เปลี่ยนมาใช้vestแบบน.ย. สำหรับบ้านเมืองที่ร้อนแบบประเทศไทย เสื้อเกราะถ้าจะให้ใส่ขึ้นเขาเข้าป่าก็คงไม่ไหว อย่างทหารตามตะเข็บชายแดนที่ต้องเดินลาดตะเวนในป่าเสื้อvestน่าจะเหมาะกว่า แล้วใช้ใส่ฝึกทั่วไปแทนสายโยง(คือโละสายโยงออกไปเลย) คือเวลาเห็นทหารเราฝึกร่วมกับต่างชาติแล้วมันแบบว่า...ไม่รู้จะว่าไงดีครับ ก็เข้าใจว่าชาติอื่นเขามีpowerเยอะ แต่แค่vestแทนสายโยงไม่น่าใช่เรื่องใหญ่ ก็เหมือนกับที่เปลี่ยนชุดพรางเป็นลายดิจิตอล ค่อยๆทยอยออกมาใช้เดี๋ยวก็ทั่วกองทัพเอง
ส่วนอันนี้สงสัยว่าทำไมท.บ.ต้องตัดชุดพรางทรงขาเดฟ เพราะตอนผมเป็นทหารเขาก็วัดตัวผมซะพอดีเลย ใส่เดฟทั้งกองร้อย แล้วต้องมีรัดท๊อปให้มันเดฟเข้าไปอีก เขามีไว้รัดช่วงข้อเท้าไม่ใช่เหรอครับ เห็นมีแต่คนรัดตรงเหนือรองเท้าขึ้นมาทั้งนั้น
สุดท้ายฝากภาพวาดเล่นๆให้ดูกันครับว่า ยุคนี้แล้วทหารเรควรประมาณนี้ เวอร์ไปบ้างแต่ไม่น่าเกินนี้ครับ
("w")
ใส่vestทับเสื้อเกราะ
เข้าท่าๆ ดูดีทีเดียว
เท่าที่เห็นทหารเราใส่เสื้อเกราะไปเลยนะครับ แต่ก็มีเป็นมาตรฐานอยู่มั้งครับที่ใช้สายโยงบ่า
ทหารเราเกียร์ต่างๆใช้ปะปนกันเยอะครับ ทั้งยุคเวียดนามและปัจจุบัน ลายพรางเก่า และดิจิตอล
แบบทันสมัยส่วนมากน่าจะพวกหน่วยพิเศษครับ
อันนี้ภาพบางส่วน
เง้อ อุตสาห์คัดภาพที่จะไม่เกี่ยวการเมืองแล้วนะ ภาพแรกยังมีเขียนโผล่มาให้การเมืองอีกจนได้
ถ้าไม่สมควรท่านวมต.ก็ลบออกได้เลยนะครับภาพแรกที่ผมโพส
ครับผมคุณtan02 ทหารไทยจะจัดเต็มเวลาปฏิบัติการจริงครับ เสื้อเกราะนี่นำมาใช้ในเมืองหรือรบในที่มั่นอย่างเมื่อตอนเขาพระวิหารก็เหมาะสมดีครับ แต่ถ้าเป็นตามชายแดนที่ต้องลาดตะเวนขึ้นๆลงๆตามป่าเขาทุรกันดาร เสื้อเกราะคงเป็นภาระเกินไปจะทำทหารหน้ามืดเอา เสื้อvestจะเหมาะสมกว่าแล้วก็อ่อนตัวกว่า นำมาใส่เวลาฝึกก็ดูดีกว่าสายโยง+กระติกน้า
อันนี้ของใกล้ๆบ้านครับ เป็นประเทศนึงที่พัฒนาได้ตามยุคสมัย(แน่ครับเพราะมีตังค์และกำลังพลน้อย)ดูอันที่อยู่ทางขวานะครับ ที่ไม่ใช่ลายพราง
อันนี้ น.ย.ไทย
ท.บ.สหรัฐ
สวมทับเสื้อเกราะ
ท.บ.ไทย ฝึกแต่ไหรแต่ไรก็สายโยง+กระติกน้ำ
ลืมคลิปครับที่บอกว่าใกล้ๆบ้านเราน่ะครับ
คิดว่า สายโยงมันอาจจะช่วยรัดให้เสื้อแน่นขึ้น ทำให้คล่องตัว
หรือ สายโยง เอาไว้ทำประโยชน์อื่นๆ ในเวลาออกรบจริงๆ
เช่น ทำเป็นเชือกรัดห้ามเลือด หรือ ใช้ห้อยโหนในพื้นที่ลำบากๆ
.. ต้องไปถามทหารที่ออกรบจริงๆอีกที ว่าสายโยงมันไม่มีประโยชน์หรือเปล่า
ชุดเครื่องแบบสนามที่เห็นส่วนใหญ่เป็นระบบAll-purpose Lightweight Individual Carrying Equipment (ALICE)ออกแบบมาตั้งแต่ก่อนยุค70
ส่วนที่เราเรียกกันว่าสายโยงบ่า(suspenders)มันมีหน้าที่ คือดึงเข็มขัดสนามไม่ให้รูดลงหรือแกว่งไปมา ภาระการบบรรทุกทั้งหมดจะอยู่ที่เข็ดขัดสนาม
ถ้าเทียบกับนย.ซึ่งตัวเวสเป็นของระบบ IIFS(Individual Integrated Fighting System)แล้วแบบไหนดีกว่ากัน IIFS ดีกว่าในเรื่องการใช้งาน ส่วน ALICE จะดีกว่าในด้านน้ำหนัก
ของแบบนี้ต้องลองเองถึงจะรู้
เวรกรรมพิมพ์ไปตั้งเยอะหายหมด
เห็นด้วยกับจขกท.ระบบ ALICE มันก็ล้าสมัยไปแล้ว บ้านเราอากาศร้อนควรออกแบบเครื่องสนามที่เหมาะสมกับทหารไทย เป็นแบบอเนกประสงค์เน้นการใช้งาน
ของแบบนี้ความสำคัญมันไม่ได้อยู่ที่ความสวยงามหรือความเท่หรอกครับ มันอยู่ที่การใช้งาน
เห็นด้วยตามแนวคิดครับบางอย่างถึงเวลาปรับก็ครวรจะปรับ แต่ไอ้บ้านเราพอเอาเข้าจริงๆเวลามีให้ใส่ก็ไม่่ค่อยจะใส่ นี่ละมั้งคนไทย55555
คือกรมพลาฯเค้าก็คิดออกมานะครับพวกอุปกรณ์ใหม่ๆ แต่มันไม่ได้จะพัฒนาอะไรเลยก็อย่างสายโยงรุ่นใหม่ก็เหมือนของเดิมแค่เพิ่มนิดนี่หน่อย คือพื้นฐานเหมือนเดิมเลยแต่เพิ่มสายตรงนู้นตรงนี้มาอีก ก็มีหลายอย่างครับที่พลาฯทำออกมาได้ดีมาก แล้วก็หลายอย่างที่เห็นแล้วมันไม่ใช่ คนคิดคิดดีครับแต่ขาดเรื่องรายละเอียด เช่นเสื้อเกราะในรูปท่านtan02 ปรับให้กระชับไม่ได้เวลาใส่คนที่รูปร่างเล็กๆจะเกะกะ(ผมเคยใส่ครับตอนเป็นทหาร) ก็คือเป็นการตัดเย็บออกมาง่ายๆ แบบไม่ซับซ้อนเท่าไหร่
ส่วนทหารบ้านเราที่บอกว่าไม่ค่อยอยากจะใส่อุปกรณ์เท่าไหร่ ก็เพราะว่ามันเกะกะครับ อันนี้ต้องให้ผู้บังคับหน่วยแต่ละหน่วยตั้งเป็นมาตฐานเลยครับว่าฝึกหรือปฏิบัติงานต้องมีอุปกรณ์ติดตัวเตรียมพร้อม อาจจะกระเป๋าเปล่าๆตอนฝึกก็ได้ ฝึกให้ชินครับ ให้ทหารได้เรียนรู้ที่จะรู้จักใช้อุปกรณ์เสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน
ความจำเป็นของสายโยงบ่า ตามท่าน Akula คือ กันเข็มขัดรูดลง สำหรับหน่วยทหารราบ ในภารกิจรบในแบบ เวลาต้องแบกเป้ เดินทางไกล ๆ ทางยุทธวิธี พวกกระติกน้ำ หม้อข้าวสนาม หรืออื่น จะถูกติดไว้ที่เข็มขัด สายโยงบ่าจะช่วยรับน้ำหนักไว้อย่างมากครับ
สุดท้ายตรงนี้ไม่อยากให้เกิด เอาไว้ให้เพื่อนลาก ดึง เมื่อถึงคราว เวลาที่ไปด้วยตนเองไม่ได้