หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


“เลือดต่างสี” Su-30 ประชัน F/A-18 ให้เห็นเป็นครั้งแรก

โดยคุณ : top4 เมื่อวันที่ : 07/08/2012 21:00:39

ภาพชุดตระการตา “เลือดต่างสี” Su-30 ประชัน F/A-18 ให้เห็นเป็นครั้งแรก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  
 
 

เครื่อง บินรบ Su-30MK2 "แฟล็งเคอร์" ทันสมัยที่สุด 1 ใน 4 ลำ ของกองทัพอากาศอินโดนีเซียที่เหิรฟ้าข้ามหมู่เกาะไปร่วมการฝึก Pitch Back 2012 กับ F/A-18 "ซูเปอร์ฮอร์เน็ต" ออสเตรเลีย นักวิเคราะห์มองว่าการฝึกร่วมระหว่างทัพฟ้าสองประเทศเพื่อนบ้านที่เป็นไม้ เบื่อไม้เมากันมาตลอดช่วงหลายทศวรรษแห่งสงครามเย็นนั้น สะท้อนให้เห็นการตระหนักถึงภัยข่มขู่ที่ใหญ่กว่า ใกล้ตัวยิ่งกว่า เป็นครั้งแรกในย่านนี้ที่มีการนำเอาเครื่องบินรบยุคที่ 4 ต่างค่ายกันออกปฏิบัติการข้ามชาติร่วมกันอีกด้วย อินโดนีเซียเป็นเพียง 1 ใน 3 ชาติอาเซียนที่มีเครื่องบินรบรุ่นนี้ประจำการถัดจากเวียดนามและมาเลเซีย. -- ภาพ: เว็บไซต์ข่าวกลาโหมออสเตรเลีย.
       .
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ภาพชุดหนึ่งกำลังได้รับความสนใจจากชาวเน็ตจำนวนมาก ผ่านเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่ง เป็นภาพเหตุการณ์ฝึกซ้อมร่วมระหว่างกองทัพอากาศออสเตรเลีย กับกองทัพอากาศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นครั้งแรกในย่านเอเชีย-โอเชียเนีย ที่มีการนำเอาเครื่องบินรบ 2 ตระกูล ของค่ายรัสเซีย กับสหรัฐฯ ออกปฏิบัติการร่วมกันข้ามประเทศ และ เป็นการฝึกร่วมกันครั้งแรกด้วยเครื่องบินรบทันสมัยที่สุด ระหว่างทัพฟ้าของสองประเทศที่เคยเป็นไม้เบื่อไม้เมากันมาตลอดยุคสมัยอีกด้วย
       
       นักวิเคราะห์ด้านกลาโหมในออสเตรเลียมองว่า อินโดนีเซียไม่เคยส่งเครื่องบินรบของตนออกนอกประเทศมาก่อน กระทำการครั้งนี้ ย่อมแสดงให้เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายต่างรู้สึกมีภัยที่ข่มขู่ที่ใหญ่กว่า อยู่ใกล้ตัวมากกว่า
       
       อินโดนีเซียส่ง Su-30MK2 “แฟล็งเคอร์” เหินฟ้าข้ามหมู่เกาะไปยังเมืองดาร์วิน ในมณฑลภาคเหนือ ของทวีปออสเตรเลีย เพื่อร่วมการฝึก “พิตช์แบ็ก 2012” ซึ่งกองทัพอากาศสองประเทศกำลังร่วมกันฝึกในหลายเนื้อหา เพื่อความร่วมมือที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นในอนาคต สำนักข่าวกลาโหมออสเตรเลีย สื่อกลาโหมยอดนิยมรายงาน
       
       การฝึกซ้อมเวลา 3 สัปดาห์ เริ่มขึ้นวันที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา และกำลังดำเนินต่อไปจนถึงวันที่ 17 ส.ค.นี้ โดยใช้ฐานทัพอากาศดาร์วินเป็นศูนย์กลาง
       
       จอห์น ฟาร์เรล นักวิเคราะห์แห่งนิตยสาร The Journal of Australia & New Zealand Defense กล่าวว่า ทั้งออสเตรเลีย และอินโดนีเซียไม่เคยนำเครื่องบินรบทันสมัยของตนออกฝึกร่วมกันมาก่อน ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือ Su-30MK2 นั้น พัฒนาขึ้นมาเพื่อต่อกรกับ F/A-18 “ซูเปอร์ฮอร์เน็ต” ของสหรัฐฯ ที่เป็นเครื่องบินรบยุคที่ 4 เช่นเดียวกัน
       
       “ความจริงก็คือ การที่อินโดนีเซียส่งเครื่องบินซูคอยไปออสเตรเลียครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่า ทั้งแคนเบอร์รา และจาการ์ตาต่างพบว่า มีภัยข่มขู่ที่ยิ่งใหญ่กว่าประชิดประเทศ” นายฟาร์เรลกล่าว และยังชี้อีกว่า การฝึกร่วมโดยใช้เครื่องบินรบทันสมัยของทั้งสองฝ่าย ได้เปิดโอกาสไปสู่ความร่วมมืออันใกล้ชิดมากยิ่งขึ้นในอนาคต
       
       สองประเทศเพื่อนบ้านมึนตึงกันมาตลอดหลายทศวรรษแห่งสงครามเย็น ความสัมพันธ์ด้านกลาโหมจึงแทบจะไม่เกิดขึ้น สัมพันธ์สองฝ่ายยังคงมึนตึงแม้กระทั่งช่วงหลัง แม้ว่าดินแดนติมอร์ตะวันออก (ติมอร์เลสเต-ในปัจจุบัน) ได้รับเอกราช และแยกตัวจากอินโดนีเซียไปแล้วก็ตาม
       
       อินโดนีเซีย ไม่ได้เป็นคู่กรณีกับฝ่ายใดในความขัดแย้งทะเลจีนใต้ แต่การเป็นเจ้าของหมู่เกาะใหญ่ 6,000 เกาะ ที่อยู่ติดกับน่านน้ำแห่งนี้ ทำให้เกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัย และทำให้ประเทศที่เป็นหนึ่งในผู้ให้กำเนิดกลุ่มอาเซียนต้องเร่งพัฒนาเขี้ยว เล็บเป็นการใหญ่ ทั้งกองทัพบก ทัพเรือ และกองทัพอากาศ
       .

        2

        3

        4
       ออสเตรเลียก็ไม่ต่างกัน ต่างหวาดวิตกกับการขยายอิทธิพลทางทหารของจีนลงสู่ทะเลจีนใต้และไกลออกไปยิ่ง กว่านั้น ออสเตรเลียถูกกำหนดให้เป็นปราการสุดท้ายในการสกัดกั้นจีนในแผนการร่วมของ สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรในย่านเอเชียแปซิฟิก ซึ่งเริ่มจากญี่ปุ่น ผ่านเกาะกวม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กับสิงคโปร์ก็รวมอยู่ใน “กำแพงทางทะเล” ดังกล่าวด้วย
       
       ในขณะที่กองทัพออสเตรเลีย ใช้อาวุธของโลกตะวันตกเป็นหลัก เหล่าทัพต่างๆ ของ อินโดนีเซียใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ผสมผสานระหว่างค่ายตะวันตกกับรัสเซีย รวมทั้งเครื่องบินรบ F-16 บล็อก A/B ซึ่งเป็นรุ่นเก่าของตระกูล F-16 โดยอัปเกรดขึ้นให้ทันสมัย
       
       แต่ Su-30MK2 เป็นเครื่องบินรบทันสมัยที่สุดของทัพฟ้าในปัจจุบัน
       
       อินโดนีเซีย เป็นหนึ่งในสามประเทศอาเซียนที่ใช้เครื่องบินรบตระกูลซูคอย ถัดจากเวียดนามและมาเลเซีย ปัจจุบัน กองทัพอากาศอินโดนีเซียมี Su-27 จำนวน 10 ลำ กับ Su-30MK2 อีก 4 ลำ กำลังอยู่ระหว่างจัดซื้ออีก 6 ลำ
       
       นอกจากเครื่องบินรบแล้ว อาวุธทันสมัยของอินโดนีเซียหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นรถถังเลโอพาร์ด 2A6 สุดทันสมัยที่เซ็นซื้อจากเยอรมนี 30 คันแรก และ ยานหุ้มเกราะยกพลขึ้นบกแบบ BMP-3F ที่ซื้อเพิ่มเติมจากรัสเซียเมื่อเร็วๆ นี้จะส่งไปประจำการที่กะลิมันตัน และชวาตะวันออก ซึ่งเป็นหน้าด่านของประเทศ.
       
        ต่างค่าย-ปลายทางเดียวกัน GDVN


เครื่อง บิน F/A-18 "ซูเปอร์ฮอร์เน็ต" ของกองทัพอากาศออสเตรเลียที่ผลิตในสหรัฐฯ 2 ลำ ทำหน้าที่คุ้มกัน Su-30MK2 ของกองทัพอากาศอินโดนีเซีย 4 ลำในสถานการณ์สมมุติ ระหว่างการฝึก Pitch Back 2012 ที่เริ่มขึ้นในปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกที่สองประเทศเพื่อนบ้านไม้เบื่อไม้เมาส่งเครื่องบินรบทันสมัย ขึ้นฝึกร่วมกัน เป็นครั้งแรกอีกเช่นกันที่มีการนำเอาเครื่องบินรบทันสมัยที่สุดของ 2 ค่ายขึ้นร่วมปฏิบัติภารกิจข้ามชาติแม้จะเป็นภายใต้สถานการณ์สมมุติก็ตาม. -- ภาพ: เว็บไซต์ข่าวกลาโหมออสเตรเลีย.  
        5

        6

        7

        8

        9

        10

        11

        12

        13

        14

        15

        16

        17





ความคิดเห็นที่ 1


ซู30 ของอินโดดูใกล้ๆ นี่เรื่มเขรอะแล้วนะครับ 555

โดยคุณ aunna เมื่อวันที่ 06/08/2012 23:20:25


ความคิดเห็นที่ 2


สงสารจีนจังใครๆก็ไม่รัก

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 06/08/2012 23:25:30


ความคิดเห็นที่ 3


ก็เลยสะสมภาพ บ. ของ ทอ.อินโดนีเซีย ซะเลย...

SU-27 ทุกลำของ อินโดนีเซีย 01-05

01


02


03


04


05


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/08/2012 20:58:12


ความคิดเห็นที่ 4


เลือดสีเดียวกันครับ คือสีแดง................ทุกวันนี้แม้แต่เสื้อก็ยังใส่สีเดียวกันแล้ว........5555555    ว่าถึงการบินกระทบไหล่กันนี้ มีตั้งแต่สมัยยี่สิบปีที่แล้วแล้วครับ และเสืออากาศไทยก็มีโอกาสสุยๆ ไปอยู่ใกล้ๆเหตุการณ์นั้นด้วย............... จำได้ว่า เมื่อครั้งที่ ทอ.ไทย สนใจที่จะประจำการด้วยเอ-๑๘ ได้ส่ง นักบินยศนาวาตรีสองท่าน ไปลองของ(ขับ) เจ้าต่อของออสซี่นี่แหล่ะ  และที่สนามบินนั้นบังเอิญมีแอร์โชว์ ทัพหมีอากาศ ส่ง ซู-๒๗ มาโชว์ตัวสะด้วย  งานนั้น ท่านผู้พัน ทักษพล ได้ปีนขึ้นไปสังเกตุการณ์และแอคท่าถ่ายรูปโดยนั่งอยู่ขอบค็อกพิท ยิ้มแฉ่งซึ่งภาพลงในสมรภูมิเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว...................... ครั้งนั้นมีการบินร่วมกันของเครื่องบินทั้งสอง โดยซูทั้งสองลำเป็นที่สนใจของสื่อตะวันตก โดยมีผู้สังเกตว่า กระดดงหางทั้งสองค่อนข้างใหญ่และนักบินออสซี่บอกว่าคล้ายเจ้าแมวหง่าวเมื่อมองไกลๆ ................ ที่สำคัญ ตลอดเวลาที่แหวกอากาศร่วมกัน นักบินออสซี่ต้องเร่งเครื่องตามเจ้ายักษ์ทั้งสอง  แสดงให้เห็นว่าของเค้าแรงส์จริงๆ..................................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 07/08/2012 08:56:53


ความคิดเห็นที่ 5


อ่า...........แก้ให้ท่านผู้จัดการหน่อย  ต่อของจิงโจ้ เป็น ต่อ นะจ๊ะ ไม่ใช่ ซุเปอร์ต่อ   และต่อชุดนี้แหล่ะ ที่นักบินไทยเคยได้ทดลองขับมาแล้ว............................. ฮอร์เนต ชุดนี้ เคยโดนเจ้า ฟัลครั่ม ของมาเลย์ สอยตกโดยสมมติในการซ้อมรบทางอากาศครั้งหนึ่ง   ซึ่งเป็นการดวลกันด้วยจรวดบีวีอาร์  อำรามสกี้ และ สแปร์โร่ว์  ผลอย่างที่ทราบ เซมิแอคถีฟโฮมมิ่ง แพ้ จรวดรุ่นใหม่........................หลังจากนั้น ออสซี่ ได้ทำการอัพเกรทต่อของตัวเอง โดยได้ปรับปรุงเรดาร์ และเปลียนไปใช้จรวดที่ทันสมัยสมน้ำสมเนื้ออย่าง อำราม.............. การประจำการคงมีต่อไปอีกระยะ  โดยเจ้าซุปเปอร์ต่อ จะมารับไม้แทน ต่อ ในบทบาทครองอากาศ และขัดขวางทางอากาศ สำหรับ ภารกิจ ทิ้งระเบิด ขัดขวางทางลึก เจ้าอาวุโส ตองหนึ่ง  ก็ต้องส่งไม้ให้เช่นกัน

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 07/08/2012 09:12:02


ความคิดเห็นที่ 6


Hornet เป็นแตนจ้ะ wasp คือต่อ
โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 07/08/2012 09:34:55


ความคิดเห็นที่ 7


บน.......... การ แหวก อากาศประชันในครั้งนั้น สังเกต ด้านล่างของ ต่อ หิ้ว สแปโร่ว์ไปด้วย   ..................

กลาง......... ทอมแคต เมื่อครั้งยังประจำการ ภารกิจ อักเกรสเส้อร์  ของโรงเรียน ทอปกัน

ล่าง.......... ต่อ ในบทบาทข้าศึกสมมติ จริงๆ แล้ว ต่อจะตัวเล็กกว่า ซู อยู่มาก  และเอวิโอนิคส์ ดั้งเดิมที่ยังไม่ได้อัพเกรท จะต่างจาก ซู-๓๐ หลายขุม




โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 07/08/2012 09:38:16


ความคิดเห็นที่ 8


เอาใหม่ภาพไม่มา



โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 07/08/2012 09:42:59


ความคิดเห็นที่ 9


อ่า.......................ก็เรียก ต่อ กันมาตั้งนาน  จะมีคนมาเปลี่ยนเป็น  เอฟ-๑๘  "อีแตน"  ซะแล้ว.....................

ตกลงต่อหรือแตน เชิญผู้แตกฉานแมลง ดุษฎีบัณฑิต กีตวิดยา มาเฉลยด้วย  แต่เท่าที่เปิดเวปดู ฝรั่งมันเรียกดังนี้

 

บน ฝรั่งมันเรียก ต่อยักษ์ญี่ปุ่น หรือ ต่อเอเชีย  ไจแอ้นท์เจแปนเนส หรือ เอเสี้ยนฮอร์เนต

กลาง ว้าส(สะปะ)   อืม ดูเหมือนหมาล่าที่บ้านแฮะ...........

ล่าง ฝรั่งมันว่ามีพิษ เรียก เฮมิพเทอร่า คิสสิ้ง บักส์  แต่ดูแล้ว เมื่อคืนตูยังโขลกใส่แจ่ว โซ้ยกะเมียเลย....................

 




โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 07/08/2012 10:31:59


ความคิดเห็นที่ 10


จากรูปมัน Su-27 / 2 ลำ Su-30MK /2 ลำ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 07/08/2012 10:48:12


ความคิดเห็นที่ 11


ทอ.อินโดนีเซีย จะใช้หมายเลขที่เหมือนกัน ทั้ง SU-27 และ SU-30

คือ SU-27 จะใช้หมายเลข 01-06

SU-30 ก็จะใช้หมายเลข 01-06 เช่นกัน...

จุดสังเกตุทาง กายภาพ ง่าย ๆ คือ ถ้าที่นั่งเดียว ก็ SU-27 ถ้า  2 ที่นั่ง ก็ SU-30

และถ้าสังเกตุ จะเห็นว่า ทอ.อินโดนีเซีย จะใช้ประกบคู่ ระหว่าง SU-27 กับ SU-30

จึง เดา ว่า

SU-27 ของ ทอ.อินโดฯ คงไว้ ครองอากาศ โดยเฉพาะ

SU-30 ของ ทอ.อินโดฯ คงไว้ สไตรค์ เป็นหลัก

อยากจะลุ้นให้ ทอ.ไทย มี อินทรีย์ใบ้ จังเลย (F-15 SE)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/08/2012 12:28:57


ความคิดเห็นที่ 12


Hornet เป็น ต่อ   

wasp เป็น แตน ครับ 

ต่อจะตัวใหญ่กว่า ดุกว่า แตนครับ  

เวลาคนเจอไม่ว่าจะต่อหรือแตนคนส่วนใหญ่จะเรียก Hornet ครับ แต่ถ้าคนดูเป็นก็จะเรียก Hornet หรือ wasp โดยระบุได้เลยครับ

มันอยู่ที่ว่าคนจะดูเป็นหรือเปล่า บางทีฝรั่งก็ยังเรียกผิดครับ ไม่ต้องซีเรียส 

 

อันนี้รูปตัวต่อ กับรังต่อครับ 

 

 

อันนี้รูปตัวแตน กับรังแตนครับ 

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 07/08/2012 12:54:22


ความคิดเห็นที่ 13


เอาตามพจนานุกรมหรือแปลที่googleก็ได้ครับ

Wasp คือต่อ hornet แตนครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 07/08/2012 16:22:06


ความคิดเห็นที่ 14


จะเปลี่ยนจากกะทู้เครื่องบิน เป็น กะทู้ ความรู้เรื่องแมลง แล้วเหรอ ครับ ฮ่าๆๆๆๆๆ

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 07/08/2012 17:25:54


ความคิดเห็นที่ 15


ก็ดีนะ ครับได้ความรู้หลากหลายดีครับ

โดยคุณ jeab2511 เมื่อวันที่ 07/08/2012 17:52:01


ความคิดเห็นที่ 16


SU-30 ทุกลำ ของ ทอ.อินโดนีเซีย 01-05

 

01


02


03


04


05


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 07/08/2012 21:00:39