ต่อยอดจาก กระทู้ใน thaiarmedforce.com ครับ
เห็นแผนการปรับปรุงของเรือชั้นนเรศวร และ กระบุรี
เลยหาข้อมูลเพิ่มเติมมาให้ในส่วนของเรือชั้นนเรศวรครับ...
โครงการปรับปรุงเรือชั้นกระบุรี ระยะที่ 1
โครงการปรับปรุงเรือชั้นกระบุรี ระยะที่ 2
ส่วน ฮ. Z-9 เป็นความเห็นส่วนครับ... 5 5 5 5
กรณีที่ ทร.สามารถจัดหางบประมาณมาได้ เพิ่มเติม อาจจะมีการติดตั้ง LY-60 เพิ่มเติม
โครงการปรับปรุงเรือชั้นนเรศวร ระยะที่ 1
โครงการปรับปรุงเรือชั้นนเรศวร ระยะที่ 2/1
โครงการปรับปรุงเรือชั้นนเรศวร ระยะที่ 2/2
ชุด. รล.กระบุรี น่าจะมีตอปิโดอีกสักอย่างน่าจะดีนะครับเพราะการปัองกันภัยจากเรือดำน้ำยังขาดอยู่เลยมีจรวดปราบเรือดำน้ำแต่มันมีระยะใกล้เกินไปครับ
คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ เรือชั้นนี้ เป็นเรือจีน ทั้งหมดน่ะครับ...
ซึ่ง จีน ยังไม่มีระบบ โซนาร์ ที่รองรับ...ซึ่งถ้าได้สังเกตุ เรือรบของจีนส่วนใหญ่ไม่มีระบบท่อยิงตอร์ปิโด...เพิ่งจะมีในเรือรุ่นหลัง ๆ แล้วครับ...
ดูแล้ว เรือชั้นนี้ น่าจะทำได้เป็น เรือสนับสนุน เท่านั้น...ซึ่งคงต้องอาศัย ฮ. ติด ตอร์ปิโด ไปร่วมปล่อยตอร์ปิโด
ซึ่งการปรับปรุงครั้งนี้ ก็คือ การอัพเกรดเป็นแบบเรือ Type-53H3 หรือชั้น เจียงเว่ย 2 เพียงแต่ตอนนี้ยังไม่มี จรวด LY-60 เท่านั้นครับ...
Data link ย้ายมาทำเฟส 1 แล้วเหรอครับ แล้วก็ปืน DS 30M เข้าวินซะงั้นสงสัย 40L70 Oto Melara ที่เค้าว่าระบบป้อนกระสุนจะมีผลต่อ CG เรือนี่จริงไหมครับ
สรุปเอาDs30M มาแทนเหรอครับ ผมว่ามันยิงช้านะครับ
ตามข่าวในช่วงแรกครับ...ที่วางงบประมาณไว้ที่ 3800 ล้านบาท โดยใช้ระบบจาก Thale...
ปัจจุบัน DS-30M น่าจะเป็นปืนรองของ ทร. นะครับ..เห็นติดตั้งในเรือ OPV ร.ล.กระบี่ ด้วยเช่นกัน...และในการปรับปรุงนี้ มีการจะติดตั้ง EOS 500 ด้วย ก็น่าจะเป็นตามภาพประกอบครับ...
เรือ รบหลัก
* การจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น C-802A - คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 20 ก.พ. 2550 อนุมัติงบประมาณจำนวน 1600 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552 ให้กองทัพเรือดำเนินการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น (โจมตีเรือ) แบบใหม่ ทดแทนระบบอาวุธปล่อยนำวิถี C-801 บนเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา ที่จัดหามาตั้งแต่ปี 2534 และปัจจุบันได้หมดอายุการใช้งานไปแล้ว ซึ่งกองทัพเรือได้ลงในนามในสัญญาจ้างกับบริษัท China National Precision Machinery Import and Export Corp. (CPMIEC) ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2550 ให้เป็นผู้ดำเนินการกับเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.กระบุรี และ ร.ล.สายบุรี ประกอบด้วยการติดตั้งแท่นยิงสำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-พื้น แบบ C-802A จำนวน 4 แท่นยิง ซึ่งแต่ละแท่นยิงรองรับกล่องยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 2 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 1 ลูก ต่อ 1 กล่องยิง) รวม 8 ท่อยิงหรืออาวุธปล่อยฯ 8 ลูก ต่อเรือ 1 ลำ พร้อมระบบควบคุมการยิงที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการส่งมอบลูกอาวุธปล่อยฯ C-802A จำนวน 13 ลูก พร้อมกล่องยิง 16 กล่อง นอกจากนี้กองทัพเรือยังได้จัดหาเรดาร์เดินเรือ/ตรวจการณ์พื้นน้ำแบบ BridgeMaster E ของบริษัท Sperry Marine ประเทศสหรัฐอเมริกา มาติดตั้งกับเรือทั้ง 2 ลำด้วย [2] [3]
* การปรับปรุงเรือฟริเกต ชุด ร.ล.นเรศวร ระยะที่ 2 - กองทัพเรือมีโครงการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร จำนวน 2 ลำ คือ ร.ล.นเรศวร และ ร.ล.ตากสิน ด้วยงบประมาณจำนวน 3,800 ล้านบาท ผูกพันระหว่างปีงบประมาณ 2552-2556 แต่เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณของรัฐบาล ทำให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายกองทัพเรือมีมติ เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 52 ให้ชะลอโครงการออกไปก่อน โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการปรับปรุงแผนโครงการให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้ รับ ทั้งนี้คาดว่ารายการปรับปรุงหลักๆ จะประกอบด้วยการจ้างปรับปรุงเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศระยะไกลแบบ LW-08 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 โดยบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS เรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ-อากาศแบบ SMART-S Mk.2 และเรดาร์ควบคุมการยิงแบบ STIR-180 จากบริษัท Thales Nederland B.V. ประเทศเนเธอแลนด์ การจัดซื้อแท่นยิงแบบ Mk.41 VLS สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ แบบ ESSM จำนวน 1 แท่นยิง ซึ่งรองรับท่อยิงอาวุธปล่อยฯ ได้ 8 ท่อยิง (อาวุธปล่อยฯ 4 ลูก ต่อ 1 ท่อยิง) รวมอาวุธปล่อยฯ 32 ลูกต่อเรือ 1 ลำ จากบริษัืท Lockheed Martin ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมลูกอาวุธปล่อยฯ ESSM จากบริษัท Raytheon ประเทศสหรัฐอเมริกา การจัดซื้อปืนใหญ่กลแบบ DS-30M REMSIG ขนาด 30 มม./75 คาลิเบอร์ แท่นเดี่ยว จากบริษัท MSI Defense Systems Ltd. ประเทศสหราชอาณาจักร ส่วนการปรับปรุงในระยะที่ 1 กองทัพเรือได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว ในปี 2552 คือ การติดตั้งระบบชักลาก ฮ. ระหว่างลานจอดและโรงเก็บ ฮ. ประจำเรือ แบบ Samahe ของบริษัท DCNS ประเทศฝรั่งเศส โดยบริษัท Italthai Marines เป็นผู้ดำเนินการ [4]
และติดตั้งบนเรือ ร.ล.อ่างทอง ลำใหม่ ด้วยครับ...
SEAHAWK A2
The SEAHAWK A2 is a fully autonomous system complete with below deck control console an off-mount three sensor Optronic Director with Auto-Tracker and Ballistic Computer providing a leading edge fire control solution.
Features and Options include:-
ลืมบอกว่า ตำแหน่งที่วาง
EOS
Sagem Decoy
CCTV
ผมยัง เดา อยู่นะครับ
และ ตำแหน่ง Sea Geraffe 3D นั้น...
ไม่แน่ว่า จะมาเป็นทรงลดการตรวจจับ เป็น ทรงกลม เหมือนชั้น Visby ของ สวีเดน หรือ LCS-2 ของสหรัฐ รึเปล่านะครับ ?
Sea gifaffe น่าจะต้องอยู่ในตำแหน่งของ LW08 เดิมครับ CCTV และ EOS มีความเป็นไปได้ตามที่คุณ Juldas นำภาพมาแสดงส่วน Data link ในตำแหน่งจากภาพผมเกรงว่าอาจเกิดปัญหาการกวนกันของสัญญาณนะครับ
อ่อ..ใช่ครับ..ตำแหน่ง Link E & G เป็นอีกตำแหน่งที่ เดา ครับ
เนื่องจากไม่ทราบว่า อุปกรณ์ Link จะเป็น แบบเสาอากาศ หรือ เป็น แท่งกรวย ซึ่งถ้าเป็น แท่งกรวย ก็น่าจะอยู่ตรง เสากราฟ...
ส่วน เรดาร์ LW08 ผมว่าไม่น่าจะมีการถอนออกนะครับ...น่าจะยังใช้้กับ Harpoon อยู่ แบบเรือชั้น ANZAC ครับ...
เสียดายพื้นที่น้อยไป ยัดเจ้านี่ไม่ลง
<iframe width="560" height="315" src="http://www.youtube.com/embed/mfqqsv7oinU" frameborder="0" allowfullscreen></iframe>
<object width="560" height="315"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/mfqqsv7oinU?version=3&hl=en_US&rel=0"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/mfqqsv7oinU?version=3&hl=en_US&rel=0" type="application/x-shockwave-flash" width="560" height="315" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true"></embed></object>
ดูยูทูป แล้วครับ ท่าน MIGGERS สนุกมาก...น่าสนใจดีครับ...
เป็นความรู้สึกล้วน ๆ ครับ...5 5 5 5 5
คาด เดา อย่างเดียวครับ จากข่าวการจัดหาระบบ 9VL เพื่อติดตั้งบน ร.ล.จักรีนฤเบศร์
โครงการปรับปรุง ระยะที่ 1 งบประมาณ 950 ล้านบาท
โครงการปรับปรุงระยะที่ 2 งบประมาณ 550 ล้านบาท
รวมปรับปรุงทั้ง 2 ระยะ งบประมาณ 1,500 ล้านบาท ( เดา )
ถ้าโครงการเรือดำน้ำไม่สามารถเกิดได้ในช่วง 10 ปีนี้ และทร.มีงบประมาณ พอ คาดว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร น่าจะได้รับการปรับปรุงดังเช่นคุณ Juldas ลงไว้ครับ โดยเฉพาะ STIR ทั้ง 2 ชุดที่ถอดจากร.ล.นเรศวรและร.ล.ตากสิน น่าจะมีประโยชน์ ในกรณีที่ทร.จะติด VLS ตามแบบแผนเดิม และ STIR ยังใช้งานได้ดีและสามารถปรับปรุงให้มีขีดความสามารถเพิ่มขึ้นได้
ดัดแปลงมาจาก ภาพต้นฉบับของ Mconrads จากเว๊ป shipbucket.com ครับ
What if
phase 2 นเรศวร โอกาสแห้วสูงมาก
แต่เดิมเคยเป็น โครงการที่ ทร. กำหนดไว้ครับ...
คือใช้ตัวเรือของ จีน แต่ ระบบอาวุธตะวันตก...และเป็นแบบเรือมีโรงเก็บ ฮ. จำนวน 2 ลำ...
แต่เมื่อ ทร. ไปตรวจดูการประกอบของ จีน แล้ว ยังไม่พอใจในคุณภาพ จึงเป็นเรือตามสภาพในปัจจุบัน ครับง..
ขอบคุณมากครับท่าน judas เห็นแผ่นภาพประกอบแล้วจินตนาการออกเลย น่าเสียดายนะครับน่าเสียดาย ช่วงหลายปีมานี่ไม่รู้เกิดอาเพศอะไรทำให้ ทร.ผิดแผนไปเยอะครับ
ป๋าจูไม่ทราบว่า CH53 มีโอกาศเกิดใน กองทัพเรือหรือป่าวครับ ดูจากรูปของป๋าที่เ้ป็น ชินุกอยู่ เรือจักรี หน้าจะเอาอยู่เพราะน้ำหนัก ชินุกกัีบ CH53 พอๆกัน
ไปดูจาเเวปเพื่อนบ้านเห็นว่า กองทัพเรือได้งบปีหน้า อยู่ที่3หมื่นกว่าล้าน ห้นาจะจัดหามาซัก2ลำ อิอิ
CH-53 ผมว่า ไม่น่าจะมีโอกาสเกิดใน ทร.ไทย ครับ...
เพราะ เรือที่รองรับ ปัจจุบัน...ทร.กำหนดคุณสมบัติ รองรับ ฮ.ระดับ CH-47 Chinook ได้เท่านั้นครับ...ซึ่ง CH-53 มีขนาดใหญ่กว่าพอสมควรครับ...รัศมีใบพัด คงไม่พอ...และที่ สำคัญ ราคาสูงกว่า Chinook พอสมควรครับ...ประเทศที่มีประจำการ มีเพียง สหรัฐ กับ ญี่ปุ่น...ซึ่ง ญี่ปุ่น ก็น่าจะใกล้ปลดประจำการแล้ว...
ลำพังแค่ Chinook ราคาต่อลำ น่าจะระดับ 1,000 กว่าล้านบาท ต่อ ลำ แล้วครับ...แพงกว่า แบล็คฮอร์ค...แต่เป็น ฮ. ที่น่าจะตรงกับคุณสมบัติของ ทร. ที่ต้องการ เพราะยังไม่มี แต่ตามภาระกิจ มันก็คงจะต้องมีครับ...
คือ สนับสนุน นย. ทั้งในการขนกำลังพล และ ยุทโธปกรณ์ ซึ่งน่าจะรวมถึง อาวุธนำวิถี ของ ทร.ได้ครับ หรือแม้แต่ การขนส่งเรือระดับ เรือ ต. เรือตรวจการณ์ลำน้ำ...
ยกตัวอย่าง เช่น เกิดความขัดแย้งบริเวณ เกาะกูด การขนปืนใหญ่ ของหน่วยป้องกันฝั่ง หรือ การขนยานยนต์รบ เพื่อป้องกันรักษาเกาะ...CH-47 Chinook จะมีประโยขน์มาก...และประเทศไทย ก็มี เกาะแก่ง อยู่ไม่น้อยครับ...
ซึ่งอาจจะรวมถึง ภาระกิจการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล เช่น การอัปปาง ของเรือพาณิชย์ หรือ เรือท่องเที่ยวต่าง ๆ...
ตอนนี้ ประเทศไทย ยังไม่มี เฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่ ในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย หรือ บรรเทาสาธารณะภัย ทางทะเล เลยครับ...เนื่องจาก วัวยังไม่หาย...คอกเลยยังไม่ล้อม ครับ...5 5 5 5 5...ต้องรอก่อน...ยกตัวอย่างเช่น ตอนเกิดเหตุ ซึนามิ...ถ้า ทร. ในขณะนั้น มี ฮ.ระดับ CH-47 ประจำการอยู่...ผมว่าความคล่องตัวการช่วยเหลือ น่าจะดีกว่านี้ครับ...
ส่วนงบประมาณของ ทร. จำนวน 3 หมื่นกว่าล้านบาทนั้น จะประกอบด้วย
1. งบรายจ่ายประจำปีพวก เงินเดือน วัสดุ เชื้อเพลิงพลังงาน ซ่อมแซม ต่าง ๆ ครับ
2. งบผูกพัน การจัดหาอาวุธใหม่ จากปีก่อน ๆ
3. งบผูกพัน การจัดหาอาวุธใหม่ สำหรับปี 2555
ซึ่งยอดของ งบผูกพัน ข้อ 2. และ ข้อ 3. รวม ๆ กันไม่น่าจะเกิน 3000 - 5000 ล้านบาทครับ (จำไม่ได้ครับ)
ดังนั้น ถ้าในปีต่อ ๆ ไป เกิดการต้องชำระเงินของ งบผูกพันของปีเก่า ที่ถึงงวดที่ต้องชำระเงินเป็นจำนวนมาก ๆ...ในปีนั้น อาจจะไม่มีตั้งงบประมาณจัดซื้อใหม่ ก็ได้ครับ...ต่อรอในปีถัดไป...
ดังนั้น แผนการจัดหาอาวุธใหม่ สมมติ ในระยะ 5 ปี แต่การชำระเงินอาจจะใช้เวลาถึง 10 ปี...คือ ไม่ได้จัดหาพร้อม ๆ กัน ครับ...
และตามแผนเดิม ที่ ทร. วางแผนจัดหาอาวุธใหม่เมื่อปี 2549 นั้น เป็นแผนระยะเวลา 9 ปี...ถ้าในแง่การตั้งงบประมาณชำระเงินจริง ๆ แล้ว อาจจะใช้เวลา ไม่ต่ำกว่า 15 ปี...
ซึ่งนั่นหมายถึงว่า เมื่อยังชำระเงินไม่ครบ...อาวุธ ย่อมยังไม่มาประจำการ...
ดังนั้น การวางแผนเมื่อปี 2549 ของ ทร.จะมีอาวุธครบตามแผนดังกล่าวจริง ๆ ก็จะเป็นประมาณปี 2564 ครับ...
แต่พอเกิดเหตุ รัฐประหาร 2549 ทำให้แผนการจัดหาต้องขยายระยะเวลาออกไปอีก 3 ปี...ดังนั้น กว่าเราจะเห็นว่า ทร. มีอาวุธครบตามแผนเมื่อปี 2549 จะเป็นประมาณปี 2567 เป็นต้นไปครับ...
ซึ่งเป็นการความเห็นของผมว่า...ตอนนี้ ประเทศไทย กำลังจัดหาอาวุธป้องกันประเทศ ไล่หลัง ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น...ไม่ได้จัดหาไปดักหน้า ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้น...เช่นเดียวกับ เวียดนาม, ฟิลิปปินส์ และ พม่า ครับ...
ส่วน มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย...ผมคิดว่า เขาจัดหาตามความต้องการ ทัน ต่อภัยคุกคามเขาแล้วครับ...และน่าจะเข้าสู่ การไป ดักหน้า ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นครับ...
และ สิงคโปร์ ผมว่า เขาน่าจะ ดักหน้า ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นไปแล้วครับ...
ไขปัญหาไ้่ด้ชัด ตรงประเด็น มากเลยครับ ผมไม่มีไรตามต่อเลย อิอิ