หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขอชาวTFCช่วยโพสภาพอาวุธที่กองทัพไทยทำเอง ทั้งภาพและข้อมูลครับ

โดยคุณ : tan02 เมื่อวันที่ : 28/08/2012 08:01:41

ขอชาวTFCช่วยโพสภาพอาวุธที่กองทัพไทยทำเอง ทั้งภาพและข้อมูลครับ

พอดีสนใจอาวุธที่กองทัพไทยเราทำเองครับ แต่หลายตัวก็วิจัยแล้วเงียบไปเลย ต้องขออภัยเจ้าของภาพด้วยครับ ผมเซฟมั่วๆ ไม่ได้บันทึกลิงค์ไว้ บางภาพก็มาจากเว็บเรานี่ละครับ











ความคิดเห็นที่ 1


อ้าวเสียหลายภาพเลยแหะ...

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 18/08/2012 23:07:21


ความคิดเห็นที่ 2


รุ่นสร้างชาติ  ภาพบ้างภาพไม่ต้องมีคำอธิบายแค่เห็นก็น้ำตาไหล   บรรพบุรุษใช้มันปกป้องประเทศเพื่อให้ลูกหลานวันหน้า

 

ปล.คนเก่าๆ ภาพมันก็เลยเก่า







โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 01:49:24


ความคิดเห็นที่ 3


เขาบอกว่ามันคือ สตาร์ สเปน  แต่ผลตในไทย


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 01:54:17


ความคิดเห็นที่ 4


ขอ up อีกที ครั้งก่อนไม่ขึ้น

 

ปพ.95/03  ขนาด 11 มม. ที่ไทยทำด้วยมือทั้งกระบอก



โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 02:04:25


ความคิดเห็นที่ 5


อีตัวหนึ่ง   เขาเรียกว่ารุ่งริ่งไพศาล เพราะเสียเงินมัดจำแต่ไม่ได้ปืน

 

Rung Paisarn RPS-001


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 02:15:58


ความคิดเห็นที่ 6


Rung Paisarn


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 02:17:35


ความคิดเห็นที่ 7


คลิ๊ปของฝ่านตาลีบัน_ยาว30กว่านาทีเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้

http://www.liveleak.com/view?i=c62091316c

โดยคุณ monsoon เมื่อวันที่ 19/08/2012 05:22:43


ความคิดเห็นที่ 8


ภาพของท่านหลวงขลังดีแท้ มองbackgrondแล้วรู้สึกตื้นตันใจ หาดูได้จากเวปใหนครับผมชอบภาพพวกนี้มาก (ทำงานโรงงานบางคนไม่ใส่รองเท้า สุดๆครับ)

โดยคุณ pc1 เมื่อวันที่ 19/08/2012 09:16:50


ความคิดเห็นที่ 9


ศวอ.ทอ.ทดสอบจรวด ขนาด ๑๒๗ มม.

ศวอ.ทอ.ทดสอบจรวด ขนาด ๑๒๗ มม.

รู้สึกเบื่อๆ  งานวิจัยบ้านเรเยอะมากๆๆ เป็นกระสอบๆๆ  สุดท้ายก็ทิ่งไป แล้วก็เขียนสรุปรายงานว่าได้องค์ความรู้ พูดสวยหรูว่า know how จบโครงการ    เมื่อได้ตังได้ยศแล้วจะทำต่อไปทำไม

 

 



โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 19/08/2012 11:09:54


ความคิดเห็นที่ 10


ขอบคุณท่านหลวงอาวุธวิเศษ   มากครับ ภาพสร้างเครื่องบินเองนี่ ผมไม่เคยเห็นมาก่อนเลย

หลายโครงการวิจัยแล้วก็ไม่ได้ใช้เสียดายเหมือนกันครับ

ท่านอื่นพอจะมีอีกไหมครับ ช่วยๆกันหน่อยนะครับ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 19/08/2012 14:48:59


ความคิดเห็นที่ 11


ช่วยครับ จากในเวปนี้แหล่ะ

Link


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 19/08/2012 19:35:15


ความคิดเห็นที่ 12


สุดยอดเลยครับท่านหลวงอาวุธวิเศษ ภาพที่ในโรงงานยังไม่เคยผ่านตาเลย

โดยคุณ worapon เมื่อวันที่ 19/08/2012 20:29:49


ความคิดเห็นที่ 13


มีภาพอีกนิดหน่อย

 

ปล.คนเก่าๆ ภาพมันก็เลยเก่า   ห้าม save ใคร save ข้อให้ท้องเสียวันแต่งงาน  ใครที่แต่งแล้วก็ให้ถือว่าโมฆะ  อิอิ อำกันเล่นๆๆ

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 00:12:57


ความคิดเห็นที่ 14


ขอ up อีกที ครั้งก่อนไม่ขึ้น

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 00:16:03


ความคิดเห็นที่ 15


โอ ...  ดูในรูปแล้ว ยอมรับเลย ว่าเป็นช่างฝีมือจริงๆ

สมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องเชื่อมไฟฟ้า จากที่ดูในรูป  เป็นการนำเครื่องยนต์

เข้ามาประกอบโครงตัวเครื่องบินในไทย .. ใช้วิธี ตีแผ่นเหล็กขึ้นรูป

ขอบก็ ตีขึ้นตะเข็บ แล้วใช้ตะกั่วบัดกรีแนวตะเข็บ ( เห็นฆ้อนเผา ที่กำลังเชื่อม )

.. สุดยอดงานฝีมือจริงๆ ส่วนผมสอบตก การขึ้นตะเข็บนี่แหละ   .. อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 20/08/2012 05:48:01


ความคิดเห็นที่ 16


1


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:20:01


ความคิดเห็นที่ 17


2


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:20:37


ความคิดเห็นที่ 18


3


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:21:11


ความคิดเห็นที่ 19


4


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:21:48


ความคิดเห็นที่ 20


5


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:22:21


ความคิดเห็นที่ 21


6


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:24:21


ความคิดเห็นที่ 22


7


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:25:01


ความคิดเห็นที่ 23


8


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:25:42


ความคิดเห็นที่ 24


9


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:26:15


ความคิดเห็นที่ 25


10


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:26:47


ความคิดเห็นที่ 26


9


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:28:19


ความคิดเห็นที่ 27


11


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:28:48


ความคิดเห็นที่ 28


12


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:29:57


ความคิดเห็นที่ 29


ขอนญาตเจ้าของกระทู้ เนื่องจากมีภาพที่อยากใช้ได้ชมหลายภาพ

 

ผมรักเครื่องบินจริงๆ  อิอิ


โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 20/08/2012 10:49:21


ความคิดเห็นที่ 30


จัดเต็มได้เลยครับ ขอบคุณอีกครั้งสำหรับภาพหายากครับ ^_^

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 20/08/2012 11:49:50


ความคิดเห็นที่ 31


พี่หลวงๆ  ..  เอาอีกๆๆๆ   อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 20/08/2012 22:18:36


ความคิดเห็นที่ 32


ช่วยหาจากกระทู้เก่าๆครับ   http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=13143&topic=%E0%BC%C2%C0%D2%BE%C3%B6%B6%D1%A7%20%C3%B6%E0%A1%C3%D2%D0%B7%D5%E8%E4%B7%C2%CA%C3%E9%D2%A7%E0%CD%A7



ขออนูญาติคุณ ท้าวทองไหล    น่ะครับ





โดยคุณ snake เมื่อวันที่ 21/08/2012 00:54:43


ความคิดเห็นที่ 33


เจอข้อมูลแล้วครับ..



1. ความเป็นมาของโครงการ : เมื่อปี พ.ศ.2521 ศอว.ทบ. ได้ทดลองสร้างรถเกราะขึ้น 1 คัน ตามแนวความคิดของ พล.อ.เจริญ พงษ์พานิช ซึ่งเป้น เสธ.ทหาร อยู่ในขณะนั้น โดยยึดถือแบบรูปร่าง COMMANDO SCOUT ของบริษัท คาดีแลค สหรัฐอเมริกา เป็นรถใช้เครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 130 แรงม้า และได้ทำการทดลองวิ่งเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ทั้งบนถนนและในภูมิประเทศ ต่อมาก็ได้ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ อีกหลายครั้ง จนถึงปี พ.ศ.2523 ศอว.ศอพท. ได้รับงบประมาณให้สร้างรถเกราะ ต้นแบบคันที่ 2 อีก 1 คัน โดยใช้เครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 150 แรงม้า รูปร่างใกล้เคียงกับคันแรก แต่มีขนาดใหญ่กว่าคันแรก ทาง ศอว.ศอพท. ได้ทดลองวิ่ง อยู่ประมาณ 1 ปี เป้นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร ผลปรากฎว่ารถมีขนาดใหญ่ น้ำหนักมาก ไม่สมดุลย์กับขนาดของเครื่องล่าง เกิดการชำรุด ง่ายและมีข้อบกพร่องซ่อนเร้น ไม่คาดมาก่อนหลายประการ

2. มูลเหตุที่ขอให้ดำเนินการวิจัย : ในช่วงปี พ.ศ.2522 +- 2523 นั้น การสู้รบปราบปราม ผคก. ยังอยู่ในชั้นรุนแรง ฝ่ายทหารมักจะถูก ผกค. ซุ่มโจมตี ได้รับความเสียหายอยู่เสมอ ทำให้กำลังพลและยุทโธปกรณ์ต้องได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก พล.ท.สัมผัส พาสนยงภิญโญ ซึ่งดำรงตำแหน่ง ผบ.ศอว.ศอพท. อยู่ในขณะนั้น ได้มีแนวความคิดที่จะป้องกันและตอบโต้ฝ่าย ผกค. ที่คอยซุ่มโจมตีขบวนยานยนต์ของทหาร โดยการสร้างรถหุ้มเกราะขนาดเล็ก ๆ ขึ้น เพื่อเป้นการป้องกันและขวัญกำลังใจแก่ทหาร โดยขณะเคลื่อนพลด้วยยานยนต์ จากสถานการณ์และสภาพแวดล้อม ประกอบกับความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ที่ได้รับการสร้างรถเกราะ 2 คัน ต้นแบบที่ผ่านมา ศอว.ศอพท. จึงมั่นใจจะสร้างรถเกราะในแนวความคิดใหม่ขึ้นได้ และเพื่อให้มีการทดลองใช้จริงในสนามรบ โดยมุ่งหมายที่จะใช้รถตาม PILOT PROJECT  ที่ปฏิบัติการจริง โดยให้หน่วยรบตามชายแดน เช่น ทหารราบใช้เป็นรถควบคุมขบวนเดินทาง หรือใช้เป็นรถเข้าปะทะทำการสู้รบโดยทันที ที่มีการชุ่มโจมตีเกิดขึ้น ณ จุดใดจุดหนึ่ง เพราะ การปฏิบัติในขณะนั้น เมื่อถูกโจมตีครั้งใด ขบวนรถทุกทหารไปช่วยก็ได้ใช้รถ ขนาด 1/4 ตัน หรือ 3/4 ตัน ที่ไม่มีเกราะหุ้ม ซึ่งทำให้ฝ่ายเราได้รับอันตรายจากการซุ่มโจมตีจากฝ่าย ตรงข้ามทุกครั้ง ซึ่ง ผกค. จะรู้เสมอว่า เมื่อซุ่มโจมตีที่จุดใดแล้ว ก็จะจัดเตรียมซุ่มโจมตี ขบวนรถที่จะยกกำลังหนุนมาช่วยไว้ก่อนได้เสมอ และฝ่ายเราก็เป็นอันตรายทุกครั้ง แต่ถ้าใช้รถเกราะที่สร้างมาให้บรรทุกทหารได้คันละ 4 - 5 นาย จะสามารถเข้าช่วยฝ่ายเดียวกัน ที่ถูกซุ่มโจมตีได้แน่นอน โดยตนเองไม่ต้องถูกซุ่มโจมตีพินาศไปเสียก่อน อย่างที่เป็นอยู่เสมอ

3. ความมุ่งหมายของโครงการ : เพื่อสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ จำนวน 5 คัน ให้หน่วยที่ออกปราบปราม ผคก. ใช้เป็น รถลาดตระเวนตามเส้นทาง เป็นรถคุ้มครองขบวนเดินทาง ใช้เป็นรถเข้าปะทะเมื่อถูกซุ่มโจมตี นอกจากนี้ยังใช้ป้องกันจุดสำคัญ และสถานที่สำคัญ ใช้ป้องกันสนามบิน ใช้เป้นฐานยิงในลักษณะต่าง ๆ เช่น การใช้เป็นฐานยิงเคลื่อนที่เร็วในการป้องกันสถานที่สำคัญ ๆ โดยติดตั้งอาวุธให้กับรถดังกล่าว มีอำนาจการยิงที่มีประสิทธิภาพ

4. ขอบเขตการวิจัย : 

  • แบบรูป จะกำหนดให้มีขนาดเล็ก มีกำลังสูง สามารถบรรทุกทหาร พร้อมสัมภาระได้ 4 - 5 นาย
  • โครงสร้างรถใช้เหล็กเกราะแผ่นหนา 9.5 มม. เพื่อให้สามารถป้องกันกระสุนปืนเล็กได้
  • ติดตั้งอาวุธ ปก. เอ็ม 60 และ ปก.5.56 ให้กับรถ เพื่อให้มีอำนาจการยิงป้องกันตัวเอง และป้องกันผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • วัสดุ อุปกรณ์ ตลอดจนชิ้นส่วนที่นำมาสร้าง ต้องมีความคงทนต่อการใช้งานจัดหาง่าย และใช้ของที่ผลิตได้ในประเทศมาดำเนินการให้มากที่สุด เว้นของบางอย่างที่จำเป็นต้องจัดหาจากต่างประเทศ
  • ชิ้นส่วนทางแมคานิกส์ สำหรับใช้ในการสร้างที่จัดหาไม่ได้ หรือมีลักษณะพิเศษ จัดทำโดยเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคและช่างเทคนิคของ ศอว.ศอพท.
  • การประกอบ การสร้าง และการทดสอบ ดำเนินการโดยเจ้าหน้าที่ ช่างเทคนิคและเจ้าหน้าที่ทางเทคนิคของ ศอว.ศอพท. เว้นการทดสอบการใช้งานจากผู้ใช้นั้น ให้ ทบ. ดำเนินการ
  • เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ต้องง่าย สะดวกต่อการใช้งาน การส่งกำลัง และซ่อมบำรุงในอนาคต

5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ : เมื่อดำเนินการสร้างรถเกราะคอมมานโดสเก้าท์ สำเร็จแล้ว มีผลที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้

  • หน่วยที่ออกปราบปราม ผกค. เช่น หน่วยทหารราบ จะมีรถเกราะใช้เป็นรถลาดตระเวนตามเส้นทาง รถคุ้มครองขบวนเดินทางใช้เป็นรถเคลื่อนที่เข้าจุดปะทะเมื่อถูกโจมตี และเป็นการลดอันตรายให้แก่ฝ่ายเราได้มาก เนื่องจากมีเกราะกำบัง
  • สามารถใช้รถเกราะฯ ป้องกันจุดหรือสถานที่สำคัญ และใช้เป็นฐานยิงที่มีเกราะกำบังในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้เป็นฐานยิงเคลื่อนที่เร็ว
  • เจ้าหน้าที่ช่างเทคนิคจะได้รับความรู้และประสบการณ์ทางเทคโนโลยี ในการสร้างรถเหกราะหลาย ๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเชื่อมเหล็กเกราะซึ่งมีการเชื่อมผิดไปจากการเชื่อมเหล็กธรรมดา ซึ่งจะเป็นแนวทางในการสร้างรถเกราะชนิดอื่น ต่อไปได้
  • เป็นการฝึกบุคคลากร ของ ทบ. ให้มีความรู้ ความชำนาญ ซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ประหยัดงบประมาณในการจัดหารถเกราะจากต่างประเทศ ซึ่งจัดหาได้ยาก และมีราคาแพง

ระยะเวลาดำเนินการ : ใช้ระยะวลาดำเนินการ 5 ปี (2523 - 2528)  

คุณลักษณะเฉพาะ

พลประจำรถ 4 นาย
น้ำหนักพร้อมรบ 7 ตัน
ความกว้าง 2,180 มม.
ความยาว 5,070 มม.
ความสูงตัวรถ 1,730 มม.
ความหนาเกราะ 9 มม.
อาวุธ    
  • ปก.93 ขนาด 0.50 นิ้ว (12.7 มม.)
1 กระบอก
  • ปก.เอ็ม 60 ขนาด 7.62 มม.
1 กระบอก
สมรรถนะ    
  • ความเร็วสูงสุดบนท้องถนน
105 กม./ชม.
  • อัตราไต่ลาด
60 %
  • ความจุเชื้อเพลิง/ระยะปฏิบัติการ
150 ลิตร/335 กม.
เครื่องยนต์    
  • Cummins 6 สูบดีเซลแบบ 378-C 4จังหวะ 145 แรงม้า ที่ 3,000 รอบ/นาที
  • เครื่องเปลี่ยนความเร็ว แบบ  Synchromesh
  • ระบบไฟตรง   24  โวลท์
 

 



 

 

โดยคุณ snake เมื่อวันที่ 21/08/2012 01:18:59


ความคิดเห็นที่ 34



รถเกราะสายพานหุ้มเกราะขนาด 15 ตัน
( Infrantry Fighting Vehicle )

ความเป็นมาของโครงการ :
 เมื่อปี 2523 ทบ. มีนโยบายพึ่งตนเอง ศอว.ศอพท. ในฐานะหน่วยรับผิดชอบในการวิจัย และพัฒนาอาวุธ จึงมีแนวความคิดเห็น ที่จะเสริมสร้างกำลังทางยุทโธปกรณ์ ที่จัดหาได้ยากและมีราคาแพง เพื่อเตรียมเผชิญกับภาระ ที่เราไม่สามารถจะจัดซื้อจากต่างประเทศได้ หรือต่างประเทศไม่ยอมขายให้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยานรบประเภทสายพาน ศอว.ศอพท. จึงได้เริ่มศึกษาหาข้อมูล ของยานสายพานจากประเทศต่าง ๆ มีความเห็นว่า มีความเป็นไปได้น่าจะทำการทดลองวิจัยและพัฒนาต่อไป จึงได้รายงาน ทบ. ขออนุมัติหลักการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถถังเบา ขนาด 10 – 15 ตัน ขึ้น 1 คัน และขออนุมัติให้ ศอว.ศอพท. เปิดงานการวิจัยและพัฒนาอาวุธ หรืออุปกรณ์ประกอบอาวุธ อุปกรณ์เพิ่มเติมของอาวุธ ที่จำเป็น ในหลักสากลของโลกได้เอง เช่นเดียวกับประเทศที่ได้อาวุธต่าง ๆ ตามกำลังงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน และขีดความสามารถทางเทคนิคของโรงงาน เพื่อเตรียมไว้เป็นต้นแบบต่อไป ซึ่ง ทบ. ได้อนุมัติหลักการให้ ศอว.ศอพท. ดำเนินการได้ เมื่อ ทบ. อนุมัติแล้ว ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถถังเบา ขนาด 12 ตัน เพื่อศึกษาความเป็นได้ 1 คัน โดยจัดซื้อเครื่องยนต์ดีเซล ยี่ห้อ ดีทรอย (DETROIT) 6 สูบ ขนาด 300 แรงม้า และระบบเครื่องส่งกำลังจากประเทศ ส่วนประกอบ รวมทั้ง วัสดุอุปกรณ์อื่น ๆ ดำเนินการจัดหาในประเทศ ทั้งสิ้น ในขั้นต้นใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) สร้างเป็นตัวถังแทนเหล็กเกราะ เนื่องจากการสร้างครั้งแรก ย่อมต้องการมีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบต่าง ๆ ให้ดีขึ้น ศอว.ศอพท. ได้ทำการวิจัยและพัฒนารถดังกล่าวเรื่อยมา จนกระทั่งสำเร็จในอีกระดับหนึ่ง โดยมีเฉพาะตัวรถแต่ยังไม่มีป้อมปืน สามารถนำออกทดลองวิ่งได้เมื่อต้นปี พ.ศ. 2525

ความมุ่งหมายของการวิจัยและพัฒนา : เพื่อวิจัยและพัฒนายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขนาด 15 ตัน ให้ได้ต้นแบบเพื่อนำไปสู่สายการผลิตขั้นใช้ภายในกองทัพ และเพื่อเตรียมเผชิญกับภาวะที่เราไม่สามารถจะจัดซื้อจากต่างประเทศได้ หรือต่างประเทศไม่ยอมขายให้ โดยกำหนดคุณลักษณะเบื้องต้นไว้ดังนี้

  • สามารถบรรทุกทหารราบได้ 1 หมู่ พร้อมยุทโธปกรณ์ตามอัตรา
  • มีความเร็วในการเคลื่อนที่ประมาณ 70 กม../ชม. บนถนน และ 40 กม./ชม. ในภูมิประเทศ
  • มีเกราะป้องกันกระสุน ขนาด 7.60 มม.
  • มีน้ำหนักไม่เกิน 15 ตัน และมีอัตราส่วนกำลัง/น้ำหนักประมาณ 22 แรงม้า/ตัน
  • มีระยะปฏิบัติการประมาณ 450 กม.
  • มีระบบการติดต่อสื่อสารและมีกล้องตรวจการณ์สามารถปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน

ขอบเขตการวิจัยและพัฒนา : 

  • แบบรูป จะมีลักษณะคล้าย รถถัง TAM ของต่างประเทศ
  • โครงสร้างตัวถัง ใช้เหล็กเหนียว (MILD STEEL) ในขั้นต้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้องการศึกษาความเป็นไปได้ก่อน
  • สามารถติดตั้ง ปก. ขนาด 12.7 มม. (.50 นิ้ว) ได้
  • ส่วนประกอบ วัสดุ – อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการวิจัย และพัฒนาต้องมีความคงทน ต่อการใช้งาน จัดหาได้ง่าย และใช้ของที่ผลิตได้ภายในประเทศ มาดำเนินการให้มากที่สุด เว้นส่วนรประกอบวัสดุ – อุปกรณ์ ที่จำเป็นที่ไม่มีภายในประเทศ จึงต้องจัดหาจากต่างประเทศ
  • ชิ้นส่วนต่าง ๆ สำหรับใช้ในการวิจัยและพัฒนาที่จัดหาไม่ได้ หรือมีลักษณะพิเศษ จัดทำได้โดยช่างเทคนิค ของ ศอว.ศอพท.
  • การวิจัยและพัฒนา การประกอบ การทดสอบ ดำเนินการโดยช่างเทคนิคและเจ้าหน้าที่ ศอว.ศอพท.
  • เมื่อวิจัยและพัฒนาเสร็จแล้ว ต้องง่าย สะดวกต่อการใช้งานและการส่งบำรุงในอนาคต

ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 

  • ได้ต้นแบบสายพานหุ้มเกราะ IFV. ขนาด 15 ตัน 1 คัน
  • ได้ข้อมูลทางเทคโนโลยีเกี่ยวกับ การออกแบบ และการสร้างยานสายพาน ซึ่งจะเป็นการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมสร้างยานรบขึ้นภายในประเทศ
  • ทำให้ช่างเทคนิคของโรงงานได้รับความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ทางเทคโนโลยีของการออกแบบ การสร้าง การแก้ปัญหาข้อขัดข้องทางเทคนิคที่เกิดขึ้นในระหว่างทำการวิจัยฯ และทดสอบ รวมทั้งการใช้เครื่องจักรกล เครื่องมือเครื่องใช้ของโรงงานที่มีอยู่ได้อย่างเหมาะสม อันจะเป็นแนวทางนำไปสู่การวิจัยและพัฒนางานโครงการต่าง ๆ ต่อไปได้เป็นอย่างดี
  • ทำให้ทราบแหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายส่วนประกอบและวัสดุ - อุปกรณ์ที่จะนำมาใช้ในการ วิจัยและพัฒนายานสายพาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ในการวิจัยและพัฒนายานสายพานหรือโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป
  • เมื่อวิจัยและพัฒนาสำเร็จผลสมความมุ่งหมายและตรงความต้องการของกองทัพ สามารถเปิดสายการผลิตขึ้นใช้ประจำการ จะทำให้ประหยัดงบประมาณในการจัดหายานสายพานหุ้มเกราะ IFV. ต่างประเทศ ซึ่งจัดหาได้ยากและมีราคาแพง

 

คุณลักษณะเฉพาะ 

พลประจำรถ 3 นาย
น้ำหนักพร้อมรบ 15 ตัน
ความกว้าง 2,890 มม.
ความยาว 5,900 มม.
ความสูงตัวรถ 1,210 มม.
ความหนาเกราะ 16 มม.
อาวุธ    
  • ปก.93 ขนาด 0.50 นิ้ว (12.7 มม.)
1 กระบอก
  • ปก.เอ็ม 60 ขนาด 7.62 มม.
1 กระบอก
สมรรถนะ    
  • ความเร็วสูงสุดบนท้องถนน
65 กม./ชม.
  • ข้ามสิ่งกีดขวางทางตั้งได้สูง
1 เมตร
  • ลุยน้ำได้ลึก
1 เมตร
  • ความจุเชื้อเพลิง/ระยะปฏิบัติการ
300 ลิตร/150 กม.
เครื่องยนต์    
  • CUMMIN VTA-903T 8 สูบดีเซล 500 แรงม้า ที่ 2,600 รอบ/นาที
  • เครื่องเปลี่ยนความเร็ว G.E. HMDT-500
  • ระบบไฟตรง   24  โวลท์

 

   
   

รถเกราะสายพานหุ้มเกราะขนาด 15 ตัน ( Infrantry Fighting Vehicle )


โดยคุณ snake เมื่อวันที่ 21/08/2012 01:22:50


ความคิดเห็นที่ 35


ขอบคุณท่านsnake   สำหรับภาพรถเกราะเพิ่มเติมครับ ผมไม่เคยเห็นเลย เจอในเว็บก็มีภาพมุมเดียว แถมภาพเล็กๆด้วย

น่าเสียดายนะครับ หลายโครงการวิจัยแล้วประเมินมาผ่านการทดสอบ แต่ก็ไม่มีการผลิต หรือนำมาใช้จริงแต่อย่างใดครับ

หรือว่าประสิทธิภาพอาจไม่เทียบเท่าอาวุธที่ซื้อมาใช้ก็ได้ครับ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 21/08/2012 12:27:58


ความคิดเห็นที่ 36


รสพ ของไทยนี้หน้าตาเหมือน Type 85 จัง ถ้าผลิตออกมาแล้วเอาไปแอบไว้กับพวก type 85 นี้ แทบไม่มีใครรู้เลยนะ

โดยคุณ markrura เมื่อวันที่ 21/08/2012 17:24:58


ความคิดเห็นที่ 37


ผมว่าถ้านับจากวันที่สร้างเสร็จ...เริ่มแรกอาจไม่ดีนัก...  จนถึงวันนี้ 30ปีกว่าแล้ว  ถ้าได้รับการพัฒนา ปรับแต่งให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้  วันนี้คงจะไม่ได้เห็นเจ้า reva  หรือ btr3  เป็นแน่แท้   
   เพราะตอนนั้น รถหุ้มเกราะ รถสายพาน สายพันธ์ไทยแท้ คงจะบรรจุอยู่ในทุกเหล่าทัพ......   แต่ฝันก็ต้องสลาย T T 


  *** มีเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถังฝีมือคนไทยด้วยน่ะครับ  แต่ผมหารูปไม่เจอ รูปร่างคล้ายๆ rpg-29   ไม่ใช่ rpg-7 น่ะครับ   

โดยคุณ snake เมื่อวันที่ 21/08/2012 21:25:29


ความคิดเห็นที่ 38


ลืมเห่าฟ้ากันหรือยังครับพี่น้อง

http://www.rdc.rtaf.mi.th/html/Others/rocketdevelop.html

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/08/2012 22:23:12


ความคิดเห็นที่ 39


โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/08/2012 22:26:51


ความคิดเห็นที่ 40


เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง แบบ 25 ขนาด 73 มม. พร้อมลูกจรวด เข้าประจำการในกองทัพบกเมื่อปีพ.ศ. 2525 ปัจจุบันปลดประจำการหมดแล้ว

เครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง แบบ 25


โดยคุณ กลับสู่สามัญ เมื่อวันที่ 21/08/2012 22:38:53


ความคิดเห็นที่ 41


เครื่องบินฝึกแบบ 18 FANTRAINER รร.การบิน (กำแพงแสน)
18 ตุลาคม 2550 - 16:04:00

 

 

พ.ศ. ๒๕๒๕ กองทัพอากาศ กับ บริษัท ไรท์-ฟลุคซอยบาว จำกัด ประเทศสาธารณรัฐเยอรมัน ได้เริ่มโครงการผลิต เครื่องบินฝึก แฟนเทรนเนอร์ FT-400 โดยบริษัท RFB เป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์ สำหรับ ทอ. สร้างลำตัว ปีกโลหะ และชุดพวงหาง การประกอบเครื่องบินนั้น กองทัพอากาศเป็นผู้ประกอบเองที่โรงซ่อมดอนเมือง
แฟน เทรนเนอร์ เป็นเครื่องบินฝึกสองที่นั่งเรียงกัน คุณลักษณะเป็นเครื่องบินไอพ่น ใช้ในภารกิจฝึกศิษย์การบิน กำหนดแบบเป็น เครื่องบินฝึกแบบที่ ๑๘ (บ.ฝ.๑๘) เคยประจำการในโรงเรียนการบิน และฝูง ๔๐๒ กองบิน ๔ ปัจจุบันปลดประจำการแล้วเนื่องจากเครื่องบินมีปัญหาประสบอุบัติเหตุบ่อย ครั้งจนกองทัพอากาศตัดสินใจปลดประจำการ

 


ขอขอบคุณ
พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ 

 www.dmbcrtaf.thaigov.net/

ที่มาเว็ป PK_TEEM.blog

http://www.thaiblogonline.com/PK_TEEM.blog?PostID=3705

โดยคุณ ThaiPc53 เมื่อวันที่ 26/08/2012 03:14:08


ความคิดเห็นที่ 42


ท่านใดพอมีภาพหรือพอเคยได้ยินชื่อ จรวดพื้นสู่อากาศ ธูปะเตมีย์ ไหมครับ ค้นหาหลายครั้งเจอแต่จรวดเห่าฟ้า กับเจ้า งูกัปปะน้อย

โดยคุณ ALPHA001 เมื่อวันที่ 26/08/2012 09:39:01


ความคิดเห็นที่ 43


เราต่อเรือได้เองครับ

เรือตรวจการณ์


โดยคุณ uuhotu เมื่อวันที่ 28/08/2012 08:01:41