สิบปีที่ผ่านมา ผลลัพธ์จากอุบัติเหตุหลาย ๆ อย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศ F-16ADF จำนวน 16 ลำจึงกลายมาเป็นเครื่องบินขับไล่ที่ดีที่สุดของประเทศในช่วงเวลานั้น จากวันนั้นจนถึงวันนี้ แม้ F-16ADF จะเป็นเครื่องบินมือสอง แต่ความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยระยะเกินสายตา (BVR) และระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเครือข่ายขั้นพื้นฐาน ก็ปูทางให้กองทัพอากาศได้เรียนรู้เทคโนโลยีและศาสตร์ทางการรบขั้นสูงเหล่านี้จนกลายเป็นรากฐานสำคัญในการก้าวไปสู่ยุคใหม่ของกองทัพอากาศในปัจจุบัน
ปีนี้ ซึ่งเป็นวาระครบรอบ 10 ปีของ F-16ADF ฝูงบิน 102 รวมถึงในวาระครบรอบ 24 ปีการเข้าประจำการของ F-16A/B ฝูงบิน 103 ทางกองบิน 1 ซึ่งเป็นบ้านของ F-16 ทั้งสองฝูง จึงได้จัดงานขึ้นเพื่อรำลึกถึงผู้คนที่เคยทำงานกับเครื่องบินลำนี้มาตลอด 10 ปี และ 24 ปี ที่ผ่านมา โดยมีผู้บัญชาการทหารอากาศ ซึ่งเป็นหัวหน้าชุดนักบินกลุ่มแรกที่ไปรับเครื่องบิน F-16 ในโครงการ Peace Naresuan I และ IV ยังประเทศสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมงาน โดยในงานนี้ผู้บัญชาการทหารอากาศได้ทำการบินกับ F-16 จากกองบิน 6 ไปยังกองบิน 1 โดยมีผู้บังคับการกองบิน 1 ทำหน้าที่นักบินที่หนึ่ง ซึ่งหมู่บินในวันนั้นทำการบินเกาะหมู่ขนาดใหญ่จำนวน 9 ลำ เพื่อเป็นเกียรติให้กับ F-16 ที่ประจำการในกองทัพอากาศไทย
ท่ามกลางสายฝนที่โปรยปราย F-16 ทั้ง 9 ลำร่อนลงจอด ณ ลานจอดในกองบิน 1 ซึ่งมีนายทหารที่ปฏิบัติงานกับ F-16 ทั้งสองฝูงในทุกตำแหน่ง รวมถึงแขกผู้มีเกียรติในจังหวัดนครราชสีมาเข้าร่วมงาน ผู้บัญชาการทหารอากาศก้าวลงจาก F-16B ถือเป็นการกลับมาเยือนกองบิน 1 อีกครั้งในฐานะนักบิน F-16 รุ่นแรก ซึ่งเป็นเหมือนผู้เบิกทางให้กับความสำเร็จของการปฏิบัติงานด้วย F-16 ในเวลาต่อมา
ส่วนในตอนค่ำ เป็นงานเลี้ยงเล็ก ๆ ที่จัดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานกับ F-16 ตั้งแต่รุ่นแรกจนถึงปัจจุบัน ซึ่งยังถือเป็นการกลับมาเยือนถิ่นเก่าของอีกหลาย ๆ ท่าน และยังเป็นการรำลึกถึงผู้ที่เคยปฏิบัติงานทั้งที่ยังรับราชการอยู่และเติบโตก้าวหน้าไปในกองทัพอากาศ จนถึงผู้ที่เสียชีวิตไปแล้ว
F-16 เป็นเครื่องบินรบที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักกันเป็นอย่างดี ตำนานของ F-16 ไทยเกิดขึ้นจากการคัดเลือกแบบเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ของกองทัพอากาศเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้ว โดยมีผู้เข้าแข่งขันคือ F-20 Tigershark, F-16/79, และ F-16A/B Block 15OCU แม้โดยความตั้งใจของรัฐบาลสหรัฐในสมัยของประธานาธิปดี Jimmy Carter ซึ่งเปลี่ยนนโยบายการส่งออกอาวุธและเทคโนโลยีทางทหารภายหลังการปฏิวัติอิสลามในอิหร่านเพื่อโค่นล้มพระเจ้าซาร์ที่ซื้ออาวุธที่ทันสมัยจากสหรัฐไปเป็นจำนวนมาก โดยออกนโยบายว่าพันธมิตรของสหรัฐจะต้องช่วยเหลือตนเองในการป้องกันประเทศของตน และสหรัฐจะไม่ขายอาวุธแบบเดียวกับที่กองทัพสหรัฐมีในประจำการให้ รัฐบาลสหรัฐจึงต้องการให้กองทัพอากาศไทยเลือกระหว่างสองตัวเลือกคือ F-20 ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับ F-5 แต่ใช้เครื่องยนต์ General Electric F404-GE-100 เพียง 1 เครื่อง และ F-16/79 ซึ่งใช้เครื่องยนต์เทอร์โบเจ็ตแบบ J79 ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า F-5 แต่ต่ำกว่า F-16A และมีพิสัยบิน น้ำหนักบรรทุก รวมถึงความสามารถในการโจมตีที่ต่ำกว่า F-16A
สิงคโปร์เป็นชาติแรกที่ลงนามจัดซื้อ F-16/79 เข้าประจำการจำนวน 8 ลำ โดยมีทางเลือกที่จะจัดหาเพิ่มอีก 12 ลำ แต่เงื่อนไขสำคัญของสิงคโปร์ก็คือ รัฐบาลสหรัฐจะต้องขาย F-16A/B ให้กับสิงคโปร์ถ้ารัฐบาลสหรัฐตัดสินใจขาย F-16A/B ให้กับประเทศอื่น
และนั่นกลายเป็นกองทัพอากาศไทยที่เจรจากับกองทัพอากาศสหรัฐในสมัยนั้น โดยอ้างความจำเป็นทางยุทธศาสตร์ที่ต้องมีเครื่องบินขับไล่ประสิทธิภาพสูงไว้ใช้งานภายหลังการถอนตัวของสหรัฐจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ไทยต้องป้องกันตนเองจากการรุกรานของประเทศที่มีลัทธิความเชื่อทางการเมืองที่ต่างกัน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียตในสมัยนั้น และอ้างเหตุผลตามข่าวกรองทางทหารที่ว่าสหภาพโซเวียตส่ง MiG-23 จำนวน 14 ลำเข้ามาประจำการในฐานทัพเรือที่อ่าวคัมรานห์ General Dynamic (ซึ่งถูก Lockheed Martin ซึ่งกิจการไปภายหลัง) ก็สนับสนุนข้อเสนอของไทยอย่างแข็งขันเพราะมองเห็นว่าการส่งออก F-16A/B จะสร้างผลกำไรได้ดีกว่า F-16/79
ผลพวงจากการล็อบบี้และการกดดันของทั้งบริษัทผู้ผลิต กองทัพอากาศไทย รัฐบาลไทย รวมถึงเสียงสะท้อนจากชาติพันธมิตรของสหรัฐที่ไม่มั่นใจว่า F-16/79 จะสามารถป้องกันประเทศของตนได้ในสถานการณ์ที่สหรัฐจะไม่ส่งกองกำลังไปช่วยประเทศใดอีกแล้วหลังจากสงครามเวียดนาม ส่งผลให้ประธานาธิปดี Jimmy Carter ตัดสินใจผ่อนคลายนโบายห้ามส่งออกอาวุธที่ทันสมัยลง โดยอนุญาตให้กองทัพอากาศไทยจัดหา F-16A/B ได้ ซึ่งในเวลาต่อมาประธานาธิปดี Ronald Reagan ก็ยืนยันกับประเทศพันธมิตรทุกประเทศของสหรัฐว่าจะสามารถจัดหา F-16A/B ได้ถ้าประเทศเหล่านั้นใช้งบประมาณของตนเอง
กองทัพอากาศไทยโดยพลอากาศเอกประพันธ์ ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศในสมัยนั้นได้ลงนามในสัญญาจัดหา F-16A/B ในปี 2530 ภายใต้โครงการนเรศวรสันติ I และ II (Peace Naresuan I และ II) โดยในโครงการ Peace Naresuan I นั้นเป็นการจัดซื้อ F-16A จำนวน 8 ลำ และ F-16B จำนวน 4 ลำ และโครงการ Peace Naresuan II ซึ่งลงนามพร้อมกันเป็นการจัดหา F-16A จำนวน 6 ลำ ทุกลำเป็นล็อตการผลิตใน Block 15OCU (Operation Capability Upgrade) หลังจากการลงนามจัดซื้อ กองทัพอากาศไทยได้ส่งนักบินจำนวน 6 นายไปเข้ารับการฝึกกับ F-16 เพื่อมาเป็นครูการบินให้กับนักบินรุ่นน้องต่อไป โดยนักบินทั้ง 6 นายที่เข้ารับการฝึกที่สหรัฐคือ ทั้ง 6 นายกลับมายังประเทศไทยเพื่อเริ่มจัดตั้งฝูงบิน F-16 ฝูงแรกของกองทัพอากาศไทย โดยนาวาอากาศตรีอิทธพร ศุภวงศ์ ได้รับการเลื่อนยศเป็นนาวาอากาศโท และดำรงค์ตำแหน่งผู้บังคับฝูงบิน 103 ที่ปฏิบัติงานกับ F-16 เป็นคนแรก การจัดหาเครื่องบินไม่ใช่เรื่องง่าย ดังตัวอย่างจากการจัดหา F-16A/B ฝูง 103 แต่การเกิดขึ้นของ F-16ADF ฝูง 102 กลับกลายเป็นสิ่งที่น่าจะเรียกได้ว่ความบังเอิญมากกว่า แต่เนื่องด้วยสหรัฐไม่สามารถคืนเงินเป็นเงินสดได้ และความต้องการขั้นต่ำของกองทัพอากาศนั้น จำเป็นต้องมีกำลังรบเป็นเครื่องบินขับไล่ 4 ฝูง จึงทำให้กองทัพอากาศใช้เงินที่จ่ายไปแล้วจำนวน 74 ล้านเหรียญสหรัฐ และเงินที่ฝากไว้เพื่อดำรงค์ความพร้อมรบของ โ-16 เปลี่ยนไปจัดหา F-16ADF มือสองซึ่งเป็นเครื่องสำรองราชการของทอ.สหรัฐ ทางการสหรัฐจึงอนุมัติขายให้จำนวน 16 ลำ ในโครงการ Peace Naresuan IV โดยเป็น F-16A รุ่นที่นั่งเดี่ยว 15 ลำ และ F-16B รุ่นสองที่นั่ง 1 ลำ ในวงเงินประมาณ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ F-16 ทั้ง 16 ลำได้รับการปรับปรุงทั้งเครื่องยนต์และโครงสร้าง เพื่อให้รับกับการปฏิบัติงานได้ต่อไป โดยได้รับการปรับปรุงโครงสร้างตามโครงการ Falcon Up และปรับปรุงเครื่องยนต์ไปเป็นรุ่น F100-PW-220E แทน และก่อนการส่งมอบ F-16ADF ของไทยและนักบินไทยจำนวนหนึ่งได้เข้าร่วมการฝึก Red Flag กับกองทัพอากาศสหรัฐและพันธมิตร ก่อนเดินทางกลับประเทศไทยอีกด้วย โดยฝูง 102 มีนาวาอากาศโทอนุดิษฐ์ นาครทรรพ เป็นผู้บังคับฝูง 102 ที่ใช้งาน F-16 เป็นคนแรก (ปัจจุบันยศนาวาอากาศเอก ลาออกจากราชการแล้ว) จากจุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ F-16 ของทั้งสองฝูงมีอายุครบ 10 ปี (ฝูง 102) และ 24 ปี (ฝูง 103) แม้มีอุปสรรคและวิกฤตผ่านมาหลายครั้ง แต่ F-16 ก็ยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่ที่คุ้มครองน่านฟ้าไทยมาอย่างต่อเนื่อง และแม้ไม่เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปเนื่องจากมันยังเป็นความลับที่ไม่ถูกเปิดเผย แต่ F-16 ของทั้งสองฝูงก็ผ่านการปฏิบัติการจริงในการปกป้องประเทศชาติมาแล้วหลายครั้ง คงต้องรอเวลาที่เหมาะสมมาถึงเราจึงจะได้รับทราบวีกรรมของเครื่องบินขับไล่ลำนี้ แต่เหนือสิ่งอื่นใด วันนี้ เรารำลึกถึงชายและหญิงทุกคนที่ปฏิบัติงานกับเครื่องบินลำนี้ ไม่ว่าจะในบทบาทไหน พวกเขาเหล่านั้นไม่เพียงแต่ทำให้เครื่องบินขับไล่ลำนี้บินอยู่บนท้องฟ้าได้อย่างสง่างาม แต่มันยังหมายถึงอิสระภาพและอธิปไตยของน่านฟ้าไทยที่ยังคงได้รับการปกป้อง ตราบใดที่เรายังได้ยินเสียงเครื่องยนต์อันทรงพลังของเครื่องบินขับไล่ลำนี้ ที่จะยังคงดังอยู่ในวันนี้ และอีกหลายปีต่อไป |
Last Updated on Wednesday, 06 June 2012 23:15 |
อาวุธยุทโธปกรณ์ดีเลิศประเสริฐศรี ลำยุคเพียงไร ก็ไร้ค่า
หากประเทศชาติขาดความสามัคคี
สามัคคีกันไว้เถิด....จะเกิดผล
ท่าน ทักษพล ณ ลำปาง เสียชีวิตแล้วหรือครับ.........โอ่.......... ขอแสดงความเสียใจ และ ไว้อาลัย ด้วอย่างยิ่งยนะครับ.......... ไม่ทราบว่าเสียนานหรือยัง.......................... ท่านเป็นหนึ่งในสองนักบินขับไล่ที่ผมคลั่งไคล้มากสมัยยังเด้กๆ (อีกท่านคือ ท่านวีรพงษ์ วรรณสำเริง อดีต ผบ.ฝูงนายพรานอุดรฯ) ท่านทั้งสองเคยเป็นแรงบันดาลใจให้ครั้งหนึ่งผมต้องเปลี่ยนความฝันสมัยเด็กจากที่ต้องการเป็นวิศวกรมาเป็นนักบินขับไล่(แต่ไม่สำเร็จ)................ ขอให้ดวงวิญญาณท่านสู่สุขติครับ ท่านยังอยู่ในใจผมเสมอ
อาวุธที่ทรงอานุภาพที่สุดในโลกก็คือความสามัคคี (แต่ตอนนี้เรามีน้อยเหลือเกิน)
เทคโนล้ำยุค ก็ต้องได้คนที่มีความสามารถมาควบคุมมัน ถึงจะเกิดผล
แต่หากไร้ความสามัคคีเมื่อใด ไม่มีชาติให้อาศัยแน่นอน...
ขอโทษทีครับ...ทุกทีไม่ลืม เเต่ครั้งนี้ลืม ยังไง ก็ ขอลงรูปอีกครั้งน่ะครับ
เเอ่ะๆๆ เเละขอขอบคุณ http://www.thaiarmedforce.com/ ด้วยครับที่กรุณา
1
2
3
4
5
6
7
8
9
ที่มาคือ http://www.thaiarmedforce.com/taf-special/484-10-24-f16-102103.html#comments
กรณีที่ Copy บทความ จากเว็ป TAF มานั้น จะไม่สามารถ Copy ภาพมาด้วยครับ มันจะขึ้นโชว์แบบที่เห็นอยู่ครับ
และเรียน เจ้าของกระทู้ ผมได้รับแจ้งทางหลังไมค์มาครับ จากทางเจ้าของภาพและบทความซึ่งผมเห็นด้วยในเรื่องของการให้เครดิตหรือที่มา ของภาพหรือบทความนั้นๆครับ ถือเป็นมารยาทอย่างนึงครับ ซึ่งผมก็เดาว่าเจ้าของบทความคงยินดีให้เผยแพร่ แต่ควรจะให้เกียรติคนเขียนด้วยนะครับ ถือเป็นการบอกกล่าวนะครับ เพราะเดาว่า เจ้าของกระทู้ก็หวังดี แต่อาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์ /ADMIN