หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มันคือรถอะไรครับ ???

โดยคุณ : paradox เมื่อวันที่ : 13/08/2012 03:02:36

ใช่รถเคลียร์ตะปูเรือใบหรือป่าว แล้วบ้านมีเข้าประจำการกี่คันครับ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=428947213810306&set=a.209579189080444.49910.209554889082874&type=1&theater





ความคิดเห็นที่ 1


แม่นแล้วครับ เวลาใช้ก็กางออก(แนวนอนกวาดออกซ้ายขวา)

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 10/08/2012 22:03:07


ความคิดเห็นที่ 2


กลัวว่ามันจะปัดเข้าล้อตัวเองนะสิครับ 

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/08/2012 23:59:04


ความคิดเห็นที่ 3


ใช้วิธีอื่นเหอะ .. วิธี ใช้รถกวาดตะปูเรือใบ นี่ใช้มาหลายปีแล้ว

ไม่เคยตามคนร้ายทันซักครั้ง .. วางตะปูเรือใบเสร็จ ก็ โค่นต้นไม้ขวางทาง

เผลอๆ จัดชุดยิงสกัดการติดตาม .. กว่าจะเคลียร์ทุกอย่างเรียบร้อย

โจรกลับไปอาบน้ำ เปลี่ยนชุด กินน้ำชา นอนดูทีวี เป็นชาวบ้านไปนานแล้ว

..

ตอนนี้ ผมอยากให้ตั้งกองร้อย UAV .. เพื่อลาดตระเวณ และ ติดตาม ทางอากาศ

วิธีนี้ มันจะก้าวข้ามขีดจำกัดในการติดตามคนร้าย ..

หรือ ลาดตระเวณ ด้วย พารามอเตอร์ .. บินอยู่กลางอากาศ ห่างจากพื้นดินซัก 30 เมตร

ตรงใหน ที่ดูแล้วเสี่ยง ก็สามารถบินเลี่ยงออกห่างได้ หากโดนโจมตี เราก็มีโอกาศตอบโต้

ยิงจากมุมสูง ยังไงก็ได้เปรียบกว่า .. อีกอย่าง โอกาศ โดนวางระเบิดบนถนนแทบจะไม่มี

การเดินทางก็ รวดเร็วกว่ารถฮัมวี่เกือบเท่าตัว

สมมุติ คนนร้ายก่อเหตุแล้ววิ่งหนี้ เราใช้พารามอเตอร์ ไล่ติดตาม มันคงวิ่งกันหมดแรงพอดี

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 11/08/2012 02:00:01


ความคิดเห็นที่ 4


ถ้าจะทำกวาดเรือใบ ผมว่าอาจจะไม่ดีเท่าไหร่กลัวจะกวาดตะปูเข้าล้อด้วยสิครับ เหมือนที่กระทู้ด้านบนกล่าวไป  ถ้าจะให้ดีทำเป็นแม่เหล็กดูดน่าจะดีกว่า   สร้างแผงแม่เหล็กไว้เมื่อถึงเวลาใช้ก็เอาแผงลงจากนั้นก็ขับไปยังพื้นที่ที่มีตะปูเพื่อดูดตะปู ลดการเสี่ยงมากกว่าที่เป็นใบกวาดไปเยอะ ส่วนพับขึ้นลงทำได้ดีแล้วแค่ติดแม่เหล็กแทนใบพัด ครับ^ ^

โดยคุณ qwertyuiop เมื่อวันที่ 11/08/2012 11:28:22


ความคิดเห็นที่ 5


ปกติพวกรถกวาดทุ่นระเบิด หรือสิ่งกีดขวาง ตัวลูกล้อลูกกลิ้ง มันจะหมุนไปข้างหน้า แบบล้อรถบดถนนไม่ใช่เหรอครับ นี่ก็อย่างความเห็นบนๆว่า กลัวปัดเข้ายางแตกเองจริงๆ หรือว่านี่ต้องดัดแปลงทำกันเอง ถ้าแบบนั้นก็น่าเห็นใจครับ

ปล.พวกรถกวาดแบบนี้ส่วนใหญ่สายพานทั้งนั้นนะครับ ไม่เคยเห็นล้อยางเลย ไม่งั้นมียางแตก เหอะๆ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 11/08/2012 11:45:01


ความคิดเห็นที่ 6


รถพวกนี้ก็เป็นแม่เหล็กอยู่แล้วไม่ใช่เหรอครับ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 11/08/2012 20:20:42


ความคิดเห็นที่ 7


ขี้เกียจพิมพ์ใหม่ครับ  เพราะเดี๋ยว ยาววว  เอาของเก่าที่เคยพิมพ์ไว้ในเว็บเพื่อนบ้านละครับ

 

แตกหักภายใน 5 นาที ถ้ายันอยู่ก็เอาอยู่ ถ้าไม่อยู่ก็โดนขยายผล เพราะฉะนั้น "ตนเป็นที่พึ่งของตน" ครับ อย่าหวังให้คนอื่นช่วย

ไม่ว่าฝ่ายไหนถ้าสามารถเป็นฝ่ายริเริ่ม สามารถเลือกใช้ อำนาจกำลังรบที่เหนือกว่า ณ ห้วงเวลาหนึ่ง ก็ย่อมได้เปรียบ ก็เหมือนกับเวลาฝ่ายเราเข้าติดตามจับกุม ถ้ามีตัว+อาวุธ ส่วนมากเราก็ได้ศพของฝ่ายตรงข้าม

 

การเข้าช่วยเหลือด้วย ฮ. ทำได้อยากจนถึงขั้นเกือบเป็นไปไม่ได้ ยกเว้น มี ฮ. ลอยอยู่ในอากาศ 24 ชั่วโมง ต่อกระนั้นก็ตามก็ยังยากในเรื่องการพิสูจน์ฝ่าย

ฝ่ายตรงข้ามทำงานเป็นเซล แบ่งชุดทำงานใครงานมัน หลังจบงานจะส่งอาวุธให้ทีมขนย้าย ถ้าตามทันแต่บังเอิญส่งอาวุธไปแล้ว แล้วเรายิงเข้าใส่ผลก็จะออกมาคือ ฆ่าผู้บริสุทธิ์ เป็นปัญหาขึ้นมาทันที

ส่วนมากรอบๆฐาน จะมีบ้านเรือนของชาวบ้านอยู่ด้วย ดังนั้นการใช้อาวุธต้องดีพอ ไม่สาดมั่ว

 

ดังนั้นดีที่สุดคือ การทำลายฝ่ายตรงข้าม ณ พื้นที่การปะทะ ตัวอย่างก็มีอยู่หลายกรณี เช่น ฝ่ายตรงข้ามเข้าตีจุดตรวจฝ่ายเราแล้วโดนตอบโต้ฉับพลัน จนฝ่ายตรงข้ามเสียชีวิตหลายนาย หลังฝ่ายตรงข้ามตาย เรื่องมันยังไม่จบแค่นั้น ต้องโดนฟ้อง ขึ้นโรงขึ้นศาลอีกหลายปี เพื่อ พิสูจน์ว่า เราทำถูกตามสมควรกับเหตุ และต้องเอาเงินไปช่วยเหลือครอบครัวของฝ่ายตรงข้ามที่โดนเรายิงตาย เห็นไหมเรื่องมันง่ายจะตายไป       

 

เรื่องรถกวาดตะปู เรือใบ ลืมมันไปได้เลย ก็ไม่เข้าใจจะพัฒนาไปทำไม เพราะผลลัพธ์ที่เราต้องการเรื่องการผ่านเครื่องกีดขวางที่ฝ่ายตรงข้ามสร้างขึ้นคือ "ความเร็ว" เพราะรถกวาดฯ เวลากวาดฯต้องใช้ความเร็วต่ำ ถึง ต่ำมาก แถมระบบกวาดก็ไม่ 100% เผลอๆปัดเรือใบเข้าล้อตัวเอง เป็นอันต้องมาจอดขวางทางเสียเวลาหนักกว่าเดิมอีก ส่วนตัวเชื่อว่า ถ้าต้องการความเร็ว ก็ขับทับมันไปเลยแต่สิ่งที่ต้องการคือ ยางรันแฟลต ที่โดนเรือใบแล้วยังวิ่งต่อได้อีกสัก 30-40 กิโลเมตร บวกด้วยการส่งกำลังที่ดี ประมาณว่า รถ 2 1/2 ตัน แล่นทับเรือใบจนยางรันแฟลตทั้ง 10 เส้นมีอันเป็นไปหลังจากวิ่งต่ออีก 30-40 กิโลเมตร แล้วหน่วยสามารถเบิกและได้รับยางทดแทนใน 1 สัปดาห์หรือน้อยกว่า ส่วนเรื่องตัดต้นไม้ขวาง ก็เจ้า 2 1/2 ตันนั่นแหละ ติดผานด้านหน้า ดันมันลงข้างทางไปก่อนแล้วไปต่อ แต่ถ้าหากฝ่ายตรงข้ามคุ้มครองเครื่องกีดขวางด้วย IED ก็เลือกเอาว่าจะยอมรับเกณฑ์เสี่ยงแค่ไหน แต่เชื่อว่ารถใหญ่ๆ ไซด์ 2 1/2 ตันขึ้นยัน ออปติมัทไพร์ ช่วยท่านได้ ดัดแปลงระบบป้องกัน IED ประเภทใช้สะเก็ดสักหน่อยก็โอเค

 

ส่วนตัวเคยมีประสบการณ์กับเจ้าตะปู เรือใบ เรื่องมีอยู่ว่า มีเหตุยิงชาวบ้านในเวลากลางคืน หน่วยจัดกำลังเข้าไป ระลอกแรกเป็นเจ้าเต่ามะเฟือง REVA 4x4 1 คัน ระลอก 2 เป็น เจ้าตะพาบน้ำ ฮัมวี่ 2 คัน ส่วนตัวกระโดดขึ้นเต่ามะเฟือง ไปกับชุด อเลิท ไม่ทัน เลยไปกับเจ้าตะพาบน้ำแทน       ไปถึงหัวสะพานก่อนถึงที่เกิดเหตุมองเห็นกล่องสีดำตรงคอสะพาน เอาแล้วไงตู โดนของแล้ว ตอนแรกในใจคิดว่า "ของปลอม" ชัวร์ เพราะเจ้าเต่ามะเฟืองมันผ่านไปก่อนหน้า ไม่เห็นมัน ตูม เลย กะจะสั่งพลขับ ขับผ่าน โลดดดด แต่ฉับพลันนึกได้ โอ้ววว ไอ้คันนำมันเป็นรถกันระเบิดนี่หว่า ส่วนตะพาบน้ำตู กระดองอ่อนกว่าเยอะ มันอาจจะรอเก็บตะพาบน้ำก็ได้ เลยสั่งเบรกหัวทิ่มจนหมวก เคฟล่า กระแทกกับแผ่นเกราะแบบบานพับตรงกระจกหน้ารถที่ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้มีไอเดียบรรเจิดเอาไปแปะไว้ตรงนั้นดัง "โป๊กกก" เบรกเสร็จก็คิดว่าจะเอายังไงกับเจ้ากล่องนั่นดี ครั้นจะเรียก EOD ก็คงไม่ทันการณ์เพราะพื้นที่ห่างไกล เอาฟะ เอาระบบกวาดทุ่นเร่งด่วนนี่แหละ

 

ว่าแล้วก็คว้าปากพูด-หูฟังวิทยุ กดคีย์เพื่อขออนุมัติ กวาดทุ่นเร่งด่วน เมื่อหน่วยเหนืออนุมัติ ก็งัดอาวุธคู่กายชาย ฉะ กัน ประเคนหัวตะกั่วเคลือบแข็งที่เรียกว่า ฟูล เมทัล แจ๊กเก็ต ทาหัวเขียวๆ เข้าใส่ไปหลายชุด จนมั่นใจว่า พรุนชัวร์ ว่าแล้วก็จะไปต่อ ฉุกคิดขึ้นได้อีกว่า "ของที่เห็นมักไม่จริง ส่วนของจริงมักไม่เห็น" ถ้าไอ้ใต้คอสะพาน เจือกมี "หนูแดง" หมกอีก 1 ตัว ตะพาบน้ำตู กระดองฉีกแน่ๆ แต่ด้วยความยังเป็นวัย ฉะ กัน ก็เลยยอมรับเกณฑ์เสี่ยงสูงสักหน่อย เอาฟะ เดี๋ยวจะไม่ทันการณ์ ไหนๆ เจ้าเต่ามะเฟืองมันก็คลานนำไปก่อนแล้วนี่ น่าจะ ไม่มีชัวร์ ว่าแล้วก็สั่งพลขับเหยียบคันเร่งนำเจ้าตะพาบน้ำพุ่งทะยานออกไป พร้อมทั้งกั้นลมหายใจและเกร็งตรูดดดรอพร้อมสวดในใจว่า "ไม่มี ไม่มี ไม่มี" (อารมณ์ประมาณว่า กั้นลมหายใจเวลาข้ามสะพานแม่น้ำบางปะกงแล้วอฐิษฐาน) พอหลุดสะพานมาได้ก็ปล่อยลมหายใจเฮือกใหญ่ ในใจคิดว่า "รอดแล้วตรู" แล้วเคลื่อนที่ต่อไป (เหตุการณ์ตรงนี้ถ้าคิดมุมกลับหากวันนั้นดันมี หนูแดง จริงๆ แล้วส่งเจ้าตะพาบน้ำลอยละลิ่วปลิวละล่องตีลังกาเข่าคู้หลายตลบตกลงมากระดองกระจายละก็ ภาพจะออกมาอีกแบบตรงที่ โดยธรรมชาติของมนุษย์โลกโดยเฉพาะประเทศสารขันฑ์แล้ว หากเรายอมรับเกณฑ์เสี่ยงสูงแล้วรอดมาได้ ไม่มีใครชมว่า "เออ มรึงแน่ มรึงกล้า" แน่ๆ แต่ถ้าพลาดมาละก็รับรองได้เลยว่าทุกคนจะหันมาประนามว่า "มรึง โง่")

 

หลังผ่านด่านวัตถุต้องสงสัยมาได้ เลยมาอีกเล็กน้อยก่อนถึงทางแยกเข้าที่เกิดเหตุ พลันสายตาไปสะดุดเข้ากับวัตถุเล็กๆบางอย่างที่เกลื่อนถนนอยู่ด้านหน้า แน่นอนมันคือ ตะปู เรือใบ ตามสะเตปเครื่องกีดขวาง และแล้วก็เบรกหัวทิ่มหัวกระแทกเกราะอีกครั้ง(รับรองได้เลยว่าหลังเสร็จงานนี้แล้ว กลับฐานไปตรูถอดมันออกแน่ๆ ไอ้แผ่นเหล็กบ้าแผ่นนั้น) ในใจก็คิดว่า เอาไงกับมันดี อืมม จะทิ้งรถเดินไปก็ยังอีกไกล จะขับเหยียบทับแ่งเลยก็เกรงใจฝาเท้าอันบอบบางของเจ้าตะพาบน้ำคู่ใจ ว่าแล้วก็งัด "สป.พิเศษ" ไอเทมลับ สำหรับกวาดตะปูเรือใบโดยเฉพาะที่พึ่งคิดค้นได้หมาดๆ(เมื่อ3วินาทีที่แล้ว)มาใช้ มันก็คือ คือ คือ คือ

 

 

 

 

 

 

 

5.11 XPRT 8 นิ้ว คู่ใจ +โรเสิร์ท+จังเกิลหลวง จังเกิลราษฎร์ ของลูกน้องอีกหลายคู่ ช่วยกันกวาดช่วยกันเกลี่ยเรือใบลงข้างทางเพื่อเจาะช่องเร่งด่วนให้เจ้าตะพาบน้ำผ่านไปได้ ใช้เวลาไม่กี่นาทีก็เรียบร้อย ว่าแล้วก็บึ่งเจ้าตะพาบน้ำต่อไปจนถึงที่เกิดเหตุ

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 13/08/2012 02:49:11


ความคิดเห็นที่ 8


ส่วนเรื่องเจ้าพารามอเตอร์  ในทางทฤษฏีก็ดูท่านะจะดี  แต่ในทางปฏิบัติจริงเชื่อว่า ยังมีข้อจำกัดอีกพอสมควร

 

อันดับแรกเลย จะมีสักกี่ฐานปฏิบัติการเมื่อเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์สำหรับฐานฯทั้งหมดที่มี  ที่มีพื้นที่สำหรับขึ้นและลงของ พารามอเตอร์   ถ้าไม่มี ก็ต้องหา  และเมื่อพื้นที่ดังกล่าวอยู่ไกลจากฐานฯ ก็หนีไม่พ้นต้องใช้ยานพาหนะนำพาไปยังตำบลขึ้น-ลง   คำถามต่อมา  พารามอเตอร์สำหรับ 1 หมู่ ปล. ต้องใช้กี่ตัว  สมมุติ 1 ตัวต่อ 1 นาย  1 หมู่ใช้ 9 ตัว  คำถามต่อไปเลยคือ  ต้องใช้รถอะไร จำนวนเท่าไหร่ ในการนำพาไปยังจุดขึ้น-ลง   นี่ยังไม่นับการ รปภ. เส้นทางสำหรับไปอีก  การใช้อาวุธทางอากาศจาก พารามอเตอร์ มีความแม่นยำแค่ไหน  ในเมื่อต้องบังคับเครื่องด้วย  โอกาสพลาดไปโดนบ้านเรือนชาวบ้านอีก   ถ้าเทียบข้อดีข้อเสียแล้ว ส่วนตัวให้ข้อเสียมากกว่าครับ

 

ส่วนตัวแล้วมองว่าหากจะใช้พารามอเตอร์นั่นสิ่งที่เป็นไปได้คือ  ใช้สำหรับบินถ่ายภาพทางอากาศสำหรับการวางแผนภารกิจต่างๆ

 

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 13/08/2012 03:02:36