http://thaidefense-news.blogspot.com/2012/07/blog-post_15.html
ขอบคุณท่าน kaypui42 ภาพสวยๆติดขอบในพื้นที่ทั้งนั้น
ชอบตรงคำว่า *การฝึกร่วมกองทัพไทย ๓ เหล่าทัพ*
ติดตรงลายพลางของ AAV นี่ล่ะครับ ยังไม่เข้าถึงลายพลางจริงๆ(คิดเห็นส่วนตัว)
ส่วน BTR ของทัพบกลายพลางเหมาะสมดีแล้วครับ
เรื่องลายพรางของ AAV จะเอาตามแบบรถ BTR ของ ทบ.คงไม่เหมาะสมนักนะครับ เพราะ AAV ต้องวิ่งจากเรือผ่านทะเลค่อนข้างไกล มาถึงฝั่งแล้วจึงวิ่งเข้าป่า ลายพรางอาจจำเป็นต้องเลือกให้พอไปกันได้ทั้งกับน้ำทะเล ชายหาด และป่า ถ้าเอาดีทางใดทางหนึ่งเช่นลายพร้อยกลมกลืนกับต้นไม่ ตอนอยู่ในน้ำซึ่งวิ่งช้าและมองเห็นน้ำจาก waterjet เป็นทางยาวอยู่แล้วถ้ามีสีดำ สีเขียวอยู่ข้างหน้า ก็น่าจะเป็นจุดเล็งที่ง่าย รวมถึงเวลาขึ้นมาเคลื่อนที่บนหาดก็เช่นเดียวกัน แต่ถ้าเข้าป่ามีสีออกขาว สว่างมากก็เป็นจุดเด่น จึงต้องประนีประนอมกันไปเท่าที่เห็นว่าเหมาะสม เปรียบเทียบกับ AAV ของสหรัฐฯลายของเขาอาจดูทึบกว่าบ้าง แต่อย่าเอาไปเทียบกับรถ BTR ของ ทบ.หรือจะเป็นของ นย.ไทยที่ทำงานในป่าเขา บนบกเกือบตลอดเวลา ไม่บ่อยที่จะลงน้ำมาร่วมในการโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก และก็ไม่ได้ออกแบบให้วิ่งลงน้ำมานานๆแบบรถ AAV รถBTRของ นย.จะมากับเรือ LCM ที่บรรทุกมากับเรือ LPD ไม่ได้วิ่งมาตลอดทางแบบ AAV
ดังนั้นลายพรางดิจิตัลไม่น่าจะเป็นคำตอบทุกอย่าง ลองดูลายพรางของเรือรบของพวกสแกนดิเนเวียก็จะเหมาะสมกับฉากหลังซึ่งเป็นภูมิประเทศของเขา (เป็นความเห็นส่วนตัวเหมือนกันครับ)
เมื่อประมาณ ปี30 ช่วงปิดเทอมที่มหาลัย เพื่อนไปกางเต้นท์นอนแถวก้นอ่าว จ.ระยอง บังเอิญไม่รุ้ว่ามีฝึกยกพลแถบนั้น รุ่งขั้นมีทหารมาบอกว่า น้องๆกลางคืนช่วยพรางไฟด้วยเมื่อคืนเข้าตีผิดจุดเลย ตอนแรกไม่เชื่อ เพื่อนถ่ายรูปเต้นท์ที่กางกับรถสะเทินน้ำสะเทินบก วิ่งอยู่ใกล้ๆมาให้ดู เออ...มีแบบนี้ด้วย
ดูรูปเพลินลืมขอบคุณๆครับภาพเยอะสะใจ แถมท่าน kaypui42 ขยันช่วยอัพเดตข่าวสารให้เรื่อยๆขอบคุณอีกที ชอบๆ
ดีใจด้วย............................ นย. มีหมวกเคพล่าใส่กะเขาแล้ว ................ดีกว่าเมื่อก่อนเห็นใส่หมสกะโล่สมัยเวียตนาม (คนไทยหัวหลิม ใส่หมวกไซส์ฟะหรั่ง เหมือนเอาหม้อในครัวมาใส่เล่นเป็นทหารตอนเด็กๆ) ถือ เอ็มสิบหกเอหนึ่งวิ่งขึ้นหาดเหยงๆ.......................ผมหล่ะสงสารจริงๆพับผ่า......................
.....
จากภาพครับ...
การลำเลียงพล ระลอกที่ 3....ใช้ ฮ.แบบ เท่าที่มี จริง ๆ ครับ...และต้องใช้ จำนวนถึง 6 ลำ...
ซึ่งในจำนวนกำลังพล ระลอกที่ 3 อาจจะใช้เพียง CH-47D จำนวน 1 ลำ กับ MH-60S ที่ทั้งลำเลียง และคุ้มกัน จำนวน 2 ลำ...น่าจะพอล่ะมั๊งครับ...ไม่แน่ใจ...
เสียดาย ตชด. ไม่เข้าฝึกร่วมด้วยไม่งั้นงั้นเพื่อนบ้านหนาวกว่านี้แน่นอน
ท่าน sboot ใครคิดจะนำลายพลางตามแบบ ทบ. ...? ในส่วนของทบ.เหมาะสมอยู่แล้วตามภารกิจและพื้นที่
แค่ของนาวิก จำต้องพัฒนาและการพัฒนาไม่ใด้จะหยุดอยู่ตรงนั้น มองด้วยตาก็ทราบกันดีอยู่แล้ว
ฮือ 911 ออกจากอู่แล้ว ไวจริงๆ
ภาพการฝึกร่วมกองทัพไทย ทีถ่ายจากมุมมองของเรือยกพลขึ้นบกในทะเล หาดูไม่ได้จากสื่อทั่วไปครับ
การฝึกร่วมกองทัพไทย ๓ เหล่าทัพ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๕ ที่ หาดยาว อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
http://thaidefense-news.blogspot.com/2012/07/55_16.html
http://thaidefense-news.blogspot.com/2012/07/55.html
เป็นคลิปที่ หาดูได้ยากครับ...
ผมไม่ได้จะจับผิดนะครับ...
แต่ผม ไม่เห็น BTR-3E วิ่งมาจาก LCU เลยครับ...และตามภาพนิ่ง ก็จะเห็นว่า ล้อแห้งเป็นปกติ...
เลยไม่แน่ใจว่า เป็นการ สมมติ ว่า BRT-3E วิ่งออกมาจาก LCU หรือ วิ่งออกมาจาก LCU จริง ๆ ครับ...
ซึ่งในข้อสงสัยผม จะเป็นประเด็นที่ว่า BTR-3E กับ การใช้ในหาด หรือ การยกพล ขึ้นพลบก นั้น ทำได้เพียงใดน่ะครับ...
ส่วนในเรื่องการใช้งาน บนฝั่ง นั้น ไม่ได้มีปัญหา หรือ ประเด็นครับ เพราะมันอยู่บกอยู่แล้วครับ...
อยากได้
มาคุ้มกัน
การให้สี ลายพราง จะใช้สีตามสภาพภูมิประเทศ
สีพื้นหลัก จึงจะออกโทนเขียวทะเล สลับกับเขียวใบไม้ และคาดดำ สำหรับเงาพริ้วน้ำ และเงาใบไม้ (ความเห็นส่วนตัวครับ)
เพราะโดยภาระกิจหลัก ของ AAV คือ การขนกำลังพล จาก เรือ สู่ ฝั่ง...และยึดหัวหาด...หลังจากนั้น จะเป็นภาระกิจรอง...หลังจากนั้นภาระกิจบนฝั่ง ก็จะเป็นหน้าที่ของ รถถัง รถลาดตระเวณ รถยานรบต่าง ๆ
ถ้าเช่นนั้นผมคงเข้าใจผิด คิดว่า AAV คือหน่วยทหารเฉพาะกิจมีหน้าที่เข้ายึดหัวหาด เพื่อสถาปนาขยายพื้นที่ความปลอดภัย
เพื่อให้กำลังนาวิกจากเรือระบายพล ยกกำลังเข้าสู่หัวหาด
ที่จริงใว้ขนกำลังพลนี่เอง ...ขอบคุณครับ
ลายพลางไม่ใช่แค่ว่าพลางสายตา แต่มีความหมายของ *จุดสนใจ* ใส่เข้าไปด้วย
ผมว่าที่ท่าน fantom เข้าใจ ก็น่าจะถูกต้องแล้วครับ คือ ยึดหัวหาด เพื่อเปิดหาดให้กำลังพลจากเรือระบายพล และยานเกราะ หรือ ยานยนต์รบ...
ซึ่ง AAV จึงน่าจะต้องพรางระหว่าง ทะเล กับ หาด กับสภาพแวดล้อมที่เปิดหาด...เป็นหลักมากกว่า จะพรางในลักษณะ ป่า หรือ เขา น่ะครับ...ซึ่งหลังจากนั้น น่าจะเป็นหน้าที่ของ BTR-3E, Humvee และ T-69 หรือรถถังหลัก...
นาวิกใส่เวสกับหมวกรุ่นใ หม่ ท.บ.ใส่สายโยงบ่า แล้วก็กางเกงขาเดฟ ขำๆนะครับ
จากที่อ่านดูสมาชิกยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนระหว่าง Armored Personnel Carrier (APC) กับ Infantry Fighting Vehicle (IFV) เอาแบบภาพกว้างๆนะครับ
APC อย่าง AAV , M-113 , V-150 การใช้งานจะเน้นการลำเลียงพลไปยังที่หมายเป็นหลัก อาวุธประจำรถ อาจจะเป็น ปืนกลเบา ปืนกลหนัก หรือเครื่องยิงลูกระเบิดอัตโนมัต เนื่องจากอำนาจการยิงต่ำจึงไม่สามารถสนับสนุนทหารราบได้อย่างเต็มที่ในการดำเนินกลยุทธ
ส่วน
IFV อย่าง BTR-3E นอกจากใ้ช้ลำเลียงพลแ้ล้ว ยังมีภาระกิจในการสนับสนุนการยิงให้กับทหารราบด้วย เพราะอาวุธประจำรถที่มีอำนาจการยิงและการทำลายสูง ปืนใหญ่ขนาดต่างๆตั้งแต่ 25 ม.ม. ไปจนถึงขนาด 100 ม.ม. ทำลายได้ทั้งเป้าหมายที่แข็งแรงทั้งบังเกอร์ ตัวอาคาร ไปจนถึง รถถัง จึงดำเนินกลยุทธควบคู่ไปกับทหารราบด้วย
ลองอ่านเปรียบเทียบกันดูนะครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Armoured_personnel_carrier
http://en.wikipedia.org/wiki/Infantry_fighting_vehicle
จะเห็นว่า IFV กำลังจะเข้ามาแทนที่ APC เนื่องจากหลายประเทศเน้นในการวิจัยพัฒนา IFV มากกว่า รุ่นที่ถูกใจผมมีอยู่ 3 รุ่น
1. K-21
2. BMP-3
3. BTR-90
ส่วนกองทัพไทยเลือก BTR-3E ก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่มีครับ
ไม่มีความเห็นแต่ชอบกระทู้นี้จริงๆ
คุณน่าคิดครับ BTR ทุกรุ่น เป็น APC หมดนะครับ ถึงมันจะมีปืนขนาด 30 มิล แต่เกราะมันบางกว่าพวก IFV แท้ๆมากครับ แต่ก็หนาพอจะอยู่รอดในสานมรบได้
ตามความคิดผม การที่ทบ จัด BTR ไปให้ทหารราบ เพราะ ต้องการให้อำนาจการยิงของมัน สนับสนุนการรบของทหารราบให้มีประสิทธิภาพขึ้นครับ
และ ทหารราบยานเกราะ ลงรถก่อนถึงแนวปะทะ และไม่จำเป็นต้องใช้การลงข้างหลังรถที่ใช้ตัวรถเป็นเกราะกำบังในแนวปะทะแบบทหารม้ายานเกราะ
และทหารม้ายานเกราะก็มันจะปฏิบัติการกับรถถังอยู่แล้ว จึงมีอำนาจการยิงจากรถถังค่อยสนับสนุนอยู่แล้ว จึงไม่ต้องการอำนาจการยิงที่มากมายเท่าไรครับ
น่าจะมีปัญหาอะไรกับ AAV7 จำนวน 1 คัน ระหว่างการฝึก หรือเปล่า ?
เพราะผมนับได้ 7 คัน...ใน คลิป ก็มี 7 ที่วิ่งในน้ำครับ...
ไม่ได้จับผิดนะครับ...เป็นการดูถึง ความพร้อมของยุทโธปกรณ์ ซึ่ง การฝึก จะเป็นการแสดงถึงข้อบกพร่องตรงนั้นครับ...ซึ่งคือ วัตถุประสงค์หลัก ในการฝึก...ว่าอัตราความพร้อมรบ เป็นอย่างไรนะครับ...ในแง่ วิชาการ...
คุณ markrura ครับ
IFV นอกจากจะทำหน้าที่ลำเลียงทหารแล้ว ยังทำหน้าที่สนับสนุนการรบของทหารราบให้มีประสิทธิภาพขึ้น
ส่วนเกราะหนา เกราะบาง หรือชื่อเรียกในการเข้าประจำการ ไม่เกี่ยวข้องกับ ลักษณะการใช้งานครับ
ลองดูภาพกว้างๆนะครับ
ลักษณะการปฏิบัติงานของ M-113 และ AAV ซึ่งเป็นรถหุ้มเกราะลำเลียงพล เมื่อเปรียบเทียบกับ BTR-3E จะเห็นชัดเจนว่าลักษณะการปฏิบัติงานต่างกัน การที่รถอยู่ร่วมดำเนินกลยุทธไปกับทหารราบด้วยจะเป็นลักษณะเด่นของ IFV ที่ต่างจาก APC อย่างชัดเจน
ผมดูลักษณะการใช้งานและคำเีรียกภาษาอังกฤษเป็นหลัก จึงมองว่า BTR-3E เป็น IFV (Infantry Fighting Vehicle)
http://www.youtube.com/watch?v=jeZGlnlrL58
ป้าจู ผมไม่ได้มากวนนะ ฮ.2 ลำด้านซ้ายมือ ตามภาพ มันชื่อ MH-60S ไม่ใช่หรือครับ
ใข่แล้วครับ...ท่าน jeab2511...ผมสงสัย เบลอ...ผมก็ว่า มันทะแม่ง ๆ เหมือนกัน 5 5 5 5...
MH-60S
ถ้าจำไม่ผิด น.ย.เพิ่งได้BTR3ไปใช้12คันนี่ครับ แล้วก็ปืนtravoด้วย เมื่อไม่กี่เดือนนี่เอง ไม่เห็นเอามาซ้อมด้วยเลย
ถ้ามีงบซ่อมเเฮริเออร์เเล้วเอามาซ้อมก็เจ๋งเลย