อันนี้สงสัยมานานแล้วครับ ถ้าเรดาห์ Erieye สามารถติดกับเครื่องบินขนาดกลางได้ หากสมมุติจะมีการนำมาติดกับ BT-67 มันจะสามารถติดได้มั้ยครับ
โห๊ะ..................คิดได้งัยเนี่ย....................เท่มาก ขอบอก....................... ถ้าโครงอากาศยานนับศูนย์ เครื่องเคราเปลี่ยนใหม่ น่าจะทำเหมือนกันนะครับ.............เครื่องบินยุคคุณทวด กับเทคโนโลยี่รุ่นคุณเหลน..................หง่า..............มันเข้ากันมาก..................... คือ ทั้งหมดมันอยู่ที่อายุการใช้งานที่เหลือของเครื่อง และความเชื่อถือได้ เนื่องจาก อี่รี่อายระบบนึง สนนราคาคงมากมายหลายเติบ ถ้าเอาเครื่องอายุเหลือน้อยมาใส่ ครั้นก็ต้องแกะออกเปลี่ยนใหม่ไม่คุ้ม หรือถ้าเครื่องไม่ชัวร์ บินไปโหม่งโลกก็ศูนย์พินาจ..................... ดาโกต้าเป็นเครื่องบินที่เชื่อถือได้ ยาว ใหญ่ อึด เอามาแบกซุง คงจ๊าบไม่เบา
อยากติดก็ติดได้ครับ อีรี่อายส์มันออกแบบมาเป็นแบบโมดูลอยู่แล้ว ขอให้มีเงินพัฒนาโมดิฟายก็พอ
ทุกวันนี้ ยังน่าเสียดาย มีตั้งเกือบ 8 ลำ
ภาระกิจส่วนใหญ่ น่าจะทำฝนหลวง และดับไฟป่า
แต่ยังอยากคงสีเขียวไว้ มันบ่งบอกเครื่องบินยุทธวิธี สำหรับโดยร่ม และลำเลียงทางยุทธวิธี
จะเอาเครื่องที่มีไปรบกับคนอย่างเดียวเลยเหรอครับ
เหลือเอาไว้รบกับภัยพิบัติบ้างเถอะ
เคยใช้ติดรีพีทเตอร์(สถานีทวนสัญญาณวิทยุ)เพื่อรองรับภัยธรรมชาติมาแล้วครับ เพิ่ม Erieye เข้าไปคงได้ประโยชน์ขึ้นเยอะ
ทุกอย่างเป็นไปได้.... อย่างนี้สิ ต้องมี ในคนไทย....
ขอบคุณ...กรอบมีไว้ขัง... แต่คนที่คิดต่าง และทำได้ นี้คือ... สุดยอด คนไทยต้องคิดแบบนี้เยอะครับ....และหากมีการลงมือด้วย สุดยอด...
ติดได้ครับ คนไทยทำได้อยู่แล้ว แต่ปัญหาจริงๆของมันคือเครื่องมันเก่ามากซะจนไม่คุ้มที่จะเอาไปติด ถ้าเครื่องตก ที่เสียดายคือเสียดายนักบินกับอีรี่อายมากกว่า เครื่องตกช่างมัน หรือกำลังจะขึ้นบินเพื่อการบินรบดันเครื่องเสีย ก็ไม่รู้จะเอาอีรี่อายมาติดทำไม
สรุปคือเอามาติดเครื่องที่มันใหม่ๆจะดีกว่าครับ และจะดียิ่งขึ้น เอาเครื่องที่ทางซ๊าบเคยติดมาแล้วก็จะง่ายยิ่งขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาดัดแปลง
เครื่องบิน BT-67 ที่กองทัพอากาศ จัดหา(ดัดแปลง)เข้าประจำการ 9 เครื่อง มิได้มีแผนใช้ในการรบตั้งแต่แรกแล้วครับ....คงจะเข้าใจผิดแล้ว... แต่ตั้งใจจะเป็นเครื่องบินฝนหลวง ในโอกาสครองสิริราชย์สมบัติ ๕๐ ปี
เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๔๑ กองทัพอากาศ ได้ทำสัญญาว่าจ้างบริษัท BASLER TURBO CONVERSIONS,LLC ประเทศสหรัฐฯ ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ (C-47) จำนวน ๓ เครื่อง ซึ่งกองทัพอากาศ ปลดประจำการแล้ว ให้เป็นเครื่องบินแบบ BT-67 เพื่อให้ในภารกิจลำเลียงและภารกิจ ฝนหลวงและดับไฟป่า ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในวโรกาสครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
BT-67 เป็นเครื่องบินที่ดัดแปลงโครงสร้างทั่วไปจากเครื่องบินลำเลียงยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยการเปลี่ยนเครื่องยนต์ลูกสูบดาวเป็นเครื่องยนต์เทอร์โบพรอป Pratt & Whitney PT6-67R ให้กำลัง ๑,๔๒๔ แรงม้า จำนวน ๒ เครื่อง เปลี่ยนระบบเครื่องวัด ระบบสื่อสารไฟฟ้า เชื้อเพลิง ฐานล้อ ระบบไฮดรอลิก เบรกและยางเป็นแบบใหม่ที่ทันสมัย ยืดลำตัวส่วนหน้าออกไปอีก ๑ เมตร เปลี่ยนพื้นบังคับจากผ้าใบเป็นเหล็กทั้งหมด เครื่องบินที่ได้รับการดัดแปลงแล้วนี้ มีมารตฐานและได้รับใบสมควรเดินอากาศจาก FAA และกองทัพสหรัฐฯ ให้การรับรองโดยมีชื่อทางทหารว่า C-47T (T:TURBO) และใช้ชื่อทาง COMMERCIAL ว่า “BT-67” กองทัพอากาศกำหนดชื่อเรียกสากลว่า BT-67 กำหนดชื่อเรียกตามแบบว่า “เครื่องบินลำเลียงแบบที่ ๒ ก” (บ.ล.๒ ก)
ที่เพื่อนสมาชิกหลายคนบอกไม่คุ้ม....เพราะ..โครงสร้าง BT-67 คือ โครงสร้างเดิมของ C-47 ที่มีอายุการใช้งานมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ ๒ และสารเคมีที่ใช้ทำฝน....มีอุปสรรค์ต่อโครงสร้างเครื่องบิน ครับ.....โดยปกติ...เชื่อว่า ไม่เกิน ๑๐ ปีนี้ BT-67 คงจะปลดประจำการหมดแล้วครับ....เพราะสารเคมีกัดกร่อนโครงสร้าง โดยเฉพาะส่วนบังคับทิศทางและส่วนหาง ครับ
นัยว่า ตัวที่ ๗-๙ นั้น ลำตัวได้รับการฉาบสีดำ ซึ่งเป็นวัสดุดูดกลืนคลื่นเรดาร์ เช่นเดียวกับของ ทอ.โคลัมเบีย.................. เท็จจริงประการใด และ วัตถุประสงค์ หรือภารกิจจริงๆนั้นเพื่ออะไร เรียนผู้รู้ช่วยกรุณา แถลงไขด้วยครับ.........................
\