินเดียว่าไปอย่าง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นประกอบเพียงอย่างเดียวนั้นอาจจะถูกลง ส่วนการไปลงทุนร่วมก็น่าจะเป็นผลดีกับประเทศไทย ถ้าเราตั้งใจทำจริงๆ (ไม่รู้จะมีเงินไปลงทุนหรือเปล่า) แต่ถ้าเราจะไปลงทุนจริงๆ จังๆ ก็ต้องใช้กริพเพนอย่างเดียวแล้วแหละ ซัก 60 ลำอัพ

ส่วนเรื่องซ้าบล่ม อย่าลืมว่ากริพเพนกับซ้าบนี่มันคนละอย่างกัน กริพเพนอาจจะล่มแต่ซ้าบไม่น่าล่ม ผลิตภัณฑ์อื่นของซ้าบหลายอย่างที่ฮิตติดตลาดมีทั้ง เรดาร์, land systems, sea system ดังนั้นก็อาจจะมีการเอากำไรจากกิจการเหล่านี้มาซับต้นทุนของกิจการ กริพเพน นอกจากนี้รัฐบาลก็ต้องพยายามอุ้มซ้าบพอสมควร เพราะซ้าบเป็นนายจ้างรายใหญ่ของประเทศ หากต้องปิดโรงงานกริพเพน คนต้องตกงานเพียบ เดี๋ยวความนิยมทางการเมืองตกฮวบตามไปด้วยซึ่งไม่ดีแน่

ว่าแต่กริพเพน แบทช์สองของเราไปถึงไหนแล้วเนี่ย จะมีดีเลย์อีกมั๊ยเอ่ย ลุ้นกันต่อไปครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 31/08/2012 04:47:15


ความคิดเห็นที่ 18


คุณ kitty70 กล่าวถูกแล้วครับ ส่วนตัวคิดว่าเรด้าร์ EL/M 2032 ไม่น่าถึงAPG 68V7- V8 แล้วผมไม่คิดว่าประสิทธิภาพของ T/A-50 จะเท่ากับ JAS-39 C/D ราคาขาย 30-35 ล้านเหรียญ เป็นราคาขั้นต้นนะครับและเป็นราคาเครื่องบินฝึกไม่ใช่ฟลูรบแบบJAS-39 C/D เรด้าร์ EL/M 2032 จากอิสราเอลก็เป็นpulse Doppler ไม่แน่ใจว่ามีดาต้าลิงค์หรือเปล่า

คำถามง่ายๆครับถ้า T/A-50 ดีเท่ากับ JAS-39 C/D แล้วทำไมสวิสเซอร์แลนด์ถึงเลือกกริฟเฟน ในเมื่อสวิสเซอร์แลนด์ก็กำลังมีปัญหาเรื่องการเงินเหมือนกันมีการปรับลดงบประมาณในการจัดซื้อ ทำไมเขาไม่ไปซื้อ T/A-50 ในงบประมาณที่เท่ากันเขาจะได้เครื่องตามจำนวนที่ต้องการมีเงินเหลืออีกต่างหาก อันนี้หาคำตอบกันเอาเองนะครับ

ปัญหาของT/A-50 คือเครื่องตัวนี้ร่วมวิจัยกับ LOCKHEED ครับ LOCKHEED วางใว้ให้เป็นเครื่องบินฝึกไม่ใช่เครื่องบินรบ เพื่อป้องกันไม่ให้มาแย่งตลาดกับ F-16 และไม่ให้มีประสิทธิภาพมากกว่า F-16 อุปกรณ์หลายอย่างถูกลดสเปกลงมา และออกแบบมาให้เป็นเครื่องบินรบขนาดเบาราคาถูกไปในตัว ทำตลาดให้กับประเทศที่มีงบจำกัดและที่ประจำการด้วย F-5 MIG-21

ถ้าหากทอ.เราจะซื้อเครื่องบินฝึกผมก็เชียร์ T/A-50 นะครับ แต่ถ้าจะเอาไปเป็นเครื่องบินรบหลักผมไม่เห็นด้วย เอาไปเป็นเครื่องบินโจมตีทดแทน L-39 น่าจะดีกว่า

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 31/08/2012 07:11:55


ความคิดเห็นที่ 19


ถ้าจะมองในแง่จำนวนการผลิตที่จุดคุ้มทุนผมเห็นด้วยว่า JAS39 E/F มันมียอดผลิตน้อย ซึ่งถ้าเป้นสินค้าทั่วไปถ้าผลิตน้อยของต้องแพง  แต่ถ้าเป็นสินค้าด้านความมั่นคงของชาติการคิดราคาแบบเศรษฐศาสตร์ก็ต้องยกเว้นโดยการใช้มาตรการของรัฐเข้าสนับสนุน  และทางแก้สำหรับไทยที่จะผลิตในราคาต่ำลงก็ต้องใช้หลายๆอย่างประกอบกัน

1. ผลิต JAS39 ในแต่ล่ะรุ่นชิ้นส่วนควรใช้ร่วมกันได้ให้มากสุด ( JAS39C/D กับ C/D plus  แทน F5 , F16A/B , ADFรวมๆก็ร่วม 50 ลำ)

2. ผลิต JAS39 รุ่น down grade ลงมาหน่อย เพื่อสำหรับรุ่นฝึกบิน/โจมตี ( อาจใช้แทน L39  36 ลำ Alphajet 20 ลำ)

3. ร่วมผลิตกับต่างประเทศ เช่น สวีเดนผลิต ไทยประกอบ (หรือใช้ชิ้นส่วนที่ผลิตในประเทศให้มากที่สุด)

4. รัฐต้องเข้ามาอุ้ม เนื่องจากเป็นสินค้าทางความมั่นคง จำเป็นที่รัฐต้องเข้าแทรกแทรงอุดหนุนเพื่อให้อยุ่รอดได้ จะให้คิดราคาแบบเอกชนไม่ได้

 จากจำนวนทั้งหมดเฉพาะของไทยก็ร่วม 100 เครื่อง ถ้าผลิตปีล่ะ 10 เครื่อง ก็ผลิตได้ 10 ปี ราคาเฉลี่ยขอเดาๆก็น่าจะไม่เกิน 60-80 ล้าน US  อย่างนี้น่าจะพออยุ่ได้ ( นี่ยังไม่รวมกับของประเทศอื่นๆที่น่าจะกล่อมมาร่วมโครงการได้ เช่น ฮังการี สวีเดน สวิส อัฟฟริกาใต้ บราซิล เป็นต้น )

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 31/08/2012 08:19:06


ความคิดเห็นที่ 20


ไม่เห็นด้วยครับ ถ้าต้องให้ ทอ.เพิ่มฝูงบิน โดยใช้เหตุผลคืออุ้ม บ.ผู้ผลิต และคิดว่าเกินกำลังของเราในการจัดหา JAS-39 จำนวนนับ 100 เครื่อง ถึงแม้จะเป็นการร่วมทุนก็ตาม การที่ SAAB จะอยู่รอดหรือไม่นั้น ในฐานะคู่ค้า ผมคิดว่ามันไม่ใช่หน้าที่ของเราที่จะต้องเข้าไปอุ้มเค้า

การจัดหาอากาศยานของทอ.นั้นประเมินจากภัยคุกคามและงบประมาณเป็นหลัก

ถ้า JAS39 E/F ราคาสูงเกินไปจนรับไม่ได้ เราก็หันไปซื้อเครื่องที่ถูกกว่า หรือราคาต่อประสิทธิภาพที่รับได้เช่น F-35 ซึ่งถึงตอนนั้นราคาคงลดลงมาให้เราจับต้องได้

และอีกอย่าง JAS39 E/F กับ YAK-133 IB ,T/F/A-50  ผมมองว่าคนละคลาส คนละกลุ่มเป้าหมายเลยนะครับ จะเอามาเปรียบเทียบตรงๆ คงไม่ถูกเท่าไหร่นัก

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 31/08/2012 10:23:03


ความคิดเห็นที่ 21


FA 50 รุ่น Fighter ราคา 30 M u$ จริงๆครับ เป็นราคาที่ทางกองทัพอากาศเกาหลีจัดหาจำนวน 20 เครื่องราคารวม 600 M U$ เมื่อต้นปี 2012 สเปกก็จัดเต็มเท่าที่จะอนุญาติครับ แต่ก็อย่างที่หลายๆคนคิด T/F/A 50 มันมีจุดกำเหนิดมาจากเครื่องบินฝึก ดูไปก็คลายๆเอา F16 มาลดขนาด ลดเครื่องยนต์ (ใช้ GE404 ใกล้เคียงกับ JAS39 แต่แรงขับตำกว่าของ F16 ที่ใช้ F110 GE100 อยู่พอสมควรครับ)

คู่แข่งทางการตลาดของ FA 50 Fighter ก็คือ F16 upgrade นั้นเองครับ ถ้าประเทศใดที่มี F16 ประจำการอยู่แล้ว ถ้าสามารถนำไป MLU ได้ก็จะได้เครื่องที่ดีกว่าในราคาที่ต่ำกว่า (หรือถ้าสามารถหา F16 มือ2 สภาพดีๆได้เอามา upgrade ก็ยังคุ้มครับ อย่างที่อินโดนิเซียพยายามจะทำ)

สรุปว่า FA50 นั้นด้อยกว่า F16 ไม่เหมาะที่จะมาเป็นเครื่องบินขับไล่หลักครับ โอกาศที่จะขายได้ค่อนข้างยากครับ แต่ถ้าเป็นตัว T 50 ซึ่งเป็นเครื่องฝึกและสามารถโจมตีภาคพื้นดินได้ ราคาย่อมเยาลงมาอีกยังพอที่จะหาตลาดได้บ่างอาศัยชื่อเสียงของ F16 กับ Lockheed Martin ครับ

South Korean government has bought 20 light-FA-50 fighter jets built on the basis of T-50 training. The contract is worth approximately $ 600 million.

FA-50 fighter is equipped with a radar Elta Systems EL/M-2032 and standard tactical link Link 16th Can carry weapons of mass to 4500 kg. They can be managed and unguided missiles and bombs of the corrected trajectory, including the Boeing JDAM and Textron CBU-97 SFW. Reach FA-50 is 1,900 km and the maximum speed MA1.5 All versions of the T-50 are powered by General Electric F404 engines.

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 31/08/2012 10:57:30


ความคิดเห็นที่ 22


ผมถามในฐานะไม่มีความรู้และข้อมูลจริงๆนะครับ ไม่ใช่แกล้งถาม คือเห็นเขียนกันหลายคนหลายครั้ง ว่าถ้าเราร่วมวิจัย ร่วมทุน ร่วมผลิต หรือแม้แค่ร่วมประกอบกริปเปนแล้ว ราคาจะถูกลงเท่าโน้นเท่านี้ ผมสงสัยว่าไทยมีขีดความสามารถอะไรจริงในเรื่องที่กล่าวมาแล้วบ้าง เช่นวิจัย วิจัยอะไร ใครจะทำ มีวิศวกรด้านใดที่พอเทียบเคียงกับเขาได้บ้าง ร่วมทุน จะเอาทุนจากส่วนใหนมา งบประมาณรัฐ เอกชน ฯลฯ  ร่วมผลิต จะไปตั้งโรงงานใหม่ ใช้วัสดุในประเทศ ทำอะไรได้บ้าง ชิ้นส่วนใหนที่พอจะผลิตได้ หรือถ้าร่วมประกอบ ก็คงนำเข้ามาเป็นชิ้นส่วน นำมาประกอบเป็นตัวเครื่องบิน ลดค่าใช้จ่ายได้เท่าไร  คุ้มหรือไม่

คือเราต้องมีอะไรอยู่บ้างก่อนหน้าที่จะทำแบบนี้ เช่นเคยประกอบเครื่องบินขนาดเบาแบบอินโดนีเซีย ที่เริ่มมานานพอสมควรแล้ว หรือเคยผลิตชิ้นส่วนบางชิ้นป้อนโรงงานในต่างประเทศ ผมอาจจะไม่เคยศึกษารายละเอียดลงไปลึก แต่เท่าที่เคยเห็น เคยรู้ เคยอ่าน ไม่เห็นมีวี่แววว่ามีอะไรแบบนี้ในขณะนี้ หรือมีโครงการริเริ่มในลักษณะนี้ที่จะเป็นไปได้ในอนาคตอันใกล้นี้ ไม่เหมือนอุตสาหกรรมต่อเรือ หรืออุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเริ่มกันมานานแล้ว เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับกองทัพ ควรเป็นเรื่องของเอกชนมากกว่า

วานผู้รู้อธิบายเพิ่มเติมด้วยครับ ถ้าไม่มีขีดความสามารถนึ้อยู่จริงในปัจจุบันหรือในเร็ววันนี้ ก็อย่าคิดไปในทิศทางที่เป็นไปไม่ได้เลย แต่ถ้าไม่มีและเห็นว่าควรเริ่มต้นอุตสาหกรรมการบินได้แล้วก็ควรร่วมกันผลักดัน อย่างไรก็ตามอุตสาหกรรมสาขานี้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง คงไม่สำเร็จได้ง่ายๆในเวลาอันสั้น

โดยคุณ sboot เมื่อวันที่ 31/08/2012 12:04:00


ความคิดเห็นที่ 23


     T-50 ราคาขายอยู่ท่ 22 ล้านเหรียญครับ  ประมาณ 650 ล้านบาทต่อเครืื่อง    เครื่องตัวนี้ต้องบอกว่าเอาสเปกเครื่องขับไล่มาย่อส่วนเพื่อเอามาใช้เป็นเครื่องฝึกมากกว่านะครับ      และเพราะ ตอนแรกทางเกาหลีมีทีท่าต้องการให้มันมีระบบต่างๆดีกว่านี้ให้เป็นเครื่องขับไล่ที่ดี   จึงถูกอเมริกันกดดัน   เพราะกลัวตลาด  F-16  เสียหาย      

    และเนื่องจากมันเป็นเครื่องบินฝึกที่ต้องเรียกว่าเอาเครื่องบินขับไล่มาย่อส่วน   หรือก็คือ  พื้นฐานมันเป็นเครื่องขับไล่ครับ   ไม่ใช่เครื่องฝึก     สมาชิกหลายท่านจึงบอกว่าประสิธิภาพมันสูงเกินความจำเป็นจนมาติดเครืื่องขับไล่แล้ว     ถ้าจะเอามาเป็นเครื่องฝึกดูจะเกินตัว   อันนี้ผมเห็นว่าจริง  

   ในขณะที่ Yak-130  ออกแบบเพื่อเป็นเครื่องฝีกโดยตรง   แต่ถ้าจะเอามาแข่งในฐานะเครืองขับไล่เบา   คงต้องดีซายน์กันใหม่ในรุ่น  YAK-133 IB  ครับ    เพราะพื้นฐานมันเป็นเครื่องฝึก    ไม่ใช่เครื่องขับไล่

    และที่เสนอให้ร่วมทุนหรือสร้าง demand ทางการตลาดก็เพื่อว่า    ทางกองทัพและทางรัฐเน้นที่ขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมของประเทศมากกว่าสเปกที่กองทัพต้องการ    ดังนั้นถ้า SAAB  จะเดี้ยง    ในฐานะพ่อค้าก็ต้องบอกได้ว่าไ่ม่มีเวลาไหนที่น่าครอบครองบริษัทที่อุดมไปด้วยเทคโนโลยีชั้นสูงเท่านี้แล้ว      

    และที่  LOCKHEED   ต้องบล็อค  F/A-50  เอาไว้   ก็จนกว่า  F-35   เข้าสู่สายการผลิตแล้วเลิกการผลิตเครื่อง   F-16   แล้ว  LOCKHEED  ไปเน้นที่ F-35 เป็นหลัก  ขณะที่  KAI  เน้นที่  T/F/A-50 เป็นหลัก  นั่นล่ะครับ    T/F/A-50  เวอร์ชั่นเทพก็จะปรากฎ   ซึ่งก็คงอีกไม่เกิน 10 ปีที่จะถึงนี้หรอกครับ   ถึงเวลานั้น  Jas-39 ของ SAAB จะทำอย่างไร    ถือว่าทั้ง  LOCKHEED และ  KAI แบ่งหน้าที่และวางแผนการตลาดไว้ล่วงหน้าที่ดีมากๆ   เช่นเดียวกับคู่แข่งอีกค่ายหนึ่งครับ  

    ตลาดที่ทั้งสองค่ายเล็งเอาไว้มีเครื่องรอปลดและจัดหามากกว่า 3,000  เครื่องครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 12:17:49


ความคิดเห็นที่ 24


ผมว่ากรณีกริปเปนคล้ายๆ ฮ.ซุปเปอร์ลิงคซ์ของ ทร. คือคุณลักษณะเหมาะสมมากกับขนาดของเรือ ฟก.ขนาดเล็กที่เรามี สมรรถนะสูง ติดอาวุธได้หลากหลาย(แต่ต้องจ่ายเพิ่ม) บริษัทผู้ผลิตก็มีชื่อเสียง จริงๆแล้วผมว่าด้วยตัวมันเองดีทุกอย่าง แต่คาดการณ์ผิดคิดว่ามันจะมีอนาคตไกลเหมือนลิงคซ์รุ่นแรกๆที่ใช้กันเยอะในกองทัพของยุโรปแต่ปรากฏว่ามีคนซื้อไม่เท่าไรทั่วโลก

ทำให้ราคาแพง ทั้งตัว ฮ.เอง และอะไหล่ จะติดตั้งอะไรเพิ่มก็แพงมหาศาล จะซื้อเพิ่มก็ไม่กล้าแล้ว ก็เลยมีอยู่แค่ 2 ลำ นี่บริษัทจะไปขายรุ่นใหม่อีกแล้ว จะขายได้หรือ ทำไปทำมา ฮ.ของยูโรคอปเตอร์ จะมีอนาคตไกลกว่า    ฮ.รุ่นธรรมดามีใช้กันทั้งตำรวจ เกษตร และรุ่นใหญ่ๆ ทอ.ก็ตั้งท่าจะซื้ออีก เป็นเรื่องยากเหมือนกันนะครับสำหรับเรา ที่เป็นลูกค้ารายเล็ก ผมว่าก่อนซื้อต้องระวังพอสมควรที่จะซื้อของที่เป็นรุ่นแรกๆ คาดผิดอาจช้ำใจใช้ของแพงไปตลอดอายุการใช้งาน และ สะสมอะไหล่ไว้ไม่ได้มากด้วย เพราะมันแพง

 

โดยคุณ sboot เมื่อวันที่ 31/08/2012 12:34:55


ความคิดเห็นที่ 25


    Jas-39  แต่เดิมออกแบบเพื่อเป็นเครื่องขับไล่โดยตรงแบบ F-16     ไม่ได้เผื่อการออกแบบเอาไว้สำหรับการเป็นเครื่องฝึก  LIFT  และเครื่องโจมตีเบา   ดังนั้นจึงเน้นประสิทธิภาพในฐานะเครื่องขับไล่เต็มที่    แน่นอนว่าประสิทธิภาพย่อมสูงกว่าทั้ง F/A-50  และ  YAK-133 IB   แน่นอน (เฉพาะในห้วง 10 ปีที่จะถึงนี้  แต่ถ้า  F-16 ยุติสายการผลิตเมื่อไร่  F/A-50 รุ่นเทพออกมาแผลงฤทธิ์แน่ๆครับ)    

       แต่เพราะมันเน้นในฐานะเครื่องขับไล่เป็นพิเศษแต่เพียงอย่างเดียว   มันถึงเป็นเครื่องที่อ่อนทางด้านการตลาดไปแทน   เพราะไม่มีตลาดเครื่องแบบอื่นรองรับไงครับ   ผิดกับคู่แข่งที่เผื่อเอาไว้แล้ว

    แล้วจะได้สเกลการผลิตเมื่อไหร่ครับ   ถ้าแบบนี้

ส่วนที่ว่า  Jas-39  และเป้าหมายที่ผู้ทำตลาดของทั้ง YAK-133IB และ F/A-50 ทำตลาด   เป็นตลาดเครื่องบินขับไล่เบา    เป็นตลาดเดียวกับ Jas-39 และชั้นประเภทก็เป็นเครื่องประเภทเดียวกันครับ    แต่ต้องยอมรับครับว่า  Jas-39 มีประสิทธิภาพสูงกว่า   ไปจนกว่า F-16 จะยุติสายการผลิตแล้วรอให้ F/A-50 รุ่นเทพออก     

    ทาง  KAI  วางแผนจะให้มี  F/A-50  รุ่น สเตละ์ด้วยครับในแผนการผลิตในอนาคต    เป็นเครื่องยุคที่ 5 ขับไล่ขนาดเบา      ผมถึงบอกว่า  KAI / LOCKHEED   วางแผนการตลาดมาดีมากๆ    จนผมมองไม่เห็นอนาคตของ  Jass-39 กับ SAAB   จะเอาตัวรอดได้อย่างไร     

    เหมือนเราซื้อรถยนต์ของบริษัทที่ใกล้ล้มไม่เห็นอนาคตเลยไงครับ  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 12:35:31


ความคิดเห็นที่ 26


       อันนี้เป็นการตอบท่าน  Sabot  โดยตรงนะครับ

TAI  ถูกตั้งขึ้นมาด้วยเหตุผลที่รัฐบาลชุด………ต้องการให้ประเทศมีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมอากาศยาน     โดยทางรํฐบาลชุด……..ใช้โมเดลของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่เราประสบความสำเร็จมาเป็นต้นแบบในอุตสาหกรรมนี้  (จริงแล้วก็ใช้โมเดลนี้กับอุตสาหกรรมต่อเรือด้วยแต่….ไม่พูดดีกว่าเพราะการเมืองทั้งดุ้น  ถึงต้องสร้างอุตสาหกรรมถลุงเหล็กที่หัวหอกคือ  SSI หรือสหวิริยาสตีล  ขนาด 35 ล้านตันขึ้นมาด้วย     จะเข้าการเมืองอีกแล้วล่ะ  ไม่พูดดีกว่า)

     โมเดลนี้เราจะไม่เป็นเจ้าของแบรนเนมเอง   แต่จะเป็นผู้รับจ้างผลิต    แต่สามารถพึ่งพาตนเองเองได้    และเล่นบทผู้ส่งออกชิ้นส่วนและเครื่องบินสำเร็จรูปทั้งลำที่สำคัญของโลก     รวมถึงขีดความสามารถในการเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงอากาศยานขนาดยักษ์ใหญ่ติดอันดับโลกด้วย   แบบว่าครบวงจรทั้งผลิตชิ้นส่วน   ทั้งผลิตเครื่องบินสำเร็จทั้งลำ    ผลิตเครื่องยนต์   ทั้งซ่อมบำรุงทุกระดับและทุกประเภท

      มีการตกลงกับทางญี่ปุ่นให้มาเป็นผู้ลงทุนหลักก่อน     เพราะทางญี่ปุ่นได้ถือหุ้นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เกือบทั้งหมดของประเทศไทยเอาไว้อยู่แล้ว     และเนื่องจากเครื่องจักรในการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สามารถปรับกระบวนการผลิตให้สามารถผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้ด้วย     จึงทำให้ประเทศมีความพร้อมสูงในด้านนี้      โปรแกรมออกแบบยังใช้ตัวเดียวกันเลย   ทั้ง UG และ Cartia(สะกดถูกป่าวหวา)         และทาง BOI  ได้ทำการอนุมัติให้บริษัทญี่ปุ่นก่อตั้งโรงงานถลุงอลูมิเนี่ยมขึ้นในประเทศไทยโดยใช้แก๊ซในการถลุง     เพื่อนำมันมาผลิตอลูมิเนี่ยมอัลลอยด์ที่ใช้ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างเป็นหลัก     แต่ก็สามารถปรับกระบวนการผลิตเพื่อทำอลูมิเนี่ยมอัลลอยด์ในการทำชิ้นส่วนอากาศยานได้ไม่ยากเย็นนัก     และทางเราเองก็มีอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยคาร์บอนคุณภาพกำลังการผลิตติดอันดับต้นๆในเอเชีย   ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานจึงมีอยู่แล้วพร้อม   ยกเว้นอุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่ไม่มี  (เพราะล้มโครงการบริษัทซับไมครอนไปก่อน)    ที่ต้องมีทั้งโรงงานถลุงซิลิคอน  โรงงานทำและโด๊ปสารเซมิคอนดักเตอร์   โรงงานทำ Masking ลายวงจรในเซมิคอนดักเตอร์เพื่อผลิตทั้งชิปหน่วยความจำและ CPU      ที่ผมเลือกเรียนวิทยาศาสตร์เอกโซลิตสเตทก็กะว่าบริษัท ซับไมครอนจะได้เกิดและประเทศเราก็จะสามารถเข้าไปแข่งขันในอุคสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ไงครับ    ซวยโคตรบริษัทถูกล้มเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล    จะการเมืองอีกแล้ว……เอ้าต่อ

               บริษัทญี่ปุ่นเป็นจ้าวแรกที่ให้ความสนใจจะเข้าร่วมคือ บริษัทร่วมทุนของ  TOYOTA กับ MITSU   ชื่อ  MITSUBISHI  Reganal jet   สะกดถูกป่าวหวา    และ บริษัทที่สองคือ  Honda jet    แค่ชื่อก็รู้แล้วว่าทำไมเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตเน๊อะ       ซึ่งบริษัททั้งสองผลิตเครื่องบินโดยสารเป็นหลัก     สำหรับ MITSU-TOYOTA  จะเน้นเครื่องโดยสารขนาดใกล้เคียงเครื่อง Airbus A-300 series   และ  Boing 737  เป็นหลัก     กะว่าจะผลิตป้อนตลาดนับเป็นพันๆเครื่องล่ะครับ     เพราะราคาจะถูกกว่าเครื่องอเมริกันและยุโรป  เนื่องจากฐานการผลิตที่ไทยต้นทุนต่ำกว่ามากและสามารถสู้ บราซิล Embraer ได้สบายๆ       ส่วนทาง  Honda  jet  เน้นเครื่องบินส่วนตัวธุรกิจขนาดเล็กหรูเป็นหลัก     เรียกว่าสามารถชน Embraer ได้สบายๆทุกเซกชั่น      แค่ได้สองบริษัทนี้    ประเทศเราก็มีสเกลการผลิตที่เกินพอไปแล้ว    เครื่องบินรบก็ง่ายมากเลยล่ะ     นอกจากนี้รัฐบาลชุด…….ยังไปติดต่อทั้งบริษัทอเมริกาและยุโรปให้มาเปิดสายการผลิตระบบเอวิโอนิคและเครื่องยนต์แบบต่างๆที่นี่ด้วย    เห็นว่าจ้าวแรกจากยุโรปที่สนใจมากจนถึงมากที่สุด คือ โรลส์รอยด์    ส่วนอเมริกันนี่ผมลืมชื่อไปแล้ว     ทำอุปกรณ์ระบบเอวิโอนิคชั้นนำของโลกครับ

      ในส่วนเครื่องบินทหารนั้น    ทางญี่ปุ่นมีข้อตกลงกับเราว่าจะไม่เข้ามายุ่งในเซ็กชั่นเครื่องบินทหารและธุรกิจการรับซ่อมบำรุงเครื่องบิน   ซึ่งทางไทยได้ทำการก่อตั้ง   TAI  สำหรับธุรกิจเครื่องบินทหารทั้งสร้างและซ่อมเครื่องทหาร     ส่วนการซ่อมบำรุงเครื่องพานิชย์นั้นจะให้บริษัทการบินไทยเป็นหัวหอกหลัก     โดยจะก่อตั้งบริษัทลูกของการบินไทยขึ้น และจะเตะโด่งสายการบินต่างๆไปใช้สุวรรณภูมิแทน     แล้วเอาดอนเมืองมาเป็นศูนย์กลางการซ่อมบำรุงที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชียและติดอันดับโลกกะเขาด้วย    มีโรงซ่อมขนาดใหญ่ 7 โรง  และ  สามารถทำการซ่อมบำรุงเครื่อง A-380 ได้ด้วย     มีลูกค้าแสดงความสนใจจำนวนไม่น้อยเมื่อโครงการนี้เริ่มต้น     เพราะเราเป็นศูนย์กลางการเดินอากาศและการสร้างอากาศยานใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเอเชีย      ยังมีโครงการสนามบินในระดับภูมิภาคของหัวเมืองที่เป็นเมืองหลวงของภาคด้วยนะครับ   เช่น  ที่เชียงใหม่    เห็นว่าจะใหญ่โตระดับดอนเมือง   แต่ทันสมัยเทียบเท่าสุวรรณภูมิ      สนามบินอู่ตะเภาจะปรับปรุงใหม่     สนามบินแห่งใหม่ที่หาดใหญ่สงขลา      และสนามบินที่ขอนแก่น       เมื่อรวมสนามบินหลักที่สุวรรณภูมิ ด้วยแล้ว    น่าจะมีเครื่องบินขึ้นลงประเทศเรานับล้านเที่ยวบินต่อปีทีเดียว    ธุรกิจรับซ่อมเครื่องบินรวยเละ    ผลิตชื้นส่วนเครื่องบินรวยเละ    แบ่งๆกันไประหว่างไทย-ญี่ปุ่น

     จากโครงการข้างต้น    ก็มีการวางแผนสิครับสำหรับการผลิตเครื่องบิทหาร   แรกๆว่าจะผลิตโดยขอสิทธิบัตรก่อน   บีบให้ทอ.ต้องใช้เครื่องที่ไม่ตรงสเปกที่ตัวเองต้องการ    และแน่นอน   เพื่อผลในด้านความสามารถทางอุตสาหกรรม   ก็ต้องขยายฝูงบินเพิ่ม  เพื่อหา demand  ทางการตลาดและสเกลการผลิตให้แก่ภาคอุตสาหกรรม  

  SAAB   ถึงอยากแจมกับเราไงครับ     น่ายึดกิจการนะเพราะเทคโนโลยีของ  SAAB เจ๋งทีเดียว

       ด้านบุคลากร  ก็ให้มหาลัยต่างๆที่มีความพร้อมก่อตั้งคณะวิศวกรรมอากาศยานขึ้นมา   หัวหอกก็เกษตรศาสตร์เป็นมหาลัยแรก    แล้วตอนนี้น่าจะมีมหาลัยถึง 5 แห่งแล้วครับที่เปิดหลักสูตรวิศวกรรมอากาศยาน   

    ความทะเยอทะยานนี้มีความเป็นไปได้สูงและได้รับการตอบรับจากพันธมิตรธุรกิจเป็นอย่างดี    มีผู้สนใจการลงทุนจำนวนมาก     แต่ความก้าวหน้านี้ไม่เป็นที่ปลื้มของมหามิตรกับคนไทยอีกซีก……..การเมืองอีกแล้ว      เหมือนกับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมต่อเรือเลย       มันจึงมาได้แค่นี้       จบดีกว่าครับไม่งั้นการเมืองต่อแน่ๆ  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 13:53:51


ความคิดเห็นที่ 27


ถ้าเราสั่งต่อจาก ทอ สวีเดน ราคาต่อหน่วยก็น่าจะลดลงจากที่ ทอ สวิส เขาซื้อครับ ความต้องการอีก JAS39 E/F รวม 12 ลำเพื่อแทน F-5 ฝูงอุบล ก็น่าจะพอ ผมมองว่าควรเน้นที่ระบบอาวุธดีกว่าเน้นปริมาณ ส่วนฝูงอุดรกับเชียงใหม่ใช้ F/A-50 มาแทนฝูงละ 12 ลำ และ ฝูงตาคลีกับโคราชน่าจะเป็น F-35 ฝูงละ 8 ลำ ก็น่าจะพอ

ด้วยเครื่อง 3 แบบที่เน้นระบบอาวุธที่เป็นเชิงรุก ปริมาณเครื่องแค่นี้ผมว่าพอ

สรุป

711 -JAS-39 C/D   :12

211 - JAS-39 E/F   :12

231 - F/A-50         :12

411 - F/A-50         :12

102 - F-35            :10

403 - F35             :10

end

โดยคุณ ajaydf เมื่อวันที่ 31/08/2012 13:58:18


ความคิดเห็นที่ 28


    ต้องขออภัย   พิมพ์ชื่อท่าน Sboot เป็น Sabot เฉยเลย    จอโทษด้วยครับ     แต่ท่านใช้ขนาดตัวอักษรเล็กจังทรมานสายตาคนวัยกลางคนแบบผมเหลือเกิน 555555....

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 13:58:18


ความคิดเห็นที่ 29


ขออนุญาติออกนอกเรื่อง

 

 

เย่ๆ มีคนช่วยหนูทำการบ้านแระ[ได้ข่าวเรียนฟิสิกเหมือนกัน]

ท่าน neosiamese2  ช่วยการบ้านวิชาเวฟผมหน่อย อาจารย์ให้พิสูจน์ 4.10a จาก 4.10 อ่ะครับ

ช่วยชี้แนะที

 

 

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 31/08/2012 14:45:13


ความคิดเห็นที่ 30


F/A-50 รุ่นเทพ ยังไงก็ไม่สามารถแผลงฤทธิได้ครับ เต็มที่ก็ได้แค่แอบใส่ AESA เรดาห์เข้ามา ทั้งนี้เพราะจุดประสงค์ดังเดิมคือทำเป็นเครื่องบินฝึก+โจมตี ดังน้้นจึงไม่ได้ออกแบบตัวเครื่องให้ลดหน้าตัดเรดาห์สักเท่าไหร่ครับ แบบเครื่องบินแทบจะเหมือน F16 ต่างกันตรงท่อรับอากาศ ด้วยแบบของเครื่องบินที่ออกแบบปีกเป็นแบบเก่า ดั้งนั้นหน้าตัดเรดาห์น่าจะน้อยกว่า F16 นิดหน่อยครับ(ด้วยขนาดที่เล็กกว่า) มีหลายท่านจัดเป็นเครื่อง Gen 4

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 31/08/2012 15:15:51


ความคิดเห็นที่ 31


   โห....น้องครับพี่จบมาเป็นสิบๆปีแล้วอ่ะนะ   แล้วก็ไม่ได้ใช้เลย   จะให้มานั่งแก้สมการดิฟเฟอร์เรนเชียลแบบพาร์เที่ยลดิฟใน  Classical wave ก็ไม่ไหวแล้วคืนอาจารย์ไปเกลี้ยง   เอาเป็นว่าแนะนำได้แค่ว่า  ต้องเก่ง พาร์เทียลดิฟ กับ ปัญหาค่าขอบ มากๆมันจะง่ายลงเยอะเลย   แต่ยอมรับว่ายากจริงๆเน๊อะตอนเรียน   จะต้องไปเจอมันอีกใน โมเดิ้นฟิสิกส์   ไปใช้อธิบายพวกเรื่องหลุมศักดิ์ในควอนตัมอีก    วิชานี้ผ่านลำบาก  เล่มสูงๆลำบากแน่ๆครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 15:23:13


ความคิดเห็นที่ 32


    ท่าน Kitty70  ลงเข้าไปดูโรดแม๊ฟการพัฒนาของทาง KAI แล้วหรือยังครับ    ลองเข้าไปดูก่อนนะครับ    เพราะทางนั้นเอาลงเวปของ KAI ให้เห็น่าทางเขามีแผนจะพัฒนารุ่นเสคลธ์หลังปี 2020 เป็นต้นไปด้วย   ก็อีกนาน    หน้าตาจะไม่เหมือน  F/A-50  ที่เราเห็นเลยแม้สักกะต๊ด   แบบเครื่องคนละแบบไปเลย 

    ยังยืนยันครับว่า  F/A-50  มีพื้นฐานการออกแบบที่เครื่องขับไล่เป็นหลักมาก่อน   แต่ให้มันมาเป็นเครื่องฝึกด้วยโดยการลดสเปกลง   เพื่อทำตลาด LIFT   เมื่อก่อนเวปเราเคยโหวตเรื่องเครื่องฝึกที่มาแทน L-39 กันมาก่อน    ผมสนับสนุน  T-50  แบบออกนอกหน้า   แต่สมาชิกส่วนใหญ่เลือก YAK-130/M346  ด้วยเหตุผลคือ 

1  F/A-50  ออกแบบบนพื้นฐานเครื่องขับไล่มากก่อน  ไม่เหมาะสมกับเครื่องฝึก   เพราะประสิทธิภาพสูงเกินไปและสิ้นเปลืองมากกว่า 

2  M-346  สมาชิกเก่าๆ TFC ชอบ M-346  มากกว่า YAK-130  เหตุเพราะเป็นเครื่องบินที่ออกแบบเพื่อเป็นเครื่องบินฝึกมาโดยพื้นฐานครับ    ดังนั้นถ้าเอามาใช้ฝึก  LIFT  มันเหมาะสมกว่า T-50 ด้วยประการทั้งปวง     ส่วน YAK-130  จะเลือกก็ต่อเมื่อเงินสำหรับทอ.ไม่พอ   ถึงจะเลือกใช้แล้วทำการปรับปรุงแบบ L-39 ครับ  

   ที่ผมเชียร์ก็ด้วยเหตุผลเพื่อพลังทางอุตสาหกรรมเป็นเบื้องหลังพื้นฐาน   และเราก็ใช้เครื่องฝั่งตะวันตกเป็นหลักครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 15:34:27


ความคิดเห็นที่ 33


แง๊ โมเดินเจอเทอมหน้า ควอนตัมเจอปี 3 จะรอดมั๊ยเนี่ย

แค่โหมดการสั่นก็ไม่รู้เรื่องละ

โดยคุณ fulcrum37 เมื่อวันที่ 31/08/2012 15:55:19


ความคิดเห็นที่ 34


เข้าไปค้นหาดูแล้วครับ (พอดียังเด็กใหม่สำหรับ board นี้)  คิดว่าหมายถึงเจ้า KAI KF-X ที่เป็นโครงการณ์ร่วมกับ อินโดนีเซีย

ถ้าเป็นเจ้าตัวนี้ ดูแล้วเป็น Gen5 แต่ราคาคงจะไม่ได้ถูกๆแล้วหรือเปล่าครับ เพราะพัฒนาเองตั้งแต่ต้น คลายๆเอา F16 มาขยายแบบใส่ 2 เครื่องยนต์ ใส่แพนหางคู่แนวเฉียง ซึ่งถ้าเป็นเครื่องยนต์คู่ราคาก็น่าจะแพงกว่าพวกเครื่องยนต์เดี่ยว ราคาไม่น่าจะหน๊ F35 แล้วผู่ร่วมพัฒนาเจ้าอื่นก็ไม่เหลือแล้ว มีแค่เกาหลีกับอืนโดนีเซีย จำนวนยอดการผลิตก็ไม่น่าจะสูงก็จะไปติดปัญหาที่ท่าน neosiamese2 ว่าไว้เรื่อง economy of scale หรือเปล่าครับ แล้วยิ่งเป็นบริษัทใหม่ ความไว้เนื้้อเชื่อใจก็คงจะยังน้อย โอกาศที่จะไปขายประเทศอื่น แข่งกับของจีนก็น่าจะยากเข้าไปอีกนะครับ

โดยคุณ kitty70 เมื่อวันที่ 31/08/2012 16:36:55


ความคิดเห็นที่ 35


         ปัญหาเรื่องสเกลและต้นทุนการผลิตกำลังกลายเป็นปัญหาแก่ทุกประเทศครับ   แนวโน้มประเภทลุยสร้างเองเดี่ยวๆนี่น้อยลงไปทุกที   เพราะราคาต้นทุนการวิจัยมันสูงมากและยังต้องมีจำนวนขั้นต่ำที่มากหน่วยเพื่อให้ราคาถูกลง   ถ้า SAAB  จะอยู่ให้รอดต้องมีพันธมิตรครับ      กรณียูเครนกับเรา    ถือว่าเป็นดีลที่ดีต่อทั้งสองฝ่ายด้วยกันทั้งคู่    ขอขอบคุณทฤษฎีของจอห์นแน๊ตเรื่องการรวมกลุ่มกันทางเศรษฐกิจครับ    ขัดแย้งกับทฤษฎีพวกกลุ่มคลาสสิกได้ดี  เหมาะกับ พศ.นี้จริงๆ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 31/08/2012 22:04:36


ความคิดเห็นที่ 36


ผมนึกถึง G222 ขึ้นมาตะหงิดๆ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 01/09/2012 15:51:30


ความคิดเห็นที่ 37


   คงไม่ถึงขนาด G-222 หรอกครับ    เพราะทอ.สวีเดนต้องปลด Jas-39 C/D เร็วขึ้นเพื่อเปิดทางให้ประจำการ E/F  ดังนั้นเครื่องที่เหลือในรุ่น C/D bock ต่างๆก็ยังมีอายุการใช้งานเหลือเฟือพอที่เราจะซื้อมาเป็นอะไหล่    แต่ถ้าจะซื้อฝูงถัดๆไปแทน ฝูง 211 คงต้องมือสองแล้วอับเกรดเอามากกว่า   และเวลาซื้อถ้าต้องการ 18 เครื่อง   ต้องซื้อเผื่อไปเลย 30 เครื่อง(อับเกรด 18 อีก 12 เอาไว้เป็นอะไหล่ซ่อมกินตัว)    อะไรทำนองนั้นครับ     และฝูง 701 เองก็ยังสามารถ MLU ได้ในอนาคต   แต่มันจะไม่ค่อยเกิดประโยชน์ในเชิงอุตสาหกรรมอากาศยานของเรานัก

    ถ้าเราจับมือกับ SAAB  แล้วคิดว่า Jas-39 ดูจะสู้ทางการตลาดกับ  T/F/A-50   Yak-130/133 ไม่ไหว   ก็อาจจะสร้างเครื่องใหม่ที่อยู่ในขนาดเดียวกันและสามารถนำมาใช้เป็นได้ทั้งเครื่องขับไล่เบา   เครื่องฝึก LIFT เครื่องโจมตีเบา  ก็ได้    ใช้เราเป็นฐานการผลิต   ต้นทุนน่าจะต่ำกว่าเกาหลีพอควร  ยิง่ถ้าบ่อน้ำมันเจ้าปัญหากับเขมรตกลงกันได้   ต้นทุนการผลิตยิ่งต่ำ  แถมรวยพอที่จะจัดหามากๆได้ครับ  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 01/09/2012 22:31:44


ความคิดเห็นที่ 38


    อันนี้ขุดมาจากวิกิพีเดีย   แต่ตอนแรกได้จากหลายเวปรวมกัน   เรื่อง  F/A-50  เวอร์ชั่นเทพครับ

The T-50 is the proposed base for the more advanced F-50 fighter with strengthened wings, AESA radar, more internal fuel, enhanced electronic warfare capability, and a more powerful engine.[13] The proposal is designated as T-50 Phase 3 program by KAI.[33] Wing strengthening is required to support three underwing weapons pylons, as opposed to two underwing pylons on the TA-50 or FA-50.[34] The AESA radar was expected to be RACR, which has 90% commonality with the AESA radar of the Super Hornet, or SABR, both of which are competing for KF-16s AESA radar upgrade program.[35][36] Samsung Thales AESA radar is also a possible option.[32] The aircraft was altered to a single-seat configuration to allow more space for internal fuel and electronic warfare equipment.[37][38] The engine could be either EJ200 or F414, upgraded to 20,000 lb or 22,000 lb thrust, which is about 12-25% higher than the F404s thrust.[12][39] The engines are already being offered for the baseline T-50 for future customers. A similar Korean-led international fighter program exists named the KAI KF-X.

    

    จะเป็นเรด้าร์ที่ร่วมพัฒนากับพันธมิตรเขาเกาหลีโดยตรงอีกเจ้าหนึ่ง คือ Thales ครับ   อับกำลังเครื่องเป็นขนาด 9-10 ตัน   และวันข้างหน้าคงมีระบบต่างๆเช่นดาต้าร์ลิ้งรุ่นใหม่ๆ IFF รุ่นใหม่ ESM  ECM ใหม่ๆ   แบบนี้  F-16 bolck 50/52 ขายไม่ออกแน่   เลยโดนเบรคจาก  Lockheed  ซะหัวทิ่มครับ   คงต้องรอให้  F-16 ยุติสายการผลิตไปก่อนถึงจะลุยได้    สเปกขนาดนี้  Jas-39 C/D  ไม่น่ารอด

    จากข้อความของวิกิพีเดีย  จะเห็นว่าจุดประสงค์หลักของการออกแบบนั้นเน้นไปทางเครื่องขับไล่มากกว่าครับ     T-50 จะเป็น Base หรือแค่โครงร่างพื้นฐานให้เครื่องขับไล่เบาเป็นหลักครับ

   สุดท้าย   แต่เดิมในเวปของ KAI  ทีเข้าไปอ่าน   จะมีแผนพัฒนารุ่นสเตลธ์นั้นจะเป็นเครื่องที่เล็กกว่า  KF-X  จะเป็นเครื่องยนต์เดียวน้ำหนักน่าจะราวๆ 7-8 ตันครับ    หน้าตาจะไม่เหมือน  KF-X  จะออกแนวๆ F-22 มากกว่า     แต่ตอนนี้ไม่เห็นแล้ว    แสดงว่าความต้องการของทอ.เกาหลีดูเหมือนจะให้มันมารุ่นเดียวกับ  F-35 มากกว่า   งงแฮะ   หรือว่ามีหมั่นไส้กัน ตั้งแต่ไม่ยอมขาย  SM-3 ABM ให้  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 01/09/2012 23:43:19


ความคิดเห็นที่ 39


ถ้าอ่านแค่เนื้อจะ จะเข้าใจว่าเครื่องบินที่เราซื้อมาแย่มากๆ อนาคตหาอะไหล่ไม่ได้แน่นอน  แต่ในความจริงรุ่นที่เราซื้อมามีคนใช้หลายประเทศในปริมาณที่แม้ไม่มากก็ไม่น้อย

 

ส่วนรุ่นใม่ของแจ๊ส ราคาแพงขายสู้ T50ไม่ได้แน่นอน เอามาเทียบกับเครื่องบินฝึกเนี่ยนะ

 

พูดไปพูดมาก็เลยเลี่ยงไปหา F50 เครื่องบินที่ยังไม่มีตัวตนจริงๆ อนาคตจะเป็นเหมือน F-16/79  F-20  F-16 XL หรือเปล่าก็ยังไม่มีใครรู้

 

แล้วราคาที่เกาหลีซื้อกับราคาที่เราซื้อจะเป็นราคาเดียวกันได้ไง พูดไปพูดมาก็เลยกลายเป็นเราร่วมทุนกับเกาหลีผลิตเครื่องบินลำนี้ ไปถามเค้าหน่อยไหม ว่าเค้าอยากให้เราร่วมทุนด้วยหรือเปล่า

 

พูดไปพูดมากอ้างไปถึง Lockheed ว่าจะให้ให้ F-50 ขายดีแน่นอน ยังจำเรื่องที่เค้าขายจรวดให้เราแต่เก็บไว้ที่สิงค์โปร์ เค้าไม่ขาย F-16 ให้เรา หรือล่าสุดเค้าไม่ขายอุปกรณ์บางชิ้นให้เครื่ิองบินเราไม่ได้หรือ

 

เกาหลีผลิตรถทั้งลำได้ แต่ผลิตเครื่องบินทั้งลำไม่ได้ คำพูดคุรเองก็บอกอยู่ คิดสิครับว่าทำไมคนไทยทั้งประเทศไม่มีใครคัดค้านเรื่องแจ้ส เพราะเราไม่อยากถูกรังแกแบบนี้เรื่อยไปตลอดชีวิต

 

 

คงจะยกเว้นบางคนที่บ้าสงคราม และแพ้ไม่รู้จักแพ้หละครับ SU-30จบไปนานแล้ว กระทู้นี้เป็นเรื่องสวิสซื้อเครื่องบิน แต่กับเขียนข้อมูลอัดเค้าซะเต็มที่ ไปตั้งกระทู้ใหม่ดีกว่าไหมครับ  แม้คุณจะอยู่เวปนี้มานานแต่ไม่ควรทำแบบนี้นะ เสียมรรยาทเป็นอย่างมาก ผมว่าพอเถอะนะครับ  เครพคนตั้งกระทู้หน่อย คนที่เข้ามาอยากอ่านข่าวแจ๊สไม่ใช่F-50 โคตรเครื่องบินแห่งโลก

 

ส่วนตัวผมกับข่าวนี้  เป็นก้าวแรกที่ทำให้ JAS-39 E/F เกิดขึ้น"จริง"บนโลกใบนี้ ต่อไปเค้าจะขายได้อีกหรือไม่ก็เรื่องของเค้าหละนะ แต่สวีเดนคงคิดเรื่องยืนได้ด้วยขาของตัวเองมากกว่าเรื่องการซื้อขายอาวุธแบบพ่อค้าบ้าเลือดนะ ไม่อย่างนั้นเค้าจะผลิตเครื่องบินเองทำสวรรค์อะไร

 

เค้าคิดไม่เหมือนเราคิดหรอก เค้ารู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ ส่วนเราที่ไม่เคยผลิตเครื่องรบได้เองเลย คิดเลยเถิดไปขนาดตั้งสายการผลิตแข่งกับทั่วโลกโน่น TAI จะเอาเงินจากไหนมาลง แล้วรัฐบาลไหนจะอนุมัติเงินก้อนมหาศาลนี้ให้  ไม่มีทางเป็นไปได้ในอีก20ปีนี้หรอก ประเทศเราไม่มีเงินให้เอาไปถลุงแบบนั้น

 

ส่วนสวีเดน โมเดลนี้ขายได้อีกเค้าก็ดีใจ แต่คงไม่มีการพัฒนาต่ออีกแล้วใช้ไปได้อีก20ปี เอาเงินไปทุ่มกับเครื่องบินลำใหม่ที่เป็นเวอร์ชั่น5เต็มตัวดีกว่า  ประเทศเราก็พอจะเก็บเกี่ยวได้จากการขอซื้อ JAS-39 C/D มือสองสภาพสวยๆอีกซัก1ฝุงในอีก5-10ปีข้างหน้า ได้มา2ฝุง24-30ลำผมก็ดีใจแล้ว

 

 

 

โดยคุณ superboy เมื่อวันที่ 02/09/2012 09:17:30


ความคิดเห็นที่ 40


ดูเจ้า Mitsubishi F-2  ราคาใน wiki 130 million

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 02/09/2012 11:58:48


ความคิดเห็นที่ 41


ดูเจ้า Mitsubishi F-2  ราคาใน wiki  ประมาณ 130 million usd  ผลิดออกมา ประมาณ 100 ลำเอง เห็นไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่ บ้างก็ว่าคุณภาพตำ่กว่า f16 b50/52 เสียอีก แล้วทำไมญี่ปุนไม่ซื้อ f16 มาใช่  แล้วน้อง jas39 ยอดผลิด ประมาณ 200 ก่าว อะไหล่ยังมีอีกยาวตราบเท่าที่สวีเดนยังใช้อยู่

เรื่องอะไหล่นึกถึง f14 อิหร่าน

หลายคนมองว่าตลาดเครื่องบินขับไล่เบา มีแต่ F/A 50   อย่าลืมม้ามืดอีกตัว  JF-17 ที่ผลิตออกมาเพื่อทดแทนตลาด Mig 21, J7 , f5 ,Mirage  อนาคตสดใส่กว่า กว่า F/A50 แน่ๆ  ปากี/จีน มีให้เลือกระหว่าง radar จะใช้ระบบของยุโรป หรือ จีน  เครื่องยนต์รัสเชีย ,จีน หรือ ฝรั่งเศษ  ระบบอาวุธ ใช้ได้หลากหลาย ฝรั่งเศษ จีน รัสเชีย อเมริกา บลาซิล ปฏิบัติการโจมตีทางทะเลได้อีก

 

 

ยินดีกับสวิสเซอร์แลนด์ที่มีเครื่องบินรบใหม่ jas39 E/F ชาติแรก ( ไม่นับสวีเดน ) 

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 02/09/2012 12:45:12


ความคิดเห็นที่ 42


ใช่ครับ เวลาเกิดอะไรกับมันเราก็สู้มันไม่ได้ เพราะมัน รู้จุดอ่อนเอฟ16 อยู่ตรงไหน ปืนที่มันผลิตมามันก็ไม่ฟลูให้เราหรอก มันก้ดรอปไว้นิดๆ สู้เราใช้ของเราเอง ดี-เสียยังไงมันก็ไม่รู้ พึ่งพาตนเองดีสุดครับ ผมว่าหลักการเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะใช้ได้นะครับ

โดยคุณ mongkon789 เมื่อวันที่ 02/09/2012 18:31:03


ความคิดเห็นที่ 43


ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เขาเลือก jas39 เราน่าจะอุ่นใจนะครับว่าเราไม่ได้เลือกแบบเครื่องบินที่กำลังจะหมดอนาคต ผมมองว่าไอ้เจ้า jas39 เนี่ยมันทำให้ประเทศเรามีความสมดุลทั้งในด้านการรบ และในด้านการเมืองด้วยซ้ำ

 ส่วนในแง่ของการร่วมลงทุนกับทางบริษัท saab นั้น ผมอยากให้เกิดขึ้นจริงเหมือนกัน เพราะประเทศเรานั้นมีความพร้อมในเชิงอุตสาหกรรมหากแต่ขาดต้นทุนในด้านเทคโนโลยี ซึ่งผมก็มองว่าเทคโนโลยีของทางสวีเดนนั้นก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าค่ายอื่นๆสักเท่าไหร่ (ยกเว้นอเมริกาที่เขาไม่ปล่อยให้เราแน่ๆ) แต่ก็ต้องยอมรับว่าเราก็ต้องแบกความเสี่ยงในเรื่องของสเกลการผลิตและคู่แข่งจากหลายๆประเทศอย่างที่หลายๆท่านกล่าวเอาไว้ ตรงนี้ก็เป็นความท้าทายของเรานั่นแหละครับว่าเราจะช่วยกันผลักดันไปได้มากแค่ไหน 

เรื่องนี้เป็นไปได้ครับ หากแต่เราลองมาคิดกันเล่นๆว่าเราคนไทยที่ขับรถยุโรปอยู่จะหันมาขับรถยี่ห้อ saab กันไหม 

โดยคุณ Fsas เมื่อวันที่ 02/09/2012 18:39:22


ความคิดเห็นที่ 44


     อ้าวๆๆๆ......คุณ Superboy   ผมว่าคุณต่างหากที่ไร้มารยาทนะ  ผมไม่ได้ด่าใครในกระทู้    คุณมาเล่นด่าผมก่อนแบบนี้  นักเลงจังนะครับ   แต่นักเลงไม่ได้มีคนเดียวนะคุณ   ผมก็แค่เอาข้อมูลที่สะสมมาแสดงความเห็นเท่านั้น    และผมก็ไม่ได้บ้าสงครามอะไร   แค่เห็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับประเทศก็เสนอความคิดเห็น    เงินที่รัฐบาลจ่ายไปก็ของทุกๆคน   ไม่ใช่ซื้อตะพึดตะพือยันเต    ทางไหนที่ให้ผลประโยชน์แก่ประเทศมากที่สุดผมก็เสนอทางนั้น   รอบบ้านเขาก้าวหน้าไปขนาดไหนแล้ว  ทั้งมาเลย์ทั้ง อินโด  ทั้งสิงคโปร์   พม่าเองก็ดิ้นรนอยู่สุดๆ    จะงอมืองอตีนอยู่อีกหรือ  

    ให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ดีกว่าไหม........  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 02/09/2012 23:59:03


ความคิดเห็นที่ 45


    และผมก็ไม่เคยว่าเครื่อง Jas-39 ไม่ดี  มีแต่บอกว่าดีกว่า ทั้ง F/A-50 และ Yak-133 IB   แต่บอกว่าการตลาดของ  SAAB  นั้นไม่ดี   ทำให้ลูกค้าที่ซื้อไปจะทำการขยายฝูงบินหรือซื้อทดแทนหรือจัดหารุ่นใหม่ลำบากมากๆ   เพราะควบคุมต้นทุนและราคาขายไม่ได้     และผมก็ไม่คิดจะดูถูกคนไทยด้วยกันเองและประเทศไทยของตัวเองว่าไร้ปัญญาความสามารถถึงขนาดที่คุณกำลังดูถูกอยู่เลย    อย่าบอกว่ารักประเทศเลย  แม้แต่ประเทศตัวเองคนไทยด้วยกันเองยังกล้าดูถูก 

    เครื่อง  F/A-50  มันก็มีจริงแล้วนี่ครับ   รูปแรกสุดน่ะ คือ F/A-50   ทดลองการบินครั้งแรกมื่อตอนต้นปีนี้เอง  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 03/09/2012 00:09:24


ความคิดเห็นที่ 46


อยากรู้ว่าถ้าร่วมลงทุนเราได้รับองค์ ความรู้ทั้งหมดมั้ย ถ้าหมด ก็ร่วมเถอะคับ  โอกาศมันก็ดีอยู่ เครื่องก็ ไม่ได้ขี่เหร่ อะไร อย่าไปมองว่าเราไปอุ้มเค้าอย่างเดียวเลย มองว่าเราได้อะไรจะดีกว่า

โดยคุณ GM เมื่อวันที่ 03/09/2012 04:22:46


ความคิดเห็นที่ 47


ใจเย็นๆครับพี่ neosiamese2 ค่อยๆคุยกันครับพี่ ผมสนับสนุนพี่ครับ แต่ก็ไม่ได้ว่าคุณ Superboy ไม่ดี มันมีเหตุผลต่างกันไปอาจจะเข้าใจคาดเคลื่อนกันก็ได้ครับ เราครอบครัวเดียวกันครับ ใจเย็นๆ ส่วนตัวเห็นว่าเราซื้อเครื่อง Gripen ดีแล้วเพราะมันตอบโจทย์เราได้ทุกอย่าง ในเรื่องอะหลั่ยของเครื่องรุ่น C/D ผมคิดว่าไม่น่าห่วงครับเพราะมีหลายประเทศจัดหาไว้ใช้งาน รวมทั้งในสวีเด็นก็หลายเครื่อง และถ้าจำไม่ผิดเราเข้าร่วมกลุ่มผู้ใช้เครื่อง กรีเป้น ด้วยนี่ครับซึ่งกลุ่้มผู้ใช้นี้ จะ่ช่วยเหลือแลกเปลี่ยนกันทั้งด้านความรู้ อะหลั่ย ของเครื่อง Gripen ดังนั้นส่วนตัวผมคิดว่าคงไม่มีปัญหาเรื่องอะหลั่ยหรอกครับ ส่วนอนาคตของเจ้า E/F ส่วนตัวผมคิดว่ามันยังเป็นของใหม่ ในเมื่อมีสวิสฯ เจิมซื้อมาัใช้งานแล้ว ความน่าเชื่อถือก็คงจะสูงขึ้นเพราะมีต่างประเทศ จัดซื้อไปใช้งานแล้วและยังมีสวีเด็นอีกที่จะจัดหาเข้าประจำการ ซึ่งคิดว่าแค่โควต้าของสวีเด็น+ของสวิสแลนด์รวมกันแล้วน่าจะทำให้ราคาเครื่องหรือจุดคุ้มทุนน่าจะลดลงมามาก เรายังไม่รู้ว่าสวีเด็นมีความต้องการจัดหากี่เครื่อง ถ้าระดับร้อยกว่าเครื่องก็คงไม่ต้่องห่วงเรื่องอะหลั่ยหรอกครับ ยังไงสวีเด็นก็คงไม่ปล่อยให้เครื่องบินตัวเองไม่มีอะหลั่ยซ่อมหรอกครับ และอนาคตอาจจะมีประเทศอื่นจัดหาเครื่องรุ่น E/F ไปใช้งานเพิ่มขึ้นมันยังเป็นอนาคตครับ อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้ครับ อีกอย่างเราก็ยังไม่รู้เลยว่าเราจะได้จัดหา E/F หรือเปล่าถึงเวลานั้นอาจจะมีหลายประเทศจัดหาเข้าประจำการแล้วก็ได้ครับ ต้องเข้าใจว่า ประเทศสวีเด็น ไม่ได้เป็นมหาอำนาจอย่างเมกา รัสเซ๊ย จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ จึงไม่มีอำนาจกำลังภายในไปกดดันให้ประเทศโน้นประเทศนี้ซื้อเครื่องบินของตนเหมือนประเทศที่กล่าวมาข้างต้น แต่คิดว่าของดี ยังไงก็ต้องมีคนซื้อไปใช้เพิ่มเติมแน่ๆครับ

โดยคุณ champ thai army เมื่อวันที่ 03/09/2012 10:25:08


ความคิดเห็นที่ 48


ขอออกความเห็นในเรื่องเครื่องบินเก่ามากๆไม่มีอะไหล่ครับ  ผมคิดว่าต่อให้ประจำการสัก 50 ปี อะไหล่ก็ยังหาได้ครับ   ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าในฐานะที่ผมอยู่ในภาคอุตสาหกรรม เครื่องจักรบางตัวอายุร่วม 30-40 ปี ( Turbine ) อะไหล่ก็ยังหาได้  ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิคก็สั่งทำได้  ประเด็นอยู่ที่ยิ่งเก่า Stock อะไหล่จะหายาก ผู้ผลิตจะ Make to oder คือ ทำเมื่อมีคำสั่งซื้อ และจะต้องสั่งในปริมาณพอเหมาะก็จะผลิตให้  ราคาก็จะแพงขึ้นเนื่องจากปริมาณการผลิตน้อย  และใช้เวลาในการคอยอะไหล่นานอาจจะหลายเดือน ดังนั้นถ้าเป็นพวกเครื่องบินก็ต้องมีการซ่อมกินตัวไปก่อนรออะไหล่  ( ถ้าร่วมขั้นตอนการประกวดราคา จัดซื้อจัดจ้าง ตรวจรับ อีกร่วมๆก็ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน กว่าจะได้ของมาใช้ครับ)  ส่วนเรื่องประสิทธิภาพ คุณภาพ ก็เหมือนใหม่ครับ

โดยคุณ rayong เมื่อวันที่ 03/09/2012 18:14:16


ความคิดเห็นที่ 49


ถึง คุณ : superboy

แฟน คลับน้องกริฟตัวจริงเค้าโกรธแล้วเห็นไหม ไปแตะขวัญใจเค้า จริงๆจะมีคนคิดว่า น้องกริฟของเรามัน กาก เรื้อน สถุน อะไรยังไงมันก็ปกตินี้ครับ ส่วนจะเอาเหตุผลอะไรมาประกอบก็ว่ากันไป คนอ่านเค้าก็คิดกันเองได้ครับ(จะให้ทุกคนคิดเหมือนคุณมันไม่ไปไม่ได้หลอก ครับ แล้วเรื่องน้องกริปมีคนตั้งเยอะที่ไม่เห็นด้วยอะนะ) หรือจะว่า ทอ.เอาอะไรไปคิดตอนเลือกซื้อน้องกริฟ(ไมไม่ซื้อซูวะ) จะย้อนอดีต หรือมองอนาคต ก็ปกติอีกนั้นแหละ เพราะคนที่มีหน้าที่ตัดสินใจคัดเลือกตอนมีการประกวดราคาก็ คือ ทอ. มีหน้าที่มองให้รอบด้านครับอยู่แล้ว การผิดพลาดในการตัดสินใจก็ต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบครับ(ผิดพลาดแล้วรู้ แล้วแก้ไข ยังดีกว่าผิดแล้วแกล้งไม่รู้ไม่แก้ไข แบบ...)ส่วนจะแก้ไขอะไรยังไงก็แล้วแต่วิสัยทัศน์ของแต่ละคน(คุณก็อย่าทำตัว โลกแคบจิครับ อ่านให้หมดแล้วคิดตาม ไม่โดนหรือไม่เชื่อก็ไม่ต้องไปคล้อยตามจิครับ ถ้าวันๆคุณไม่รับความคิดแนวอื่นๆที่ไม่ใช้ของคุณเลย จะไม่กลายเป็นกบในกะลาหรือครับ) อีกอันคือเรื่องการเปรียบเทียบกับ T 50 ,F/A 50 ,YAK 130 ก็ไม่เห็นจะแปลกอีกเพราะมันปฎิบัติงานในลักษณะเดียวกันได้นี้ครับ

มา ว่าด้วย เครื่องบินเทวดา เอ่ยไม่ใช่ น้องกริฟของเราต่อ การขายรุ่น E/F ได้ ก็เป็นผลดีต่อเราครับ เพราะโอกาศที่โครงการมันจะล่มก็น้อยลงครับ ส่งผลให้สายการผลิตชิ้นส่วนยังคงขนาดอยู่ด้วย ส่วนรุ่น E/F แพงถึงแพงมาก ถ้ามันแพงมากก็ไม่ต้องไปซื้อมันจิครับ เครื่องบินมีตั้งเยอะตั้งแยะรุ่น เอาแบบไหนก็ว่ากันไป และการซื้อเครื่องรุ่นยอดฮิต แบบ F-16 หรือ SU-30 ในด้านซ่อมบำรุงมันก็ต้องดีกว่าซื้อเครื่องรุ่นลิมิเต็ดอิดิชั่นแบบ JF-17 จริงไมอะครับ ส่วนเรื่องความสามารถในการรบท่านอื่นๆก็วิเคราะห์กันหมดแล้ว อีกอันคือเรื่องมาเปิดโรงงานผลิตเครื่องบินรบในไทยหรือร่วมทุน ส่วนตัวคิดว่ายากถึงยากมากอะครับ หรือต่อให้มีโอกาศจะเกิดจริงๆเราก็เป็นได้แค่แหล่งแรงงานเท่านั้น ทุน หรือ ขาดทุน อาจจะร่วมได้ 50 50 แต่กำไรหรือการตัดสินใจ ไม่ถึงแน่นอน ไม่คิดกันเหรอครับว่ามันจะแปลกแค่ไหนที่ประเทศหนึ่งจะผลิตเครื่องบินรบเอง ได้เลย โดยอาวุธพื้นฐานยังผลิตเองไม่ได้เลยอะครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 03/09/2012 20:51:07


ความคิดเห็นที่ 50


      นานแล้วครับที่อ่านบอร์ดนี้มา และก็นานหลายปีแล้วที่อ่านอย่างเดียวไม่ได้สมัครสมาชิกเข้ามาโพส และนี่เป็นครั้งแรกที่สมัครสมาชิก

เพื่อขอแสดงความคิดเห็น และส่วนตัวคิดว่าการที่สมาชิกส่วนใหญ่เข้ามาโพสแสดงความคิดเห็นและโต้แย้งกันด้วยข้อมูลและเหตุผลที่หลาก

หลาย ที่มีที่มาที่ไปอย่างน่าเชื่อถือ มากกว่าคำว่าผมได้ยินมาว่า... ไม่มีกระแนะกระแหนกันอย่างที่พบเห็นได้ทั่วไปในบอร์ดอื่น นั่นคือมนต์เสน่ห์

ของบอร์ดนี้ครับ และผมไม่อยากให้มันหายไป และขอเป็นกำลังใจให้กับท่านสมาชิกที่เข้ามาแสดงข้อมูลดีๆ ให้เราได้รับรู้กันอย่าเพิ่งรำคาญและ

หนีหายไปซะก่อน "ไม่มีมารบารมีไม่เกิดครับ (จำเค้ามา55)"

โดยคุณ roboto เมื่อวันที่ 03/09/2012 22:01:12


ความคิดเห็นที่ 51


เข้ามาบอกว่า กริฟเฟนทางสวีเดนให้การสนับสนุนถึงปี 2040 ดังนั้น เรื่องอะไหล่คงไม่ใช่ปัญหา

และล่าสุดทาง SAAB เองก็กำลังคุยกับทางบราซิลอยู่ หากสำเร็จ เราอาจจะได้เห็น กริฟเฟน เวอร์ชั่นบราซิลก็ได้

 

โดยคุณ evill เมื่อวันที่ 04/09/2012 00:42:23


ความคิดเห็นที่ 52


   ดีลของบราซิลนี่ผมไม่แน่ใจว่า  SAAB  จะชนะได้ครับ  ดีลนี้ทดแทนเครื่อง  A-4  ที่ประจำบนเรือบรรทุกบ.ของบราซิล   และทาง  SAAB  ก็ไ่ได้มีเครื่องรุ่นลงบนเรือบรรทุกบ.   แม้ว่ามีแผนพัฒนา Sea gripen  แต่ท่าทางงบลงทุนพัฒนานั้นไม่พอ   เลยเสนอหาผู้ร่วมทุนและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้   เผื่อทางบราซิลสนใจ   แต่คู่แข่งก็น่ากลัวทีเดียว คือ Rafale  เครื่องจากฝรั่งเศส  และบราซิลก็มีความสัมพันธ์อันดีกับฝรั่งเศสเป็นอย่างมากเลยครับ    เรือบรรทุกบ.ที่จัดหามาก็มาจากฝรั่งเศส   และ  Rafale M  ตอนทดสอบขึ้นลงเรือบรรทุกบ.  ก็ทดสอบที่เรือลำนี้แหล่ะครับ(สมัยยังไม่ขายให้บราซิล)    และไม่ต้องมานั่งพัฒนาใหม่เลย   เครื่องของฝรั่งเศสเป็นเครื่องขนาดกลางระยะปฎิบัติการไกลกว่าและสามารถบรรทุกน้ำหนักได้มากกว่าด้วย    แถมโครงการเรือบรรทุกบ.ชั้นใหม่ของบราซิลที่ยืนพื้นบนเรือ  SAC-220 นั้นจะขยายแบบให้เป็นเรือบรรทุกบ.ขนาดกลางที่เหมาะกับเครื่องบินขนาดกลางและใหญ่ครับ



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/09/2012 12:00:24


ความคิดเห็นที่ 53


     ส่วนที่ว่า  TAI  มาผลิตเครื่องบินเองแล้วจะเจ้งแบบ  IPTN  ก็คงไม่เจ้งหรอกครับ   เวลาทำการผลิตเขาจะทำอย่างนี้ครับ 

    ถ้าญี่ปุ่นตกลงทำการลงทุนผลิตเครื่องบินในไทย   โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในเครือของเขาทั้งหมดต้องปรับวิธีการผลิตให้รองรับด้วย   ญี่ปุ่นทำการผลิตเครื่องบินของตนขายส่งตลาดโลกไป   เราไม่เกี่ยวแค่ทำหน้าที่ฐานการผลิต    จะไปเกี่ยวกับ  TAI  ก็ตอนที่ว่าเมื่อเราเลือกแบบเครื่องบินรบที่จะทำการผลิตระยะยาวแน่นอนแล้ว  ซึ่งอาจจะเป็นการร่วมทุนกับ  SAAB  KAI   YAKOLEV  SUKOI  หรือจ้าวใดก็แล้วแต่   ทาง  TAI  ก็ส่งแบบชิ้นส่วนแต่ละชิ้นไปให้บริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน(ยานยนต์)ของญี่ปุ่นที่ทำการผลิตอยู่ในไทย   ให้เขาทำแม่พิมพ์ต่างๆขึ้น  และต้องมีสเกลเพียงพอเพื่อให้ราคาถูกลง   ทางบริษัทญี่ปุ่น(ในไทยก็ผลิตชิ้นส่วนต่างๆให้)     ส่วนทาง  TAI  ก็แค่เตรียมสายการประกอบเครื่องบินรบรอเอาไว้   จะลงทุนแค่เครื่องจักรการประกอบเครื่องบินเท่านั้น      ส่วนเครื่องจักรการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบินนั้น TAI  ไม่ต้องลงทุนใดๆเลยทั้งสิ้น   ให้ทางญี่ปุ่นจัดการไปเอง  ดีกับบริษัทญี่ปุ่นที่อยู่ในไทย   เพราะมีลูกค้าเป็นกองทัพไทยและสวีเดน(หรือชาติไหนๆที่ร่วมทุนกับเรา)   ญี่ปุ่นก็จะยิ่งได้สเกลผลิต   ทำให้ต้นทุน FiX ของเขาลดลงตามหน่วยที่ผลิต

   TAI  ไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรมากมาย  เพราะแค่ประกอบเครื่อง   ผู้ร่วมทุนก็ไม่ต้องเสี่ยงอะไรเลย   แค่ทำวิจัยและพัฒนาเท่านั้น   ในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ  ทางไทยรับผิดชอบหมด    

   ในส่วนของการผลิตชิ้นส่วนเครื่องบิน    บริษัทญี่ปุ่นในไทยรับผิดชอบไป 

  TAI   ทำหน้าที่ประกอบเครื่องให้เสร็จสมบูรณ์

 ทั้งสามฝ่ายในดีลนี้ไม่มีใครเสี่ยงเลยครับ   กิจการแทบไม่มีโอกาศล้มละลาย    เพราะขั้นตอนวิจัยและพัฒนา  ผลิตชิ้นส่วน  และประกอบ   ก็แยกกันไปตามความเหมาะสมที่ตัวเองคุ้มทุนได้ง่ายๆครับ 

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/09/2012 12:54:20


ความคิดเห็นที่ 54


    ตัวกุญแจสำคัญที่สุดสำหรับเราในดีลนี้คือ   การลงทุนของญี่ปุ่นครับ   เพราะญี่ปุ่นจะแบกรับต้นทุนเรื่องการลงทุนเครื่องจักรและโรงงานทั้งหมดเองตั้งแต่แรก    ความเสี่ยงของเราจึงไม่มีไงล่ะครับ   ส่วนทางญี่ปุ่น  โรงงานก็พร้อมอยู่แล้ว   เครื่องจักรก็พร้อม  แรงงานก็พร้อม   แค่รอไฟเขียวเท่านั้น 

    เขารอการแย่งอำนาจในประเทศของเราให้จบเท่านั้น

เราแค่มีหน้าที่ประกอบเครื่องบินรบเองเท่านั้น   ไม่ต้องลงทุนโรงงาน  เครื่องจักรอะไรมากมายอีก    ส่วนทางสวีเดนก็แค่ปิดโรงงานที่ไม่คุ้ม   ย้ายฐานการผลิตเครื่องบินทั้งทางทหารและพลเรือนมาที่นี่ครับ   ส่วนการวิจัยและพัฒนา   ก็ให้อยู่ทางโน้นต่อไป   วิน-วินกันทั้งสามฝ่ายครับ 

    จะออกแบบเครื่องใหม่ที่แข่งขันโดยตรงกับ  T/F/A-50   Yak-130/133  เพื่อแข่งขันก็ยังได้เลยครับ 

เพราะโรงงานของญี่ปุ่นก็ได้สเกลจากการผลิตเครื่องพานิชย์ของตนเองอยู่แล้วไม่เดือกร้อนใดๆทั้งสิ้นครับ   สวีเดนจึงสนใจเรามากๆไงครับ     แต่ผมชอบเครื่องของทาง  Sukoi    s-54/55/56  จังครับ     ตรงเซ็กชั่นที่จะชนกับ  Yak-133/130  และ  T/F/A-50  พอดีเป๊ะเลย      ถ้าสวีเดนจะร่วมมือกับเรา  ควรจะออกแบบเครื่องใหม่ให้ตรงเซกชั่นนี้ครับ    แล้วตัวเองไปผลิตเครื่องแพงๆอย่าง  FS-2020  ก็ได้  

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/09/2012 13:06:04


ความคิดเห็นที่ 55


   นี่แหล่ะครับที่มหามิตรไม่เป็นปลื้ม   โดนเต็มๆครับอุตสาหกรรมอากาศยานของเขา     ถ้าญี่ปุ่นประสบความสำเร็จทางการตลาดเครื่องบินพานิชย์  โดยใช้ฐานการผลิตของเรา   แค่นี้ Boing กับ Airbus  ก็แย่แล้วครับ    ถ้าเราร่วมกับสวีเดน(หรือชาติอื่นใดก็ตาม)  มาทำเครื่องบินรบในเซ็กชั่น T/F/A-50 นี้อีก   KAI / Lockheed  โดนเต็มๆเช่นกันครับ   เพราะต้นทุนเราต่ำกว่าเกาหลีใต้  แถมต้องไปเจอคู่แข่งอย่าง  FS-2020 ในตลาดของ  F-35 อีก   ................        โครงการของเราล้มจะเป็นประโยชน์แก่เขาที่สุดครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/09/2012 13:23:27


ความคิดเห็นที่ 56


เห็นเช่นเดียวกับ คุณ Neosiamese2 ครับ Gripen เป็นเครื่องบินที่ดี แต่ผลิตจำนวนไม่มากและ มีประเทศที่จัดหาไปไม่กี่ประเทศและในประเทศเหล่านั้น หลายประเทศ เช่า บ.Gripen    ปัจจุบันหรืออนาคตอีก 10 ปี  การซ่อมบำรุงและอะไหล่ ราคา คงจะไม่มีปัญหา แต่หลังจากนั้น เกรงว่าอนาคตข้างหน้า มีอะไหล่ แต่แพงครับ และเกรงว่าจะเข้าทำนอง Sasb, Jeep, Fiat หรือ รถที่ดีอย่าง Peugeot และ Citroën ที่ในไทย ตลาดแคบมาก หรือแม้แต่ในยุโรป ตลาดก็ไปได้ แต่ก็ทำท่าจะไปไม่รอดเหมือนกัน ล่าสุดปลดคนงานกว่าหมื่นตำแหน่ง   ...................ของดี แต่อยู่กับเราได้ไม่นาน ก็ไม่เหมาะครับ ถึงแม้สวิส จะจัดหาขั้นต้นกว่า 22 ลำ หรือไทยจะจัดหาเพส 3 หรือ 4 อีก 12 ลำ   ......อนาคตของ Saab ก็ต้องลุ้นต่อครับ  โดยเฉพาะ ทอ.ไทย  ขนาดเฟส 2 ที่ว่าได้แน่ๆ ยังต้องเลื่อนรับมอบ   อย่าลืมกันนะครับ อเมริกันเขาครองตลาดอาวุธกับไทยมาก่อน

โดยคุณ Chelsea เมื่อวันที่ 04/09/2012 16:44:05


ความคิดเห็นที่ 57


อ่านที่คุณ neosiamese2  พิมๆมาเรื่องการลงทุนอุตส่าหกรรม สเกลการผลิต พอจะเข้าใจนิดๆหน่อยๆ ไม่เข้าใจร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ดีกว่าไปอ่านพวกพม่ามีไอนั่น เวียตนามมีไอนี่ ไทยจะเอาไงเยอะ ชอบอ่านมากครับ วันไหนลงเลือกตั้งนายกบอกผม เดี๋ยวกาให้

โดยคุณ Latales เมื่อวันที่ 04/09/2012 19:51:08


ความคิดเห็นที่ 58


เข้ามาให้กำลังใจท่าน neosiames2 ด้วยเช่นกันครับ....ติดตาม Post ของท่านมาตลอด...หลายๆ Post อ่านแล้วให้ความรู้สึกว่าเห็นอนาคต...มีกำลังใจ....เห็นช่องทางพัฒนา...เห็นโอกาส...ข้อมูลสนับสนุนพร้อม(ไม่เพ้อเจ้อ) ดีครับคล้ายๆอ่านหนังสือสัมภาษณ์เจ้าสัว ธานินท์ เจียรวนนท์ พูดถึงประเทศไทย....คนอย่างนี้แหละครับที่ผมอยากเห็นเข้าไปบริหารบ้านเมือง...งั้นผมว่าตามท่าน Latales เลยนะ...วันไหนลงสมัครเลือกตั้ง สว. บอกผมนะ เดี๋ยวผมให้ทั้งบ้านผมไปช่วยกันเลือกท่านครับ ^_^

โดยคุณ Vector เมื่อวันที่ 04/09/2012 21:00:41


ความคิดเห็นที่ 59


คุณ superboy พูดมานี้ก็ดีนะครับผมว่าพูดถูกในหลายๆเรื่อง แต่ถ้าผิดผมว่าน่าจะผิดตรงไปว่าเม้นต์ คุณ นีโอ ก็เท่านั้นแหละครับตามความคิดผม. แต่ผมก็ชอบข้อมูลที่คุณ นีโอหามาให้อ่านนะครับไอ้มุมมองใหม่ๆและหลากหลายดี และยังมีอีกหลายๆท่าน แต่อ่านไปอ่านมา มาสะดุด และงงตรง คุณ potmon นี้แหละครับ คือไม่รู้ จะสรุปไปทางไหน อิอิ ปล. ใจเย็นๆกันนะครับทุกท่าน เวปเรามีดีหลายอย่างและที่ดีได้เพราะพวกเราทั้งหลายนี้แหละครับ ปล.2 ขอเรียกง่ายๆว่าคุณ นีโอ นะครับ อิอิ
โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 04/09/2012 21:22:42


ความคิดเห็นที่ 60


   ขอบคุณทุกท่านสำหรับกำลังใจ   ส่วนท่าน Superboy ผมก็ขอโทษแล้วกันที่อารมณ์ฉุนเฉียวมากไปกับคุณ           ข้อดีของเวปนี้คือทุกคนสนใจการทหารและเทคโนโลยีทหาร   แต่มาจากทุกสาขาอาชีพ   ดังนั้นข้อมูลบ้างเรื่อง  ฝ่ายทหาร  ฝ่ายการเมืองหรือวิศวะกรที่เกี่ยวข้องจะไม่สามารถเข้าใจได้ครอบคลุมทั้งหมด    เอาเป็นว่าความเห็นของผมที่ลงมาให้อ่าน  จะเป็นมุมมองในฐานะพ่อค้าและนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมก็แล้วกันครับ       เพราะการลงทุนต้องใช้เงินจำนวนมหาศาล   ดอกเบี้ยมันงอกเร็ว   เราต้องเลือกทางที่เสี่ยงน้อยที่สุดและได้ผลประโยชน์สูงสุดครับ  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/09/2012 22:40:28


ความคิดเห็นที่ 61


ดูเหมือนว่าดีลกริฟเฟนของสวิสนี้จะสร้างความฮือฮาในวงการค้าอาวุธของยุโรปไม่น้อย
บทวิจารณ์ทั้งก่อนและหลังการตัดสินใจของสวิส ก็แสดงถึงการชิงไหวชิงพริบเพื่อให้ได้ดีลนี้
เช่น การข้อมูลในเรื่องจำนวน และราคาของเครื่อง

  • Gripen offer : CHF 3.1 billions for 22 jets or CHF 141 millions per aircraft
  • Rafale offer : CHF 2.7 billions for 18 jets or CHF 150 millions per aircraft
  • http://rafalenews.blogspot.com/2012/01/switzerland-dassault-strikes-back.html

    สุดท้ายฝรั่งเศสเมื่อแพ้ก็ออกอาการงอนเล็กๆ ตามสไตล์สาวเมืองน้ำหอม (คงงอนสวิสไปอีกนาน)
    http://rafalenews.blogspot.com/2011/11/switzerland-federal-council-chooses.html

     

    ดูแค่การ์ตูนก็แซวกันเจ็บไม่น้อยทีเดียว อิอิ



    โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 05/09/2012 22:38:26


    ความคิดเห็นที่ 62


    กว่าที่กริฟเฟนจะเดินทางมาถึงวันนี้ สวีเดนต้องทำงานหนักและแสดงความมุ่งมั่นในการพัฒนา บ.รบ แบรนด์ กริฟเฟน ให้เป็น บ.รบนานาชาติ จนประสบความสำเร็จ
    ท่ามกลางคุ่แข่งที่แข็งๆ ทั้งนั้น  ที่สำคัญคือความจริงใจที่มีต่อลูกค้าที่มีเต็มร้อย เชื่อว่า กริฟเฟน พอจะยังมีอนาคตอยุ่บ้าง ค่อยๆ ติดตามกันต่อไปครับ



    โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 05/09/2012 23:11:26


    ความคิดเห็นที่ 63


    สุดท้าย ก่อนไปนอน มีของแถมสำหรับแฟนกริฟเฟนให้ครับ อิอิ

     

    และขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความเห็นกันอย่างครึกครื้น นะครับ



    โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 05/09/2012 23:13:49


    ความคิดเห็นที่ 64


    อย่าหาว่าผมโง่เลยนะ ผมไม่เข้าใจมุข ฝรั่งอะครับ เขาดูถูกกริพเพ่นว่า เป็น เครื่องบินประกอบ หรอครับ หรือยังไง งง*-*

    โดยคุณ cananac11 เมื่อวันที่ 07/09/2012 23:28:57


    ความคิดเห็นที่ 65


    ขอ Euro Fighter 1 ฝูงบิน ครับ back up แน่นดี: UK, Geraman, Spain และ Italy

    โดยคุณ Adventure เมื่อวันที่ 25/09/2012 10:11:00