คือผมอยากทราบว่าตอนนี้เครื่องบิน ขีปนาวุธ หรือ จรวดของนาซ่ามีสิ่งไหนที่สารบินผ่านเบอร์มิวด้าได้บ้างครับ
เพราะที่เมื่อก่อนเข้าไปแล้วจมก็มีแต่พวกเครื่องบินใบพัด แต่ ตอนนี้เคยมีใครลองเอาเครื่องบินเจ็ทไปบินผ่านบ้างยังครับ
ไม่มีเหตุการณ์เรือหาย เครื่องบินหาย หลายปีแล้วครับ เบอร์มิวด้ามันเป็นอดีตไปแล้ว
เหมือนท่าน Banyat กล่าว ... สามเหลี่ยม เบอมิวด้า เป็นแค่เรื่องเล่าต่อๆกันมา คล้ายๆ ป่าหิมพานต์ หรือ เมืองลับแล ของไทย
เพื่อนผม เคยไปทำงานในเรือสำราญ ที่วิ่งอยู่ในทะเลแถบๆนั้น 3 ปี มันบอก ไม่เคยเห็นอะไรผิดปกติ
.. นักวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า มนุษย์รู้เรื่องเกี่ยวกับโลกใต้มหาสมุทรน้อยมากๆ ถ้าเทียบกับ ดวงจันทร์ที่อยู่ไกลออกไป มนุษย์ยังรู้เรื่องดวงจันทร์มากกว่าอีก
อาจจะบินได้ครับ แต่กลายเป็นเครื่องบิน"ล่องหน" ของจริง เพราะล่องหนหายไป ไม่พบอีกเลย (ฮา)
เรื่องนี้ออกๆแนวเรื่องเล่านั้นแหละครับ ไม่ก็ทฤษฏีสมคบคิด หรือใส่สีตีไข่เพิ่มขึ้นไปกันเอง ว่าเกี่ยวกับมนุษย์ต่างดาว หรืออะไรต่อมิอะไร ที่สำคัญสามเหลี่ยมนี้กว้างมากๆ ทีแรกก็เครื่องบินทร.หาย ระเบิด แล้วก็โดนเอามาเขียนว่ากองทัพปกปิด ใส่ไปว่าเจอยูเอฟโอโจมตี หรืออะไรต่อมิอะไร
เอามาจากวิกิ น่าสนใจครับ
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา (อังกฤษ: Bermuda Triangle) หรืออาจรู้จักกันในชื่อ สามเหลี่ยมปีศาจ (อังกฤษ: Devils Triangle) เป็นพื้นที่สมมุติทางตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งมีการอ้างว่าอากาศยานและเรือผิวน้ำจำนวนหนึ่งหายสาบสูญไปโดยหาสาเหตุมิได้ในบริเวณดังกล่าว วัฒนธรรมสมัยนิยมได้ให้เหตุผลของการหายสาบสูญว่าเป็นเรื่องของปรากฏการณ์เหนือธรรมชาติหรือกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตนอกโลก[1] หลักฐานซึ่งบันทึกไว้ได้ระบุว่า เหตุการณ์การหายสาบสูญของอากาศยานและเรือผิวน้ำส่วนใหญ่ได้รับรายงานอย่างไม่ถูกต้องหรือถูกเสริมแต่งโดยนักประพันธ์ในช่วงหลัง และหน่วยงานของรัฐหลายแห่งได้กล่าววว่า จำนวนและธรรมชาติของการหายสาบสูญไปในพื้นที่ดังกล่าวก็มีลักษณะเช่นเดียวกับการหายสาบสูญไปในมหาสมุทรส่วนอื่น ๆ ของโลก
พื้นที่
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีเนื้อที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร อยู่ระหว่างจุด 3 จุด ได้แก่ เปอร์โตริโก ปลายสุดของรัฐฟลอริดาในสหรัฐอเมริกา และเกาะเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นเกาะตั้งอยู่กลางมหาสมุทรแอตแลนติกและดินแดนในปกครองของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมช่องแคบฟลอริดา หมู่เกาะบาฮามาส และหมู่เกาะแคริบเบียนทั้งหมด แต่แนวคิดที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายกว่า เนื่องจากปรากฏในงานเขียนจำนวนมาก ระบุว่า จุดปลายสุดของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ได้แก่ ชายฝั่งแอตแลนติกของไมอามี, ซานฮวน เปอร์โตริโก, และเกาะเบอร์มิวดา ด้วยเหตุว่าอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามแนวชายฝั่งด้านใต้โดยรอบหมู่เกาะบาฮามาสและช่องแคบฟลอริดา
พื้นที่ดังกล่าวเป็นหนึ่งในเส้นทางเดินเรือพาณิชย์ที่หนาแน่นที่สุดในโลก โดยมีเรือผ่านพื้นที่นี้เป็นประจำทุกวันมุ่งหน้าไปยังเมืองท่าในทวีปอเมริกา ทวีปยุโรป และหมู่เกาะแคริบเบียน เรือสำราญที่ผ่านพื้นที่นี้ก็มีมากเช่นกัน เรือเที่ยวเองก็มักจะมุ่งหน้าไปและกลับระหว่างฟลอริดากับแคริบเบียนอยู่เป็นปกติ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ซึ่งมีการสัญจรทางอากาศอย่างหนาแน่น ทั้งอากาศยานพาณิชย์และส่วนตัว ซึ่งมุ่งหน้าไปยังฟลอริดา แคริบเบียน และทวีปอเมริกาใต้
ที่มา
การกล่าวอ้างถึงการหายสาบสูญอย่างผิดปกติในพื้นที่เบอร์มิวดาปรากฏในวันที่ 16 กันยายน ค.ศ. 1950 ในบทความของแอสโซซิเอด เพลส โดยเอ็ดเวิร์ด ฟาน วินเคิล โจนส์[2] อีกสองปีต่อมา นิตยสารเฟท ได้ตีพิมพ์ "ความลึกลับที่ประตูหลังของเรา"[3] บทความสั้นโดย จอร์จ แอกซ์. แซนด์ ซึ่งครอบคลุมเครื่องบินและเรือจำนวนมากที่หายสาบสูญไป รวมไปถึงการหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ฝูงบินกองทัพเรือสหรัฐซึ่งประกอบด้วยเครื่องบินทิ้งระเบิดทีบีเอ็ม อแวงเกอร์ห้าลำ ซึ่งอยู่ในระหว่างการฝึกบิน บทความของแซนด์ได้เป็นงานเขียนแรก ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นแนวคิดอันเป็นที่รู้จักกันดีของพื้นที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา อันเป็นสถานที่ที่เกิดการหายสาบสูญอย่างหาสาเหตุไม่ได้ การหายสาบสูญของฝูงบิน 19 ได้ปรากฏในนิตยสารอเมริกันลีเจียน ฉบับประจำเดือนเมษายน ค.ศ. 1962[4] โดยกล่าวอ้างว่าผผู้บังคับฝูงบินได้กล่าวว่า "เรากำลังเข้าสู่เขตน้ำขาว ไม่มีอะไรดูปกติเลย เราไม่รู้ว่าเราอยู่ที่ไหน น้ำทะเลเป็นสีเขียว ไม่ใช่สีขาว" นอกจากนี้ ยังได้มีการกล่าวอ้างว่าเจ้าหน้าที่คณะกรรมการสืบสวนของกองทัพเรือยังได้ระบุว่าเครื่องบินทั้งหมดได้ "บินสู่ดาวอังคาร" บทความของแซนด์เป็นงานเขียนชิ้นแรกซึ่งเสนอว่ามีปัจจัยเหนือธรรมชาติที่มีผลต่อเหตุการณ์หายสาบสูญของฝูงบิน 19 ในนิตยสารอาร์กอสซี ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1964 บทความของวินเซนต์ เอช. แกดดิส "สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาร้ายกาจ" ซึ่งโต้แย้งว่าฝูงบิน 19 และการหายสาบสูญไปอื่น ๆ เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบของเหตุการณ์ประหลาด ๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่[5] ในปีต่อมา แกดดิสได้ขยายบทความของเขาไปเป็นหนังสือ ชื่อว่า อินวิสซิเบิลฮอริซอนส์ (ขอบฟ้าที่มองไม่เห็น) [6]
ถัดมาในปี ค.ศ. 1969 นายวอลเลซ สเปนเซอร์ ได้เขียนหนังสือว่าด้วยสามเหลี่ยมปริศนานี้โดยเฉพาะออกจำหน่ายในชื่อว่า "Limbo of the Lost" ถัดจากนั้น ก็มีหนังสือออกจำหน่ายตามมาอีกมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งก็มียอดจำหน่ายดีแทบทุกเล่ม ที่มีชื่อเสียงเป็นพิเศษคือบทความที่มีชื่อว่า "The Devils Triangle" ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1974 ซึ่งเป็นเนื้อหาสำหรับเป็นคนที่ชื่นชอบความลึกลับเกี่ยวกับสามเหลี่ยเบอร์มิวดาเป็นอันมาก เป็นที่น่าสังเกตคือ หนังสือแทบทุกเล่มมุ่งประเด็นไปยังมุมมองที่ว่า เบื้องหลังของการสูญหายนี้ มาจากเทคโนโลยีของสิ่งทรงภูมิปัญญามากกว่าประเด็นอื่น เช่นมาจากมนุษย์ต่างดาว หรือมนุษย์ที่อาศัยอยู่ใต้มหาสมุทรบริเวณนั้น ต่างก็หาหลักฐานและทฤษฎีมาถกเถียงกันและบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดามีอาณาบริเวณที่กว้างมากจาก ฟลอริด้า-เปอร์โต ริโก-เกาะเบอร์มิวดา กินพื้นที่ประมาณ ห้าแสนตารางไมล์ เพราะฉะนั้นการจะค้นหาอะไรๆจากสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาจึงไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็มีองค์กรของรัฐ เอกชน ต่างให้ความสนใจในการสำรวจ โดยหวังว่าจะเจอหลักฐานอะไรก็ตามที่นำมาใช้ไขปริศนาของดินแดนบริเวณนี้ได้
จนกระทั่งต่อมาในปี พ.ศ. 2553 โจเซฟ โมนาแกน ได้เสนอว่า สาเหตุที่เรือจมและเครื่องบินตก เกิดจากแก๊สมีเทนที่ก่อตัวขึ้น โดยแก๊สดังกล่าวอยู่ใต้ท้องทะเลในบริเวณสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา โดยเมื่อแก๊สเหล่านี้ขึ้นสู่พื้นผิว มันจะทะยานสู่อากาศ และขยายตัวเป็นวงกว้างและก่อตัวเป็นฟองแก๊สขนาดใหญ่ เมื่อเรือลำใดผ่านเข้าไปในบริเวณนั้น ก็จะเข้าไปสู่ฟองแก๊สมีเทนขนาดยักษ์ จนทำให้เรือเหล่านี้สูญเสียการควบคุม และจมลงในที่สุด
ฝูงบิน 19
ฝูงบิน 19 เป็นการตั้งชื่อของฝูงบินทิ้งระเบิดตอร์ปิโด ทีบีเอ็ม อเวงเกอร์ จำนวน 5 ลำ ซึ่งหายไปเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างการจัดการบินทดสอบของกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา จากฟอร์ท ลอเดอร์เดล (Naval Air Station Fort Lauderdale) รัฐฟลอริดา[1] โดยการฝึกดังกล่าวถูกเรียกว่า "ปัญหาระบบนำร่องหมายเลข 1" ซึ่งเป็นการประยุกต์การทิ้งระเบิดและการนำทางเข้าด้วยกัน ซึ่งเที่ยวบินอื่นถูกบรรจุให้เข้าทำในวันนั้น[2] นักบินสตรีอาวุโสซึ่งถูกมอบหมายให้ติดตามภารกิจของฝูงบิน 19 ก็มีอุปสรรคเกิดขึ้น ในประการแรก ฝูงบินยังคงสนองคำร้องขอ แต่ในภายหลัง ได้เกิดความสับสนอย่างมาก และความกลัวโดยปราศจากเหตุผล ซึ่งทำให้สถานการณ์ของนักบินฝึกหัดเลวร้ายลง โดยการนำพวกเขาออกห่างจากฝั่งมากยิ่งขึ้น[3]
จากเที่ยวบินดังกล่าว ลูกเรือ 14 คนหายสาบสูญ รวมทั้งลูกเรืออีก 13 คนของเครื่องบิน พีบีเอ็ม มารีเนอร์ ซึ่งเกิดระเบิดขึ้นกลางอากาศในระหว่างการดำเนินการค้นหา ผู้สืบสวนทางทะเลสรุปว่า ฝูงบิน 19 เกิดจากความสับสนและตกลงสู่ท้องทะเล หลังจากที่เชื้อเพลิงหมด ส่วนความสูญเสียของพีบีเอ็ม เกิดจากความขัดข้องทางเครื่องยนต์ แต่หลายฝ่ายก็ออกมาตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับการสืบสวนของกองทัพเรือ
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9D%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99_19
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา สังเกตว่ากว้างมากๆ
ฝูงบิน19 เครื่อง TBM Avenger ห้าลำ หายสาปสูญพร้อมนักบิน 14นาย
เครื่องค้นหา PBM-5 Mariner ที่ระเบิดกลางอากาศ พร้อมนักบิน13นาย
อันนี้ก็น่าสนใจครับ
สามเหลี่ยมมังกร
สามเหลี่ยมมังกร (ญี่ปุ่น: ドラゴントライアングル Dragon s Triangle ?) หรือ ทะเลปีศาจ (อังกฤษ: The Devil s Sea, 魔の海, Ma no Umi) หรือ ฟอร์โมซ่าเบอร์มิวดา (จีน: 福尔摩沙三角, จีนตัวย่อ: 福尔摩沙三角, พินอิน: Fúěrmóshā Sānjiǎo) หรือ สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแปซิฟิก (Pacific Bermuda Triangle) เป็นชื่อเรียกพื้นที่พื้นที่หนึ่งของบริเวณท้องทะเลของประเทศญี่ปุ่น ที่มีเนื้อที่เป็นรูปสามเหลี่ยม ตั้งอยู่รอบเกาะมิยากะ (ประมาณ 100 กิโลเมตรจากตอนใต้ของกรุงโตเกียว) ไปจรดถึงตะวันออกเฉียงเหนือของทะเลฟิลิปปิน
เป็นสถานที่ ๆ มีลักษณะเช่นเดียวกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ของมหาสมุทรแอตแลนติก กล่าวคือ เรือหรือเครื่องบินที่ผ่านมาในบริเวณนี้จะหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งอาณาบริเวณของสถานที่ ๆ ได้ชื่อว่าเป็นสามเหลี่ยมมังกรนั้นไม่แน่นอน ในรายงานเมื่อปี ค.ศ. 1950 ว่าอยู่ห่างจากชายฝั่งทะเลตะวันออกของญี่ปุ่นประมาณ 300 ไมล์ ใกล้กับเกาะอิซุโอชิมา จากชายฝั่ง 750 ไมล์
เรื่องราวของสามเหลี่ยมมังกร ปรากฏครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ของญี่ปุ่นในเดือนมกราคม ค.ศ. 1955 เมื่อเรือ 9 ลำได้หายสาบสูญไปโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ซึ่งก่อนหน้านั้นเรือประมงขนาดเล็กอีก 7 ลำ ก็หายสูญหายไประหว่างเดือนเมษายน ค.ศ. 1949 จนถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1953 ระหว่างเกาะมิยาเกะและเกาะอิซุโอชิมะ
ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของสามเหลี่ยมมังกรนั้น นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาอย่างแน่นอน เนื่องจากเมื่อพิจารณาจากแผนที่โลกแล้ว ปรากฏว่าพื้นที่ทั้ง 2 ที่นั้นอยู่ในด้านที่ตรงกันข้ามกันพอดีเลยในซีกโลกอีกข้าง อีกทั้งก็ยังมีร่องน้ำลึกที่สุดในโลกอยู่เช่นเดียวกันทั้ง 2 ที่ (สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา--ร่องลึกเปอร์โตริโก, สามเหลี่ยมมังกร--ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา) สำหรับนักวิทยาศาสตร์ทื่เชื่อในทฤษฎีของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาว่าแท้จริงแล้วเป็นหลุมดำ (Black Hole) ที่อยู่บนโลกนั้น สามเหลี่ยมมังกรก็คือ หลุมขาว (White Hole) นั่นเอง ซึ่งอยู่อีกฟากหนึ่ง เมื่อหลุมดำดูดกลืนสสารทุกอย่างลงไปแล้ว ผ่านทางช่องที่อยู่ตรงกลางที่เรียกว่า "รูหนอน" (Worm Hole) สสารก็จะถูกพ่นให้ออกมาทางหลุมขาว ซึ่งอีกฟากหนึ่งนั่นเอง[1]
แผนที่แสดงที่ตั้งหมู่เกาะอิสุซึ่งเป็นเกาะภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ตรงกลางของสามเหลี่ยมมังกรพอดี
นี่เป็นรายชื่อเหตุการณ์ที่เกิดการสูญหายที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา
http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_Bermuda_Triangle_incidents
List of Bermuda Triangle incidents
Aircraft incidents ทางอากาศ
ถ้าเป็นตามนี้ ให้ดูเลขปี จะเห็นว่าปีที่เกิดเหตุการณ์สิ้นสุดที่ปี 1969 แสดงว่าไม่มีเหตุการณ์หายสาปสูญที่สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้ามาหลายปีแล้ว
รวมทั้งพวกที่ส่งเรือไปไขปริศนา พบแก็สมีเทนอะไรนั้นอีก ถ้ามันดูดจริงๆ คงไม่มีพวกนี้ออกมาบอกให้เรารู้ได้หรอกครับ เหอะๆ
ดูไปดูมา ก็ น่าสนใจ ดี นะครับ