สมมุติถ้ากองทัพ กรีซ ต้องลดขนาดเนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจ อยากถามว่าเราสนใจอาวุธอะไรจากประเทศนี้บ้างครับ คิดว่าน่าจะเป็นไปได้เนื่องจากกรีซต้องการเงินต่างประเทศถ้าสภาพเศรษฐกิจยังเป็นแบบนี้ สเป็คก็ประมาณนี้ครับ http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_equipment_of_the_Hellenic_Army
55555.......ว่าจะลงเรื่องนี้อยู่พอดี ท่านเจ้าของกระทู้ตัดหน้าไปก่อน ผมกะว่าจะเสนอให้มองหาอาวุธดีๆทั้งสามเหล่าทัพถ้ายุโรปล้มละลายทั้งทวีป เท่าที่ทราบนอกจาก กรีซ ก็ไอส์แลนด์ โปตุเกต สเปน อิตาลี ข่าวล่าวันนี้ สเปนโดนลดอันดับเครดิตธนาคาร 16 แห่งรวด กรีซเองคงต้องออกจากยูโรโซนแบบแน่นอนแล้ว ชาวบ้านในกรีซแห่ไปถอนเงินจากธนาคารเพราะกลัวว่าถ้ากลับไปใช้สกุลเงินเดิมของคน ค่าเงินจะถูกลดลงกว่า 100% ถอนเงินตอนนี้ยังเป็นยูโรอยู่ ECB ปฏิเสธที่จะอัดฉีดเงินช่วยธนาคารต่างๆในกรีซ ดังนั้นธนาคารในกรีซรับมือการแห่มาถอนไม่ไหวแน่ๆ ธนาคารล้มระเนระนาดแน่ แล้วจะลามไปทั่วยุโรป
โดยเฉพาะ กรีซ สเปน อิตาลี นี่มีระบบอาวุธชั้นดีครอบครองเยอะ เดี๋ยวตอนกลางคืนจะมาว่ากันใหม่ครับว่าประเทศที่พูดถึงมีระบบอาวุธอะไรบ้าง ถ้าจะต้องลดขนาดกองทัพลงกว่าครึ่ง น่าจะต้องเลหลังอะไรบ้าง
น่าสน....น่าสน
ส่วนตัวแอบเล็งๆไว้ เผื่อกองทัพไทยสนใจ
ทัพบก
Leopard 2A4-A6 350 คัน (Leopard1 ปืน 105 ทหารม้าบ้านเราคงไม่เอา)
ปืนใหญ่ M109 A2-A6 550 คัน (ปรับปรุงแล้วด้วย ส่วน PzH2000 เค้าคงไม่ขายหรอก)
ฮ.อาปาเช่ ลองโบว์ 30 ลำ (ถ้าร้อนเงิน ขายเลหลังถูกๆ ก็น่าสน)
carl Gustav, Tow2 บ้านเค้ามีเยอะมาก น่าจะแบ่งๆมามั่ง
ทัพเรือ
เรือฟริเกตั้น Hydra (Meko200) 4 ลำ ไม่น่าจะขาย
เรือฟริเกตชั้น Elli 9 ลำ มันเริ่มล้าสมัยแล้ว แต่ก็น่าสนใจอยู่ และคิดว่าถ้าสนใจจริงๆ เค้าน่าจะขายนะ
เรือดำน้ำ Type209 7 ลำ ว่าแต่เรามีโอกาสได้ใช้เหรอ ถ้าเค้าจะขายจริงๆ
กำลังอากาศนาวี เค้ามีไม่ค่อยเยอะเท่าไหร่ คงไม่น่าจะขาย ไม่งั้นไม่พอใช้แน่ๆ
ทัพอากาศ
เอฟ 16 C/D block 30-40, 50-52 150 ลำ อาจจะขายสักฝูง
มิราจ 2000 คงไม่เหมาะกับบ้านเราเท่าไหร่ บ.ประเทศนี้
T-6 45 ลำ น่าสนนะ แต่คิดว่าเค้าคงไม่ขายหรอก
C-27J ลืมๆมันไปเถอะครับ
ซื้อทีมฟุตบอลได้มั๊ยครับ
เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจไม่แต่เพียงสมาชิกอียู หากแต่จะลามไปทั้งโลกรวมทั้งไทยเราด้วย
เนื่องจากระบบเศรษฐกิจและการเงินปัจจุบันของโลกต่างก็ยึดโยงถึงกันในหลายรูปแบบและค่อนข้างซับซ้อน
ทางที่ดีกองทัพและเราท่านทั้งหลายน่าจะเตรียมรับมือกับวิกฤติครั้งนี้ มีแพลน เอ แพลน บี สารพัดแผนเผชิญเหตุ
จะดีกว่านะครับ อันไหนชลอไปก่อน อันไหนประหยัดได้ก็ต้องประหยัด อันไหนรอไม่ได้ต้องซื้อต้องหาต้องใช้เวลานี้
ก็ขอให้อยู่ในรูปโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นการจัดหาในประเทศหรือปัดฝุ่นการซื้อขายแบบบาร์เตอร์เคาน์เตอร์เทรด
ก็ว่ากันไป
เคยได้ข่าวสับปะรดกระป๋องของไทยส่งออกไปอียูไม่ได้เมื่อสองสามเดือนก่อนหรือเปล่าครับ ? แบบว่าเศรษฐกิจอียู
ไม่ดี ผู้คนลดการบริโภค ออเดอร์สั่งซื้อน้อยลง ชาวไร่สับปะรดต้องปิดถนนประท้วงให้รัฐรับซื้อในราคาประกัน เพื่อ
เอาไปทำสัปะรดแปรรูปให้ นร. รับประทาน กับเอาไปทำเป็นอาหารสัตว์ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลกระทบจากปัญหา
เศรษฐกิจของอียูและกรีซทั้งสิ้น น่ากังวลมากครับ
ถ้าจะเอาอาวุธเค้า เลี่ยงการซื้อแบบปรกติที่ต้องใช้เงิน เปลี่ยนบาร์เตอร์หรือเคาน์เตอร์เทรดจะดีกว่า อย่างน้อยก็ให้
กระแสเงินส่วนใหญ่ยังอยู่ในประเทศ ที่ออกเป็นก็เป็นสินค้าสำเร็จรูปแทน จะเหมาะสมกับสถสนการณ์มากกว่า
เศรษฐกิจย่ำแย่ ฝรั่งอียูลดการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย ใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็นกับปัจจัย 4 เอาสินค้าในกลุ่มนี้แหละครับ
ไปแลกไปเคานเตอร์เทรด ว่าแต่จำได้คับคล้ายว่ากรีซเค้ามี อู-214 ด้วยไม่ใช่หรือครับ ?
ไม่เชิง กรีซเริ่มโครงการ type 214 แต่มีปัญหาสภาพคล่องและเรือมีปัญหาทางเทคนิคพอสมควรเลยยกเลิกโครงการ เรือที่เคยเป็นของกรีซ จอดทิ้งไว้ที่อู่เยอรมนี ราคาราวๆ 300 USM
สเปนก็ดูท่ากำลังจะล้ม
อยากได้ F-18 มาแทน ADF อ่ะ แล้วก็ อย่างท่านเสือใหญ่ว่า
เอา อาหาร แลก อาวุธ ถ้าการฑูติดี มีแต่ไทยได้กับได้
ได้ระบายของในตลาด และได้อาวุธมาใช้ด้วย
น่าซื้อมาสะสมไว้ เยอะๆ บ้านเรายังต้องมาใช้อีกมาก เพื่อในอนาคต เกิดสงครามใหญ่ บ้านเราจะได้มีใช้ ไม่ขาดแคลน (ช่วงนี้น่าสังเกต) ขั้วอำนาจทางการทหารเริ่ม
เปลี่ยน ฝ่ายที่เคยถูกย่ำยี เริ่มมีพลัง ฝ่ายที่เคยรุกราน เริ่มอ่อนแรง การกลั่นแกล้ง การล้างแค้น อาจจะเริ่มขึ้น (เราประเทศเป็นกลาง)ก็ต้องเตรียมรับมือเหมือนกัน
(ยามศึกเรารบ ยามสงบ จงเตรียมรบให้พร้อมสรรพ)
เห็นด้วยกับท่านเสือใหญ่ว่า บางอย่างควรจัดหาแต่ควรดูความเหมาะสมไม่ใช่ เน้นปริมาณอย่างเดียวเพราะจะส่งผลต่อค่าบำรุงในอนาคตไปด้วย แล้วควรใช้การบาร์เตอร์เทรด ในการแลกเปลี่ยนมากกว่าใช้เงินโดยตรง
เอาแบบตรงสายงานผมเลยล่ะกันในหมวด Artillery ไม่เอาเยอะ ผมขอ
- เรดาร์ ต่อต้าน ป/ค ARTHUR (military) : 3
- PzH 2000 : 24+1 ใช้ร่วมกับซีซ่า
- M270 MLRS : 36 เอามาใช้ก่อน DTI-1G จะมา
เอาเป็นของสเปนดีไหมครับ AV8 สัก 6 ลำ ส่วนของกรีซ ขอเป็น U209 สัก 2 ลำเฝ้าอ่าวไทย กับ F16 มี BVR สักฝูงไว้ที่โคราช ถึงเก่าไปนิดแต่พอแก้ขัดไปก่อน ใช้วิธีแลกสินค้าไก่แช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง ผลไม้กระป๋อง หรือ เอทานอลไว้ผสมน้ำมันเบนซิน ที่เรามีเหลือเฝือ แค่นี้รัฐบาลน่าจะพอมีงบสนับสนุนได้น่ะครับ ชาวไร่ ชาวนา ชาวประมง อุตสาหรรมเกษตรก็ happy ถ้วนหน้า
โดนกันทั่วหน้าครับเพียงแต่ยุโรปจะหนักสุด ส่วนเรื่องอาวุธก็ต้องดูความเหมาะสม ผมไม่อยากให้เกิดขึ้นอย่าง GT200 กับเรือเหาะ ที่ผู้จัดซื้อมาแค่หวังค่า com
M109A5 น่าสนใจ แต่การโหลดกระสุนช้ามาก อิสราเอลเองก็กำลังมองหาปืนใหญ่อัตราจรระบบอื่นมาทดแทน M109
L119 ผมจำได้ว่าเราได้ซื้อลิขสิทธิ แต่ดูเหมือนว่าเราผลิตมาแค่ไม่กี่ระบบ ทั้งที่มันมีน้ำหนักเบาเคลื่อนย้ายง่าย อัตราการยิงก็เร็ว น่าจะจัดหาสำหรับหน่วยนาวิกโยธินใช้
Take over U214 ของกรีต ลำที่ยังไม่ส่งมอบเพราะถังแตกนั่นล่ะ.. ก็แล้วกันครับ
ตอนนี้ยังอยู่ในมือของ HWD อยู่เลย คงมองหาลูกค้ารายใหม่มารับต่ออยู่ แหละท่า... (คงทำใจเย็นๆ...แบบร้อนลุ่มอยู่ภายใน)
อาวุธอย่างอื่่นลืมได้เลย เขาไม่ขายกินหลอกครับ...
U-214 จำแหล่งที่มาของภาพไม่ได้เสีย ครับ
ผมไม่เห็นด้วยกับ การที่เราจะเอาผลผลิต ไปเเลกกับ ของต่างๆที่เราต้องการครับ การเเลกเเบบนี้ผมว่ามีเเต่ผลเสียมากกว่าครับ เเล้วอีกอย่างครับ มันไม่โปร่งใส ตรวจสอบได้ยากครับ
ถ้าเราจะเเลกอย่างนั้นจริงๆ ควรจะเอาผลผลิตไปขายเป็นเงินดีกว่าครับ เเล้วค่อยเอาไปซื้อ
ฟันธงว่าเสปนไม่ขายแฮริเออร์ครับ เพราะมีอยู่แค่นั้น แถมเราก็ไม่รู้จะซื้อไปเพื่ออะไรเหมือนกัน เพราะมันเก่ามากแล้ว ตอนนี้เสปนก็รอ f-35 นั่นแหละ
แถมเอาจริงๆ ผมว่าพวกโปรตุเกส สเปน อิตาลี กรีซ พวกนี้ไม่มีใครขายอาวุธทิ้งหรอกครับ เพราะถ้าเขาคิดจะขายคงเริ่มขายไปแล้ว อิตาลีกับกรีซกับสเปนก็กองทัพใหญ่พอตัว มีอิทธิพลพอตัว คงไม่อยากลดไซส์และอำนาจต่อรองลงไป โดยเฉพาะกรีซที่ยังแข่งสร้างกองทัพกับตุรกีอยู่ ส่วนโปรตุเกสก็ประเทศเล็กๆ อาวุธไม่ได้มีเหลือเฟิอ
ถ้าเขาไม่คิดจะขาย ต่อให้ประเทศเป็นหนี้ล้นพ้นตัวเขาก็ไม่ขายครับ อาจต้องรอเปลี่ยนตัวรัฐบาลที่คิดต่างถึงอาจจะยอมขาย ไม่งั้นมันควรลดขนาดกองทัพตั้งนานแล้วครับ กรีซนี่ขนาดมีปัญหารุมเร้ามาหลายปีก็ยังพิ่มงบทางทหารอยู่เรื่อยๆ นะครับ ลองดูประเทศญี่ปุ่นสิครับ หนี้ต่อจีดีพีเยอะกว่ากรีซอีก (160% ต่อ 200%) ญี่ปุ่นยังสร้างเครื่องบิน adt-x อยู่เลย แบบไม่กลัวเปลืองตังค์เลย ส่วนเยอรมันที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งอันดับหนึ่งของอียู กลับมีการลดขนาดกองทัพครั้งใหญ่ หันไปเน้นประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นแทนปริมาณ (แนวๆ รบพิเศษเลยเว้ยเฮ้ย)
ผมเห็นด้วยเช่นกันครับว่าถ้าซื้ออย่ามันมือมาก ให้นึกถึงการซ่อมบำรุงที่จะตามมาไว้ด้วย
เรื่องบาร์เตอร์เทรดปกติผมไม่สนับสนุนให้เราอยู่ๆ ไปขอบาร์เตอร์เทรด แต่ถ้าเราจะเอาของที่มันเสียราคาแล้ว ไปขายราคาปกติ (แล้วเขายอมแลกด้วย) อันนั้นผมว่าโอเคเลย แต่ไม่ใช่เอะอะก็พยายามให้มันเป็นบาร์เตอร์เทรดไปเสียทุกดีล แต่ไอ้เรื่องความไม่โปร่งใส ผมเห็นด้วยครับว่าบาร์เตอร์เทรดตรวจสอบยากจริง เพราะไม่รู้ว่าจะให้ส่งเข้าสต็อกรัฐบ่าลก่อนหรือเปล่า ซึ่งก็ต้องเก็บไว้ในโกดังของเอกชนอยู่ดี หรือจะให้เอกชนส่งของให้และรัฐบาลจ่ายตังให้เอกชน แต่ลองให้เกิดบาร์เตอร์เทรดโดยที่รัฐบาลยังไม่มีสต็อกของเหลือจะไปเทขาย รับรองเอกชนโก่งราคาทันที (แต่ก็เอามาจากเกษตรกรในราคาต่ำอยู่ดีนั่นแหละ) ดังนั้นจะเห็นได้ว่ามันจะลำบาก เพราะดีลการขายอาวุธมันนานหลายปีกว่าจะบรรลุ รัฐบาลไม่สามารถมีของที่ช่วยซื้อเป็นการระบายมาจากตลาดอยู่ก่อนได้ (คงเน่าพอดี) ซึ่งหมายความว่าการจัดหาสินค้าไปบารเตอร์เทรดจะเกิดขึ้นหลังจากปิดดีลได้แล้วและแปลว่าการโก่งราคาตามมาชัวร์ ปัญหาอีกอย่างคือต่างประเทศเขาไม่ได้สนใจในสินค้าที่ขายไม่ออกของเราซักเท่าไร(มันงั้นมันคงขายออกไปแล้วแหละ) ดังนั้นประโยชน์ที่จะได้รับจึงไม่เป็นที่แน่ชัด
ส่วนตัวคิดว่าเค้าไม่ขายหรอกครับ ถ้าไม่มีความจำเป็นเค้าคงไม่คงกำลังรบไว้ขนาดนั้นหรอก เศรษฐกิจจะดีเพียงใดถ้าประเทศนั้นไม่สามารถรักษาความมั่นคงไว้ได้แล้วมันก็ไม่มีความหมายหรอกครับ เหมือนของเราในปี 40 เรายังไม่ทำเลย แล้วเรื่องบาร์เตอร์เทรดผมก็ว่ามันดีมากนะครับ ผมว่าจุดประสงค์จริงๆมันดีมากอะ แต่ที่มันไม่ดีก็คือคนนี้แหละถ้าลองคนเราคิดจะโกงจะกินแล้วไม่ว่าจะวิธีไหน รูปแบบไหนมันก็โกงกันได้อยู่ดี การมามองรูปแบบบาร์เตอร์เทรดว่ามันไม่ดีเพราะมันโกงกันแล้วตรวจสอบยาก จนมองข้ามข้อดีของมันผมว่าแปลกๆนะครับวิธีคิดแบบนี้อะ
ผมไม่ได้บอกว่าบาร์เตอร์เทรดไม่ดีเพราะโกงง่ายเท่านั้น ประเด็นคือบาร์เตอร์เทรดนั้นเราจะกำไรได้เฉพาะเวลาสินค้าที่เราจะเอาไปขายนั้นราคาตก ซึ่งมันก็ไม่ตายตัว เกิดผ่อนส่งไปปีที่สอง อยู่ราคาสินค้าที่เราไปแลกเกิดพุ่งขี้นมาเราก็ขาดทุนได้เหมือนกัน ข้อดีของบาร์เตอร์เทรดคือมีการรับประกันว่าจะสามารถระบายสินค้าได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ขี้นอยู่กับว่าคู่ค้าต้องการสินค้านั้นหรือไม่ ซึ่งผมก็มองว่าคู่ค้าเขาก็ต้องเลือกแลกกับสิ่งที่เขาอยากได้ ดังนั้นเราไม่ต้องไปบาร์เตอร์เทรดสินค้านั้นก็ควรจะขายได้อยู่แล้ว ในทางกลับกัน ถ้าเอาสินค้าที่ขายไม่ออกไปเสนอบาร์เตอร์เทรดด้วยคู่ค้าก็คงไม่อยากเอา สรุปว่าบาร์เตอร์เทรดมันมีความเสี่ยงความไม่เสถียร คล้ายก้บการพนันอนาคตเอาเหมือนพวกค้าทองหรือสกุลเงิน เพียงแต่ว่าความผันผวนสูงกว่า
เสียดายไม่ได้ leoparde 2a4 เรื่องอะไหล่ผมไม่ค่อยห่วงขนาดรถถัง M60 บ้านเรายังซ่อมคืนสภาพได้ สบาย
ถึง "บาร์เตอร์เทรด" ก็ต้องใช้เงินครับ คือต้องเอาเงินไปซื้อ เนื้อไก่แช่แข็งไปแลกมา อยู่ดี (เนื้อไก่ของใครหว่า..)
อย่างอื่นทางยุโรปไม่ต้องการครับ อาหารที่คนยุโรปนิยมกิน และเรามีการผลิตก็มีแต่ ไก่ หมู เนื้อ เท่านั้น
ขณะนี้ของเหลือกินมีแต่ ไก่ กับ หมู ถ้าแลกได้จริงก็ดี ครับ เป็นการบังคับซื้อสินค้าไทย (จะได้ไม่วอกแวก)
พ่อค้าไทยขายของไม่ได้ ก็ต้องให้รัฐช่วย แบบนี้ละครับ แต่...เอ..ประเทศมีปัญหานี้ เขาต้องการเงินอย่างเดียวไม่ใช่ หรือ ?
ประเทศที่จะ "ปล่อยของ" เก่าออกมามันมีแต่ เนเธอร์แลนด์ กับ เยอรมันเท่านั้น..นี่ครับ (พวกนี้ฉลาด ครับ ตัดสินใจเร็ว)
รู้จักคัดเลือกของดีจริงๆ ไว้ใช้งาน เมื่อหมดความจำเป็น ก็แลกกลับมาเป็นตัวเงิน แม้จะขายราคาต่ำก็ตาม (ก็ถือเงินไว้ก่อน)
ส่วนอังกฤษ สเปน อิตาลี เศษฝรั่ง มีแต่ปดของหมดอายุแล้วเท่านั้น แม้ผลิตได้เองก็เถอะ (พวกนี้ใช้เงินมีเหตุ มีผล..ครับ)
ส่วนโปรตุเกส กรีต เบลเยี่ยม ตุรกี ชอบรับซื้อของเก่านี่ครับ ทั้ง"ของ"หมดอายุและยังไม่หมดอายุ (ชอบไปหมด ทุกประเภท)
ผมอยากให้"เล็งๆ" ไปที่ 2 ประเทศแรก ดีกว่า ครับ เขาก็หาจังหวะ ปล่อยของอยู่เหมือนกัน (ของดี สมเหตุ..สมผล กว่า)
มองการไกลไปอะเปล่าอะครับ ถ้าซื้อขายกันธรรมดา แล้วบ้านเราเกิดเงินเฟ้อเราก็ขาดทุนเหมือนกันนี้ครับ ฟองสบู่ และอีกมากมาย แล้วถ้าเค้าต้องการสินค้าที่นิยมมันก็ดีนี้ครับ ภาครัฐและเอกชนเค้าจะได้รู้ว่าสินค้าตัวไหนนิยมเค้าจะได้ขยายฐานการผลิตได้ ไงครับ เหมือนกับสีน้ำแหละครับมี 12 สี แต่สีแดงนิยมสุดคนเป็นพ่อค้าเค้าก็จะทำสีแดงออกมาเยอะสุดให้พอขาย ไม่ใช้ว่าทำมันเท่าๆกันทุกสีแล้วไปหวังให้ราคาสีแดงมันสูงเอา ถ้าคิดแต่จะมองโลกในแง่ร้ายก็ยากอะครับที่จะเจอหนทางใหม่ๆ
เห็นด้วยกับเมนต์คุณ airy ครับ อย่างเนเธอร์แลนด์นี่ก็ปล่อย f-16 ให้จอร์แดนไปหลายลำแล้ว เยอรมันนี่ก็ตั้งแต่ควบรวมประเทศก็ปล่อยเลียวพาร์ดไปไม่รู้เท่าไรต่อเท่าไรแล้ว ผมก็ยังคิดอยู่เลยว่าทำไม่เราไม่คิดจะซื้อเอฟ-16 MLU ของเนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยมมั่ง ส่วนของที่เยอรมันปล่อยนั้นพูดไปก็แทงใจดำไม่ได้รับการอนุมัติซักที ทร.กลายเป็นแก๊สโซฮอลล์ไปหลายรอบ
ผมว่าผมมองการณ์ไม่ไกลไปหรอกครับ อีกอย่างคือราคาสินค้าผันผวนกว่าตลาดเงินเยอะครับ ดีลซื้ออาวุธหลังจากเซ็นสัญญาแล้วอีกหลายปีกว่าจะส่งของจ่ายตังค์ครบ ซื้อขายธรรมดาเกิดเงินเฟ้อก็เสี่ยงจริงครับ แต่ถ้าเงินเฟ้อซึ่งแปลว่าช้าวยากหมากแพง รัฐบาลต้องมาซื้อสินค้าแข่งกับชาวบ้านเพื่อไปจ่ายฝรั่งเราไม่ยิ่งขาดทุนขี้แตกหรอครับ? ของก็ยิ่งแพงเข้าไปใหญ่ ฝรั่งมันก็ยื่งได้เปรียบ การที่ผมบอกว่าบาร์เตอร์เทรดควรเอาของที่ขายไม่ได้ไปแลก ก็เพื่อว่าจะได้เป็นการช่วยคนที่เขาขายผลผลิตไม่ออกไงครับ จะได้ได้ประโยชน์ให้คุ้ม ซึ่งผลผลิตอะไรจะขายไม่ออกเราก็ไม่มีทางรู้ได้ ไม่งั้นชาวสวนเขาคงไม่ปลูกพืชที่ขายไม่ออกหรอกครับ
ผมไม่ได้มองโลกในแง่ร้ายหรอกครับ แต่การหาข้อเสียเป็นการช่วยป้องกันการผิดพลาดได้ครับ ข้อดีมันมีอยู่แล้ว เราถึงต้องมาหาข้อเสียเพื่อเสริมข้อสมมุติฐานของเราที่ว่ามันดีมันถูกต้องจริงๆ ไงครับ
เปรียบเหมือนกับเราจะยืมรถเพื่อขับไปต่างจังหวัด เรารู้ว่ารถเพื่อนนี่เพิ่งไปเสยก้อนหินยังไม่ได้ให้ช่างดู การยืมรถของเพื่อนผมครั้งนี้ข้อดีคือผมได้รถไปใช่ฟรีๆ แต่ข้อเสียคือผมอาจจะไปประสบอุบัดติเหตุ ผมบอก "เฮ้ยๆ อย่าเพิ่งเลย ให้ช่างดูก่อนว่ารถมันเป็นอะไรเปล่า" ผมว่าอย่างนี้ไม่ถือว่ามองโลกในแง่ร้ายหรอกครับ หรือใครจะบอกว่าผมควรจะบอกว่า "เฮ้ยๆ ล้อหลังมันก็ยังขับได้นะ ขับๆ ไปเหอะ"
Hellenic
Leopard 2 A4-A6
Hellenic Leopard 2
Hellenic Leopard 2
Hellenic Leopard 2
Hellenic Leopard 2
Hellenic Navy
Hellenic Air Force
เอ เจ็ด ของ เฮลเลนิค แอร์ฟอร์ซ นี่ยังบินได้อีกหรือนี่ครับ เห็นปี ๒๐๐๗ บินได้ นี่ก็หห้าปีมาแล้ว............จำได้ว่า สมัยท่านบิ๊กจิ๋ว เคยชงเรื่องซ่อม เอ-๗ แต่มีเสียงค้านว่าไม่คุ้ม.............จริงๆ ผมว่า มันมี ฮิดเด่นอาเจนด้า ไรป่าว.............. ทัพเรือถึงมีไอพ่นรบ มีรถถัง ไม่ได้........................
แหล่มมั็ียหล่ะเนี่ย ?????????????? ทีนี้นึกภาพออกยัง ทำมัย พิฆาต ไทป์-๔๒ ติดจรวดมารา เป็นเรือพิฆาตป้องกันภัยทางอากาศ ยังถูก เอ-๔ ของอาเยติน่า โจมตีด้วยระเบิดแบบดัมพ์บอมบ์...............ดุ่ยๆ เรียดไป แบบนี้น่ากลัง ชิงๆๆเรย.............
ใช่เลย ครับ ไม่ว่าจะ A7 AV8A ของเราถึงเก่าแก่แค่ไหน ถ้ามันยังซ่อมได้ บินได้อย่างปลอดภัย ใช้อาวุธได้ มันก็มีคุณค่าอย่างที่มันควรจะเป็น ลองคิดดูมี JAS39 คอยครองอากาศให้ แล้วใช้ A7 AV8A บินเรี่ยน้ำเข้าโจมตี ( อาจใช้จรวดนำวิถี ถ้ามี ) แค่นี้ฝ่ายที่ถูกโจมตีก็หนาวแล้ว
อ้อจากที่ทราบ ยังไม่เห็นมีการใช้ ฮ. เข้าโจมตีเรือรบสำเร็จ ถ้าไม่มี บ. รบบินครองอากาศให้เสียก่อน และการใช้ ฮ. เข้าโจมตีเรือมีข้อเสียเปรียบมาก เช่น ความเร็วที่ต่ำ และไม่สามรถบินเรี่ยน้ำได้เพราะใบพัดของ ฮ. จะทำให้น้ำกระจาย มองเห็นได้ชัดเจน
ประเทศกรีซนี้กองทัพใหญ่จังนะครับเมื่อเทียบกับจำนวนประชากร รู้สึกว่ามีความขัดแย้งกับตุรกีอย่างว่าใครจะอยากถือปืนแก็บถ้าคู่กรณีถืออาก้า แต่ผมก็คิดว่ามันเวอร์พอสมควรแบบงบคงบานน่าดู ไม่อยากให้ไทยเป็นแบบนั้น ว่าแล้วก็อยากได้ F 16 เอามาโม ซักหนึ่งฝูงแทน adf
สำหรับกรีซนั้นยังไงก็ต้องปรับลดขนาดกองทัพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างน้อยก็กว่าเท่าตัว ปัจจุบันหนี้สินก็มากกว่า GDP เยอะ แค่จ่ายดอกก็ไม่ไหวแล้วครับ
กองทัพกรีซนี่ใหญ่เกินตัวจริงๆครับ เบ่งแข่งกับตรุกรีที่มีขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่ามาก โดยเฉพาะทอ.นี่ใหญ่จนเว่อร์
ผมมองที่ทร.กรีซก่อนเลยครับ กองเรือผิวน้ำยี่ไม่เท่าไร ที่น่าสนใจคือเรือฟรีเกตชั้น MEKO 200 HN แต่ผมว่าทร.กรีซคงไม่ขาย ส่วนเรือฟรีเกตชั้น Elli ก็ คือ เรือฟรีเกตเก่าจากดัชท์ ซึ่งบอกเลยว่าถ้าเศรษฐกิจแบบนี้เรือชั้นนี้ 8 ลำคงต้องถูกปลดโดยไม่มีเงินซื้อเรือใหม่มาทดแทนเลยล่ะครับ เรือชั้นนี้ก็เก่าเกินกว่าที่จะน่าเล่น
แต่ที่ผมมองตาเป็นมันคือเรือดำน้ำ Type 209 (1100 และ 1200) รุ่น 1200 ยกเลิกการปรับปรุงและจะถูกทดแทนด้วย type 214 แต่เท่าที่ทราบเรือลำล่าสุดไม่ยอมรับมอบเพราะไม่มีเงิน ส่วนลำที่เหลือว่าจะต่อเองก็ไม่มีเงิน ดังนั้น รุ่น 1200 ต้องปลดแน่ๆโดยไม่มีเรือมาทดแทนแน่นอน
เรือ type 209 (1200) และ type 209 (1100) ทั้ง 7 ลำเหมาะสมกับกองทัพเรือเรามาก จนถึงมากที่สุดครับ รุ่น 1100 เพิ่งทำการปรับปรุงไปไม่นาน ส่วนรุ่น 1200 ปรับปรุงไปเพียงลำเดียว ผมว่าทร.กรีซคงต้องปลดเรือดำน้ำชั้นนี้ทั้ง 7 ลำแน่ๆ เพราะเขายังมีเรือ type 214 เหลืออยู่ 3 ลำ(อีก 1 ลำไม่ยอมรับมอบ ที่เหลือยกเลิกแน่นอน)
รีบติดต่อได้เลยครับทร.ไทย ไปเกริ่นๆทิ้งไว้ก่อนก็ได้ รับรองว่าทางโน้นรีบขายแบบถูกโคตรๆ
type 209(1100) ชื่อชั้นเรือ คือ Glavkos class ปรับปรุงตามโครงการ Neptune I
type 209(1200) ชื่อชั้นเรือ คือ Poseidon class ปรับปรุงตามโครงการ Neptune II ทำการปรับปรุงไป 1 ลำ คือ S118 ใชัระบบ AIP ได้ รุ่นนี้มีใช้ทั้งเกาหลีใต้ ตรุกรี เปรู
ถ้าเราติดต่อซื้อเรือชั้นนี้จากทร.กรีซ เราต้องทำการปรับปรุงแค่ 2 ลำตามโปรแกรมเดิมของทร.กรีซได้ครับ อีก 1 ลำเป็น อะไหล่ บอกตรงๆ 7 ลำนี้เหลือเฟือเรื่องประสิทธิภาพ
อ้าวภาพมาไม่ครบ ลองอีกที
และถ้าเรือฟรีเกตชั้น Elli ทั้ง 8 ลำต้องปลดประจำการ ฮ. S-70B อ๊อปชั่นครบที่ประจำเรือทั้ง 8 ลำก็น่าจะถูกโล๊ะขายด้วย น่าเล่นสำหรับทร.ไทยเราเป็นอย่างมากครับ
กรีซทำตัวเว่อร์จนล่มจมเพราะบ้าพลังเกินตัวครับ
GDP ของเขาน้อยกว่าเราอีก ประมาณ 300 พันล้านเหรียญ ประชากรราวๆ 11 ล้านคนเท่านั้น ค่าครองขีพแพงกว่าเราหลายเท่า
GDP ของเรา 350 พันล้านเหรียญ ประชากร 66 ล้านคน ค่าครองชีพต่างกันเกือบ 10 เท่าตัว แต่รายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงกว่าเราเพียง 5 เท่า ดังนั้นสภาพความเป็นแยู่ย่อมแย่กว่าคนไทยแน่นอน พลังทางอุตสาหกรรมก็แทบไม่มีอะไรเลยเมื่อเทียบกับเรา แต่กองทัพนี่เว่อร์จริงๆ โดยเฉพาะทัพอากาศ แค่ F-16 C/D นี่ก็ล่อไปซะเกือบ 160 ลำ Mirage 2000 44 ลำ ขณะที่เรามี F-16 รุ่นเก่ากว่าเขาอยู่ 50 กว่าลำ เท่านั้น
ข้อมูลจากวิกิครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Greece
http://en.wikipedia.org/wiki/Thailand
ดังนั้นการจัดหาอาวุธมือสองจากเขาเท่าที่เราวางแผนเอาไว้นี่ไม่ได้เป็นการเกินตัวเลยครับ
จากขนาดกองทัพอากาศที่เว่อร์กว่าทอ.สิงคโปร์ซะอีก และพลังทางเศรษฐกิจเพียงเท่านี้กิ๊กก๊อกกว่าเราด้วยซ้ำ เครื่องบินขับไล่กว่า 200 เครื่อง รับรองว่าถูกปลดกว่า 100 แน่ๆครับ เท่าที่ทราบเครื่องบินรบอทบจะไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำมันแล้ว คงจอดตายเป็นแถว ออกจากยูโรโซนเมื่อไหร่ จนาด GDP เหลือไม่ถึง 200 พันล้านเหรียญหรอกครับ
สำหรับทอ.ไทยเรา ฝูง 211 ที่ใช้ F-5T ฝูง 102 ที่เป็น F-16 ADF น่าจะทดแทนด้วย F-16 block 30/32 ของทอ.กรีซมากครับ โครงอากาศยานก็มีอายุเหลือพอที่จะทำการปรับปรุง MLU ได้ รอ F-35 ไปได้อีกนานเท่านาน ส่วน Jas-39 เฟส 3 น่าจะเหมาะกับฝูง 701 ต่อไป
ตารางภาพข้อมูลเครื่องขับไล่จากวิกิพีเดียเช่นเดิม
ตารางจากวิกิพีเดียไม่มา เอาเวปลิ้งค์ไปอทนแล้วกันครับ
http://en.wikipedia.org/wiki/Hellenic_Air_Force
ตามตารางของวิกิพัเดียบอกว่า ทร.กรีซมี
F-16 block 30 จำนวน 32 เครื่อง
block 50 จำนวน 39 เครื่อง
block 52+ จำนวน 56 เครื่อง
block 52M อีก 30 เครื่อง
ถ้าต้องลดขนาดกองทัพลงกว่าครึ่ง (ออกจากยูโรโซนเมื่อไร ผมว่าขนาดเศรษฐกิจเหลือเพียงแค่ราวๆ 150-180 พันล้านเหรียญ หรือแค่ครึ่งเดียวของเราเท่านั้น แค่มี F-16 block 52M 30 เครื่องนี่ถึงจะเหมาะสมกับตัวเอง) ดังนั้น block 30 จำนวน 32 เครื่องและ block 52 จำนวน 39 เครื่องจะต้องถูกปลดแน่ๆครับ ถ้าทอ.จะช๊อปปิ๊ง แนะนำ block 50 ไปเลยดีกว่า แทนฝูง 102 และ 211 จำนวน 36+3(ทดแทนเครื่องที่ตก) เครื่อง ครบตามความต้องการพอดี
U209 ไม่แน่ใจอายุการใช้งานกี่ปี อาจจะสัก 20 ปี ก็น่าสนใจมากๆ ขอสัก 3-4 ลำ รวมอุปกรณ์จำเป็นในการดูแล ซ่อมบำรุง ราคาสัก หมื่นล้านเศษๆ ถือว่า OK
S70B ถ้าขายก็ OK สัก 4 ลำ
F16 block 50 2 ฝุง ก็ ok
รวมๆก็น่าจะ 3 หมื่นล้านขึ้นไป กับการใช้งานต่อไปสัก 15 ปี ไม่แน่ใจ รัฐบาลของเราจะใจดีไหม แต่ถือว่าประหยัดเงินในการจัดหาได้หลายหมืนล้าน ครับ
สุดท้าย กรีซ เค้าต้องนำเข้าอาหารอยู่แล้ว ขอจ่ายเป็นสินค้าสักครึ่ง เงินสดสักครึ่ง ผ่อนจ่ายสัก 3 ปี เค้าคง ok อยากได้สินค้าอะไรสั่งซื้อกับเอกชนไทย รัฐบาลไทยจ่ายเงินให้เอกชนตามที้เค้าสั่ง เค้ากับเราก็ได้ประโยชน์ ทั้งกองทัพ และ เศรษฐกิจ win win
เพื่อนๆสมาชิกท่านใตพอที่จะทราบราคาที่ทอ.กรีซจัดหา F-16 block 50 ทั้ง 39 เครื่องนี้บ้างครับ ปีพ.ศ.ที่จัดหา จะได้ประเมินราคาที่เขาอาจจะจำหน่ายทิ้งได้ และถ้าได้ข้อมูลของ block 30 กับ block52+ มาด้วยยิ่งดีครับ จะได้ประเมินราคาขายของเขาได้ แต่กว่าจะขายจริงๆก็ไม่น้อยกว่า 2-3 ปีหรอกครับ(ขั้นแรกต้องสำรองประจำการ ปลดกำลังพล จอดเครื่องไว้เฉยๆรอขาย) ถ้าราคาตอนซื้ออยู่แถวๆ 40-45 ล้านเหรียญ ก็จะมีลุ้นว่าเขาจะขายทิ้งในราคาแค่ 30-35 ล้านเหรียญ หรือ ต่ำกว่านั้นอีก เพราะเป็นการขายแบบร้อนเงิน ก็จะตกลำละ 900-1000 ล้านบาทเท่านั้น
ถ้าราคาขายอยู่แถวนี้จริง ซื้อยกล๊อต 39 เครื่อง ราคาไม่น่าจะเกิน 35000-39000 ล้านบาท เราจะมี F-16 ใช้งานมากถึงเกือบ 80 เครื่องเลยทีเดียว หรูเกือบเท่าทอ.สิงคโปร์ แหม....ไหนๆก็ไหนๆแล้วน่าจะขอมาแทนฝูง 103 มันอีกสักฝูงไปเลย ....555555........
รอ F-35 ได้นานเท่านานเลยล่ะครับ
"กรีซ" หัวเด็ดตีนขาดยังไง ก็ไม่ยอมขายอาวุธประจำการแน่ครับ เพราะเดียวโดน"ตุรกี"บุกเกาะบริเวณชายแดนแน่ครับ
โดยเฉพาะเกาะที่มีคนเติกร์อยู่ สองประเทศนี้ เค้าสะสมอาวุธกันมาก ก็เพราะเค้ารู้ดีครับว่า การแบ่งเขตแดนในอดีตทำไว้ไม่เรียบร้อย
"กรีซ" อาศัยอิธิพลกองทัพ"อังกฤษ" เข้าครอบครองเกาะเอาไว้แทบทั้งหมด ไม่เหลือให้ตุรกีเลย
งานนี้ สัญยงสัญญา"นาโต้" คงวางไว้ก่อน ถ้า"กรีซ" อ่อนมากๆ โดยลุยแน่นอนครับ
ตอนตุรกีบุก "ไซปรัส" กรีซร้องแรกแหกกระเซอ ก็ไม่มีใครช่วยได้ครับ ทั้ง"เมกา" "อังกฤษ" ได้แต่ร้อง "แบะ..แบะ.."
นาโต้...นาเต้ ไม่มีความหมายเลยครับ
สองประเทศนี้เค้ารู้ดี ว่าเค้าสะสมอาวุธกันไว้ ด้วยเหตุผลอะไร...เค้าไม่ลดขนาดกองทัพแน่นอนครับ
กรีซคงไม่ขายอาวุธหรอกครับ ยิ่งถูกตัดออกจากEU ยิ่งไม่มีพรรคพวก ไม่มีพี่เบิ้มอย่างเยอรมันคุ้มหัว ยิ่งต้องกอดอาวุธไว้ เพราะต้องคอยระวังตุรกี(โจทย์ตลอดกาล)ถ้าจะต้องขายเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายก็คงเป็น F4 Phantom กับ A7 Corsair II เพราะเก่ามากแล้ว ส่วนเรือดำน้ำไม่ขายแน่เพราะไม่มีเงินซื้อของใหม่ ไม่มีค่านำ้มันกับค่าอะหลั่ยจอดไว้เฉยๆก็ยังดี ปรชาชนกรีซก็เข้าใจ กลัวอดอยากกับกลัวตุรกี เค้ากลัวตุรกีมากกว่าครับ
สภาพของกรีซตอนนี้ดูไม่จืด กลืนไม่เข้าคายไม่ออก ออกจากยูโรโซนก็ต้องชักดาบจ้าวหนี้แน่ๆ กลับไปใช้ค่าเงินสกุลเดิมก็ต้องลดค่าเงินกว่า 100% ขนาดเศรษฐกิจหดตัวรุนแรงทันที ธนาคารล้มละลายเพราะลูกค้าแห่ถอนเงิน ECB ก็ไม่ให้เงินกู้ ออกจากยูโรโซนไปแล้วก็จะหาเงินมาก่อร่างสร้างตัวไม่ได้เพราะไม่มีใครให้เงินกู้อีก(ก็พี่เล่นชักดาบนิ)
ครั้นจะอยู่กับยูโรโซนต่อ ก็ต้องตัดงบประมาณตลอดกว่า 10 -20 ปีรวด เศรษฐกิจก็จะถดถอยติดต่อกัน 10-20 ปี ไหวหรือ? แถมยังเป็นภาระแก่สมาชิกในกลุ่มเป็นอย่างมาก ฝรั่งเศสก็แทบหมดสภาพแล้ว สเปนก็จอดแล้ว อิตาลีก็ไม่ต่างกัน เหลือแค่อังกฤษและเยอรมันเท่านั้นที่ยังพอไปไหว จะให้เยอรมันแบกทุกชาติที่มีปัญหาอยู่คนเดียวก็ไม่รอดแน่ แบบนี้พากันตายทั้งกลุ่ม........
ไม่ว่าจะออกหรือไม่ออกจากยูโรโซน ก็ต้องลดขนาดเศรษฐกิจลงเท่าตัว ไม่ขายอาวุธทิ้ง ก็ไม่มีเงินค่าซ่อมบำรุง ค่าน้ำมัน ค่าฝึกกำลังพล เงินเดือนกำลังพล แค่การเก็บรักษาระบบอาวุธไว้สำรองประจำการก็มีค่าใช้จ่าย ระบบอาวุธสมัยใหม่ที่ขาดการเหลียวแล แป๊บเดียวก็เป็นกองเศษเหล็ก ความพร้อมรบไม่มี ตรูกีก็รู้เรื่องนี้ดี ถูกบุกขึ้นมา ก็หมดสภาพที่จะต้านทานอยู่ดี
ในมุมมองผม ยอมตัดดีกว่าเสียส่วนมาก เช่น ขายเรือดำน้ำ type 209 ทั้ง 7 ลำทิ้ง เอาเงินจากการขายไปรับมอบเรือ type 214 ลำที่สี่เอาไว้ กองเรือก็จะมีเรือชั้นดีทันสมัยที่สุด 4 ลำ ปลดกำลังพลที่เหลือเกินออก (แต่สำรองรายชื่อพร้อมเรียกกลับเข้าประจำการ) ไม่ต้องมาจ่ายค่าบำรุงรักษาเรือที่ต้องสำรองประจำการ ไม่ต้องจ่ายค่าแรงกำลังพล
แล้วไปทุ่มเทเรื่องการเมืองระหว่างประเทศโดยเฉพาะกับพี่เบิ้มที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งจะดีกว่า ถ้าอเมริกาไม่ช่วย นาโต้ไม่ช่วย หันไปหารัสเซียกะจีนมันให้สิ้นเรื่องสิ้นราว แบบนี้อเมริกาและนาโต้ก็ต้องมาง้อรับประกันความปลอดภัยให้
ยิงอ่านยิงมัน สนุกดี ครับ
ประวัติศาสตร์ Greece
ยุคโบราณ
ในยุคสำริด 3,000-2,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นยุคที่อารยธรรมชนเผ่าไซแคลดิกและไมซีแนเอียนกำลังมีอิทธิพลรุ่งเรืองอยู่ในกรีซ แต่พอถึงศตวรรษที่ 11 ก่อนคริสตกาล อิทธิพลของวัฒนธรรมไซแคลดิกและไมซีแนเอียนก็ถึงกาลเสื่อมสลายลง เพราะถูกรุกรานโดยนักรบเผ่าดอเรียนที่รุกมาจากทางเหนือ อารยธรรมต่าง ๆ ในกรีซจึงเริ่มเข้าสู่ยุคมืด
ช่วงเวลา 800 ปีก่อนคริสตกาล เป็นช่วงเวลาที่อารยธรรมกรีซเฟื่องฟูขึ้นมาอีกครั้ง วัฒนธรรมและกิจการทหารของกรีซเจริญรุ่งเรืองมากที่สุด เมืองเอเธนส์ลัสปาต้าเป็นศูนย์กลางของอำนาจมหาอาณาจักรกรีซประกอบด้วยอิตาลีทางตอนใต้อันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของอาณาจักรอันยิ่งใหญ่ กรีซย่างก้าวเข้าสู่ยุคคลาสสิกหรือยุคทอง ในยุคนี้เองนักปราชญ์ชื่อ เพเรอคลิส ผู้ทำให้วิหารพาร์เธนอนเป็นที่รู้จักของชาวโลก โซโฟคลิสได้เขียนมหากาพย์อีดิปุสขึ้น และโสคราติสหรือซาเครอทิส ได้เริ่มการสอนลูกศิษย์ชาวเอเธนส์ให้รู้จักวิชาตรรกวิทยาและหลักการของประชาธิปไตย ต่อมาไม่นานนักยุคทองของกรีซก็ถึงจุดเสื่อม แล้วกรีซก็เข้าสู่ยุคสงครามเปลโอปอนนีเซียน ซึ่งกองทหารอันเกรียงไกรของสปาร์ตาได้ยกกำลังเข้าบดขยี้ชาวเอเธนส์เสียจนย่อยยับ
ในขณะที่สปาร์ตากำลังรุกรานกรีซอย่างย่ามใจทางตอนเหนือ พระเจ้าฟิลิปแห่งอาณาจักรมาซิโดเนียกำลังไล่ตีเมืองเล็กเมืองน้อยรุกคืบเข้ามาใกล้กรีซทุกที แต่ทว่าความทะเยอทะยานที่จะเป็นผู้พิชิตในภูมิภาคนี้ของพระเจ้าฟิลิปก็ถูกบดบังรัศมีโดยโอรสของพระองค์เองคือ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ผู้สามารถยาตราทัพไปถึงเอเชียไมเนอร์และอียิปต์ ซึ่งที่อียิปต์นี้เองพระองค์ได้รับการยกย่องให้เป็นฟาโรห์ ผู้สร้างเมืองอเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสามารถยกทัพไปถึงเปอร์เซียและดินแดนส่วนที่เป็นอินเดียและอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ในรัชสมัยของอาณาจักรมาซิโดเนียเรียกกันว่า ยุคเฮลเลนิสติก (Hellenistic Period) เพราะยุคนี้มีการผสมผสานปรัชญาและวัฒนธรรมที่รุ่งเรืองของชนชั้นปกครองจนกลายเป็นวัฒนธรรมแบบใหม่ที่ศิวิไลซ์ยิ่งขึ้น หลังจากพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนมายุ 33 ปีแล้ว มีกษัตริย์ปกครองกรีซสืบต่อมาอีก 3 รัชกาล
ครั้นถึงปีที่ 205 ก่อนคริสต์ศักราช อิทธิพลของโรมันแผ่ขยายเข้ารุกรานกรีซ และเมื่อถึงปี 146 ก่อนคริสตกาล กรีซกับมาซิโดเนียตกอยู่ใต้การปกครองของโรมัน หลังจากที่มีการแบ่งอาณาจักรโรมันเป็นอาณาจักรตะวันออกและตะวันตก กรีซได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรไบแซนไทน์ และเมื่อเกิดสงครามครูเสดขึ้น อิทธิพลของอาณาจักรไบแซนไทน์ก็เสื่อมถอยเพราะถูกรุกรานโดยชาวเวนิส คาตาลัน เจนัว แฟรงก์ และนอร์มัน
ยุคกลาง
ในปี พ.ศ. 1996 (ค.ศ. 1453) กรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของจักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกพวกเติร์กยึดครอง และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2043 (ค.ศ. 1500) ดินแดนของกรีซทั้งหมดก็ตกอยู่ใต้อำนาจของเติร์ก ดินแดนที่เป็นกรีซในปัจจุบันแต่ก่อนเป็นศูนย์กลางการค้าทางเรือของยุโรปตอนกลางและเป็นที่ชุนนุมนักปราชญ์กับศิลปินของโลก เพราะที่นี่เป็นหมู่บ้านกรีกที่มีประเพณีและวัฒนธรรมของกรีกออร์ทอดอกซ์ ในการทำสงครามเพื่อกู้เอกราชจากเติร์ก กรีซได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นจากนักคิด นักเขียน และนักปรัชญา เช่น ไบรอน แชลเลย์ และเกอเธ อย่างไรก็ตามการต่อสู้ที่ขาดเอกภาพของกรีซ ทำให้ฝรั่งเศส รัสเซีย และอังกฤษ ตัดสินใจเข้ามาแทรกแซง หลังจากกรีซได้รับเอกราชแล้ว กลุ่มอำนาจในยุโรปมีความเห็นว่ากรีซควรมีการปกครองระบบกษัตริย์จึงได้จัดการให้กษัตริย์ออตโตแห่งบาวาเรีย เป็นกษัตริย์ปกครองกรีซในปี พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) หลังจากนั้นกรีซก็มีกษัตริย์ขึ้นครองราชย์อีกหลายพระองค์ด้วยกัน จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 1 จึงได้รับพระราชทานกฎหมายรัฐธรรมนูญให้กรีซในปี พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) ทำให้กรีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ
ยุคใหม่
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพกรีซอยู่ข้างฝ่ายสัมพันธมิตร และเข้ายึดครองเมืองเทรซ เมื่อสงครามโลกยุติ กรีซได้ส่งกองกำลังเข้าไปช่วยปลดปล่อยเมืองสเมอร์นาของตุรกี (ปัจจุบันคืออิซมีร์) ให้ได้รับอิสรภาพ เพราะเมืองนี้มีประชาชนชาวกรีกอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก กองกำลังกรีกถูกต่อต้านอย่างแข็งแกร่งจากกองทัพของอตาเติร์ก ซึ่งได้เข่นฆ่าชาวกรีกในเมืองนั้นเสียชีวิตลงเป็นจำนวนมาก ผลของสงครามนี้ทำให้มีการตกลงแลกเปลี่ยนพลเมืองของ 2 ประเทศกันในปี พ.ศ. 2466 (ค.ศ. 1923) ประชากรกรีกเพิ่มจำนวนประชากรมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะมีผู้อพยพชาวคริสเตียนมาอยู่ในกรีซมากถึง 1,300,000 คน ทำให้กรีซมีปัญหาด้านเศรษฐกิจตามมา คนเหล่านี้กระจายกันไปอยู่นอกเมือง ภายหลังมีการก่อตั้งสหภาพแรงงานต่าง ๆ ขึ้นในกลุ่มพวกอพยพที่อาศัยอยู่ตามหัวเมืองรอบนอก และในปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) พรรคคอมมิวนิสต์ในกรีซก็เติบโตและมีอิทธิพลมากขึ้นเรื่อย ๆ จากการสนับสนุนของประชาชนทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936) นายพลเมเตอซัส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นผู้ปกครองประเทศที่นิยมการปกครองแบบเผด็จการ ถึงแม้ว่าจะได้เห็นความเป็นไปในชะตากรรมของพวกนาซีเยอรมนี แต่ตัวเขาเองกลับกระทำการต่าง ๆ ที่ทำให้เขาได้รับฉายาว่าเป็นภาพจำลองของอาณาจักรไรน์ในกรีซ นายพลเมเตอซัสทำการต่อต้านไม่ยอมให้เยอรมนีกับอิตาลีเดินทัพผ่านกรีซ ถึงแม้ว่ากลุ่มสัมพันธมิตรจะเข้าช่วยกรีซแต่กรีซก็ต้องตกเป็นของเยอรมนีในปี พ.ศ. 2484 (ค.ศ. 1941) เป็นผลให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงขึ้น มีการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เกิดความวุ่นวายขึ้นในประเทศที่มีทั้งฝ่ายสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์และฝ่ายสนับสนุนสถาบันกษัตริย์ เป็นชนวนให้เกิดสงครามกลางเมืองนองเลือดขึ้นในกรีซ และยุติลงใน พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) โดยฝ่ายนิยมกษัตริย์อ้างชัยชนะ
ในช่วงเวลานั้นอเมริกากำลังเคร่งครัดในลัทธิทรูแมน รัฐบาลอเมริกาในขณะนั้น มีนโยบายให้เงินก้อนใหญ่สนับสนุนรัฐบาลที่ต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ แต่ความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์จะครองเมืองทำให้คณะทหารของกรีซทำการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาลเมื่อปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) [1] กล่าวกันว่าการปฏิวัติในกรีซเป็นผลมาจากการแทรกแซงทางการเมืองของหน่วยงาน CIA ของสหรัฐอเมริกาที่เข้ามาปฏิบัติการในทวีปยุโรปกลุ่มทหารที่ครองอำนาจในกรัซทำตนมีอำนาจเหนือราษฎรและทำการกดขี่ข่มเหงประชาชน ยิ่งกว่านั้นคณะนายพลของทหารกรีซได้ทำการวางแผนลอบสังหารผู้นำของไซปรัสในขณะนั้น เป็นผลให้ตุรกีฉวยโอกาสเข้ารุกเข้ายึดครองตอนเหนือของไซปรัส ทำใหเหตุการณ์นี้เป็นข้อบาดหมางระหว่างกรีซกับตุรกีมาจนถึงทุกวันนี้
ในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) กรีซเข้าเป็นสมาชิกสมาคมสหภาพยุโรป พรรคสังคมนิยม PASOK นำโดยนายแอนเดรียส์ ปาปันเดรโอ ชนะการเลือกตั้งได้เป็นนายกรัฐมนตรี รัฐบาลให้สัญญาว่าจะจัดการให้อเมริกาย้ายฐานทัพอากาศออกไปจากกรีซและกรีซจะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกของนาโตแต่รัฐบาลทำไม่สำเร็จ สตรีชาวกรีซเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงประเพณีเรื่องสินสอดและเรียกร้องให้กฎหมายสนับสนุนการทำแท้งเสรีความไม่สงบในประเทศทำให้ปาปันเดรโอกับรัฐบาลของเขาเสียอำนาจการปกครองประเทศให้กับรัฐบาลผสมระหว่างพรรคอนุรักษ์นิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ในปี พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) การเลือกตั้งในกรีซเมื่อ พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) พรรคอนุรักษ์นิยมได้ที่นั่งมากที่สุดและได้พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศแต่ไม่สำเร็จ การเลือกตั้งใหม่ใน พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993) กรีซได้ปาปันเดรโอผู้นำเฒ่าของพรรคเสรีนิยมกลับมาครองอำนาจกลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง ท่านผู้นำถึงแก่อนิจกรรมใน พ.ศ. 2539 (ค.ศ. 1996) หลังจากที่ท่านลาออกจากตำแหน่งทางการเมืองกรีซได้ผู้นำคนใหม่ชื่อ คอสทาส สมิทิส ต่อมากรีซกับตุรกีขัดแย้งกันอย่างหนักจนใกล้จะระเบิดสงครามเมื่อผู้สื่อข่าวของตุรกีได้นำธงชาติกรีซมาย่ำยีเล่น สมิทิสได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีกรีซอีกครั้ง รัฐบาลใหม่ให้สัญญากับประชาชนว่าจะเร่งการนำประเทศเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มอียู นายกรัฐมนตรีเป็นเพื่อนร่วมชั้นกับรัฐมนตรีโทนี แบลร์ของอังกฤษตั้งแต่สมิทิสมีอำนาจในการบริหารประเทศเขามีนโยบายเห็นด้วยกับกลุ่มฝ่ายค้านพรรคประชาธิปไตยใหม่แทบทุกเรื่อง
Turkis Navy
Turkish Air Force
Turkish
ขอเพิ่มเติม
Turkish Power and Army
con
con2
con3
มาดูข้อมูลของตุรกีกันบ้าง
พื้นที่ประเทศ ประมาณ 780,000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร.......73 ล้านคน
GDP 720 พันล้านเหรียญสหรัฐ (มากกว่าไทยเรา 1 เท่าตัว)
ข้อมมูลน่าสนใจมากอีกอัน คือ เมืองใหญ่ 4 อันดับแรก
อิสตัลบูล ประมาณ 13 ล้านคน
AnKara ประมาณ 4.4 ล้าน(เมโทรโปลิส)
Izmir ประมาณ 3.9 ล้าน(เมโทรโปลิส)
Bursa 2.6 ล้าน(เมโทรโปลิส)
หัวเมืองอันดับที่เหลือมีขนาดใหญ่ ระดับสิงคโปร์และกัวลาลัมเปอร์ แสดงว่าประชากรส่วนใหญ่อยู่ในเขตเมือง รายได้ต่อหัวจึงสูงกว่าเราประมาณเท่าตัว (หัวเมืองอันดับสองลงไปถึง ห้า มีประชากรรวมกันพอๆกับเมืองหลวง)
thailand
พื้นที่ 513000 ตารางกิโลเมตร
ประชากร 67 ล้านคน (รวมแรงงานต่างด้าวกว่า 4 ล้าน ก็ 71 ล้านคน)
กรุงเทพ 11-12 ล้าน
ชลบุรี 1.2 ล้าน (เมโทรโปลิส)
เชียงใหม่ ประมาณ 1 ล้านคน(เมโทรโปลิส)
สงขลา-หาดใหญ่ ประมาณ 800,000(เมโทรโปลิส)
เขตเมืองของเรานอกเหนือจากเมืองหลวงยังมีขนาดเล็กกว่าเขามาก แต่ที่ผมทำการรวบรวมข้อมูลจากทุกแหล่งเท่าที่หาได้ ทั้งจากภาคอสังหาและภาครัฐ การเพิ่มของหัวเมืองอันดับสองลงไปถึงห้า มีอัตราการเพิ่มก้างกระโดดใน 10 ปี มีประชากรในเขตเมโทรโปลิสเพิ่มอยู่ในช่วง 40-60% ยกเว้ยพัทยาที่กระโดดมาเฉียด 100% ใน 12 ปีเท่านั้น อีก 20 กว่าปี หัวเมืองต่างๆของเราจะมีขนาดตามทันเมืองในตุรกีครับ ในขณะที่กรุงเทพเพิ่มในอัตราลดลง ไม่น่าจะเกิน 15-16 ล้านคน
เทียบขนาดกองทัพบ้าง กองทัพตุรกีอบ่างคร่าวๆ
ทัพบก กว่า 700,000 นาย หรือ 2-3 เท่าของเรา
ทัพเรือ
ฟรีเกต MEKO 200 8 ลำ
OHP 8 ลำ
Knox 1 ลำ
เรือดำน้ำ 14 ลำ!
ทัพอากาศ
F-16 block 50 มี 218 เครื่อง
F-4 มี 162 เครื่อง
F-5 87 เครื่อง ปรับปรุงแล้ว
AWAC 4 เครื่อง
กองทัพอากาศใหญ่กว่าเราราวๆ 6 เท่าตัว
ทั้งๆที่ขนาดเศรษฐกิจของเขาใหญ่กว่าเราเท่าเดียว ดูจากขนาดของทอ.ตุรกี น่าจะเป็นเหล่าทัพที่ได้รับงบสูงสุดเลยทีเดียว ถ้าขนาดเศรษฐกิจของเราเท่าเขา ทร.ไทยและทัพบกไทยอาจจะตามทัน แต่ทัพอากาศนี่ก็ยังมีขนาดแค่ 1/3 ของเขาอยู่ดี ประเทศนี้น่าขะใช้งบประมาณทหารราวๆ 3-4% ของ GDP ผมว่าทัพเรือและทัพอากาศของเราควรจะมีงบประมาณพอๆกับทัพบกได้เสียทีนะครับ ถ้าเพิ่มงบให้ทร.และทอ.มีพอกับทบ. เราก็ต้องเพิ่มงบกลาโหมขึ้นอีก 30% โดยมีสัดส่วนไม่น่าจะเกิน 2-2.3% ของ GDP กำลังทางเรือและทางอากาศเราอ่อนเกินไปครับ
ข่าวล่าสุดเกี่ยวกับการเงินของกรีซ ระบบธนาคารพานิชย์ของกรีซทั้งระบบใกล้ล้มละลายทั้งระบบแล้วครับ ตากระทู้ของพันทิพย์เลย
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I12136738/I12136738.html
คิดว่ากองทัพของกรีซจะคงระบบอาวุธทั้งหมดเอาไว้ไหวหรือเปล่าครับ อย่าว่าแต่กรีซเลย ตุรกีเองแม้จะไม่ได้อยู่ในยูโรโซน แต่ก็ผูกพันธ์กับยุโรปในระดับสูงกว่าตะวันออกกลางมากมายนัก ยังไงก็กระทบ แต่ถ้าทอ.ตุรกีจะลดรายข่ายลง คงมีทางเลือกมากกว่ากรีซล่ะครับ อย่างเก่งก็คงปลด F-5
นักเศรษฐศาสตร์บอกว่าผลกระทบเอเซีย จะพอๆกับคราววิกฤต เลห์แมนล้ม ที่เป็นชนวนวิกฤต subprime
เห็นตุรกีมีพรีเดเตอร์กับรีพเพอร์แล้วงง ไม่รู้ไไว้ใช้ปราบก่อการร้ายหรือไร
เพราะถ้าจะให้ต่อกรในการรบตามรูปแบบไม่น่าจะมีประโยชน์มากนัก ด้วยความเร็วที่ช้าล่อเป้าแซม
แต่ใช้กล่มผกก.ง่ายเนื่องจากเสียงเบา บินยามค่ำตืนสอยเปา้หมายนิ่มๆ
ตุรกีก็น่าจะใช้ถล่มชาวเคิร์ด เคยมีข่าวว่าโดนชาวเคิร์ดล่อ uav ตกซะหมดท่าเลย
ก็ ตุรกี เล่นอยู่ ติด ทั้ง อิรัก กับ อิหร่าน กองทัพใหญ่เว่อร์ก็ไม่เเปลก
กรีซกะตุรกียังได้รับงบทางทหารจำนานมหาศาลลำดับต้นๆจากเมกา ไหนจากนาโต้เอาให้อีก โดยที่ตุรกีมากกว่ากรีซนิดหน่อย ฉะนั้นทางทหารกรีซไม่สนเลย อต่ทางเศรษฐกิจดินเอาเอง