ผู้ที่ได้ไปรบในสงครามเกาหลี ปัจจุบัน เสียชีวิตแล้วทั้งหมดใช่ไหมครับ แล้ว บรรดาญาติห่างๆกับผู้ทื่ได้ไปรบในเกาหลี ได้อภิสิทธิ์เดินทางโดยไม่ต้องใช้วีซ่าไหมครับ หรือให้เฉพาะคนที่ไปรบ กับลูกแค่นั้นครับ แล้วก็ขอภาพ เขาพอร์คช็อป ในปัจจุบันหน่อยครับ ว่าสวยงามแค่ไหน มีสุสาน ปักป้ายชื่อเราบนเขานั้นหรือเปล่า หรือไม่มีอะไรเลย อยากเห็นเขาลูกนั้น เสิชในกุเกิลเจอแต่ภาพสงครามแต่ไม่เหนภูเขาลูกนั้นอ่ะครับ รบกวนด้วยครับ
ท่านอื่นไม่ทราบ แต่คุณตาผมเสียไป8ปีแล้ว
ปัจจุบันคนไทยไปเกาหลีไม่ต้องขอวีซ่าครับ
ลุงผม ไปเกาหลีตอนยศจ่า ติมอร์พันตรี ตอนนี้เออรี่มา 6-7ปี แล้วครับ ตอนนี้ทำสงครามกับหลานๆ
ท่านอื่น ๆ ที่ยังอยู่ก็คงวัย 80-90 ปีแล้วครับ เพราะสงครามเกาหลีก้ผ่านมาได้ 60 ปีแล้ว
เนินเขาพอร์กช๊อปตอนนี้อยู่ในเขตแดนเกาหลีเหนือเลยเข้าไปประมาณ 200 เมตรครับ ทางเหนือของจังหวัด yeoncheon ของเกาหลีใต้
ลองดูใน Google Map ครับ 38.241458,127.019439
น่าเสียดายที่อยู่ในเขตแดนเกาหลีเหนือ ทั้งๆที่ ทหารไทยหลั่งเลือดไว้ที่นั้น ต้องโทษโซเวียต ที่ส่งอาวุธให้จีน ถ้าไม่มีโซเวียต จีนถึงจะมีทหารจำนวนเยอะ แต่การรบ เขาวัดกันที่อาวุธ ไม่ได้วัดกันที่กำลัง แบบสมัยก่อน ไหนๆก้ไม่มีกระทู้ให้คุยกันเลย ผมก้เข้ามาบ่อย แต่ก่อนมีเรื่องเรือดำน้ำ ก้สนุกดี ฟังพี่ๆคุยกัน ผมก้ลุ้นอ่ะนะ เข้ามาดูทุกวัน
ลองมาวิเคราะห์สาเหตุ ดีกว่า ที่ทำไมกองกำลังสหประชาชาติ ถึงไม่สามารถยันทหารจีนได้ สำหรับผมคิดว่า การที่จีนมีทหารจำนวนมาก แถมได้อาวุธจากรัสเซีย จึงทำให้ทหารจีน เหมือนเสือติดปีก ประกอบกับการที่โดนบุกก่อน จากใต้ขึ้นเหนือ ทหารย่อมล้า เมื่อเจอทหารสดใหม่จากจีน พร้อมอาวุธเทพๆของโซเวียต จึงทำให้สหประชาชาติถอยร่น อเมริกาส่งทหารไปน้อยเกินไป
ถ้าใครมีภาพ เนินเขาพอร์คช็อป ณ ปัจจุบัน ไม่เอาที่มันเปนตอนสงครามนะ อยากรู้ว่าเกาหลีเหนือทำอะไรไปบ้าง หรือปล่อยทิ้งไว้เฉยๆ อืมแล้วก็ ทหารที่เสียชีวิตจากสงครามเกาหลี มีการนำกระดูก ร่างไป บรรจุไว้ที่ไหนหรอครับ
พูดแล้วก้อดคิดไม่ได้ เกาหลีเมื่อ60ปีก่อน ญี่ปุ่นเมื่อ60ปีก่อน โดนทิ้งระเบิด แหลกจนตายยกเมือง ทั้งยังพ่น กัมมันตรังสีไปทั่ว จะพัฒนาจนเจริญรุดหน้าเราไปไกลแล้ว
บางทีการ ที่คนเราอยู่ในสภาพจนตรอก ก็ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้นมาได้ อาจจะเป็นเพราะคนไทยสบายเกินไปก้ได้จึงไม่คิดจะพัฒนาตัวเอง ผมคิดว่างั้นนะครับ
ใช่คิดเหมือนผมเลย ประเทศที่เกิดสงคราม อดอยาก เขาดิ้นรนมากจนทำให้เขาเจริญได้ สหรัฐเหมือนกันสมัยก่อนอาวุธยังได้ซื้อจากต่างประเทศเลย
เคยดูสารคดีกำเนิดสหรัฐนะ เขาลำบากมากสมัยก่อน
ใช่คิดเหมือนผมเลย ประเทศที่เกิดสงคราม อดอยาก เขาดิ้นรนมากจนทำให้เขาเจริญได้ สหรัฐเหมือนกันสมัยก่อนอาวุธยังได้ซื้อจากต่างประเทศเลย
เคยดูสารคดีกำเนิดสหรัฐนะ เขาลำบากมากสมัยก่อน
ตอบ ท่าน mongkorn789
มีหลายปัจจัยครับ ที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาได้ช้า หลังสงครามโลก
1 ประเทศไทยรายล้อมไปด้วยประเทศต่างๆ บ้างก็หวังดีกับเรา บ้างก็หวังร้ายกับเรา บ้างก็อิจฉาเรา ตอดนิดตอดหน่อยตลอด .. ประเทศที่พัฒนาตัวเอง
ได้ไวหลังยุคสงคราม ส่วนมากจะเป็นประเทศที่เป็นเกาะเดี่ยวๆ หรือ มีพรมแดนติดกันเพียง 1-2 ประเทศ ซึ่งต่างกับไทยศัตรูรอบด้าน
2 ยุคสมัย รัชกาลที่ 5-6 ประเทศไทยเรารุ่งเรืองสุดขีด นักการเมืองสมัยนั้นมองผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง ซึ่งต่างจากนักการเมืองสมัยนี้ ที่ถือ
เอาผลประโยชน์ของครอบครัวตัวเองเป็นที่ตั้ง ยิ่งรวยเท่าไหร่ก็ยิ่งมีหน้ามีตาในสังคม .. ชาวบ้านอดตายช่างมัน อย่างรถไฟของไทย สร้างตั้งแต่
สมัย ร.5 ผ่านมา 102 ปี ทางการรถไฟยังบอกว่าขาดทุน ( บริหารงาน เป็นร้อยปี แล้วขาดทุน แล้วก็ยังอยู่ต่อได้ มีประเทศไทยประเทศเดียว )
3 ประเทศไทย มีนักกฏหมาย นักวิชาการ มากเกินไป .. พวกนี้ เก่งแต่พูด อ้างกฏหมาย อ้างตำรา จะสร้างอะไรจะทำอะไรซักที มันจะออกมาพูดถึง
ข้อดี ข้อเสีย กระทบกับกฏหมายข้อโน้นข้อนี้ อวดความรู้กันในห้องประชุม ตกลงประชุมกันทั้งปีทั้งชาติ ก็ไม่ได้ทำอะไร .. แล้วโครงการก็ล้มไป
ต่างกับประเทศจีน เกาหลี เวียดนาม พอเค้าวางโครงการเสร็จ ก็ทำเลย .. พวกนักกฏหมาย นักวิชาการบ้านเค้าไม่แข่งกันอวดรู้แบบบ้านเราครับ
4 บ้านเรา อุดมไปด้วย นักสิทธิมนุษยชน นักรักษาสิ่งแวดล้อม อย่าง กรีนพีช NGO ฮิวแมนไรท์ว็อทซ์ และ อีกมากมาย .. พวกนี้ เป็นตัวถ่วง
ความเจริญได้ดีที่สุด จะสัมพันธ์กันดีกับพวกใน ข้อ 3 พวกนี้ค้านทุกเรื่องทุกโครงการ ไม่ว่าจะทำอะไรมันก็จะหาข้อเสียมาอ้างอย่างเดียว
ยกตัวอย่าง จะสร้างเขื่อน มันก็อ้างว่าทำลายป่า ทำให้ งูตาย หอยทากตาย ใส้เดือนตาย ทั้งๆที่เขื่อนเป็นโรงไฟฟ้าได้ ชาวบ้านก็สามารถทำนา
ได้ปีละ 2-3 ครั้ง จากชลประทาน ... สร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ไม่เอา โรงไฟฟ้าจากเขื่อนก็ไม่เอา โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ก็ไม่เอา ... แต่ บ้านพวก
NGO กรีนพีช ที่บ้านพวกมัน ติดแอร์ทุกห้อง ใช้ไฟฟ้ามากกว่าชาวบ้านทั่วๆไปซะอีก ..
เห็นด้วยกะข้อ 3 กะ 4 มากครับ
คนไทยสามารถ ไปเที่ยว ไปส่องดารา ไปทำศัลยกรรม ที่เกาหลี ได้ทุกคน โดยไม่ต้องใช้วีซ่า
เพราะ สงครามเกาหลี เนี่ยละครับ ( ไม่รู้เด็กปัจจุบัน ทราบหรือ ป่าว )
และ ถ้าผม จำไม่ผิด ทายาทของทหาร ที่ไปรบ ที่เกาหลี ทางเกาหลี จะมีทุนการศึกษา
และพาไปเที่ยว เกาหลี ทุกปี
และก็อีก ...ครับ
อันนี้มีทั้งพากไทย และพากอังกฤษ อ่านมันมากๆ ครับ อ่านเลยครับ....
http://atcloud.com/stories/89379
ขอโทษ..ครับ
อันที่ 2 นี้.....มีพากไทยอย่างเดียวครับ อันที่ 1 มี 2 ภาษาครับ...แต่ไม่มันเท่าอันที่ 2 ครับ
ไฮไล้.....ครับ หมวดคอยเหตุของไทย ละลายทั้งหมวด ครับ
http://atcloud.com/stories/89379 (ที่มาครับ)
การปฏิบัติการของหมวดคอยเหตุ
กองพันทหารไทยได้ใช้กำลัง ๑ หมวดปืนเล็กไปทำหน้าที่หมวดคอยเหตุ อยู่หน้าแนวตลอดเวลาโดยไปตั้งอยู่ที่เนิน ๒๐๐ ห่างออกไปจากแนวต้านทานหลักของฝ่ายเราประมาณ ๒.๕ กิโลเมตร และห่างจากแนวที่มั่นข้าศึกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร ที่เนิน ๒๐๐ นี้ ดัดแปลงพื้นที่สำหรับตั้งรับวงรอบ มีการวางเครื่องกีดขวางลวดหนาม ประกอบการวางทุ่นระเบิด และพลุสดุด หลายชั้น วางสายโทรศัพท์ติดต่อกับที่บังคับการกองพัน และยังคงใช้วิทยุเป็นเครื่องมือสื่อสารหลักตลอดเวลา ฝ่ายข้าศึกได้ส่งกำลังเข้ารบกวนหลายครั้งในเวลากลางคืน
เมื่อ ๑๓ พฤศจิกายน ๒๔๙๔ ข้าศึกได้เริ่มระดมยิงอย่างรุนแรงตั้งแต่ เวลา ๑๙.๐๐ น.เศษ ด้วยเครื่องยิงหนัก และปืนใหญ่มายังที่มั่นของหมวดคอยเหตุ ข้าศึกประมาณ ๒ กองร้อย พร้อมด้วยรถถังประมาณ ๑๐ คัน ได้เคลื่อนที่เข้ามาตรงหน้า และพื้นที่ราบสองข้างของเนิน ๒๐๐ และระดมยิงที่มั่นใหญ่ของกองพันทหารไทยหนาแน่น การติดต่อทางสาย และวิทยุถูกตัดขาด จนใกล้รุ่งสว่างจึงทราบจากผู้ที่เล็ดลอดกลับมาได้ว่าหมวดคอยเหตุบนเนิน ๒๐๐ ละลายแล้วทั้งหมวด เนื่องจากข้าศึกเข้าล้อมและบุกเข้าประชิดถึงตัว มีการสู้รบกันถึงขั้นตะลุมบอน ข้าศึกมีจำนวนมากกว่าหลายเท่า การยิงฉากป้องกันจากที่มั่นใหญ่ช้าเกินไปไม่ทันการ ทหารประมาณครึ่งหมวดเสียชีวิต ส่วนที่เหลือได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ฝ่ายข้าศึกก็สูญเสียเป็นจำนวนมากเช่นกัน นับเป็นการสูญเสียในการรบครั้งแรกของกองพันทหารไทย ต่อมาอีก ๗ วัน กองพันทหารสหรัฐฯ ก็ถูกโจมตีในทำนองเดียวกัน ทำให้กองพลทหารม้าที่ ๑ สหรัฐฯ สั่งเปลี่ยนที่ตั้งหมวดคอยเหตุใหม่ ให้ใกล้เข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน ๑.๕ กิโลเมตร จากแนวต้านทานหลัก
การกลับไปเป็นกองหนุน
วีระกรรมที่พอร์คชอบ ครับ...
http://atcloud.com/stories/89379 (ที่มา)
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ ๑
ในคืนวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๕ ฝ่ายข้าศึกประมาณ ๑ หมวด เคลื่อนที่เข้าจู่โจมที่ฟังการณ์สาย ๘ ทางมุมด้านทิศตะวันออกของเขาพอร์คชอป ศูนย์ประสานการยิงคุ้มครองอย่างต่อเนื่อง จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป ทิ้งศพผู้เสียชีวิตไว้เท่าที่ตรวจพบ ๑๐ ศพ ต่อมาเมื่อบ่ายวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ข้าศึกได้ยิงเตรียมมายังที่มั่นเขาพอร์คชอปด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงลูกระเบิด ฝ่ายเราได้รับความเสียหายมาก ตอนค่ำข้าศึกส่งกำลัง ๑ กองพัน เคลื่อนที่เข้าตี ๒ ทิศทาง ไปยังที่ฟังการณ์สาย ๔ และที่ฟังการณ์สาย ๘ ได้มีการต่อสู้กันในระยะประชิด จนต้องถอนตัวกลับเข้าที่มั่น ข้าศึกก็ได้เคลื่อนที่ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด จนถึงบริเวณที่มั่นเขาพอร์คชอป จึงได้มีการยิงฉากวงแหวนทำลายข้าศึกที่เข้ามาถึงขอบที่มั่น จนข้าศึกต้องถอนตัวกลับไป การรบครั้งนี้ฝ่ายเราเสียชีวิต ๘ คน บาดเจ็บ ๑๗ คน ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิต ๕๐ คน พบร่องรอยการระดมยิงด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักกว่า ๖๐๐ นัด ในบริเวณที่มั่นของฝ่ายเรา ในวันรุ่งขึ้นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้เดินทางมาเยี่ยมกองพันทหารไทย ได้แสดงความประทับใจอย่างมากที่ทหารไทยมีจิตใจห้าวหาญ แกร่งกล้า เป็นที่น่ายกย่องสรรเสริญเป็นอย่างยิ่ง และได้หนังสือชมเชยกองพันทหารไทยด้วย
ต่อมากองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้ส่งทหารช่างพร้อมที่กำบังสำเร็จรูป (Prefabrication Sef) มาให้ ทำให้มีความมั่นคงแข็งแรงกว่าที่มีอยู่เดิม และปรับปรุงที่มั่นให้กลับสู่สภาพเดิม จากการเสียหายที่ข้าศึกเข้าตีในครั้งนี้
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ ๒
เมื่อ ๖ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ เวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น. ฝ่ายข้าศึกได้ส่งหน่วยลาดตระเวณ ประมาณ ๑ หมวด เข้าโจมตีที่มั่นเขาพอร์คชอป โดยเข้าโจมที่ฟังการณ์หมายเลข สาย ๔ และสาย ๘ ได้ ข้าศึกได้ระดมยิงด้วยอาวุธประจำหน่วย และอาวุธประจำกายอย่างรุนแรง เพื่อพิสูจน์ทราบที่ตั้งฝ่ายเรา ทหารไทยในที่มั่นได้ยิงพลุส่องสว่างพร้อมกับขอการยิงสนับสนุนจาก หน่วยเครื่องยิงหนักของกองพัน ข้าศึกจึงถอนตัวกลับไป
ต่อมา ระหว่าง ๐๑.๐๐ - ๐๒.๐๐ น.ฝ่ายข้าศึกทำการเข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอปอีกเป็น ๓ ระลอก ระลอกแรก ข้าศึกใช้กำลังประมาณ ๑ กองร้อย เข้าตีทางทิศตะวันตก ด้านที่ฟังการณ์ ๘ ระดมยิงด้วยอาวุธประจำกาย และประจำหน่วย พร้อมทั้งปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนัก ใช้เวลาประมาณ ๔๕ นาที จึงหยุดการโจมตี แต่ยังคงระดมยิงด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักต่อไป ระลอกที่สอง เริ่มประมาณ ๐๑.๔๐ น. ข้าศึกใช้กำลังประมาณ ๑ กองร้อย เข้าตีทางทิศเหนือด้านที่ฟังการณ์ ๔ สนับสนุนด้วยปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนัก และอาวุธนานาชนิด ฝ่ายเราต้านทานอย่างเหนียวแน่น จนข้าศึกต้องยุติการโจมตีเมื่อเวลา ๐๒.๑๕ น.และถอนตัวกลับไป ระลอกที่สาม เวลา ๐๒.๓๕ น. ข้าศึกใช้กำลังประมาณ ๒ หมวด เข้าตีทางด้านทิศตะวันตกด้านที่ฟังการณ์ ๘ อีกครั้งหนึ่ง ได้อาศัยความมืดคืบคลานเข้ามาใกล้ที่มั่นฝ่ายเรา จนถึงระยะใช้ระเบิดขว้างของทั้งสองฝ่าย ทหารไทยที่ประจำอยู่ ณ ที่ฟังการณ์ทั้งสามสาย ได้รับคำสั่งให้ถอนตัวกลับเข้าที่มั่น ฝ่ายข้าศึกจำนวนมาก ได้ติดตามมาอย่างกระชั้นชิด จนมาถึงหน้าที่มั่นใหญ่ในพื้นที่การยิงฉาก ผู้บังคับที่มั่นจึงขอการยิงฉากวงแหวนเหล็ก ทำให้การเข้าตีของข้าศึกหยุดชะงัก และล่าถอยกลับไป ในการเข้าตีของข้าศึกครั้งนี้ ข้าศึกได้เปลี่ยนยุทธวิธีใหม่ เพื่อหวังผลในการจู่โจม โดยไม่ใช้การยิงเตรียมเหมือนการเข้าโจมตีทั่วไป แต่ได้อาศัยความมืดเป็นเครื่องกำบัง หวังที่จะลอบเข้ามาใกล้ที่มั่น เพื่อหวังผลในการจู่โจม
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจการณ์ และเพื่อจำกัดเสรีในการเคลื่อนที่ของข้าศึก ฝ่ายเราได้ยิงพลุส่องแสงจากเครื่องยิงลูกระเบิด และจากปืนใหญ่แบบประสานส่องสว่างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้ผลอย่างมากในการยับยั้งข้าศึก และยังเป็นการบำรุงขวัญฝ่ายเราได้เป็นอย่างดี
การสูญเสียจากการที่ข้าศึกเข้าตีครั้งนี้ ฝ่ายเราเสียชีวิต ๕ คน บาดเจ็บ ๕ คน ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิต ๑๐ คน เท่าที่พบศพ และคาดว่าจะเสียชีวิตทั้งสิ้น ๕๐ คน บาดเจ็บประมาณ ๑๐๐ คน ฝ่ายเรายึดได้อาวุธยุทโธปกรณ์ของข้าศึกได้ จำนวนหนึ่ง
การรบบนที่มั่นเขาพอร์คชอป ครั้งที่ ๓
จากการเฝ้าตรวจการณ์ทางอากาศของหน่วยเหนือมีสิ่งบอกเหตุแสดงว่า ฝ่ายข้าศึกจะต้องเข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอปอีกครั้งอย่างแน่นอน ประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้าตีของข้าศึกสองครั้งที่ผ่านมา ได้มาปรับปรุงการตั้งรับของหน่วยให้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะที่กำบังปิด ให้มีความมั่นคงแข็งแรง สามารถต้านทานอาวุธหนักของข้าศึกได้ดีขึ้นกว่าเดิม และได้ปรับฉากการยิงวงแหวนเหล็กเสียใหม่ ให้สามารถทำลายข้าศึกที่เข้ามาหน้าที่มั่นระยะใกล้อย่างมีประสิทธผล
ในการเข้าตีครั้งนี้ฝ่ายข้าศึกได้ยิงรบกวนด้วยอาวุธหนักชนิดต่าง ๆ ทั้งกลางวัน และกลางคืนเป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน ในคืนที่สามคือ คืนวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ ตอนค่ำ ข้าศึกได้ระดมยิงอย่างหนักด้วยเครื่องยิงหนักและปืนใหญ่ไปยังเขา อาร์เซนัล (Arsenal) และเขาเอียร์ (Eerie) ตรงปลายด้านใต้ของเขาทีโบน ซึ่งกองพันที่ ๑ สหรัฐฯ ยึดอยู่ แสดงที่ท่าว่าจะเข้าตีทางด้านนั้น แต่ไม่เข้าตี จนถึงเวลา ๒๐.๐๐ น. ได้ส่งกำลังส่วนหนึ่งเข้าตีทางด้านเขาโอลด์บอลดี ซึ่งกองพันทหารราบที่ ๓ ของสหรัฐฯยึดอยู่ และต่อมาได้ใช้กำลัง ๑ กองพัน พร้อมด้วยกองร้อยลาดตระเวณของกรม เคลื่อนที่เข้าสู่เขาพอร์คชอป ในการเข้าตีครั้งนี้ ข้าศึกได้ส่งกำลังเข้าตีถึง ๓ ระลอก ตลอดคืนคือ
ระลอกแรก เข้าตีเวลา ๒๓.๒๕ น. ใช้กำลัง ๒ กองร้อยเข้าตีทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ ด้านที่ทำการสาย ๘ อย่างจู่โจม โดยไม่มีการยิงเตรียมด้วยปืนใหญ่ เมื่อกำลังจากที่ฟังการณ์ทั้งสามสายถอนตัวกลับที่มั่นแล้ว ได้มีการยิงอาวุธหนักทุกชนิดของฝ่ายเราเพื่อป้องกันที่มั่น พร้อมทั้งยิงพลุส่องสว่างทั้งจากกองร้อยอาวุธหนักของไทย และการทิ้งพลุส่องสว่างจากเครื่องบินฝ่ายเรา เป็นระยะอย่างต่อเนื่อง และทิ้งระเบิดทำลายเส้นทางรุกต่าง ๆ ของข้าศึก จนถึงเวลา ๒๔.๐๐ น. ข้าศึกส่วนหน้าได้แทรกซึมถึงคูสนามเพลาะ ในเขตที่มั่นเขาพอร์คชอป เนื่องจากเครื่องกีดขวางที่กองพันทหารไทยทำไว้ถึง ๘ ชั้น ทำให้ข้าศึกไปติดอยู่แนวลวดหนาม และถูกยิงตาย ณ ที่นั้นเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีบางส่วนเข้าเล็ดลอดผ่านเข้าไปได้ จึงมีการต่อสู้กับทหารไทยถึงขั้นตะลุมบอนเป็นจุด ๆ ข้าศึกใช้ลูกระเบิดขว้างตามช่องที่กำบังปิด เช่นปล่องเตายิง ช่องยิง ช่องระบายอากาศ และประตูที่กำบังปิด รวมทั้งคูติดต่อที่ทหารไทยยึดอยู่ การต่อสู้ขั้นตะลุมบอนเป็นไปประมาณ ๒๐ นาที กองพันได้ส่งหมวดรบพิเศษเข้าไปเสริมกำลัง โดยเคลื่อนที่ฝ่าฉากการยิงของเครื่องยิงลูกระเบิด และปืนใหญ่เข้าไป จนเข้าไปถึงที่มั่นบนเขาพอร์คชอปได้เมื่อ เวลา ๐๐.๑๕ น. ขณะที่การสู้รบในระยะประชิดยังดำเนินต่อไป หลังจากการยิงกระสุนแตกอากาศของปืนใหญ่ฝ่ายเราเหนือที่มั่นสงบลงแล้ว หมวดรบพิเศษก็นำกำลังเข้าผลักดันข้าศึก ร่วมกับฝ่ายเราที่บนที่มั่นจนสามารถผลักดันให้ข้าศึก ถอยกลับไปด้วยความสูญเสียอย่างหนัก
ระลอกที่สอง เมื่อเวลา ๐๐.๒๐ น. ฝ่ายข้าศึกประมาณ ๑ กองพัน เข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอปอีกระลอก โดยเข้ามาถึงสามทิศทาง คือทางทิศเหนือตรงที่ฟังการณ์สาย ๔ ทางทิศตะวันออกตรงที่ฟังการณ์สาย ๒ และทางทิศตะวันตก ตรงที่ทำการสาย ๘ ฝ่ายเราได้ยิงพลุส่องสว่างจากกองร้อยอาวุธหนัก เพื่อช่วยในการตรวจการณ์อยู่ตลอดเวลา ฝ่ายเราได้ใช้เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนใหญ่ระดมยิงช่วยอย่างรุนแรง จนเวลา ๐๑.๐๕ น.ข้าศึกจึงถอยกลับไป
ระลอกที่สาม เมื่อเวลา ๐๓.๒๒ น. ฝ่ายข้าศึกได้ส่งกำลังเข้าตีที่มั่นเขาพอร์คชอป ๒ ทิศทาง ด้วยกำลัง ๑ กองร้อยเพิ่มเติมกำลัง โดยเข้าตีทางทิศตะวันออก ด้านที่ฟังการณ์สาย ๒ กับอีก ๑ กองร้อยเพิ่มเติมกำลังทางทิศตะวันตก ด้านที่ทำการสาย ๘ หน่วยเหนือได้ส่งเครื่องบินไปทิ้งระเบิดสะกัดเส้นทางส่งกำลังหนุนของข้าศึก และทิ้งพลุส่องสว่างหน้าแนว ตามคำขอของกองพันทหารไทย เมื่อข้าศึกส่วนใหญ่เคลื่อนที่เข้ามาในพื้นที่การยิงฉากที่เตรียมไว้ ก็เริ่มยิงฉากวงแหวนทันที กองร้อยอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้ถูกระดมยิงจากข้าศึก หรือถูกยิงเพียงประปราย ต่างก็ระดมยิงช่วยหน่วยบนที่มั่นเขาพอร์คชอปอย่างเต็มที่ แต่ข้าศึกส่วนหนึ่ง สามารถเคลื่อนที่ถึงหน้าแนวที่มั่นเขาพอร์คชอปได้ เครื่องกีดขวางของฝ่ายเราถูกทำลายด้วยปืนใหญ่ และบังกาลอร์ตอร์ปิโด ที่ใช้ยิงเจาะช่องเข้าไป เกิดการต่อสู้กันในระยะประชิด ฝ่ายเรามีการปรับปรุงการตั้งรับให้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยกำหนดให้ปืนกลตั้งยิงในที่กำบังปิดทั้งหมด ส่วนพลปืนเล็กให้ต่อสู้อยู่ในคูยิงนอกที่กำบัง ทำให้ข้าศึกถูกยิงตายเป็นอันมาก ส่วนที่เล็ดลอดเข้ามาได้ก็ตกเป็นเป้ากระสุนของฝ่ายเราอย่างเต็มที่ เมื่อจวนใกล้สว่างข้าศึกจึงเริ่มหยุดการเข้าตี และถอนตัว คงเหลือกำลังประมาณ ๑ หมวด ยึดภูมิประเทศคุมเชิงอยู่ที่ลาดเขาพอร์คชอปทางด้านเหนือ และถอนตัวกลับไปเมื่อ ๐๗.๐๐ น. ฝ่ายเราได้ส่งหมู่ลาดตระเวณติดตามข้าศึก และสามารถจับเชลยศึกได้ ๔ คน
ผลการเข้าตีครั้งนี้ ข้าศึกระดมยิงปืนใหญ่ และเครื่องยิงหนักต่อที่มั่นเขาพอร์คชอปเป็นจำนวนประมาณ ๒,๗๐๐ นัด ฝ่ายไทยเสียชีวิต ๑๒ คน บาดเจ็บสาหัส ๓ คน บาดเจ็บเล็กน้อย ๕๔ คน ฝ่ายข้าศึกเสียชีวิตนับศพได้ ๒๐๔ ศพ วันรุ่งขึ้นผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ ๒ สหรัฐฯ ได้เดินทางไปเยี่ยม เมื่อเห็นสภาพการสู้รบแล้วก็ได้กล่าวกับผู้บังคับกองพันทหารไทยว่า "ข้าพเจ้าไม่มีอะไรสงสัยในจิตใจแห่งการต่อสู้ของทหารไทยอีกแล้ว"
เนื่องจากกองพันทหารไทยได้รับความบอบช้ำอย่างหนัก จากการถูกข้าศึกเข้าตีถึง ๓ ครั้ง ในห้วยระยะเวลาเพียง ๑๐ วัน แต่ยังไม่ถึงกำหนดเวลาการผลัดเปลี่ยน จึงได้พิจารณาให้กองร้อยที่ ๑ ถอนตัวกลับไปพักผ่อน และให้กองพันที่ ๒ สหรัฐฯ ซึ่งอยู่ทางปีกซ้ายขยายพื้นที่ความรับผิดชอบเข้ามาแทน
ในการรบดังกล่าวกองพันทหารไทย และทหารไทย จึงได้รับ อิสริยาภรณ์ เหรียญตรา และเกียรติบัตรชมเชยในการประกอบวีรกรรมครั้งนี้ รวมทั้งสมญานาม Little Tiger (พยัคฆ์น้อย) จากพลเอก แวนฟลิค แม่ทัพที่ ๘ สหรัฐฯ สมญานามดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายในสมรภูมิเกาหลี
ต่อมาเมื่อ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๙๕ จอมพล ป.พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มีหนังสือชมเชยการปฏิบัติการรบของกองพันทหารไทยที่เขาพอร์คชอป และต่อมากองพันที่ ๘ สหรัฐฯ ได้มอบเกียรติบัตรของประธานาธิบดีสหรัฐฯ เพื่อเชิดชูวีรกรรมอันดีเด่น และเป็นเกียรติประวัติแก่กำลังพล ในกองพันทหารไทยผลัดที่ ๓ จำนวน ๒๙ คน เป็นลิเยียนออฟเมอริต ดีกรีเลยอนแนร์ ๑ คน คือ พันโท เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เหรียญซิลเวอร์สตาร์ ๙ คน เหรียญบรอนซ์สตาร์ ประดับอักษรวี ๑๕ คน เหรียญบรอนซ์สตาร์ ๔ คน
ความจริงในเวบนี้ก็เคย...ถามมา...คุยกัน..หลายรอบแล้ว แต่ก็นานมากแล้วครับ
เอามาเล่าใหม่คงไม่เป็นไร นะครับ