It is an export version of the Yuan。
Both the LHD and the S20 are obviously vying for adoption by the Royal Thai Navy。
China will most probably have an larger version of the LHD for her own use。
เหหหหหหหหหหหหหหหหห
(ผมว่าน่าจะแค่นำแบบมาเสนอขายมั๊งคับ แต่นอกจากเรือดำน้ำเราไม่น่าจะมีโครงการเรือLHDนี่หน่า)
LHD จะมาเพิ่มอีกทำไมอ่ะครับ มีเรือหลวงจักรีนฤเบศร อยู่แล้วน่าจะเอางบไปจัดหาMH-60S อีก4ลำและก็ติดตั้งระบบแบบครบsetและก็อัพS-70Bให้ ฟรูออฟชั่นไปเลย ส่วนเรือดำน้ำS20 นี้มันชั้นอะไรเหรอครับ มาใหม่หรือเอามาจากชั้นSong
ตอนผมเจอก็งงเช่นกันครับเพราะไม่เคยได้ยินมาก่อนเลยแต่ดูแล้วน่าจะมีลุ้นเรื่องเรือดำน้ำนี่แหละครับ
นี่คือสเป็คเรือครับเป็นชั้นซ่งรุ่นปรับปรุงพิเศษเพื่อเสนอกองทัพเรือไทยครับ(ในเว็บเค้าว่ากันแบบนี้ครับ)
Displacement | 1,700 tons surfaced, 2,250 tons (dived) |
Length | 75 meters / 246 ft |
Beam | 8.4 meters / 27.6 ft |
Draft | 17.5 ft |
Speed | 12-15 kts (surfaced) 22 kts (dived) |
Crew | 60 (10 officers) |
Propulsion | Deisel-electric 2 or 3 MTU Deisels 1 Shafts |
Torpedoes | 6 - 21 in (533 mm) tubes, YJ-8 missiles |
Mines | in lieu of torpedoes |
ESM | Type 921-A radar warning |
Radars | Surface search I-Band |
Sonars | Bow-mounted passive/active search and attack, Flank array passive search |
http://forum.pakistanidefence.com/index.php?showtopic=91900
ผมว่านะครับตอนนี้ผมอยากให้ ทร เรามีเรือดำน้ำนะครับแบบไหนก็ได้แบบใหม่ถอดด้าม ยิ่งดี ส่วนความสามารถของเรือยังไม่ต้องไปเน้นมากครับ อยากให้ ทร ของเรามีประสพการณื กับเรือดำน้ำ ให้มากพอเสียก่อนๆที่จะตามชาติอื่นเขาไม่ทันนะครับ
ส่วนตัวมองว่าขนาด 1700 tons ของมันโตเกินไปสำหรับทะเลด้านอ่าวไทย ถ้าจะให้เหมาะสมกับอ่าวไทยต้องไม่เกิน 1200 tons หรือไม่ก็ต้องพวก Mini Submarine ( แต่ตอนนี้ Mini Submarine ยังอยู่ในช่วงวิจัยกันทังนั้น )
..
ความเหมือนที่แตกต่าง
.
ของจีนบางอย่างก็น่าใช้นะครับ
Z-9
Z-10
AWAC
เขาเห็นว่าเรายังต้องการเรือ LPD อีกลำ คงอยากลองเสนอ LHD มาบ้าง เผื่อทร.เกิดเปลี่ยนใจอยากจะมาใช้ LHD บ้าง แต่เรือดำน้ำเหมาะกับฝั่งอันดามันมากกว่านะครับ เพราะมันใหญ่ไปหน่อย ยกเว้นเอาไว้ขู่เพื่อนบ้านว่าข้าก็มีนะ อย่าให้มันเกินกว่านี้
เพิ่มครับ
รูปไม่ขึ้นแฮะ
ได้ข่าวว่าเรือดำน้ำรุ่นS-20 ที่เสนอไทยมีระบบAIPด้วยครับ
เจอประโยคที่ว่า
It is the CG of a model said to be on exhibition in Thailand
เชาบอกว่าเป็นงานแสดงในไทย น่าจะเป็นงาน Thailand Defense นะครับ
S20 นี่ถ้ามี AIP และราคาต่ำสักไม่เกินหมื่นล้าน ถึงจะใหญ่ไปนิดก็น่าสนใจไว้ฝั่งอันดามัน 1 อ่าวไทยอีก 1 ส่วนถ้ามีเงินเหลือจะเอา mini Submarine จากไหนมาก็ไม่มีปัญหา ส่วนที่ว่า 1700 ตันมันใหญ่ แต่ยังไงก็ยังเล็กกว่าของสหรัฐที่มาร่วมซ้อมปราบเรือดำน้ำกับ ทร. ที่ผ่านมาไม่นานนี้ ครับ
ท่า ซื้อเรือดำน้ำของจีนมา เพื่อนบ้านเรา กับ อเมกา จะทำไงกะเรานี้
ไทย นโยบายเป็นกลาง ดังนั้นจะจัดหาจากใครก็ได้ ทำตัวปกติเข้าไว้ แต่อย่าทำตัวเป็นศัตรูกับเขาก็แล้วกัน อดีตไทยก็จัดหาอาวุธทั้งจากจีนและสหรัฐ ตุรกีก็เป็นอีกตัวอย่างที่จัดหาจากจีนและสหรัฐ และอีกเหตุผลคือสหรัฐไม่มีเรือดำน้ำดีเซลขาย และ S20 ก็ไม่ได้ดีกว่าของประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซีย หรือ เวียดนาม สรุปก็แค่ถ่วงดุลอำนาจทางทะเลให้กลับมาอยู่ในจุดเดิมในอดีต หรือไม่ให้เสียเปรียบมากกว่าเดิมเท่านั้น
เอา เรือดำน้ำรุ่น S 20 มาลองใช้ ลองฝึกดูก่อน ซัก 5-6 ปี
หลังจากนั้น ก็ เอารุ่น ท็อป อย่างรุ่น Type 094 ใช้พลังงานนิวเคลียร์ มาเลย
อิอิ
http://forum.pakistanidefence.com/index.php?showtopic=99690
เห็นช่วงนี้ ปากีสถาน ยกยอปอปั้น จีน กันยกใหญ่
ทั้งในเว็บ ทั้งในยูทูบ ผมอ่านแล้ว ก็ ฮาดี ..
ลึกๆ ก็คงคล้ายๆสุภาสิต ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
แขก กะ เจ๊ก .. ลูกไม้แพรวพราว กันทั้งคู่
.. ไม่รู้ เจ๊ก กะ แขก ใครจะเสียเหลี่ยมก่อนกัน 55++
จากเวปที่คุณไปเอาข่าวมา เขาว่าจีนจะต่อใช้เองเบิ้มๆแบบนี้ กว้างกว่า wasp ของเมกานะผมว่า ไอ้ที่เอามายั่วน้ำลายเราเขาเอารุ่นรองลงมาโชว์
เอาไปดูให้เต็มอิ่มอีก รุ่นใหญ่ของเขาน่ะจะราว 40,000 ตันได้ รุ่นรองที่เสนอให้เราก็น่าจะประมาณ 20,000 ตัน พอๆกับ DOKDO ราคาเรือจากจีนไม่น่าจะแพงนะ รุ่นมหานิยมเลย LHD/LHA เอามาใช้ยกพลขึ้นบกก็ได้ sea control ก็ได้ แบบออสเตเลียกับสเปนอิตาลีทำ เอ้าเชียร์ ภาพแรกรุ่นใหญ่ ภาพสองรุ่นรอง
Type 081 LHD
A 22,000-tonne landing helicopter dock (LHD) under development in China has sparked alarm in defense circles in Taiwan, with some analysts saying the ship could cause a “strategic shift” in the Taiwan Strait.
The design, first unveiled by state-owned China Shipbuilding Industry Co (CSIC, 中國船舶重工集團公司) — the country’s largest shipbuilding conglomerate — at the Defense and Security 2012 exhibition in Bangkok in early March, is believed to be the Type 081 LHD that defense enthusiasts have been expecting for years.
According to Jane’s Defence Weekly, CSIC confirmed the existence of a Type 081 program in 2007, but at the time it refused to disclose further details. The design phase of the vessel was reportedly completed in 2006, with engineering design beginning soon afterwards.
The 211m long LHD will be capable of carrying an impressive eight helicopters on deck, with hangar space for four more, or for hovercraft. It will also have capacity to accommodate 1,068 marines and will be equipped with phased-array radar, four short-range air-defense launchers and anti-submarine warfare capability.
Its operational range is expected to be 7,000 nautical miles (13,000km), with an endurance of up to 30 days at sea.
The Type 081 was reportedly inspired by the Mistral-class amphibious assault ship operated by the French Navy. Some analysts have also pointed to similarities with the 18,000-tonne Hyuga-class helicopter carrier used by the Japan Maritime Self-Defense Force since 2009.
Defense analysts say CSIC is fully capable of building the LHD, especially following the experience gained by Chinese shipbuilders with three 20,000-tonne Type 071 Yuzhao-class amphibious transport docks, the last of which was launched in September, with a fourth rumored to be on the way. Despite having a similar displacement to the Type 081, the Type 071 can only accommodate two Z-8 heavy transport helicopters.
Assuming that the timeframe for construction of the Type 081 is similar to that for the Type 071, the first Type 081 could be launched as early as 2014. China’s first Type 071 was launched in December 2006, two years after the model was first unveiled.
Some reports indicate that the People’s Liberation Army Navy might be seeking to acquire as many as three Type 081s for its operations.
The Chinese government has yet to confirm whether CSIC has begun construction of the Type 081.
Given its ability to carry various types of helicopters — Z-8 and Z-9 transport and Z-10 attack helicopters, among others — a large number of marines and landing craft, analysts are saying that the Type 081 would greatly enhance the Chinese navy’s ability to launch humanitarian operations as well as project force beyond its shores, a reflection of the strategic choices made by the Chinese navy in recent years.
It would also play a key, possibly game-changing role in any amphibious assault on Taiwan or against other adversaries in the South China Sea.
ยังกะว่างาน defence ที่กรุงเทพ เป็นการเปิดตัว Type 081 อย่างเป็นทางการไงไม่รู้แฮะ
ถ้าจะซื้อ ไปขอให้เขาทำสกีจัมพ์(เอาของเราไปก็อปก็ได้) ทำดาดฟ้าเฉียงพร้อมลวดหยุด Sea gripen ขึ้นลงได้สบาย 55555.....แถมขนนาวิกได้กว่า 1000 นาย เห็นในเวปนี้เองบอกว่า มาเลย์นี่ต้องหันมามองเลยล่ะ (คงกลัวว่าเราเกิดอยากจะได้ขึ้นมา) แหมคงรู้กันไปทั่วแล้วว่าเกิดอะไรขึ้น
รุ่นใหญ่ของเขาดูจากรูปน่าจะยาวประมาณ 240-250 เมตร กว้างประมาณ 40-50 เมตร ระวางน่าจะอยู่ในช่วง 35,000-40,000 ตัน เกือบเท่าชั้น wasp เลย แหมทำดาดฟ้าเฉียง ต่อกสีจัมพ์ ลวดหยุด ก็ถูกใจผมเลย แต่จากข่าว ทร.จีนน่าจะต่อรุ่นรองเข้าประจำการในปี 2014 หลังจากได้ type 071 จำนวน 3 ลำ ทั้งไต้หวันเวียตนาม ฟิลิปปินส์ คงเต้นไม่หยอกเชียว
แล้วทร.ไทยว่าไงครับ ........... ดูท่าทางกลุ่มอำนาจทางการเมืองใหม่จะถูกชะตาคุณมากกว่าเพื่อนเลยน่ะ เล็งๆไว้ ชอบพี่ใหญ่หรือน้องรองก็เตรียมไปสู่ขอกันนะ
ถ้าทร.สนใจ LHD จากจีนจริงๆ LPD ชั้นอ่างทองลำที่ 2 จะได้เกิดหรือไม่คงต้องติดตามกันต่อไป ถ้าได้มาจริงๆ น่าสนใจขึ้นมาก แต่เรื่องเรือดำน้ำ S20 ถ้าจะมาคงจะยากเพราะ ................
จากประสบการณ์ของ ทร. ที่มีต่อเรือจีนไม่ค่อยดีนักครับ ไม่ว่าจะเป็นเรือชั้นนเรศวร ชั้นปัตตานี ซึ่งมีปัญหาในการใช้งาน การอินทริเกรดระบบ ความเรียบร้อยในการประกอบ ฯ ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรกว่าจะได้เข้าประจำการ จนสุดท้าย ทร.ยอมจ่ายแพงกว่า เพื่อซื้อความสบายใจ เช่นการต่อเรือ LPD ที่สิงค์โปร์ ถึงแม้จะมีราคาแพงกว่าเรือจีน แต่ไม่ต้องมาปวดหัวกับปัญหาต่างๆ ที่เคยเกิดขึ้น
จากประสพการณ์การใช้ยุทธโธปกรณ์ของกองทัพเรือที่มีจากจีนโดยฉะเพาะเรือผมว่าทางทัพเรือคงไม่น่าจะเอานะครับ...ดูอย่างเรือ โอพีวี ถ้าซื้อจากจีนก็ได้แต่เลือกที่จะต่อเองเพื่อเรียนรู้ ผมว่าเราอาจจะได้เห็นเรือ LPD ลำที่สองที่ต่อในประเทศครับหวังเหลือเกินครับว่าอยากให้เป็นอย่างที่ผมคิด
จีนคงเป็นที่แรกที่จะสามรถระบายสินค้าเกษตรที่กำลังล้นสต๊อกได้
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ของอเมริกามาฝึกในอ่าวไทยได้ ยังมีเรือดำน้ำดีเซลที่ใหญ่จนใช้ในประเทศไทยไม่ได้หรือ?
อีกอย่างที่ไม่มีใครพูดกันจริงๆจังๆซะที
เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงรุก ผมเองก็ไม่ได้คาดหวังให้กองทัพเรือเอามาใช้ในอ่าวไทย เพราะมันเหมะกับอ่าวของเพื่อนบ้านมากกว่า
หลายท่านมักจะกล่าวว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ของอเมริกามาฝึกในอ่าวไทยยังได้ และสามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยส่วนตัวมองว่าได้ แต่ได้ทุกพื้นที่ของอ่าวไทยได้หรือเปล่าคำตอบคือไม่ พื้นที่ของอ่าวไทยถ้าเทียบกับพื้นราบมันก็มีเนินหรือสันดอนเยอะมาก ที่เรือ ดำน้ำนิวเคลียร์ของอเมริกาเข้ามาได้เขาเรียกว่าร่องนำ้ลึกซึ่งอ่าวไทยตอนบ นี้ร่องนำ้ลึกน้อยมาก บางครั้งการเดินเรือสินค้ามากกว่าหมื่นตันขึ้นยังต้องรอระดับน้ำในการเข้ามา ในอ่าวไทย ถ้าเรือดำน้ำมีขนาดใหญ่ปฏิบัติในอ่าวไทยดูจากฟ้ามันก็เหมือนมีเงาอยู่ในน้ำ ส่วนตัวเคยทำงานในเรือสินค้าก็เคยเจอปัญหาร่องน้ำมาเหมือนกัน
อ่า ผมพอจะเข้าใจเหตุผลนะครับ แต่ถ้าเราบอกว่า "เรือดำน้ำเป็นอาวุธเชิงรุก" หละก็ ผมว่าโอกาสจะได้ซื้อจะยากมากเลยครับ ฝ่ายงบประมาณจะถามทันทีว่า "แล้วคุณมีโครงการจะบุกรุกใครหรือ ถ้าไม่มีจะซื้อมาทำไม"
ฝ่ายงบประมาณและฝ่ายการเมือง ค่อนข้างเข้าใจเรื่องทำนองนี้ยากครับ วันหนึ่งผมไปนั่งฟังเขาอภิปรายงบประมาณ มีกรมหนึ่งขอซื้อ "รถดับไฟป่า" ส.ส. ท่านหนึ่ง ถามว่า กรมท่านไม่ใช่ กรมป่าไม้ จะเอารถดับไฟป่าไปทำไม อธิบดีกรมนั้นอธิบายว่า รถดับไฟป่าหมายความว่า รถดับเพลิงที่สามารถดับไฟที่ไหม้เป็นวงกว้างได้ดี เช่น ไฟที่ไหม้ลามทุ่งเวลาที่มีการจุดไฟเผานาข้าวก็สามารถใช้รถชนิดนี้เข้าไปดับ เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามไปติดบ้านเรือนประชาชนได้ ส.ส. ท่านนั้น จึงกล่าวว่า "ไฟลามทุ่งไม่ใช่ไฟป่านี่ครับ ท่านขอซื้อรถผิดประเภท ไม่ให้ ขอตัดงบในส่วนนี้ครับ" (โอ๊ยยย นั่งฟังอยู่ อยากโดดเอาหัวโขกกำแพง)
เล่านอกเรื่อง แต่อยากส่อให้เห้นว่า ถ้าเราบอกว่า เรือชนิดนี้ใช้เชิงรุก ฝ่ายการเมือง ฝ่ายที่ดูแลงบประมาณ จะเข้าใจไปอีกทางหนึ่งทันที เข้าใจไปทางไหนก็ไม่รู้แหละ แต่จะสรุปว่า "ไม่จำเป็น" และจะไม่ยอมให้ซื้อง่ายๆแน่ๆ เลยครับ
ผมว่าก็พูดกันเกินไปครับ ถ้าอ่าวไทยเรือดำน้ำเข้าไม่ได้ แล้วไอ้เรือดำน้ำเมกาที่โดนยิงจม แล้วเพิ่งค้นหาเจอเมื่อ2-3ปีมานี่มันมานอนแอ้งแม้งก้นอ่าวไทยได้อย่างไร อ่าวไทยประกอบด้วยจุดที่ลึกตั้งแต่ 10 เมตร ถึง 80 เมตร จุุดที่ระดับความลึก 70- 80 เมตร คือบริเวณที่ติดกับพื้นที่พิพาทและเส้นเขตแดนทางทะเลของไทย กัมพูชา เวียดนาม เราคงไม่คิดจะเอาเรือดำน้ำมาใช้ในระดับความลึก10-40 เมตรหรอกนะครับ อีกอย่างแท่นแก๊สธรรมชาติก็อยุ่ในระดับความลึก 40-70 เมตร ในอ่าวไทย ถ้าข้าศึกจะใช้เรือดำน้ำโจมตีย่อมทำได้ ดังนัันเรือดำน้ำจะสามารถใช้ป้องกันและทำการรบในระดับความลึกบริเวณเขตแดนทางทะเล และผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้พอดีทีระดับความลึก 40-80 เมตรทางด้านอ่าวไทย และ ทางอันดามันไม่ต้องพูดถึง ปฎิบัติการได้สบายๆ จุดที่ลึกของฝั่งอันดามัน คือที่ชายร่องไกล่ทวีปที่ลึกตั้ง 200-300 เมตร เรือดำน้ำดีเซล หรือแม้แต่เรือดำน้ำนิวเคลียร์ สามารถทำการรบได้สบายๆอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นว่าจะต้องใช้เรือดำน้ำป้องกันแค่อ่าวไทยที่เดียว อย่าลืมว่าฝั่งอันดามันก็สำคัญเช่นกัน ข้าศึกก้สามารถขึ้นบกหรือโจมตีเราจากฝั่งอันดามันได้เหมือนกัน การมีอาวุธเชิงรุก บางทีก็ไม่จำเป็นต้องใช้รุกเสมอไป แต่มีไว้เพื่อป้องปรามข้าศึกให้คิดให้หนักที่จะโจมตีเราเพราะเราสามารถเปลี่ยนจากรับ เป็นรุกได้ทันที ก็มีแค่นี้แหละครับ ส่วนเรื่องความลึกในอ่าวไทย ถ้าในเมื่อระดับความลึก 10-40 เมตร เราใช้เรือดำน้ำไม่ได้ ข้าศึกก็ใช้เรือดำน้ำเข้าโจมตีเราไม่ได้เช่นเดียวกัน แล้วเราก็สามารถใช้เรือผิวน้ำเข้าไล่ล่าได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น การระวังป้องกันที่ดีทีสุดคือ 10-40 เมตร ก็ให้เป็นหน้าที่การล่าทำลายของเรือผิวน้ำไป ส่วนระดับ40-80 เมตรก็ให้เป็นหน้าที่ของเรือดำน้ำในการล่าและลาดตระเวณไป น่าจะเหมาะสมกว่าครับ ผมก็เป็นนักตกปลา และไปตกปลาแถวแท่นขุดเจาะหลักแก๊สกลางทะเลบ่อยๆ ก็พอจะรู้ระดับน้ำที่นั่นอยู่บ้าง เอาเป็นว่ามันพอที่จะให้เรือดำน้ำวิ่งได้อย่างสบายใจแล้วกันครับ
เส้นบอกระดับความลึก ไล่มาตั้งแต่เส้นแรกที่ติดแผ่นดินคือระดับความลึกที่ 1-10 ไล่ลงไปจนถึงเส้นสุดท้ายที่70-85
ขอขอบคุณน้องแชมป์สำหรับภาพนะครับ เรื่องนี้เคยเถียงกันอย่างเคร่งเครียดใน wing21 มาก่อนโดยเอาหลักวิชาการมาเถียงกัน รูปคล้ายๆที่น้องแชมป์ลงก็เคยเห็น มีสมาชิกระดับเซียนๆมาเถียงแสดงข้อมูลกันแบบถึงลูกถึงคน สรุปได้ว่า
เรือดำน้ำสามารถปฎิบัติการในอ่าวไทยได้จริง แต่ควรเป็นเรือดำน้ำที่มีขนาดเล็กแถวๆ 1000 ตัน จะมีประสอทธิภาพครับ ใหญ่กว่านั้นก็สามารถเข้ามาได้แต่ไม่สะดวกในการปฎิบัติการครับ
สำหรับท่าน speci ผมเคยอ่านนิตยสารด้านยุโธปกร์ต่างประเทศ เขาบอกว่าเรือดำน้ำนิวเคลียร์ขนาดใหญ่ร่วมหมื่นตันนี่ไม่ควรปฎิบัติงานในเขตน้ำตื้นครับ และในสภาวะที่น้ำทะเลในบางครั้งที่ใสจัดมีตะกอนนั้น เครื่องบิปราบเรือดำน้ำสามารถเห็นเงาตะคุ่มๆในน้ำได้ถึงระดับเกือบร้อยเมตรทีเดียว
แต่ฝั่งอ่าวไทยตะกอนเยอะครับ แต่เรือดำน้ำใหญ่ขนาดนั้นถ้าอยู่ตื้นกว่า 100 เมตรผบ.เรือเขาก็ไม่อยากเสี่ยงครับ แลพการเดินเรือก็เป็นไปอย่างยากลำบากกว่าในเขตน้ำลึกด้วย แค้พลาดตัวเรือไปครูดกับหินโสโครกในเขตน้ำตื้นก็แย่แล้วครับ ไหนจะสงครามทุ่นระเบอดที่สามารถกระทำได้โดยง่ายจากฝ่ายตั้งรับ
ทุ่นระเบิดดักเรือดำน้ำมีหลายชนิดครับ ตื้นขนาดนี้ง่ายแก่ฝ่ายเราในสงครามทุ่นระเบิดดักเนือดำน้ำมากครับ
แต่ก็ต้องยอมรับอีกข้อว่าฝ่ายเราเองก็อ่อนในเรื่องสงครามทุ่นระเบิดด้วยเช่นกัน จริงๆถ้าในเรื่องนี้เราควรจะต้องปรับปรุงทั้งในเรื่องสงครามทุ่นระเบิดและสงครามเรือดำน้ำในเขตน้ำตื้น และต้องพึ่งพาเรือสมุทรศาสตร์เพื่อทำแผนที่อ่าวไทยทุกตารางนิ้ว นับเป็นข่าวดีที่เราได้จัดหาและเข้าประจำการเรือสมุทรศาสตร์ที่ดีที่สุดแบบหนึ่งในเอเชีย และตลอดเวลาเรือลำนี้ก็จัดทำแผนที่ใต้ท้องทะเลอ่าวไทยมาโดยตลอด หวังว่าภายในไม่กี่ปีเราคงรู้ทุกจุดในอ่าวไทยอย่างละเอียดทุกตารางนิ้ว ที่เหลือก็จัดหายุทโธปกรณ์ที่เหมาะสมกับสงครามทุ่นระเบิดและสงครามเรือดำน้ำในเขตน้ำตื้นครับ
ส่วนเรือบรรทุกบ. หรือ เรือ LHA/LHD กึ่งเรือ sea control จะจำเป็นเมื่อเราต้องตัดคลองกระครับ การตั้งรับนอกน่านน้ำเพื่อรักษาคลองน่าจะเป็นการการันตีถึงการรักษาเส้นทางเดินเรือผ่านคลองกระ ถ้าโครงการตัดคลองกระยังคงมีต่อไป เรือตระกูลบรรทุกบ.ก็ยังคงมีความจำเป็นเสมอครับ แต่จะกล้าตัดหรือเปล่าเท่านั้น เพราะคนที่กระโดดเข้ามาสนุกกับมันด้วยก็มหาอำนาจทั้งนั้น
ถ้ากล้าตัดคลองกระ ก็ต้องกล้าจัดหากำลังทางทะเลระดับนั้นมารักษาคลอง รับรองว่ากระทบสมดุลทางทหารในภูมิภาค แล้วเรื่องยุ่งๆก็จะบังเกิด จะกล้าฝ่าฟันปัญหา หรือ จะกล้วหัวหด ก็ต้องเลือกกันล่ะครับ
และด้วยเหตุผลข้างต้น ทุกครั้งที่ทร.จะจัดหาเรือดำน้ำจะเห็นว่าทำไมมันต้องมีตัวเลือกเป็น
U-206A 500 กว่าตัน
type 209 รุ่นเล็ก 1200 ตัน
A-17 1400-1500 ตัน
AMUR 950 มีระวาง 900-1100 ตัน
จะเห็นว่าระวางขับน้ำต่ำกว่า 1500 ตันและป้วนเปี้ยนแถวๆ 1000 ตัน ทั้งหมด ส่วนแมงป่องทะเล 1600-1800 ตัน ย่อมสามารถปฎิบัติการในเขตอ่าวไทยได้ โดยน่าจะอยู่ในเกณ์ที่ดีพอใช้ และสามารถปฎิบัติงานในเขตน้ำลึกแถบเบอร์เนียวเหนือ ได้ในระดับดีพอใช้ ทางเขาจึงเลือกรุ่นนี้ไงครับ
S-20 สามารถปฎิบัติงานในเขตอ่าวไทยได้ครับ แต่ดูจะใหญ่ไปหน่อยสำหรับความลึกในระดับนี้ ถ้าฝั่งอันดามันนี่ OK เลยครับ เห็นเกาหลีกำลังพัฒนาสร้างเรือ Midgad submarine ขนาดแค่ 500-600 ตันเพื่อประจำการเกือบ 20 ลำ น่าสนใจนะครับ น่าจะพิจารณาไว้บ้างก็ดี เพราะเขาเองก็มีเขตน้ำตื้นเพื่อต้องเฝ้าตรวจและเพื่อทำสงครามเรือดำน้ำเหมือนกัน ราคาน่าจะไม่แพงและคุณภาพน่าจะดีกว่าของจีน ส่วนอันดามันผมชอบ Kilo ครับ โดยเฉพาะรุ่นติดตั้ง VLS เพื่อยิง Bhramos แต่อินเดียก็มีรุ่นนี้อยู่ด้วย ดังนั้นก็อาจจะจบที่เรือเยอรมัน
และแม้ว่าสเปกของ midget submarine จะดูด้อยกว่าเรือดำน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่า 1500 ตันมากพอควร แต่ในน้ำตื้นมากๆ มันก็เคยโชว์ที่เด็ดสะระตี่มาแล้ว เรือของเกาหลีเหนือไงครับ จมเรือคอร์เวตชั้นดีของเกาหลีใต้โดยที่ตัวเองเล็ดลอดเข้ามายิง "หมู่เรือคอร์เวต" โดยที่เป้าไม่รู้ตัว ยิงเสร็จแล้วก็สามารถฉากหนีไปได้โดยที่เรือข้าศึกลำที่เหลือยังงงอยู่เลยว่าเพื่อนถูกจมด้วยอะไร ยังไปไล่ยิงฝูงนกด้วยคิดว่าเป็นเครื่องบินที่บินเข้ามาในระดับต่ำ กว่าจะรู้ชัดเจนก็ต้องกู้เรือที่จมขึ้นมาถึงได้หายสงสัย เพราะมันจมด้วยตอร์ปิโด
เรือเกาหลีเหนือนี่กิ๊กก๊อกนะครับ เทียบเรือชั้น U-206A ไม่ได้เลย ส่วนเรือ midget แบบใหม่ของเกาหลี น่าจะใช้เทคโนโลยีที่เกาหลีใต้ได้รับมาจากเยอรมันอีกที แม้ไม่ได้เจ๋งเลอเลิศ แต่น่าจะถือว่าเป็น midget ที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของโลกก็ว่าได้แล้วนะครับ ราคาน่าจะไม่กี่พันล้านบาท เบาสบายสำหรับทร.ที่จะจัดซื้อทั้งกองเรือ 6 ลำ
ขอโทษจริงๆที่จำชื่อรุ่นไม่ได้ ต้องไปลองหาดู เห็นเพื่อนใน TFC เคยลงเอาไว้ เดี๋ยวจะไปขุดโครงการมาบอกเล่า
ในใจก็แอบเชียร์เจ้าตัวนี้อยู่เหมือน Andrasta/SMX-23 มันย่อขนาด scorpine ลง 70%
http://en.dcnsgroup.com/naval/produits/andrasta/
Length: | 50 m |
Surface displacement: | 900 metric tons บางเว็บบอกว่า 855 ton เอามาดำผุดดำว่ายทั่งสองฝั่งก็คงดี |
Speed when submerged: | > 15 knots |
Submerged endurance: | 5 days |
Depth of immersion: | > 200 m |
Operational distance: | > 3000 nautical miles |
Crew: | 21 members |
น่าจะซื้อเอามาฝึกให้ชำนานก่อนที่สำคัญมัน low-cost แล้วค่อยขยับเป็นรุ่นโต เอาประมาณว่าขี่ นิสสันมาร์ส ไปก่อนโตขึ้นจะเป็นเบนซ์
http://www.pakarmedforces.com/2010/10/pn-mini-submarine-fleet.html
ใช่เลย!.......ประมาณนี้แหล่ะครับท่านหลวง เล็กกว่า AMUR 950 หน่อยนึง อำนาขการยิงต่ำกว่าพอสมควร แต่น่าจะซ่อนพรางตัวเองดีกว่าอาเมอร์ เรือแบบนี้แหล่ะครับเหมาะกับอ่าวไทยเจ้าปัฒหา แต่ midget นี่ต้องมีระวางน้อยกว่า 500 ตัน แต่ราคาครึ่งหนึ่งของแมงป่องทะเล ก็ราวๆ 10,000 ล้านบาท!
ออ.....เจอแล้วเรือเกาหลีใต้ จัดอยู่ใน midget ได้แบบคาบเส้น KS-550A ถ้าเขาผลิตมาใช้งานเมื่อไร่ น่าจะมีหลายรุ่น อาจจะมีรุ่นใหญ่กว่านี้แต่ไม่เกิน 1000 ตันด้วย ราคาน่าจะแค่ครึ่งเดียวของฝรั่งเศส
พิมพ์ผิดอีกแล้ว KS-500A ไม่ใช่ 550 แต่สเปกเรือดำลึกเกินกว่าความต้องการไปมาก ล่อซะตั้ง 250 เมตร แค่ 150 เมตร ก็เพียงพอแล้วครับ เดี๋ยวถ้าเขาเริ่มเข้าประจำการ ผู้ผลิตคงออกรุ่นย่อยมาให้เลือกเองล่ะครับ แต่เรือฝรั่งเศสนี่ดูมีชาติตระกูลดีนะครับ แต่ของเกาหลีน่าจะราคาไม่ถึงครึ่งของฝรั่งเศส ผมว่าดีพอสำหรับน้ำตื้นอย่างเราแล้วล่ะครับ ยกเว้นเราจะไปไล่ล่าแมงป่องทะเลนอกรั้วบ้านเรา แบบนี้คงต้องใหญ่กว่านี้เท่าตัว ฝั่งอันดามันค่อยหาสัก 2000-3000 ตัน เหมาะสม ถ้าตัดคลองกระ เราจะสามารถนำเรือดำน้ำที่เหมาะสมกับฝั่งอันดามันไปซ่านอกบ้านที่ฝั่งอ่าวไทยได้ครับ หรือดอดเอาเรือมินิไปลองของน้ำตื้นเขตพม่าก็ได้ด้วย
KSS-500A มาทดแทน KSS-1 Dolgorae class ครับ
แต่ถ้าชอบของหรูและยังยึดติดเรือเยอรมัน และต้องการเล็กๆ ก็นี่เลยครับ
210 mod class
ข้อมมูลจากเวปนี้ http://s3.zetaboards.com/Defense_Philippines/topic/831248/8/
เห็นว่าเป็นเรือย่อส่วนของ 212/214 แต่เอาพื้นฐานมาจาก Ula class ของนอรเวย์ และเอาสเปกบางส่วนจาก 209 มาด้วย ราคาน่าจะครึ่งเดียวของ 212/214 คงประมาณ 12,000 ล้านบาทต่อลำได้ครับ ขนาดพอๆกับ AMUR 950
แต่ราคานี่คงกลืนน้ำลายเอื๊อกเลย.............
ข้อมูลสเปกเรือ 210 mod class
Dimensions: 56 m length, 1,000 tons submerged
Crew: 15 men crew in two-shift, 21 men in three-shift operation; additional bunkspace reserved
Endurance: 30 days target
Construction: Single-hull, HY80 steel; small sail for signature reduction
Propulsion: Diesel-electric; 2x improved MTU 12V 396 diesel; Permasyn electric engine
Signature Reduction Features: X-Rudder configuration, Skew-Back propeller
Armament: 8x 533mm torpedo tubes; x14 torpedoes; missile launch or mine capability installable on customer demand
Sail installations: optical periscope, telescoping communications mast, telescoping radar mast, two-man diver chamber (SOF); additional space reserved
เครดิตเวป http://www.network54.com/Forum/211833/thread/1231528114/HDW+Introduces+Type+210mod+Submarine
เห็นว่าอินโดนีเซียสนใจมันมาก กะเอามาชน AMUR 950 SMX-23 S-1000 โดยตรงเลย
อีกทางเลือกหนึ่งที่อยู่ระหว่างการพัฒนาคือ S-1000 โครงการร่วมสามชาติ รัสเซีย อิตาลี และอินเดีย
ข้อมูลตามวิกิพีเดียเลยครับ http://en.wikipedia.org/wiki/S1000_class_submarines
จริงเรายังไม่ได้ u-206A ตอนนี้ก็ถือว่าไม่เลวนะครับ ถ้าวันข้างหน้าการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงและแนวนโยบายเดิมเกี่ยวกับกองทัพถูกยกเลิกไป เรือ mini sub เหล่านี้กำลังลงแข่งขันในตลาดกันอย่างดุเดือดเลยครับ ตัวเลือกท่าจะเยอะ ราคาน่าสนใจกว่า เหมาะสมกับเรากว่ามาก
ในบอร์ด wing 21 และ TFC ยุคแรกๆจะคุยกันในเชิงวิชาการแบบนี้ครับ หาข้อมูลมาอ้างอิงถกเถียงกันแบบนักวิชาการมากกว่าการกระแน๊ะกระแหน๋กัน ผมชอบแนวๆนี้ครับท่านหลวง.....
Sea Dagger
L - 16 - 20m depending on configuration
Kockums follow-on from the Spiggen, the Sea Dagger is a drawing board concept for a modular midget submarine series which, by swapping out the core section, can be configured in various roles:
1) Attack sub armed with two lightweight torpedoes or mines
2) Swimmer delivery vehicle (Autonomous SDV)
3) Surveillance sub
4) Training (/target) sub
Although not unique for a midget submarine, the Sea Dagger is distinctive in appearance because it lacks the familiar sail.
ไหนๆก็อุดหนุนน้องกิ๊ฟไปแล้ว แล้วจะอุดหนุนเจ้านี้คงไม่ว่ากัน แต่มันเล็กไปหน่อย สัญชาติสวีเดน
Sea drager เป็นเรือดำน้ำสำหรับใช้ในการฝึกการล่าเรือดำน้ำและใช้ในการส่งหน่วยปฎิบัติการพิเศษขึ้นฝั่งฝ่ายตรงข้ามครับ ไม่ได้ถูกออกแบบมาทำการรบในสงครามเรือดำน้ำโดยตรง คิดว่าเทคโนโลยีที่ทร.พยายามสะสมอีกไม่นานคงจะสามารถพัฒนาเรือที่ใช้ในภาระกิจแบบนี้ได้เอง
มามองกันต่อที่เรือชั้น 210 mod class กันต่อนะครับ
เรือชั้นนี้นำเอาระบบขับเคลื่อนแบบที่ใช้ใน 212/214 มาใช้ คือ PERMASYN propulsion motor ซึ่งเป็น motor สำหรับระบบขับเคลื่อนที่เงียบและมีประสิทธิภาพ ยี่ห้อ siemens หรูอ่ะครับ ย่อมสามารถใช้ระบบ fuel cell ใน AIP ได้ หมายถึงว่าเรือชั้นนี้น่าจะใช้ระบบ AIP ที่ทันสมัยที่สุดในโลกครับ
เทียบกับมอเตอร์ไซอร์แล้วกัน ใครเคยเห็นมอไซค์ที่ใช้มอเตอร์วิ่งผ่านหน้ามาแล้วครับ เงียบกรบยังกะจักรยาน นั่นล่ะครับเทียบได้กับเรือที่ใช้ระบบ Fuel cell / PERMASYN motor ส่วนมอไซค์แบบสถุตเตอร์ทั่วๆไป เสียงไม่ดังประหยัดน้ำมันเล็กสะดวก ก็เทียบได้กับ เรือดำน้ำดีเซลขนาด 2000 +- 500 ตัน ทั่วไปครับ และมอไซค์สปอต 1000 cc. อันนี้แรง เสียงดัง เทียบได้กับเครื่องยนต์นิวเคลียร์ของเรือดำน้ำนิวเคลียร์
เรือชั้นนี้น่าจะใช้ระบบ AIP ซึ่งทำให้มันสามารถดำน้ำได้นานโดยไม่ต้องโผล่มาดูดอากาศ น่าจะพอๆกับ 212/214 เพราะใช้เทคโนโลยีเดียวกัน ดังนั้นมันก็กลายเป็นเรือดำน้ำนิวเคลียร์จิ๋วไปเลย ระบบโซน่าร์ก็เจ๋ง จากสเปกนี่กล้าบอกได้เลยว่าถ้าทร.ซื้อมาใช้งาน แมงป่องทะเลหนาวแน่ๆครับ อย่าว่าแต่แมงป่องทะเลเลย ต่อให้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ทะลึ่งเข้ามาในเขตอ่าวไทย ก็อาจจะโดนสอยเอาง่ายๆ เพราะเสียงดังกว่า ใหญ่เทอะทะสำหรับน้ำตื้น ซ่อนพรางตัวได้ยากกว่า ถือว่าเสียเปรียบเรือแบบนี้มาก แม้แต่เรือเอจีสชุดใหญ่ที่ว่าเจ๋งๆราคา 60,000 ล้านก็เถอะ จมเอาง่ายๆ ขนาดเรือ คอตลิน ของออสเตเลียที่ว่าเสียงดังๆ เรือ เอจีสยังหาไม่เจอ แล้วเรือ AIP ใช้ระบบ fuel cell เงียบกริบและเล็กจิ๋วแบบนี้ล่ะ งมเข็มในมหาสมุทรของแท้เลยครับ
ถ้าจะเอาหรูเจ๋ง ผมสนับสนุนรุ่นนี้ครับ แต่ถ้าจะเอาจำนวนมากคุ้มค่า best buy สนับสนุนเรือเกาหลี KS-500A หรือเรือในซีรี่ย์นี้ครับ เครดิตข้อมมูล PERMASYN จากเวปนี้ครับ
http://www.industry.siemens.com/industrysolutions/global/en/marine/default/propulsion/permasyn/pages/default.aspx
โอ้วขออภัย เรือ 210 mod ใช้เครื่องดีเซล MTU แหมเห็นใช้เครื่องมอเตอร์แบบเดียวกันนึกว่าใช้ ระบบ AIP เหมือนกันได้ แหมผมว่าน่าจะสามารถอับเกรดใช้ AIP ได้นะเพราะ type 209 1200 ใหญ่กว่านี้ 100 ตันยังติดตั้งได้เลย แต่คงจ่ายแพงขึ้นพอควร แต่ถ้าไหนๆจะซื้อแพงและประสิทธิภาพน็อคเรือดำน้ำนิวเคลียร์ได้ (เฉพาะเขตน้ำตื้น) ก็น่าลงทุนครับ แค่ระบบโซน่าร์ก็สุดหรูแล้ว ทั้งโซน่าร์หัวเรือ โซน่าร์ active และ passive ข้างตัวเรือ หรูยังกะเรือดำน้ำนิวเคลียร์ ระบบมอเตอร์ไฟฟ้าดีไม่แพ้เรือดำน้ำนิวเคลียร์ ขาดแต่ AIP ถ้ามีก็วัดกันได้เลย
เครื่องยนต์ของเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เงียบกว่าเรือดำน้ำดีเซลล์ เเน่นอนครับ พูดง่ายๆเลย เรือดำน้ำนิวเคียร์คือโรงไฟฟ้านิวเคลียร เเบบย่อส่วน ซึ่งมันไม่มี ลูกสูบที่จะเคลื่อนที่ขึ้นลง ไม่มีการจุดระเบิด เหมือนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดีเซลล์
ซึ่งมันไม่มีอะไรที่สามารถขยับได้ จะมีก็เเต่ ส่วนของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าครับ ที่เป็น เพลา เพื่อที่จะรับไอน้ำจาก เตาปฏิกรณ์ เพลานั้นก็ต่อเข้ากำเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ง่ายๆเลยครับ ที่ซับซ้อนที่สุดก็คงจะเป็น ส่วนของเตาปฏิกรณ์เท่านั้น
เป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ ผมว่าหลายท่านหลงประเด็นเรื่องขนาด ซึ่งเรือดำน้ำส่วนใหญ่ก็เดินทางผิวน้ำเวลาไม่มีความจำเป็นต้องอำพรางหรืออยู่ในภาระกิจซึ่งอ่าวไทยไม่น่ามีปัญหาใด
ที่ว่ากองทัพมักจะยก206Aเป็นตัวตั่งตั่งแต่สมัย ยังต้องซื้อมือหนึ่ง ประเด็นมันคือเรื่องเงิน ครับไม่ใช่ทัพเรือจะต้องการเล็กๆครับ
ในฐานะที่จบทางฟิสิกส์มา(และเรียนทางด้านเศรษฐศาสตร์มาด้วยเช่นกัน) มีวิชาที่ต้องลงคือ นิวเคลียร์ฟิสิกส์นะครับ ท่องแม่ 935 จนเอียน ต้องเรียนเรื่องเตาปฎิกรณืนิวเคลียร์แบบพอรู้มาบ้างขอยืนยันว่าเสียงจากเครื่องยนต์เรือดำน้ำขับเคลื่อนนิวเคลียร์นี่เสียงดังฟังชัดครับ
หลักการอย่างหยาบๆในเตาปฎิกรณืแบบหล่อเย็นด้วยน้ำนะครับ เขาจะเอาแท่งเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ไปแช่ในน้ำแล้วยิงด้วยนิวตรอนเพื่อให้เกิดปฎิกิรกยา และมีแท่ง control rod อยู่ระหว่างแท่งเชื้อเพลิงสมัยผมเรียนก็ต้องแท่งกราไฟต์ เดี๋ยวนี้เปลี่ยนแล้วเพราะกราไฟต์มันติดไฟ เพื่อควบคุมปฎิกิรอยาตามต้องการ
ความร้อนจากปฎิกิริยานิวเคลียร์จะถูกถ่ายเทโดยน้ำที่อยู่ารอบๆตัวมัน(น้ำส่วนนี้จะเป็นระบบปิดไม่ไหลออกสู่ภายนอกเพราะเปื้อนกัมตภาพรังสี และมันจะอยู่ภายใต้แรงกดันที่สูง อุณหภูมิจะสูงเกิน 100 องศาแต่จะไม่กลายเป็นไอเพราะอยู่ภายใต้แรงดันมากกว่า 1 บรรยากาศมากๆ) แล้วน้ำร้อนนี้จะไหลไปยังส่วนแลกเปลี่ยนความร้อนกับท่อน้ำอีกส่วนซึ่งน้ำในส่วนใหม่นี้จะไม่สัมผัสหรือผสมกับน้ำส่วนที่อยู่กับแกนนิวเคลียร์ ความร้อนที่ได้จะสูงจนต้มน้ำเดือด และไอน้ำแรงสูงนี่แหล่ะครับจะไปปั่นเทอร์ไบท์สำหรับระบบขับเคลื่อนเรือ ส่วนเคลื่อนไหวที่สร้างเสียงดังแบบสนั่นหวั่นไหวก็คือ เทอร์ไบท์นี่แหล่ะครับ
มันจะดังยิ่งกว่าเครื่องยนต์ดีเซลมากเลยนะครับ ยังไงก็ลองหาข้อมูลหลักการทำงานของเครื่องยนต์นิวเคลียร์ดูก่อนดีกว่านะ
ส่วนเครื่องยนต์ fuel cell จะไม่มีส่วนเคลื่อนไหวใดๆนอกจากแกนเพลาของใบพัด เพราะอาศัยหลักการแลกเปลี่ยนอิเลคตรอนระหว่างแมมเบรน และได้กระแสไฟฟ้ามาเลยโดยตรง ไม่ต้องไปใช้เทอร์ไบท์ใดๆมาปั่นอีก จึงเงียบกริบ
เรือดำน้ำนิวเคลียร์ได้เปรียบที่มีพลังงานจำนวนมากจากเชื้อเพลิง สามารถสร้างพลังในการขับเคลื่อนที่สูงมาก ผลิตไฟฟ้าให้แก่ระบบไฟฟ้าของเรือขนาดใหญ่ทั้งลำ ไม่ต้องพึ่งอากาศภายนอก ดังนั้นมันจึงเหนือกว่าในเรื่องระยะทางและความเร็ว แต่ความเงียบนี่แย่ที่สุด
และระยะเวลาที่ดำอยู่ใต้น้ำนานมากเท่าที่ลูกเรือจะทนได้ ส่วนมากก็จะใช้เวลาในการดำประมาณ 3-4 เดือน โดยไม่ต้องโผล่ออก ซึ่งเรือดำน้ำดีเซลทำไม่ได้ ต้องโผล่ขึ้นมาชาร์ทแบตตารี่และดูดอากาศเพื่อเปลี่ยนถ่ายอากาศทุกๆ 5-6 วัน ทำให้มันถูกตรวจพบได้ง่ายในช่วงเวลานั้น นั่นคือมันซ่อนพรางตัวจากการถูกพบได้น้อยกว่าเรือที่ดำได้โดยไม่ต้องโผล่
เรือระบบ Air independent propulsion (AIP) ที่ใช้ระบบ fuel cell ( fuel cell จะแบบไหนก็แล้วแต่ มีหลายระบบ) ชื่อมันก็บอกแล้วว่ามันเป็นระบบที่ไม่ต้องพึ่งพาอากาศจากภายนอก ดังนั้นมันจึงไม่จำเป็นต้องขึ้นไปดูดอากาศเลย เรือดำน้ำระบบ AIP (ใช้เครืื่อง Fuel cell) สามารถดำอยู่ใต้น้ำได้นานเกือบถึง 3 สัปดาห์ได้ (เดี๋ยวนี้ไม่รู้พัฒนาไปเกินเดือนแล้วก็ได้) ดังนั้นมันจึงอยู่ใต้น้ำได้นานเกือยเท่าระยะปฎิบัติงานในการออกทะเลแต่ละครั้ง ทำให้มันไม่เสียเปรียบเรือดำน้ำนิวเคลียร์อีกต่อไป
ถ้าเรือดีเซลและ AIP ห่วยกว่าเรืนิวเคลียร์จริง ทำไมหลายๆครั้งในการซ้อมรบ เรือดีเซลจึงสามารถผ่านทั้งเรือคุ้มกัน Aegis ทั้งเรือดำน้ำนิวเคลียร์ที่ทำการคุ้มกันมันไปได้ละครับ ตัวอย่างการซ้อมรบระหว่าง NATO ที่เรือชั้น A-17 ฝ่าเรือคุ้มกันเข้าไปจมเรือบรรทุกบ. พลังงานนิวเคลียร์ได้ จนอเมริกาเองต้องเช่าเรือดำน้ำดีเซลของสวีเดนไปทำการศึกษาเลย
จากเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม ราคามันจึงแพงมาก แต่มันก็ถูกจำกัดที่ขนาดที่เล็กของมันทำให้มันปฎิบัติการได้แต่ละครั้ง 30-45 วันเท่านั้น ผิดกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์ครับ
555555.......เรือดำน้ำเวลาปกติที่ไม่มีความจำเป็น เรือดำน้ำจะเดินทางบนผิวน้ำ ไอ้ผมก็เพิ่งเคยได้ยินก็วันนี้แหละครับ................
โดยปกติเท่าที่รู้มา เรือดำน้ำต้องซ่อนพรางตัวเองให้ดีที่สุด แบบว่าถ้าไม่จำเป็นไม่ว่าเวลาไหนก็ต้องดำอยู่ใต้น้ำเสมอถึงจะถูกสิครับ ที่คุณพูดมันตรงข้ามกับความเป็นจริงเลย แล้วเขาจะสร้างเครื่องยนต์นิวเคลียร์เพื่อให้มันดำใต้น้ำได้นาน 3-4 เดือนไปเพื่ออะไรล่ะครับถ้าเวลาไม่จำเป็นก็แล่นบนผิวน้ำเอา...........ผมว่าคุณหาข้อมูลหลักการทำงานของเรือดำน้ำและหลักนิยมในสงครามเรือดำน้ำมาก่อนดีกว่าครับ พูดไม่ออกอ่ะ
ส่วนเรื่องขนาดน่ะ คุณลองเลี้ยงปลาสวายตัวเอ๊บๆ ในอ่างตื้นๆดูสิครับ จะเข้าใจว่าทำไมขนาดของเรือถึงจำเป็น ไม่มีหลงประเด็นอะไรกันหรอกครับ
มีอยู่อันที่ท่านพูดได้ถูกต้องครับ เงิน กำลังเป็นปัญหาของกองทัพเรือจริงๆ
เสียงจากเทอร์ไบท์นั้นดังขนาดไหน.......ลองเอาแผ่นพลาสติกแบนๆเรียวๆมาเป่าลมดูครับ มันจะมีเสียงหวิว ซึ่งมาจากการเสียดสีกับการสั่นสะเทือนของตัวแผ่นพลาสติกแบนๆอันนั้น แล้วคุณลองจินตนาการดูสิครับ กังหันเทอร์ไบท์ 1 ตัว มีใบพัดเทอร์ไมท์แบบที่ว่านี่เป็นร้อยๆพันๆใบพัด และถูกเป่าด้วยแรงดันจากไอน้ำแรงชนิดที่เรียกว่าเป่ารถกระบะกระเด้ง มันจะสร้างเสียงได้ดังขนาดไหน นอกจากนี้การหมุนรอบตุวเองของชุดเทอร์อย่างเร็วจี๋ (ต่อให้มันมีระะบบแบริ่งแบบแม่เหล็กแรงสูงก็เถอะ) มันจะสั่นสะเทื่อนจากการหมุนรอบตัวเองขนาดไหน ถ้าไม่มีอุปกรณืป้องกันเสียงและอุปกรณ์หักล้างคลื่นเสียง (บับกับปฎิบับ หักล้างยอดแอมปิจูดเป็นศูนย์ได้ ถ้าเฟสและขนาดตรงกันแบบเป๊ะๆ) รับรองว่าคุณนั่งฟังอยู่ข้างๆน่ะ หูแทบแตกเลยครับ
ขอโทษครับพอดีข้อมูลการเดินเรือบนผิวน้ำของเรือดำน้ำมันอย่างที่คุณ neosiamese2 คือผม บอกข้อมูลเรื่องเดินทางระยะสั้นเพื่อเข้าอู่แห้งหรือท่าเรือบางจุดด้วยผิวน้าไม่ใช่ช่วงเวลาสำคัญทางภาระกิจ ซึ่งถ้าใครคิดว่าอยู่ใต้น้ำตลอดเป็นหลัก. มันคงเป็นเรือนิวเครียร์ที่มีขีปนาวุธสำคัญมากกว่าครับ
ผมเองก็มีความรู้เรือดำน้ำแค่ผ่านๆตา
แต่จากการเปรียบเทียบ(ผ่านๆตา)
เรือดำน้ำสมัยก่อน จะมีความเร็วบนผิวน้ำมากกว่า ความเร็วขณะดำน้ำ (ไหนจะขึ้นผิวน้ำสูดอากาศ ชาร์ตแบตฯอีก)
แต่สมัยนี้ มีความเร็วขณะดำมากกว่าแล้ว (เรื่องปลีกย่อย แต่สำคัญ คุณneosiamese2 ก็ได้อธิบายไปเยอะแล้ว)
ที่กองทัพเรือไทยเต้นเป็นเจ้าเข้าและต้องการเรือดำน้ำดีเซลที่ใช้ระบบ AIP เพราะมาเลย์จัดหาแมงป่องทะเลเข้าประจำการ 2 ลำ และเป็นเรือที่ใช้ระบบ AIP มีระบบโซน่าร์ระบบเดินเรือและใช้อาวุธระดับเดียวกับเรือดำน้ำนิวเคลียร์เลยครับ มันก็คือ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ย่อส่วนดีๆนี่เองแถมเงียบกว่าด้วย
แค่ 2 ลำนี่หนักสาหัสสำหรับเราเลยครับ จักกรี911นี่อยู่ในสภาพที่อาจจะถูกจมเอาง่ายๆทีเดียวถ้าต้องเผชิญหน้ากันตรงๆ เราจึงต้องมีเรือดำน้ำระบบ AIP เหมือนกัน และต้องพัฒนาสงครามทุ่นระเบิดอย่างเร่งด่วนครับ แต่ราคาของเรือประเภทนี้สูงมาก แมงป่องทะเลนี่ลำละเกือบ 20,000 ล้านบาท
ถ้าเราจัดหา 210 mod class มาแล้วขออ๊อปชั่น AIP ผมว่าราคาไม่หนี 15,000 ล้านบาทครับ 4 -6 ลำก็ไม่น้อยกว่า 60,000 - 90,000 ล้านบาท แต่ก็เท่ากับว่าได้เรือดำน้ำนิวเคลียร์จิ๋วมาใช้งาน 1 กองเรือ ใครจะซี้ซั้วเข้ามายากมากครับ แม้แต่เรือ Aegis และ เรือดำน้ำนิวเคลียร์ขนาดใหญ่
ถึงรุ่นที่เป็นข่าว งบ1หมื่นล้านจะไม่ได้มาครอง แต่ก็ถือว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูงอยู่ดี
อยากให้หารุ่นที่งบไม่เกิน1หมื่นล้านมาเทียบก่อน คิดว่าน่าจะดีกว่า
ถ้ามากกว่านี้ ถึงแม้จะนิดๆหน่อยๆ โอกาสได้มาก็ยิ่งลดลง
เป็นความคิดเห็นส่วนตัวสำหรับทัพเรือภายใน 2ปีนี้
ขอสั้นๆเรื่องเดียวครับ ข้อเท็จจริง(Fact) บางเรื่องต้องทราบให้แน่ชัดและไม่ถกเถียงกันอีก เช่น ด.นิวเคลียร์มีเสียงดังกว่า ด.ดีเซล ไฟฟ้า หลายเท่า ที่ดังดังเพราะปั๊มน้ำหล่อเย็นครับ อย่างที่ท่าน neosiamese2 ท่านว่าไว้นะครับเสียงมันคนละเรื่องเลยครับ ถ้ายิ่ง ด.นิวเคลียร์เข้ามาปฏิบัติการใกล้ฝั่งละก็โดน ด.ดีเซลจมได้ง่ายๆนะครับ อีกเรื่องคือ ด.เล็กใหญ่ต่างกัน แต่ตอร์ปิโดขนาดเดียวกันนะครับ อาจมีจำนวนน้อยกว่า แต่ยุทธวิธีเรือดำน้ำคงไม่วิ่งไล่ตามขบวนคอนวอยเป็นวันๆเหมือนสงครามโลกครั้งที่ 2 แล้ว
จากเรือ LPD ไหงกลายมาเป็นเรื่องเรือดำน้ำไปได้ ประเทศที่สร้างเรือด. เก่งๆ เช่น HDW ของเยอรมัน DCNS บ.รว่มทุนระหว่างฝรั่งเศส-สเปน Rubin จากรัสเซีย
ในส่วนเรือดำน้ำระบบ AIP (Air Independent Propulsion ) ที่ขึ้นชื่อหน่อยก็เรือจากนาโต้ ส่วนเรือรัสเซีย, จีน ยังมีปัญหาในแง่ความปลอดภัยของระบบ
ไม่สามารถนำเข้าประจำการได้ แต่ทั้งนี้ ถึงเรือด. ที่ไม่ติดตั้งระบบ AIP ก็สามารถปฎิบัติการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ว่ามีงบประมาณเพียงพอสำหรับระบบนี้หรือไม่ ทั้งนี้เรือหลายรุ่นสามารถอัพเกรดติดตั้งระบบ AIP เพิ่มในภายหลังได้ (ตัดบล็อกเรือออก แล้วนำระบบใส่เสริมเข้าไป โดยตัวเรืออาจยาวขึ้น)
แถมอันสุดท้ายครับ ถ้าใครคิดว่างั้นเราต้องปรับปรุงระบบต่อต้านไล่ล่าเรือดำน้ำให้แก่จักรีดีที่สุดแล้ว เพราะกองเรือดำน้ำเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สองถูกฝ่ายอเมริกันและพวกกวาดเรียบเพราะมีเรือบรรทุกบ.ปราบเรือดำน้ำ ซึ่งตอนนี้เรามีเรียบร้อย ก็ต้องตอบว่าจริงครับนับเป็นความโชคดีของเราที่มีเรือบรรรทุกบ.สกีจัมพ์อยู่ที่สามารถปรับเป็นเรือบรรทุกบ.ปราบเรือดำน้ำได้ทันที แต่ยุทธวิธีต่อต้านเรือดำน้ำด้วยอากาศยานกำลังจะกลายเป็นระบบที่ล้าหลังไปแล้วด้วยระบบ Sub SAM ครับ
แมงป่องทะเลนั้นอีกไม่นานคงได้ใช้ Sub SAM ที่พัฒนาจากจรวด MICA น่ะครับ ยิงจากท่อตอร์ปิโด ขึ้นผิวน้ำแล้วเปิดระบบค้นหาที่หัว seeker ฮ.ปราบเรือดำน้ำนี่จะกลายเป็นเป้าชั้นดีให้ยิงเลยทีเดียวเชียว เพราะอยู่ๆจรวดต่อต้านอากาศยานพุ่งขึ้นจากน้ำในระยะไม่กี่กิโลหรือระดับแค่ไม่กี่ร้อยเมตร ถูกสอยทันทีครับไม่มีโอกาสหลบหนี
ส่วนระบบของเยอรมันจะใช้จรวดที่พัฒนาขึ้นใหม่ IDAS มีขนาดใกล้เคียง AIM-9 แต่มันพิเศษกว่าระบบ MICA sub sam ตรงที่มันสามารถยิงฐานเรด้าร์และเรด้าร์ประจำเรือได้ เพื่อเปิดฉากทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของเรือและฐานบนบก เพื่อให้ฝูงบินผ่านเข้ามาโจมตีแบบสบายๆครับ
เรือดำน้ำดีเซลสมัยนี้ โคตรน่ากลัวเลย ผมเป็นผบ.เรือ Aegis และ ด.นิวเคลียร์นี่คิดหนักจริงๆ
เพิ่มเติมภาพระบบ IDAS ครับ เห็นในรูปตกลงในท่อตอร์ปิโด 1 ท่อยิงน่าจะติดตั้งได้ 2-4 ลูกได้มั๊ง ระยะยิง 20 กิโลเมตร สามารถล่ะระบบgifhkiNxit ฤำเรห ในระยะเผาชนได้ CIWs ทำงานแทบไม่ทัน ถ้าเราซื้อเรือเยอรมันโดยตรง เราอาจจะจัดหาระบบ IDAS มาเพิ่มเติมทีหลังได้ครับ ถ้าเราซื้อ Type 209/1400 AIP จากเกาหลี ผมไม่แน่ใจว่ามันจะใช้ระบบ IDAS ได้หรือไม่ครับ
ผมว่าเรือดำน้ำ จำเป็นครับ ถ้าคิดว่า ดำฝั่งอ่าวไทยไม่ได้ ก็ จอดไว้ฝั่งอันดามันซิ่ ทัพเรือภาค ๓ ก็อยู่ฝั่งอันดามัน แต่ผมว่า อ่าวไทยก็ดำได้ อย่าไปดำ ลึกนักซิ่ พอออก ทะเลเปิด น้ำลึกๆ ค่อยดำกันให้ลึก เรือเค้าไว้รบนอกประเทศอยู่แล้ว คงไม่มีใคร มาดำชายฝั่งกระมัง
โครงการเรือดำน้ำ อีกนานครับ มาลุ้นโครงการเพิ่มชีดความสามารถ ฮ.ปราบเรือผิวน้ำแบบที่ 1 ดีกว่าครับ งานนี้อาจกลายเป็น ASW แบบที่ 2 ด้วยครับ แต่ทั้งนี้รอยืยันเรื่องการจัดหา lynx ลำที่ 3 และ 4 ก่อน หากไม่มีการผิดคาดหลังโยกย้ายในเดือนตุลานี้ ถ้า Lynx ลำที่ 3 และ 4 เกิด โครงการขั้นต้นก็ผ่านครับ ( เพราะงบรวมอยู่ในโครงการปรับปรุงเรือชุดนเรศวร ระยะที่ 2 และ 3 อยู่แล้ว) แต่หาก Lynx ไม่ได้เกิด งานนี้ มีลดชั้นเป็นฮ.ลำเลียง เพราะ ฮ. จากยุโรปรายใหม่ และ ฮ.จีน แข่งขันกันน่าดูตอนนี้ แต่ลุ้นตุลลาคมนี้ก่อน แน่นนอนกว่า
อ่านข่าว วงในของท่าน Fatboy แล้ว เหนื่อย ๆ ยังไงไม่รุ๊....
เหมือน เปลี่ยนหัวทีนึง ก็เปลี่ยนแนวจัดหาทีนึง....
เหมือนกับไม่มีหลักที่ชัดเจน...
ถ้าจะต้อง ปรับปรุง Lynx เป็น ASW ก็น่าจะต้องปรับปรุง หรือถ้าจะจัดหาเพิ่มเติมอีก 2 ลำ ก็น่าจะต้องจัดหา...หรือจะจัดหา Z-9 หรือ AW-109 ก็ต้องจัดหา...ไม่ว่า ใตร จะขึ้นเป็น หัวเรือใหญ่ คนใหม่....เพราะน่าจะเป็นสิ่ง ฝ่ายยุทธการ เป็นผู้พิจารณาเห็นถึงความเหมาะสมแล้ว...
แต่ดูเหมือน ต้องรอดู หัวเรือใหญ่คนใหม่ก่อน อีก...
ท่าทางโผมันจะยุ่งจริงๆนะป๋า แต่ไม่พูดถึงดีกว่า แต่ว่าในส่วนทร.ดูเหมือนวุ่นวายน้อยที่สุดแล้ว และทร.ก็ไม่ค่อยจะยุ่งกับฝ่ายการเมืองไม่ว่าฝ่ายไหนอยู่แล้ว ผมว่าโโครงการน่าจะเดินต่อไปตามสถาณการที่สมควร แม้จะเปลี่ยนหัวเรือใหม่ก็ตาม ได้แต่หวังว่าคงไม่สะดุดอีก เพราะสภาพปัจจุบันกองเรือก็จะเป็นรองเขาอยู่รอมร่อแล้ว.........เหนื่อยแทนจริงๆด้วยอีกคนครับ