หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ภัยคุกคามเรือรบบ้านเรา

โดยคุณ : securitytot เมื่อวันที่ : 11/05/2012 15:56:23

ตอนนี้เพื่อนบ้านเราคือเวียดนามมี Brahmos ซึ่งเป็นจรวดต่อสู้เรือรบที่มีความเร็วและทันสมัยที่สุด 

ผมอยากทราบว่าเรือรบบ้านเราเอาลำที่ทันสมัยที่สุด มีอาวุธอะไรที่สามารถป้องกันตัวเองจาก Brahmos  ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ บ้างครับ

และข้อสอง หากเราเจอBrahmos ยิงเราในระยะ 100 กิโลเมตร แต่เรือเราสามารถตรวจจับ Brahmos ได้ในระยะ 50 กิโลเมตร อยากทราบว่าเรือรบของเรามีเวลามากพอในการเตรียมตัว จรวดตัวนี้ ที่เราตรวจจับเจอ เมื่อมันเข้าใกล้เรือเราในระยะ 50 กิโลเมตร  หรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ESSM ที่กำลังจะติดบนเรือหลวงนเรศวรไงครับ ซึ่งผู้ผลิต Claim ว่าสามารถยิงสกัด Brahmos ได้ และเข้าใจว่ามีการทดสอบกับเป้าไร้คนขับความเร็วสูงมาแล้ว เพราะอเมริกามีเป้าทดสอบที่เป็น Ramjet อยู่และเอาไปยิงทดสอบเป็นประจำ แต่ยังไม่มี VDO หลุดออกมาเลยครับ  ส่วนจะกันได้ 100 % หรือเปล่าก็คงไม่น่าจะขนาดนั้น แต่ก็เชื่อว่าน่าจะ 90% ขึ้นไปละครับ

  Brahmos เองถ้าบินที่ เพดาร์บินสูง + ความเร็วสูงสุดได้ และมีโอกาสถูกตรวจจับได้จากระยะไกล  ส่วนที่เพดาร์บินต่ำ + ความสูงต่ำ  น่าจะถูกตรวจจับได้ในระยะใกล้กว่า 20 Km  ตามข้อจำกัดเรื่องความโค้งของผิวโลก แต่จรวดเองก็ไม่น่าที่จะบินได้เร็วนักครับคงประมาณ 0.85-1.5 Mach นะครับ   

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 04/05/2012 09:48:34


ความคิดเห็นที่ 2


จรวดBRAHMOS มีความเร็วอยู่ที่ 2.8-3 มัค ครับ ซึ่งถือว่าเร็วมากสำหรับจรวดนำวิถีในยุคนี้ แถมมีหัวรบหนัก 300 กิโลกรัม เรียกว่าจมเรือเราได้ในจรวดลูกเดียวเลย ส่วนเรื่องการตรวจจับนั้นน่าจะจับได้ที่ไม่เกิน 20 กิโลเมตร และถ้าว่าไปเกิดการสู้รบถึงขั้นใช้จรวดนำวิถีนั้นฝ่ายตรงข้ามคงไม่ยิงมาเพียงลูกเดียว ซึ่งเรือที่เป็นเป้านั้นคงไม่มีอะไรสกัดได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทางออกคือเปิดระบบป้องกันและสกัดกั้นทั้งหมด ทั้ง ESSM อาวุธสกัดกั้นระยะประชิด รวมทั้งระบบเป้าลวง รวมทั้งการเดินเรือเพื่อการหลบหลีกครับ ซึ่งน่าจะช่วยได้มากถึงแม้จะไม่ถึงร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ถ้าเกิดโดนขึ้นมาสูญเสียมหาศาล ทางที่ดีหาวิธีกำจัดฐานยิงก่อนดีกว่าครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/05/2012 10:00:56


ความคิดเห็นที่ 3


เห็นด้วยกับท่านเด็กทะเลครับ ทั้งความเร็วสูงระดับ2.5+ มัคและแผนการยิงที่จะไม่ใด้ยิงเพียงแค่1ลูก

ในยุคข้างหน้านี้ Brahmos ถือใด้ว่าเป็นภัยคุกคามของเรือรบผิวน้ำทุกๆประเภท

ในส่วน ESSM ถ้าไม่เห็นกับตาในส่วนของการทดสอบกับ ขีปนาวุธที่ความเร็วระดับ2+ มัค ผมให้ความเชื่อถือแค่ 50%

ในส่วน ขีปนาวุธที่ความเร็วต่ำกว่า 1มัค ผมให้90%+

ความเร็วยิ่งสูง ระยะเวลาป้องกันยิ่งสั้น

Brahmos ของเวียดนาม ผมว่าชี้เป้าไปที่ เรือบรรทุก บ.ของจีนและJiangkai II มากกว่าจากความขัดแย้งหลายๆกรณี หลายๆระดับ และหวังว่าโต๊ะเจรจาและความอดกั้นอดทนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด (และเป็นเช่นนี้เรื่อยมา)

ไม่เช่นนั้นการรบเต็มรูปแบบจะเห็นอย่างต่อเนื่อง ...

โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 04/05/2012 11:19:45


ความคิดเห็นที่ 4


ส่วนตัวมองว่า brahmos จะเหมือน C803

c803 Specifications

    Length: 6 – 7 m
    Weight: 850 – 1200 kg
    Diameter: 0.36 m
    Range: 120 - 255+ km (depending on launch platform)
    Cruising altitude: 10 – 50 m for initial target approach phase, 5 m for final/terminal phase (~20 km from target)
    Speed:
        Subsonic for initial target approach phase
        Mach 1.3 for intermediary target approach phase (~30 km from target)
        Mach 1.7 for final target approach phase (~20 km from target)
        Mach 2 for terminal phase (~8 km from target)
    Propulsion: Solid-fuel rocket booster and turbojet engine
    Warhead: 165 kg semi-armour-piercing

 

ช่วงแรกจะช้า แล้วจะเร็วช่วงปลาย

 

ถ้าเจอพวกตกูล rim7 ในความเร็ว mach 1.x กว่าเสร็จเราแน่

โดยคุณ หลวงอาวุธวิเศษ เมื่อวันที่ 04/05/2012 11:47:52


ความคิดเห็นที่ 5


(บรามอสอีกแล้วเหรอนี่)

มันไม่มีหรอกครับ แม่นร้อยเปอร์เซนต์ ถ้าเราโดนก็คงเต็มที่ มีอะไรสาดออกไปให้หมดอย่างที่คุณ เด็กทะเลกล่าวนั่นแหละ

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 04/05/2012 13:14:52


ความคิดเห็นที่ 6


เรื่องความเร็วของจรวดพวกนี้ ที่ว่าเร็วถึง 2.X มัค

เคยอ่านที่ถกเถียงกันว่า ถ้าวิ่งเรียดพื้นที่ระดับผิวน้ำ ไม่น่าจะมีความเร็วได้ขนาดนั้นมันจริงป่าวครับ

จำไม่ได้ว่า TAF หรือ TFC

โดยคุณ delete เมื่อวันที่ 04/05/2012 14:00:24


ความคิดเห็นที่ 7


อันนี้ครับ 

http://www.thaifighterclub.org/webboard.php?action=detailQuestion&questionid=16009&language=1

เท่าที่ลองคำนวนดูมันน่าจะเป็นอย่างนั้น  ยกเว้นเสียแต่ว่า BrahMos ไม่บินแบบเรียดน้ำ  คือบินสูง ๆ speed อยู่แถว ๆ  2-3 Mach แล้วปักหัวลงมาใส่เรือเลยอันนี้น่ากลัวครับ ><  

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 04/05/2012 15:37:06


ความคิดเห็นที่ 8


จุดปัญหามันขึ้นอยู่ที่ว่า เมื่อเรือถูกโจมตีด้วยอาวุธนำวิถี จะเป็น BRAHMOS ที่ความเร็วเกิน 2 มัค หรือจะเป็นจรวดนำวิถีแบบที่ใช้ๆกันอยู่ความเร็ว 0.7-0.8 มัค  ความโกลาหลก็จะเกิดขึ้นครับ ยิ่งถ้าหากว่ามีการยิงมากกว่า 1 ลูก ลูกหนึ่งตั้งโปรแกรมแบบ ซีสคิมหรือแบบินเรื่ยน้ำ อีกลูกหนึ่งตั้งโปรแกรมแบบ ป็อปอัพ คือบินสูงแล้วปักหัวลงมา แถมตั้งให้เข้าชนพร้อมกัน ความพะวักพะวงก็จะเกิดขึ้นด้วย ยิ่งอาวุธสมัยใหม่ตังเวย์พ้อยต์ได้หลายจุดโดยอาจจะอ้อมไปเข้าโจมตีด้านหลังก็เกิดความสับสน

สำหรับ BRAHMOS คาดว่าถึงแม้จะตั้งโปรแกรมเข้าโจมตีแบบซีสคิม ความเร้วก็คงไม่ต่ำกว่า 1.5 มัค(ความคิดส่วนตัวนะครับ ไม่ชัวร์) และการเข้าโจมตีแบบบินเรี่ยน้ำนี้การตรวจก็ยากและถ้าความเร็วขนาดนี้การสกัดกั้นก็ด้วยเช่นกัน เป้าลวงและระบบแจมมิ่งว่ามันจะต้องได้ผล ถึงเวลานั้นปืนกลที่ใช้พลยิงก็ต้องงัดออกมาใช้ครับ

สรุปว่าเราจำเป็นจะต้องจัดหาระบบที่ใช้ในการป้องกันเรือทั้งแจมมิ่ง ซอร์ฟคิล ฮาร์ดคิล ที่ทันสมัยพอมาป้องกันเรือครับ ถึงแม้ว่ามันจะไม่ช่วยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์แต่มีไว้ดีกว่าอย่างน้อยยังมีเปอร์เซ็นต์รอดครับ

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 04/05/2012 15:59:44


ความคิดเห็นที่ 9


ทำไมคุณ fantom  ไม่เชื่อถือ essm ว่าป้องกันได้ แต่กลับเชื่อถือว่าบรามอสแรงเร็วแม่น จริง (ผมเดาเอา เพราะจากการเขียนสื่ออย่างนัน อาจจะผิดก็ซอรี่ขออภัย)

อย่าลืมจรวดยิงเร็ว สองสามมัค สิทธิ์ว่าวเยอะครับ ยิ่งพวกปักลงหัวยิ่งว่าวง่าย

พวกที่ยิงข้ามฟ้าข้ามโลกอย่างโทมาฮอควว่าวกระจาย เวลาใช้ก็ระดมยิงเป็นปืนใหญ่ทีเป็นสิบๆร้อยๆนัด

ยังไม่เคยจรวดโจมตีเรือรุ่นไหนทดลองยิงระยะยิงไกลสุดตามที่โม้ไว้ เช่นเดียวกับไม่เคยเห็นระบบป้องกันภัยจัดการกับเป้าหมายความเร็วสองมัค+ซักที

หรือจรวดแซมล้านกิโลตระกูล s 300 ก็อยากเห็นยิงระยะยิงไกลสุดเหมือนกัน

 


โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 04/05/2012 16:02:10


ความคิดเห็นที่ 10


โดยคุณ charnrit เมื่อวันที่ 04/05/2012 16:37:47


ความคิดเห็นที่ 11


- ความเร็วของ PJ-10 Brahmos ช่วงเดินทาง จะอยู่ที่ มัค 2.5-2.8

 

- ในปี 2004  Brahmos ทดสอบรอบแรกๆ ยิง 6 ครั้ง ส่วนมากยิงที่ระยะ 280 กิโลเมตร(175 ไมล์) เข้าเป้าทั้งหมดอย่างแม่นยำ ดังนั้น Brahmos II และ Brahmos-2 น่าจะหมดข้อสงสัยเรื่องความแม่นยำ

- ทำไมต้อง 290กิโลเมตร ทำไมไม่มากกว่านี้ ..

In order to avoid controversy, both India and Russia have taken care to ensure that the production of the cruise missile did not violate obligations under the Missile Technology Control Regime (MTCR) or any of the international agreements related to proliferation. That is why the missile range is well within the 300 km limit stipulated under the MTCR.

- ระบบนำวิถี เป็นแบบอากาศยานคือ ใช้ระบบนำร่อง INS 

รวม GPS  ซึ่งตั้งโปรแกรมเส้นทางได้หลายแบบ เหมือนตั้งนักบินกล และช่วงสุดท้ายมีทั้ง Active และ Passive Radar

- ทำรุ่น อากาศสู่พื้น ลดนํ้าหนักจาก 3 ตัน เหลือ 2.2 ตัน และสั้นลงเล็กน้อย หัวรบลดจาก 300 เหลือ 200 กิโลกรัม เพื่อบรรทุกใส่ SU-30 MKI ได้

- ความเร็วตอนเข้าเป้าหมายไม่แน่ชัด แต่ที่ดูผมว่าเข้าเป้าที่ 2.5 มัค เพราะเห็นอินเดียพูดถึงอิมแพ็ค(พลังงานจลน์)เข้าชนสูงบ่อยครั้ง(5-8 เท่าของฮาร์ปูน มวลคูณความเร็ว)

- เห็นว่าเวียตนามได้ตั้งโรงงานทำสีซับเรด้าร์  ผมว่าได้ไปจากเทคโนโลยี่ของอินเดีย-รัสเซีย ของบรามอสอีกที

- ถ้าไม่มีระบบจรวดป้องกันระยะประชิด ไม่น่าเอาบรามอสอยู่ โดยเฉพาะมา 2 ลูกติด วิ่งตามกันมา ลูกแรกจะเป็นม่านกำบังฝุ่นระเบิดให้ลูกที่สองเข้าเป้า

ขนาดระเบิดแรงสูง 300 กิโลกรัม สามารถฉีกเรือคอร์เว็ตขาดกลางได้ในลูกเดียว

 ข่าว http://rpdefense.over-blog.com/article-india-brahmos-launch-sam-interceptions-and-network-centric-warfare-on-display-during-tropex-12-98934737.html

กองทัพเรืออินเดียจะทำเน็ตเวิร์คเซนตริครวมถึงแซม บรามอส เเครื่องบินสกัดกั้นเข้าด้วย มีการปรับปรุงซีฮาริเออร์ให้รองรับ BVR และ เติมนํ้ามันกลางอากาศได้  ในภาพเดือนกุมภา 2555 ใน TROPEX 12

V


โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 04/05/2012 18:58:31


ความคิดเห็นที่ 12


  อืมเค้าคงไม่หาพิกัดไว้แค่จีนหรอกนะผมว่า ประวัติศาสตร์คนไทยเรามองแค่เรื่องพม่าสมัยอยุธยาโน่น แต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึง 30 ปีที่แล้ว ประเทศที่กล่าวถึงนี้เค้ามีเรื่องกับเรามากมาย ผมว่าเค้านะเราต้องจับตาเลย

โดยคุณ fighttt เมื่อวันที่ 04/05/2012 19:41:01


ความคิดเห็นที่ 13


   ลึกลงไป แต่ละประเทศ ดิดตามรู้ข่าวแวดวงอาวุธ

ซึ่งกันและกันอยู่แล้ว เพียงแต่ว่าต้องกลับไปต่อสู้หา

งบประมาณเสียงสนับสนุนจัดหาอาวุธ ให้ได้ตามกองทัพ

แต่ละประเภท การเมืองมีเสถียรภาพ รัฐบาลได้รับการเชื่อ

ถือ มีความมั่นคง รัฐบาลอยู่ได้ยาวนาน จะส่งผลในการ

อนุมัติเป็นเหตุเป็นผลในหลายเรื่อง ทั้งในและนอกประเทศ

คร่าวๆแค่นี้ก่อนน๊ะครับ


โดยคุณ kabinblade เมื่อวันที่ 04/05/2012 21:27:44


ความคิดเห็นที่ 14


   ผมเคยดูคลิปของ ESSM ยิงสกัดอาวุธนำวิถีเรี่ยน้ำมาแล้วครับ   เป็นคลิปของทร.ออสซี่  ทำการทดสอบยิง ESSM จากเรือชั้น ANZac ที่ทำการปรับปรุงแล้ว (เรือชั้นนี้ประสิทธิภาพพอๆกับเรือชั้นนเรศวรที่ upgarde แล้วครับ)   เข้าเป้าหมายแม่นยำในระยะไกลกว่า 20 กิโล   แต่จรวดเป้ามีความเร็วต่ำกว่าเสียง   

    บรามอสนั้น  ในช่วงการโคจรเฟสแรกและกลางจะบินที่ระดับเพดานบินสูงครับ  ด้วยความเร็วสูงสุด  ช่วงสุดท้ายประมาณ 20-25 กิโลจะลดลงมาบินเรี่ยยอดคลื่นได้  แต่ความเร็วผมว่าไม่น่าจะถึงความเร็วสูงสุด     ดังนั้นถ้า ESSM จะสกัดบรามอสได้จริง   ก็ต้องระยะ 20-55 กิโลเมตรล่ะครับถึงจะชัวร์    ถ้าเข้าสู่ระยะสุดท้ายแล้ว   ผมว่าอาจจะสกัดเต็มที่ได้เพียง 1 ลูกเท่านั้น      และถ้ายิงมาหลายลูก  หลายทิศทางและช่วงก่อนกระทบมีแบบป๊อปอับ   อย่างนี้รอดยาก      คงต้องมี RAM black 2 มาเสริมเท่านั้นแล้วล่ะครับ  

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/05/2012 21:44:36


ความคิดเห็นที่ 15


    หรือไม่ก็ต้องจัดหาเรือบรรทุกบ.  เพื่อสร้างระบบป้องกันเป็นชั้นๆแบบกองเรือบรรทุกบ.ของชาติมหาอำนาจ   เพื่อทำการสอยเครื่องบินข้าศึกก่อนเขาจะเข้าสู่ระยะยิงของจรวด    แบบนี้ถึงจะชัวร์แน่นอนว่าเอาอยู่    เพราะถึงจะป้องกันจรวดที่ยิงมาระลอกแรกได้    เขาก็ส่งเครื่องบินมาระลอกสองอัดเราอีกได้  

    ถ้าไม่ทำลายสนามบินเขาซะก่อน   หรือเครื่องบินขับไล่เราสามารถครองอากาศได้อย่างเด็ดขาดเหนือสมรภูมิได้ก่อน   งานนี้มีสิทธิเดี้ยงเอาง่ายๆ    หรือไม่ก็ต้องจัดหากองเรือบรรทุกบ. ที่มีการจัดระบบป้องกันเป็นชั้นๆที่สมบูรณ์ได้เท่านั้นครับ    

     เรือจักรีเราต่อให้มีเรือฟรีเกตชั้นนเรศวร 2 ลำ   และมีเรือฟรีเกตใหม่ 4 ลำ  ทำการคุ้มกัน   ก็เอาไม่อยู่หรอกครับ  เพราะระยะยิงบรามอสไกลเกินกว่าระยะ ESSM มาก   เครื่องฝ่ายตรงข้ามจะปลอดภัยจากการซัดเรา    เราจะโดนอัดแต่ฝ่ายเดียว    ยกเว้นจะจัดหา F-35B หรือ AV-8B+ พร้อม EH-101 AEW มาน่ะแหล่ะครับ   ถึงจะเอาไหว

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 04/05/2012 21:54:36


ความคิดเห็นที่ 16


เรือฟรีเกต ลำใหม่ของทร. ขอให้มีESSMและก็ASROCและก็ ตกท้ายด้วยSM-II  ด้วยจะดีมากเลยนะครับ   

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 05/05/2012 01:52:24


ความคิดเห็นที่ 17


นานมาแล้ว มีโจรอยู่สองคน ดักซุ่มยิงขบวนรถที่ผ่านไปมา วันหนึ่งมีขบวนรถผ่านมา ประกอบไปด้วย รถคันแรกฮัมวี่ติดเกราะทหารเต็ม คันที่สองรถกระบะธรรมดาครูเต็ม คันสุดท้ายฮัมวี่ติดเกราะทหารเต็ม โจรคนแรกบอกตูจะใช้อาก้าในมือยิงฮัมวี่ติดเกราะ แต่โจรอีกคนบอกตูจะยิงรถกระบะธรรมดา สุดท้ายคิดว่าโจรคนไหนคิดได้ถูกใจคุณบ้าง ด้วยส่วนตัวผมคิดว่า brahmos มันไม่มาฮัมวี่ติดเกราะหรอกอะ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 05/05/2012 02:39:29


ความคิดเห็นที่ 18


ทำไมเราไม่ลงเครื่องเรือแรงๆล่ะครับความเร็วซัก50 น๊อตเพิ่ม AGI เรือเราเร็วจีดส์ ก็ยิงเราโดนยากเหมือนกับ  เอาปืนยิงคนเดิน กับยิงคนกำลังวิ่ง โอกาสที่จะยิงถูกคนที่วิ่งย่อมวืดมากกว่า

โดยคุณ YUKIKAZE เมื่อวันที่ 05/05/2012 07:37:35


ความคิดเห็นที่ 19


แต่ถ้าในสถานการณ์จริง การจะมายิงจรวดที่ไม่ได้มีล้นคลังก็ต้องคิดหนักก่อน เพราะต้องเหลือไว้บ้าง เกิดยิงถล่มราบ แต่ตัวเองไม่เหลืออะไร โจทก์ทุกคนคงมองตาเป็นมัน

โดยคุณ toeytei เมื่อวันที่ 05/05/2012 09:54:51


ความคิดเห็นที่ 20


จากเอกสารบรามอส http://idp.justthe80.com/missiles/cruise-missiles/brahmos-missile

 

รายละเอียดทางเทคนิค

1. จรวดต่อตีเรือยาว 9.2 เมตรที่นํ้าหนัก 3 ตัน มันเดินทางทำความเร็ว 2.8 เท่าเสียง ระยะทำการ 290 กิโลเมตร สามารบรรทุกหัวรบขนาด 300 กิกโลกรัม

2. เป้าหมายการจัดหาบรามอสใช้เรดาร์ค้นหาแบบแอคทีฟและแพสซีฟที่สามารถแปรตามเป้าที่ตรวจพบเหมือนจรวดร่อน Moskit

3. จรวดมี 2 ท่อน ท่อนแรกแรกใช้บูสเตอร์เชื้อเพลิงแข็ง ท่อนสองใช้ ระบบแรมเจ็ตเชื้อเพลิงเหลว

4. บรามอสคือตัวเเรกและตัวเดียวที่เป็นจรวดครุยส์แบบเหนือเสียงที่ใช้เทคโนโลยี่เครื่องยนต์แรมเจ็ตเชื้อเพลิงเหลว

5. จรวดถูกบรรทุกบนรถยิง Transport-Launch Canister (TLC) ที่มีที่เก็บ และขนส่งเดินทาง

6. แรกเริ่มเดิมที บรามอสถูกออกแบบเป็นอาวุธต่อตีเรือ หลังจากนั้นพัฒนาต่อตีเป้าหมายพื้นดิน และพัฒนาอีกครั้งเป็นยิงแนวดิ่งสู่เป้าหมายรอบทิศทาง

7. บรามอสมี 3 แพลทฟอร์ม คือสำหรับ land , sea และ sub sea  ส่วนเวอร์ชั่นปล่อยจากอากาศจะมีบูสเตอร์ขนาดเล็กและครีบรักษาการทรงตัวที่ปลายหาง

8. ไม่เหมือนโทมาฮอว์กที่เดินทางด้วยความเร็วตํ่ากว่าเสียง ใช้เทอร์เรี่ยนวิ่งการตรวจจับ บรามอสเมื่อปล่อยจะวิ่งความสูงสุดและความเร็วสุด 2.8 มัคด้วยแรมเจ้ตไปสู่เป้าหมาย เมื่ออยู่เหนือเป้าจะค้นหาและล็อคเป้าเป้าแบบอิสระด้วยPassive / Active เรด้าร์ จากนั้นจะลดความสูงลงสู่เป้าหมายกระแทกด้วยพลังงานจลน์ด้วยความเร็ว 3 เท่าของจรวดความเร็วตํ่ากว่าเสียง  มันกระทบเป้าด้วยแรงทำลายมากกว่า 9 เท่าตัว (V^2)

9. ความสามารถในการยิงแบบกลุ่ม ถ้าบรามอสเข้าเป้าแล้ว ตัวจรวดยิงออกไปแล้วที่เหลือจะเปลี่ยนเป้าหมายเป็นเป้าหมายรองได้

10. บรามอสรุ่น Block III มีความสามารถเกาะติดภูมิประเทศ 10 เมตร และวนหลบหลีกภูมิประเทศเข้าชนเป้าได้ 

 

ความเห็น

- จรวดลูกละ 3 ล้านเหรียญ หรือ 90 ล้านบาท ไม่ได้ถูกๆ และยังไม่รวมรถและระบบอื่นๆอีกมาก

- หน้าตัดจรวด 0.7 เมตร หรือพื้นที่ ประมาณไม่ถึง 0.2 ตรม. ทาสีซับเรด้าร์ ยังเลือกได้เองว่าจะล็อกเป้าด้วย passive หรือ active radar การตรวจจับจะไม่ง่ายในระยะไกล และถ้าทำได้ในระยะใกล้ เวลาตอบโต้จะเหลือน้อยมากๆ

- อินเดียทำระบบเน็ตเวิร์คเซนตริก มีบรามอสเป็นส่วนหนึ่งในระบบแล้ว

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 05/05/2012 10:46:42


ความคิดเห็นที่ 21


@ คุณ potmon ก็ต้องดูว่าเป้าประสงค์ของโจรทั้งสองคืออะไร ถ้าต้องการสร้างความเสียหายไม่เลือกฝ่ายก็ยิงรถกระบะไป แต่ถ้าฮัมวี่กำลังจะมายิงโจร เป็นผม ผมก็คงยิงฮัมวี่ เปรียบกับการรบทางเรือ ถ้าหากเป็นเรือรบกำลังคุ้มกันเรือสินค้าและเราต้องการป่วนทางเดินเรือพาณิชย์ เราก็ยิงเรือสินค้าไป แต่ถ้าหากเรือรบนั่นมีเป้าหมายที่จะถล่ม เราก็คงต้องยิงเรือรบล่ะครับ

 

@ คุณ yukikaze เรือเร็วขี้นเป็น 50 น็อต นี่ก็สิ้นเปลืองมาก และก็ไม่ได้ทำได้ง่ายๆ เรือที่สามารถทำความเร็วขนาดนี้ลำก็จะค่อนข้างเล็กด้วย

การเปรียบเทียบกับการยิงคนเดินและวิ่งนั่นไม่ถูกต้อง เนื่องจากกระสุนปืนมันไม่ได้นำวิถี ถ้ากระสุนปืนนำวิถีวิ่งอย่างไรก็ไม่พ้นหรอกครับ ถ้าเปรียบก็ควรเปรียบกับ บ. vs จรวดนำวิถี และลองนึกดูสิครับ ขนาดเครื่องบินความเร็ว มัค สองมัค ยังไม่แน่ว่าจะสลัดได้หลุด แล้วเรือล่ะ ช้ากว่าบ.เป็น 10-20 เท่า ความคล่องตัวโดนกินขาด เจอจรวดที่ความเร็วน้องๆ จรวดต่อต้านอากาศยาน อย่างนี้จะหนีทันหรือครับ?

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 05/05/2012 13:04:44


ความคิดเห็นที่ 22


ความเห็น

1.เราก็ต้องจัดหามาประจำการ น่าสนใจไม่ใช่น้อย

2.เราก็กำลังทำระบบเน็ตเวิร์คเซนตริกอยู่ไม่ใช่หรือครับ ก็เอาบรามอสเป็นส่วนหนึ่งในระบบ ซึ่งบรามอสสามารถเชื่อมต่อกับระบบตะวันตกได้

โดยคุณ speci เมื่อวันที่ 05/05/2012 13:33:32


ความคิดเห็นที่ 23


@ คุณ : tongwarit  

 

ถ้าเป็นรบตามแบบการเข้าตีก็มีหลายจุดประสงค์นะครับ ตียั่งกำลัง ตีหน่วงทัพ ตีทอนกำลัง ผมว่าเอาอาก้าไปยิงรถเกราะไงๆประโยชน์มันก็น่าจะน้อยกว่าเอาไปยิงรถกระบะอะ ไงๆก็ต้องเสียฮัมวี่ไปช่วยรถกระบะในทั้งสองกรณีแหละครับ แล้วระดับบัญชาการเค้าไม่นิยมเลือกเป้าหมายที่มีความเสี่ยงมากๆกันอะ

โดยคุณ potmon เมื่อวันที่ 05/05/2012 19:29:10


ความคิดเห็นที่ 24


   การที่เรือรบใหม่ 4 ลำจะทำการติดตั้ง SM-2 block3  นั้นถ้ามีเงินก็เป็นไปได้ครับ   แต่การจะพึ่ง SM-2 อย่างเดียวใช้ในการสกัดกั้นเครืื่องบินข้าศึกหรือ บรามอส ที่พุ่งเข้ามาหากองเรือเราได้ง่ายนั้น   ข้าศึกก็ต้องมาแบบโง่ๆหน่อยครับ คือ มาหาเราให้เราเห็นด้วยเพดานบินสูงครับ     ไม่มีเครื่อง AEW&C ช่วยเหลือใดๆทั้งสิ้น    แบบนี้ก็ Ok

   แต่ในความเป็นจริงเขาจะมาในเพดานบินที่ต่ำลง (ไม่ต้องถึงขนาดเรี่ยน้ำ) เพื่อลดประสิทธิภาพของเรด้าร์ประจำเรือครับ   แล้วก็พึ่ง AEW&C ในการบอกว่าเป้าอยู่ทางไหน    ป้อนค่าของเป้าหมายให้จรวดบรามอส (ด้วยข้อมูลที่ได้จากระบบดาต้าลิงค์)   ยิงบรามอสออกไป    โดยอาจให้บรามอส 1 ลูกบินเพดานบินสูงเพื่อเปิดเรด้าร์ค้นหาเรือเป้าหมาย   จากนั้นข้อมูลจะถูกแจกจ่ายให้แก่ลูกจรวดบรามอสอื่นๆได้อีก 5-6 ลูก     แบบนี้ SM-2 block 3  ที่มีระยะยิงไกลมากถึง 160-180 กิโลเมตร  ก็ไร้ค่าทันทีครับ    เพราะเรด้าร์อำนวยการรบมองข้าศึกไม่เห็น

     จะให้ SM-2  มีประสิทธิภาพสูงสุด   ก็ต้องมีเครื่อง AEW หรือ AEW&C ของฝ่ายเราตรวจจับและป้อนข้อมูลผ่านระบบดาต้าร์ลิ้งค์ให้แก่กองเรือคุ้มกันเท่านั้นครับ   จึงจะทำให้มองสมรภูมิได้ทะลุทุกจุด    แบบนี้ข้าศึกก็หลบหลีกได้ยาก   และ บรามอสทุกลูกที่พุ่งเข้ามาจะถูกตรวจจับได้ตั้งแต่ระยะไกล   และสามารถจัดการได้ก่อน   

   ดังนั้นผมถึงบอกว่า   ต้องเป็นกองเรือที่มีเรือบรรทุกบ.และเครื่องบินขับไล่พร้อม AEW&C เพื่อวางระบบป้องกันเป็นชั้นๆเท่านั้นครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 05/05/2012 22:19:41


ความคิดเห็นที่ 25


ผมว่านะครับ   กองทัพเรือควรจะยกเครื่อง กองเรือใหม่หมดเลยอ่ะครับ  แบบของบ แบบจัดหนักไปเลยอ่ะครับ เรือฟริเกต แบบต่อต้านทางอากาศระยะปานกลาง แต่โจมตีทางใต้น้ำแบบทุกระยะ  และเรือฟริเกต แบบ ต่อต้านทางอากาศแบบทุกระยะ แต่โจมตีทางใต้น้ำเพียงแค่ระยะทานกลาง  ในแบบ2+2ลำ   หรือ4+4ลำ

หรือไม่งั้นก็ จัดหาเรือฟริเกต ต่อต้านทางอากาศแบบทุกระยะ แต่โจมตีทางใต้น้ำเพียงแค่ระยะทานกลาง 4ลำ

และก็ จัดหาเรือดำน้ำ 4-6ลำ

หรือไม่งั้นก็อัพเกรต เรือเก่าทั้งหมด ให้สูงสุด และค่อยจัดหาเรือใหม่

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 05/05/2012 22:30:07


ความคิดเห็นที่ 26


    ระบบป้องกันเป็นชั้นๆของกองเรือบรรทุกบ.จะมีหลักการดังนี้ครับ  

1    ระยะนอกสุด 

      จะยกหน้าที่ให้เครื่องบินขับไล่สกัดกั้นทำหน้าที่ไป    โดยมีตาและหูลอยฟ้า นั่น คือ AEW&C ในกรณีของทร.อเมริกาและฝรั่งเศส  จะใช้ E-2C/D  เชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับกองเรือด้วยระบบเครือข่ายและระบบดาต้าร์ลิ้งค์    ข้อมูลการรบทั้งหมด (แม้จะอยู่ในมุมอับของเรด้าร์ SPY-1D ก็จะรับรู้จากเครื่อง AEW&C ที่อยู่บนฟ้าแทน

2    ระยะ 200 ไมล์ทะเลก่อนถึงกองเรือ  

      จะยกหน้ามี่ให้แก่เรือคุ้มกัน  เอจีส   ซึ่งจะใช้ทั้ง SM-2  SM-3   โซนนี้จะไม่มีเครื่องบินฝ่ายเราบินอยู่   จะอนุญาติให้ยิงเครื่องบินแปลกหน้าทุกลำ    ฝ่ายเดียวกันถ้าซี้ซัวะเข้ามาก็โดนยิงเหมือนกันครับ

3   ระยะป้องกันตัว  ระยะในสุด

    ก็จะมีระยะไม่น่าจะเกิน ESSM (สำหรับอเมริกา)   เพื่อป้องกันเฉพาะจุด   ส่วนมากในสงครามยุคใหม่ก็น่าจะเป็นจรวดต่อตีเรือรบที่หลุดเข้ามา  หรือเครื่องบินทิ้งระเบิดที่หลุดเข้า (คงยาก)    ระยะนี้จึงมีแต่อาวุธประเภทป้องกันเฉพาะจุดและระบบป้องกันระยประชิดเท่านั้น     ซึ่งขีดความสามารถของทร.ไทนเราปัจจุบันมีแค่ระยะในสุดนี้เท่านั้น    ดังนั้นถ้าถูกโจมตีด้วยกำลังทางอากาศ หรือ จรวด หนักๆยาวๆแบบ Bramos ก็คงรอดยากส์

 

    จริงระยะที่กล่าวข้างต้นมีชื่อทางเทคนิคเฉพาะครับ   มีรูปแสดง   แต่ผมไม่เคยจำและไำม่เคยเซฟไว้เลยครับ   ต้องขอโทษจริงๆ   แล้วจะไปหามาให้ครับ  

   ที่ผมสนับสนุนการมีเรือบรรทุกบ. หรือนำเอาจักรีมาใช้เป็นเรือบรรทุกบ.  ก็ด้วยเหตุผลว่ามีความสามารถในการป้องกันระบบอาวุธแบบใหม่อย่าง บรามอส หรือฝูงบินโจมตีได้ดีที่สุดแล้วครับ  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 05/05/2012 23:45:37


ความคิดเห็นที่ 27


     การปรับปรุงล่าสุดของกองเรือเรา  คือ  วางระบบป้องกันเป็นชั้นๆ   แต่ฝากขีดความสามารถในการต่อต้านที่ระยะนอกสุดไว้ที่ Jas-39 และ SAAB 340 ครับ 

     เรด้าร์จากอีรี่ย์  จะทำหน้าที่เป็นหูตาให้กองเรือ    Jas-39 จะทำหน้าขึ้นไปตบยุงที่บินเข้ามากวนให้ครับ 

    ขาดแต่เรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศที่จะทำหน้าที่เป็นฉากป้องกันที่ระยะ 200 ไมล์ให้แก่กองเรือไงครับ

 

   ตามข่าวล่าสุด ทร.  ปรับปรุงเรือชั้นนเรศวรให้ใช้งานร่วมกับระบบเครือข่ายและดาต้าร์ลิ้งค์ของทอ. ไปแล้ว    และตามมาด้วยการปรับปรุง จักกรีให้ทำได้เหมือนกัน (ระบบอำนวยการรบ 9 LV mk4  ระบบเรด้าร์แบบต่างๆของสวีเดน   เชื่อมต่อระบบของสวีเดนเข้ากับระบบอาวุธและระบบตรวจจับ ระบบบัญชาการรบของยี่ห้ออื่น  

    และสุดท้าย   เรือฟรีเกต 4 ลำใหม่    ซึ่งเรือทั้ง 4 ลำนี้    นอกจากต้องไปอุดปัญหาเรรือดำน้ำ   ยังต้องทำหน้าที่เป็นฉากป้องกันภัยทางอากาศระยะที่สองด้วย   งานนี้อาจจะได้ SM-2  และ ASROC มาจริงๆก็ได้ครับ

    ถ้าทร.จัดได้ตามนี้จริง   ระบบป้องกันเป็นชั้นๆของเราก็จะสมบูรณ์แบบซะที   และจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่สามารถวางระบบนี้ได้จนสมบูรณ์  

 

    แต่ติดเรื่องเดียวครับ    คือ   ถึงตรึงด้วยการที่ฝูงบินรบประจำการอยู่บนฝั่ง   กองเรือจึงไปไหนไกลๆไม่ได้ครับ   กองเรือทะเลลึก blue navy ของเราก็เลยกลายเป็นกองเรือชายฝั่งไป    ยกเว้นจะทำการจัดหากองเรือบรรทุกบ. ครับ   แล้วยกฝูงบินข้างต้นมาไว้กับกองเรือ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 00:04:55


ความคิดเห็นที่ 28


   สำหรับเรือฟรีเกต DW-3000H  ที่ทางเกาหลีและ Thales เสนอให้ทร. ไทยนั้น   ติดตั้งระบบ I-mast ครับ    ถ้าทร.ต้องให้มะนสามารถทำหน้าที่ป้องกันภัยทางอากาศในระยะที่สองให้แก่กองเรือได้ด้วย    จะต้องใช้รุ่น  I-Mast 500 เท่านั้ครับ   ร่วมกับระบบอำนวยการรบของทาง Thales ที่เป็นระบบอำนวยการรบรวมการ   หรือไม่ก็ต้อง 9LV ของสวีเดน  

      เรด้าร์เฟสอะเรย์ของ I-Mast 500  ก็พัฒนามาจาก SMART-S mk-2    ดังนั้นระบบนี้จะใกล้เคียงกับระบบเรด้าร์  SPY-1K ของอเมริกาครับ   และอเมริกาใช้ระบบอำนวยการรบเอจีสชุดเล็กคู่กับเรด้าร์ชุดนี้

  ส่วนทาง Thales มีระบบอำนวยการรบแบบรวมการเป็นของตนเองอยู่   ซึ่งผมจำชื่อไม่ได้แล้วครับ (ไม่น่าจะใช่ TACTICOS)    แต่ไม่รู้ว่า I-Mast จะมีปัญหาการเชื่อมต่อกับระบบของสวีเดนที่วางไว้ก่อนแล้วหรือเปล่า    หรือ จะใช้ I-Mast 500 ร่วมกับ 9LV mk4 จะใช้ร่วมกันได้หราือเปล่า.......

    ถ้า  DW-3000H  มาจริง  และต้องรับหน้าที่ทั้งป้องกันภัยทางอากาศและล่าเรือดำน้ำ   ก็ต้องมี  VLS mk-41 อย่างน้อย 24-32 cell     ESSM 8 cell   ASROC  8 cell     SM-2  block 3    8-16 cell    และต้องมีโซน่าร์ลากท้ายด้วย     แต่ราคาคงแพงเอาเรื่อง      ยกเว้นว่าจะเอา 2 ลำมาป้องกันภัยทางอากาศ   อีก 2 ลำ มาล่าเรือดำน้ำ    อย่างนี้ก็จะถูกลงหน่อยครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 00:27:34


ความคิดเห็นที่ 29


@ คุณ potmon ก็เห็นด้วยครับกับที่คุณ potmon ตอบมา

แต่ประเด็นคือเจ้าของกระทู้เขาตั้งหัวข้อเรื่องมาว่าเกี่ยวกับบรามอส vs เรือรบ บรามอสซึ่งเป็นอาวุธที่มีอำนาจทำลายล้างไม่น้อย สามารถจมเรือทั้งลำ ดังนั้นก็ไม่ควรไปเปรียบเทียบกับ อาก้า vs HMMWV ควรนำไปเปรียบกับ RPG หรือจรวด anti-tank อะไรซักรุ่น

ถ้าหากเจ้าของกระทู้ตั้งหัวข้อเป็น otobreda 76 mm vs เรือรบแล้ว การนำไปเปรียบเทียบกับ อาก้า vs hmmvw ก็โอเค

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 06/05/2012 02:17:25


ความคิดเห็นที่ 30


Bramos เป็นอาวุธนำวิถี สำหรับสงครามนอกระยะขอบฟ้า...

จึงต้องอาศัย อากาศยานหน้า ในการพิสูจน์ฝ่าย...ก่อน การโจมตี...

การปรากฎเป้าหมายบนเรดาร์ ไม่สามารถจะบอกได้ว่า เป็นเรือของใคร...ยกเว้น การใช้ IFF ซึ่งก็ไม่ได้มีกับ เรือรบ ทุกลำของ ประทเศที่เป็นมิตร หรือ อาจจะเป็นเรือพาณิชย์ธรรมดาก็ได้...

ดังนั้น ใครพิสูจน์ฝ่ายได้ก่อน ก็จะสามารถ โจมตี ปล่อยอาวุธนอกระยะขอบฟ้า ได้ก่อน...

นั่นคือ ข้อได้เปรียบของการมี อากาศยาน ประจำเรือ และไปกับ เรือรบผิวน้ำได้....

และเมื่อปรากฎว่า ประเทศรอบบ้าน มีอาวุธนำวิถีทำสงครามนอกระยะขอบฟ้า ได้...การป้องกัน ก็ต้องเตรียมป้องกันตั้งแต่ ระยะไกล...ทำลายความสามารถปล่อยอาวุธนำวิถีของฝ่ายตรงข้าม โดยใช้ อากาศยาน (เช่น AV-8) หรือ อากาศยาน สามารถพิสูจน์่ฝ่ายให้ได้ก่อนฝ่ายตรงข้าม และทำการส่งข้อมูลให้เรือรบผิวน้ำ เพื่อทำการโจมตี ก่อน โดยใช้ อาวุะนำวิถีทำลายนอกระยะขอบฟ้า...

ในปัจจุบัน กองทีพเรือ ก็มี เรือบรรทุกเครื่องบิน แบบ ขึ้นระยะสั้น และขึ้น-ลง ทางดิ่ง อยู่แล้ว....

แต่เมื่อมองถึง การจัดหา F-35B กับ 911...ก็ต้องตั้งคำถาม อันดับแรก คือ นักบิน ?

สำหรับ นักบินเครื่องบินขับไล่ไอพ่นสมัยใหม่ ผมว่า กองทัพเรือ ต้องอาศัย กองทัพอากาศ เป็นหลัก...

ความเห็นผมว่า ตราบใดที่ ทอ. ยังไม่มี F-35 ประจำการ ก็ไม่น่าจะ F-35B เกิดขึ้นบน 911 ได้ครับ

การที่ อาวุธนำวิถี มีความเต็วมากขึ้นขาด 2-3 เท่าเสียง  ในอนาคต อากาศยาน ที่ประจำกับเรือ ก็น่าจะติดตั้ง ระบบอาวุธปล่อยที่สามารถทำลาย อาวุธนำวิถีแบบ Bramos ติดตัวไปด้วยเพราะในแง่การทำสงคราม และตรวจจับพบเรือรบผิวน้ำแล้ว  อากาศยานประจำเรือ ก็ต้องบินเพื่อไป ค้นหาเป้าหมาย และพิสูจน์ฝ่ายอยู่แล้ว ดังนั้น ก็น่าจะเพิ่มศักยจภาพในการทำลาย อาวุธนำวิถีไปด้วย น่าจะดีครับ


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 06/05/2012 08:52:43


ความคิดเห็นที่ 31


ภาพทดสอบยิงล่าสุด ลูกที่ 22 บน TROPEX 2012 อ่าวเบงกอล

นอกชายฝั่งรัฐโอริสา โดยเรือพิฆาต INS Ranvir ในยังเรือ INS Meen ระยะ 290 กิโลเมตร

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 09:56:59


ความคิดเห็นที่ 32


SU-27 / Su-30 ติดบรามอสได้เต็มที่ลูกเดียว (ไม่ใช่ 3 ลูกแบบข่าวก่อนหน้า)

 

ท่อยิง VLS แบบใหม่ของรัสเซียที่ใช้กับบรามอส ติดตั้งบนเรือฟรีเกตได้

Source: paralay.com
- Russian designation 3R-14UKSK-Kh. The fire control system is including. Provided:
- supply in modular plug and play containers, 4 or 8 missiles in each container
- installation
- maintenance
- power supply system
- computing system
- networking system
- means of loading

อ่านต่อใน

http://igorrgroup.blogspot.com/2010/08/new-universal-vls-for-clubbrahmos.html

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 11:22:29


ความคิดเห็นที่ 33


เรือชั้น INS Ranvir ที่ปรับปรุงติดท่อยิงแนวดิ่งแล้ว

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 11:35:09


ความคิดเห็นที่ 34


เรือพิฆาตอินเดียที่ใช้ อวป.โบราณแบบ สติกซ์ ก็ทยอยเปลี่ยนเป็นบรามอส แต่ไม่ได้ติดรุ่น VLS

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 11:36:51


ความคิดเห็นที่ 35


เรือฟริเกต INS Teg เป็นลำแรกๆที่ออกแบบให้ติดบรามอส ท่อยิงแนวดิ่งตั้งแต่ออกแบบ มีสามลำ(Teg,Tarkash และ Trikand)ต่อจากรัสเซีย(Yantar Shipyard (Kaliningrad, Russia))

ภาพขณะทดสอบในทะเลบอลติค

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 11:45:08


ความคิดเห็นที่ 36


ที่น่าสนใจคือ กิโลคลาส ติดบรามอส   

เห็นข่าวล่าสุด อินเดียเลื่อนทดสอบเนื่องจากทะเล ซีสเตท 3 ไม่สะดวก+ คลื่นลมแรง เลยเลื่อนออกไปก่อน

ไม่รู้ว่าเพื่อนบ้านที่ไม่ติดกับเราเอาสิทธิบัตร$เวอร์ชันไหนไปผลิตบ้าง

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 11:58:11


ความคิดเห็นที่ 37


    ถือว่าอินเดียลงทุนในระบบที่ดีระดับเพพเลยครับ   เรือขนาดใหญ่ทุกลำของเขาแม้บางลำจะเก่าแต่เมือทำการปรับปรุงติดคั้ง Bramos และระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิคอันทันสมัย   ก็ยังคงเป็นเรือที่มีคุณค่าทางยุทธวิธีอยู่ต่อไปอีกนาน

    กองเรือจีนถูกจับตาเป็นอย่างมากก็จริง    แต่การวางระบบเครือข่ายอิเลคทรอนิค   การวางโครงข่ายป้องกันภัยทางอากาศเป็นชั้นๆ   และขีดความสามารถของอากาศนาวีที่จะไปปฎิบัติการได้ไกลๆและแสดงพลังข่มขู่นั้น   ยังเป็นรองอินเดียอยู่ไม่ใช่น้อย   เพราะอินเดียมีกองเรือบรรทุกบ.   อาวุธครูซย์และ bramos ที่ใช้อยู่ในเครื่อข่าย     ขณะที่จีนเพิ่งจะเริ่มต้น  

    และข้อเสียเพียงข้อเดียวของระบบอาวุธยิงระยะไกลก็เป็นอย่างที่ป๋าจูล และ บทความที่ท่านนกเคยอธิบายไว้น่ะครับ    นั่นคือการพิสูจน์ฝ่ายก่อนทำการโจมตี    ซึ่งไว่ว่าจะเรือรบที่อยู่ในเครือข่าย   เรือดำน้ำที่อยู่ในเครือข่าย   เครื่องบินที่มาเจอกองเรือเรา    จะต้องทำการพิสูจน์ก่อนว่าเป็นเรือของเราที่เป็นคู่ต่อสู้   จึงทำการส่งข้อมูลให้ยิงได้      ถ้ากองเรือเรามีความสามารถด้านอากาศยานและการครองอากาศที่ดีและการล่ากองเรือดำน้ำ    เราก็จะสามารถจัดการหน่วยหน้าของเขาได้ทันทีก่อนที่เขาจะสามารถพิสูจน์ชัดว่าเราเป็นใคร    

     ตอนนี้ทร. ยังไม่พร้อมเรื่องอากาศยานประจำเรือ   ดังนั้นในการป้องกันระยะนอกสุดและการพิสูจน์ฝ่ายคงต้องพึ่งเครือข่ายของทอ. ไปก่อน    แล้วยอมเป็นกองเรือชายฝั่งไป     แต่เมื่อมีความพร้อมด้านอากาศยานประจำเรือเมื่อไร   ทร.ไทยเราก็จะหลุดจากโซ่ที่ล่ามกองเรือเอาไว้    งานนี้ก็ต้องรอ  AV-8B+ หรือ  F-35B  และ  EH-101 AEW ที่ทำหน้าที่เป็นหูตาลอยฟ้าให้

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 12:04:59


ความคิดเห็นที่ 38


     โอ้ววว.....ขอบคุณครับท่าน pipat2000   เคยรู่ว่าทร.อินเดียจะทำการปรับปรุงเรือชั้นกิโลให้ติดตั้ง Bramos ยิงแนวตั้งระบบป๊อบอับ   เพิ่งเห็นโมเดลเป็นครั้งแรกเลย   

    เรือชั้นกิโลกลายเป็นเรือที่ดูดีอะไรปานนี้ในชั่วพริบตา    ยังกะเรือชั้นลอสแองเจอลิสที่ติดตั้งอาวุธครูซย์ของอเมริกาเลย    ถ้าเรือดำน้ำชั้นกิโลสามารถติดตั้งระบบ  AIP  ได้เมื่อไร   ก็ยิ่งน่าเล่นเท่านั้นครับ    คู่กับกองเรือบรรทุกบ. ได้จ๊าบๆไปเลย    น่าจะมีรุ่นตัวเรือทำจากไทเทเนี่ยมอัลลอยด์ด้วยเน๊อะ   จะได้เบาลงอีกแถมดำได้ลึกขึ้น

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 12:14:26


ความคิดเห็นที่ 39


    ระบบ I-MAST ที่จะใช้กับเรือ DW-3000H 

http://www.thalesgroup.com/integratedmast/    ในลิ้งค์มีคลิปวีดีโอให้ดูเลยครับ

http://www.youtube.com/watch?v=5YgxCTd1pyo

     ผมว่าทร.เทใจให้เรือเกาหลีไปกว่าครึ่งแล้ว    แต่คงต้องเพิ่มสเปกเรือให้ติดตั้ง mk-41 ได้ 24-32 cell  และเพิ่มอ๊อปชั่นโซน่าร์ลากท้ายด้วย   แต่ผมอยากให้เปลี่ยน ฟาลังก์ เป็น RAM มากกว่า


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 12:27:56


ความคิดเห็นที่ 40


ดูหลายๆอย่างเเล้วไม่ค่อยเห็นอะไรที่เป็นของเทคโนโลยีของอินเดียเท่าไรเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น seeker, engine ,VLS

 

Granit-Elektron dual mode seeker used in Russian Yakhont and Indian Brahmos 

หัวค้นหาเป้าดัลอัลโหมด"แกรนิต-อิเลตรอน" ที่ใช้ในบรามอสและYakhont

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 15:33:20


ความคิดเห็นที่ 41


การโจมตีเรือที่จอดอยู่ในฐานทัพเรือ หรือจุดยุทธ์ศาสตร์ที่สำคัญของประเทศ "ด้วยเรือดำน้ำ" ไม่จำเป็นต้องเสียเวลาทำการพิสูจน์ฝ่ายครับ จรวดมันไปตัดสินใจเลือกเป้าหมายเองได้ครับ เมื่อเดินทางถึงที่หมายระยะสุดท้ายแล้ว  ยังไงก็ไม่ผิดตัว ยกเว้นเอาเรือไว้นอกฐานทัพครับ (ซึ่งในยามหน้าสิ่วหน้าขวาน เรือจะไม่จอดในฐาน  จะเตรียมพร้อมนอกฐานเสมอ..ครับ ยกเว้นเข้ามาเติมเชื้อเพลิง และเสบียง..ครับ)

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 06/05/2012 15:50:44


ความคิดเห็นที่ 42


เจ้า Yokhont ผู้พี่่ที่เป็นต้นแบบให้บรามอส (OKB-52 3K-55/3M-55 Yakhont (SS-N-26))

Yokhont เป็นจรวดแรมเจ็ตความเร็วเหนือเสียง ยิงจากเรือ เรือดำนํ้า อากาศ และภาคพื้นดิน

นํ้าหนัก 3 ตัน เครื่อง-เชื้อเพลิงเทคนิคเดียวกับบรามอสความเร็วมัค 2.0 ถึง 2.5

เข้าเป้าหมายที่ระดับสูงก่อนค้นหาเป้าและลดระดับลงระดับผิวทะเล ระยะยิง 65-160 ไมล์ทะเล

ใช้เรด้าร์วัดความสูง  KTRV-Detal K313  ได้ตั้งแต่ 1 - 5,000 เมตร

เรด้าร์ค้นหาล็อคเป้าแบบ Granit-Elektron มี 2 โหมด active กับ passive anti-radiation homing แบบความถี่กว้าง wideband frequency agile waveform with a pseudorandomly varied spread spectrum modulation.

ออกแบบทนต่อการรกกวนด้วย chaff และเทคนิคแจมมิ่ง ใช้ได้จนถึงระดับ sea states  7.

 

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 15:55:56


ความคิดเห็นที่ 43


เรื่องยิงแนวดิ่งจากกิโล อันนี้ไม่รู้ครับ นึกว่าจริงจาดตอร์ปิโดว์ เท่าที่มีก็เรือดำนํ้านิวเคลียร์ชั้นออสก้า II ยิง Kh-41 Moskit E อย่างในรูป

ในภาพติด SS-N-27 และเรือกิโลของอิหร่าน


ของ กิโลไม่น่ามีที่พอยิงแนวดิ่งครับ

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 16:15:50


ความคิดเห็นที่ 44


ภัยคุกคามตัวจริงจะมาแล้วจ้าาาา....

ตามนี้ครับ...

http://rpdefense.over-blog.com/article-vietnam-kilo-636-submarine-technology-more-advanced-than-china-kilo-636-73331775.html

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 06/05/2012 16:40:13


ความคิดเห็นที่ 45


Land attack and ship attack

เครดิตภาพ ( Photo : Elforo ) ครับ

 



โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 06/05/2012 16:56:47


ความคิดเห็นที่ 46


ช่วงนี้ กองทัพเรือไม่มีสตางค์มาก... ควรไปจอง OHP Class ไว้ก่อนเลยครับ 2 ลำ...เรื่องอื่นเอาไว้ทีหลัง

เรื่องค่าใช้จ่ายปฏิบัติการเรื่องเล็กครับ  เพราะมีเทคนิคในการใช้งานให้ประหยัด..ครับ  ดีกว่าไม่มีอะไร..ในมือ

"เรือดำน้ำ" ไม่เอา  ก็เอาไอ้นี่ ใช้แทนไปก่อน...ครับ  บุบ..บับ..มา..ก็ยังมีอะไรบ้าง

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 06/05/2012 17:05:02


ความคิดเห็นที่ 47


กิโล ติด SS-N-27[3M-54 Club S (SS-N-27 Sizzler)] ได้อยู่แล้วครับจากตอร์ปิโดว์ 533 mm torpedo

ใช้ต่อตีเรือระยะยิง 160 ไมล์ทะเล ความเร็วตํ่ากว่าเสียง นำวิถี INS +ดาวเทียม Glonass

 และ แอคทีฟเรดาร์  

[[[ไฟล์อาวุธปล่อยรัสเซีย http://www.ausairpower.net/APA-Rus-Cruise-Missiles.html]]]

 

ส่วน 3M14E Sizzler  LACM (Novator) จะเป็นรุ่นโจมตีพื้นดิน ความเร็ว 2.9 มัค แบบวิ่งเลียดพื้นทะเล

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 06/05/2012 17:12:38


ความคิดเห็นที่ 48


ก็ในเมื่อบอกว่ายังไม่มีกองเรื่อที่มีการป้องกันทางอากาศเป็นชั้นๆที่ดีเท่าเรา ทำไมไม่หาอาวุธตระกูลนี้ไว้ครอบครองบ้างครับเพื่อให้เราลดความห่างระหว่าเขากับเรา ประจำการบไว้ของ ทบ ทร หรือ ทอ ก็ได้

ระยะยาวพัฒนา DTI คู่กับ UAV ผมว่าความน่ากลัวเขา กับเรา ผมว่าเราน่ากลัวกว่าไหมครับ

เมื่อของเรานำวิถีได้ สร้างเองได้ ทั้งจำนวนที่จะมีประการ ราคาที่ซื้อ ระยะยิง 100 km  บางที่เราจะได้ภูมิใจใน ฝน DTI ก็ได้

 

โดยคุณ lfazuru เมื่อวันที่ 06/05/2012 19:12:06


ความคิดเห็นที่ 49


  อ้าเจอแผนภาพระบบป้องกันเป็นชั้นๆแล้ว  อันนี้มาจากอาจารย์รินของเราครับ ขอขอบคุณอย่างยิ่ง   เดิมข้อมูลนี้ผมได้จากหนังสือสงครามฉบับเก๊าเก่า .... สมัยสงครามเย็นยังดัง   คอลัมนิสต์ของนิตยสารสงครามเขียนเรื่องนี้ให้อ่าน   

   อ่านเพิ่มเติมได้ที่ TAF ครับ

 

   http://thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=783&start=15 

 

คำอธิบายแผนภาพของท่าน  rinsc seaver

Surviellance Area = พื้นที่ในการเฝ้าตรวจเป้าหมาย คิดจากระยะตรวจจับไกลสุดของระบบตรวจจับที่กองเรือมี (ถ้ามีอากาศยาน AEW จะช่วยได้มากในเรื่องของการตรวจจับเป้าหมายที่บินต่ำ)

Vital Area = พื้นที่วิกฤต คิดจากระยะยิงไกลสุดของ อวป. จากอากาศยานข้าศึก (ระยะจาก HVU ไปจนถึงจุดที่อากาศยานข้าศึกจะปลดอาวุธ) หรือก็คือ ขอบเขตที่เราจะต้องทำลายอากาศยานข้าศึกให้ได้ก่อน ไม่เช่นนั้นแล้วเราจะต้องเปลี่ยนมาเป็นการทำลาย อวป. ที่ยิงออกมาแทน

CIEA หรือ Classification Identification and Engagement Area = พื้นที่ในการตรวจจับ พิสูจน์ฝ่าย และทำลาย อากาศยานหรือ อวป.ของข้าศึก แบ่งเป็น
 

1. FEZ หรือ Fighter Engagement Zone = พื้นที่ในการปฏิบัติภารกิจสกัดกั้นของ บข. จากกองเรือ คิดจากพิสัยปฏิบัติการไกลสุดของ บข. นั้น (กรณีภารกิจ DCA) โดยต้องคิดร่วมกับระยะเวลาที่ต้องการให้ บข. อยู่ในพื้นที่ (กรณีภารกิจ CAP) แต่ถ้ามี บ.ชพ. เราสามารถกำหนดระยะเท่าไหร่ก็ได้ (เช่น 200 nm)
 

2. MEZ หรือ Missile Engagement Zone = พื้นที่ในการทำลายด้วย อวป.พื้น-สู่-อากาศ ระยะยิงปานกลางถึงไกล (เช่น SM-2MR, SM-2ER) คิดจากระยะยิงไกลสุดของ อวป. โดยใน MEZ นี้ห้ามไม่ให้ บข. ฝ่ายเราเข้ามาเ็ด็ดขาด โดยไม่มีการแจ้ง ไม่งั้นมีสิทธิ์ถูกยิงได้

3. CEZ หรือ Close-in Engagement Zone = พื้นที่ในการทำลายด้วยอาวุธป้องกันระยะใกล้ถึงประชิด (เช่น ESSM, CIWS, decoy) คิดจากระยะยิงไกลสุดของอาวุธเหล่านี้

JEZ หรือ Joint Engagement Zone = พื้นที่ซึ่งซ้อนทับระหว่าง FEZ กับ MEZ หรือ MEZ กับ CEZ กองเรือจะต้องเลือกว่าควรจะใช้อาวุธอะไรจึงจะเหมาะสมที่สุด

็HVU หรือ High Value Unit = เรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูงในกองเรือ เช่น เรือบรรทุก บ. เรือส่งกำลังบำรุง เรือยกพลขึ้นบก หรือเรือลำเลียง


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 22:15:07


ความคิดเห็นที่ 50


   สำหรับเรือชั้นกิโลติดตั้ง  VLS Bramos ครับ    ดูจากภาพโมเดลที่ท่าน pipat2000 ลงไว้เอง   จะเห็นว่าด้านหลังหอบังคับการจะมีบล็อกตัวเรือใสๆอยู่   และตัวเรือส่วนนั้นจะยกสูงกว่าส่วนอื่นๆ   จะโชว์ระบบ VLS ที่เพิ่มเข้ามาครับ    ส่วนผมเห็นจากภาพวาดที่ลงในเน็ตครับ  รู้สึกว่าจะติดตั้งได้ 8-12 ลูก 

   ถ้า กิโล มีระบบ AIP ด้วย   เรือชั้นนี้จะน่าเล่นสุดๆเลยครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 06/05/2012 22:29:01


ความคิดเห็นที่ 51


   ภาพเรือฟรีเกต DW-3000H  ดูแล้วไม่เห็นรายละเอียดชัดเจนว่าเป็น I-Mast 400 หรือ 500   แต่ติดตั้ง VLS แค่ 8 cell เท่านั้น    ระบบเรด้าร์ดีแต่มีอาวุธไม่พอใช้  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 07/05/2012 08:37:53


ความคิดเห็นที่ 52


การจัดหาเรือฟริเกตใหม่นั้นคงต้องเป็นไปตามโครงการของการจัดหาอาวุธตามแผนทางยุทธศาสตร์ แต่สำหรับกรณีที่ต้องการหยุดยั้งหรือป้องกันจรวดแบบBRAHMOS นั้นคงจะหวังพึ่งเรือลำใดลำหนึ่งไม่ได้ทีเดียวนัก เพราะเรือแต่ละลำก็ควรมีอุปกรณ์ป้องกันและกำจัดอาวุธปล่อยได้ด้วยเช่นกัน ดังนั้นต้องมาคิดว่าหากเกิดเหตุการณ์โดนโจมตีขึ้น เรือแบบใดที่มีโอกาสเสี่ยงในการถูกโจมตี ก็เน้นปรับปรุงระบบเพิ่มเติมให้กับเรือแบบนั้น สำหรับเรือที่มีคุณค่าทางยุทธศาสตร์น้อยกว่า ข้าศึกคงไม่ยิงเพราะต้องมีการเปรียบเทียบความคุ้มค่าด้วยเช่นกัน ส่วนเรือที่จัดหาเพิ่มเติมก็ติดตั้งระบบป้องกันและกำจัดมาด้วยทีเดียว ส่วนเรื่องว่าเราน่าจะจัดหา BRAHMOS มาประจำการมั่งได้หรือไม่ ส่วนตัวมองว่าได้ แต่เราน่าจะเลยคำว่าจัดหามาประจำการมาแล้วเพราะเราน่าจะมีขีดความสามารถในการพัฒนาจรวดได้เอง ซึ่งไม่จำเป็นต้องถึงขั้นขนาด BRAHMOS แต่มีความพร้อมและจำนวนเพียงพอเราก็มีความน่าเกรงขามแล้ว

โดยคุณ เด็กทะเล เมื่อวันที่ 07/05/2012 12:15:30


ความคิดเห็นที่ 53


เรือฟริเกตอินเดียรุ่นใหม่ติดบรามอส แผนแบบมาจากเรือฟริเกตรัสเซียชั้นคริวัค4 (แบบ 11356)

เป็นเรือน้องๆเรือพิฆาตขนาด 4000 ตัน ไว้ใช้ต่อต้านอากาศยาน-เรือรบ-เรือดำนํ้า อาวุธมีดังนี้

 
• ระบบ Club-N anti-ship missile ใช้ 1 ระบบ 8 ท่อยิงของ 3S-14E (โจมตีเรือ) และ 8 ท่อยิงของ 3M-54TE ASMs (โจมตีพื้นดิน) ด้วยระบบ VLS แบบ 3R-14N-11356 fire control system
• ระบบจรวดต่อสู้อากาศยานระยะกลาง Shtil-1  แนวดิ่ง 24 ลูก ยิงได้วินาทีละลูก มีเรด้าร์แบบใหม่
• ปืนเรือ 100mm แบบ AK-190E (มี 500 ลูก) พร้อมระบบควบคุมการยิง 5P-10E fire control system
• ระบบปืน/จรวดระยะประชิด Kashtan  พร้อมระบบควบคุม 3R-86-1E และ 2 โมดุลของ 3R87-E combat modules (64 9M311-1E missiles, 6,000 rounds), as well as two missile storage/reloading systems
• แท่น RBU-6000 12-tube ASW mortar (48 90R missiles or RGB-60 depth bombs)
• ตอร์ปิโดว์ two 533mm DTA-53-11356 twin torpedo tubes (4 SET-65E/53-65KE torpedoes)
• ฮ.ปราบเรือดำนํ้า Ka-28/Ka-31
• 4 KT-216 launchers of PK-10 close-range decoy dispensing station (120 decoy rounds) Electronic equipment
• Fregat-M2EM air/surface surveillance radar
• 3Ts-25E target acquisition radar
• MR-212/201-1 short-range navigation radar Sonars
• MGK-335EM-03 sonar system
• sonar with Vinyetka-EM towed array The above assets can be substituted with MGK-335EM-02 system
Navigation equipment

 

ข้อสังเกตุ

รัสเซียจะใช้ 3S-14E (โจมตีเรือ) และ 3M-54TE ASMs (โจมตีภาคพื้นดิน) เป็นอวป.หลัก รวมถึง SS-N-12 บนระบบ SHTIL ต่อสู้อากาศยาน หรืออวป.เรียดผิวนํ้า ด้วยเรด้าร์ใหม่อย่างข้างล่าง

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 07/05/2012 17:13:33


ความคิดเห็นที่ 54


ความหมายของผมก็คือ 3S-14E  และ 3M-54TE ASMs (ที่เวียตจะติดเข้ากับด.กิโล) ใหม่กว่า ทันสมัยกว่าบรามอส  ยังมีขนาดเล็กกว่า อีกด้วย ส่วนระยะยิงที่น้อยกว่ามาจากการเดินทางที่เลียดผิวนํ้าตั้งแต่ต้น ซึ่งบรามอสถ้าตั้งให้ยิงเลียดผิวนํ้าแต่ต้น ระยะยิงจะลดลงเหลือไม่ถึง 150 ไมล์เช่นกัน

**เรื่องขนาดบรามอสมีขนาดใหญ่ ศก. 70cm แต่ 2 ตัวบนแค่ 51 cm เลยยิงออกจากท่อตอร์ปิโดว์ 533 mm / ยังติดเข้ากับ Mig29 ได้ถึง 2 ลูก

 

ดูตอนแปลงร่างเพื่อโหลดติดกับเครื่องบินปล่อย


โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 07/05/2012 17:30:12


ความคิดเห็นที่ 55


อันนี้

 

รุ่นโคลท์การ์ด รักษาชายฝั่ง 4 ท่อยิงแนวดิ่ง

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 07/05/2012 17:38:39


ความคิดเห็นที่ 56


ขอบคุณสำหรับทุกคำตอบครับ

โดยคุณ securitytot เมื่อวันที่ 11/05/2012 15:56:23