หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เปิดกระทู้ว่าด้วยเรด้าร์ I-MAST ซีรี่ย์ของ Thales ที่ใช้ใน DW-3000H

โดยคุณ : neosiamese2 เมื่อวันที่ : 22/08/2012 15:16:55

      จากกระทู้ฝันหวานๆของท่านกบข้างนี้   และกระทู้เรื่องเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศในเวปของ TAF และข้อคิดเห็นของอาจารย์รินในเรื่องเรด้าร์ของ Thales   I-MAST ซีรี่ย์   ซึ่งติดตั้งใน DW-3000H   ท่านอาจารย์รินบอกว่าสเปกแต่เดิมของทร.ต้องการเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่ DW-3000H เสนอแบบมาตรงตามต้องการเป๊ะนั้น   อาจจะเปลี่ยนแปลงได้   เพราะทร.คิดว่าตนเองน่าจะได้เรือดำน้ำ    มาถึงตรงนี้ก็ยังไม่มีวี่แววเรือดำน้ำแต่ประการใด     ดังนั้นสเปกเรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงได้    เอาเป็นว่าถ้า DW-3000H ได้ใจกรรมการมากกว่าและอาจจะต้องขยายแบบ   เราต้องมารู้จักระบบเรด้าร์ของ Thales ชุดนี้กันหน่อยครับ

   

วันนี้มาลองทำหน้าที่เป็นเซลแมนจำเป็นของ  Thales ดูบ้าง

            ส่วนมากที่ขุดมาได้จะเป็น IM-400 ซะมากกว่าครับ      จริงๆระบบ IM คือ การเอาอุปกรณ์ระบบตรวจจับที่ขายดีและเชื่อถือได้สูงมาทำการอินติกรัลระบบรวมเป็นชุดเดียวกันภายใต้โดมอันเดียวกัน    แล้วจัดการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบ   มันจึงคล้ายเรด้าร์แบบ  SPY-1K/F    APAR    แต่พวกนั้นเป็นเรด้าร์ชิ้นเดียวทำงานทุกอย่างได้หมดครับ  

          จากรูปภาพ    IM-400  จะเห็นแผ่นเรด้าร์เฟสอะเรย์ยาวๆใต้โดมทรงกลม    เป็นเรด้าร์  Sea watcher 100  ซึ่งเป็นเรด้าร์ตรวจการณ์พื้นน้ำความถี่ X-band     เป็นเรด้าร์ 2D     สามารถตรวจจับเป้าหมายผิวน้ำที่มีขนาดเล็กและเคลื่อนที่ช้ามากๆได้(ทำให้ใช้เทคนิตดรอปเปอร์ในการวัดระยะได้ยากมากด้วย)    โดยสามารถตรวจจับได้ไกล 40 กิโลเมตรขึ้นไป    สามารถตรวจจับ  ทุ่นระเบิดแบบลอยผิวน้ำ   คนว่ายน้ำ    เจ็ตสกี    เรือขนาดเล็ก   อาวุธนำวิถึบินเรี่ยผิวน้ำ      ระยะเท่านี้เป็นระยะจากเรือไปสุดเส้นขอบฟ้าเลยทีเดียวครับ      เมื่อเอาแผ่นเรด้าร์ 4 แผ่นมาติดตั้ง   จึงทำให้สามารถส่งสัญญานเรด้าร์ไปยังเป้าหมายได้ต่อเนื่องตลอดเวลา    คล้ายการทำงานของเรด้าร์ชี้เป้า  หรือ  Interrupted Continuous Wave Illumination (ICWI) technique      ดังนั้นผมจึงเชื่อว่เรด้าร์ตัวสามารถทำตัวเป็นเรด้าร์ชี้เป้าพื้นน้ำที่ดีมากได้   แต่ไม่แน่ใจว่ามันจะชี้เป้าอาวุธนำวิถีเรี่ยน้ำได้หรือเปล่า    เพราะกรณีนั้นควรต้องเป็นเรด้าร์ 3D      ถ้าทำได้มันก็จะสามารถส่งข้อมูลเป้าไปให้ระบบป้องกันระยะประชิด CIWs และจรวด semi-activeแบบต่างๆได้เลย    แต่ถ้าระบบ CIWs เป็น stand alone อยู่แล้วก็ง่ายแค่ส่งข้อมมูลไปยัง CIWs แล้ว CIWs รับช่วงต่อไปเอง  





ความคิดเห็นที่ 1


    ลิ้งค์ใน youtube ของ thales นำเสนอระบบ  I-Mast  จะมีภาพอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้นครับ

http://www.youtube.com/watch?v=8sMgEsHC1Lc

http://www.youtube.com/watch?v=5YgxCTd1pyo&feature=related

  ล่างลงมาจากโดม   เรด้าร์  sae master 400   เป็นแผ่นเรด้าร์แผ่นใหญ่ที่สุดของโดม   เรด้าร์ ชนิดนี้พัฒนามาจาก smart-s mk2 ที่โด่งดัง    เป็นเรด้าร์เฟสอะเรย์ 3D ที่ทันสมัยที่สุดแบบหนึ่งของโลกครับ     ระยะตรวจจับ  250 กิโลเมตร    IM-400 เอาเรด้าร์ชนิดนี้มาติดตั้งโดยใช้แผ่นสายอากาศ 4 แผ่นติดตั้งโดยรอบ   ทำให้ไม่จำเป็นต้องหมุนจานเรด้าร์อีก (แต่เปลืองแผ่นสายอากาศและทำให้ราคาสูงขึ้น)     แต่มันก็มีข้อดีนะครับ  คือ จะสามารถทำให้เรด้าร์นี้ใช้เทคนิค  ยิงสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้าออกไปยังเป้าได้ต่อเนื่องตลอดไม่มีช่วงขาดหายเพราะเนื่องจากการหมุนจานเรด้าร์  หรือ  Interrupted Continuous Wave Illumination (ICWI) technique      ซึ่งหมายถึงว่าจะทำให้มันทำงานในโหมดแบบเดียวกับเรด้าร์ชี้เป้าไปด้วยในตัว    ดังนั้น มันจึงทำหน้าที่ทั้ง  ตรวจการณ์อากาศ  ติดตามเป้าหมาย   และล็อคออนเป้าหมายได้พร้อมกัน     ซึ่งแตกต่างจาก Smart-s  ที่ใช้แค่ตรวจการและติดตามเป้าหมาย   ถ้าจะล็อคเป้าแล้วอับโหลดข้อมูลให้ลูกจรวด  ก็ต้องมีเรด้าร์ชึ้เป้าอีกอย่างน้อย 1-2 แท่น  (ของ Thales ก็ STIR รุ่นต่างๆไงครับ)     

     ส่วน IM-500  ผมเดาว่าเรด้าร์ในส่วนตรวจการณ์พื้นน้ำนั้น   “อาจจะ”   ไม่ใช่  sea watcher 100 ที่เป็น 2D    น่าจะเป็นระบบเรด้าร์ 3D  ซึ่งจะสามารถตรวจจับและชี้เป้าอาวุธบินเรี่ยน้ำให้แก่ระบบป้องกันระยะประชิดและจรวดที่ไม่ใช่ semi-active  ที่ต้องพึ่งการชี้เป้าตลอดเวลาให้แก่ลูกอาวุธนำวิถี  หรือพวกปืนใหญ่ประจำเรือเป็นต้น   เหมาะกับ 76 มม.  super  rapid จังเลย      

        หรือไม่ก็ใช้แผ่นสายอากาศแผ่นเดียวทำหน้าที่ทั้งหมดเหมือนพวก  APAR  SPY-1  ไปเลย   เพราะจากรูปภาพ  IM-500  ผมเห็นแต่สายอากาศอันใหญ่เพียงอันเดียวและมีขนาดใหญ่กว่า sea master-400 ด้วย   อาจะเป็นรุ่นใหญ่กว่าก็ได้    ดังนั้นน่าจะมีระยะตรวจจับมากกว่าเช่นกันและทำงานทั้งในการตรวจการณ์พื้นน้ำและตรวจการณ์อากาศ    ติดตาม  ล็อคออนชี้เป้าทุกขั้นตอนในเรด้าร์ตัวเดียวกันเลย





โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/08/2012 22:26:49


ความคิดเห็นที่ 2


    อธิบายภาพในกระทู้  

ภาพแรก  DW-3000H  และชุดเรด้าร์  IM-400

ภาพสอง  IM-100

ภาพที่สาม  Sea watcher-100  เรด้าร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ 


    การอินตีกรัลระบบเรด้าร์ที่มีอยู่แล้วและขายดีน่าเชื่อถือในตลาดโลกแบบ IM-400    ทำให้ระบบสมบูณณ์แบบคล้ายๆ  APAR   EMPAR   SPY-1   เพียงแต่มันต้องใช้เรด้าร์หลายตัวมาเชื่อมระบบการทำงานร่วมกัน   ไม่ใช่แผ่นเดียวจบ      แต่ผมว่าราคาน่าจะถูกกว่าระบบข้างบน   เพราะมีจำนวนการผลิตในปริมาณที่มากกว่ามากมายนัก      และการที่มีเรด้าร์หลายแบบอย่างนี้ทำให้การทำงานในแต่ละส่วนลดภาระลงไป     เช่น   sea master  พบเป้าหมายเครื่องบินข้าศึกสัก 12 เป้าหมาย     ทำการติดตามและล็อคออนเป้า   แล้วยิง  SM-2 ออกไป   ระบบทำการอับโหลดข้อมูลให้ลูกจรวด SM-2 อยู่   แต่จรวดระลอกแรกยังไม่ทันถึงเป้าหมาย   เครื่องบินข้าศึกยิงจรวดต่อต้านเรือรบออกมาเครื่องละ 4 ลูก    จึงปรากฏเป้าหมายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 48 เป้าหมาย    เช่นนี้   ระบบ sea master ก็อยู่ในสภาพ over load ไปเลย     ทำให้อาวุธต่อต้านเรือรบเล็ดลอดเข้ามาได้       แต่เมื่อเข้ามาระยะต่ำกว่า  40 กม.    ระบบเรด้าร์   sea watcher   ก็จะสามารถทำการติดตามเป้าหมายและล็อคออนให้ได้แทน sea master ที่อยู่ในสภาพ  over load แล้ว       และส่งข้อมูลให้  ESSM หรือ CIWS  ทำหน้าที่เข้าสกัดต่อไปได้  (ถ้ามันทำได้)

         ส่วนโดมด้านบนเป็นระบบสื่อสารดาวเทียม     ต่ำลงมาเป็นวงแหวนนั้นคือ ระบบ  IFF      ต่ำลงมากอีกเป็น sea watcher    และต่ำลงมาอีก เป็นระบบสื่อสารข้อมูลต่างและ ESM      ด้านเหลี่ยมตรงสันข้างๆทั้งสี่  เป็นระบบ E/O แบบ gate keeper     ผมบอกเลยว่า  I-MAST ซีรี่ย์นี่น่าสนใจมากๆครับ   

     การทำการติดตั้งในเรือที่ทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศนั้น    แม้ว่าจะสามารถติดตั้ง  IM-400/500  เพียงโดมเดียวก็เพียงพอ   แต่เพื่อความชัวร์   ควรต้องมีระบบรองด้วย    เช่น   ใช้  Smart-s mk2  ในการตรวจการณ์อากาศ    และมี  STIR 2.4  เป็นเรด้าร์ชี้เป้าสำรองสัก 2 ชุดหน้าหลัง     แล้วให้ IM-400/500 เป็นแรด้าร์อำนวยการรบแทน     ดังเช่นในเรือพิฆาตชั้น  DE Zeven ของดัชท์เองยังต้องติดตั้ง  Smart-L mk2 เลย    ซึ่ง   Smart-L  สามารถตรวจจับเป้าหมายได้ไกล  400-480 กิโลเมตรทีเดียว  แต่ APAR มีระยะตรวจจับต่ำกว่านั้น   น่าจะน้อยกว่า  Smart-s เสียด้วยซ้ำครับ         

    แปลกใจอยู่อย่างหนึ่งครับ     ในเรือของยุโรปนั้น   จะเห็นระบบ  Smart-L เป็นระบบตรวจการอากาศและเป็นระบบรอง ในเรือป้องกันภัยทางอากาศ    แต่ก็ยังสามารถใช้  ASTER-30 ได้   แม้ว่าระบบเรด้าร์อำนวยการรบหลักจะเป็น EMPAR  ที่รองรับ ASTER อยู่แล้ว      แสดงว่าระบบ  SMART-L    และ SMART-S   น่าจะรองรับ  ASTER-15/30   ได้นะครับ      นอกจากนี้  Thales ยังทำให้มันรองรับระบบ  K-VLS  ของเกาหลีได้ด้วย      น่าจะมีการพัฒนาซอฟแวร์และอินเตอร์เฟสรองรับอยู่          ผมว่ามันน่าสนใจกว่า    Aegis +  SPY-1K/F  ด้วยซ้ำเพราะ  SPY-1 ซีรี่ย์เป็นเรด้าร์ PESA ไม่ใช่  AESA    และราคาก็น่าจะถูกกว่าด้วย

        ดังนั้นผมคิดว่าเรือ  DW-3000H    ถ้าทร.ต้องการแบบที่ใหญ่กว่าและติดตั้งระบบที่ดีกว่า    มันจะน่าสนใจมากๆครับ   เพราะรองรับระบบของอเมริกา    เกาหลี   และน่าจะหรืออาจจะรองรับของยุโรปได้        

     ส่วนระบบโซน่าร์คงต้องขอผู้เชี่ยวชาญมานำเสนอครับ    ถ้าต้องไล่ล่าแมงป่องทะเล  เพราะดีลของทร.ไทยต้องการเรือที่จะมาไล่ล่ามัน   ซึ่งต้องการโซน่าร์หัวเรือ   หรือไม่ก็ต้องหรูเอาโซน่าร์ข้างตัวเรือไปเลย   รวมถึงโซน่าร์ลากท้ายด้วย

 

อธิบายรูปในคอมเมนท์นี้

รูปแรก  Smart-S mk2

รูปสอง   Smart-L

รูปสาม  เรือ OPC ที่ทาง Thales และอู่ต่อเรือของดัชท์เสนอแก่หน่วยตรวจการชายฝั่งอเมริกา   จะติดตั้งด้วย  I-Mast-400 




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/08/2012 22:38:12


ความคิดเห็นที่ 3


   อ้าวภาพ  Smart-s ไม่มา  ลองอีกที

จากการพัฒนาระบบเรด้าร์  IM series ของ  Thales ชุดนี้  ทำให้เรามีทางเลือกมากขึ้นในเรือป้องกันภัยทางอากาศครับ   เพราะราคาน่าจะถูกกว่าการจัดหาระบบแพงๆมากอย่าง  SPY-1K/F+Aegis   หรือ  APAR   จากรูปภาพร่างลายเส้นของเวปนี้

http://z11.invisionfree.com/shipbucket/ar/t2654.htm

จะเห็นว่าระบบนี้ใช้คู่กับ  Smart-L mk2  เหมือนที่เรือ  FM-400 ของ DCN ใช้ระบบเรด้าร์ Heracle และมีระบบ  Smart-L mk2 เป็นระบบรอง  (ที่สร้างข้อกังขาให้ผมมานานว่าตกลงระบบของ Thales สามารถใช้กับ Slyver VLS และ ASTER-15/30 ได้หรือเปล่า)    แต่เราอาจจะลดสเปกลงไปใช้  smart-s mk2 เป็นระบบรองแทนแล้วระวางขับน้ำก็อยู่ในช่วง 4000-5000 ตัน 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/08/2012 23:07:22


ความคิดเห็นที่ 4


เอ้ยผิดอีกแล้ว     ต้องเรือชั้น Horizon สิที่ใช้  EMPAR + Smart-L  แล้วทำให้สับสนไม่แน่ใจว่าระบบของ Thales รองรับ  slyver VLS กับ ASTER 15/30  หรือเปล่า 

รวมรูปเรือป้องกันภัยทางอากาศราคาหย่อนกว่าโคตรเอจีสชุดใหญ่

รูปแรก    MEKO A-200  Aegis  ที่ทร.ไทยเกือบจะได้มาสองลำหลังพลาด KDX-2   ราคาที่เสนอเกือบ สองหมื่นล้าน  โดยแลกกับข้าว กว่า 3 ล้านตัน

รูปสอง  De  zeven  ใช้  APAR + Smart-L

รูปสาม  F-124   ใช้ APAR+ Smart-L

รูปสี่  horizon  ใช้ EMPAR+Smart-L

   ตอนนี้ขอแค่ 4000-5000 ตัน   แล้วเป็น IM-500 + smart-L ก็ได้ครับ  ไม่ต้อง  Aegis ก็ได้ครับ  ระบบอำนวยการรบของ Thales ก็พอแล้ว





โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/08/2012 23:53:13


ความคิดเห็นที่ 5


เรือพิฆาต เจ้าสมุทร Sejong นำเสนอจากเกาหลีใต้คับ ไม่รู้เป็นไรจะตั้งหรือตอบกระทู้ ส่งคลิปไม่ได้

ลักษณะกดที่ Insert ส่งคลิป ไม่เปิดหน้าให้วางคลิป ท่านใดทราบปัญหานี้กรุณาด้วย

โดยคุณ kabinblade เมื่อวันที่ 21/08/2012 10:13:30


ความคิดเห็นที่ 6


^
^
^
http://thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=15872

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 21/08/2012 13:03:28


ความคิดเห็นที่ 7


     เพิ่มเติมอีกนิดสำหรับ  I-Mast-100 นะครับ 

  เรด้าร์ตรวจการณ์พื้นน้ำก็ยังคงเป็น sea watcher-100 เช่น IM-400  แต่เรด้าร์ตรวจการอากาศนั้นน่าจะเป็น  Variant ซึ่งเป็นเรด้าร์เฟสอะเรย์แบบ 2D  ดังนั้นน่าจะต้องพึ่งพาเรด้าร์ควบคุมการยิงอยู่ดี   (สังเกตว่าเรด้าร์ 2D มักจะยาวๆแคบๆ   แต่เรด้าร์ 3D มักเป็นแผ่นใหญ่ๆเกือบจตุรัส  เพราะต้องกวาดทั้งสามแกน)    ก็เหมาะกับเรือตรวจการณ์และคอร์เวตหรือ OPV ครับ  

   เรือ DW-3000H ใช้เรด้าร์ควบคุมการยิง STIR 1.2 เพื่อควบคุมการยิงปืน 76 มม. super rapid อีกทีเอาชัวร์  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/08/2012 16:13:39


ความคิดเห็นที่ 8


"IM คือ การเอาอุปกรณ์ระบบตรวจจับที่ขายดีและเชื่อถือได้สูงมาทำการ อินติกรัล ระบบรวมเป็นชุดเดียวกันภายใต้โดมอันเดียวกัน"

 

อินตักรัล คืออะไรครับ

โดยคุณ Latales เมื่อวันที่ 21/08/2012 18:34:14


ความคิดเห็นที่ 9


อินทิกรัล ในภาษาไทยเรียกว่า บูรณาการ ครับ แต่ผมว่าฟังแล้วทะแม่งๆยังไงไม่รู้ เอาเป็นว่าเป็นเหมือนการรวมระบบเข้าไว้ด้วยกัน(all in one) เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและการจัดการ

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 22/08/2012 13:23:29


ความคิดเห็นที่ 10


    กรณีที่ถ้าทร.ต้องการประหยัดเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเรือในภาระกิจต่อต้านเรือดำน้ำ   ก็อาจจะเลือกใช้  IM-400 และใชั  Smart-s mk2 + STIR 2.4 HP เป็นระบบรองก็ได้   ราคาน่าจะถูกลง    ส่วนระบบ VLS ให้เผื่อพื้นที่สำหรับ 32 cell  ไว้     เพราะถ้าอเมริกันยอมขายจรวดให้เราแค่ ESSM  ASROC  แต่ไม่ยอมขาย  SM-2 ให้     วันข้างหน้าถ้า Thales ยืนยันว่าสามารถปรับระบบให้ใช้กับ  Aster30  ได้  ก็ค่อยอับเกรดทีหลัง     หรือถ้าเกาหลีใต้พัฒนาจรวด  Cheongung /Cheolmae-2 ให้มีระยะยิงถึง 150 กฺโลเมตรได้และพร้อมใช้กับ  K-VLS  เราก็สามารถปรับปรุงเรือให้สามารถใช้จรวดต่อต้านอากาศยานพิสับไกลได้ทีหลังครับ  

   รูปแสดงระบบ Cheolmae-2  ทั้งที่ติดตั้งบนบกและในเรือ  KDX-2A   ระบบจรวตนี้ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากรัสเซีย  ตอนนี้ประสิทธิภาพยังแค่ใกล้เคียง ESSM   เกาหลีตั้งเป้าว่าจะลดหน้ำหนักระบบลงมารวมถึงระยะยิงที่ไกลขึ้นไปถึง 150 กม.ให้ได้    เพื่อจะได้ไม่พึ่งพาอเมริกันมากเกินไปและเพื่อหวังผลการส่งออกครับ




โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/08/2012 15:16:55