หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ต้องมองให้กว้างๆ

โดยคุณ : seaman เมื่อวันที่ : 10/07/2012 14:55:03

ได้อ่านบทสัมภาษณ์ของท่านอดีต ผอ.สำนักข่าวกรองฯ แล้วรู้สึกว่า  มีหลายๆ เรื่องที่คนสงสัยเกี่ยวกับการชอใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อทำวิจัยของนาซ่า น่าจะมีอะไรติดปลายนวมไปแน่ ท่านอดีต ผอ.สำนักข่าวกรองได้ตอบคำถามที่เจาะประเด็นนี้หลายเรื่อง ซึ่งน่าสนใจมากครับ ขออนุญาตคัดลอกมาเพื่อการวิเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับยุทธสตร์ของชาติ และภูมิภาคแถบนี้นะครับ (งดการเมือง)

ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์- แม้ว่าขณะนี้รัฐบาลจะใส่เกียร์ถอยกับการยกพื้นที่ให้สหรัฐฯเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาเพื่อดำเนินการ 2 โครงการหลัก คือ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และบรรเทาภัยพิบัติ" หรือ เอชเอดีอาร์ (HADR- Humanitarian Assistance and Disaster Relief ) และให้องค์การนาซาใช้เป็นสถานีวิจัยและเก็บตัวอย่างอากาศ ภายใต้โครงการเอสอีเอซี 4 อาร์เอส (Southeast Asia Composition, Cloud and Climate Coupling Regional Study) แต่นั่นก็ไม่สามารถคลายข้อกังขาของประชาชนว่า เหตุใดรัฐบาลจึงต้องเร่งรีบร้อนรนในการดำเนินโครงการดังกล่าว ประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการเหล่านี้ ที่สำคัญหลายฝ่ายก็ยังวิตกในเรื่องผลกระทบด้านความมั่นคงของชาติ

ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ จึงได้สัมภาษณ์พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงอย่าง ภุมรัตน์ ทักษาดิพงษ์ อดีตผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ซึ่งได้ชำแหละสาวลึกและพิเคราะห์พิจารณ์ในแง่มุมต่างๆไว้อย่างน่าสนใจ

มองกรณีที่รัฐบาลจะให้สหรัฐฯและนาซ่าเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาในการดำเนินโครงการอย่างไร

ผมว่ากรณีอู่ตะเภามันมี 2 เหตุการณ์ซ้อนกัน มันเป็นภาพเล็กที่ซ้อนอยู่ในภาพใหญ่ของยุทธศาสตร์ เวลาที่รัฐบาลมองเนี่ยส่วนใหญ่จะไปโฟกัสอยู่ที่ภาพเล็ก แต่ที่จริงคุณต้องดูภาพใหญ่ด้วย ถ้าคุณไม่ดูภาพใหญ่ คุณไม่เข้าใจหรอก ก็จะมาเถียงกันว่าควรหรือเปล่า กระทบต่อความมั่นคงหรือไม่

ต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่าสหรัฐฯ เขาถือประโยชน์ของชาติเขาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด สมมุติว่าวันนี้เขาสนิทกับไทยมากเพราะผลประโยชน์ของชาติเขากับประเทศไทยมันสอดคล้องกัน เขาต้องการความช่วยเหลือจากไทย คุณจะเอาอะไรจากเขา เขาพร้อมที่จะให้ทั้งนั้น แต่พอวันพรุ่งนี้ถ้าผลประโยชน์จากวอชิงตันมันเปลี่ยนไปแล้ว ไอ้ที่เคยคบหาสมาคมกันเนี่ยทุกอย่างมันจะเปลี่ยนไปหมด นี่คืออเมริกัน

อยากให้อาจารย์ช่วยยกตัวอย่าง

ถ้าย้อนไปดูยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนามซึ่งเป็นช่วงที่ทำสงครามกับคอมมิวนิสต์เนี่ยจะเห็นว่าผลประโยชน์ของไทยและสหรัฐมันสอดคล้องกัน เขาก็มาใช้สนามบินอู่ตะเภาของเราในการตั้งฐานทัพ ในการลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ เขาใช้ทั้งฐานทัพอากาศ ฐานทัพเรือ และค่ายรามสูร ที่ จ.อุดรธานี แต่วันที่เขาจะถอนทัพกลับไปเขาไม่ได้แจ้งให้ไทยรู้เลย ไม่บอกแม้กระทั่งนายกรัฐมนตรีของไทย แม้แต่ผู้นำทหารของไทยก็ไม่รู้ อยู่ๆเขาก็ถอนฐานทัพออกไปทันที ทิ้งพันธมิตรที่เคยร่วมรบอย่างไทยให้ต่อสู้และเผชิญปัญหาเพียงลำพัง ที่สำคัญเราต้องต่อสู้กับเวียดนามซึ่งเป็นยักษ์ใหญ่ที่มีกำลังทหารเพียบพร้อม มีขวัญกำลังใจเป็นเยี่ยม เป็นกองทัพอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ซึ่งตอนนั้นเวียดนามก็ไม่พอใจเรามากที่ให้สหรัฐฯใช้อู่ตะเภาเป็นฐานทัพ หลังจากนั้นก็มีภัยคุกคามจากเวียดนาม เขายึดลาว ยึดกัมพูชาได้ รัฐกันชนระหว่างไทยกับเวียดนามก็ไม่มีแล้ว พรมแดนของเวียดนามมาติดกับไทยเลย ยิ่งตอนหลังไทยมีปัญหากับกัมพูชา กัมพูชามีปัญหาเรื่องเขมรแดง เขมรแดงมีปัญหากับเวียดนาม ทางเวียดนามก็ส่งกำลังเข้ามาในกัมพูชาถึง 16 กองพล ซึ่งมี 11 กองพลที่ประจันหน้ากับไทยบริเวณแนวชายแดน ไทยก็ต้องพยายามเอาตัวรอด เพราะไปหวังพึ่งสหรัฐฯไม่ได้แล้ว เราก็ต้องปรับยุทธศาสตร์โดยหันไปพึ่งจีน

แล้วสถานการณ์ในปัจจุบันล่ะ

ตอนนี้สหรัฐเตรียมจะกลับมาในเอเชียแปซิฟิกอีกครั้ง หลังจากที่เขาทิ้งไปนาน และเริ่มตระหนักว่าจีนกำลังขยายอิทธิพลในภูมิภาคนี้ จีนกำลังเข้ามาแทนอิทธิพลของสหรัฐฯ เขาก็เตรียมจะเข้ามาตั้งแต่สมัยรัฐบาล จอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช แต่บังเอิญว่าตอนนั้นเกิดเหตุการณ์ 911 ซึ่งกลุ่มอัลกออิดะฮ์ อิสลามหัวรุนแรง จี้เครื่องบินเข้าพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ ใจกลางเมืองนิวยอร์ก ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ เจ็บปวดมากเพราะไม่เคยมีใครเข้าไปโจมตียักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ถึงใจกลางเมืองหลวงของเขา ดังนั้นสหรัฐฯ จึงคิดแต่ว่าจะต้องจัดการไอ้พวกนี้ให้ได้ ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา เขาใช้เวลา 10 กว่าปี เขาก็ยุ่งอยู่แต่กับสงครามอีรัก สงครามในอัฟกานิสถาน ในสงครามก่อการร้ายที่จะต้องจัดการบินลาดินให้ได้ เพราะฉะนั้น 10 กว่าปีที่ผ่านมาเนี่ยเขาไม่สามารถมาวุ่นวายในภูมิภาคนี้ได้ สหภาพโซเวียตก็ล่มสลายกลายเป็นรัสเซีย ซึ่งรัสเซียก็ไม่ได้เป็นภัยคุกคามหลักของสหรัฐฯ

ขณะที่สหรัฐฯ วุ่นวายอยู่ในตะวันออกกลาง จีนก็โตขึ้นเรื่อยๆ โตทั้งทางด้านการทหาร ด้านเศรษฐกิจการค้า จีดีพีก็โตแซงหน้าประเทศต่างๆ แซงอิตาลี ตอนนี้ก็ขึ้นมาแซงญี่ปุ่นแล้ว กำลังจ่อสหรัฐฯ แม้จะยังห่างกันอยู่เยอะ แต่นิสัยของอเมริกันก็คือจะต้องเหนือกว่าทุกประเทศในโลก เขาต้องรักษาตรงนี้ไว้ ดังนั้นเมื่อเขาจัดการกับตัวการใหญ่อย่างบินลาเดนจนไม่สามารถเป็นภัยคุกคามเฉพาะหน้าต่อเขาได้แล้ว ตอนนี้รัฐบาลโอบมาจึงหันมาให้ความสนใจกับเอเชียแปซิฟิก ให้สังเกตว่าโอบามาส่งนางฮิลลารี คลินตัน รมว. ต่างประเทศ มาเยือนเป็นภูมิภาคแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโอบามาคิดว่าเขาจะเหยียบเท้าลงที่อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศที่เขาไปอยู่ในสมัยเด็กๆ

เมื่อโอบามาให้ความสนใจแต่มันยังก้าวไปไม่เร็วเท่าไร นี่โอบามาก็เป็นประธานาธิบดีมา 3 ปีแล้ว นี่ก็ใกล้จะมีการเลือกตั้งใหม่ จีนก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ และที่เขาห่วงมากที่สุดคือด้านการทหารซึ่งศักยภาพของจีนมีมากขึ้น แต่สหรัฐฯถือว่ากองเรือที่ 7 ของสหรัฐฯต้องคุมแปซิฟิกให้ได้เพราะว่าแปซิฟิกมีความสำคัญทั้งในยามสันติและในยามสงคราม เป็นพื้นที่ที่เป็นเส้นทางเดินเรือ จะไปเกาะกวม จะไปญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ก็ต้องผ่านเส้นทางด้านนี้ ผ่านมะละกา ตรงนี้เป็นจุดยุทธศาสตร์ที่การเดินเรือต่างๆ ผ่านเส้นทางนี้มากที่สุดในโลก ขณะที่ทางด้านบนอากาศ เมืองไทยก็ถือว่าเป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์เหมาะสมที่สุด แล้วอู่ตะเภาก็เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างเกาะกวมหรือโอกินาวา กับตะวันออกกลาง เมื่อครั้งสงครามตะวันออกกลางเนี่ยเขาแวะมาเติมน้ำมันที่นี่ นี่คือความสำคัญของอู่ตะเภาในเชิงการทหาร

แล้วโครงการ วิจัยชั้นบรรยากาศ และการจัดตั้งศูนย์บรรเทาภัยพิบัติ ที่องค์การนาซาและสหรัฐฯเสนอมาครั้งนี้ล่ะ

โครงการมันก็เป็นของจริง เป็นการศึกษาชั้นบรรยากาศหรืออะไรก็ว่ากันไป เพื่อไม่ให้ประชาชนคนไทยหวาดระแวงเขาก็ลองแหย่ขาเข้ามาก่อน ดูซิว่าคนไทยจะว่าอะไรไหม คนที่สนับสนุนก็บอกว่าดี รัฐบาลไทยก็ยืนยันว่าไม่มีอะไร นักวิทยาศาสตร์ก็บอกดี เป็นการศึกษาที่ให้ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ แต่ในส่วนของคนที่ค้านเนี่ยเขาไม่ได้ค้านไม่ให้มีโครงการนี้นะ ไม่ได้บอกว่าโครงการนี้มันเลวหมดนะ แต่เขาอยากให้เปิดเผยรายละเอียดของโครงการ และต้องการให้รัฐบาลดูให้ลึกซึ้งว่ามันมีอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า และมันจะมีอะไรตามมาหรือเปล่า สหรัฐฯ เขาก็ต้องลองแหย่เข้ามาก่อน อยู่ๆจะบอกว่าเขาจะทำโครงการด้านการทหาร เขาก็เสร็จสิเพราะถ้ามีข่าวว่าจะมีฐานทัพอะไรมาตั้งในประเทศเนี่ยเกระแสต่อต้านมันยังแรงอยู่

สังเกตไหมว่าเมื่อเร็วๆ นี้ พล.อ.มาร์ติน เดมพ์ซีย์ ประธานคณะเสนาธิการร่วมสหรัฐอเมริกา ซึ่งยศเท่ากับผู้บัญชาการทหารสูงสุดของไทย ก็เดินทางมาเยือนประเทศไทย และให้สัมภาษณ์ยอมรับว่าหลังจากนี้เรือรบสหรัฐฯ จะมาเยี่ยมเยียนภูมิภาคแถบนี้ ซึ่งในเชิงการเมืองระหว่างประเทศมันเป็นการส่งสัญญาณนะ การที่เรือรบจะแวะท่าใดท่าหนึ่งเนี่ยมันมีความหมายทางการเมือง ไม่ใช่แค่ความหมายทางการทหารอย่างเดียว และถ้าดูคำให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯซึ่งพูดที่สิงคโปร์อย่างชัดเจนว่าต่อไปยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ จะมีอะไรบ้าง เขาเปิดเผยว่าเขาจะมาให้ความสนใจในภูมิภาคแถบนี้ เขาจะเดินทางไปชี้แจงกับประเทศต่างๆในภูมิภาคแถบนี้ จะฟื้นความสัมพันธ์กับประเทศที่เคยเป็นพันธมิตร การรื้อฟื้นการเข้าไปใช้ฐานทัพกับพันธมิตรเก่า เขาพูดชัดเจน ถึงแม้ไทยจะบอกว่าเราให้ความสำคัญกับจีน ต้อนรับการมาเยือนของจีน แต่จริงๆ แล้วเราก็เราอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน ที่สำคัญสหรัฐฯ บอกว่ายุทธศาสตร์การวางกำลังของสหรัฐฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกองทัพเรือ เมื่อก่อนสหรัฐฯ เขาจะวางที่แอตแลนติก 60% และแปซิฟิก 40% แต่ปัจจุบันกลับกัน เขาจะวางที่แปซิฟิก 60% และแอตแลนติก 40% เขาบอกว่าต่อไปเขาจะมีเรือรบแวะพักตามท่าเรือต่างๆ

ประเด็นเหล่านี้สอดคล้องกับสิ่งที่วอชิงตันโพสต์ รายงาน

ใช่ครับ เรื่องเหล่านี้มันปิดกันไม่ได้ ยิ่งในสังคมอเมริกันเนี่ยสื่อเค้าจะโปร่งใส คือการที่สหรัฐฯเอาเรื่องการศึกษาชั้นบรรยากาศมาล่อแล้วรัฐบาลไทยโอเคเนี่ยเขาถือว่าเขาสำเร็จไปขั้นหนึ่งแล้ว ต่อไปก็ค่อยๆ แหย่เข้ามา

มีความจำเป็นไหมที่สหรัฐฯ จะต้องเข้ามาตั้งศูนย์บรรเทาภัยพิบัติในไทย

ผมว่าโครงการนี้ตลกมากนะ ความจริงในภูมิภาคนี้เนี่ยประเทศที่ประสบภัยพิบัติมากที่สุดคือฟิลิปปินส์เพราะเขามีพายุเข้าบ่อยมาก แล้วก็มีแผ่นดินไหวด้วย ขณะที่อินโดนีเซียเกิดแผ่นดินไหวบ่อยที่สุด ทำไมไม่ตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์ที่ฟิลิปปินส์ล่ะ น่าจะได้ประโยชน์มากกว่า ส่วนประเทศไทยเนี่ยนานๆจะมีภัยพิบัติที แต่ทำไมเลือกมาตั้งศูนย์บรรเทาทุกข์ในไทย นาซาเขาก็พยายามหาเหตุผลว่าปีที่แล้วไทยเกิดน้ำท่วม (หัวเราะ) คนไทยก็อาจจะกำลังหวาดกลัวอยู่ นี่เป็นประเด็นที่หลายคนตั้งข้อสังเกตเพื่อให้รัฐบาลรับรู้ว่ามันไม่ค่อยชอบมาพากลนะ คิดอะไรให้รอบคอบ

รัฐบาลไทยยืนยันว่าโครงการสำรวจชั้นบรรยากาศไม่มีเป้าหมายด้านการทหารเพราะนาซาเป็นองค์กรพลเรือน

คือรัฐบาลก็จะออกมาบอกว่านาซาเป็นองค์กรพลเรือน รมว.กลาโหมก็ออกมา นักวิทยาศาสตร์ บรรดาอาจารย์ก็ออกมาว่าเป็นองค์การพลเรือน คือในทางนิตินัยนั้นนาซาเป็นองค์การพลเรือนก็จริง แต่ในทางปฏิบัติเนี่ยในการดำเนินยุทธศาสตร์ของอเมริกานั้นจะร่วมกันทุกฝ่าย แล้วเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีด้านการทหารมันก้าวหน้า เวลาโจมตีกันเขาจะโจมตีจากอวกาศ มีการส่งสัญญาณขึ้นไปเพื่อหาพิกัดของเป้าหมาย โดยเฉพาะสถานีอวกาศมันเป็นจุดที่เขาสามารถใช้แสงเลเซอร์โจมตีกันได้ ตอนนี้จีนสามารถยิงจรวดไปทำลายดาวเทียมที่หมดสภาพของตัวเองได้ซึ่งทำให้อเมริกาตกใจมากเพราะที่ผ่านมามีแค่ 2 ประเทศเท่านั้นที่สามารถยิงจรวดขึ้นไปทำลายดาวเทียมในอวกาศได้ คืออเมริกาและรัสเซีย แปลว่าตอนนี้ดาวเทียมของอเมริกาไม่ปลอดภัยแล้ว ล่าสุดจีนส่งสถานีอวกาศไปเชื่อมต่อได้ นี่เป็นสิ่งที่อเมริกันหวาดกลัว เลยวิพากษ์วิจารณ์โจมตีงบประมาณทหารของจีนอยู่ตลอดเวลา เพราะอเมริกาถือว่าการเติบโตของจีนมันกระทบต่อสถานะพี่ใหญ่ที่อยู่เหนือทุกประเทศของอเมริกา ในโลกนี้เขาต้องเหนือกว่าทุกประเทศ

ในคอลัมน์ของคุณเปลว สีเงิน ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ เขาบอกว่าคนที่ทำงานนาซามา 12 ปี ยืนยันชัดเจนว่าองค์การนาซาเป็นองค์การพลเรือนก็จริง แต่เขามีความร่วมมือกับกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ผลการวิจัยของนาซาเนี่ยกระทรวงกลาโหมสามารถเอาไปใช้ต่อยอดได้ ถ้ากระทรวงกลาโหมต้องการให้นาซาทำอะไรก็จัดงบประมาณมา เขาต้องทำงานร่วมกันเพื่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ แต่ไทยบอก โอ้ย..นาซาเป็นพลเรือน ใสสะอาด มันไม่มีหรอกครับ

 

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9550000080121





ความคิดเห็นที่ 1


 

 

โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 30/06/2012 20:55:08


ความคิดเห็นที่ 2


แม้แต่ฝรั่งด้วยกันยังแซวเลย อิอิ


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 30/06/2012 21:12:47


ความคิดเห็นที่ 3


 

ภาพไม่ชึ้น อิอิ

 

โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 30/06/2012 22:30:06


ความคิดเห็นที่ 4


ผมเป็น "เมกัน" ผมก็ต้องรีบประกาศ ยุติภาระกิจสำรวจอากาศเอาไว้ก่อน  ด้วยเหตุผลอะไรก็ได้

ก่อนที่จะมีการอภิปรายในสภาไทยจะเกิดขึ้น....น่าจะเป็นทางออกที่สวยที่สุดที่มีอยู่

....อยากรู้ว่า  มีเจตนาดีจริงหรือไม่  ต้องดูไปนานๆ ครับ... อย่าไปสรุป แม้จะพอมองอะไรออกก็ตาม

(มองเองเออเอง...มีสิทธิผิดพลาดได้นะครับ....)

หากไม่กลับมาสำรวจ ในอนาคต  คงเป็นคำตอบ...ที่ชัดเจน

แต่ถ้าผมเป็น "เมกัน" ผมจะกลับมาสำรวจใหม่เพื่อแสดงความบริสุทธิ์  แต่จะใช้ฐานที่เวียตนามแทน

ซึ่งจะเป็นการยิงกระสุนนัดเดียว  ได้นกสองตัวเลย ครับ...

ได้ทั้งพันธมิตรใหม่  ได้ทั้งแสดงความบริสุทธิสดใส แจ๋วแหว...เลย

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 30/06/2012 22:58:19


ความคิดเห็นที่ 5


โดยหลักเบื้องต้น ก็ต้องเชื่อ คนที่ปฏิบัติงานโดยตรงก่อน คือ คณะวิทยาศาสตร์ ที่เข้าร่วมปฏิบัติการด้วย...

ส่วนเรื่องอะไรที่มันมากกว่านั้น ที่สหรัฐ เขาจะได้ประโยชน์ไป ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง และเป็นเรื่องที่ ไทย ก็จะได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน ในทางอ้อม...

และการดำเนินการเรื่องตรวจอากาศแบบนี้ นาซ่า ทำครั้งแรก ก็ทำในประเทศจีน...

เห็นแต่ละคน ที่มาออกความเห็น...เหมือน ไทย เป็นลูกน้อง จีน...กลัว พี่ใหญ่ ตบหัว ซะอย่างงั้น...

ทั้ง ๆ ที่ จีน เอง ก็เคย แทรกแซงทางการเมืองไทยโดยครง ในการตั้ง พรรคคอมมิวนิสต์จีนแห่งประเทศไทย เพื่อล้มล้างระบอบการปกครอง ในอดีต...

ในขณะที่ สหรัฐ ก็ช่วยเหลือ ไทย มาตั้งแต่ สงครามโลกครั้งที่ 2 มาจนถึง สงครามเย็น...ความร่วมมือ ความช่วยเหลือ เพื่อให้ ไทย ยังมีระบอบการปกครองแบบมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข ก็ร่วมมือกันมา...

ในขณะที่ จีน ช่วยเหลือไทย ก็คงเป็นเรื่อง ช่วงสงครามร่มเกล้า เท่านั้น...เรื่อง สงครามสั่งสอนเวียดนาม ก็เป็นเรื่องเล่า มาจาก นสพ.ผู้จัดการ ทั้งนั้น ที่เชิดชูว่า จีนทำเพื่อไทย...แต่ถ้าไปอ่านหนังสือในช่วงที่เกิดสงครามนั้น เป็นเรื่องที่ จีน เขาจะทำสงครามสั่งสอน เวียดนาม อยู่แล้ว เพียงแต่อาศัยประโยชน์ เอาบุญคุณกับไทย...และสุดท้าย ไทย ก็ต้องเสียค่าตอบแทนให้ โดยการสั่งซื้ออาวุธกับ จีน เป็นจำนวนมาก ทั้ง รถถัง (ที่ปัจจุบัน T-69 ปลดหมดแล้ว) ทั้งเรือรบ (ชั้นปัตตานี ที่ตลบหลังมาได้ออร์เดอร์ในตอนจบ)...

อ่านเรื่องนี้ทีไร...ความเห็นส่วนตัวผมว่า ไร้สาระ...น่ารำคาญ...พยายามให้มันมีผลร้าย มากกว่า ผลดี อยู่ร่ำไป...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 06:54:19


ความคิดเห็นที่ 6


ขออธิบาย กันความเข้าใจผิด นะครับ...

ที่ว่า เห็นแต่ละคน ที่มาให้ความเห็น นั้น...หมายถึง พวกที่ออกความเห็นตามสื่อน่ะครับ...ไม่ได้หมายถึง ความเห็นของ สมาชิก บอร์ด นะครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 09:41:58


ความคิดเห็นที่ 7


ผมเลือกข้างจีนครับ

เวลาเดือดร้อนจริงๆ

 

จีนช่วยไทย มากกว่าอเมริกา

โดยคุณ sakano เมื่อวันที่ 01/07/2012 11:47:10


ความคิดเห็นที่ 8


ขอเเย้งนิดนึงครับ ที่ว่านาซ่าเคยสำรวจอากาศที่จีน จีนออกมาปฎิเสธเเล้วนะครับว่าไม่เคยมีการมาสำรวจ อีกเรื่องที่ คนใน รบ.บอกว่านาซ่าไม่มีการขนของมาไทย เเต่ภายหลังมีความจริงออกมา จากเว็บของนาซ่าเองว่ามีการขนมาเเล้ว คนใน รบ.ก็จึงออกมายอมรับว่ามีการขนจริง จะว่าไปเรื่องนาซ่ากับจีนนี่เค้า ไม่ร่วมมืออะไรกันมานานเเล้วนี่ครับ ตั้งเเต่ที่จีนโดนกีดกันไม่ให้เข้าร่วม สถานีอาวกาศนานาชาติ จนจีนต้องมาทำเองเพียงลำพังจนสำเร็จ ส่วนตัวไม่อะไรกับเรื่องนี้ถ้าหากการดำเนินการโปร่งใส ไม่ทำลับๆล่อๆ อเมริกาเองก็ไม่ชัดเจน ปากบอกเเค่ให้นาซ่ามาทำวิจัย เเต่พอไทยไม่อนุมัติ กลับมีมาตราการมากดดัน เพื่อะไรครับ นี่หรือเพื่อนกันเขาทำกันเเบบนี้หรือ เเล้วที่ว่านาซ่า ไม่เกี่ยวกันกับกองทัพสหรัฐ ตลกมากจริงๆครับ นาซ่าก็ตั้งมาเพื่อะไรตั้งเเต่เริ่มต้น เเละตลอดมามีการทำวิจัยอะไรให้ กองทัพสหรัฐบ้าง เยอะเเยะครับ

โดยคุณ Toey เมื่อวันที่ 01/07/2012 12:32:39


ความคิดเห็นที่ 9


พิมพ์ตกไปเยอะเลย ขออภัยด้วยครับ รีบกดคอมเม้น กลัวจะหาย พอดีกด copy ไว้ไม่ทัน

โดยคุณ Toey เมื่อวันที่ 01/07/2012 12:34:58


ความคิดเห็นที่ 10


ผมไม่อยากจะดูข่าวจาก manager เลย แต่ก็มีคนชอบแปะมาให้อ่าน

กระทู้อ้างข่าวต่างๆ มาจาก manager ทั้งนั้น

เบื่อมาก

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 01/07/2012 12:50:49


ความคิดเห็นที่ 11


กรณี ของอเมริกา ขอใช้สนามบิน อู่ตะเภา .. ผมว่ามันเหมือนนิทานเรื่อง  ม้าอารีย์

คือ .. ลองแหย่เข้ามาทีละนิดทีละนิด  สุดท้าย ก็เข้ามาทั้งตัว

พอดีว่า .. คนไทยอ่านนิทานเรื่องนี้มาก่อน เลยรู้ทันเกมส์ของอเมริกา  อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 01/07/2012 16:38:24


ความคิดเห็นที่ 12


ทร.แถลงนาซ่ามีการขนย้ายอุปกรณ์ออกจากสหรัฐฯแต่ยังไม่ติดตั้งในไทยต้องรอผลถกครม.ก่อนด้าน รองนายกฯระบุกลาโหมยังสนับสนุนการวิจัยเมินวอชิงตันโพสต์ตีข่าวมะกันจ่อตั้งฐานทัพในภูมิภาค

วันนี้(26มิ.ย.55 )พล.ร.อ.ดำรงศักดิ์ ห้าวเจริญ เสนาธิการทหารเรือ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า นาซ่า ยังไม่มีการขนอุปกรณ์ ในการสำรวจภูมิอากาศมายังสนามบินอู่ตะเภา ส่วนข้อมูลที่ปรากฏในเวปไซต์นาซ่า เป็นเพียงแผนการคร่าวๆ ซึ่งยอมรับว่ามีการขนอุปกรณ์ ออกจากประเทศสหรัฐอเมริกาแล้ว แต่ยังไม่ทราบว่าจะเดินทางมาถึงเมืองไทยหรือไม่และไปที่ใดก่อน โดยอาจต้องรอผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ซึ่งอาจจะนำอุปกรณ์ขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง

เป็นแถลงของ กองทัพเรือ ครับ...และอุปกรณ์คงอยู่ระหว่าง เดินทาง....

ตอนนี้ เรื่องที่มันวุ่นวาย เพราะมีการจะนำเอา กรณีนี้ มาใช้มาตรา 190 เพื่อหวังผลทางการเมือง....

เพราะในแง่การเมือง คงมองเกมส์ ที่ว่า รัฐบาล คงต้องยอมให้ นาซ่า ใช้งานอยู่แล้ว เพราะมันไม่น่าจะมีอะไร...และเมื่อ นาซ่า ดำเนินการเสร็จ...ก็คงใช้ข้ออ้างดังกล่าว มาดำเนินการ มาตรา 190 มาตลบหลัง เพื่อเล่นการเมืองอีกครั้ง...

นักวิทยาศาสตร์ที่เข้าร่วมโครงการ ก็ออกมาแถลง ออกมายืนยัน ก็ไม่มีใครเชื่อ ? แต่ไปเชื่อ ไปสงสัยตามกับคนที่ไม่เกี่ยวข้อง...

แล้วเรื่องที่จะมี การทำอะไรเป็นเรื่องลับนั้น...ในแง่ ข่าวกรอง ไม่มีใครเขามาอวดรู้เปิดเผยโล่งแจ้ง แบบนี้หรอกครับ...เขาคงไว้ใช้เป็นข้อต่อรองในแง่งานข่าว....แถมอดีตทำงาน สนง.ข่าวกรอง มาออกความเห็นเองอีก...เหตุการณ์ก่อการร้ายที่ผ่านมา ที่ สนง.ข่าวกรอง ถูกวิจารณ์ว่า ไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ก็คงน่าจะเป็นเช่นนั้น...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 16:43:22


ความคิดเห็นที่ 13


จาก หนังสือพิมพ์ ข่าวสด ครับ...

ผ่าที่มาโครงการ"นาซ่า" ใช้"อู่ตะเภา"สำรวจอากาศ




"อากาศ" เป็นสสารในสถานะก๊าซที่ไม่มีพรมแดน เพราะมีการเคลื่อน ไหวอยู่ตลอดเวลา

การเคลื่อนที่ของอากาศก่อให้เกิด "ลม" หนึ่งในปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยน แปลงทั้งอุณหภูมิบนบกและในทะเล ยังผลไปจนถึงมรสุมและฤดูกาล

ลักษณะของอากาศมีตั้งแต่รูปแบบที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ไปจนถึงลักษณะการก่อตัวเป็นเมฆที่เกิดจากการรวมตัวหรือเกาะกลุ่มของไอน้ำ

การวิจัยสภาพอากาศจึงถือเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกพยายามทำความเข้าใจกลไกมานานหลายทศวรรษ และด้วยเทคโน โลยีที่ก้าวหน้าขึ้น จะเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับของธรรมชาติดังกล่าวให้กับมวลมนุษยชาติ

"โครงการการศึกษาการก่อตัวของเมฆที่อาจมีผลกระทบต่อสภาพอากาศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" (SEAC4RS) ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือ "นาซ่า" มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสำรวจก๊าซและละอองที่ลอยในชั้นบรรยากาศ การศึกษาบทบาทการไหลเวียนของลมมรสุม และผลกระทบต่อองค์ประกอบทางกายภาพและเคมีในชั้นบรรยากาศตอนบน ใช้งบประมาณของนาซ่า 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 900 ล้านบาท

ถือเป็นปฏิบัติการศึกษาวิจัยอนุภาคในอากาศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์การดำเนินงานของนาซ่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ซึ่งจะมีนักวิจัยจากสหรัฐ รวมทั้งไทยและประเทศในภูมิภาคนี้จากสถาบันต่างๆ เข้าร่วมรวมกว่า 250 คน

อาทิ สถาบันกอดดาร์ดเพื่อการศึกษา (GISS) ศูนย์การบินอวกาศกอดดาร์ด (GSFC) ห้องปฏิบัติการจรวดขับดันของนาซ่า (JPL) มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐ (NSF) ห้องปฏิบัติการวิจัยของกองทัพเรือสหรัฐ (NRL) องค์การว่าด้วยมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐ (NOAA) มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด มหาวิทยาลัยไมอามี่ มหาวิทยาลัยเอมส์ คริสเตียน และมหาวิทยาลัยโคโลราโดของสหรัฐ

ขณะที่หน่วยงานไทยจะมีสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ สทอภ. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับนาซ่า และมีหน่วยงานอื่นๆ เข้าร่วม เช่น สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำ

ตามแผนระยะเวลาการปฏิบัติงานของนาซ่าจะใช้ช่วงฤดูมรสุมของไทย คือเดือนส.ค.-ก.ย. 2555 นี้

โดยนาซ่าจะเริ่มจัดส่งอุปกรณ์มาที่สนามบินอู่ตะเภา จ.ระยอง ของไทย ที่จะใช้เป็นศูนย์ปฏิบัติการ เนื่องจากมีความเพียบพร้อมทั้งด้านขนาด และระบบสาธารณูปโภค โทรคมนาคม ตลอดจนเป็นสนามบินในตัว เนื่องจากนาซ่าจะต้องใช้เครื่องบินที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษบินขึ้นเก็บตัวอย่างอนุภาคตลอด 2 เดือน

ไบรอัน ตูน หัวหน้าผู้ออกแบบภารกิจในโครงการ SEAC4RS จากมหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐ กล่าวว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นภูมิภาคที่ทีความสำคัญต่อโลกอย่างมาก เนื่องจากมีการปลดปล่อยสสารต่างๆ ขึ้นมาในอากาศ จากทั้งเมืองใหญ่และไฟป่าอันเป็นผลมาจากสภาพทางอุตุนิยมวิทยาที่ซับซ้อน

เมื่อสสารเหล่านี้ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศระดับสตราโตสเฟียร์ ก็จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก

นอกจากนี้ สสารจำพวกนี้อาจส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของมรสุมในภูมิภาคนี้ด้วย

ดังนั้น SEAC4RS จะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจกลไกของมันมากขึ้น

ด้าน เจฟฟรีย์ รีด หัวหน้าคณะนักวิจัยด้านรังสีและละอองลอยจาก NRL ระบุว่า นักวิจัยของสหรัฐและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการพยากรณ์อากาศในภูมิภาคดังกล่าว ดังนั้นนักวิทยา ศาสตร์จึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจความเกี่ยวข้องกันระหว่างสภาพอากาศกับมลพิษเสียก่อน

"ไม่มีที่ไหนในโลกที่สภาพทางอุตุนิยมวิทยาจะซับซ้อนเท่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคนี้อาจเป็นพื้นที่ที่ยากเย็นที่สุดในโลกในการพยากรณ์สภาพอากาศให้ได้แม่นยำ เพราะมีทั้งมลภาวะทางอากาศที่เลวร้ายสุดๆ และยังเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่คุณภาพอากาศดีที่สุดของโลก มันจึงเป็นห้องปฏิบัติการทางธรรมชาติที่ยอดเยี่ยม เพื่อการศึกษากลไกความเกี่ยวโยงกันระหว่างมลพิษ ฤดูกาล และสภาพอากาศ" รีดกล่าว

สําหรับรูปแบบการปฏิบัติการเก็บตัวอย่างอนุ ภาคในอากาศ ทางนาซ่าจะใช้เครื่องบินที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษ 4 ลำ

มีเส้นทางการบินของครอบคลุมน่านฟ้าและน่านน้ำของประเทศไทย สิงคโปร์ กัมพูชา

แต่ละลำจะรับผิดชอบการเก็บตัวอย่างของอากาศในแต่ละระดับความสูง ซึ่งการบินขึ้นทุกครั้งจะต้องขออนุญาตจากทางการไทยด้วย

ด้วยสิ่งที่จะเก็บตัวอย่าง อาทิ อนุภาคในก้อนเมฆ เคมีในชั้นบรรยากาศ ปริมาณกัมมันตภาพรังสี ตรวจหาความไวก๊าซโอโซน สำรวจชั้นบรรยากาศโทรโปสเฟียร์ไปจนถึงตอนล่างของสตราโตสเฟียร์

นาซ่าชี้ว่า "SEAC4RS" นอกจากจะยังประโยชน์ให้กับวงการวิทยาศาสตร์ในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยจะได้รับประโยชน์ในหลายด้านด้วยกัน อาทิ การเข้าถึงข้อมูลในชั้นบรรยากาศในแต่ละระดับชั้น ซึ่งขีดความสามารถของเครื่องมือวัดในไทยไม่มีศักยภาพเพียงพอ ค่าใช้จ่ายในการสำรวจแต่ละครั้งมีราคาสูงมาก รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากดาวเทียมในการตรวจวัดอากาศให้กับนักวิจัยไทยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเปิดให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยมชมฐานการสำรวจ โดยเชิญสื่อมวลชน เจ้าหน้าที่ระดับสูง รวมถึงนักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมด้วย

ผลลัพธ์การสำรวจที่ได้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจวัดบรรยากาศด้วยดาวเทียมสำรวจ โดยเทียบเคียงกับข้อมูลที่วัดได้จากเครื่องบิน ซึ่งข้อมูลจากการวิจัยทั้งหมดจะได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณชนทางอินเตอร์เน็ต

สิ่งที่นาซ่าขอความร่วมมือจากทางการไทย คือ การขอใช้สนามบินอู่ตะเภาชั่วคราว ความร่วมมือจากหน่วยงานวิทยาศาสตร์และสถาบันการศึกษาของไทย การรักษาความปลอดภัยจากกองทัพไทย ระบบโทรคมนาคม ทั้งโทรศัพท์และอินเตอร์เน็ต การนำเข้าสินค้าและอุปกรณ์ปลอดภาษี และวีซ่ากรณีพิเศษสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องในโครงการ SEAC4RS ให้อยู่ในไทยได้ 6-8 สัปดาห์

ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา รักษาการผู้อำนวยการ สทอภ. กล่าวว่า ประโยชน์ที่ทางสทอภ.จะได้รับคือข้อมูลและความเข้าใจเรื่องการก่อตัว-สลายตัวของเมฆที่จะนำไปสู่การวางแผนการถ่ายภาพด้วยดาวเทียมของไทยที่ดีขึ้น

อีกข้อหนึ่ง คือ เรื่องสีจากภาพถ่ายดาวเทียมของไทยที่ยังประสบปัญหาอยู่ โดยฝุ่นละอองเป็นสาเหตุหลักที่คอยรบกวนสีในภาพ จึงต้องมีการปรับแก้สี แต่หากถ่ายเจอพื้นที่ที่มีละอองแปรปรวนมากสีก็จะเพี้ยนมาก ส่งผลให้การนำไปแปลผลไม่แม่นยำ เช่น วงการอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น โดยเครื่องบินของนาซ่าได้รับการติดตั้งกล้องถ่ายภาพแบบสเปกตรัมเพื่อใช้ในการแยกสีละออง ไม่ใช่เป็นกล้องถ่ายภาพที่ชัดๆ แบบทั่วไป

ดร.อานนท์กล่าวอีกว่า โครงการวิจัยในลักษณะนี้ทำมาหลาย 10 ปีแล้ว เช่น ภารกิจศึกษาชั้นบรรยากาศใน 7 ประเทศเอเชีย (7-SEAS) ที่จบไปแล้ว โดยเมื่อประมาณ 4-5 ปีที่ผ่านมา เครื่องบินของสำนักฝนหลวงและการบินเกษตรก็ได้ดำเนินการถ่ายภาพในลักษณะเดียวกัน เพื่อหาข้อมูลมาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ เช่น การตรวจคุณภาพอากาศ ดังนั้น SEAC4RS ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นครั้งแรกที่จะมีการนำเครื่องบินต่างชาติเข้ามา

"ครั้งนี้เป็นโอกาสที่ไทยจะได้เข้าถึงเทคโนโลยีที่ไทยเรายังไม่เคยมี หรือไม่คุ้มค่าที่จะมีสำหรับไทยประเทศเดียว นาซ่าทำหนึ่งครั้งถึงต้องทำให้โลกทั้งใบ เพราะทำให้แค่ตัวเองมันไม่คุ้ม ส่วนนักวิทยาศาสตร์ไทยกับนาซ่าก็มีความร่วมมือหารือกันมานานแล้ว ไม่งั้นนาซ่าคงไม่ดุ่มๆ มา เพราะต้องประเมินแล้วว่าประเทศนี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะทำงานร่วมกันได้ และสามารถนำข้อมูลที่ นาซ่าหามาไปใช้ประโยชน์ได้ เพราะนักวิทยาศาสตร์ยุคนี้ทำงานกันแบบไร้พรมแดนแล้ว แต่การจะมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรมจริงๆ ก็ต้องเข้าสู่กระบวนการที่ถูกต้อง" ดร.อานนท์กล่าวทิ้งท้าย

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 16:59:39


ความคิดเห็นที่ 14


สรุป สั้นๆ ..

บ้านของเรา ซึ่งมีพี่น้องอยู่หลายคน ..  วันหนึ่ง  มีใครก็ไม่รู้มาขออาสาไล่จับตุ๊กแกในบ้าน  ทั้งๆที่ไม่มีใครร้องขอให้จับ

พี่สาว ซึ่งกลัวตุ๊กแก บอกว่ายินดี ที่จะให้จับ .. พี่ชายคนโต บอกว่า คนที่อาสามาจับตุ๊กแกไม่รู้เป็นใครเราไม่รู้จัก ไม่ควรให้เข้าบ้าน

น้องชายบอกว่า ถึงเราจะไม่รู้จัก แต่เค้าอาสามาจับให้ ก็ควรให้จับไป  .. คุณพ่อ บอกว่า ตุ๊กแกมันไม่ทำอะไรใคร ทำไมต้องไปจับมันด้วย

แถมมันยังไล่จับหนูในบ้านด้วย ...  คุณแม่ บอกว่า แล้วแต่ ว่าใครจะมีความเห็น แม่ไม่ขอยุ่งด้วย เกิดไอ่คนจับตุ๊กแกเป็นโจร แม่จะเสียผู้ใหญ่

.. ตกลง หลังจากนั้นภายในบ้านหลังนั้น ที่อยู่กันสงบมานาน ก็เริ่มทะเลาะกันเรื่องจับตุ๊กแก ..

ส่วน คนร้าย ที่แฝงมาในคราบคนจับตุ๊กแก กระหยิ่มในใจ .. ที่สามารถทำให้คนในบ้านทะเลาะกันได้   อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 01/07/2012 17:13:49


ความคิดเห็นที่ 15


บันทึกอาเซียน โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล

วันพุธที่ 27 มิถุนายน 2555 เวลา 08:22 น.

 

“อาเซียนเป็นแกนนำ” หมายถึงว่าอาเซียนเป็นศูนย์รวมแกนนำในกิจการงานต่างๆของอาเซียนเองไม่ว่างานนั้นจะอยู่ในหรือนอกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาจากคำว่า “centrality” ในกฎบัตรอาเซียน หมวดที่ 1, ข้อ 1, วรรค 15 ที่ว่า:

CHAPTER 1
PURPOSES AND PRINCIPLES
ARTICLE 1
PURPOSES
The Purposes of ASEAN are:
15. To maintain the centrality and proactive role of ASEAN as the primary driving force in its relations and cooperation with its external partners in a regional architecture that is open, transparent and inclusive.

คำแปลอย่างเป็นทางการโดยกระทรวงการต่างประเทศ ในกฎบัตรอาเซียนฉบับภาษาไทย:

หมวดที่ 1
ความมุ่งประสงค์และหลักการ
ข้อ 1
ความมุ่งประสงค์
ความมุ่งประสงค์ของอาเซียนคือ
15. เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นศูนย์รวมและบทบาทเชิงรุกของอาเซียนในฐานะพลังขับเคลื่อนหลักในความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนนอกภูมิภาค ในภาพแบบของภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และไม่ปิดกั้น

โครงการ SEAC4RS หรือโครงการสำรวจหมู่เมฆและสภาวะภูมิอากาศเหนือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขององค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (NASA) อันเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาสภาวะภูมิอากาศโลก แม้ว่าจะเป็นเรื่องระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสหรัฐฯ และแม้ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ฝ่ายสหรัฐฯขอเพียงการอนุมัติจากรัฐบาลไทยให้เข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภาเป็นฐานบินขึ้นลงในระยะเวลาสองเดือนช่วงฤดูมรสุม แต่ในที่สุดความเห็นสาธารณะในประเทศไทยก็มองลึกมากจนเป็นการเชื่อมโยงกับการเมืองระหว่างประเทศ มองไปถึงขั้นที่ว่าอาจเป็นการทำให้จีนไม่พอใจไทยได้หากรัฐบาลไทยสนับสนุนโครงการนี้ของ NASA

ฝ่ายคัดค้านในประเทศไทยเชื่อว่า:
1. NASA อาจใช้ช่วงเวลาสองเดือนที่ทำงานในประเทศไทยไปสอดแนมล้วงความลับของจีน ซึ่งก็ไม่มีใครทราบว่าความลับที่ว่านั้นเป็นอะไร.
2. หรือเป็นความลับที่ดาวเทียมหลายดวงที่สหรัฐมีโคจรเหนือโลกอยู่แล้วจะสอดแนมไม่ได้.
3. บ้างก็เกรงว่าการทำงานของ NASA ที่อู่ตะเภาจะเป็นเพียงหน่วยล่วงหน้าปูทางไปสู่การตั้งฐานทัพสหรัฐในประเทศไทย และขยายต่อไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.

นางฟู่หยิง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน เดินทางมาประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ว่า “เมื่อสหรัฐประกาศเสียงดังว่าไม่มีนโยบายสกัดกั้นจีน ‘เราก็ต้องเชื่อตามที่เขาประกาศอย่างเป็นทางการ’ ขอให้อาเซียนอย่าเป็นแค่ ‘คนดู’ หรือยอมให้ชาติใหญ่ๆใช้เป็น ‘เครื่องมือ’ หรือสร้างความแตกแยก หาไม่แล้วจะหมดพลังของภูมิภาค” (กรุงเทพธุรกิจ, 26 มิถุนายน 2555)

รัฐมนตรีฟู่หยิงของจีนกล่าวต่ออีกว่า:
“เป็นกังวลว่าสงครามเย็นจะกลับมา”
“ไม่มีปัญหาที่สหรัฐจะมีบทบาทในทางสร้างสรรค์มากขึ้นในภูมิภาคนี้”
“ยังไม่มีความเห็นเรื่องที่สหรัฐฯจะใช้ฐานทัพเรือที่อู่ตะเภาเพื่อการสำรวจชั้นเมฆ ซึ่งเป็นความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ต้องศึกษารายละเอียดเรื่องนี้ก่อนจึงจะสามารถให้ความเห็นได้”

ดูจากบทให้สัมภาษณ์ของรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีนแล้วก็ยืนยันได้ว่าโครงการ SEAC4RS ของ NASA เป็นเรื่องวิชาการวิทยาศาสตร์ จัดอยู่ในกลุ่มโครงการด้านมนุษยธรรม และเป็นโครงการสร้างสรรค์ของสหรัฐฯ จีนจึงไม่มีความเห็นจะคัดค้านในตอนนี้ ... จนกว่าจะได้ศึกษารายละเอียด แต่ตอนนี้จีนกลับเข้าใจผิดว่า NASA จะใช้ฐานทัพเรือที่สัตหีบ ทั้งที่ NASA ขอใช้สนามบินอู่ตะเภา

สำหรับอาเซียน โครงการ SEAC4RS เป็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่นักวิทยาศาสตร์อาเซียนหลายประเทศร่วมงานกันมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2548 มีนักวิทยาศาสตร์จากไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และ เวียดนาม รวมทั้งไต้หวัน รองศาสตราจารย์ ดร.เสริม จันทร์ฉาย จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมโครงการนี้มาตั้งแต่ปีแรกเริ่ม มีการประชุมครั้งแรกที่อินโดนีเซีย ครั้งที่สองที่ไต้หวัน ครั้งที่สามที่สิงคโปร์ ครั้งที่สี่ที่ไต้หวัน และล่าสุดครั้งที่ห้าที่เวียดนาม [http://www.thaireform.in.th/multi-dimensional-reform/2011-12-08-05-21-57/item/7775-2012-06-25-10-38-53.html]

นักวิทยาศาสตร์ไทยยืนยันแน่นอนว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและอาเซียนด้วย นอกเหนือจากประโยชน์ที่จะเกิดแก่ทวีปเอเชียซึ่งรวมทั้งจีนซึ่งเป็นประเทศคู่ร่วมเจรจาของอาเซียนในระดับที่ประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในกรอบความสัมพันธ์ “ในภาพแบบของภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส และไม่ปิดกั้น” ตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน

ดั่งนี้แล้วเหตุไฉนเรื่อง SEAC4RS จึงกลายเป็นเรื่องเกมการถ่วงดุลอำนาจของมาอำนาจจีนกับสหรัฐอเมริกาไปได้?

ทั้งๆที่จีนก็บอกว่าไม่เห็นปัญหา
สหรัฐอเมริกาก็ชี้แจงชัดเจนและพิสูจน์มา 8 ปีแล้วว่าเป็นงานวิทยาศาสตร์
นักวิทยาศาสตร์ไทยที่ร่วมโครงการก็อธิบายจนกระจ่างแจ้ง
อาเซียนเองก็มิได้มีปฏิกิริยาใดๆ

เรื่องที่มากกว่า SEAC4RS คือเรื่องการตั้งศูนย์ช่วยเหลือบรรเทาภิบัติภัยในอาเซียนที่อู่ตะเภา
ทั้งไทยและอาเซียนก็ขอความร่วมมือจากสหรัฐฯ ซึ่งจะเป็นงานใหญ่ของอาเซียนในอนาคตอันไม่ไกล

ปัญหาอยู่ที่ความเห็นสาธารณะในประเทศไทยว่าจะมองเรื่องนี้เป็นวิทยาศาสตร์
หรือจะมองเป็นเรื่องการเมืองระหว่างประเทศ

หากมองเป็นเรื่องการเมืองของมหาอำนาจที่มาใช้เวทีอาเซียนและประเทศไทยโดยเฉพาะแย่งชิงและปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง ก็จะเป็นการเริ่มใหม่ของสงครามเย็นที่จีนห่วงว่ากำลังจะเกิดใหม่ได้

จีนก็มีผลประโยชน์เป็นรูปธรรมในการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะ Spratly และ Paracel ในทะเลจีนใต้เกือบทั้งหมด ซึ่งอาจจะต้องเกิดสงครามร้อนกับประเทศอาเซียนเกือบทั้งหมด ยกเว้นไทย ลาว พม่า และสิงคโปร์

ฟิลิปินส์และเคยเผชิญหน้าจีนมาแล้วเมื่อต้นปีครั้งที่จีนใช้เรือประมงเข้าไปสอดแนมในเกาะ Scarborough ทางตะวันตกของมะนิลา สหรัฐฯก็มีความตกลงกับฟิลิปปินส์ในการปกป้องความมั่นคงของฟิลิปปินส์ และได้เข้าไปช่วยฟิลิปปินส์ในตอนนั้นแล้วด้วย

ขณะนี้ทั้งจีนและสหรัฐฯรวมทั้งรัสเซีย ทั้งสามอภิมหาอำนาจกลับมาแสดงบทบาทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างเข้มข้นมากขึ้นแล้ว นับตั้งแต่สหรัฐและจีนนำเรื่องเกาหลีเหนือมาสู่ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+คู่เจรจาที่สิงคโปร์ในปี 2551 ทั้งสามอภิมหาอำนาจล้วนเป็นประเทศคู่เจรจาใกล้ชิดที่สุดของอาเซียน ทั้งในกรอบความสัมพันธ์แบบ “อาเซียน+” และ “การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก” (East Asia Summit) อาเซียนจะพบกับบทบาทของอภิมหาอำนาจในเวทีของอาเซียนเองมากขึ้นอย่างไม่มีทางเลี่ยง

พลเมืองไทยในฐานะพลเมืองอาเซียนก็จำต้องหาความรู้เรื่องอาเซียนกับโลกมากขึ้น

สำหรับเรื่อง เรื่อง SEAC4RS นั้น:

มองเป็นการเมืองระหว่างประเทศก็ยุ่งหน่อย อาเซียนจะสั่นคลอนเสียศูนย์ รักษาบทบาทแกนนำหรือศูนย์รวม (ASEAN Centrality) ไว้ยากมาก

- มองเป็นวิทยาศาสตร์น่าจะสบายใจกว่า เชิญจีนมาบินสำรวจภูมิอากาศร่วมกับ NASA และไทยด้วยก็น่าจะดี นักวิทยาศาสตร์อาเซียนกำลังรออยู่

สมเกียรติ อ่อนวิมล

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 17:33:51


ความคิดเห็นที่ 16


สำหรับ บางคน ที่ขี้เกียจ อ่าน...โครงการนี้...สรุปให้สั้น ๆ...

สำหรับอาเซียน โครงการ SEAC4RS เป็นความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศที่นักวิทยาศาสตร์อาเซียนหลายประเทศร่วมงานกันมาก่อนแล้วตั้งแต่ปี 2548 มีนักวิทยาศาสตร์จากไทย, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, และ เวียดนาม รวมทั้งไต้หวัน รองศาสตราจารย์ ดร.เสริม จันทร์ฉาย จากภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมโครงการนี้มาตั้งแต่ปีแรกเริ่ม มีการประชุมครั้งแรกที่อินโดนีเซีย ครั้งที่สองที่ไต้หวัน ครั้งที่สามที่สิงคโปร์ ครั้งที่สี่ที่ไต้หวัน และล่าสุดครั้งที่ห้าที่เวียดนาม [http://www.thaireform.in.th/multi-dimensional-reform/2011-12-08-05-21-57/item/7775-2012-06-25-10-38-53.html]

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 17:37:55


ความคิดเห็นที่ 17


ผมก็ยังยืนยันความเห็นข้างต้นผมว่า มันเป็นเรื่องการเมืองไทย...

"ตอนนี้ เรื่องที่มันวุ่นวาย เพราะมีการจะนำเอา กรณีนี้ มาใช้มาตรา 190 เพื่อหวังผลทางการเมือง....

เพราะในแง่การเมือง คงมองเกมส์ ที่ว่า รัฐบาล คงต้องยอมให้ นาซ่า ใช้งานอยู่แล้ว เพราะมันไม่น่าจะมีอะไร...และเมื่อ นาซ่า ดำเนินการเสร็จ...ก็คงใช้ข้ออ้างดังกล่าว มาดำเนินการ มาตรา 190 มาตลบหลัง เพื่อเล่นการเมืองอีกครั้ง..."

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 17:41:14


ความคิดเห็นที่ 18


ลองดูคลิปนี้ครับ ฮาๆไปกับกรณี นาซา

 

http://www.youtube.com/watch?v=-nFb-kru6lQ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 01/07/2012 18:15:17


ความคิดเห็นที่ 19


เพจสายตรงภาคสนาม แกะรอยนักวิทยาศาสตร์ไทย “ไร้เดียงสา หรือ จงใจ บิดเบือน”

 

พบข้อมูล มัด “เสริม” โกหก คนไทย จีนร่วมโครงการ ทั้งที่สไลด์นาซาระบุชัด คว่ำบาตรกับจีน ด้าน นริศรา ให้ข้อมูลครึ่งเดียว ไม่ชี้แจง ER-2 กระทบความมั่นคง อ้างจุดเริ่มต้นจากความร่วมมือจีสดา - นาซา ปี 53 ทั้งที่เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ ชง ครม. ระบุชัด เกิดจากคำขอสถานทูตสหรัฐ มี.ค. 54 ขณะที่ นักวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ยัน ต้องมข้อตกลงให้ “นักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมตลอดเวลาและทุกภาคส่วน”

 

หลังจากที่ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.55 ไม่อนุมัตให้นาซาเข้ามาใช้สนามบินอู่ตะเภา เป็นฐานปฏิบัติการสำรวจก้อนเมฆ โดยจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 179 ทำให้มีความพยายามที่จะโยนบาปให้กับฝ่ายตรวจสอบว่าเป็นผู้ที่ทำให้ชาติประโยชน์ที่จะได้รับด้านวิทยาศาสตร์ และพยายามยืนยันว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ ไม่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง


เพจสายตรงภาคสนามจึงขอแกะรอยนักวิทยาศาสตร์ที่ออกมาให้ข้อมูลต่อสาธารณชนในเรื่องนี้ว่า คนเหล่านี้ได้ให้ข้อมูลที่เที่ยงตรงต่อสังคมหรือไม่

รศ.เสริม จันทร์ฉาย อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร “โครงการนี้ไม่เกี่ยวกับการที่จีนจะไม่พอใจ ผมเชื่อว่าจีนอ่านเกมออก และสามารถแยกแยะการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ และการเคลื่อนไหวทางการเมืองได้ ที่สำคัญคือโครงการครั้งนี้จีนก็มีส่วนร่วมด้วย” (ที่มาhttp://www.isranews....5-13-23-44.html)

แต่สิ่งที่เพจสายตรงภาคสนามตรวจสอบพบกลับตรงกันข้ามกับที่ รศ.เสริม ให้ข้อมูลต่อสาธารณะโดยสิ้นเชิง เนื่องจากในสไลด์สรุปเกี่ยวกับโครงการ SEAC4RS ซึ่งมี 26 หน้านั้น ระบุไว้ชัดเจนในหน้าที่ 17 เกี่ยวกับประเทศที่เข้าร่วมโครงการ MPLNET ซึ่งโครงการย่อยภายใต้โครงการ SEAC4RS นั้นมีการระบุชัดถึงสถานะของเขตปกครองพิเศษฮ่องกงในการมีส่วนร่วมกับโครงการนี้ว่ารอการยืนยัน เนื่องจากจีนกับนาซ่าอยู่ในภาวะที่มีการคว่ำบาตรระหว่างกัน ทำให้ฮ่องกงไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการนี้แต่จะดำเนินการสำรวจด้วยตัวเอง

ข้อมูลดังกล่าวมีความชัดเจนว่า “จีนและนาซาคว่ำบาตรกันอยู่” แล้วทำไม รศ.เสริม จึงอ้างว่า “โครงการนี้จีนมีส่วนร่วมด้วย”

ขณะที่ นางนริศรา ทองบุญชู อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกะบัง ระบุว่า โครงการนี้มีการทำการตกลงมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนปี 2553 กับทางสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จีสดา) (ที่มาhttp://www.isranews....5-13-23-44.html)

แต่จากการตรวจสอบของเพจสายตรงภาคสนามพบว่า เอกสารที่มีการอ้างเกี่ยวกับข้อตกลงระหว่างนาซา และจีสดา ซึ่งมีการเปิดเผยจากนายปลอดประสพ สุรัสวดี นั้น เป็นบันทึกเจตนารมณ์ลงนามโดยประธานจีสดาและนาซา วันที่ 28 กันยายน 2553 ไม่ใช่เดือนมิถุนายน อีกทั้งรายละเอียดของบันทึกความร่วมมือดังกล่าว ไม่มีส่วนใดที่ระบุถึงโครงการ SEAC4RS มีเพียงการระบุถึงกรอบความร่วมมือกว้าง ๆ ในทางวิทยาศาสตร์ที่จะพัฒนาร่วมกันเท่านั้น

นอกจากนี้เอกสารที่กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอต่อครม.ลงวันที่ 4 มิ.ย. 55 เพื่อขออนุมัตให้นาซ่าดำเนินโครงการนี้ ก็อ้างอิงในเรื่องเดิมว่า มีจุดเริ่มต่้นมาจากการติดต่อของสถานทูตสหรัฐอเมริกาทำถึงกระทรวงการต่างประเทศไทย เดือนมีนาคม 2554 โดยในเอกสารดังกล่าวยังมีการขออนุมัตจาก ครม.ให้ จีสดาเป็นผู้ประสานงานโครงการนี้กับนาซ่าด้วย แสดงให้เห็นว่าต้นเรื่องไม่ได้มาจากข้อตกลงระหว่างจีสดากับนาซ่าตามที่ออกมาให้ข้อมูลต่อประชาชน อีกทั้งหากจีสดาเป็นต้นเรื่องจริงกระทรวงที่เป็นเจ้าของโครงการต้องเป็นกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ที่จีสดาสังกัด ไม่ใข่กระทรวงการต่างประเทศ

นางนริศรา ยังเล่าประสบการณ์ที่เคยเข้าร่วมโครงการกับนาซ่าโดยใช้สนามบินฮ่องกงและสนามบินในฐานทัพอากาศโยกะตะของญี่ปุ่นในปี 2544 ว่า “เครื่องบินที่ใช้สำรวจเก็บข้อมูลชั้นบรรยากาศคือ เครื่องบิน DC-8 พร้อมกับให้รายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินลำดังกล่าวเต็มที่ และระบุถึงเครื่องบินนาซ่าที่จะเข้าร่วมอีก 2 ลำ คือ ER-2 และ GV (ที่มาhttp://www.komchadlu...มาอู่ตะเภา.html)

แต่จากการตรวจสอบข้อมูลของเพจสายตรงภาคสนามพบว่า จีนกับนาซ่าคว่ำบาตรกันตั้งแต่เมษายน 2011 อีกทั้งยังมีการระบุชัดในสไลด์ของนาซาถึงสถานะระหว่างนาซากับจีนเอาไว้ด้วยตามที่กล่าวแล้วในข้างต้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยจะไม่รับทราบถึงปัญหาระหว่างจีนและนาซา แต่กลับหยิบเอาโครงการที่เคยทำร่วมกันระหว่างนาซากับฮ่องกงเมื่อ 11 ปีที่แล้วมาเป็นข้อมูลหลักให้กับคนไทย เพื่ออธิบายว่าจีนไม่มีความหวาดระแวงในโครงการนี้ เพราะเคยมีความร่วมมือกับนาซ่า

นอกจากนี้ นางนริศรา ยังพูดถึงการสำรวจโดยเครื่องบิน ดีซี-8 อย่างละเอียด แต่กลับไม่อธิบายถึงเครื่องบิน ER-2 ที่พัฒนาจากเครื่องบินสอดแนม U2 และมีศักยภาพการบินสูงจนอยู่เหนือจากตรวจจับของเรดาห์ในทวีปเอเซีย ซึ่งจะเข้าร่วมปฏิบัติการในโครงการนี้ด้วย และเป็นเครื่องบินที่ฝ่ายตรวจสอบหยิบยกมาเป็นประเด็นตั้งคำถามมาแต่ต้นว่าจะทำให้เกิดปัญหาความหวาดระแวงจากประเทศจีน แต่สิ่งเหล่านี้กลับไม่เคยมีคำอธิบายจากนักวิทยาศาสตร์ไทยว่าจะดูแลเครื่องบินที่พัฒนาจากเครื่องบินสอดแนมไม่ให้ถูกนำไปใช้เพื่อความมั่นคงทางการทหารได้อย่างไร แต่กลับเลือกอธิบายเฉพาะเครื่องบินรุ่นที่ไม่ได้ถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับความสุ่มเสี่ยงที่จะกระทบต่อความมั่นคงของประเทศและภูมิภาคนี้เท่านั้น

ทำไมจึงเลือกอธิบายเฉพาะในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับโครงการ โดยละเลยที่จะให้ข้อมูลต่อสังคมเกี่ยวกับผลกระทบด้านความมั่นคง และไม่เคยให้ความจริงกับสังคมที่ว่า เครื่องบิน ER-2 ที่จะขึ้นตรวจชั้นบรรยากาศแบบทะลุทะลวงไปถึงระดับ “สตราโตสเฟียร์” เหนือการตรวจจับของเรดาห์ลำนี้ ไม่มีนักวิทยาศาสตร์หน้าไหนมีสิทธิ์ได้ขึ้นบินร่วมด้วยทั้งนั้น เนื่องจากเครื่องบินรุ่นนี้มีที่นั่งให้เฉพาะคนขับเท่านั้น

ลองมาดูความเห็นนักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ได้คัดค้านโครงการนี้ แต่ไม่ได้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการ ว่า เขามีความเห็นว่า จะต้องมีข้อตกลงอะไรก่อนตัดสินใจทำโครงการ

ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิจัยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้ก่อตั้งชมรมคนรักมวลเมฆ กล่าวว่า “แม้ส่วนตัวจะไม่คัดค้านโครงการนี้ แต่อยากให้มีข้อตกลงก่อนเริ่มทำงานให้ชัดเจนว่า ต้องมีตัวแทนนักวิทยาศาสตร์ไทยเข้าร่วมตลอดเวลาและทุกภาคส่วน”

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่นักวิทยาศาสตร์ไทยจะเข้าร่วมตลอดเวลาและทุกภาคส่วน เนื่องจากการขึ้นบินของเครื่อง ER2 เพื่อสำรวจชั้นบรรยากาศจะมีเฉพาะนักบินเพียงคนเดียวเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์ไทยจะมั่นใจได้อย่างไรว่า นักบินจะส่งข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาให้นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นร่วมกันทั้งหมด

แค่ข้อตกลงพื้นฐานที่ควรจะเป็นในสายตานักวิทยาศาสตร์ที่ไม่มีส่วนได้เสียกับโครงการนี้ ยังไม่สามารถทำได้ แล้วโครงการ SEAC4RS จะชี้แจงเพื่อไม่ให้เกิดความหวาดระแวงด้านความมั่นคงในภูมิภาคนี้ได้อย่างไร

บทสรุปจากความเห็นของนักวิทยาศาตร์ระหว่างคนที่มีส่วนได้เสียกับคนที่ไม่มีประโยชน์ น่าจะทำให้คนไทยได้คำตอบแล้วว่า “นาซาไม่ได้ใช้อู่ตะเภาไทยเสียประโยชน์ หรือ นักวิทยาศาสตร์ไทยที่เสียประโยชน์เพราะไม่ได้ร่วมงานกับนาซ่า !”

นางนริศรา ตั้งคำถามกับสังคมไทยไว้ว่า “คำถามที่เกิดขึ้นคือ ในเมื่อเราไม่มีศักยภาพในการทำเอง มีคนอื่นมาทำให้ฟรี ๆ ทำไมเราไม่ทำ และที่สำคัญคือเราจะตอบประชาคมโลกได้อย่างไร ว่าการทดลองทางด้านวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อมเพื่อแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศถูกปฏิเสธในเมืองไทย” (ที่มา http://www.isranews....5-13-23-44.html)


เพจสายตรงภาคสนาม ขอให้คำตอบกับ นางนริศราว่า “เพราะโครงการนี้ไม่สามารถให้ความชัดเจนถึงผลกระทบด้านความมั่นคงที่จะเกิดขึ้นต่อภูมิภาคนี้ จนอาจก่อให้เกิดความหวาดระแวงต่อประเทศจีน ทำให้ไทยสูญเสียดุลยภาพในการกำหนดนโยบายต่างประเทศระหว่างจีนและสหรัฐ ไทยจึงปฏิเสธการทดลองทางวิทยาศาสตร์ที่แม้แต่นาซ่าก็ไม่กล้ารับประกันว่าจะไม่ถูกสหรัฐใช้เพื่อประโยชน์ทางการทหาร”


ที่มา เพจสายตรงภาคสนาม http://www.facebook....36005969&type=1

โครงการนี้ ดูดีๆนะครับ ประเทศไหนอนุญาตให้ใช้น่านฟ้าสำรวจบ้าง ชัดเจนๆ ตอนนี้ก็มีเเค่ สิงค์โปร์ กัมพูชา ไทย(รอเข้านำเรื่องเข้าสภา)

โดยคุณ Toey เมื่อวันที่ 01/07/2012 18:39:43


ความคิดเห็นที่ 20


ผมว่าเรื่องนี้มันมีหลายประเด็น ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงการ ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน การเมือง เเล้วถ้าเรื่องนี้มีเรื่องผลประโยชน์ของสหรัฐด้วยเเล้วละก็ อาจมีเรื่องความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐอีก ซึ่งตอนนี้มีข่าวมาว่าโอบาม่า ยกเลิกเยือนไทย เเละมีการลดระดับความสัมพันธ์ เเต่ข่าวนี้ยังไม่ชัวร์  

โดยคุณ Toey เมื่อวันที่ 01/07/2012 18:48:58


ความคิดเห็นที่ 21


มันจะไม่มีประเด็นมากหรอกครับ...ถ้าทำเรื่องนี้ให้มันเป็นวิทยาศาสตร์....

ประเทศไทย มีสิทธิที่จะตัดสินใจทำอะไรก็ได้ในอธิปไตยของไทย...ประเทศจีน และ สหรัฐ ก็ต้องเข้าใจ ไทย ได้...

แต่ปัจจุบัน การเมืองไทย กำลังทำให้ ไทย กลายเป็น ลูกน้อง จีน ไปซะอย่างนั้น...และต้องสูญเสียการตัดสินใจในผลประโยชน์ของไทย เพราะต้อง เกรงใจ จีน...ในเรื่องที่ไม่มีใครพิสูจน์ได้...แค่คิดกันไปต่าง ๆ นา ๆ...แล้วที่ เป็นห่วงกระทบ จีน กันนี่...หมายถึง กลัวจีน รุกราน ไทย เหรอครับ...แสดงว่า จีน มีท่าที รุกราน ไทย หรือมีแนวโน้มว่าจะรุกราน ไทย ซิครับ...ถึงต้องกลัวกระทบความสัมพันธ์กับ จีน...

ประเด็นตอนนี้ ที่ รัฐบาลไทย ยังไม่อนุม้ติ ที่ผมติดตามมา...ก็เพราะ รัฐบาล กลัว โดนเล่นเรื่อง ม.190 เท่านั้น แม้โดยเงื่อนไขม้นจะไม่เข้าข่ายก็ตาม...จึงยังไม่กล้าตัดสินใจ...ไม่ได้กลัว จีน หรือ สหรัฐ หรอกครับ...ผมว่าไม่ได้มีประเด็น ความมั่นคงอะไรมากมาย...ซึ่งมันเป็นเรื่องการเมือง แท้ ๆ....

ตอนนี้ ก็กลับมา ดิสเครดิต นักวิทยาศาสตร์ไทยอีก โดยไม่มีหลักฐานอะไร แค่กล่าวอ้าง และเป็นการวิเคราะห์ถึงรายละเอียด...ทั้ง ๆ ที่ ฝ่ายค้านเอง ก็เป็นฝ่ายเสนอเรื่องนี้ด้วยซ้ำ และลงนามเพื่อร่วมมือด้วย...

การสำรวจนี้ ทำเฉพาะ เดือน สิงหาคม กับ กันยายน นี้ เท่านั้น...ถ้าเขาเน้น การสอดแนม คงไม่ต้องเฉพาะ 2 เดือนนี้ เท่านั้นหรอกครับ...คงหาเหตุทำได้ ทั้งปี แหล่ะครับ...

และ สมมติ น่ะครับ...สมมติว่า สหรัฐ เขาแถมทำการสอดแนม...เกี่ยวกับ นิวเคลียรื...ถามจริง ๆ เถอะครับ...ประเทศไทย ไม่อยากรู้เหรอครับว่า...รอบ ๆ บ้าน ไทย เนี่ย...มีอาวุธนิวเคลียร์ วางอยู่ใกล้ ๆ รึป่าว ?...ซึ่งมันจะเป็น งานข่าวกรอง ที่ต่อให้เรารู้ เราก็ไม่โชว์อวดรู้ว่า เรารู้ หรอกครับ...มันก็ยังเป็นผลประโยชน์กับไทย อยู่ดี...แต่ผมก็คิดว่า ไม่น่าจะมีในส่วนนี้...เพราะเทคโนโลยี่สอดแนม ในปัจจุบัน น่าจะก้าวไกลกว่า การแสดงตัวโจ่งครึม ด้วยเครื่องบิน 4 ลำ ที่รู้กันด้วยว่าเป็นรุ่นอะไร ถ่ายรูปทางอากาศกันขนาดรู้กันทั่วโลกแบบนี้น่ะครับ...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 19:26:20


ความคิดเห็นที่ 22


ส่วนที่สงสัยใน ER-2 ก็หาในอินเตอร์เนต ก็มีรูปตั้งเยอะแยะ...จะสงสัยอะไรกันหนักหนา...แล้ว จีน ไม่เคยสืบ หรือ มีหน่วยข่าวกรอง เลย ไม่เคยสอดแนม สหรัฐ หรือ นาซ่า เลยเหรอครับ...ว่ามีอะไรที่จะเป็นภัยคุกคามสอดแนม จีน บ้างน่ะครับ...

 





โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 19:47:25


ความคิดเห็นที่ 23


ส่วนเรื่อง นาซ่า กับ จีน แซงซั่น กัน น่าจะเป็นเรื่องนี้รึเปล่าครับ....

แต่ตามเนื้อหา เท่าที่ดู เป็น สภาครองเกรส แบน นาซ่า ถ้าร่วมมือกับ จีน อีก...เพราะเชื่อว่า จีน ขโมย เทคโนโลยี่ จาก นาซ่า...สภาครองเกรส เลยห้าม นาซ่า ใช้งบประมาณจากรัฐบาลกลาง ร่วมทำงานกับ จีน...

Congress Bans NASA from Collaborating with China, Citing Espionage Concerns

A tip of the hat to Forbes’ William Pentland for noticing a significant two-sentence clause in the 2011 spending bill approved by Congress in mid-April: Two major federally funded science programs, NASA and the White House Office of Science and Technology Policy (OSTP), are expressly prohibited from using federal funds to collaborate with China. Though the restriction applies only to the 2011 federal budget, the Congressman who inserted the clause into the bill, Virginia Republican Frank Wolf, says that he wants to make it permanent.

Here’s what the bill says: NASA and the OSTP cannot use federal funds “to develop, design, plan, promulgate, implement or execute a bilateral policy, program, order, or contract of any kind to participate, collaborate, or coordinate bilaterally in any way with China or any Chinese-owned company.”
 

Here’s Wolf, mincing no words in an interview with Science Insider:

“China is spying against us, and every U.S. government agency has been hit by cyberattacks,” says Wolf in explaining why he opposes any collaboration with the Chinese government. “They are stealing technology from every major U.S. company. They have taken technology from NASA, and they have hit the NSF computers. … You name the company, and the Chinese are trying to get its secrets.”

The Obama administration has found a possible loophole, however, asserting that NASA and the OSTP can still collaborate with Chinese agencies provided that that collaboration falls under the umbrella of “the president’s ability to conduct foreign policy.” In 1979, the U.S. and China signed a landmark pact called the Agreement on Cooperation in Science and Technology, which established relationships between the two nations’ scientific communities that have persisted for the past three decades. Arguably, backpedaling from that agreement could jeopardize Sino-American relations, so Obama’s ability to sidestep the GOP restrictions on NASA and the OSTP could still be great.

But one Republican Congressman from Texas warned that if NASA still collaborated with China using this loophole, the consequences could be dire: John Culberson said that per the terms of the federal funding bill as written, NASA and the OSTP would be “endangering [their] funding” if they worked with any Chinese agencies this fiscal year using federal funds.

http://www.geekosystem.com/congress-bans-china-science-collaboration/

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/07/2012 20:14:21


ความคิดเห็นที่ 24


ผมว่าหนังเรื่องนี้คงต้องดูกันยาวๆ ครับ เพราะถ้าโครงการนี้มีประโยชน์ต่อมนุษยชาติจริง ยังไงเสียนาซ่าต้องกลับมาแน่นนอนครับ

และเพื่อเป็นการแสดงความจริงใจ นาซ่าก็ยิ่งควรกลับมาครับ

สำหรับประเด็นอ่อนไหวในบ้านเรานั้น ถ้ามีมากไปหน่อย ก็คงต้องทำใจครับ

 

มีรูปมาให้ดูแก้เซ็งกันครับ   เก็บแรงไปเชียร์บอลดีกว่า อิอิ


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 01/07/2012 20:47:15


ความคิดเห็นที่ 25


 

ปล. เรื่องนี้มีความเห็นหลากหลายจากผู้อาวุโสหลายท่าน ก็ว่ากันไปครับ  ผมมีตัวอย่างข่าวจากไทยรัฐของบุคคลร่วมสมัยในยุคที่ลุงแซมแสดงวรีกรรมในแถบนี้และพลอยให้เราลำบากไปด้วยมาให้อ่านกัน เรื่องแบบนี้ต้องใช้เวลาเยียวยาจริงๆ ครับ 

 

http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/272086

โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 01/07/2012 20:53:55


ความคิดเห็นที่ 26


ผมก็เห็นตามป๋าจูละครับ(เคยเขียนไปแล้วในกระทู้ท่านTanข้างล่าง ว่ามันเป็นการเมืองเป็นหลัก) คือจริงๆการทำการสำรวจนี่เค้ามีการทำวิจัยแลกเปลี่ยนข้อมูลกัรระหว่างนักวิทยาศาสตร์ในบ้านเรากับของนาซ่ามาเป็นปีๆแล้ว แต่ทำมัยเพิ่งจะมาคุ้ยกันตอนนี้ อีกอย่างหากมันจะเป็นปัญหากับจีนจริงคนที่ควรจะออกมาโวยวายก็ควรจะเป็นจีนเอง ครับไม่ใช่เรา

และที่มีมติ ครม คือ ส่งเรื่องเข้าสภาให้พิจรณาโดยเปิดเผยเพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลที่ชัดเจนไม่ใช่ ฟังข่าวมาแล้วเดาอย่างเดียว มติที่ว่าไม่ใช่ไม่ให้ตั้งนะครับ แต่สุดท้ายก็ช้าไป ดูจากตรงนี้ เราเหมือนเป็นตัวตลกให้ชาวบ้านเค้าขำกันละ ครับ ต่อให้มันมีอะไรแอบแฝงจริงดังที่สงสัยกันไอ้คนเดือดร้อนอย่างจีนเค้าคงแสดงออกชัดเจนไปแล้วละ

กลัวที่ใหนทุกทีก็เห็นออกงิ้วอยู่นี่นาแต่นี่เห็นแค่ออกมาชมเราเฉยๆ(นี่ละครับการเมืองระหว่างประเทศหากไม่หนักหนาจริงๆเค้าไม่ทำอะไรออกหน้ามากหรอก)

ยังงี้คงต้องให้ พี่วุ้นเซ่นเลกเชอร์เรื่องการวางตัวกับพี่ใหญ่เค้าซักหน่อยว่าทำยังไงถึงจะอยู่รอดได้

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 01/07/2012 21:02:30


ความคิดเห็นที่ 27


เล่นการเมืองแบบคนขาดความรู้ด้วยครับ
พวกนี้ไม่เห็นมีใครกลัว - -*

 


โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 01/07/2012 23:14:07


ความคิดเห็นที่ 28


จะการเมืองหรือเปล่านะ  เอา ๆ ดูแค่ประเด็นนาซากับกัมพูชาแล้วกันนะครับ 

 

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 01/07/2012 23:45:24


ความคิดเห็นที่ 29


ผมแปลกใจอยู่เรื่องเดียวละครับ......ว่า

กรมอุตตุ...ท่านยังนอนไม่ตื่นหรืออย่างไร ? ครับ....ทำไม ท่านไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เกี่ยวดองอะไรกับเค้าเลย ครับ

กรมอุตตุ....น่าจะเป็นหน่วยงานร่วมที่มีบทบาทที่สำคัญที่สุดนะ   ผมคิดว่างั้น  หรือผมเข้าใจอะไรผิดไป หรือเปล่า...

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 02/07/2012 00:17:24


ความคิดเห็นที่ 30


ผมว่าประเด็นนี้สหรัฐต้องเคารพการตัดสินใจของเราครับ  ส่วนองค์ความรู้ผมว่าสมัยนี้มันถึงกันเร็วมากอย่างไรเดี๋ยวก็ต้องมาถึงเรา  อเมริกาช่วยเหลือเราหลายอย่างก็จริง แต่หลายเรื่องก็ทำกับเราไว้อย่างเจ็บแสบ เช่น การช่วยวิจัยข้าวหอมมะลิแล้วก็โดนอเมริกาเอาไปจดลิขสิทธิ์ข้าวหอมมะลิหน้าตาเฉย  ส่วนเรื่องการสำรวจเมฆนี้โดยความเห็นส่วนตัวผมว่าไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน เอาผลดีผลเสียของประเทศไทยเป็นที่ตั้งดีกว่าครับ  เรื่องนี้ต้องดูกันนานๆ น่ะผมว่า 

โดยคุณ freebird เมื่อวันที่ 02/07/2012 02:31:09


ความคิดเห็นที่ 31


เมื่อวาน  วันที่ 1 กรกฏาคม 2555  ...  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ประสบกับภัยพิบัติ  พายุถล่ม 4 รัฐ เกิดความเสียหายเป็นวงกว้าง

รัฐบาล ได้ประกาศเป็นเขตภัยพิบัติ  .. ขณะที่ อีก 2 รัฐ ประสบกับภัยพิบัติ จากคลื่นความร้อนถึง 41 องศาเซลเซียส ( ร้อนตับแตก )

.

.

..  เอ่อ .. พี่มะกันครับ  บ้านท่านโดนพายุถล่มทุกปี แล้วท่านไม่เอา NASA ไปวิจัยเมฆบ้านท่านบ้างล่ะครับ ท่านไม่ต้องมาเป็นห่วงบ้าน

ของคนอื่นหรอก ท่านน่าจะเอาตัวเองให้รอดก่อนน๊า  ..  อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 02/07/2012 04:56:10


ความคิดเห็นที่ 32


สรุปแล้ว เราเป็นลูกน้องจีนไปแล้ว เวลาจะทำไรอะไรต้องเกรงใจจีน ?????

คำว่ามิตรประเทศ ตีความหมายกันว่าอย่างไรครับ ถามว่าจีนจริงใจกับเรามากกว่าเมกา จริงเหรอครับ แล้วที่ขายอาวุธราคามิตรภาพให้เขมรมายิงถล่มเรานั้น ไม่ใช่จีนเหรอครับ ทุกวันนี้จีนเป็นหุ้นส่วนใหญ่ที่สุดทั้งพม่าและเขมร ทุกประเทศต่างก็นึกถึงผลประยชน์ตัวเองทั้งนั้น ไม่ว่า เมกาหรือจีน เรื่องนี้จะไม่มีไรเลย ถ้าไม่ใช่การเมือง สื่อเลือกข้างเป่าหูให้เราระแวงในสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นโดยการเมืองร่วมดิสเครดิต ก็แค่นั้นเอง

ปัญหาความมั่นคง ไม่ใช่แค่เรื่องมีเครื่องบินบินผ่าน แล้วจะขัดใจกันหรอกครับ ไม่งั้นหมู่เกาะเจ้าปัญหายิงกันเละเทะแล้ว

ฝ่ายความมั่นคงทั้งของเค้าและเรา ต่างก้รู้ดีครับว่าอะไรเป็นอะไร

ตั้งแต่มีข่าวมา เคยมีทางการจีนแถลงว่าไม่พอใจไทยที่ให้นาซ่าใช้เป็นฐานบินมั้ยครับ ??? มีแต่คิดไปเองทั้งนั้น

แค่ฐานบิน ถ้าไม่พอใจ แล้วที่โอกินาวา กับเกาหลีใต้ จีนไม่ตัดความสัมพันธ์เลยเหรอครับ นั่นอ่ะฐานทัพชัดๆ


โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 02/07/2012 12:39:54


ความคิดเห็นที่ 33


ส่วนตัวผมไม่ชอบ "ไอ้กัน" สุดๆ ครับ  นับตั้งแต่การโจมตีค่าเงินปี 2540 เป็นต้นมา

และการอยู่ในธุรกิจที่ค้าขายกับ "ไอ้กัน" โดยตรง  จนเห็นลิ้นไก่กันดี

แต่เรื่อง "นโยบายของชาติ ต้องเป็นกลาง" นะครับ  ถึงจะได้ประโยชน์ สุดๆ  ครับ

เราไม่จำเป็นต้องสปอยใคร  หรือกลัวใคร  ครับ...

แต่การจะเป็นกลางได้ นี่ กองทัพต้องเข้มแข็งด้วยนะครับ  ไม่ใช่เป็นกลางแบบมะเขือเผา

ดังนั้น  ต้องมีเรือดำน้ำอย่างเร็วไว ด้วย  ครับ....

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 02/07/2012 18:52:14


ความคิดเห็นที่ 34


เห็นใจท่าน juldas มากมาย ให้ข้อมูลไปมากมาย ก็ไม่รับฟังกัน

ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงอันตราย เป็นปรากฏการณ์ แบบที่ว่า เลือกที่จะเชื่อ

ไม่ได้โต้ตอบกันด้วยข้อมูลข้อเท็จจริงอีกต่อไปแล้ว

 

สภาพอย่างนี้จะกัดกินประเทศเราไปอีกนาน ได้แต่หวังว่าวันนึงจะหมดไป

เสียใจกับประเทศไทย จริงๆ ครับ

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 02/07/2012 22:28:25


ความคิดเห็นที่ 35


ผมคิดว่า เรื่องที่เราจะอนุญาติให้ใครเข้ามาทำอะไรในบ้านเรา มันเป็นสิทธิส่วนบุคคล  แม้ว่า คนที่เข้ามา จะหวังดีกับเราก็ตาม

ตามความเห็นของผม ผมว่าอเมริกาคิดผิด ที่คิดจะเป็นปฏิปักษ์กับจีน ถ้าในอดีตจีนไม่มีทางสู้อเมริกาได้ แต่ ปัจจุบัน เทคโนโลยีของจีน

ก้าวหน้าเท่าทันตะวันตก จำนวนกองทัพของจีนมีเป็นล้านคน ประชากรก็มากที่สุดในโลก สามรถเรียกกำลังพลเพิ่มได้แบบไม่อั้นหากมีภาวะสงคราม..

.. ประเด็น คือ ไม่ใช่ว่าเราไม่ให้อเมริกามาตั้งฐานวิจัยเมฆ แล้วเราจะกลัวจีน ในโลกนี้ ไม่มีใครกลัวใครกันหรอกครับ อย่างดีก็สู้แค่ตาย

ถึงจีนไม่ออกมาโวยวาย แต่ เราก็ต้องเกรงใจเพื่อนบ้านอย่างจีน .. ถามว่า ทำไม เราต้องเกรงใจจีน เวลามีภัยพิบัติ หรือ โรคระบาด หรือ

เหตุก่อการร้ายในไทย อเมริกาจะเป็นชาติแรกที่ห้ามคนเขาเข้าประเทศไทย ธุรกิจโรงแรม และท่องเที่ยว แทบจะล้มไปทั้งแถบ มีแต่ เจ๊กทั้งนั้น

ที่ยังเดินทางมาเที่ยวไทย ทำให้ธุรกิจพวกนี้ไม่เจ๊งล้มละลายไป .. นี่แหละ ที่ไทยเราควรเกรงใจจีน

.. ประเทศไทย มีนักวิทยาศาสตร์เยอะแยะ ที่สามารถวิจัยสภาพภูมิอากาศเองได้ ไม่ต้องพึ่งอเมริกา  อีกอย่าง ถ้าเกิดมีพายุเข้าอย่างที่ NASA

พูด  โน่นเลย เวียดนามรับหน้าด่านเป็นด่านแรกเสียหายมากที่สุด ต่อมาก็ลาว หรือ เขมร  กว่าจะมาถึงไทย ก็ หางๆของพายุแล้ว..

แล้ว ถามว่า ทำไม NASA ไม่ไปตั้งฐานที่เวียดนาม ผมคิดว่าอเมริกาคงไปลองเซิ๊ฟๆดูแล้ว เวียดนามคงปฏิเสธ เพราะกลัวเรื่องความมั่นคง

ส่วน ลาว เป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส อเมริกาคงไม่กล้าล้วงคองูเห่าหรอกอีกอย่าง ลาวไม่มีพื้นที่ติดทะเล ทัพเรือสนับสนุนได้ลำบาก

ส่วนเขมร ได้อาวุธบริจาค จากจีนมาเพียบ ไอ้ครั้นจะหันไปคบอเมริกาให้ตั้งฐานวิจัย ผมว่าจีนมีเคืองแน่นอน..

 

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 03/07/2012 02:43:54


ความคิดเห็นที่ 36


มองกว้าง ๆ แล้ว ผมฟิคส์จุดสำคัญให้เลยละกัน
พรรค....สอดไส้จะยุบพรรค..


สรุปไม่ได้เลย และอย่าก็สรุป ทุกอย่างมีไม่กี่คนในประเทศที่รู้ เราก็เดา ๆ กันทั้งนั้น ใครเสพข่าวอะไรมาก็เชื่อตามนั้น แต่ที่รู้ ๆ "มันการเมืองไทย" (เทโคลน น้ำเน่า) โดย พรรค....อีกแล้วครับท่าน 5555  

 

ปล ผมนั่งเทียนเขียนนะ จับแพะชนกระบือ มั่วเอา 555

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 03/07/2012 10:26:55


ความคิดเห็นที่ 37


อ่าน comment ของคุณSoda77 แล้วงงนะ

สรุปเกรงใจจีนเรื่องอะไรเหรอครับ ในส่วนที่เกี่ยวกับของใช้สนามบินของนาซ่า มันมีผลกระทบด้านไหนระหว่างไทยกับจีนบ้างครับ

ผมอ่านความเห็นคุณแล้วงง ไม่กลัวแต่เกรงใจ ถึงจีนไม่ประกาศก็ควรเกรงใจ ????? เกรงใจเรื่อง ?????

เท่าที่ตามข่าวมายังไม่เคยมีสักครั้งที่จีนจะประกาศหรือส่งข่าวแสดงความกังวลใจเรื่องน่าช่าของใช้สนามบินเลย มีแต่จีนจะขอร่วมด้วย

นอกจากสื่อเครือเมเนเจอร์และเนชั่น คุณลองหาข่าวจากแหล่งอื่นมาดูหน่อยสิ ว่ามีสื่อที่ไหนมั่งที่วิเคราะห์ว่าจีนจะเคืองไทย

ยิ่งสื่อต่างประเทศแทบไม่ต้องหา ไม่มีหรอกครับบอกได้เลย จะมีก็แค่ข่าวคนไทยทะเลาะกันเองเรื่อง NASA

ถามว่าทำไมเมกาไม่ไปตั้งฐานที่ประเทศอื่น เพราะสนามบินอู่ตะเภามีโรงเก็บเครื่อง และอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่างๆรองรับ ในขณะที่ประเทศอื่นไม่มี หลังจากมีปัญหาจะย้ายไปสนามบินสุราษฎร์ก็ไม่ได้โรงเก็บไม่พอ

 

สงสารท่าน Juldas หาข้อมูลมาก็แค่นั้น บางคนมันไม่อ่านเลยจริงๆ

 

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 03/07/2012 11:04:28


ความคิดเห็นที่ 38


ผมขอถาม ท่าน MIGGERS กลับ  .. ถ้าเราให้อเมริกาตั้งฐานวิจัย  แสดงว่า เรากลัวอเมริกา งั้นหรือ ???

.. ความสัมพันธ์ ไทย - จีน มีมานานหลายร้อยปี  คนไทยเชื้อสายจีนบางคนที่ผมรู้จัก ทุกปียังเดินทางกลับไปเยี่ยมญาติที่ประเทศจีน

คนไทยเชื้อสายจีน เท่าที่คาดมีเกือบ 40 % ของประเทศ สังเกตุได้จาก เวลาเชงเม้งแต่ละครั้ง แทบจะปิดประเทศฉลอง

.. ผมทำงาน เกี่ยวกับโรงแรมและการท่องเที่ยว เจอคนจีน ที่เขาพูดไทยได้ เขาก็พูดถึงเรืองสนามบินอู่ตะเภา แสดงว่า คนจีนเขาสนใจ

และติดตามข่าวคราว แต่ เขายังไม่แสดงท่าที ว่าไม่พอใจ .. เพราะเรายังไม่อนุญาติให้อเมริกาตั้งฐาน

ผมทำงานด้านนี้มาหลายปี จากที่เมื่อก่อนนิสัยคนจีน เอะอะโวยวายโฉ่งฉ่าง พูดกันเสียงดัง ไม่เกรงใจใคร .. ปัจจุบัน คนจีนส่วนมาก

เขาเรียนรู้และเข้าใจ ว่าคนไทยไม่ชอบนิสัยแอะอะเสียงดังในที่สาธารณะ .. ปัจจุบัน คนจีนส่วนมาก เขาเกรงใจคนไทย เขารู้ว่าถ้ามาประเทศไทย

ต้องรู้จักปรับตัว  ในเมื่อ คนจีนเขารู้จักเกรงใจคนไทย แล้ว ทำไมเราเราจึงต้องเกรงใจความรู้สึกเค้าบ้าง เพราะเรื่องอเมริกามาตั้งฐานใกล้ๆบ้านเค้า

นี่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ถึงแม้อเมริกายืนยันว่ามาวิจัยอากาศ แต่ คนจีนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อเหมือนที่หลายๆคนเข้าใจ ..

.. ผมขอ อธิบายเรื่องนี้ เป็นกระทู้สุดท้าย .. ตอบกันไปมา เกรงว่าจะกลายเป็นกระทู้ PANTIP หรือ เว็บ สนุก ไปซะอีก หลังจากนี้ ผมไม่ตอบแล้วน่ะครับ

ด้วยความเคารพ ทุกท่าน

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 03/07/2012 11:58:23


ความคิดเห็นที่ 39


การตั้งฐานสนับสนุนโครงการ NASA ชั่วคราวในไทย ผมมองที่ผลประโยชน์ของโครงการนี้เป็นหลัก

ในส่วนความมั่นคงระหว่างประเทศ มีคนที่ห่วงใยประเทศนี้ไม่น้อยกว่าคุณ  soda77 หรอกครับ

แต่สิ่งที่ห่วงใยนั้นจะต้องยืนอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ความเป็นไปได้ และผลประโยชน์ของชาติด้วย

อันนี้ควรเป็นหน้าที่ของรัฐและสื่อมวลชนที่จะทำความเข้าใจกับประชาชน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไรก็รู้ๆกันอยู่

คนจีนถามเรื่องนี้ มองทางมุมผม ถ้าผมเป็นคนจีนก็คงรู้สึกแปลกใจ และเสียดายแทนคนไทยมั้งครับ ที่เรื่องไม่เป็น กลับทำให้เป็นเรื่องเสียได้

ที่บ้านเค้า ออกปากชวนเมกายังไม่ยอมมา กลับกันเมืองไทยดันห้ามไม่้ให้ตั้งฐานซะงั้น แถมคิดเอง เออเอง กลัวเสียเอง

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 03/07/2012 13:37:23


ความคิดเห็นที่ 40


^

^

^ จากข้างบน ผมว่าถ้าเขาใช้สนามบินที่อื่น แถวๆเพื่อนบ้านเรา ซึ่งมันก็ใช้ได้ เราก็จะได้ประโยชน์เหมือนกันไม่ไช่หรา(ยังงัยก็โซนเดียวกัน) พอไม่ไห้ใช้ก็งอนล้มโครงการซะงั้น

สภาพทางภูมิศาสตร์เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มันไม่ไช่ประเทศเราประเทศเดียวซะหน่อย อยากรู้เหมือนกันคนขายข้าวแกงจะได้อะไรประโยชน์อะไรจากโครงการนาซ่านี่มั่ง

ทำข้างแกงอร่อยขึ้นงั้นหรา ช่างน่าเศร้าจริงๆ

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 03/07/2012 18:18:18


ความคิดเห็นที่ 41


ก็น่าจะเศร้าจริงๆแหล่ะครับ ท่าน Juldas เค้าโพสไว้หมดแล้วถึงตวามจำเป็นในการใช้สนามบินอู่ตะเภา แต่หาได้อ่านกันไม่

คนได้ประโยชน์มีแน่ครับ ถึงแม้จะไม่ใช่แม่ค้า แล้วหาก สมมุตินาซ่ามาใช้ฐานนี่ ข้าวแกงอร่อยน้อยลงเหรอครับ ช่างน่าเศร้ายิ่งนัก

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 03/07/2012 21:22:33


ความคิดเห็นที่ 42


ณ. ตอนนี้ เวลานี้  ทางรัฐบาลไทย อนุมัติงบประมาณ ให้นักวิทยาศาสตร์ไทย 200 ล้านบาท เพื่อวิจัยสภาพอากาศเอง

.. หวังว่า เรื่อง NASA คงจะจบแล้ว  ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี คนไทยที่มีความเห็นแตกต่าง จะได้ไม่ต้องมาเถียงกันอีก

แถมไทยเรายังคงรักษาความเป็นกลางเอาไว้ได้ด้วย

.. ส่วนคนที่ เอาเรื่องการเมืองมาคิดเรื่องนี้ โดยส่วนตัว ผมไม่ให้ความสำคัญ อ้าย อี ผู้ใด ทั้งฝ่ายค้าน ทั้งฝ่ายรัฐบาล

เพราะพวกนักการเมืองในปัจจุบัน เกือบทุกคนเข้ามาเพื่อหวังผลประโยชน์กับตัวเอง และ ครอบครัวตัวเองเป็นหลัก

ส่วนใครจะ ถือหางฝ่ายได สีใด ถือว่าเป็นเรื่องส่วนบุคคล .. ส่วนผม ไม่นับถือใคร ยกเว้นสถาบันสูงสุด ที่ผมนับถือ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 03/07/2012 23:04:59


ความคิดเห็นที่ 43


ถกกันพอหอมปากหอมคอแล้ว  เดี๋ยวจะออกทะเลไปไกล  กลับเข้าฝั่งไปพักผ่อนกันดีกว่าครับ


โดยคุณ seaman เมื่อวันที่ 03/07/2012 23:22:55


ความคิดเห็นที่ 44


พอเขาล้มโครงการก็ว่าเขางอน (มันก็น่ารำคานหรอก ทำตัวเหมือนเด็ก)
พอเขาไม่ล้มโครงการก็จะว่าเขา อยากได้อะไรหรือเปล่า สอดไส้ สอดแหนมอะไรหรือเปล่าถึงอยากได้ปานนี้ (แม่น บ่ ท่าน) 

เนี่ยแหละ แมวฉี่เยอะก็ว่ามันไม่ภักดี ขายชาติ

เอวัง 

อ้อ
จากคำถาม  "อยากรู้เหมือนกันคนขายข้าวแกงจะได้อะไรประโยชน์อะไรจากโครงการนาซ่านี่มั่ง" ก็ไม่รู้ท่านถามใคร แต่ผมจะตอบให้ละกันนะ
ถ้าไปขายแถวนั้นก็ได้เงินสิท่าน แต่ถ้าขายที่อื่นก็คงไม่ได้อะนะ  
อย่าลืมนะ เขามีเงินเป็นอำนาจใช้จ่าย  เรื่องได้ประโยชน์ คือ เศรษฐกิจแถบนั้น ดีแน่ ๆ คน ตจว. ที่ไปหากินแถวพัทยา ก็ส่งตังกลับบ้านได้ ...ผมก็มองไม่ออกจริง ๆ ว่า ท่าคิดไม่ออกจริง ๆ หรอ หรือปิดหูปิดตา เพราะอคติ 

ส่วนที่ถามว่า ทำไมไม่ใช้ที่อื่น ท่านก็อ่าน ๆ บ้างเหอะนะ หรือเกินสามบรรทัด ตูไม่อ่าน ?

โดยคุณ InFerNo เมื่อวันที่ 03/07/2012 23:42:10


ความคิดเห็นที่ 45


YUKIKAZE   นักวิทย์เขาก็บอกอยู่แล้วไม่ใช่หรือครับว่าอู่ตะเภาของเราพร้อมที่สุด สนามบินมีโรงเก็บพร้อม 

โดยคุณ coldburn เมื่อวันที่ 04/07/2012 02:53:08


ความคิดเห็นที่ 46


ใจเย็น ๆ กันครับ...

บางความเห็น...ผมว่า มันไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ ผมก็ไม่ค่อยใส่ใจครับ...ก็ไม่อยากอธิบายไปมากกว่านี้น่ะครับ...ก็ทำได้แค่เพียง หาข้อมูล มาโต้แย้งในบางประเด็นเท่านั้นครับ

โครงการศึกษา ก้อนเมฆ นี้ มีมาตั้งแต่ปี 2000 ซึ่ง ม.โคโลลาโด ก็จัดโครงการโดยมีนักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค อาเซียน เข้าร่วม (ซึ่งมีไทยอยู่ในนั้นด้วย) รวมถึง จะมี รัสเซีย จีน และอื่น ๆ ที่จะเป็นประเทศกลุ่มเป้าหมายสุดท้าย ที่โครงการศึกษานี้ จะเชิญชวนเข้าร่วมต่อไป.... ซึ่งชื่อโครงการนี้ เป็น โปรเจค Cloudset  การศึกษาก้อนเมฆในระดับใช้ดาวเทียม ซึ่งโครงการที่จะทำนี้ เป็นโครงการที่ต่อเนื่องมาจาก 7sea

จนในปี 2005 ถ้าผมจำปีไม่ผิด นาซ่า ส่งดาวเทียม CALIPSO ขึ้นสู่วงโคจร...

ดาวเทียมนี้ ส่งรูปถ่าย เหนือประเทศจีน เป็นรูปก้อนเมฆดำ และ ควันจากพายุทราย...ซึ่ง มลภาวะเหล่านี้ จาก ก้อนเมฆ ส่งผลกระทบต่อสภาวะอากาศในโซน แปซิฟิก ซึ่งมันน่าจะส่งผลไปถึง มรสุมต่าง ๆ ในทะเลแปซิฟิก โดยจะส่งผลกระทบไปทางฝั่ง อเมริกา...

ข้อมูลเหล่านี้ ผมหาจาก อินเตอร์เนต...เมื่อ 3-4 วันนี้ โดยใช้ กูเกิ้ล แปลภาษา...แต่ขี้เกียจ เก็บลิงค์ ครับ...เพราะว่า เราสามารถหาอ่านเมื่อไหร่ก็ได้ใน กูเกิ้ล...

ลองพิมพ์คำว่า Cloudset หรือ NASA Cloud หรือ บวก China ไปด้วย...แล้วค่อย ๆ อ่าน...ค่อย ๆ อ่าน...หาความรู้กันครับ...

ก็จะพบว่า โครงการ ศึกษาก้อนเมฆ นี้ เป็นโครงการใหญ่ มีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง...การศึกษาถึงสภาพภูมิอากาศ ทุกพื้นที่ มันจะส่งผลไปทั่วโลก...นาซ่า เอง ก็ใช้ข้อมูล ฝุ่นละออง จากประเทศจีนในฐานวัดที่อยู่ในประเทศจีนกว่า 40 กว่าแห่ง ในการวิเคราะห์ และทำแบบจำลอง รวมถึงผลกระทบจากน้ำท่วมในประเทศจีน ก็ส่งผลต่อ สภาพภูมิอากาศ ที่มันจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศของโลก ซึ่งเป็นแนวคิดของ นาซ่า...

และตอนนี้ เขากำลังศึกษาเพื่อข้อเท็จจริง และเก็บข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์...

โครงการนี้ เป็นโครงการทาง วิทยาศาสตร์ เนื้อ ๆ แท้ ๆ....

เมื่อมีข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้ว...

แต่โครงการนี้ ถูกการเมืองไทย ล้มไป...มันจึงออกมาเป็นคำตอบของผมในความคิดเห็นส่วนตัวว่า เป็นเรื่อง การเมือง ล้วน ๆ เพราะ มาตรา 190 วรรค 2...ไม่ได้ใช้ความรู้สึกลอย ๆ ครับ...

 

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/07/2012 08:23:27


ความคิดเห็นที่ 47


ถ้าพิมพ์ คำว่า CALIPSO แล้วใช้เมนู ค้นรูป ก็จะเห็นภาพถ่าย เหนือประเทศจีน เหนือปักกิ่ง...ถ้าจะหาความลับทางการทหาร น่าจะเห็นแจ๋วกว่า เครื่องบิน 4 ลำ นี้ล่ะครับ...ซึ่งจีน ก็รู้ จีน ก็เห็น...จีน เลย แฮคข้อมูล นาซ่า ซะเลย... แต่ นาซ่า ก็เฉย ๆ ก็แค่ท้วงติงเล็กน้อย...หรือ แกล้งให้ แฮค นิดหน่อยก็ไม่รู้....เผื่อจีน จะไปต่อยอดต่อ...เพราะมันเป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์...ไม่ใช่เรื่องความมั่นคง...

เครื่องบิน 4 ลำ นี้ มีหน้าที่ในการเก็บตัวอย่าง และเก็บข้อมูลตัววัด ซึ่ง ดาวเทียม มันทำไม่ได้...ซึ่ง เครื่องบิน เหล่านี้ เขาทำไว้สำหรับติดตั้งอุปกรณ์โดยเฉพาะ สามารถปรับเปลี่ยนและรองรับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้...

ก็เหมือนกับ กระทรวงเกษตร ใช้ พีคเมคเกอร์ เกี่ยวกับการเกษตร ซึ่งเป็นเครื่องบินแบบเดียวกับ กองทัพอากาศ....มันก็ไม่ได้หมายความว่า พีคเมคเกอร์ คือ เครื่องบินทางการทหาร นี่ครับ...

ความครอบคลุมในการบิน เขาก็มีข้อมูลอยู่ว่า บินในพื้นที่ ประเทศไทย สิงคโปร์ และ กัมพูชา...ข้อมูลเขาก็เปิดเผย มากมาย...เพียงแต่ คนกลุ่มหนึ่ง...มักจะสงสัย เมื่อมีข้อสังเกตุที่ดูแล้ว เท่ (เพราะมันเป็นข้อสังเกตุในการหวังผลทางการเมือง)...ถ้าเราลองใจเย็น ๆ สักนิด ลองหาข้อมูลในอินเตอร์เนต ค้นหาไปไกล นาน ๆ มันก็จะมีข้อมูลคลายข้อสงสัยได้ทั้งหมด หรือ ระดับหนึ่ง ก็เป็นเรื่องวิจารณาณของแต่ละบุคคล...แต่อย่างน้อย มันก็จะมีข้อมูลที่จะมีข้อถกเถียงกัน ไม่ได้ใช้การ อุปมา อุปมัย หรือใช้ความรู้สึก แค่นั้น ครับ...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 04/07/2012 08:38:38


ความคิดเห็นที่ 48


ก็เข้าจัยน่ะครับนักวิทยาศาสตร์ก็ต้องหาเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มาแจกแจงอยู่แล้ว แต่ในแง่ของความมั่นคงมันก็มันก็มีเหตุผลอยู่ในตัวมันเหมือนกัน

ก็ต้องช่างน้ำหนักดูเอาน่ะครับ ระหว่างองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความสัมพันธ์อันดีรหว่างประเทศ อันไหนมันจะคุ้มค่ากว่ากัน ผมว่ารัฐบาลเข้าจัยในจุดุๆนี้

แล้วก็ตัดสินจัยไปแล้ว ซึ่งผมเห็นด้วยกับร้ฐบาลนะ ประมาณว่าฉันก็ไม่ยอมนายไปซะทุกเรื่องหรอกนะ รักษาระดับความสัมพันธ์แบบพอดีๆ ส่วนเรื่องข้าวแกงนี่ความหมายผมคือ เค้าจะมาหรือไม่มามันก้ไม่มีผลกระทบอะไรกับคนไทยส่วนไหญ่อยู่แล้ว ง่ายๆคืออย่าไปยึดติดกับคำว่านาซ่า คุยกันเรื่องบอลยูโรยังน่าสนจัยกว่าอิก

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 04/07/2012 08:46:31


ความคิดเห็นที่ 49


เหตุผลทางความมั่นคงของคนกลุ่มหนึ่งคืออะไรล่ะครับ ในเมื่อจีนบอกไม่ติดใจ

ทางการจีนไม่เคยออกมาแถลงอย่างเป็นทางการ หรือยื่นประท้วงเลยเกี่ยวกับเรื่องการตั้งฐานครั้งนี้ แล้วมันจะเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้อย่างไร

ที่ยกเลิกไปเหตุผลข้อเดียวคือ มาตรา 190 ที่จะฟ้องให้ยุบพรรค ฐานไม่นำเรื่องเข้าสภา ทั้งที่การฝึกทหารโดยตรง เช่น คอรบร้าโกลด์ กระรัต ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงโดยตรง กลับไม่ต้องนำเข้าเสนอสภา

ซึ่งถ้าเป็นก่อนปี 49 เรื่องตรรกะแบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นแน่นอน แต่นั่นมันเรื่องการเมือง ผมไม่ติดใจและไม่คิดจะมาถกกันในเวปนี้

แต่ในเมื่อเวปนี้คือเวปสำหรับความมั่นคง กิจการทางทหาร ก็ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านนี้ จะให้ใช้ความรู้สึกมาตัดสิน มันคงไม่ถูกต้องนัก

จนถึงวันนี้ ยังไม่มีใครสามารถหาหลักฐานการที่จีนแสดงความไม่พอใจและกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทย จีน มาโชว์เลยนะครับ

โดยคุณ MIGGERS เมื่อวันที่ 04/07/2012 09:34:20


ความคิดเห็นที่ 50


อเมริกาก็ยกเลิกแล้ว ยังจะอะไรกันอยู่อีกครับ ยังไม่จบกันเหรอ กระทรวงวิทย์ของบสำรวจเองแล้วตามมีตามเกิดที่อุปกรณ์จะพึงมีพอใจหรือยัง แล้วส่วนตัวขอกล่าวตามตรง ผมไม่เชื่อถือสำนักข่าวที่เจ้าของกระทู้เอาลิงค์มาให้ดูเพราะเป็นสำนักข่าวไม่เป็นกลาง และไม่รู้จริง

ขอรับกระผม.....

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/07/2012 12:52:03


ความคิดเห็นที่ 51


อประเด็นที่ผมให้ความสำคัญมากกว่าคือท่าที วิธีการและเหตุผลที่เราใช้กับเรื่องนี้ครับ ความหากเราจะตอบรับหรือปฎิเสธมันก็เป็นสิทธิของเรา(ประเทศเรานิ)ซึ่งใครคงว่าเราไม่ได้ แต่จะต้องอยู่ภายใต้เหตุผลที่สามมารถยอมรับได้การท้วงติงหรือกล่าวหาต้องมาพร้อมหลักฐานที่สามารถอ้างอิงได้

 กรณีที่เกิดนี่มันจะส่งผลถึงภาพลักษณ์ของประเทศในอนาคตเพราะเรายังมีโครงการที่ต้องร่วมมือกับนานาประเทศอีกมากโดยเฉพาะกับอเมริกาหากความเชื่อมั่นที่เคยมีมันลดลงหรือเกรงว่าจะเกิดปัญหาเช่นเดิมอีกโครงการที่ต้องใช้เวลาเป็นปีๆหรือนับสิบปีกับงบประมาณอีกนับล้านต้องมาล้มด้วยเหตุผลที่พิสูจน์อะไรไม่ได้ต่อไปคงยากที่จะมีโครงการใหญ่ๆเกิดขึ้นได้อีก  หรือบางทีเค้าอาจคิดเลยไปถึงขนาดว่าหากจะมาทำอะไรในบ้านเราต้องไปขอจีนก่อนละมั้ง(สะใจมั้ยครับ) น่าเสียดายแทนนักวิทย์บ้านเราที่เสียโอกาสเปิดหูเปิดตาแบบฟรีๆ(ไม่ชอบมั้ง) ใช่ว่านักวิทย์บ้านเราไม่เก่งแต่การมีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับประเทศอื่นๆมันจะช่วยต่อยอดได้อีกมากมายใหนจะเครื่องไม้เครื่องมือที่ชาตินี้ไม่รู้จะได้เห็นอีกหรือปล่าว เสียดายแทนนักวิทย์รุ่นใหม่ๆที่ต้องมาเสียโอกาสนี้เพราะความคิดคับแคบของคนบางกลุ่ม

 ไอ้งบ200ล้านที่อนุมัตินี่เหมือนเอาใบบัวมาปิดช้างตายละครับคอยดูว่าสุดท้ายจะได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอันหรือปล่าว โครงการเก็บข้อมูลแบบนี้เค้าต้องใช้การเก็บข้อมูลต่อเนื่องเป็นสิบๆปีนำมาเปรียบเทียบกัน(อ่านตามข้อมูลของป๋าจูก็ได้ครับ)ไม่ใช่ทำแค่ปีสองปี แล้วมันเป็นงบต่อเนื่องระยะยาวหรือปล่าว หากเปลี่ยนรัฐบาลจะหายไปมั้ย 

เหมือนคนกลัวผีเลยครับไม่เคยเห็นแต่ก็กลัวมันอยู่นั่นละไม่ต้องทำอะไรเลยมั้งย่ำกันอยู่กับที่กัดกันให้พอรอดูความวิบัติไป

  ทุกวันนี้ศึกไกลยังไม่ห่วง

แต่หวั่นทรวงศึกใกล้ไล่ข่มเหง

ถ้าคนไทยหันมาฆ่ากันเอง

จะร้องเพลงชาติไทยให้ใครฟัง

เอาเลยครับเอาให้พอ เดี๋ยวจะพาหลานไปเรียนภาษาจีนซ้อมร้องเพลงชาติจีนไว้ซะเลย

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 04/07/2012 15:02:32


ความคิดเห็นที่ 52


ว่าจะไม่แจม เรื่องนี้แล้ว ก็ อดไม่ได้ จริงๆ  เอาอีก สักรอบ ครับ อิอิ เห็นด้วย กับ คุณ  juldas  และ  hinnoi  ครับผม ขอแวะไปเยี่ยมจีนบ้าง ส่วนตัวผม เห็น ว่า ถ้า พี่กัน ลง แล้ว จีน ขึ้น  ส่วนตัวผมละคิดว่าน่าห่วง และน่ากลัวกว่าอเมริกาเยอะ  เพราะความเด็ดขาดและ ความโหดมันต่างกัน  ในเรื่องการเคารพสิทธิมนุษย์ชน  มันต่างกัน ประชาชนเขาเอง ยังไม่ยอมอ่อนให้ เลย นับประสาอะไร กับคนชาติ อื่น   ลองนึก ดูนะครับ หรือจะให้อธิบายเป้นแกๆ เลยหล่ะ ... อิอิ

ปล.อเมริกา คงไม่คิดจะยึดครองเรา แต่ จีนผมบอกได้เลย ไม่แน่ ถ้า ขึ้นมาเป้นเบอร์ 1 เมื่อไหร่ ก็ หนักเลย พวกเรา รอบข้างรอบทะเลนี้

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 04/07/2012 22:20:28


ความคิดเห็นที่ 53


อย่าไปกลัวนาซ่ากันเลยครับ อเมริกาเค้าสำรวจ สอดแนมจนพรุนตอนฝึก Cobra Gold แทบทุกปีแล้ว

โดยคุณ aonestudio เมื่อวันที่ 06/07/2012 15:03:17


ความคิดเห็นที่ 54


มองอย่างกว้างๆเหมือนกัน....

 

ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์....ประเทศที่วิจัยเรื่องนี้สามารถถ่ายทอดเป็นประโยชน์เพื่อมนุษยชาติได้รวมทั้งไทย  (ข้อมูลนี้ก็ควรเป็นของทุกๆชาติ.....ที่อยากช่วยชีวิตเพื่อนมนุษย์)

 

...รัฐบาลก็ทำถูกแล้วที่นำเข้าสภา ฝ่ายค้านก็ทำถูกที่ท้วงติง......

...อเมริกาผิดที่ยกเลิกถอนตัวเอง....ไม่ว่าเหตุผลจะเตรียมตัวทันหรือไม่ ก็ควรรอคำตอบให้ชัดเจนก่อนก็ได้..ส่วนได้รับอนุมัติถ้าจะทำต่อทันทีหรือรอทำปีหน้าหรือล้มเลิก(ก็คงไม่น่าเกลียด)...ผลก็คงไม่จากตอนนี้หรอก...แต่สิ่งที่ได้แสดงออกกับคนไทย โดยการกดดันทุกทาง+เร่ง+อื่นๆ.....นี้หรือเพื่อนแท้.....

 

สรุป...อเมริกาควรจะเคารพการตัดสินใจของไทย...ซึ่งผลการประชุมในสภาก็ต้องยกเลิกตามที่อเมริกาได้ถอนตัวไป....ก็เลยไม่รู้จริงๆว่า ไทยให้หรือไม่ให้......???????????

โดยคุณ jaidee เมื่อวันที่ 06/07/2012 15:51:21


ความคิดเห็นที่ 55


แผนแตก .. เพราะสมัยนี้ มีระบบโซเชียลเน็ตเวอร์ค  ประชนคนไทยในฐานะเจ้าของประเทศ มีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วย

และ ไม่เห็นด้วย .. อเมริกาประเมินแล้วว่า คนไทยฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยตั้งข้อสันณิฐาน เกี่ยวการขัดแย้งเรื่องหมู่เกาะสเปรตลี่

เกี่ยวกับการบีบบังคับให้ไทยเลือกข้างระหว่างจีนกับอเมริกา .. และ ข้อสุดท้าย อเมริกาใช้ NASA เป็นเครื่องมือของกองทัพ

ดังนั้น .. ถ้าจะเข้ามาวิจัยจริงๆ คราวนี้ต้องทำอย่างโปร่งใส เพราะไทยจะเชิญนักวิจัย จีน รัสเซีย เข้าร่วมวิจัยด้วย ป้องกันข้อสงสัย จีน รัสเซีย

จึงสรุปง่ายๆ ว่า .. แผนแตก ถ้าให้มาวิจัยเมฆอย่างเดียว ไม่คุ้ม .. คงไม่กลับมาแล้วหละ อิอิ

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 10/07/2012 01:25:53


ความคิดเห็นที่ 56


เสียใจ.....

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 10/07/2012 14:55:03