หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เผยเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนเข้าประจำการกองทัพในปีนี้

โดยคุณ : Benz เมื่อวันที่ : 10/08/2012 23:09:05

ภาพเรือบรรทุก เครื่องบินจีน “วาร์ยัค” ที่ท่าเรือต้าเหลียน จีนได้เริ่มนำวาร์ยัคทดลองปฏิบัติการออกทะเลครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว(2554) เมื่อวาร์ยัคทดลองออกทะเลครั้งที่ 9 กินเวลานานสุด 25 วัน และเพิ่งเสร็จสิ้นฯเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา สื่อต่างแดนก็เริ่มแพลมว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนนี้ จะเข้าประจำการในปีนี้ (ภาพ เอเจนซี)
       เอเจนซี--นักวิจัย แห่งสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์การทหารแห่งกองทัพเรือจีน นาวาเอก หลี่ เจี๋ย เผยในรายการสนทนาเกี่ยวกับวิทยาการของเว็บข่าวประชาชน หรือ เหรินหมินหวั่งเมื่อวันพุธ( 8 ส.ค.) ว่า เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน เพิ่งเสร็จสิ้นการทดลองออกทะเลครั้งที่ 9 ในวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา  คาดว่าจะเข้าประจำการในกองทัพนาวีอย่างเป็นทางการในวันครบรอบ 63 ปี แห่งการสถาปนาสาฑธารณรัฐประชาชนจีน คือ วันที่ 1 ต.ค.
       
       “วาร์ยัค จะเข้าประจำการรับใช้ทัพนาวีภายในปีนี้ อาจเป็นวันที่ 1 ตุลาคม ขณะนี้บนเรือได้ติดตั้งอาวุยุทโธปกรณ์ตลอดจนอุปกรณ์พื้นฐานเรียบร้อยแล้ว"
       
       เมื่อเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าประจำ การแล้ว จะไปปักหลักฐานที่มั่นแห่งไหน? จะรับผิดชอบปฏิบัติการใดบ้าง? จะมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาขัดแย้งในทะเลจีนใต้ด้วยหรือไม่?
       
       หลี่ เจี๋ยได้ตอบคำถามเหล่านี้ว่า การเลือกฐานที่มั่นสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินไปประจำนั้น ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆ ได้แก่ ประสิทธิภาพยืดหยุ่นในการเคลื่อนปฏิบัติการ รัศมีปฏิบัติการที่สูงพอ หากเงื่อนไขเหล่านี้พร้อมพรักก็สามารถเลือกฐานที่มั่นได้หลายแห่ง

หลี่ เจี๋ย นักวิจัยแห่งสำนักวิจัยวิทยาศาสตร์การทหารแห่งกองทัพเรือจีน
       “การแก้ปัญหาความขัดแย้งนั้นมีหลายวิธีหลายมาตรการ มิจำเป็นต้องใช้การโจมตีเท่านั้น” สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินลำนี้จริงๆแล้วเป็นเรือสำหรับปฏิบัติการฝึกซ้อม เมื่อเข้าประจำการแล้ว ขั้นแรกอาจประจำอยู่บริเวณน่านน้ำใกล้ๆปฏิบัติหน้าที่ทางทหาร รวมทั้งปกป้องอธิปไตยดินแดน ในอนาคตเมื่อประเทศชาติมีกำลังแข็งแกร่งขึ้น ก็จะขยายบทบาทปกป้องผลประโยชน์ในน่านน้ำของประเทศ ถึงตอนนั้นเรือบรรทุกเครื่องบินก็สามารถแล่นปฏิบัติการในน่านน้ำที่ไกลออกไป
       
       หลี่ เจี๋ย กล่าวอีกว่าการมีเรือบรรทุกเครื่องบินของประเทศจีนนั้น เป็นไปตามสถานการณ์เรียกร้อง เรือบรรทุกเครื่องบินเป็นสัญลักษณ์ความแข็งแกร่งของประเทศ ผลประโยชน์ในน่านน้ำของชาติ รวมไปถึงการรักษาความปลอดภัยเส้นทางทะเลที่ลำเลียงขนส่งน้ำมัน แร่ธาตุ และสินค้ายุทธศาสตร์ต่างๆ สิ่งเหล่านี่เองที่เรียกร้องให้จีนต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบิน
       
       “เราเป็นชาติใหญ่แห่งมหาสมุทร อันประกอบด้วยเกาะต่างๆ เกือบ 7,000 เกาะภายใต้อธิปไตย ชายฝั่งเลียบเกาะยาวถึง 14,000 กิโลเมตร ในอนาคตเรายังต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินเพิ่มอีก 3 ถึง 4 ลำ
       
       “เรือบรรทุกเครื่องบินมีบทบาทหน้าที่สำคัญมาก นั่นก็คือ การสร้างศักยภาพการโจมตีที่ทรงพลานุภาพ จึงสามารถปฏิบัติการป้องปราม” หลี่ เจี๋ย กล่าว พร้อมกับชี้ว่า สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินแล้ว ในด้านหนึ่งเป็นการสร้างแสนยานุภาพที่แข็งแกร่ง ในอีกด้านหนึ่งชาติที่มีเรือบรรทุกเครื่องบิน ก็ต้องมีความเชื่อมั่นและพร้อมตัดสินใจเมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้มัน
       
       ขณะนี้ มีการถกเถียงการตั้งชื่อจีนแก่เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของประเทศ หลี่ เจี๋ยกล่าวว่า “ไม่น่าจะใช้ชื่อคน” หากใช้ชื่อเมืองก็อาจมีปัญหา เป็นไปได้สูงว่าน่าจะใช้ชื่อมณฑล
       
       สื่อหมีขาวปูดวันประจำการของเรือบรรทุกเครื่องบินจีน
       
       กลุ่มสื่อจีนรายงานว่า เรือบรรทุกเครื่องบินได้ทดลองออกทะเลครั้งที่ 9 เป็นเวลานาน 25 วัน และได้เสร็จสิ้นการทดลอง กลับเข้าเทียบท่าที่เมืองต้าเหลียนเมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา นับเป็นการออกทะเลทดลองที่ยาวนานที่สุดครั้งหนึ่ง
       
       หลังจากที่เรือวาร์ยัคเสร็จสิ้นการทดลองล่าสุด สื่อรัสเซียได้เผยโดยอ้างสื่อตะวันตกว่า จีนได้กำหนดวันประจำการเรือวาร์ยัคแล้ว เป็นภายในปีนี้
       
       ทั้งนี้ เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีนนี้ เป็นเรือที่ต่อในอดีตสหภาพโซเวียต ชื่อเรือ “วาร์ยัค” โซเวียตได้สร้างเรือวาร์ยัคไป 60 เปอร์เซนต์ สหภาพโซเวียตล่มสลายเมื่อปี 2534 ทำให้การก่อสร้างเรือฯวาร์ยัคหยุดชะงักไป และเนื่องจากอู่ต่อเรือฯ ลำนี้อยู่ในยูเครน กรรมสิทธิ์เรือฯ จึงตกเป็นของยูเครน ต่อมากองทัพปลดแอกประชาชนจีนได้ซื้อมาในมูลค่า 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำมาดำเนินการซ่อมแซมปรับปรุงที่อู่เมืองต้าเหลียน มณฑลเหลียวหนิง เมื่อปี 2541 และเริ่มทดลองออกทะเลครั้งแรกในเดือน ส.ค.ปีที่แล้ว (2554) โดยขณะนี้ยังเรียกชื่อเรือฯลำลำนี้ในชื่อเดิม ว่า “วาร์ยัค”

เรือบรรทุกเครื่อง บิน“วาร์ยัค” เป็นเรือที่ต่อในสหภาพโซเวียต จีนได้ซื้อมาซ่อมแซมปรับปรุงใหม่ในปี 2541 ขณะนี้กำลังมีการถกเถียงการตั้งชื่อจีนแก่เรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของจีน ซึ่งมีข่าวว่าจะเข้าประจำการในกองทัพปีนี้แล้ว ภาพ: เรือวาร์ยัคที่ท่าเรือเมืองต้าเหลียน (ภาพ เอเจนซี)
       

ขอบคุณเมเนเจอร์ อีกครั้งครับ manager.co.th ไม่เหมา่ะสม ขอโทษด้วยนะครับ





ความคิดเห็นที่ 1


  แสดงว่าอากาศยานประจำเรือก็คงพร้อมหรือใกล้พร้อมเต็มแก่ที่จะขึ้นประจำการบนเรือ    ถ้าจีนขอเราซ้อมรบแบบคอบบร้าโกลโดยจะเอาเรือลำนี้พร้อมเรือคุ้มกันมาซ้อมรบด้วย.....เราจะทำไงดี.....OK..หรือ...say no   การบ้านนี้ยากพอดูแฮะ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 09/08/2012 23:11:46


ความคิดเห็นที่ 2


จีนพร้อม อินเดียก็พร้อมครับ สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินลำล่าสุดของอินเดีย ได้รับการซ่อมคืนสถาพเสร็จเรียบร้อย

กำลังทดลองแล่นในทะเล (เรือทั้งสองประเทศต่างก็มาจากเรือเก่าสมัยสหภาพโซเวียตเหมือนกัน) อินเดียมีแผนนำเข้าประจำการภายในสิ้นปีนี้เช่นกัน

 

เครดิต  http://englishrussia.com/2012/07/22/deep-modernization-of-the-airborne-cruiser/#more-105354


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 10/08/2012 09:59:28


ความคิดเห็นที่ 3


ถ้าจีนมาขอซ้อมรบ ก็ดีเลยสิครับ งานนี้อเมริกาได้ไปเต็มๆ

ข้อมูลของเรือและ บ.J-15 ว่าแต่เค้าจะมาเหรอ พักหลังๆเห็นซ้อมใหญ่กับรัสเซียอย่างเดียวเลยครับ ไม่ค่อยซ้อมรบกับประเทศอื่น

(หลายถึงการซ้อมรบร่วมขนาดใหญ่)

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 10/08/2012 10:42:55


ความคิดเห็นที่ 4


ไม่นานก็มีการทดสอบการลงจอด ของ MiG-29KUB เป็นครั้งแรกของเรือบรรทุก บ.อินเดีย


MiG-29KUB


โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 10/08/2012 10:46:37


ความคิดเห็นที่ 5


    ป๋าจูลครับเห็นดีลของเรือสองลำของทั้งสองประเทศผมมีอาการหนาวๆร้อนเหมือนจะเป็นไข้หวัดครับ   ถ้าไม่ได้เห็นเจ้า SAC-220 ติดตราธงชาติไทยผมคงต้องหนาวไปตลอดชีวิตแหง๋ๆ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 10/08/2012 23:09:05