หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Ukraine, Thailand Considering Possibility of Joint Assembling of BTR-3E1 Vehicles

โดยคุณ : kaypui42 เมื่อวันที่ : 23/06/2012 17:06:47

 

 

Ukroboronprom and Defence Ministry of Thailand to discuss prospects for the joint assembly of Ukrainian BTR-3E1s in Thailand, as well as the possibility of instructing the Thai side on Ukraines technology for the production of small-caliber ammunition. (photo : nou999 & manager)
Commander-in-Chief of the Royal Thai army General Prayuth Chan-ocha attended Ukraines stand at the EUROSATORY-2012 international defence exhibition, which will take place in Paris until June 15, according to Ukrspecexport.
"While examining the prototype of Ukraines new BTR-4 at the stand, the Commander-in-Chief of the Royal Thai army noted the high quality of Ukrainian armored vehicles that are exploited in Thailand," a representative from Ukrspecexport told Interfax-Ukraine.
The state company said that Head of state concern Ukroboronprom Dmytro Perehudov held a meeting with the management of the Defence Ministry of Thailand to discuss prospects for the joint assembly of Ukrainian BTR-3E1s in Thailand, as well as the possibility of instructing the Thai side on Ukraines technology for the production of small-caliber ammunition.
Ukraine has been actively developing military and technical cooperation with Thailand and hopes for the successful promotion of its armored vehicles on the Asian arms market.
As reported, the amount of contracts for the supply to Thailand of armed vehicles, particularly Oplot main battle tanks and BTR-3E1 armored personnel carriers, which were signed in 2006-2011 and are currently being implemented, exceeds $500 million.
Ukraine will demonstrate at the EUROSATORY-2012 exhibition its best armored vehicles and highly-accurate ground-mounted weapon systems. The prototypes of BTR-4 armored personnel carriers, the Oplot tank, the Skif portable antitank guided missile launcher, and the Adros station for optical-electronic suppression will be presented on Ukraines stand at the exhibition.
Visitors of the exhibition will also have an opportunity to examine one-fifteenth scale models of MT-LBR6 and BTR-3E1 armored personnel carriers, and Manhust radio location set for reconnaissance of ground-based, over-water, and low-flying targets.
EUROSATORY exhibition have been held under the aegis of the Defence Ministry of France since 1967 every two years, and is the only international defence exhibition dedicated only to ground security and defence.
(Kiev Post)

 

http://defense-studies.blogspot.com/2012/06/ukraine-thailand-considering.html





ความคิดเห็นที่ 1


ใครแปลได้ช่วยแปลให้หน่อยคับ (ผมอ่านใน google ไม่รู้เรื่อง)

โดยคุณ biguvix เมื่อวันที่ 19/06/2012 21:54:32


ความคิดเห็นที่ 2


    อ่ะฮ่ะ  .....   ข่าวดีนี่ครับ   ผบ.ทบ.สนใจที่จะเสนอให้ไทยร่วมผลิต BTR-3E1 กับยูเครน   โดดยจะมีฐานการผลิตอยู่ที่ไทยเราร     รุ่นที่ไทยผลิตจะติดตั้งปืนประจำรถที่มีขนาดลำกล้องเล็กกว่า   ทางยูเครนหวังมากเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถผลักดันเรื่องให้ผ่านการพิจารณาจากรัฐบาลไทย   เพราะหวังจะใช้ไทยเป็นฐานในการเจาะตลาดเอเชีย

    เราท่าทางจะกลายเป็นลูกค้าคนสำคัญไปแล้ว    เห็นด้วยกับวิธีนี้แบบสุดตัวครับ   หาตัวแทนเอกชนทางฝั่งไทยรับงานไปเลย    ได้พันธมิตรทางธุรกิจที่มีความพร้อมแล้วครับท่าน   แบบเกาหลีใต้เลย  55555  .....   ถูกใจจริงๆครับท่านผบ.ทบ.   

   คราวนี้ทางทบ.เริ่มออกตัวนำแน่ๆถ้าสามารถดันเรื่องนี้จนประเทสเราสามารถผลิตรถเกราะคุณภาพได้   แถมข่างยังพูดเป็นนัยๆว่าทางยูเครนกำลังพัฒนา BTR-4 รุ่นล่าสุด   พูดยังกับว่าเราจะรับผลิตสั่งใช้และส่งขายให้     เอาเป็นว่าแผนการตลาดอุตสาหกรรมอาวุธมาถูกทางแล้วครับ    ต่อไปอาจจะมี OPLOT ver  thai edition กฌได้ว่าป่าว

   แล้วชัยเสรีทำไงเนี่ยะ   8x8  6x6 

  ถ้าทร. จะเดินเรื่องคล้ายกันก็ไม่เลวนะครับ    แต่รัฐบาลคงต้องสนับสนุนแนวคิดด้วยล่ะ     แนวคิดแบบที่เพื่อนสมาชิก TFCเสนอให้ทอ.ร่วมทุนกับ SAAB ในการผลิตกรีเปนเลย........แต่หวยไปออกทบ.แทน  

   

   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/06/2012 23:12:35


ความคิดเห็นที่ 3


    อเมริกาทำท่างี่เง่ากับเราแบบนี้   น่าจะเล่นวิธีที่เพื่อนสมาชิกของ TFC เราเสนอนั่นคือ  ร่วมทุนผลิตชิ้นส่วนและประกอบ JAS-39 ไปเลย    ร่วมกันทำตลาด  ร่วมกันใช้เครื่องที่ผลิตออกมา  แล้วไม่ต้องไปง้อชิ้นส่วนจากอเมริกายิ่งดีครับ       ทาง SAAB ก็ยิ่งต้องการพันธมิตรอย่างมากอยู่แล้ว 

    ดูเหมือนทางยูเครนจะดีใจจนเนื้อเต้นที่จะได้เราเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและเป็นลูกค้ารายสำคัญต่อจากกองทัพของยูเครนเอง  ......  concept เจ๋งจริงๆครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/06/2012 23:21:28


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบคุณ คุณneosiamese2 มากคับที่ช่วยแปลให้

ช่างเป็นข่าวดีในรอบสัปดาห์นี้จริงๆ หลังจากที่ผมเซ็งเรื่องเรดาห์กับชิ้นส่วนกริพเพนมาพักใหญ่ ผมลองคิดเล่นๆว่าถ้าประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตอาวุธที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนี้ โอ้โห้ มันช่างโก้ไม่เบาเลย 555

โดยคุณ biguvix เมื่อวันที่ 20/06/2012 00:11:01


ความคิดเห็นที่ 5


จะแปลก ไหมอะครับที่ผมไม่เห็นด้วยอะ เทคโนโลยีตัวรถเกราะ ปืนกลหนัก สมัย 60-70 ปีที่แล้ว บ้านเราเองตอนนี้ทำไม่ได้เหรอครับ(ถึงทำได้ก็ไม่ให้ทำ) ที่ไม่เป็นกันจริงๆคือ ระบบควบคุมการยิงกับระบบการสื่อสาร(ผมเชื่อว่า ผู้นำกองทัพเราเค้าตั้งใจเชื่อว่าประเทศไทยตอนนี้ทำไม่ได้) ซึ่งจริงๆมันไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ล่ำ้สมัยอะไร(คนละเรื่องกับ DTI-2 เลยอะเพราะมันง่ายกว่าเยอะ) ต่างจากเครื่องบินรบหรือเรือดำน้ำเรือบรรทุกเครื่องบินหรือพวกเรดาห์ ที่ต้องลงทุนมากกว่า ใช้เทคโนโลยีสูงกว่าเยอะ ตามที่ผมคิด อาวุธนั้นมี 2 ระดับด้วยกัน อันแรกคืออาวุธพื้นฐาน เช่นพวก อาวุธประจำกายพลทหาร เครื่องยิงลูกระเบิด จรวดต่อสู้รถถัง อาวุธประจำหน่วยรบแบบต่างๆ ยานเกราะ ยานลำเลียง เรือรบผิวน้ำต่างๆ อาวุธที่มันมีมาตั้งแต่สมัย 50-60 ปีที่แล้วอะ กับไอ้พวกที่บ้านเราซื้อกันประจำ แถมซื้อเยอะอีก พวกนี้ผมก็แปลกใจประเทศไทยทำไม่ได้หรือ ปืนเล็กยาวประจำกายก็ยังต้องซื้อ ระเบิดมือ กระสุนปืนก็ไม่มีโรงงานผลิตในประเทศด้วยซ้ำ(ยังดีที่ชุดทหารยังตัดในไทย)ของ พวกนี้ควรให้การสนับสนุนให้ผลิตได้เองในประเทศมานานแล้วโดยไม่ต้องไปอิ้งกับ ใคร(เด๋วมันจะมีกรณียิงจนกระสุนหมดอีก) แล้วจะไปร่วมทุนเปิดโรงงานผลิตยานเกราะไม่คิดว่ามันแปลกๆเหรอครับ ต่อให้ร่วมทุนกันได้จริงๆเราคงได้เป็นแค่แหล่งแรงงานราคาถูกเท่านั้นอะครับ ผมเชื่อว่าที่เค้าจะมารวมทุนครั้งนี้เป็นแค่โรงงานผลิตตัวถังเท่านั้นอย่าง มากที่สุดก็ผลิตปืนกลด้วย(ซึ่งกฎหมายกันคนไทยมาตลอด ในสิ่งที่เราทำได้) ไปๆมาๆเราก็ยังไม่เป็นระบบควบคุมการยิง และสื่อสารอยู่ดี(แถมยังไปฆ่าโรงงานในบ้านเราอีก) กับพวกอาวุธระดับไฮเทคโนโลยี เช่น เครื่องบินรบ เรือดำน้ำเรือ บรรทุกเครื่องบินหรือพวกเรดาห์ เพราะพวกนี้ต้องใช้เทคโลยีสูง และมูลค่าที่ทำให้โรงงานผลิตสามารถดำเนินงานต่อไปได้นั้นสูงมาก(คือต้องมีการสั่งซื้อจำนวนหนึ่งอยู่ตลอด ไม่งั้นโรงงานเจ๊ง) อาวุธระดับนี้ซื้อไปเถอะครับ เพราะต่อให้เรามีความรู้สร้างมันขึ้นมาได้ก็ไม่คุ้ม(เพราะประเทศเราไม่ได้เป็นประเทศผู้ค้าอาวุธ)

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 20/06/2012 03:22:21


ความคิดเห็นที่ 6


เห็นด้วย กับคุณ  potmon

ถ้ามาตั้งโรงงาน ให้ไทยผลิตแค่ตัวถัง หรือโครงสร้างภายนอก อันนี้ผมไม่เห็นด้วย เพราะของแค่นี้ให้เด็กตามโรงกลึงก็ทำเป็น

ผมอยากให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีเต็มรูปแบบ เช่น ผลิตระบบควบคุมการยิง ระบบเรด้าร์ รวมไปถึง ผลิตกระสุนเองด้วย

... ตอนนี้ จีน ใช้วิธีการก็อบปี้ อาวุธ และ เครื่องบินชนิดต่างๆทั่วโลก ถึงแม้ว่าคุณภาพจะออกมาแย่ แต่ คนในประเทศเค้า

มีองค์ความรู้ด้านนี้กันมาก นับวัน คุณภาพสินค้าของจีนบางชนิดเริ่มมีคุณภาพดีขึ้น ซักวันหนึ่ง เค้าก็ต้องผลิตของที่มีคุณภาพสูงได้

เพราะแรงงานในประเทศจีนราคาถูก สินค้าหลายอย่างของอเมริกา ตั้งโรงงานผลิตในประเทศจีนเยอะมากๆ เช่น ไอแพด ก็ผลิตในจีน

กางเกง ลีวายส์ ก็ผลิตในจีน ( ในอเมริกา ปิดโรงงานลีวายส์หมดแล้ว เพราะสู้ราคาแรงงานไม่ได้ )

เรือรบจากจีน ถึงจะเป็นมือสอง แต่ พม่าก็ซื้อมาใช้ เหตุผลเพราะมันราคาถูก  .. นี่ถ้าจีนผลิตเรือดำน้ำออกมาขาย แข่งกับ อเมริกา

หรือ ชาติในยุโรป  ราคาเรือดำน้ำของจีนคงจะราคาถูกลงไปเกือบครึ่ง  ทีนี้ ใครๆก็สามารถมีเรือดำน้ำไว้ครอบครองได้

คนที่จะเสียผลประโยชน์มากที่สุด คือ อเมริกา เพราะขายของทุกอย่างแพงเกินความเป็นจริง บวกกำไรไปหลายเท่าตัว

.. ขอยกตัวอย่าง เมื่อหลายปีก่อน สว่าน Bosh ของอเมริกา ขายราคาเหยียบหมื่น  พอสว่านของจีนมาตีตลาด ราคา 800 บาท

พร้อมแถมดอกสว่าน 20 ดอก ถึงมันจะเจาะได้ไม่กี่ครั้งก็พัง แต่ ชาวบ้านก็หันไปใช้สว่านจีนกันหมด จนสว่าน Bosh ขายไม่ออก

สุดท้าย Bosh ก็ยอมลดราคาลงเหลือไม่ถึง ห้าพัน .. ขนาดขาย ห้าพัน ยังได้กำไร นั่นแสดงว่า อเมริกายังบวกกำไรเกินควร

.. พม่า กับ เขมร เริ่มกลายเป็นลูกค้าที่ซื้อ อาวุธ รถถัง เรือรบ จากจีน .. คาดว่า ต่อไป ในภูมิภาคเอเชีย ลูกค้าของจีน จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

รวมไปถึงไทยด้วย ..

โดยคุณ soda77 เมื่อวันที่ 20/06/2012 04:19:55


ความคิดเห็นที่ 7


เรียนคุณ potmon ผมว่าคุณน่าจะมีการเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการผลิตสรรพวุธของ กองทัพอยู่บ้างนะ เช่นกรณีกระสุนและวัตถุระเบิด เราผลิตเองไทยนะ ลองคนหาในกูเกิ้ลก็ได้ หาไม่ยากเลย ทบ. มีโรงงานผลิตอยู่ ทั้ง กระสุนปืนเล็ก ปืนกล ปืนค. ปืนใหญ่ไม่ รู้ได้เฉพาะลูก HE รึเปล่า ลองหาดู จะได้ไม่ปรามาสกองทัพเรามากนัก ปล. ไม่เหมาะสม ลบได้
โดยคุณ tawporn เมื่อวันที่ 20/06/2012 08:17:24


ความคิดเห็นที่ 8


ดีแล้วทำไมเถอะครับ  

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 20/06/2012 09:10:30


ความคิดเห็นที่ 9


วัตถุระเบิด กระสุนปืนเล็ก ยันกระสุนปืนใหญ่ เราผลิตเองในประเทศมานานแล้วครับ บางอย่างถ้ายังไม่ทราบข้อเท็จจริงอย่าเพิ่งออกตัวแรง สำหรับแนวโน้มการผลิต BTR-3E1 ในประเทศไทยนั้นก็ยังไม่รู้รายละเอียดอะไรเลย แค่เป็นแนวทางซึ่งส่วนตัวผมเห็นด้วยครับ และรถลำเลียงพลหุ้มเกราะแบบนี้ต้องมีระบบไฮเทคโนโลยีในการควบคุมการยิงมากมายถึงขั้นความลับหรือไม่ ซึ่งระบบนี้อาจจะเป็นไปในแนวทางจัดหาจากบริษัทผลิตระบบนี้โดยตรงมาติดตั้ง บริษัทผลิตรถคงไม่มีใครผลิตเองทั้งหมด เทียบง่ายๆโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วไปยังไม่ได้ใช้อะไหล่ของตัวเองทั้งหมด หลายอย่างจัดหาจากซัพพลายเออร์นอก อีกทั้งกองทัพบกก็จัดหารถแบบนี้ไปแล้ว การจะให้เปลี่ยนแบบมาใช้รถแบบอื่นที่พัฒนาใหม่โดยบริษัทคนไทยออกแบบใหม่จะยุ่งยากในการ ในขณะที่นำมาประกอบในประเทศเพิ่มรายได้แรงงานและอาจจะส่งขายต่างประเทศอื่นที่เป็นลูกค้าเก่าเจ้านี้ได้ สู้จ้างบริษัทในไทยที่มีขีดความสามารถผลิตอะไหล่ชิ้นส่วนประกอบให้เป็นการได้ทั้งสองฝ่าย แล้วเน้นจัดหารถหุ้มเกราะแบบอื่นๆที่บริษัทคนไทยพัฒนาเสร็จและผลิตขายแล้วจะดีกว่ามั้ยครับ หรือถ้าจะทำออกมาขายก็แข่งขันด้านคุณภาพไปเลยครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 20/06/2012 09:29:31


ความคิดเห็นที่ 10


ออกตัวซะยางไหม้เลยครับคุณ potmon ตั้งแต่ยุทธภูมิร่มเกล้า ไทยก็ตั้งโรงงานผลิตเครื่องกระสุน วัตถุระเบิดนาๆชนิดตั้งแต่นั้นแล้วล่ะครับ

โดยคุณ AirborneTH เมื่อวันที่ 20/06/2012 11:26:11


ความคิดเห็นที่ 11


บางอย่างมันก็จริงที่ว่าอาจไม่คุ้มค่าถ้าต้องทำการผลิต แต่ประเทศเราก็ไม่ได้รวยขนาดซื้อมันทุกอย่าง อะไรที่ลดการพึ่งพาหรือผลิตให้ตรงความต้องการก็ควรทำเพื่อลดงบประมาณ อย่างที่ท่านpotmonกล่าวไว้มีแต่ความเชื่อกับข้อมูลเมื่อ10-20ปีก่อนทั้งนั้นเลย

การผลิตรถเกราะได้แต่อุปกรณ์สื่อสารไม่ได้หมายความว่าเราเลือกไม่ได้ รัสเซียยังใช้อุปกรณ์อำนวยการรบของT-90จากฝรั่งเศสเลย เราเองก็เลือกพัฒนาด้วยความร่วมมือกับอิสราเอลหรือซื้อจากอิสราเอลมาใส่ ซึ่งยังไงๆมันก็ยังถูกกว่าจัดหาเต็มระบบ  ทุกอย่างไม่ได้บอกว่าเราต้องผลิตเพื่อขายแต่ผลิตและทดแทนกองทัพและอัพเกรดตัวเองได้ โดยไม่ต้องใช้แล้วทิ้งไม่มีการอัพเกรด ซึ่งถ้าทำแบบนี้มีงบเท่าไรก็ไม่พอ

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 20/06/2012 11:43:33


ความคิดเห็นที่ 12


ถ้าเราเอา โปรเจ็ก ของ รถ เสรีชัย 6x6 8x8 มาเปรี่ยบเทียบนี้ ไม่ทราบว่า BTR กับ เสรีชัย 6x6 8x8 นี้เป็นหน้าที่เดียวกันหรือป่าวครับ

โดยคุณ kapooknet200 เมื่อวันที่ 20/06/2012 12:38:50


ความคิดเห็นที่ 13


ไปอยู่ไหนมาครับประเทศไทยผลิตกระสุนได้นานแล้วครับ แถมส่งออกด้วย ส่วนกระสุนปืนใหญ่ปืนค.ก็ผลิตได้แทบทุกแบบที่ทบ.ประจำการ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 20/06/2012 12:45:03


ความคิดเห็นที่ 14


http://wpc.mod.go.th/2010/page1/product53/wpc_product_propo.htm

ลองดูก่อนนะครับ

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 20/06/2012 12:57:32


ความคิดเห็นที่ 15


เยี่ยมเลยครับ

 

หากมีการประกอบชึ้นจริง หวังว่า การส่งกำลังบำรุง ให้กับเจ้านี่ จะมีอัตราการพร้อมรบ

สูงกว่า รถเกราะ ที่ไม่ได้ประกอบในประเทศนะครับ

 

หวังลึกๆ ว่าจะครอบครุม อะไหร่สิ้นเปลือง และกระสุนทั้งหมดครับ

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 20/06/2012 13:32:10


ความคิดเห็นที่ 16


    ดีลนี้ถ้ามองในแง่ทางทหาร   ถ้าทำสำเร็จ  BTR-3E1 และ OPLOT ทำการผลิตประกอบในประเทศ  จะทำให้ทบ.มีความพร้อมรบเสมอ   เพราะจะไม่ขาดแคลนอะไหล่   และถ้าเกิดสงครามใหญ่เราก็สามารถขยายการผลิตเพื่อรองรับการสงครามได้    ไม่ต้องมานั่งลุ้นว่าของที่สั่งซื้อไปจะถูกคู่สงครามวิ่งล๊อปบี้ไม่ให้ผู้ผลิตส่งมอบอาวุธให้เราหรือไม่   เช่นอิสราเอลเคยโดยสมัยสงคราม  ที่ฝรั่งเศสถูกชาติในตะวันออกกลางล๊อปบี้ไม่ให้ส่งมอบอาวุธที่อิสราเอลสั่งซื้อ   เล่นเอายิวแทบแพ้สงคราม

    มองในแง่ธุรกิจ    เป็นลดความเสี่ยงทางธุรกิจที่เราจะต้องเจอ  เช่น  ผลิตเองไม่คุ้มซื้อเขาดีกว่า  เพราะลงทุนวิจัยเองสร้างเองใช้เอง  ลงทุนทำโรงงานและซื้อเครื่องจักรแล้ว   เกิดขายใครไม่ได้   เจ้งยับ   แบบที่อินโดนีเซียเคยลงทุนในโรงงานผลิตเครื่องบิน   

   เพราะดีลนี้มีตลาดอยู่แล้ว   เราแค่รับเป็นฐานการผลิตให้ยูเครนถ้ายูเครนหาลูกค้าในเอเชียได้   ยูเครนก็แค่ส่งออร์เดอร์การผลิตมาให้ที่เรา   ต้นทุนค่าขนส่งวัตถุดิบก็ต่ำกว่า  ลอจิตติคก็ต่ำกว่า  ค่าแรงก็ลุ้นได้   คุณภาพการผลิต OK  และเราก็ยังมีสายการผลิตของสินค้าคนเองอยู่แล้ว   ชิ้นส่วนที่มีความสำคัญสูงและเป็นความลับก็ส่งมาประกอบที่ไทยซะ   โดยรวมต้นทุนต่ำกว่า     การที่กองทัพเราและยูเครนใช้ยานเกราะและรถถังหลักแบบเดียวกัน  ก็เป็นการทำให้เกิด สเกลการผลิตที่คุ้มค่า เช่นเดียวกับที่มหาอำนาจสั่งออร์เดอร์ล๊อตใหญ่ๆในครั้งเดียว     มีผู้ใช้หลัก 2-3 ประเทศแล้ว  ก็ง่ายที่จะทำตลาดด้วย   win win ทั้งไทยและยูเครนครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/06/2012 15:41:15


ความคิดเห็นที่ 17


    ถ้าทบ.ทำโครงการนี้สำเร็จ   กองทัพบกเราก็แทบไม่ต้องพึ่งต่างชาติในกำลังอาวุธหลักๆแล้ว   เพราะ

ปืนใหญ่ก็ผลิตเอง

MLR ก็ผลิตเอง   กระสุนขนาดต่างๆก็ผลิตเอง

ยานเกราะก็ผลิตเอง

รถถังหลักก็ผลิตเอง

      เหลือแค่ระบบป้องกันภัยทางอากาศ   ซึ่งงานนี้ต้องได้รับความร่วมมือจากทัพอากาศ และ ทัพเรือ ด้วย    เพราะจะทำให้ทั้งสามเหล่ามีระบบอาวุธร่วมกัน   มีมาตรฐานร่วมกัน   การสื่อสารเข้ากันได้  สามารถวางโครงข่ายป้องกันภัยทางอากาศร่วมกันได้    และมีสเกลการผลิตที่ต่ำพอสำหรับการส่งออก

   

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/06/2012 15:49:09


ความคิดเห็นที่ 18


ไหม้เลยทีเดียวผม ไม่ได้ไปอยู่ไหนมาหลอกครับอยู่ไทยนี้แหละ(ไม่มีตัง อยู่บ้านเอาใจเมียไปวันๆเท่านั้นเอง) อาจแรงไปนิดตรงที่บอกว่า "พวกนี้ผมก็แปลกใจประเทศไทยทำไม่ได้หรือ ปืนเล็กยาวประจำกายก็ยังต้องซื้อ ระเบิดมือ กระสุนปืนก็ไม่มีโรงงานผลิตในประเทศด้วยซ้ำ(ยังดีที่ชุดทหารยังตัดในไทย)ของ พวกนี้ควรให้การสนับสนุนให้ผลิตได้เองในประเทศมานานแล้วโดยไม่ต้องไปอิ้งกับใคร(เด๋วมันจะมีกรณียิงจนกระสุนหมดอีก)" จริงๆผมพูดรวมๆทุกอันอะครับ ก็ตามที่เขียน อันแรกปืนประจำกายของทหารไทยเรา หลักๆเลยคือ M-16 ได้ฟรีบวกกับซื้อพี่กันเค้ามา อายุเยอะขนาดเป็นวัตถุโบราณได้เลย กับตัวรองที่เราซื้อมาตอนแรกและสุดท้ายก็ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตเอง(เหมือนจะอย่างนั้น)คือ HK-33 ที่พอบริษัท HK เลิกทำรุ่นนี้ก็ส่งผลให้สายการผลิตของ ทบ.ต้องปิดตายตกตามกันไปด้วย(ทำไมคิดดูแล้วกัน) ที่เหลือพวกอาก้าลูกซองปืนสั้นก็ซื้อเค้าหมด ปัจจุบันคือเราไม่มีการผลิตอาวุธปืนประจำกายเลย นำเข้าอย่างเดียว TAR 21 Tavor คือรุ่นต่อไปที่เราจะซื้ออีกเยอะ อันระเบิดมืออันนี้เท่าที่รู้ไม่มีผลิตเอง อันกระสุนปืน ถ้าพวกปืนใหญ่อันนี้ผมก็ไม่แน่ใจว่าเค้าผลิตได้มากน้อยขนาดไหนเพราะมันไกลตัวไป แต่ที่แน่ๆ ปี 47(เรียน รด.) ทบ.หมดเงินหลายร้อยล้านซื้อกระสุนนอก 5.56 มาให้พวกกระผมยิงลวดแขวนเป้าซะกระจายไปปีต่อปี ยังไม่รวมกรณีปัญหาเรื่องสิทธิบัตรตัวกระสุนเจ้าปัญหาตัวนี้อีกกระสุนปืนพกต่างๆเราก็ซื้อปลอกกระสุนชาวบ้านเค้ามาทำอีก จะมาฟันธงว่า "ประเทศไทยผลิตกระสุนได้นานแล้ว" นั้นคิดว่ายังเร็วเกินไปที่จะเชื่อแบบนั้น ทั้งที่เรายังผลิตได้พอใช้หรือเปล่า แถมยังไปอ้างกับชาติอื่นแบบเจ้าHK ปัญหาเรื่องสิทธิบัตรซ้ำๆซากๆที่ถึงเราจะผลิตได้แต่ก็ไม่มีสิทธิจะผลิต(ถ้าไม่ได้เป็นเจ้าของผลงานมาตั้งแต่ต้นก็ไร้อนาคตขอบอก) ผมไม่ได้มีข้อมูลพวกนี้เก็บไว้อะ(จำๆมา)ผิดถูกยังไง ใครมีข้อมูลก็ช่วยเสริมทีนะครับ


โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 20/06/2012 17:41:47


ความคิดเห็นที่ 19


ผมจะขอถามและให้เพื่อนๆ ลองสังเกตุไปด้วยกัน(แบบว่าสังสัย)  ส่วนข้อดีข้อด้อย เพื่อนๆสมาชิกหลายๆท่านได้พูดมาบ้างแล้ว ทั้งของคุณ neosiamese2 และท่านอื่นๆ ที่นี้มาเข้าเรื่องที่ผมนึกขึ้นมาได้ต่อนะครับ ก็มีสงสัยดังต่อไปนี้

  1. ที่เสนอมาแบบนี้นั้น จำนวนทาง ยูเครนก็ทราบอยู่แล้ว ทำไมไม่เสนอ แต่เริ่มทำสัญญาซื้อขายกันเลย สงสัยไปว่า ตอนนี้กำลังผลิตคุณไม่พอหรือเปล่า

จะทำให้ ส่งรถให้ไทยไม่ตรง ตามกำหนด ใช่ หรือ ไม่

 2.ถ้าร่วมกันผลิตจริง ที่ซื้อไปนี้ จะมีผลต่อกำหนดส่งมอบเดิมไหม

 3.ถ้าจะผลิตรถที่สั่งไปก่อนหน้า ในไทย(ในแง่หนึ่ง ดีแน่นอน) เรื่อง เวลา และความล่าช้าคลาดการได้ไหม หรือ จะมาโทษภายหลังว่าช้าเพราะไทยเอง  ซึ้งตอนนี้ก็มีปัญหาการส่งมอบล่าช้าแล้ว

 4.อันนี้หนักสุดๆ ถ้าจะผลิตรถที่สั่ง ในไทยจริงๆสมมุตินะครับ  ผมว่าอีก 3-4 ปี โน้นแหละ ถึงจะเริ่มส่งมอบ แบบนี้ ไทย ขอปรับเรื่องช้าได้ไหม อิอิ ค่าปรับเป็นรถ มาเลย ช้าปีละ 10 คัน (ข้อ 4นี้ ขำๆ นะครับ) กลัวว่าสงสัยของผม เพื่อนๆ จะเครียสเกินไป

ปล. แค่ 4 ข้อก็พอ จริงๆมีเยอะกว่านี้เยอะ ไม่อยากจะพูดอะไรไปมาก เพราะเพื่อนๆ หลายท่านก็เป็น นายทหารกันอยู่คงทราบเรื่องราวในกองทัพเราเป็นอย่างดี ในหลายๆแง่มุม ขอบพระคุณครับ...  ด้วยความเคารพอย่างสูง

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 20/06/2012 19:39:49


ความคิดเห็นที่ 20


1.ผลิตเองแล้วจะไม่ขาดแคลนอะไหล่

ความเห็นผม ไม่จริง ประเทศไทยผลิตรถส่งออกได้แต่อุปกรณ์ต่างๆยังต้องพึ่งพาการนำเข้า มันไม่ได้จบแค่ที่โรงงานไทย หรือ อีกกรณีสวีเดนผลิตกริฟเพน ขายแต่มะกันไม่ส่งเรดาห์ให้ ???

2.ผลิตBTR3E ส่งออก

ความเห็นผม BTR3E คงขายได้แต่กับไทย ประเทศอื่นถ้าเลือกรถยูเครนคง BTR4 เพราะตัวรถมันเก่า มีดีแค่ราคาและอาวุธที่ติดมาเต็ม(แต่ประสิทธิภาพเท่าไหร่ไม่รู้)

สิ่งที่จะได้รับ

1.ก้าวแรกสำหรับการผลิต ก้าวต่อไปเพื่อออกแบบผลิตเองให้ถือว่าเราทำได้แล้ว สร้างความมั่นใจและพร้อมจะทำ คงไม่ได้ขายเพราะคู่แข่งเยอะ เอกชนเราไม่ซัพพอร์ตมาก ทำให้มีปัญหาด้านต้นทุน

2.พอผลิต พอมีอะไหล่ ที่ทำเองได้และน่าจะรู้แนวทางแก้ไขข้อบกพร่องของตัวรถได้

 

 

โดยคุณ fuji เมื่อวันที่ 20/06/2012 20:57:24


ความคิดเห็นที่ 21


อ่านความเห็นของคุณ neosiamese2  จะเทียบเศษฝรั่งเป็น... (คนดีกว่า) เป็นคนประเภทไหนดี ผมว่าพวกฝรั่งด้วยกัน หรือโซนยุโรปด้วยกันลึกๆเขาก็เกลียดชังชาตินี้กันนะ

โดยคุณ charchar เมื่อวันที่ 20/06/2012 21:05:18


ความคิดเห็นที่ 22


    ของที่สั่งไปก่อนหน้าคงจะไม่ทันที่จะเข้าสายการผลิตในไทยได้ครับ   เพราะนี่ยังไม่ได้เซ็นต์ MOU เลยด้วยซำ้   ต้องตกลงในรายละเอียดอีก   บริษัทใหม่ที่ตั้งใครถือหุ้นบ้าง   เพิ่มทุนแบบไหน   จดทะเบียนในตลาดเพื่อระดมทุนหรือเปล่า   หาที่ตั้งโรงงาน   สร้างโรงงาน  ซื้อเครื่องจักร  ส่งคนไปฝึก   ทำการตลาดในภูมิภาคอเอเชีย  วางแผน logistic  กว่าจะเริ่มผลิตรถคันแรก......อาจจะอย่างน้อย 4-5 ปีเลยทีเดียวครับ 

    ดังนั้นผมว่าการที่ทบ.สนใจขนาดนั้น   ถึงขนาดจะตั้งโรงงาน   แสดงว่าจำนวนที่ซื้อในครั้งที่ผ่านมาทั้งหมดไม่พอใช้    ต้องการเพิ่มเติมอีกจำนวนมากทั้งยานเกราะและรถถังหลัก     แสดงว่าทบ.พึงพอใจกับของทางยูเครนมากทีเดียว (เครื่องเบ้นส์นี่นา)

    การประกอบและผลิตชิ้นส่วนบางส่วนทำให้เราดำรงความพร้อมได้สูงกว่ามากกรณีมีสงครามครับ    เช่น  ถ้าเราเกิดรบกับเวียตนาม    เราทำการสั่งซื้อยานเกราะและรถถังจำนวนมากก่อนที่จะเกิดสงครามแค่ 6 เดือน(เริ่มสั่งซื้อเมื่อเห็นว่าระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเลวร้ายลงมาและมีท่าทีจะเป็นสงครามใหญ่)

   แล้วทางเวียตนามล๊อปบี้ให้ทางรัสเซียบีบยูเครนไม่ให้ส่งอาวุธทั้งหมดที่สั่งมา  รวมทั้งอะไหล่ของรถที่เข้าประจำการไปก่อนหน้าแล้ว    ผมถามว่าอย่างนี้คุณจะทำไงครับ   ใบ้กินสถานเดียว

  

   แต่ถ้ามีโรงงานผลิตอยู่ในประเทศเราแล้ว   แม้ชิ้นส่วนทุกชิ้นจะไม่ได้ผลิตที่นี่ทั้งหมด   พอเกิดสงครามแล้วโดนวิ่งล๊อปบี้    เราก็จะสามารถก๊อปปี้ต้นฉบับได้ทันทีครับ    แหมรับผลิตแล้วพี่จะไม่คิดแกะดูหรือว่าไอ้ที่เราไม่ได้ผลิตในชิ้นส่วนนั้นๆมันทำอย่างไร   ในยามปกติเราคงทำไม่ได้เพราะขัดข้อตกลงกัน   แต่ในยามสงครามต้องสนใจหรือครับลิขส่งลิขสิทธิ์

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/06/2012 21:54:39


ความคิดเห็นที่ 23


    ส่วนข้อสงสัยว่า   ถ้าวันข้างหน้าชาติอื่นสนใจใน BTR-4 แล้วเราจะผลิตส่งได้อย่างไร  ก็เราผลิตแต่รุ่น BTR-3E1 นี่

    ลองนึกย้อนดูครับว่าบริษัทผลิตรถยนต์แต่ละจ้าวที่ตั้งฐานการผลิตในประเทศไทยเรานั้น   เปลี่ยนรุ่นกันกี่ปีครั้งครับ   แทบทุกปี   ดังนั้นขอบอกว่าเครื่องจักรที่ได้ลงทุนไปแล้วสามารถเปลี่ยนการผลิตไปผลิตรถรุ่นใหม่ได้ทันที   ขอให้ส่งแบบที่เข้าสู่สายการผลิตมาเท่านั้นก็ผลิตให้ได้ทันทีครับ    ถ้ายูเครนสามารถขาย BTR-4 ได้ในชาติเอเชียแถบนี้    ก็สามารถส่งคำสั่งการผลิตมาที่นี่ได้ครับ   ส่งเจ้าหน้าควบคุมมาคุมการผลิตตามแผนแบบใหม่ได้โดยใช้เครื่องจักรตัวเดิม 


       ส่วนระบบอิเลคทรอนิคที่ซับซ้อนและเครื่องยนต์ที่ซับซ้อน   และเรายังผลิตเองไม่ได้   ก็ต้องส่งมาจากต่างประเทศอยู่แล้วล่ะครับ    เพราะรถยนต์ที่เราใช้กัน  เครื่องยนต์และระบบส่งกำลังยังต้องนำเข้ามาอยู่ทุกวันแล้ว   แต่ชิ้นส่วนที่เหลือเกือบทั้งหมดผลิตเองอยู่ทุกวัน  

   ในยามสงคราม    เมื่อเรามีบุคคลากรพร้อมในด้านนี้   การก๊อปปี้มันก็ง่ายล่ะครับ   เครื่องจักรก็มีแล้ว  ก๊อปลูกเดียวเพื่อความอยู่รอดจากสงครามครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/06/2012 22:07:10


ความคิดเห็นที่ 24


    และการที่เราเลือกยูเครนร่วมหัวจมท้าย   ถือว่าทำการบ้านมาอย่างดีทีเดียวก่อนจะเอ่ยปากบอกกับทางยูเครน    เพราะไม่ใช่ชาติมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์ในภูมิภาคนี้(อเมริกา จีน อินเดีย รัสเซีย)     แม้ว่าจะอยู่ในกลุ่ม CIS ที่มีรัสเซียเป็นพี่ใหญ่   แต่ก็พยายามรักษาตลาดของตนและอิสระในการตัดสินใจในระดับหนึ่ง     ก็เหมือนที่ทอ.ไทยเลือกสวีเดน   แม้จะไม่อยู่ในกลุ่มนาโต้และวางตัวเป็นกลาง   แต่ระบบอาวุธกลับอิงตะวันตกเป็นอย่างมากมาย    ย่อมทำให้อเมริกาสร้างแรงบีบได้ระดับหนึ่ง    แต่สวีเดนเองก็มีอิสระไม่น้อยทีเดียวที่จะแสดงท่าทีต่อเรา   

    รูปแบบบอกเลยครับว่ามาทางแนวคิดของพวกเกาหลีใต้    SUMSUNG ทำไมต้องเลือก Thales ของเนเธอร์แลนด์   ทำไมไม่เลือกบริษัทฝั่งอเมริกาไปเลยล่ะในเมื่ออยู่ในความควบคุมของอเมริกา(มีฐานอเมริกันในประเทศ  แถมมีอาวุธนิวเคลียร์อยู่ในฐาน   เท่ากับเอาปืนจ่อหัว)   

    ถือว่าทบ. ทำการบ้านมาดีทีเดียว    ส่วนทอ.ทำไมเลือกสวีเดน   แสดงว่าทำการบ้านมาดีพอเช่นกัน    ส่วนทร.นี่ลำบากครับ   เพราะบอกตามตรงในใจผมอยากให้ทร.เลือก Thales เป็นพันธมิตรทางธุรกิจแบบที่เกาหลีทำ     แต่จะมีปัญหากับ SUMSUNG นี่สิครับ

   สภาพเศรษฐกิจยุโรปยำ่แย่อีกไม่น้อยกว่า 10 ปีแน่นอนครับ   ยูเครนจึงเป็นปลื้มถ้าได้เราเป็นพันธมิตร  เหมือนที่ Thales มี SUMSUNG เป็นพันธมิตร     แล้วสวีเดนล่ะครับก็อยู่ในทวีปยุโรป   ไม่ดิ้นเร่าๆหรือครับ   แน่นอนว่า SAAB ย่อมอยากได้พันธมิตรในกลุ่มประเทศที่กำลังรุ่งเรือง    ผมว่าเป็นโอกาสที่ดีมากที่เราจะร่วมลงทุนกับทาง SAAB แห่งสวีเดนมาก    แต่งบประมาณของทอ.และทร.เพียงเท่านี้ .... ฝันยากมากเมื่อเทียบกับ ทบ.ครับ

  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/06/2012 22:27:24


ความคิดเห็นที่ 25


ผมชอบความเห็นของคุณ neosiamese2  ครับ อ่านแล้วมีความหวัง มันเป็นบวก และ สามารถคิดอะไรต่อได้

แล้วก็ได้อ่าน ความเห็นที่ค่อนข้าง ออกไปทางลบ ในลักษณะข้อท้วงติง (ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริง)

 

ทำให้ผมนึกถึงการประชุมในที่ทำงานวันนี้ มีคนอยู่ 4 คน ไม่รวมผม (A,B and C)
หัวข้อเรื่อง ลดรายจ่าย ค่า ลิขสิทธิ์ ของ Server
A จะบอกว่า ใช้ window ดีอยู๋แล้ว สะดวก สะบาย ไม่เปรี่ยน ให้ตายยังไงก็ ไม่เปรี่ยน (ไอ้คนรากงอก)
B จะบอกว่า ให้เปรี่ยนเป็น Linux แล้วพวกเรา ไป train linux กันใหม่ทั้งทีม (เดิมใช้ window หมด)
C จะบอกว่า linux ไม่ดีอย่างโน้นไม่ดีอย่างนั้น จะเกิดปัญหาอย่างโน้น จะเป็นอย่างนี้ (ไอ้ขี้ติ)

เลยทำให้คิดได้ว่า การจะเปรี่ยนแปลง หรือการจะทำ project ให้สำเหร็จ ไม่ว่าจะเล็กใหญ๋ขนาดไหน
ก็ด้วยพลังของความคิดสร้างสรรค์ พลังที่เป็นบวก มีแต่พลังแบบนี้ ที่ทำให้โครงการต่างๆ สำเหร็จได้

โดยคุณ houi เมื่อวันที่ 20/06/2012 22:56:53


ความคิดเห็นที่ 26


ระเบิดมือเคยมีโครงการวิจัยมาแล้วแต่เกิดอุบัติเหตุจึงยกเลิกไป ระเบิดควันก็ผลิตได้เองตีตราRTA กระสุน5.56ก็ผลิตเองโดยกรมสรรพวุธผมกล้ายืนยัน เพราะสมัยผมเรียนร.ด.ปี45ก็ยังใช้กระสุนRTA กระสุนปืนใหญ่ลิงค์ที่ให้มาก็บอกไปแล้ว แถมยังได้มาตรฐานนาโตด้วย แล้วที่คุณpotmanบอกมาผมขอแก้ข่าวเลยว่ากระสุนเราไม่หมดคลังแน่นนอนเพราะเรามีโรงงานที่พร้อมในการผลิตเพียงพอแก่การใช้งาน ล่าสุดก็ยิงปืนใหญ่ไปเกือบๆ5หมื่นกว่านัดขณะที่อีกฝ่ายกระสุนหมดคลัง

โดยคุณ Akula เมื่อวันที่ 21/06/2012 00:11:24


ความคิดเห็นที่ 27


    ผมคิดอย่างนี้นะครับ

1. ให้เข้าใจการว่าการพึ่งพาตัวเองนั้นเป็นเรื่องที่ดีและผมก้เห้นด้วยเต็มที่ แต่ ที่ให้ดูนั้นเป็นการตั้งข้องสังเกตุ และมองให้รอบด้าน ถ้าจะมาพูด ว่า ทำตัวถังและโครงสร้างในไทย ชิ้นส่วนอื่นที่สำคัญ สั่งซื้อมาจากต่างประเทศอยุ่แล้ว(ความจริงมันก้เป้นอย่างนั้น) งั้นผมจะบอกท่านว่าจะลอกแบบเขาทำไม ในเมื่อความสามารถ ของบุคลากร ทบ.และคนของชัยเสรี ก็ ออกแบบโครงสร้างและตัวถังรถได้ดีอยุ่แล้ว

 2.ผมก็ไม่เห็นว่า ทร.จะลำบากตรงไหน หรือ เลือกผิดตรงไหน ในแง่ของการสร้างและพัฒนาอาวุธ  แต่ถ้าเรื่อง งบนี้ใช่ คือลำบากเพราะ ผมมองว่ามันยังน้อยไป  (ส่วนตัวทร.เลือก ออกแบบเรือเองในหลายๆ รุ่น กลับดีกว่า ส่วนอื่นด้วยซ้ำไป เพราะมันจะย้อมไป หาข้อ1. ที่ผมว่า คือยังไงก็ต้องซื้อ อุปกรณ์อื่นๆ งั้นตัวแบบ ควรทำเอง)

ปล.การเห็นแย้ง มันไม่ได้ แปลง ว่าเป้นคนที่ไม่คิดบวกนะครับ มันเป้นการมองหาทางที่ดีกว่าหรือเหมาะสมกว่า ถ่าท่าน  houi    จะว่าผมว่าตรงๆได้เลยครับ ผมไม่คิดมากอะไร คือใจกว้างพอ แต่ ใครก้ตาม พูดในลักษณะ เสียดสี กระแนะกระแหนะ ประชัดประชัน ไม่ว่ากับเพื่อนๆ คนไหน ในบอร์ดแห่งนี้ อันนี้ ส่วนตัวแล้วผมไม่ค่อยชอบ

ปล.2 ถ้าผมเข้าใจอะไรผิดไป ก้ต้องขออภัยท่านทั้งหลายไว้ด้วยนะครับ  ด้วยความเคารพครับผม  ... ขอบคุณครับ

ปล.3 อันนี้แถมกลัวจะไม่รู้ ผม เล่นบอรืดนี้มานานแล้วครับพุดกับผมตรงๆได้(กลัวไม่รู้)   แค่พักหลังผม อ่านอย่างเดียวไม่ค่อย คอมเมนต์  พอเมน ที ก็มีความรุ้สึก เหมือนโดนแขวะ ซะงั้น อิอิ

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 21/06/2012 00:26:27


ความคิดเห็นที่ 28


อันนี้ แถม เป็นความรู้ทั่วๆ ไป สำหรับเพื่อนๆ ที่อาจจะไม่ทราบ   สวีเดนเป้นประเทศในทวีป ยุโรป แต่ ไม่ได้ร่วมใน EU นะครับผม

ส่วนการสมมุติ สงคราม จะเห็นจากเพื่อนๆ เราหลายท่านจะสมมุติภัยคุกคราม(น่าจะสะกดถูก) เป็นประเทศเพื่อนบ้านเราผมว่าก็ไม่ผิดนะครับ อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้นเพราะไม่มีอะไร แน่นอน 100 เปอร์เซน แต่ ถ้าให้ผมพูดนี้ คงไม่มีสงครามใหญ่ระหว่างเรา กับ เวียดนาม/พม่า/มาเลย์

มีบทความหนึ่งหน้าสนใจ อยากให้เพื่อนๆลองอ่านดูใน Topgun เล่ม 169  กองทัพกับการก้าวเข้าสู้ความเป็นประชาคมอาเซียน โดยคุณ ศนิโรจน์ ธรรมยศ

อาจจะทำให้เข้าใจอะไรหลายๆอย่างมากขึ้น

  1.ต้องยอมรับว่าประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศเรายังขาดความเข้าใจที่ดีพอในเรื่องนี้นะครับ

  2.ทราบไหมว่า หลัง ปี 2558 ลุกหลาน เราที่เกิด จะถือสัญชาติ อาเซียน

  3.ทราบไหมว่า กองทัพ จะต้องใหญ่ขึ้น กลายเป้นกองทัพ อาเซียน

 เอาง่ายๆว่า สามเสาหลัก ก็คือ ด้านการเมืองการทหาร  ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม  รายละเอียดไปอ่านเลยนะครับ

ปล.หลายๆประเทศ เขาเข้าใจและเตรียมพร้อมแล้ว เราเตรียมตัวหรือยัง  ต่อไปหน้าบ้านคุณ จะมี รถ จาก ลาว เวียดนาม กัมพูชา มาเลย์ พม่า และอื่นๆ อีก วิ่ง ผ่าน นี้แค่ยกตัวอย่างนะครับ...

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 21/06/2012 00:42:00


ความคิดเห็นที่ 29


ขอแก้ไขการให้ ข้อมูลผิดๆนะครับ เรื่องสวีเดน เป็นประเทศ 1 ใน 27 สมาชิก สหภาพยุโรป ครับผม (ผิดเต็มๆเลย เชื่อคนมากกว่าหนังสือนี้)

ปล.ปกติว่างๆ ผมจะนั่งคุยกับเพื่อนชาวต่างชาติ มันก้ดันบอกว่าสวีเดนไม่ใช่ ..55

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 21/06/2012 00:49:06


ความคิดเห็นที่ 30


เป็นข่าวดีครับ เป็นข่าวดีมาก ๆ ด้วย

โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 21/06/2012 07:54:48


ความคิดเห็นที่ 31


พวก สแกนดิเนเวีย ไม่ได้เข้าร่วม กับ สหภาพยุโรปครับ(อังกฤษก็เช่นกัน) ดูง่าย ๆ จากสกุลเงินครับ...ประเทศที่ไม่เข้าร่วม จะใช้สกุลเงินของตัวเอง ไม่ได้ใช้เงินสกุล EURO

ก๊อปจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ต๊ะกี้นี่เอง


โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 21/06/2012 08:00:04


ความคิดเห็นที่ 32


เรื่องสกุลเงินนั้น สหราชอาณาจักร(ซึ่งประกอบไปด้วย อังกฤษ ไอร์แลนด์เหนือ เวลส์ สก็อตแลนด์) และสวีเดน ไม่ได้ใช้สกุลยูโร แต่ยังใช้สกุลเงินของตัวเองถึงแม้ตนจะเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปก็ตาม แต่จำไม่ได้ว่าเพราะเหตุใดถึงไม่ใช้สกุลเงินร่วม 

อ้างอิงจาก : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%AB%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9B

โดยคุณ icy_CMU เมื่อวันที่ 21/06/2012 08:23:30


ความคิดเห็นที่ 33


    ชอบใจท่าน Akula เม้นท์มา  คราวล่าสุดเรายิงไป 50000 กว่านัดโรงงานในประเทศพร้อมผลิตป้อนมิได้ขาด   แต่ทางโน้นกระสุนหมดคลัง     55555    นำบทเรียนผิดพลาดในอดีตมาแก้ได้ดีครับ   คราวซดกับเวียตนามนี่ถ้าไม่ได้มาเลย์ช่วยส่งกระสุนให้นี่ท่าจะแย่  

 

    ข้อสงสัยในเรื่องทำไมในเมื่อมีความพร้อมแล้วถึงไม่สร้างยี่ห้อตนเองใช้เองซะเลย  ทำส่งออกเองซะเลย

          "ความยากอยู่การทำแบรนเนมให้ติดตลาดครับ"

จริงอยู่ที่อาวุธไม่ใช่สินค้าบริโภคทั่วไป     การสร้างควรคำนึงถึงความต้องการของกองทัพเพื่อการป้องกันประเทศโดยตรง      ถ้าสร้างมาแล้วตรงความต้องการและใช้งานได้ดีในพื้นที่ของตนก็สร้างมา     แต่มันจะยากตรงนี้ครับ

     เมื่อสร้างเข้าประจำการจนครบจำนวนที่ต้องการแล้ว   สายการผลิตทั้งหมดจะยุติลงครับ   และกว่ากองทัพจะมีความต้องการใหม่อีกก็ไม่น้อยกว่า 20 ปี   ดังนั้นต้องปลดคนงาน  เครื่องจักรและโรงงานก็ต้องปิด   20 ปีข้างหน้าเครื่องจักรเหล่านั้นก็หมดสภาพใช้งานหรือล้าสมัยเปลี่ยนเทคนคิการผลิตไปแล้ว  

   ทำไงล่ะทีนี้    ง่ายๆก็สร้างแบรนเนทส่งออกขายเลย   

ในตลาดสินค้าโภคภัณท์   เรื่องการสร้างแบรนเนมนั้นอย่างยากเลยครับ   แม้ว่าลูกค้าทดลองใช้แล้วก็ตาม   ความน่าเชื่อถือของยี่ห้อสินค้านี่สำคัญมากๆเลยครับ    ยี่ห้อใหม่กว่าจะตีตลาดได้ใช้เวลายาวนานและมีการทำการพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง   ซึ่งตอนแรกๆที่ขายไม่ดีนั้นจะต้องถมเงินลงไปเรื่อยๆกับการพัฒนาคุณภาพและเทคโนโลยีครับ    สายป่านไม่ยาวจริง  เจ้งสถานเดียว     พอติดตลาดแล้วงานก็จะเริ่มง่ายครับ

    ยิ่งสินค้าประเภทอาวุธ   ความน่าเชื่อถือได้จากการใช้งานจริงในสงคราม    ซึ่งทั่วโลกก็มีความพยายามจริงจังไม่ให้มันเกิด    แล้วเราจะทดสอบอาวุธใหม่ของเราให้โลกได้เห็นจะๆกันว่ามันเจ๋งจริงอย่างไรล่ะครับ   เพราะเราไม่ใช่ชาติมหาอำนาจ   ถ้าดันไปส่งอาวุธสนับสนุนให้ชาวโลกรบกันเพื่อสร้างการการันตีว่าอาวุธเราเจ๋งจริง   โดนทั่วโลกประณามแหลกครับ     ดังนั้นอาวุธที่ชาติมหาอำนาจเอาไปใช้จริงในสมรภูมิแล้วเท่านั้นจึงการรันตีได้ว่าดีจริง

   

  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/06/2012 12:06:33


ความคิดเห็นที่ 34


    ทางออกสำหรับบริษัทผลิตสินค้าโภคภัณท์ที่ไม่อย่างเสี่ยงกับการทำแบรนเนมเอง   นิยมกันมากที่สุดและง่ายที่สุดคือ    รับจ้างผลิตให้แบรนเนมสำคัญดังๆ 

        เบรนดังๆนั้น   เมื่อมียอดขายทะลัก   ก็มักจะผลิตไม่ทันขาย   จึงมีการจ้างโรงงานในท้องถิ่นนั้นๆให้รับจ้างผลิตสินค้าของตนแทน   โดยการประกวดว่าโรงงานใดผ่านเกณของตน   แล้วโรงงานที่ผ่านเกณท์ก็ต้องมาเลือกอีกทีว่าโรงงานไหนเหมาะสมที่สุด    แล้วจึงให้ผลิตสินค้าของตนโดยส่งคนเข้าควบคุมการผลิต

     ดีกับทั้งสองฝ่าย   โรงงานที่สร้างแบรนตัวเองไม่ได้   แต่เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้ตลอดเวลาคุ้มค่าเงินลงทุนและยังได้เทคนิคจากแบรนดังมาเสริม   ส่วนแบรนดังไม่ต้องเสี่ยงเพราะไม่ต้องลงเงินตั้งโรงงานเอง win win ครับ

    บริษัทรับจ้างผลิตก็จะมีข้อเสี่ยงที่ว่าเมื่อไหร่ที่ยี่หัอดังไม่ส่งออร์เดอร์มา   เจ้งครับ    ดังนั้นบริษัทรับจ้างผลิตก็ต้องพยายามสร้างแบรนของตนเองขึ้นมาครับ   ซึ่งต้องใช้เวลานานทีเดียวกว่าเบรนจะติดตลาด    ระหว่างนั้นก็รับจ้างผลิตให้เบรนดังต่อไป    ถ้าเบรนดังไม่พอใจที่ทำตลาดสินค้าประเภทเดียวกันแข่งก็อาจจะไม่ส่งออร์เดอร์ได้    วิธีแก้ก็มักจะผลิตสินค้าที่ใช้ควบคู่กับของแบรนดัง    หรือผลิตสินค้าที่ต้องใช้เทคนิคผลิตเดียวกันเครื่องจักรเดียวกัน   แต่สินค้าใช้งานคนละประเภทแทน 

    พอแบรนตนเองเริ่มติดตลาด   ก็มักจะเลิกรับจ้างผลิตให้แบรนดังแล้วทุ่มให้แบรนตนเองเต็มที่ครับ

 

  รับจ้างผลิต BTR-3E1  ไปก่อนเป็นทางเลือกที่ถูกต้องครับ   แล้วค่อยๆส่งแบรนที่ตนเองผลิตเข้าสู่ตลาดภายให้    ถ้าไม่ให้ทะเลาะกับยูเครน    เราก็อาจจะผลิต 4x4 แบบ firstwin หรือยานสายพานตีนตะขาบ   หรือรถถังเบา แบรนตัวเองมาตีตลาดแทน  แต่ BTR-3  BTR-4   Oplot ก็ยังผลิตอยู่     ไม่ต้องไปทะเลาะกับทางยูเครนด้วยครับ   เป็นพันธมิตรที่ดีต่อกัน


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/06/2012 12:27:46


ความคิดเห็นที่ 35


นั่นแหละครับ ผมเห็นแบบ คุณนีโอสยาม ว่าน่าจะไปในแนวทางนั้น เพราะกองทัพบกไม่ควรจะต้องตั้งโรงงานผลิตเอง แต่การดึงพันธมิตรที่มีแบรนด์ในตลาดมาสร้างในประเทศนั้นย่อมได้ประโยชน์กว่า โดยอาจจะให้เอกชนในไทยที่มีศักยภาพและประสปการณ์ในการผลิตเป็นผู้ถือหุ้นร่วมเพื่อศึกษาเทคโนโลยีและพัฒนาต่อยอดเองในอนาคต เพื่อลดความเสี่ยงหากบริษัทผู้ผลิตจากยูเครนประสบปัญหา ไม่จำเป็นว่ากองทัพบกจะต้องจัดหาจากผู้ผลิตจากโรงงานทุกรุ่นแต่เราสามารถร่วมสร้างผลผลิตส่งออกได้ ผมจึงเคยกล่าวว่า ผมพอใจในประสิทธิภาพของรถแต่พอใจมากกว่าหากรถแบบนี้ผลิตในประเทศได้ แต่ไม่สนับสนุนให้กองทัพผลิตเอง

แต่ทั้งนี้เรื่องนี้อยู่ในเรื่องของการพูดคุยถึงความเป็นไปได้เท่านั้น จึงยืนยันไม่ได้ว่าจะเป็นอย่างไร มีข้อตกลงแบบไหน แต่อย่างน้อยทั้งกองทัพบกและยูเครนก็มีแนวความคิดเชิงบวกครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/06/2012 12:49:53


ความคิดเห็นที่ 36


    ล๊อคเล่ย์มีความพร้อมสูงสุด   รองมาก็ชัยเสรี  

    ส่วนอุตสาหกรรมอากาศยานนั้นใช้วิธีโมเดลเดียวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ทำสำเร็จมาแล้วเป็นแนวทางที่ดีที่สุดครับ   โดยเฉพาะเครื่องบินพานิชย์ให้ต่างชาติที่มีความพร้อมเข้ามาลงทุนผลิตที่นี่   เราแค่รับจ้างผลิตไปก่อน    โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทุนญี่ปุ่นที่มีโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์อยู่ในไทยอยู่แล้ว   เพราะสามารถปรับเครื่องจักรในโรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ให้ทำการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานได้

    ส่วนงานซ่อมและผลิตอากาศยานทหาร   ให้การบินไทยรับงานซ่อมเครื่องเอกชนไป  เครื่องทหารก็ TAI รับไปทั้งซ่อมและผลิต    โรงงานก็รับจ้างบริษัทผลิตเครื่องบินทหารชั้นนำผลิตให้เหมือนโรงงานของ KAI และ HAL ทำไป    เรามีความพร้อมในด้านพื้นฐานอุตสาหกรรมอากาศยานอยู่ในระดับสูงกว่าทางอินโดนีเซียด้วยซ้ำครับ

   อินโดนีเซียเรียรู้แล้วว่าทำเอง  สร้างแบรนเองนั้นหนักหนาสาหัสเช่นไร  IPTN เจ้ง   คราวนี้เรียนรู้เร็วและพยายามร่วมมือกับทาง KAI ครับ   หาพันธมิตรร่วมหัวจมท้ายกัน     

   ในภาคของอากาศยานพานิชย์เอกชน  ผมสนับสนุนญี่ปุ่นเต็มที่ครับ   โดยเราไม่ต้องผลิตแข่ง  แค่ออกกฎหมายอำนวยความสะดวกเท่านั้น   

  ในส่วนกิจการอากาศยานทหาร TAI ควรเป็นหัวหอกและควรให้มีการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์หรือหาเอกชนที่ไม่ใช่รัฐวิสาหกิจเข้าร่วมทุน   พันธมิตรผมมองไปที่ SAAB  เป็นเจ้าแรกครับ   เจ้าอื่นๆก็อาจจะเป็น ล๊อคฮีต  ซูคอย  BAE  ก็ได้ครับ  

    เราเป็นศูนย์กลางการบิน    ศูนย์กลางผลิตชิ้นส่วนยานยนต์   อุตสาหกรรมยาง   ถลุงอลูมิเนี่ยม  อลูมิเนียมผสม   ผู้ผลิตเส้นใยคาร์บอนยักษ์ใหญ่ติดระดับเอเชียและในระดับโลก   ขาดแต่โรงงานถลุงไทเทเนี่ยม    แต่เราสามารถพึ่งเวียตนามได้ในเรื่องนี้   เพราะเท่าที่ทราบเวียตนามมีแหล่งสายแร่ไทเทเนี่ยมอยู่และมโรงงานถลุง    

   อุตสาหกรรมอากาศยานอยู่แค่อื้มเองครับ  ......  ที่เหลือก็ขึ้นกับผู้มีอำนาจในบ้านเมืองเท่านั้น


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 21/06/2012 15:28:42


ความคิดเห็นที่ 37


อ้าว ขึ้นฟ้าไปซะแล้ว ถ้าเรื่องการรับซ่อมบำรุงอากาศยานนั้น ผมมีความคิดเห็นต่างจาก คุณนีโอสยาม ตรงที่ว่า การบินไทยนั้นเป็นธุกิจการให้บริการด้านการบินขนส่ง ซึ่งแน่นอนว่าต้องมีศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานของตนเองอยู่ การให้รับงานซ่อมบำรุงจากที่อื่นด้วยนั้นไม่เหมาะนัก เพราะไม่ใช่บริษัทที่ทำธุรกิจว่อมบำรุงอากาศยานโดยตรง ต่างจาก TAI ที่ทำธุรกิจด้านนี้โดยเฉพาะ ก็ให้รับงานทั้งของหน่วยงานราชการและเอกชนไปเลยครับ เป็นการเพิ่มงานเพิ่มรายได้เข้าบริษัทได้ ก็ย่อมมีกำไรมีทุนในการขยายกิจการเพิ่มเติม ส่วนเรื่องของการผลิตเครื่องบินในประเทศส่วนตัวอยากให้เน้นไปที่แนวทางการส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานก่อนจะดีกว่าครับ โดยเฉพาะของเครื่องบินธุรกิจหรือโดยสาร อย่างเคยได้ข่าวว่า บริษัทโรลสรอยซ์จากอังกฤษสนใจในการตั้งโรงงานผลิตเครื่องยนต์อากาศยานและชิ้นส่วนในไทยนั้นน่าสนใจครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 21/06/2012 16:43:43


ความคิดเห็นที่ 38


พิมพ์ซะยาว เออเรอ เซ็งเลย.... งั้นเอาสั้นๆ ไปแล้วกันครับ

 ผมเห็นด้วยนะถ้าจะสร้างเองโดยการร่วมมือกับเอกชน ซึ่งควรเป็นเอกชนไทยอีกอย่าง ถ้าว่าจะสร้างเพื่อส่งมากให้กองทัพ ซึ่งมีความต้องการอีกจำนวนมาก ผมว่าเอาแบบนี้ดีไหม จะบินไปไกลทำไมถึงยุเครน(หนีร้อนไปพักผ่อนอารมญ์อันนี้ ไม่ว่ากันครับ...อิอิ) ข้างบ้านเราก็มีผลิตและสร้างกันอยุ่ มาเลยมาคุยกัน

อาเซียนใครเอาด้วยเอาด้วยแบบไหน จะลงทุนในการวิจัยด้วยไหม หรือ ร่วมแบบไหน ที่นี้พูดเรื่องจำนวน ใคร ต้องการเท่าไหร่(สมมุติ) พี่ไทย 1000/พม่า 1000/เวียดนาม 1000 /มาเลย์800/อินโด 1200 สิงค์ 500 อื่นๆ ลาว /กัมพูชา ไหนๆ ก็จะเป็นอาเซียนแล้ว รถเกราะ อาเซียนเลยเป็นไง ภูมิภาคเรา เรารู้ดี คนเราเรารู้ดี ความต้องการ การใช้งาน ตรงเป้าเข้าจุด แบบนี้ดีกว่าไหม  ผลิตเยอะใช้ ของ แบบเดียวกัน ชิ้นส่วน และจำนวนการผลิต สบายเลย...

ปล.ประชาคมอาเซียนเกิด ยังไงก็ต้องมีกองทัพอาเซียน  คนอื่นกลัวที่มันจะเกิดขึ้นจริง แต่เราอย่ากลัวความจริงที่มันจะเกิด 

ปล.2 AS01 A1 อันนี้เป็นระหัสเรียกยานเกราะ โมเดลแรกของอาเซียนนะครับ 555.. อย่าถามผมนะ ว่าจะต้องทำไงบ้าง เพราะเพื่อนๆ หลายท่านรู้วิธีมากกว่าผมซะอีก นี้เป็น แนวคิดนะครับ  กองทัพอาเซียน กองกำลังอาเซียน จะเรียกยังไงก็แล้วแต่ ฟังดูน่ากลัว ทั้งนั้นครับ

ปล.3 ปี 58 ผมจะขับรถไปซะให้ทั่วเลย อิอิ

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 22/06/2012 00:16:09


ความคิดเห็นที่ 39


เรื่องจะร่วมทุนสร้างโรงงานกันได้หรือไม่อันนี้เอาไว้ก่อนนะครับ แต่ที่ผมอยากจะถามง่ายๆเลย สมมุติเราตั้งโรงงานร่วมกันเค้าได้จริงๆ BTR-3 เราอยากจะเปลี่ยนประตูจากด้านข้างมาเป็นด้านหลัง ทำได้เหรอครับ ผมว่าทำได้ก็แปลกอะ จะทำอะไรที่หนึ่งก็ต้องรอเค้าพยักหน้า แล้วบ้านเราก็ต่างจากบ้านเค้า อาวุธก็น่าจะต่างกัน คนใช้ก็ต่างกัน เอาแบบเค้ามาผลิตเสียแรงตั้งโรงงานเองครับ แต่ถ้าจะเอาแบรนด์ BTR-3 เป็นตัวโปรโมท แล้วเน้นจะแทรกรถไทยเข้าด้วย(แบรนด์คิดว่าไม่ค่อยมีผลอะ ไม่สู้ออกแบบให้เหมาะกับภูมิภาคเรา ประจำการใช้ให้เค้าดู ทำให้มันถูก ให้ใช้ง่ายซ่อมง่าย เครื่องเบนซ์ที่ใช้ในเขตหนาวยุ่งยากเปลี่ยนเป็นเครื่องยันม่าร์ก็ยังได้) ไม่สู้เน้นรถไทยตั้งแต่ทีแรกเลยอะครับไปรวมทุนทำไม จริงๆทีผมคิดโรงงานที่จะรวมทุนกันนี้ควรตั้งโครงในการผลิตรถแบบใหม่ไปเลยโดยเรารวมออกแบบด้วย(จะได้ไม่
ต้องมาซ้ำใจเรื่องลิขสิทธิ์อีก) หรือไม่ก็ไม่ต้องไปรวมกับเค้า ทำมันซะเองเลยจะสบายใจกว่า คิดกันง่ายๆเลย ถ้าไทยต้องการคงกำลังรบประเภทยานเกราะ 1000 คัน อายุการใช้งาน 20 ปี ก็ตั้งโรงงานขนาดผลิตให้ได้ ปีละ 50 คัน(จะตั้งใหญ่เกินตัวไปทำไม เพราะตรรกะสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คิดว่าปัจจุบันมันใช้ไม่ได้แล้วอะ) ทั้งซ่อมบำรุงด้วย อัพเกรดด้วย แค่นี้เราก็ทำกันไม่ทันแล้วอะครับ(เพราะถึงจะสั่งจากเค้าก็ไม่เห็นเค้าจะทำได้ทันเลย) เรื่องจะขายให้ชาวบ้านก็ค่อยๆเป็นๆแค่ๆไปสิครับ แล้วพวกยานเกราะคิดว่าประเทศที่จะสั่งซื้อมันก็เหลือไม่เยอะแล้วจากแต่ก่อน(เหลือแถวๆนี้นั้นแหละ)เพราะชาวบ้านเค้าเริ่มทำกันใช้เองแล้วเพราะมันเป็นอาวุธจำพวกพื้นฐาน

แล้วถึง คุณ Akula

ผมก็ยืนยันนะครับว่า กองทัพไทย เราซื้อกระสุนปืนเล็กจากภายนอกทุกขนาดและทุกปีครับ(ส่วนปืนใหญ่ผมไม่ทราบนะครับ) เอาตัวหลักๆ 5.56 ก็เห็นซื้อกันมาทุกปีครับ(เท่าที่รู้มา ปี 53-54 ก็ 50-60 ล้านนัดแล้ว เดาปีหนึ่งไทยใช้ 50 ล้านนัดเองมั่ง เดาว่าปกติมนุษย์เราจะต้องพัฒนาตัวเองขึ้น แสดงว่าช่วงก่อนน่าจะหนักกว่านี้อีก) ไม่รู้ว่าที่ยังต้องซื้อเข้ามาอีกทั้งที่บอกว่าตัวเองผลิตได้เหลือเฟือมันจะมีเหรอครับ แปลกจริงๆ(ใครมีข้อมูลแน่ชัดช่วยเอามาลงทีนะครับ เหมือนผมเคยอ่านลิสต์จัดซื้อของ ทบ.มาจากพวก ศูนย์ข้อมูลอะไรนี้แหละ) แล้วจะด้วยอะไรก็แล้วแต่ ผมว่าเราน่าจะทำในส่วนที่เป็นพื้นฐานให้มันดีซะก่อนจะไปเริ่มส่วนที่มันใหญ่กว่าอะครับ ส่วนเรื่อง 5 หมื่นนัด ถ้าไปเชื่อ เฮียฮุนเซน เค้าซะหมดผมก็ไม่รู้จะว่ายังไงแล้วอะครับ ที่บอกว่าเรา ยิงปืนใหญ่ถล่มเค้ากว่า 5 หมื่นนัด(คิดว่าน่าจะเป็นลูก BBgun หรือเปล่า) อย่าว่าแต่หลักหมื่น หรือหลักพันเลยครับ เพราะจริงๆมันน่าจะแค่หลักร้อย เพราะเด๋วนี้ระบบอำนวยการยิงของทหารปืนใหญ่เค้าดีขึ้นมากครับ(คือไม่ต้องยิงสุ่มแบบเมื่อก่อน) แถมไม่ได้ยิงกันตลอด ที่ผมบอกจะหมดจะหมดคราวนี้ น่าจะเป็นปืนเล็กมากกว่า

ปล.คลิปนี้ขำๆนะครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 22/06/2012 09:46:35


ความคิดเห็นที่ 40


ขอแก้ต่างนิดนึงครับ คุณpotmon ข้อแรก หากมีการร่วมทุนตั้งโรงงานแล้วเราจะเปลี่ยนแบบรถเค้าบ้างหากไม่ใช่การเปลี่ยนแบบเลอะเทอะเค้าคงไม่ว่าอะไรหลอกครับอาจจะแค่ขอคำแนะนำปรึกษากันนิดหน่อย เพราะปกติเค้าก็ให้ปรับเอาใจลูกค้าอยู่แล้ว ที่ใหนเค้าก็ทำกันไม่งั้นรถคงไม่มีหลายเวอร์ชั่นของแต่ละประเทศ เอาง่ายๆอย่างโรงงานผลิตรถยนตร์ในบ้านเราเวอร์ชั่นส่งออกกับที่ขายในประเทศยังไม่เหมือนกันเลย เพราะยังไงคนขายของลูกค้าคือพระเจ้าครับ(เว้นพี่กันนะอิๆ)

  ข้อสอง เรื่องกระสุนที่ว่าเราซื้อนะผมไม่แน่ใจว่าข้อมูลของคุณpotmonหมายถึงเฉพาะของกองทัพหรือทั้งประเทศ เพราะจริงๆการซื้อลูกปืนมาใช้นี่ทั้งหนว่ยงานอื่นและเอกชนเค้าต้องซื้อมาเช่นกันเพราะไม่สามารถซื้อจากองทัพได้ ตรงนี้ผมเดานะครับไม่มีข้อมูล

ข้อสาม การยิงปืนใหญ่ อันนี้ท่านspookyน่าจะตอบได้ชัดเจนกว่า แต่เท่าที่ผมทราบแม้ระบบการกำหนดพิกัดปืนจะมีความแม่นยำยังไงมันก็ไม่100%ครับเวลายิงเป้านึงเค้าเลยยิงกันเป็นชุดกันพลาดเพราะมันมีปัจจัยอื่นๆที่คาดการลำบากทั้งกระแสลมอะไรนี่หรือบางลูกอาจด้านซึ่งเราไม่อาจรุ้ได้การยิงเป็นชุดหรือปูพรมจึงยังจำเป็นอยู่จึงไม่แปลกหากจะใช้จำนวนมากขนาดนั้น

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 22/06/2012 15:13:45


ความคิดเห็นที่ 41


   

    ขอยืนยันในฐานะพ่อค้าและคนค้าขายครับว่า

           " แบรนเนม เป็นสิ่งสำคัญลำดับต้นๆในการตลาดครับ "

 

  คนที่เรียนจบบริหารการตลาดและทำงานฝ่ายการตลาดกับบริษัทใหญ่ๆโดยตรงจะเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีครับ    คนที่ค้าขายและพยายามสร้างชื่อในวงการค้าจะเข้าใจอย่างชัดแจ้งว่า แบรนเนทสำคัญขนาดไหนครับ

     คนที่ไม่ได้ทำงานด้านสาขานี้หรือเรียนมาก็ย่อมไม่เข้าใจและเห็นความสำคัญเป็นธรรมดา    ผมถึงบอกว่าการเดินเครื่องจักรทำโรงงานและผลักดันธุรกิจอุตสาหกรรมทหารควรเป็น

    พ่อค้าขายอาวุธและภาคเอกชนเท่านั้น

ไม่ให้ร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจด้วยกันเอง   รัฐและกองทัพต้องไม่ทำด้วยตัวเอง    เพราะคนในวงการเหล่านั้นไม่ใช่พ่อค้าครับ   ย่อมไม่เข้าใจในเรื่องการตลาด   การตั้งโรงงาน  การบริหารจัดการผลิต   ควรอย่างยิ่งให้ผู้เชี่ยวชาญทำ  

 

    ถ้าให้ผู้ไม่รู้ในด้านนั้นมาทำ   มันก็เหมือนกับเอานักการเงินมาผลิตเครื่องบิน    เอานักกฎหมายมาเป็นหมอรักษาคนไข้ครับ   


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/06/2012 21:32:17


ความคิดเห็นที่ 42


     ไอเดียของท่าน series VII  คือ    ไอเดียที่ยุโรปกำลังทำอยู่สินะครับ   เช่น  เครื่อง  ยูโรไฟเตอร์ 2000   เรือฟรีเกต FREMM  และกลุ่มอุตสาหกรรม  EADS  ที่รวมเอาบริษัทผลิตอาวุธชั้น นำในยุโรปมารวมตัวกัน

      แต่ความเหนียวแน่นของกลุ่มอาเซียน  ความไว้วางใจต่อกัน  และการที่แต่ละประเทศมีชาติมหาอำนาจถือหางและคอนโทรลอยู่   มันทำให้สิ่งเห่านี้ของอาเซียนช้าลงไปอีกนานโขเลยล่ะครับกว่าจะถึงจุดนั้น   ผมคงแก่หงำเหงือกไปก่อนแล้ว    แต่ไม่ใช่จะเป็นไปไม่ได้ครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 22/06/2012 21:42:09


ความคิดเห็นที่ 43


ผมแปลกใจมากครับ..ที่คนไทย และคนในเวบ TFC รวมท่านนายทหารๆ ทั้งหลาย มีความรู้สึกว่าไอ้รถหุ้มเกาะ

แบบ BRT-4 หรือแบบไหนก็ตาม..นี่ละนะ มันลึกลับ..มันสร้างยากสร้างเย็น  มันมีเทคโนโลยี่ที่พิศดารพันลึก แบบสุดๆ เลย

สำหรับผมแล้ว หากมันไม่ได้ใช้ระบบ "สเตบิไลเซอร์" เหมือนรถถังที่ราคาสุดจะหยั่งถึงได้แล้ว มันหมูมากๆ นะครับ

การทำรถกระบะบรรทุกยังยุ่งยากกว่าครับ  แล้วอีกอย่างหนึ่งโรงงานรถเกาะมันก็แค่โรงงานประเภท ตัด เชื่อม กลึง คว้าน  เจียร ไส

ตัด พับ ธรรมดานี้เองครับ กระบวนการผลิตก็เป็นแบบ Cell Production ไม่ใช่ Line Production ซักกะหน่อย ไม่จำเป็นต้องผลิตเยอะก็ได้

หรือมีโรงงานที่จงใจสร้างมาแบบเฉพาะเจาะจงอย่างที่พวกเราคิด มีแค่เครื่องตัดพลาสม่าร์ใหม่ๆ ซักตัว ที่ควบคุมด้วย CAD-CAM

จะได้สั่งตัดแผ่นเหล็กจาก แบบดีไซด์ได้เลยครับ ไอ้ตัวนี้แหละสำคัญมากๆ ทำให้งานยากกลายเป็นงานง่ายๆ  ไม่ปวดกะบาน

เครื่องเชื่อมเหล็กหนา เหล็กบางอีกซัก 20 ตัว  ใช้อาคารที่ไหนก็ได้ที่มีเครนวิ่งขนาด 15 ตัน ซักตัว 2-3 ตัว ก็พอแล้ว

อย่าลืมนะครับว่า "โรงงานผลิตรถหุ้มเกาะ ไม่ใช่ โรงงานผลิตเครื่องยนต์ ไม่ใช่โรงงานผลิตลูกปืน Bearing หรือ สลักเกลียวอะไร"

และก็ไม่ใช่โรงหล่อโลหะอะไรอีกด้วย  สิ่งต่างๆ ต้อง "เอ้าซ๊อต" ทั้งนั้นแหละ ครับ.....

(ผมไม่ใช่คนเวอร์...นะครับ ที่กล่าวมานี้วิศวกร โรงงานที่เน้นงานเครื่องกลมาโดยตรง มองทะลุได้ทุกคนครับ)

   

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 23/06/2012 00:17:32


ความคิดเห็นที่ 44


เรื่องมาตรฐานจะเอาค่า Precision ขนาดไหนก็ว่าไป เรื่อง SPEC แผ่นโลหะจะเอาสุดวิเศษขนาดไหนก็หาซื้อได้ครับ

มีผู้พร้อมจะอิมพอร์ท มาส่งให้ท่านถึงโกดัง สร้างรถหุ้มเกาะแห่งนี้เลยครับท่าน

ว่าแต่ท่านจะใจถึงที่จะทำมันหรือเปล่า เท่านั้นเอง........

ชิ้นส่วนขับเคลื่อนมีผู้ผลิต...ผู้ขายอยู่แล้วครับ จะเลือกเอาแบบพลเรือน หรือแบบทหารก็ได้ หรือจะเอามาผสมพันธ์กันก็ได้ครับ

ตัวเพลาส่งกำลัง  ตัวดุมล้อ มีให้เลือก อยู่ทั่วโลก  เลือกกันจนตาแฉะเลยละ ครับ ท่านๆ ทั้งยุโรป ญี่ปุ่น อเมริกา รุสเซีย

อินเดีย  จีน ฯลฯ ...... เพียงรู้จักใช้คนให้ถูกกับงาน หรือใช้งานให้ถูกกับคนเท่านั้นเอง

แต่...เอ..  ทำไม..คนของเราชอบซื้อจากต่างประเทศ จัง...และมองคนกันเอง ว่าไร้น้ำยา  แล้วเมื่อไร จะพึ่งตัวเองได้กันซักกะที ละที่นี้

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 23/06/2012 00:57:24


ความคิดเห็นที่ 45


ขอแก้คำผิดครับ

จากคำว่า "รถเกาะ" เป็น  "รถเกราะ"  ครับ

ขอเพิ่มอีกประเดนครับ....

สำหรับเรื่องระบบ "สเตบิไลเซอร์" ที่ใช้ในการควบคุมระดับและทิศทางปืนใหญ่ ของรถถัง นั้นมีราคาแพงมากครับ

ราคามันมากกว่าราคาตัวรถหุ้มเกราะเสียอีกครับ  มันจึงไม่นิยมนำมาใส่ในรถหุ้มเกราะ ครับ

 

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 23/06/2012 01:34:06


ความคิดเห็นที่ 46


คุณ neosiamese2  เข้าใจผมถูกต้องแล้ว ครับ แต่ ผมมองว่า มีหลายปัจจัยที่จะทำให้เรารวมกันได้ดีกว่า สหภาพยุโรป ครับผม แล้วก็ตามที่ คุณ airy  พูดมาก็ใช่เลยครับ  ไม่ต้อง ใช้ทั้ง อาเซียนด้วยซ้ำถ้าจะพูดกันจริงๆ ยกตัวอย่าง แค่ ไทย+สิงคโปร นี้ก้สร้างรถเกราะ เทพๆ ได้สบาย แต่ ผมพยายาม เน้นให้ ทุกชาติมีส่วนร่วม เพื่อ ผลด้านอื่นๆ ด้วย  อย่างว่าเราทำเราใช้กัน เอง  จะรถ หรือ เรือ นี้สบายมากๆ สิงคโปร ครอบครอง เทคโนโลยี่ บุคลากร ความรุ้ความสามารถสู้ไว้เยอะ และ ในนั้นก็ มี วิศวกร ชาวไทยเก่งๆ อยุ่ด้วย  ขั้นตอนการ ทำ ประเทศไทยเหมาะ สม สุดๆในการเป้นโรงงานประกอบและสร้าง  แต่ที่สำคนต้องให้ เพื่อนๆ เราร่วมด้วย เพราะคนจะใช้ ก็คือพวกเรากันเอง เพราะงั้นผม บอกได้เลย ว่า เราจะไปถึงจุดหมายได้  ต้องมีนี้เลย อย่างน้อย การร่วมมือกัน ระหว่าง ไทย+สิงคโปร+เวียดนาม+อินโด+มาเลย์และแถมพม่ามาด้วย  ชาติ ที่เหลือ ผมว่า โอการร่วมลงทุน น้อย(แต่ก็ไม่แน่) แต่ถ้าจะซื้อของพวกนี้ใช้ก็ต้องซื้อ ที่อาเซียนทำ พวกที่เหลือ ล๊อบบี้ไม่ยาก(เช่น กัมพูชา แค่ 3 ประเทศ พูดเสียงเดียวกัน ไทย เวียดนาม สิงคโปร แค่นี้ เขาก็ ไปไม่เป็นแล้วครับโดน 3ประเทศล๊อบบี้ ขี้แตกเลย พี่จีนที่อยู่ไกลออกไปก็ ช่วยอะไรไม่ได้)   ส่วนความร่วมมือ จาก บริษัทอาวุธต่างชาว ขี้คลานจะรีบแห่ กัน มา ขอมีส่วน มีหุ้นด้วย

ปล.จากที่ผมพยายามศึกษาหาเหตุผลอยุ่นี้ หลายๆ ด้านมันลงตัวสุดๆแล้ว เพียงแต่ว่าเราจะมองออกไหมไม่ใช่แค่เรื่องการทหารนะครับ ลองนึกเล่นๆดู ด้านการบันเทิง ศิลปินไทย ทั่ว คอนเสิร์ต อาเซียน ...อิอิ (ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ ถ้าอ่านเวปนี้รีบเลยนะครับ เอา ดารานักร้อง ดังๆ แต่ละประเทศมากสังกัด มองตลาดอาเซียนไปด้วยเลย) จำวงลาวที่มาแกรมมี่ รอบที่แล้วได้ไหมครับ นี้ขนาดไม่เน้นไม่จริงจัง เขายังดังได้เลยในไทย...

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 23/06/2012 11:19:09


ความคิดเห็นที่ 47


**ความรู้ความสามารถสูงไว้เยอะ   ไม่ใช่  สู้ไว้เยอะ ....มีผิดตรงไหนอีกหนอ ถ้ามีคำผิดอีก รบกวนเพื่อนๆ สมาชิก จิตนาการ ตาม ด้วยแล้วกันครับผม อิอิ

ด้วยความเคารพครับผม

โดยคุณ SeriesVll เมื่อวันที่ 23/06/2012 11:22:17


ความคิดเห็นที่ 48


เห็นพูดกันถึงประชาชมอาเซียนกันเยอะอะครับ เลยมีคลิปแนวทางการรวมกลุ่มกันของสหภาพยุโรปมาฝาก ขำๆฮาๆไป กับข้อดีข้อเสีย ส่วนตัวผมคิดว่าอาเซียนน่าจะอาการหนักกว่ายุโรปอีกนะครับ อยู่ช่วงกลางๆนะครับ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 23/06/2012 17:06:47