สวัสดีค่ะ หวังว่าเพื่อนๆพี่ๆสมาชิกเว็บไซด์ Thaifighterclub คงจะสบายนะคะ OA เจ้าเก่า (แต่ account เดิมใช้ไม่ได้ เลยสมัครชื่อใหม่ค่ะ) ต้องขอโทษเพื่อนสมาชิกที่ไม่ได้เข้ามานานมากเลย
ขอประชาสัมพันธ์ "บทความวิวัฒนาการเรือดำน้ำ : จากเรือดำน้ำขับเคลื่อนแรงมนุษย์ในยุคต้น ถึงยาน Holland VI และ Argonaut ต้นแบบเรือดำน้ำและยานกู้ภัยใต้น้ำสมัยใหม่" ค่ะ บทความซี่รี่ส์นี้ตีพิมพ์ในหนังสือ TOP GUN เริ่มตั้งแต่ฉบับที่ 155 เดือนกุมภาพันธ์ 2554
เนื้อหาจะเกี่ยวกับพัฒนาเรือดำน้ำในยุคบุกเบิก - เรือดำน้ำทดลอง และเรือดำน้ำเพื่อการรบที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ การนำเรือดำน้ำเข้ารบในสงคราม เช่น ยานบุชแนลเทอเทิล ในสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา, การรบของเรือดำน้ำฮัลเลย์ในสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา (เรือลำนี้มีความสำคัญในฐานะเรือดำน้ำลำแรกของโลก ที่สามารถจมเรือผิวน้ำได้), ยุคของเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ซึ่งเริ่มต้นด้วย การพัฒนาเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ, พลังงานไฟฟ้าล้วน จนถึง พลังงานเบนซิน - ไฟฟ้า และประวัติของนักออกแบบเรือดำน้ำยุคบุกเบิกที่มีชื่อเสียง เช่น Dsyvetsky, จอห์น ฟิลิปส์ ฮอลแลนด์ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของเรือดำน้ำสมัยใหม่ และ ไซมอน เลค ผู้สร้างยาน Argonaut ซึ่งมีแนวคิดต่างไปจากเรือดำน้ำทั่วไปในยุคนั้น - ยานของเขาเน้นการเคลื่อนที่บนพื้นดินใต้น้ำ โดยติดตั้งล้อที่ใต้ท้องเรือสำหรับวิ่งใต้น้ำ และห้องปรับแรงดันอากาศสำหรับนักประดาน้ำ
ตอบข้อหนึ่งละกัน
เรือโดยสาร ชื่อ Lusitania ถูกจมโดยเรือ U20 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ผู้บัญชาการชื่อWalther Schwieger เรือ U20 จมเรือทั้งหมด 36 ลำคิดเป็นระวางขับน้ำ144.300tons(งงๆกับข้อมูลในวิกิ) เหตการณ์ครั้งนี้มีผู้เสียชีวิต1,198คนเป็นเหตุให้อเมริการ่วมสงครามเพราะมีผู้โดยสารชาวอเมริกันเสียชีวิตด้วย
น่าจะใช่ลำนี้
มาเยี่ยมไทยไฟเตอร์คลับทั้งที เลยมีคำถามมาให้ร่วมสนุกค่ะ จำนวน 3 ข้อ ท่านใดตอบคำถามได้ถูกทั้ง 3 ข้อก่อน จะส่งของรางวัลไปให้ (เป็นหนังสือ) ขอบคุณค่ะ
คำถามที่ 1 : โศกนาฏกรรมที่ทางเรือ ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนมากที่สุด สาเหตุอันดับแรกๆ มาจากเรือดำน้ำ ถามว่า เรือดำน้ำที่โจมตีเรือให้เกิดการเสียชีวิตของผู้คนมากที่สุด คือ เรือดำน้ำชื่ออะไร ของประเทศใด ใครเป็นผู้บังคับการเรือ และการรบของเรือดำน้ำนี้อยู่ในสงครามใด ระวางขับน้ำเรือที่เรือดำน้ำลำนี้จมได้เท่าไร (ตัวเลขถ้าไม่ตรงกับข้อมูลตัวเองแต่ใกล้เคียง อนุโลมให้ค่ะ)
คำถามที่ 2 : เรือดำน้ำที่จมเรือได้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก (คิดตามขนาดระวางขับน้ำเรือที่จม) คือ ชื่ออะไร ของประเทศใด ใครเป็นผู้บังคับการเรือ และการรบของเรือดำน้ำนี้อยู่สงครามใด ระวางขับน้ำเรือที่เรือดำน้ำนี้จมได้เท่าไร (ตัวเลขถ้าไม่ตรงกับข้อมูลที่ตัวเองมี แต่ใกล้เคียง อนุโลมให้ค่ะ เพราะหนังสือหลายเล่ม ตัวเลขก็มักบอกไม่ตรงกัน)
คำถามที่ 3 : มี 5 คำถามย่อย - 3.1 เรีอดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถแล่นได้จริงชื่อเรืออะไร ของประเทศใด, 3.2 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่เข้าสู่สงคราม โจมตีเรือผิวน้ำ ชื่อเรืออะไร ของประเทศใด, 3.3 เรือดำน้ำลำแรกของโลกทีจมเรือผิวน้ำได้สำเร็จชื่อเรืออะไร ของประเทศใด, 3.4 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน แต่ใช้วิธีทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนที่จำเป็นต่อการหายใจของคนในเรือด้วย เรือดำน้ำลำนี้จึงถือเป็นต้นแบบของระบบ AIP ของเรือดำน้ำในปัจจุบัน เรือดำน้ำนี้ชื่ออะไร, 3.5 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่แล่นด้วยเครื่องยนต์เบนซิน - ไฟฟ้า ได้สำเร็จ (เป็นยานทดลอง ไม่ใช้เรือดำน้ำที่ปฏิบัติการรบได้จริง) ชื่ออะไร ใครคือผู้ออกแบบเรือลำนี้ และเป็นของประเทศใด
ไม่รู้ว่าคำถามโหดเกินไปหรือปล่าวอ่ะ
ดิฉันไม่ได้เข้าอินเตอร์เน็ตบ่อย แต่จะมาเข้าเว็บไซด์ทุกประมาณ 2 -3 วัน ท่านที่ต้องการร่วมสนุกตอบคำถาม สามารถโพสคำตอบไว้ที่นี่ได้เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ
ว่าแล้วครับ นึกว่าใครเขียนเรื่องเรือดำน้ำ อ่านมาหลายเล่มแล้วครับ
คำถามโหดได้ใจไปเลยครับ แต่ชอบครับ ถ้าเฉลยมาคงมีความรู้ขึ้นเป็นกอง แต่นี่ยิงกว่าแฟนพันธ์แท้อีกนะครับ ฮ่าาา
เท่าที่รู้มีก็มี เยอรมันได้ทำการส่งเรือดำน้ำออกปฏิบัติการจมกองเรือลำเลียงของฝ่ายสัมพันธมิตร ในสงครามโลกครั้งที่สองที่ ป.อังกฤษรู้สึกว่าเค้าปิดข่าวนี้ก่อนวัน D-Day จะเริ่มด้วย
แล้วก็มี เรือดำน้ำของรัสเซีย ยิงตอร์ปิโดใส่เรือโดยสารของเยอรมัน น่าจะตาย 4-5พันคนมั่งครับ เห็นรัสเซียว่ายิงเพราะมีทหารของนาซีอยู่
ก็ประมาณนี้ล่ะครับ ><
ลืมบอกU20ของเยอรมัน
คำถามโหดเกิ๊น(อีกเสียง)
ลองมข้อ2.แล้วกันครับ เรือดำน้ำที่จมเรือได้เยอะสุดและมากกว่าลำไหนๆของอเมริกา(ส่วนตัวก็ว่าเยอรมันใช้การโจมตีแบบฝูง แต่ของอเมริกามีลำนี้ลำเดียว) คือเรือดำน้ำชั้นบาเลาที่ชื่อว่า USS-Tang(SS-306) ผ.บ.เรือ ริชาร์ด โอเคน ทำการรบในแปซิฟิค ตอนสงครามโลกครั้งที่2
สถิติคือ จมเรือรบ 31ลำและเรือเร็ว5ลำ น้ำหนักรวม231,500 ตัน ทำความเสียหายให้เรือขนาด4,200 จำนวน2ลำ
สวัสดีครับ คุณOA ห่างหายไปนานกับคำถามและความรู้ดีๆนะครับ สงสัยเดี๋ยวว่างๆจะต้องไปค้นข้อมูลมาตอบบ้างแล้ว
ปล. คุณOA ใช้ facebook หรือเปล่าครับ
คำตอบของคุณ MIG31 และ คุณ Akura ยังไม่ถูกค่ะ ^_^
รู้สึกเหมือนอยู่ในรายการแฟนพันธ์แท้เรือดำน้ำเลย ฮิๆๆ
ขอบคุณ คุณ Banyat ที่ติดตามอ่านค่ะ ตอนนี้ตีพิมพ์ถึงบท ผลงานการออกแบบเรือดำน้ำของ Dsyvetsky ผู้สร้างเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าลำแรกของโลกค่ะ หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สนใจในเรือดำน้ำ และเป็นการให้ความรู้เกี่ยวกับเรือดำน้ำตั้งแต่ระดับแรกสุด จากยุคบุกเบิก ว่าเรือดำน้ำมีความเป็นมาอย่างไร และเหตุใดจึงมีความพยายามสร้างและใช้เรือดำน้ำในการรบในสงครามทางเรือสำคัญๆ มาตลอดตั้งแต่ในอดีตค่ะ
เรียน คุณผีทะเล ตอนนี้มี facebook ใช้ค่ะ รบกวนขอ account คุณผีทะเล แล้วจะขอแอดชื่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ
ขอโทษที่พิมพ์ชื่อผิดค่ะ ..เรียน คุณเด็กทะเล ตอนนี้มี facebook ใช้ค่ะ รบกวนขอ account คุณเด็กทะเล แล้วจะขอแอดชื่อไปค่ะ ขอบคุณค่ะ
คุณผีทะเล เป็นอีกท่าน เป็นรุ่นพี่ที่เคารพ ที่เว็บไซด์ navy84 ค่ะ เลยเผลอพิมพ์ชื่อผิด
atcha.nok@facebook.com หรือ อัชฌา พลายงาม ครับ คุณOA
ข้อ1. U-35 German (Lothar von Arnauld de la Perière) WW I (453,716 tons)
คำตอบบนน่าจะเป็นข้อ 2. *---*
ร่วมสนุกทายปัญหาบ้างครับ
คำถามที่ 2 : เรือดำน้ำที่จมเรือได้มากที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์โลก (คิดตามขนาดระวางขับน้ำเรือที่จม) คือ ชื่ออะไร ของประเทศใด ใครเป็นผู้บังคับการเรือ และการรบของเรือดำน้ำนี้อยู่สงครามใด ระวางขับน้ำเรือที่เรือดำน้ำนี้จมได้เท่าไร (ตัวเลขถ้าไม่ตรงกับข้อมูลที่ตัวเองมี แต่ใกล้เคียง อนุโลมให้ค่ะ เพราะหนังสือหลายเล่ม ตัวเลขก็มักบอกไม่ตรงก
เรือดำนํ้าอูเยอรมันชื่อเรือ SM-35 รุ่น U-31 ร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 จมเรือ 224 ลำ เป็นระวางขับนํ้า 539,741 ตัน ผู้การเรือ 2 คน Waldemar Kophamel คนนี้สถิติจมไป 54 ลำ 148,852 ตัน บังคับการเรือ U-35 และย้ายไป U-140
|
U-35
ภาพกัปตัน Kptlt. Lothar von Arnauld dela Periera
หายไปนานมากนะครับ ขอบคุณสำหรับความรู้ดีครับ
ขณะนี้ มีผู้ตอบข้อที่ 2 ถูก 2 ท่าน และตอบข้อที่ 1 ถูก 1 ท่าน ค่ะ จะรอลุ้นว่าท่านใดตอบข้อที่ 3 ครบก่อน ก็จะเป็นผู้ตอบคำถามได้ครบ 3 ข้อ ท่านแรก ค่ะ
ได้ขอแอดชื่อ คุณเด็กทะเล ไปแล้วค่ะ a
3.1 เรีอดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถแล่นได้จริงชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
1620 เรือชื่อ( Cornelius) Drebbel ของอังกฤษ
3.2 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่เข้าสู่สงคราม โจมตีเรือผิวน้ำ ชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
1775 เรือชื่อ Turtle ของสหรัฐอเมริกา
3.3 เรือดำน้ำลำแรกของโลกทีจมเรือผิวน้ำได้สำเร็จชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
เรือชื่อ Hunley จมเรือ USS Housatonic ในสงครามกลางเมืองของสหรัฐอเมริกา
3.4 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน แต่ใช้วิธีทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนที่จำเป็นต่อการหายใจของคนในเรือด้วย เรือดำน้ำลำนี้จึงถือเป็นต้นแบบของระบบ AIP ของเรือดำน้ำในปัจจุบัน เรือดำน้ำนี้ชื่ออะไร
1867 เรือชื่อ Ictineo II ของสเปน
3.5 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่แล่นด้วยเครื่องยนต์เบนซิน - ไฟฟ้า ได้สำเร็จ (เป็นยานทดลอง ไม่ใช้เรือดำน้ำที่ปฏิบัติการรบได้จริง) ชื่ออะไร ใครคือผู้ออกแบบเรือลำนี้ และเป็นของประเทศใด
1881 เรือชื่อ Fenian Ram ออกแบบโดยชาวไอริช John Philip Holland
3.1 เรีอดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถแล่นได้จริงชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
ชื่อเรือ The Drebbel ของ ดัตช์ (ฮอลแลนด์)
3.2 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่เข้าสู่สงคราม โจมตีเรือผิวน้ำ ชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
ชื่อเรือ Turtle ของ American
3.3 เรือดำน้ำลำแรกของโลกทีจมเรือผิวน้ำได้สำเร็จชื่อเรืออะไร ของประเทศใด,
3.4 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้ระบบเครื่องยนต์ที่ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน แต่ใช้วิธีทำให้เกิดปฏิกริยาทางเคมีทำให้เกิดก๊าซออกซิเจนที่จำเป็นต่อการหายใจของคนในเรือด้วย เรือดำน้ำลำนี้จึงถือเป็นต้นแบบของระบบ AIP ของเรือดำน้ำในปัจจุบัน เรือดำน้ำนี้ชื่ออะไร,
เรือ Ictineo II
3.5 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่แล่นด้วยเครื่องยนต์เบนซิน - ไฟฟ้า ได้สำเร็จ (เป็นยานทดลอง ไม่ใช้เรือดำน้ำที่ปฏิบัติการรบได้จริง) ชื่ออะไร ใครคือผู้ออกแบบเรือลำนี้ และเป็นของประเทศใด
ชื่อเรือ Plunger
ผู้ออกแบบ John Holland
ของประเทศ America
ประมาณนี้มั่งครับ >< แปลคราวจากบทความภาษาอังกฤษครับ ไม่รู้จะแปลถูกแปลผิดหรือเปล่า
แก้ข้อ 3.5
เรือดำนํ้า Holland Type VI (submarine) ออกแบบโดย John Philip Holland เป็นชาวไอริช สร้าง ขายให้สหรัฐไปตั้งชืื่อว่า USS Holland
Holland continued to improve his designs and worked on several experimental boats, prior to his successful efforts with a privately built type, launched on 17 May 1897. This was the first submarine having power to run submerged for any considerable distance, and the first to combine electric motors for submerged travel and gasoline engines for use on the surface. She was purchased by the U.S. Navy, on 11 April 1900, after rigorous tests and was commissioned on 12 October 1900 as USS Holland. Six more of her type were ordered and built at the Crescent Shipyard in Elizabeth, New Jersey. The company that emerged from under these developments was called The Electric Boat Company, founded on 7 February 1899. Isaac Leopold Rice became the companys first President with Elihu B. Frost acting as vice president and chief financial officer.
The USS Holland
ขอแก้ใขคำถามข้อที่ 3.5 ค่ะ ข้อมูลผิดนิดนึง ... 3.5 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่แล่นด้วยเครื่องยนต์เบนซินล้วน ได้สำเร็จ (เป็นยานทดลอง ไม่ใช้เรือดำน้ำที่ปฏิบัติการรบได้จริง) ชื่ออะไร ใครคือผู้ออกแบบเรือลำนี้ และเป็นของประเทศใด (ไม่ใช่เบนซินไฟฟ้าค่ะ) ..
คำตอบของคุณ pipat2000 ยังไม่สมบูรณ์ค่ะ .. คุณ pipat ยังไม่ได้ตอบคำถามข้อที่ 1 และ 3.3 ^_^
สำหรับคำถามข้อที่ 3.5 ยังไม่ถูกต้องค่ะ Holland VI ไม่ใช่เรือดำน้ำทดลอง แต่เป็นผลพวงของความสำเร็จของเรือดำน้ำในคำถาม (ซึ่งใช้ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์เบนซินล้วน) ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐ และมีความสำคัญในประวัติศาสตร์ ในฐานะเรือดำน้ำเบนซิน - ไฟฟ้า ลำแรกของโลกที่สามารถปฏิบัติการรบได้จริง เรือลำนี้ได้สร้างแรงบรรดาลใจให้หลายประเทศ ส่งผลให้มีการสั่งต่อเรือดำน้ำเบนซิน - ไฟฟ้า ของหลายชาติ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น รัสเซีย เยอรมัน ออสเตร-ฮังการี ในเวลาต่อมาอีกไม่นาน
คุณ fantom หายไปเลยคะ
ขอโทษค่ะ คุณ Pipat ตอบ 3 ครบแล้ว แต่ไปดูของ คุณ spooky แต่ 3.5 ยาน Fenian Ram ยังไม่ถูกค่ะ ยานนี้ จอห์น ฟิลิป ฮอลแลนด์ สร้างให้กลุ่มชาวไอริส ที่ต่อต้านอังกฤษ เพื่อใช้ในสงครามโจมตีเรือรบอังกฤษ แต่ในที่สุด เรือไม่ได้ถูกนำไปใช้จริง และเก็บไว้เฉยๆค่ะ
ยังไม่มีท่านใด ตอบถูกครบทั้ง 3 ข้อในขณะนี้ ค่ะ
3.5 =
ผู้ออกแบบ=Narcís Monturiol Estarriol
ประเทศ=Spain
3.5 ของคุณ fantom ยังไม่ถูก ค่ะ เรือลำนี้ขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ ค่ะ (เป็นคำตอบของข้อ 3.3)
ส่วน Plunger เป็นเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ ที่ ฮอลแลนด์ ต่อให้กองทัพเรือสหรัฐ หลังเขาชนะการประกวดออกแบบเรือดำน้ำระดับชาติ ได้ร่วมงานกับกองทัพ แต่ช่วงนั้น เรือดำน้ำ Nordenfelt ขับเคลื่อนไอน้ำ กำลังดังมาก ฮอนแลนด์ถูกกำหนดสเปคเรือ Plunger ให้ใช้เครื่อยนต์ไอน้ำ และถูกแก้แปลนเรือ ทำให้เรือลำนี้ใช้งานจริงไม่ได้ เมื่อทดลองแล่นเรือความร้อนจากหม้อต้มไอน้ำกระจายเข้ามาในตัวเรือจนคนอยู่ไม่ได้ ภายหลังเขาจึงคิดค้นระบบขับเคลื่อนใหม่ที่ดีว่าไอน้ำ ได้สำเร็จ และเป็นต้นแบบของเรือดำน้ำสมัยใหม่ในปัจจุบัน จนได้สมญานามว่า บิดาแห่งเรือดำน้ำสมัยใหม่ ค่ะ
เอ้า รอลุ้นข้อ 3.5 แล้วจะได้เฉลยคำตอบทั้งหมด ... ง่ายนิดเดียวคะ หย้าปากคอก เส้นผมบังภูเขาอ่ะ กลับไปหาข้อมูลให้ละเอียดหน่อยคะ ตอนนี้แค่เฉียดไปก้อเฉียดมา ...
ตกลง ดิฉันให้ มีผู้ได้รางวัล 2 ท่านแล้วกันค่ะ เพราะตอบได้มากที่สุด คือ คุณ fanthom และ คุณ pipat2000 รบกวนส่งที่อยู่มาให้ที่ PM ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ (เตรียมหนังสือไว้ให้แล้ว)
เฉลยคำตอบอัน หฤโหดนิดๆ ค่ะ (แต่ก็มีท่านแฟนพันธ์แท้ ผู้เก่งกาจเข้ามาตอบคำถามกันได้ ตั้งแต่ช่วงแรกๆ)
ข้อที่ 1 : เรือดำน้ำที่จมเรือ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด คือ เรือดำน้ำ S-13 แห่งกองทัพเรือโซเวียต รัสเซีย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้บังคับการเรือมีสองคน คือ นาวาตรีมาเลนเชนโก (Malanchenko) จมเรือบรรทุกสินค้าจำนวนสองลำ รวมระวางขับน้ำ 3,767 ตัน และ อเล็กซานเดอร์ อีวานโนวิช มารีเนสโค (Alexander Ivanovich Marinesko) จมเรือโดยสารขนาดระวางขับน้ำ 5,000 ตัน ในเดือนตุลาคม 1943 และจมเรือโดยสารจำนวน 2 ลำ รวมระวางขับน้ำ 40,788 ตัน ในช่วงปลายเดือนมกราคม – ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1945 สรุประวางขับน้ำเรือที่ S-13 จมได้ประมาณ 49,555 ตัน การโจมตีเรือโดยสารสองลำสุดท้ายซึ่งมีผู้อพยพหนีภัยสงครามแน่นขนัดอยู่ในเรือ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 9,700 คน ได้แก่ เรือโดยสาร ชื่อ Wilhelm Gustloff มีผู้เสียชีวิต 7 พันคน ซึ่งเป็นสถิติการเสียชีวิตทางเรือที่สูงที่สุดในโลก และ เรือ General von Steuben มีผู้เสียชีวิต 2,700 คน ติดอันดับสถิติการเสียชีวิตทางเรือสูงสุด อันดับที่ 11 ของโลก
ข้อที่ 2 : เรือดำน้ำที่จมเรือได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์ คือ เรือดำน้ำ U-35 เป็นเรือดำน้ำชั้น U-31 ใช้ระบบขับเคลื่อนดีเซล – ไฟฟ้า ปฏิบัติการรบในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ผู้บังคับการเรือมีสองคน คือ Waldemar Kophamel และ Lother von Arnauld de la Periere รวมจำนวนเรือที่จมได้ทั้งหมด 224 ลำ รวมระวางขับน้ำ 535,900 ตัน
ข้อที่ 3 :
3.1 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถแล่นใต้น้ำได้จริง คือ ยาน Drebble ประเทศเดนมาร์ก
3.2 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ออกรบในสงครามและเข้าโจมตีเรือผิวน้ำ (แม้จะไม่สามารถจมเรือ ศตรูได้) คือ เรือดำน้ำ บุชเนลส์ เทอเทิ้ล (Bushnell’s Turtle) สร้างโดย ประเทศสหรัฐอเมริกา
3.3 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่จมเรือผิวน้ำได้สำเร็จ คือ เรือดำน้ำฮัลเลย์ (CSS Hunley) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
3.4 เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนเรือที่ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน เป็นส่วนประกอบในการเผาไหม้เครื่องยนต์ แต่กระบวนการเผาไหม้ได้ทำเกิดก๊าซออกซิเจน ที่จำเป็นต่อการหายใจของคนในเรือ เรือดำน้ำลำนี้ จึงเป็นต้นแบบของเรือดำน้ำขับเคลื่อนระบบ AIP ในปัจจุบัน คือ เรือดำน้ำ Ictineo II ประเทศสเปน ติดตั้งเครื่องยนต์ไอน้ำ (Ictineo II ยังมีชื่อเสียงในฐานะเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำลำแรกของโลกอีกด้วย)
3.5 เรือดำน้ำทดลองลำแรกของโลกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนเบนซิน และเป็นต้นแบบให้กับเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานเบนซิน – ไฟฟ้า ที่ทำให้วิวัฒนาการเรือดำน้ำโลก ก้าวเข้าสู่ยุคเรือดำน้ำสมัยใหม่ (Modern Submarine) คือ ยาน Holland I ประเทศสหรัฐอเมริกา
รายละเอียดประกอบคำตอบ เพื่อเป็นเกร็ดความรู้ให้เพื่อนสมาชิกค่ะ
ข้อที่ 1 : เรือดำน้ำ S-13 เรือดำน้ำที่จมเรือส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุด ในประวัติศาสตร์โลก
“S-13 สุดยอดเพชฌฆาตที่คร่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปมากที่สุด” (คัดลอกจาก บทความสุดยอดผู้บังคับการเรือดำน้ำแห่งสงครามโลกครั้งที่สอง ของผู้เขียน ตีพิมพ์ใน นิตยสารกระดูกงู กองเรือยุทธการ ฉบับเดือนสิงหาคม – กันยายน 2550) : ในขณะที่เยอรมันครองความเป็นผู้นำในการผลิตเรือดำน้ำที่ทรงประสิทธิภาพและการฝึกหัดนักเรือดำน้ำเพื่อให้เป็นนักรบที่เก่งกาจในสงครามใต้น้ำ (Undersea Warfare) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่นับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง รัสเซียหนึ่งในมหาอำนาจโลกในช่วงนั้น ซึ่งพึ่งจะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นคอมมิวนิสต์ได้เพียงยี่สิบสี่ปี จำต้องเข้าสู่สงครามอย่างกะทันหันแทบไม่ทันตั้งตัว เนื่องจากถูกเยอรมันรุกรานประเทศแบบสายฟ้าแลบ ในปี 1941 ภายใต้แผนยุทธการบาบารอสซ่า (เคราแดง - Operation Babarossa 1941) รัสเซียเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตรและระดมสรรพกำลังทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับผู้รุกราน ทางด้านการรบทางเรือ แม้รัสเซียจะผลิตเรือดำน้ำออกมาเป็นจำนวนมากในช่วงนั้น (อันเป็นผลเนื่องมาจากแผนพัฒนาประเทศห้าปีของสตาลินก่อนหน้านั้นด้วย) ปฏิบัติการของเหล่าเรือดำน้ำรัสเซียกลับไม่โดดเด่นมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเยอรมัน แต่ในช่วงปลายสงคราม ปี 1945 เรือดำน้ำ S-13 ของรัสเซีย ภายใต้การนำของผู้บังคับการเรือดำน้ำ - อเล็กซานเดอร์ มารีเนสโค (Alexander Ivanovich Marinesko) ทำให้โลกต้องตะลึงด้วยการจมเรือขนาดใหญ่ของเยอรมันลงสองลำติดต่อกัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตถึงเก้าพันเจ็ดร้อยคน นับเป็นการสูญเสียทางทะเลที่ร้ายแรงที่สุด จนกระทั่งในปัจจุบัน ยังไม่มีโศกนาฏกรรมทางเรือใดลบสถิตินี้ได้
จากจำนวนวีรบุรุษของโซเวียตรัสเซียทั้งหมด มารีเนสโค นับเป็นวีรบุรุษที่มีประวัติโลดโผนที่สุดเช่นกัน ในช่วงต้นของสงคราม ความสามารถของเขายังไม่ได้ถูกแสดงออก ซ้ำยังมีปัญหาในเรื่องของพฤติกรรมที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัย จนกระทั่งช่วงสุดท้ายของสงคราม มารีเนสโค และเรือดำน้ำ S-13 ได้สร้างประวัติศาสตร์การรบทางเรือครั้งสำคัญให้กับมาตุภูมิ แน่นอนที่ว่า มารีเนสโคถูกประณามจากเยอรมัน แต่สำหรับทางการรัสเซีย กลับไม่มีการยกย่องชื่นชมผลงานของเขาเฉกเช่นวีรบุรุษคนอื่น มารีเนสโคตกเป็นผู้ต้องหาของรัฐ ตายอย่างคนถังแตก และได้รับการยกย่องให้เป็นวีรบุรุษของชาติ เมื่อเขาไม่ได้อยู่ในโลกนี้อีกต่อไปแล้ว
เรือดำน้ำ S-13 สุดยอดเพชฌฆาตลำนี้ เป็นเรือดำน้ำ ชั้น S ซีรี่ส์ IXbis เริ่มออกปฏิบัติการให้กับกองทัพเรือรัสเซียครั้งแรกในเดือนสิงหาคม ปี 1942 โดยมี นาวาตรี Malanchenko เป็นผู้บังคับการเรือคนแรก เรือลำนี้สามารถสร้างสถิติ จมเรือฝ่ายศตรูได้ตั้งแต่ในช่วงต้นๆที่เข้าประจำการ โดยเรือที่ S-13 จมได้ในช่วงแรกเป็นเรือบรรทุกสินค้า 2 ลำ ในทะเลบอลติค รวมน้ำหนักเรือ 3,767 ตัน ต่อมาในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เรือดำน้ำ S-13 ออกปฏิบัติการในเขตน่านน้ำประเทศฟินแลนด์ ช่วงนี้เองที่ S-13 ถูกเรือปราบเรือดำน้ำของฝ่ายตรงข้ามโจมตีด้วยระเบิดลึก (depth-charge) อย่างหนัก แม้จะรอดมาได้ แต่ได้รับความเสียหายหนัก จนต้องหยุดปฏิบัติการเพื่อซ่อมแซมตัวเรือใหม่ ไประยะหนึ่ง
ความสำเร็จที่แท้จริงของเรือดำน้ำ S-13 ปรากฏเด่นชัด ในช่วงเดือนกันยายน ปี 1944 ปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ภายใต้การนำของผู้บังคับการเรือคนใหม่ คือ อเล็กซานเดอร์ มารีเนสโค (Alexander Ivanovich Marinesko) เรือดำน้ำ S-13 ออกปฏิบัติการเชิงรุก ในการขัดขวางการขนส่งกำลังบำรุงและขัดขวางเส้นทางเดินเรือของเยอรมัน ในวันที่ 30 มกราคม ปี 1945 เรือดำน้ำ S-13 เข้าโจมตี เรือโดยสารขนาดใหญ่ ชื่อ Wilhelm Gustloff ขนาดระวางขับน้ำ 25,893 ตัน ซึ่งเดินทางกลางทะเลโดยลำพังโดยปราศจากเรือคุ้มกัน จุดที่ S-13 โจมตีเรือโดยสารลำนี้ อยู่ที่ประมาณ 28 ไมล์ทะเล นอกชายฝั่ง Leba ปรัสเซียตะวันออก S-13 ยิงตอร์ปิโด 4 ลูก แบบซัลโว (ซัลโว หรือ Salvo คือ ยิงตอร์ปิโดออกไปเป็นชุดติดต่อกันเป็นจำนวนหลายลูก) เข้าใส่ เรือ Wilhelm Gustloff ตอร์ปิโดสามในสี่ลูกเข้าเป้าอย่างจัง ส่งผลให้เรือโดยสารขนาดใหญ่ลำนี้อับปางลง พร้อมชีวิตผู้โดยสารที่ต้องสูญสิ้นไป 7,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลเรือนที่อพยพหนีสงคราม (civilian refugees) ในขณะที่ฝ่ายโซเวียตรัสเซียกลับอ้างเหตุผลความชอบธรรมในการยิงเรือ Wilhelm Gustloff ว่า เรือลำนี้บรรทุกเจ้าหน้าที่ทางทหาร โดยเฉพาะนักเรือดำน้ำประมาณพันนาย พร้อมอาวุธสงครามภายในเรือจำนวนมาก
หลังจากนั้นไม่นาน ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ขณะลาดตระเวนอยู่ในเขตน่านน้ำเดิม เรือดำน้ำ S-13 ได้พบเหยื่อลำใหม่ เป็นเรือโดยสารสัญชาติเยอรมันขนาดใหญ่ ระวางขับน้ำ 14,895 ตัน ชื่อ General Steuben ซึ่งมีบริษัท German Nord Shipping Line เป็นเจ้าของ ภายในเรือมีผู้อพยพที่ได้รับบาดเจ็บจากสงคราม และเจ้าหน้าที่พยาบาล มากกว่าสามพันคน เรือดำน้ำ S-13 ยิงตอร์ปิโดใส่เรือลำนี้เพียงลูกเดียว แต่อาวุธเข้าจุดสำคัญเรือจึงจมลง ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากถึง 2,700 คน ขณะที่ผู้รอดชีวิตมีเพียงประมาณ 300 คน สาเหตุหลักเนื่องมาจากสภาพอากาศที่หนาวจัดจนทะเลกลายเป็นน้ำแข็ง
นอกจาก มารีเนสโค จะกลายเป็นสุดยอดอัศวินเรือดำน้ำของโซเวียตรัสเซีย จากผลงานการจมเรือศตรูได้มากที่สุด (คิดตามระวางขับน้ำเรือที่จมได้) แล้ว S-13 เรือดำน้ำคู่ใจของเขายังกลายเป็นเรือดำน้ำที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดของโซเวียตรัสเซียในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอีกด้วย แต่แล้วเหตุการณ์ภายหลังสงครามกลับพลิกผัน ในขณะที่ มารีเนสโค ต้องโทษจากข้อกล่าวหาทางการเมือง ถูกส่งตัวไปกักขังในค่ายกรรมกรที่ไซบีเรียเป็นเวลานานหลายปี และเสียชีวิตลงในปี 1963 เรือดำน้ำ S-13 ซึ่งได้สร้างชื่อเสียงให้กับเขา และไม่ได้รับความบอบช้ำใดๆจากสงคราม ได้รับใช้กองทัพเรือรัสเซียต่อมาอีกนับสิบปี ก่อนที่จะปลดระวางประจำการและถูกทำลายเป็นเศษเหล็กไปในช่วงปี 1958-59
อยากนำสถิติเกี่ยวกับโศกนาฏกรรมทางเรือมาลงไว้ด้วยเพื่อเป็นความรู้เสริมค่ะ จาก 10 อันดับสูงสุดของโลก เรือดำน้ำเป็นต้นเหตุเสีย ครึ่งหนึ่ง เป็นการยืนยันได้ว่าภัยจากเรือดำน้ำมีมากเพียงใด ข้อมูลมีดังนี้
1. Wilhelm Gustloff เรือกลไฟเยอรมันขนาด 25,484 ตัน บรรทุกผู้อพยพหนีสงคราม ถูกเรือดำน้ำ S-13 ของรัสเซียยิงตอร์ปิโดใส่ จมนอกชายฝั่ง Leba ทะเลบอลติก ในวันที่ 30 มกราคม 1945 มีผู้เสียชีวิต 7,000 คน
2. Goya เรือกลไฟเยอรมันขนาด 5,230 ตัน ถูกเรือดำน้ำ L-3 ของรัสเซียยิงตอร์ปิโดใส่ จมนอกชายฝั่ง Rixhoft ทะเลบอลติก ในวันที่ 16 เมษายน 1945 มีผู้เสียชีวิต 6,200 คน
3. Junyo Maru เรือกลไฟญี่ปุ่น ขนาดระวางขับน้ำ 5,065 ตัน บรรทุกเชลยสงครามฝ่ายสัมพันธมิตร ถูกเรือดำน้ำอังกฤษชื่อ HMS Tradewind ยิงตอร์ปิโดจมนอกฝั่งเกาะสุมาตรา ในวันที่ 18 เมษายน 1944 มีผู้เสียชีวิต 5,620 คน
4. Toyama Maru เรือกลไฟญี่ปุ่น ขนาดระวางขับน้ำ 6,000 ตัน ถูกเรือดำน้ำอเมริกัน ชื่อ USS Sturgeon ยิงตอร์ปิโดจมนอกฝั่งโอกินาว่า ในวันที่ 24 มิถุนายน 1944 มีผู้เสียชีวิต 5,400 คน
5. Cap Arcona เรือกลไฟเยอรมันถูกเครื่องบินอังกฤษโจมตีจมที่อ่าว Neustadt ทะเลบอลติก ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1945 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 5,000 คน
6. Lancastria เรือบรรทุกกำลังทางทหารของอังกฤษ ถูกฝูงบินเยอรมันโจมตีทางอากาศจมนอกฝั่ง St Nazaire ในวันที่ 17 มิถุนายน 1940 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 4,500 คน
7. Dona Paz เรือเฟอรี่บรรทุกผู้โดยสาร สัญชาติฟิลิปปินส์ ชนกับเรือบรรทุกน้ำมันใกล้ฝั่งมะนิลา ในวันที่ 20 ธันวาคม 1987 มีผู้เสียชีวิต 4,341 คน
8. Kiangya เรือกลไฟจีนชน ทุ่นระเบิด นอกฝั่ง Woosung ประเทศจีน ในวันที่ 3 ธันวาคม 1948 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 3,920 คน
9. Provence 11 สงครามโลกครั้งที่ 1 : เรือลาดตระเวนฝรั่งเศส ขนาด 13,753 ตัน ถูกตอร์ปิโดเรือดำน้ำ U-35 ของเยอรมันจมลงใกล้เกาะ Kithira กรีซ ในวันที่ 26 พฤษภาคม 1916 มีผู้เสียชีวิต 3,100 คน
10. Thielbek เรือกลไฟเยอรมัน ถูกฝูงบินอังกฤษโจมตีจม ที่อ่าว Lubeck Bay ในวันที่ 3 พฤษภาคม 1945 มีผู้เสียชีวิต 2,800 คน
อันที่จริงแล้ว ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เคยมีการทำสัญญาสุภาพบุรุษ ที่เรียกกันว่า “กฎการเดินเรือสำราญในช่วงสงคราม (cruiser rules)” ตามบทบัญญัติ ของกฎหมายระหว่างประเทศและอนุสัญญา กำหนดให้เรือดำน้ำขึ้นสู่ผิวน้ำก่อนเข้าใกล้เรือสำราญ และให้ลูกเรือและผู้โดยสารลงเรือเล็กก่อนที่เรือดำน้ำจะทำการยิง เพื่อป้องกันไม่ให้พลเรือนผู้บริสุทธิ์ต้องเสียชีวิตจากการโจมตีของเรือดำน้ำ แต่อังกฤษอาศัยช่องว่างของกฎนี้ ใช้เรือคิว (Q-ship หรือเรือลวง) ทำลายเรือดำน้ำเยอรมันไปหลายลำ
เรือลวง (Q-ship – เรือคิว) คือ เรือรบที่พรางตัวเพื่อหลอกล่อเรือดำน้ำของฝ่ายข้าศึกให้เข้ามาใกล้ระยะยิงของปืน ยุทธวิธีนำเรือรบมาพรางตัวนี้เป็นเรื่องที่ขัดแย้งกันมากในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 เพราะจากยุทธวิธีนี้ เป็นการบังคับให้เรือดำน้ำของเยอรมันต้องปฏิบัติตามกฎการเดินเรือสำราญในช่วงสงคราม (cruiser rules) ดังกล่าว ในขณะที่เรือรบพรางตัวเป็นเรือสินค้าเข้าโจมตีเรือดำน้ำไม่ต้องเคารพ กฎเกณฑ์เหล่านี้แต่อย่างใด การที่อังกฤษใช้ เรือรบพรางตัวเป็นเรือสินค้าทำลายเรือดำน้ำเยอรมันไปหลายลำ ได้เป็นหนึ่งในองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้เยอรมันต้องประกาศทำสงครามเรือดำน้ำแบบไม่จำกัด (un-restricted submarine warfare) ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยเรือดำน้ำเยอรมันจะทำการซุ่มยิงเรือฝ่ายสัมพันธมิตรทุกลำไม่ว่าจะเป็นเรือประเภทใด โดยไม่แจ้งเตือนเหยื่อล่วงหน้า ส่งผลให้ เรือโดยสารลูซิทาเนียถูกเรือดำน้ำเยอรมันยิงจนจมลง ผู้โดยสารเสียชีวิตจำนวนมาก รวมทั้งชาวอเมริกัน เป็นชนวนเหตุให้อเมริกาเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร ต่อต้านเยอรมัน พอมาถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 แม้ว่าอนุสัญญาระหว่างประเทศที่ลงนามโดยมีผู้ร่วมลงนามทุกชาติว่าต้องให้ความเคารพต่อกฎการเดินเรือสำราญในช่วงสงคราม แต่กฎเหล่านี้ต่างไม่ได้รับการเคารพจากทั้งสองฝ่าย
ข้อที่ 2 : U-35 เรือดำน้ำที่จมเรือได้มากที่สุดในประวัติศาสตร์
รายละเอียดเกี่ยวกับ เรือดำน้ำ ชั้น U-31 (เรือดำน้ำ U-31 ถึง U-41) :
บริษัท Germania เร่งผลิตเรือดำน้ำ ชั้น U-31 ให้กับกองทัพเรือเยอรมันตั้งแต่ช่วงต้นปี 1914 ยาวนานตลอดไปถึงช่วงปลายปีเดียวกัน เป็นจำนวนมากถึง 11 ลำ แม้ว่า 3 – 4 ลำแรกของชั้น จะสร้างขึ้นก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่งไม่นานก็ตาม แต่ได้มีการผลิตเรือเพิ่มเพื่อหลังจากนั้นใช้ปฏิบัติการรบในสงคราม เรือดำน้ำชั้นนี้ ประกอบด้วย เรือดำน้ำ U-31 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 7 มกราคม1914), U-32 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 28 มกราคม 1914), U-33 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 19 พฤษภาคม 1914), U-34 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 9 พฤษภาคม 1914), U-35 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 18 เมษายน 1914), U-36 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 6 มิถุนายน 1914), U-37 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 25 สิงหาคม 1914), U-38 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 9 กันยายน 1914), U-39 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 26 กันยายน 1914), U-40 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 22 ตุลาคม 1914) และ U-41 (ปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ 10 ตุลาคม 1914)
เรือดำน้ำชั้นนี้มีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับเรือดำน้ำชั้น U-27 ใช้เวลาดำลงใต้น้ำได้ค่อนข้างเร็ว ภายในแค่ 100 วินาที (หรือประมาณนาทีครึ่ง) ในกลางปี 1915 ซึ่งเป็นช่วงที่สงครามโลกครั้งที่หนึ่งยังคงดำเนินอยู่ เรือดำน้ำชั้น U-31 ติดตั้งปืนดาดฟ้าเรือขนาดลำกล้อง 88 มม. และเปลี่ยนเป็นปืนขนาดลำกล้อง 150 มม. ในช่วงกลางปี 1916
เรือดำน้ำทั้ง 11 ลำประสบชะตากรรมต่างกันไป ปี 1915 นับเป็นปีแห่งความสูญเสียของเรือดำน้ำชั้น U-31 อย่างแท้จริง กองทัพเรือเยอรมันสูญเสียเรือดำน้ำชั้นนี้ไปในสงครามถึง 5 ลำ เริ่มด้วย U-31 พี่สาวคนโต จมลงนอกชายฝั่งตะวันออกของประเทศอังกฤษ ในเดือนมกราคม 1915 ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นฝีมือของทุ่นระเบิด อีกประมาณ 2 เดือนถัดมา เรือดำน้ำ U-37 ถูกเรืออวนลาก (trawler) สัญชาติอังกฤษ ชื่อ Ste. Jemanne ชนจนจมลง ใกล้ชายฝั่ง Fecamp เมื่อวันที่ 30 มีนาคม จากนั้นในวันที่ 23 มิถุนายน ของปีเดียวกัน เรือดำน้ำ U-40 ถูกเรือดำน้ำ C-24 ของอังกฤษยิงตอร์ปิโดใส่จนจมลงใกล้ชายฝั่งเมืองอาร์เบอดีน (Aberdeen) ประเทศสก็อตแลนด์ และต่อมาไม่นานนัก กองทัพเรือเยอรมันต้องสูญเสียเรือดำน้ำชั้น U-31 ไปอีก 2 ลำ คือ U-36 และ U-41 น้องสาวคนสุดท้อง ด้วยฝีมือของเรือลวง หรือ Q-ship
เรือดำน้ำ U-36 จมลงเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 1915 ใกล้หมู่เกาะเฮบริดิส (Hebrides – เป็นหมู่เกาะกลางทะเลทางด้านตะวันตกของสกอตแลนด์) จากการปะทะกับเรือ Q-ship ชื่อ Prince Charles จากนั้นอีกเพียง 2 เดือน ในวันที่ 24 กันยายน เรือ Q-ship ชื่อ Wyandra ทำลายเรือดำน้ำ U-41 จมลงใกล้หมู่เกาะซิลี่ส์ (Scillies – ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดคอร์นวอลล์ ประเทศอังกฤษ) ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ปี 1918 การสู้รบของเรือดำน้ำ U-31 หกลำที่เหลือยังคงดำเนินต่อไปอย่างกล้าหาญ เรือดำน้ำ U-32 ถูกเรือสลูป (sloop) ของอังกฤษ ชื่อ Wallflower ทำลายใกล้หมู่เกาะมอลต้า (Malta) ในทะเลเมดิเตอเรเนียน ในวันที่ 8 พฤษภาคม 1918 และลำสุดท้ายที่พลีชีพในสงคราม คือ เรือดำน้ำ U-34 จมลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1918 ด้วยฝีมือของเรือสลูป ชื่อ Privet
เรือดำน้ำชั้น U-31 ที่เหลือรอดจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มีเพียง 4 ลำ คือ เรือดำน้ำ U-33, U-35, U-38 และ U-39 หนึ่งในนั้น คือ เรือดำน้ำ U-35 ได้รับการยกย่องให้เป็นเรือดำน้ำที่ประสบความสำเร็จในการรบมากที่สุดในทุกสมรภูมิรบ U-35 จมเรือศตรูได้มากถึง 224 ลำ รวมน้ำหนักเรือ 535,900 ตัน จนกระทั่งในปัจจุบัน ยังไม่มีเรือดำน้ำลำใดลบสถิตินี้ได้ เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติของสงครามโลกครั้งที่สอง เรือดำน้ำที่สามารถจมเรือศตรูได้มากที่สุด (คิดตามระวางขับน้ำ) คือ เรือดำน้ำ U-99 ภายใต้การนำของผู้บังคับการเรือ – Otto Kretschmer ระวางน้ำเรือที่จมได้ 313,616 ตัน น้อยกว่า เรือดำน้ำ U-35 222,284 ตัน
ส่วนเรือดำน้ำชั้น U-31 ที่รอดพ้นจากการถูกทำลายในสงครามโลกครั่งที่หนึ่งอีกลำ คือ เรือ U-39 ได้รับความเสียหายจากการรบ และถูกนำไปยังประเทศสเปน และถูกทำลายเป็นเศษเหล็กในเวลาต่อมา
ข้อที่ 3 :
3.1 ยาน Drebbel เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่สามารถแล่นใต้น้ำได้จริง (ปี ค.ศ. 1620) (คัดลอกจาก บทความวิวัฒนาการเรือดำน้ำโลก ตอนที่ 1 : การพัฒนาเรือดำน้ำขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ในยุคต้น ตีพิมพ์ในหนังสือ Top Gun ฉบับที่ 155 เดือนกุมภาพันธ์ 2554) : “ต่อโดยนักต่อเรือชาวดัชน์ ชื่อ Cornelius Drebbel ทดลองวิ่งครั้งแรกในแม่น้ำเทมส์ (Thames) ประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1620 ตามพระบัญชาของกษัตริย์ เจมส์ที่ 1 แห่งประเทศอังกฤษ
ยาน Drebbel สร้างด้วยไม้ บุด้วยหนังอาบน้ำมันเพื่อกันน้ำเข้า มีกรรเชียงยื่นออกมาจากลำตัวเรือ เคลื่อนที่ด้วยการใช้แรงคนกรรเชียงเรือ ทำให้สามารถเคลื่อนที่ไปใต้น้ำได้ในระยะสั้นๆ ลูกเรือประกอบด้วยฝีพาย 12 นาย และนายทหารควบคุมเรือ 3 นาย แล่นเรือใต้น้ำ ในแม่น้ำเทมส์ ที่ความลึกประมาณ 15 ฟุต ต่อหน้าพระพักตร์ เจมส์ที่ 1 ยานลำนี้สามารถดำใต้น้ำเป็นเวลานานหลายชั่วโมง ในส่วนของ ระบบถ่ายเทอากาศภายในเรือ นักวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์เรือดำน้ำ สันนิฐานว่ามีการนำระบบอัดอากาศ (compressed air) มาใช้ ซึ่งอาจจะเป็นก๊าซออกซิเจน อากาศถูกระบายเข้าสู่ตัวยาน ผ่านท่อซึ่งต่อจากยานขึ้นเหนือน้ำ ในเวลาต่อมาอีกกว่า 3 ศตวรรษ ระบบถ่ายเทอากาศภายในยาน Drebbel นี้ได้กลับมาคล้ายคลึง ระบบ Snorkel System ซึ่งเรือดำน้ำเยอรมันพัฒนาได้ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองอย่างน่าอัศจรรย์ใจ
ปัญหาหลักในการศึกษาเรื่องราวของ ยาน Drebbel ก็คือ ไม่มีบันทึกเกี่ยวกับยานนี้ จากผู้ประดิษฐ์ หรือ ผู้อยู่ร่วมสมัย เรื่องราวเกี่ยวกับ ยาน Drebbel ล้วนแล้วแต่เขียนขึ้นในยุคหลังจากนั้น ข้อมูลบางอย่างจึงอาจสูญหาย หรือผิดเพี้ยนไป นักประวัติศาสตร์บางกลุ่มสันนิฐานว่า เจมส์ที่ 1 ได้ทรงประทับในยาน Drebbel ขณะดำใต้น้ำด้วย ในขณะที่อีกหลายกลุ่มไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้จริง เนื่องจากเป็นการเสี่ยงเกินไป
3.2 บุชเนลส์ เทอเทิ้ล (Bushnell’s Turtle) เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ออกรบในสงครามและเข้าโจมตีเรือผิวน้ำ : สร้างโดย เดวิด บุชเนล (David Bushnell) ประเทศสหรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามประกาศอิสรภาพของอเมริกา (The American Independence War ปี ค.ศ. 1765 - 1781) เพื่อใช้ทำลายกองเรือปิดอ่าวของอังกฤษ ที่ทอดสมออยู่บริเวณอ่าวนิวยอร์ค เมื่อคืนวันที่ 6 กันยายน 1776
เรือดำน้ำลำนี้ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ ใช้กำลังพลเพียง 1 นาย ที่ทำหน้าที่เป็นทั้งผู้บังคับเรือและติดตั้งระเบิดเข้ากับเรือเป้า ด้วยการใช้สกรูเหล็กแหลมบริเวณหัวเรือแทงท้องเรือเป้าให้ทะลุแล้วผนึกคลังกระสุนที่บรรจุดินระเบิดเข้ากับรอยแตกของเรือ ผู้บังคับเรือดำน้ำเทอเทิ้ล ในครั้งนั้น คือ สิบเอก อิซรา ลี (Sergeant Ezra Lee) แต่ทำงานไม่สำเร็จ สกรูไม่สามารถแทงท้องเรือเป้าทะลุได้ และหักเป็นสองท่อน จึงต้องนำเรือหลบหนีกลับฐานทัพ
อันที่จริง ก่อนหน้านั้น ในปี 1653 มีบันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับ เรือดำน้ำ Rotterdam Boat ซึ่งสาธารณรัฐดัชน์ (Dutch Republic) ใช้ในสงครามทางเรือ อังกฤษ – ดัชน์ ครั้งที่ 1 เรือลำนี้ ติดตั้งแรม (Ram) - เหล็กแหลมตรงหัวเรือเพื่อแทงเรือศตรูให้ทะลุ DE SON – ผู้สร้างเรือ คุยโวว่าเรือลำนี้ บุกเข้าไปถึงช่องแคบอังกฤษ ทำลายเรือศตรูได้มากมาย แต่ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ยืนยันคำกล่าว เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ออกรบและได้เข้าโจมตีเรือเป้าจริง คือ บุชเนลส์ เทอเทิ้ล ข้างต้น ส่วนเรือดำน้ำที่จมเรือศตรูได้สำเร็จเป็นลำแรกของโลก คือ ฮัลเลย์ ของฝ่ายใต้ ในสงครามกลางเมือง สหรัฐอเมริกา ปี 1864
3.3 CSS Hunley (ซี เอส เอส ฮัลเลย์) เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่จมเรือผิวน้ำได้สำเร็จ :
เรือดำน้ำฮัลเลย์ สร้างโดยโฮเรส ฮัลเลย์ (Horace L. Hunley) แห่งกองทัพฝ่ายใต้ (หรือ สหพันธรัฐแห่งอเมริกา - The Confederate States of America ซึ่งประกอบด้วย 11 รัฐทางใต้) เพื่อทำลายเรือกองปิดอ่าว ที่ ฝ่ายเหนือ (หรือรัฐบาลกลาง - Federal Government) ส่งมากดดันฝ่ายใต้ ในสงครามกลางเมืองสหรัฐอเมริกา (The American Civil War ปี 1861 – 65)
ก่อนที่จะจมเรือศตรูได้สำเร็จ ฮัลเลย์เกิดอุบัติจมลงหลายครั้งทั้งจากการออกรบและฝึกซ้อม ส่งผลให้คนในเรือเสียชีวิตหลายคน รวมโฮเรส ฮัลเลย์ ผู้ให้กำเนิดมัน ซึ่งสาเหตุหลักมาจากโครงสร้างเรือที่มีหอบังคับการเรือต่ำเรี่ยน้ำ (ด้วยเหตุผลเพื่อการพรางตัว ไม่ให้เป็นที่สังเกตได้ง่าย ขณะนำเรือแล่นเข้าใกล้เรือเป้า) และ การนำเรือสมัยนั้น ซึ่งขาดกล้องตาเรือดำน้ำ ผู้การเรือจะต้องออกมายืนบริเวณหอบังคับการเพื่อสังเกตสภาพภายนอก เมื่อมีคลื่นลมแรง น้ำทะเลซัดเข้าในเรือได้ง่าย, สภาพภายในเรือที่แออัด และไม่มีทางออกฉุกเฉินกรณีเกิดเรือจม ต่อมา ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของฝ่ายใต้ - พลเอก Beauregard จึงมีคำสั่งห้ามไม่ให้นำเรือดำน้ำฮัลย์ออกรบอีก เรือโท อเล็กซานเดอร์ ทีมงานของโฮเรส ฮัลเลย์ ผู้วายชนม์ และ เรือโท จอร์จ อี ดิกสัน (George E. Dixon) พยายามโน้มน้าวพลเอก Beauregard ได้สำเร็จ ฮัลเลย์ได้ออกทะเลอีกครั้ง และสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการจมเรือผิวน้ำได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
การรบครั้งประวัติศาสตร์นี้เกิดขึ้นในคืนวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 1864 เรือดำน้ำฮัลเลย์ นำโดย เรือโทดิกสัน เข้าโจมตี USS Housatonic - เรือรบแบบเรือใบ ขนาดใหญ่ 1,934 ตัน ซึ่งลำตัวเรือทำด้วยไม้ไม่มีเกราะหุ้ม ด้วยการยิง Spar Torpedo (แกนไม้ปลายแหลมยาวติดอาวุธดินระเบิด) ปักเข้าที่ลำตัวเรือเป้า แล้วกดชนวนระเบิด ส่งผลให้ Housatonic ถูกทำลาย แต่ฮัลเลย์ เองถูกแรงระเบิดจมลงใต้ท้องน้ำเช่นเดียวกับเหยื่อของมัน เรือโทดิกสัน และลูกเรือทั้งแปดนายเสียชีวิต
3.4 Ictineo II - เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนเรือที่ไม่ใช้ก๊าซออกซิเจน เป็นส่วนประกอบในการเผาไหม้เครื่องยนต์ แต่กระบวนการเผาไหม้ได้ทำเกิดก๊าซออกซิเจน ที่จำเป็นต่อการหายใจของคนในเรือ และเป็นต้นแบบของเรือดำน้ำขับเคลื่อนระบบ AIP ในปัจจุบัน (คัดลอกจากบทความวิวัฒนาการเรือดำน้ำโลก ตอนที่ 5 : การพัฒนาเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำ (Steam-powered Submarine) ตีพิมพ์ในหนังสือ Top Gun ฉบับที่ 164 เดือนมกราคม ปี 2555) :
“ Narcis Monturiol วิศวกรชาวสเปน คือ ผู้ให้กำเนิดเรือดำน้ำพลังงานไอน้ำลำแรกของโลก โดยแรกเริ่ม เขาเกิดจินตนาการที่จะสร้างยานที่แล่นใต้น้ำได้ เพื่อช่วยชาวประมงซึ่งจับปลาในบริเวณที่มีหินปะการังหนาแน่น ให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ไม่ใช่เพื่อการทำสงครามแต่อย่างใด แต่ภายหลังดัดแปลงเพิ่มเติมในส่วนอาวุธ ให้เรือดำน้ำมีประสิทธิภาพในการรบ เพื่อหวังเงินทุนสนับสนุนจากทางกองทัพในการต่อเรือ
ยาน Ictineo II ขนาดความยาวเรือ 14 เมตร ระวางขับน้ำ 65 ตัน ต่อขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1862 เรือสร้างแล้วเสร็จปล่อยลงน้ำ ในวันที่ 2 ตุลาคม 1864 เรือดำน้ำลำนี้ขับเคลื่อนด้วยแรงมนุษย์ จำนวน 16 ฝีพาย อย่างไรก็ตาม ภายหลังทดสอบแล่นเรือครั้งแรก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 1865 Monturiol กลับมีความรู้สึกว่า Ictineo II ปฏิบัติงานได้ไม่ดีนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเร็วเรือต่ำ เขาจึงคิดที่จะเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนเรือเสียใหม่ ซึ่งระบบขับเคลื่อนเรือซึ่งทันสมัยที่สุดและให้ความเร็วเรือสูงสุดในยุคนั้น คือ เครื่องจักรไอน้ำ อย่างไรก็ตามเครื่องจักรไอน้ำที่ติดตั้งบนเรือผิวน้ำ ใช้การจุดไฟเผาถ่าน เพื่อต้มน้ำให้เดือดเป็นไอ ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้กับเรือดำน้ำได้ เนื่องจากเปลวเพลิงและกาซคาร์บอนไดออกไซด์ จากควันไฟอาจทำให้เกิดอันตรายกับเรือขณะดำอยู่ใต้น้ำ Monturiol จึงหันมาคิดค้นวิธีสร้างความร้อนด้วยสารเคมีแทน หลังจากทดลองผสมสารเคมีหลายตัวเข้าด้วยกัน เขาค้นพบส่วนผสมที่ลงตัว ระหว่าง สังกะสี (zinc) 53%, แมงกานีส ไดอ็อกไซด์ (manganese dioxide) 16% และ โปตัสเซี่ยมคลอเรต (potassium chlorate) 31% ซึ่งเมื่อผสมเข้าด้วยกัน ก่อให้เกิดความร้อนมากพอที่จะต้มน้ำให้กลายเป็นไอได้ นอกจากนี้ยังผลิตกาซออกซิเจนออกมาอีกด้วย เขาซื้อเครื่องจักรไอน้ำ แบบ 6 กระบอกลูกสูบ (cylinder) แล้วดัดแปลงเครื่องยนต์ครึ่งหนึ่ง ขับเคลื่อนพลังงานไอน้ำที่เกิดจากการให้ความร้อนจากสารเคมีผสมที่เขาคิดค้นขึ้น เพื่อใช้ในการแล่นเรือใต้น้ำ โดยเครื่องยนต์ส่วนนี้ติดตั้งในส่วนท้ายของเรือ ในขณะที่เครื่องยนต์ส่วนที่เหลือซึ่งใช้สำหรับการแล่นเรือเหนือน้ำ ทำงานด้วยการใช้เปลวไฟเผาไหม้ถ่านต้มน้ำเช่นเดียวกับเรือกลไฟผิวน้ำ เครื่องจักรไอน้ำ ขนาด 6 แรงม้า ทั้งสองส่วนซึ่งติดตั้งภายในเรือทำงานได้ดี ในการทดสอบแล่นเรือบนผิวน้ำครั้งแรก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 1867 ยาน Ictineo II ทำความเร็วเรือเฉลี่ยที่ 3.5 นอต (4 ไมล์ต่อชั่วโมง) และ ทำความเร็วเรือสูงสุดที่ 4.5 นอต (5.2 ไมล์ต่อชั่วโมง) สองเดือนต่อมา ในวันที่ 14 ธันวาคม Monturiol ทดลองแล่นยาน Ictineo II ใต้น้ำ ด้วยเครื่องจักรไอน้ำแบบใหม่ที่เขาออกแบบขึ้น ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง เรือดำน้ำผ่านการทดสอบดำใต้น้ำถึง 13 เที่ยว ที่ความลึก 30 เมตร และสามารถกบดานใต้น้ำนานที่สุด 7 ชั่วโมงครึ่ง”………
…….“ส่วนประกอบของเรือดำน้ำ Ictineo II ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สำคัญที่สุดในยุคนั้น คือ เครื่องจักรไอน้ำที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบในการทำงาน (anaerobic steam engine) ซึ่งต่างไปจากเครื่องจักรไอน้ำของเรือผิวน้ำ ซึ่งใช้กาซออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการเผาไหม้ แล้วปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ผลพลอยได้ที่ดียิ่งของเครื่องยนต์ของ Monturiol คือ มันผลิตก๊าซออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจของมนุษย์ออกมาด้วย ซึ่ง Monturiol เก็บกาซนี้ไว้ในถังเก็บกาซ เพื่อใช้สำหรับการหายใจของคนในเรือ และการจุดไฟ นับได้ว่า Ictineo II คือเรือดำน้ำลำแรกที่สามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานที่เกิดขึ้นกับเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานเครื่องยนต์ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในยุคนั้นได้ โดยเฉพาะในเรื่องการเดินเรือใต้น้ำ
ไม่มีเรือดำน้ำลำใดในยุคศตวรรษที่ 18s รวมทั้งในยุคต่อมา ที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเรือที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบในการทำงาน (Anaerobic Propulsion) เฉกเช่น ยาน Ictineo II จนกระทั่งอีกเกือบร้อยปีต่อมา ในปี 1940 เมื่อเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้า ได้รับความนิยมสูงสุด กองทัพเรือเยอรมันได้ทดลองระบบเครื่องยนต์เรือดำน้ำแบบใหม่ ซึ่งมีหลักการทำงานคล้ายคลึงกับของยาน Ictineo II กับเรือดำน้ำทดลอง ชื่อ V-80 นั่นคือ เครื่องยนต์เทอร์ไบน์ Walter Turbine เพื่อจุดประสงค์ในการผลิตเรือดำน้ำใหม่ๆในการทำสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เครื่องยนต์ นี้ออกแบบโดย เฮลมุต วอลเตอร์ (Hellmuth Walter) นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน ด้วยการพัฒนาระบบเครื่องยนต์เทอร์ไบน์สำหรับขับเคลื่อนเรือใต้น้ำ ซึ่งผลิตกาซออกซิเจนออกมา จากการเผาไหม้กาซไฮโดรเจน เพอ อ็อกไซด์ (hydrogen peroxide) เรือดำน้ำ V-80 ทำความเร็วเรือสูงกว่า 26 นอต ใต้น้ำ ในเวลาสั้นๆ อย่างไรก็ตามการสร้างเรือดำน้ำจริงเพื่อประจำการในกองทัพ กลับล่าช้า แต่ในที่สุดเรือดำน้ำขับเคลื่อนเครื่องยนต์ Walter Turbine รุ่น Type XVIIB ก็คลอดออกมาได้สำเร็จ อย่างไรก็ตามการพัฒนาระบบขับเคลื่อนเรือแบบ Anaerobic Propulsion ยังไม่สมบูรณ์แบบ ยังคงพบปัญหาบางประการเทคนิคบางประการ จนกระทั่งสหรัฐอเมริกาสามารถต่อ USS Nautilus - เรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ ลำแรกของโลกได้สำเร็จ ปัญหานี้จึงสามารถแก้ไขลุล่วงไปได้ ด้วยการคิดค้นระบบขับเคลื่อนเรือที่ไม่ใช้ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบในการทำงาน (Anaerobic) ซึ่งเรียกกันว่า ระบบ Air-Independent Propulsion (AIP) ซึ่งทำให้เรือดำน้ำสามารถดำใต้น้ำได้เป็นเวลานาน โดยไม่ต้องโผล่ขึ้นมาเหนือน้ำเพื่อชาร์ตแบตตารี่บ่อยๆเช่นเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้ายุคสงครามโลก”
3.5 Holland I - เรือดำน้ำทดลองลำแรกของโลกที่ใช้ระบบขับเคลื่อนเบนซิน และเป็นต้นแบบให้กับเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานเบนซิน – ไฟฟ้า :
Holland หมายเลข 1 - เรือดำน้ำลำแรกของโลกที่มีการนำเครื่องยนต์เบนซินมาทดลองใช้ ออกแบบโดย จอห์น ฟิลิป ฮอลแลนด์ ชาวไอริช – อเมริกัน สร้างขึ้นในปี 1878 เป็นเรือดำน้ำทดลองขนาดเล็ก ความยาวเรือเพียง 14 ฟุต ระวางขับน้ำ 2.2 ตัน เหนือน้ำ คนไม่สามารถเข้าไปอยู่ในเรือได้ ติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน Brayton กำลัง 4 แรงม้า หลังทดลองแล่นเรือสำเร็จ ฮอลแลนด์ได้ถอดเครื่องยนต์เบนซินออก และทำการจมเรือ ในแม่น้ำ Upper Passaic ใต้สะพาน Falls Bridge ภายหลังได้มีการกู้ซากเรือดำน้ำ Holland I ขึ้นจากน้ำ นำไปจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ Paterson Museum เมือง Paterson ประเทศสหรัฐอเมริกา
เรือดำน้ำ Holland I ได้เป็นต้นแบบให้กับ เรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานเบนซิน และ เบนซิน – ไฟฟ้า ลำต่อๆมาของ ฮอลแลนด์ ได้แก่
- เรือดำน้ำ Fenian Ram (หรือ ฮอลแลนด์ หมายเลข 2 - Holland II) ขับเคลื่อนเครื่องยนต์เบนซิน Brayton สร้างในปี 1881 (Fenians คือ ชื่อสมาคมชาวไอริสที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านรัฐบาลอังกฤษ ส่วน Ram หมายถึงอาวุธเหล็กแหลมหัวเรือ) ฮอลแลนด์ ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาคมนี้ได้รับการว่าจ้างจากกลุ่ม Fenians ให้สร้างเรือดำน้ำเพื่อใช้ทำลายกองเรืออังกฤษ แต่ไม่เคยถูกนำไปใช้จริงแต่อย่างใด
- เรือดำน้ำ Zalinski (หรือ ฮอลแลนด์หมายเลข 4 - Holland IV) ปี 1883 ชื่อเรือตั้งตามนามสกุลของ ร้อยโท Zalinski หุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทเรือดำน้ำนอร์ติลุสจำกัด (Nautilus Submarine Boat Company) ที่ฮอลแลนด์ตั้งขึ้น จุดประสงค์ของการสร้างเรือ เพื่อเสนอขายให้กับประเทศฝรั่งเศส ใช้ในสงครามจีน – ฝรั่งเศส (Sino – French War ปี 1883 – 1885) แต่ไม่เคยถูกนำไปใช้สงครามจริง ลักษณะพิเศษของเรือ นอกจากติดตั้งเครื่องยนต์เบนซิน Brayton แล้ว ยัง
ติดตั้ง ปืนไดนาไมท์ ซึ่ง Zalinski ออกแบบ จำนวน 2 กระบอก กลไกปืนที่ทำงานด้วยระบบ อากาศอัด
- เรือดำน้ำ Holland หมายเลข 6 (Holland VI) ขับเคลื่อนเบนซิน - ไฟฟ้า ปี 1897 นับเป็นเรือดำน้ำที่ประสบความสำเร็จสูงสุดของ ฮอลแลนด์ และ Electric Boat - บริษัทต่อเรือดำน้ำใหม่ของเขา เรือลำนี้ได้เข้าประจำการในกองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อ USS Holland (SS-1) ในวันที่ 1 ตุลาคม 1990 และนับเป็นเรือดำน้ำสมัยใหม่ลำแรกของโลก สร้างแรงบันดาลใจให้หลายประเทศในยุคนั้น ต่อเรือดำน้ำเบนซิน – ไฟฟ้า ประจำการในกองทัพ รวมไปถึงการพัฒนาเรือดำน้ำดีเซล – ไฟฟ้า ในเวลาต่อมาอีกไม่นาน เพื่อแก้ไขปัญหาอันตรายที่เกิดขึ้นกับเครื่องยนต์เบนซิน นั่นคือการรั่วซึมของไอระเหยจากน้ำมันที่ทำให้เกิดการระเบิด ไฟไหม้ ในเรือ เพราะเครื่องยนต์ดีเซล มีความปลอดภัยสูงกว่า
รายละเอียดเกี่ยวกับ เรือดำน้ำของ จอห์น ฟิลิปส์ ฮอลแลนด์ ทั้งหมดนี้ ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านเนื้อหาอย่างละเอียด ได้จาก “บทความวิวัฒนาการเรือดำน้ำโลก ตอนที่ 8 : การพัฒนาเรือดำน้ำขับเคลื่อนพลังงานเบนซิน – ไฟฟ้า (Gasoline–Electric Submarine) และ ผลงานการออกแบบเรือดำน้ำของ จอห์น ฟิลิป ฮอลแลนด์ (John Phillip Holland)” นิตยสาร Top Gun ค่ะ
ลืมไปเลยเห็นว่าจำนวนตอบกะทู้ขึ้นเลยแว๊บเข้ามาดู ใด้ความรู้อีกเยอะแยะเลยครับ ขอบคุณมากท่าน จขกท อย่างมากมาย
ในส่วนหนังสือ ว่างๆผมขอไปอุดหนุนที่แผงหนังสือดีกว่าครับ
ช่วยกันคนละนิดคนละหน่อย หนังสือคุณภาพดีๆหายากขึ้นทุกๆวัน
และในอนาคต ขอแบบไฮเทค นะขอรับ ...
ขอขอบคุณ คุณOAAครับ สำหรับคำถามและคำตอบครับ ได้ความรู้เพียบ เสียดายผมไม่ได้อ่าน TOPGUN ซะด้วยครับ
ขอบคุณค่ะ คุณ fantom คุณ jeab บทความนี้ตั้งจะจะเขียนรายละเอียดของเรือดำน้ำให้ได้มากที่สุดและลึกที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่ยุคบุกเบิกเรือดำน้ำเป็นต้นมาค่ะ โดยตอนปัจจุบัน เนื้อหาจะมาจบอยู่ที่ เรือดำน้ำต้นแบบของเรือดำน้ำสมัยใหม่ คือ ยาน Holland VI และ Argonaut ส่วนเทคโนโลยีใหม่ๆของเรือดำน้ำ เช่นใน naval-technology.com หากเจอข้อมูลและมีเวลาจะแปลมาให้เพื่อนสมาชิกอ่านกันค่ะ สาเหตุที่ตั้งใจเขียนในลักษณะนี้ เพราะเรือดำน้ำถูกเข้าใจผิดๆมามาก เช่น ยุคของเรือดำน้ำที่ปรากฎตามเอกสารต่างๆ จะเน้นตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ปฎิบัติการเรือดำน้ำของเยอรมันเริ่มเป็นที่รู้จัก แต่เรือดำน้ำมีการพัฒนามานานกว่านั้น คนทั่วไปไม่ทราบว่าเรือดำน้ำมีที่มาอย่างไร และมีความสำคัญในการรบทางเรืออย่างไร จึงหวังว่าบทความนี้จะช่วยปูพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับเรือดำน้ำให้ผู้ที่สนใจได้ค่ะ
หากสะดวก รบกวนคุณ fantom แจ้งที่อยู่มาก็ได้ค่ะ หนังสือที่จะให้ไม่ใช่ Top Gun แต่เป็นหนังสือของที่ทำงาน ค่ะ และ CD หนังสือทหาร
ภาพประกอบบทความ มีเตรียมมา แต่อยู่ในไฟล์ ไมโครซอฟเวิร์ด ก้อปลงในช่องเขียนข้อความไม่ได้ ต้องไปเตรียมมาใหม่เป็นแบบแยกไฟล์ รูปประจำตัว OAA นี่ก็ใช่ เป็นภาพวาดเหตุการณ์ ตอนเรือดำน้ำ บุชเนลส์ เทอเทิ้ล ลอบเข้าไปโจมตีเรือรบอังกฤษค่ะ
รบกวนคุณ Pipat 2000 แจ้งที่อยู่่ด้วยค่ะ จะส่งหนังสือไปให้ ทั้งสองท่านรบกวนส่งเมล์มาที่ military_bk_3@yahoo.com ก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ