จากลิ้งข่าวเนชั่นข้างล่างครับ
http://breakingnews.nationchannel.com/home/read.php?newsid=634303&lang=T&cat=&key=
พล.ร.อ.สุรศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนการต่อเรือน้ำมันก็เป็นไปตามพระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องการพึ่งพาตนเอง ซึ่งเราได้มีการต่อเรือในประเทศไทยโดยบริษัทอู่ กรุงเทพ จำกัด และบริษัท มาร์ซัน จำกัด โดยมีวัสดุและแบบเรือที่มีการทำร่วมกันโดยเรือลำนี้มีระวางขับ 2,000 ตัน โดยวัตถุประสงค์เพื่อส่งกำลังบำรุงให้กับเรือตรวจการณ์ไกลชายฝั่ง ทั้งฝั่งอันดามันและอ่าวไทย โดยจะสนับสนุนภารกิจของกองทัพเรือ งบประมาณ เกือบ 377 ล้านบาทเศษ โดยใช้เวลาในการต่อ 700 วัน ทั้งนี้เรือลำดังกล่าวจะสนับสนุนโครงการตามแนวพระราชดำริ พระองค์ท่านในแถบแนวชายฝั่งกองทัพเรือได้เป็นอย่างดี โดยเราจะสนับสนุนทุกโครงการของพระองค์ท่าน
เอปกติเรือ OPV ก็ปฎิบัติการนอกชายฝั่งได้นานมากพออยู่แล้ว ไหงจำต้องมีเรือส่งกำลังบำรุงเพื่อให้สามารถปฎิบัตืการได้นานขี้นอีกกว่าเท่าตัว ถ้าต้องปฎิบัติการนานขนาดนั้นแสดงว่าต้องการวางกำลังบริเวณนั้นเป็นเวลานานเพื่อควบคุมพื้นหรือทำการปิดล้อมทางทะเลมากกว่า
เห็นข่าวลงว่ารัฐบาลเตรียมงบกลางสำหรับงบประมาณประจำปีถัดไปนี้กว่า 200,000 ล้านบาท หรือว่าทร.จะมีเฮ
อ้าวตายแล้วลงซ้ำกับกระทู้ข้างล่างของท่าน kaypui42 ขอโทษที่ให้เปลืองกระทู้โดยใช่เหตุครับ
ผมว่า สร้างมาเพื่อลดภาระ ของเรือหลวงสิมิลันมากกว่านะครับ และก็สร้างมาเพื่อทดแทนเรือน้ำมันชุดๆเก่า
พวก ร.ล.จุฬา ตั้งแต่พ.ศ.2523 อายุ32ปี
ร.ล.สมุย ตั้งแต่พ.ศ.2490 อายุ65ปี
ร.ล.ปรง ตั้งแต่ พ.ศ.2484 อายุ71ปี
ร.ล.เปริด ตั้งแต่ พ.ศ.2512 อายุ43ปี
ร.ล.เสม็ด ตั้งแต่ พ.ศ.2513 อายุ42ปี
ซึ่งเรือแต่ละลำก็อายุ30+ถึง70+ ก็อายุเยอะกันมิใช้น้อย
ส่วนงบที่กลาโหม ขอนั้น200,000ล้านบาทนั้น ผมว่าก็ต้องมีการโดนตัดงบไปบ้างละครับ แถมดูไปดูมา ปีนี้อาจจะน้อยกว่าปีที่แล้วด้วยซ้ำนะครับ
และผมก็ไปอ่านwebเพื่อนบ้านเรามานะครับ จากTAF
สำหรับกำลังรบที่กองทัพเรือต้องการใน ๑๐ ปีข้างหน้า สรุปได้ดังนี้
เรือ
เรือดำน้ำ ๒ ลำ
เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ๑ ลำ
เรือฟริเกตสมรรณะสูง ๖ ลำ
เรือยนต์เร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ๖ ลำ
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ๖ ลำ
เรือตรวจการณ์ระยะปานกลาง ๑๖ ลำ
เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ๔๐ ลำ
เรือเอนกประสงค์ กู้ภัย/ช่วยเหลือผู้ประสบภัย/ฝึก ๒ ลำ
เรือยกพลขนาดใหญ่ ๒ ลำ
เรือระบายพลขนาดใหญ่ ๑๑ ลำ
เรือล่าทำลายทุ่นระเบิด ๔ ลำ
เรือ กู้ภัย/ลากจูง/ขจัดคราบน้ำมัน ๓ ลำ
เรือปฏิบัติการพิเศษของ นสร. ๖ ลำ
เรือความเร็วสูงปฏิบัติการในลำน้ำ ๑๐๒ ลำ
เรือสนับสนุน เช่น เรือ สกญ. / เรือ นม. / เรือ น. / เรือ ลจ. /เรือ อศ.
จำนวนตามที่มีประจำการในปัจจุบัน
อากาศยาน
บ.โจมตีผิวน้ำอาวุธนำวิถี / ลว. ระยะไกล ๕ เครื่อง
บ.ลว. ระยะปานกลาง ๗ เครื่อง
ฮ.กู้ภัยและลำเลียง ๖ เครื่อง
ฮ.ประจำเรือฟริเกต ๖ เครื่อง
ฮ. เรือ บฮ. ๖ เครื่อง
อากาศยานไร้นักบิน ๓ ระบบ (ระบบละ ๓–๔ เครื่อง)
กำลังทางบก
กำลัง นย. ๒ กรม.ร.นย. (๒ นบ.นย.กองร้อย)
๑ กรม รปภ.นย.
กรมก่อสร้างและพัฒนา ๑ กรม
กำลัง สอ.รฝ. ๑ กรม สอ.
๑ กรม รฝ.
๑ ศสร.(๓ ศสรท.)
นทต. จู่โจม ๓ กองรบ
สห.ทร. ๑ กรม
มันก็คงจะเป็นอย่างที่เขาได้กำหนดมาแหละครับ