หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มาเลย์จัดหา Gowind class frigate 6 ลำแล้ว

โดยคุณ : neosiamese2 เมื่อวันที่ : 23/04/2012 22:32:18

   http://www.aviationweek.com/aw/blogs/defense/index.jsp?plckController=Blog&plckScript=blogScript&plckElementId=blogDest&plckBlogPage=BlogViewPost&plckPostId=Blog%3A27ec4a53-dcc8-42d0-bd3a-01329aef79a7Post%3A8e55481f-7a8e-4bdc-a55c-f724dd1b7ab8

 

alaysia Becomes First Export Customer for Gowind

DCNS, through its local partner in Malaysia, Boustead Naval Shipyard (BNS), has won its first export contract for a Gowind ship. The €2.14 bn deal has been signed by BNS with the Malaysian government for six Gowind-class corvettes, the biggest of the Gowind family developed on its own funds by the French military naval systems group.

DCNS went ahead and built the first-of-class Adroit, the smallest of the Gowinds, which is currently being lent to the French Navy (see my posts on 10/21/11 and 1/27/11) despite having no firm orders. The gamble has obviously paid off with Malaysia becoming the first export customer for the ship. The novelty of the Gowind-class is that the ships can be widely modified, a bit like an Ikea kitchen, to suit the customers needs.

DCNS was in competition with the Dutch ship-builder Damen and the German group TKMS, one of the traditional suppliers to the Malaysian navy.

The six corvettes, the first of which will be delivered in 2017, the others following at six-monthly intervals, will be armed with a 57mm gun as well as surface-to-air missiles and torpedoes. The 107-m long, 2,400-ton ships will also carry a Eurocopter EC-275 helicopter.

BNS was selected early in December but the contract remained on hold for days because BNS and DCNS insisted that the ship adopt the SETIS combat management system designed by DCNS while the Royal Malaysian Navy wants another system, the Tacticos, developed by Thales and being integrated onto another of its vessels, the KD Kasturi. According to Malaysias Sun Daily, the navy had hoped to reduce the number of combat management systems in its fleet to reduce training and support issues.

 

      ทร. มาเลย์จัดซื้อ 6 ลำ   ด้วยมูลค่า 2.4 พันล้านยูโร  หรือกว่า 80,000 ล้านบาท   ดูในเวปของมาเลย์     ชื่อเรือชั้นนี้คือ   ลักษมาณา    แสดงว่าจะต้องปลดเรือคอร์เวตชั้น ลักษมาณาเดิมออกไป    อาจจะเอาไปเป็นเรือตรวจการณ์แทน  





ความคิดเห็นที่ 1


       รูปที่ดูในเวปต่างประเทศ    จะเห็นว่าใช้แท่นยิง  Mk-48/56  จำนวน 2 แท่นยิง  ติดตั้ง ESSM  24 ลูก  และ  Exocet MM-40  8 ลูก  

 

   จากข้อมูลที่เพื่อนๆช่วยกันลง    เราจะสามารถวิเคราะห์ขีดความสามารถที่กองทัพเรือมาเลย์ต้องการได้ดังนี้ครับ

ภายในปี 2020  ถ้าทร.มาเลย์ทำตามเป้าได้   ทางเขาจะมีระบบอวุธหลักๆดังนี้

เรือฟรีเกตชั้นลิเคียว  4 ลำ    สามารถยิง  ESSM ได้ทั้งสี่ลำ    และทำการปรับปรุงระบบต่อต้านเรือดำน้ำเรียบร้อยแล้ว(มีโซน่าร์ลากท้ายด้วย)

เรือฟรีเกตชั้นลักษมานา ( Gowind)    จำนวน  6 ลำ     สามารถยิง  ESSM ได้และสามารถต่อต้านเรือดำน้ำได้  

เรือ  OPV  ชั้น  MEKO-A100  ซึ่งถ้าทำการติดตั้งระบบอาวธเต็มที่ทั้ง  ESSM  (MK-48/56)   และ  EXocet  MM-40   เขาก็จะมีเรือ  corvette    ชั้นเยี่ยมอีก   6   ลำ  

เรือดำน้ำสกอปเน่   2+2  ลำ   และเรือฝึกอีก 1 ลำ      

       รวมเรือฟรีเกต  10     คอร์เวต  6     เรือดำน้ำ   4      

        และที่สำคัญที่สุด    ถ้าทร.มาเลย์สามารถจัดหาเรือชั้น  Dokdo ได้  2  ลำพร้อมอากาศยาน      ซึ่งคาดว่า  Dokdo   จะสามารถบรรทุกบ.  F-35B   ในโรงเก็บได้ประมาณ  10  เครื่อง   และบนดาดฟ้าลานบิน  10   เครื่อง      ถ้าเขาต้องการให้เรือทำภารกิจเรือบรรทุกบ.     เขาคงจะจัดหา  F-35B  มาประจำเรือ  12 เครื่อง   และ AW-101  AEW  2   เครื่อง    ที่เหลือเป็นฮ. ทำภาระกิจ SAR และ  ASW        ก็จะทำให้เรือกลายเป็นเรือบรรทุกบ.เบาได้       ถ้าจัดหา 2 ลำ     เรือรบผิวน้ำมีพร้อมแล้ว  16  ลำ     เขาจะสามารถจัดกองเรือบรรทุกบ.ได้สองกองเรือ      หรือว่าเมือจัดรวมกำลังกัน      ทร.มาเลย์จะมีอากาศยานจากเรือบรรทุกบ.  ทั้งหมด   40   เครื่อง   โดยปฎิบัติการด้วย  F-35B   ได้มากถึง  24 – 30  เครื่อง        จะทำให้ทร.มาเลย์กลายเป็นทัพเรือที่มีอำนาจสูงสุดในอาเซียน!       น่าตกตะลึงดี

        ค่าใช้จ่ายสำหรับเครืองบินประจำเรือ    ประมาณ  55,000  ล้านบาท    ค่าเรือไม่น่าเกิน  20,000 ล้านบาท    ราคาน่าจะอยู่ราว  75,000 ล้านบาทต่อลำ       2 ลำก็  130,000  ล้านบาท       ทะเยอทะยานจริงๆ    แต่เขามีแนวโน้มทำได้ 

 



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 11:17:21


ความคิดเห็นที่ 2


    การเร่งจัดหาของทร.มาเลย์ให้ได้ตามเป้าในปี 2020 นี้    จะทำให้สมดุลกำลังทางทะเลของอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก    และมาเลย์ก็จะกลายเป็นชาติน้องๆมหาอำนาจหน้าใหม่บนเวทีโลกและอาเซียน      เราจะรับมืออย่างไร  

   มาดูจักกรีของเราก่อนว่าจะปรับเป็นเรือบรรทุกบ. ได้แบบชั้น Dokdo หรือไม่    แต่วิกิพีเดียบอกว่าเรือทั้งสองแบบจัดว่าอยู่ในระดับเดียวกัน

 

  

 เมื่อวานลองเอาภาพเรือจักกรีที่ถ่ายโดยดาวเทียมภาพนี้มาดูใน  ACDsee แล้วจัดภาพให้มีขนาด 18.2 cm.   ให้สเกลขนาด 1 cm = 10 เมตร      จะสามารถวัดได้ว่า

ลิฟท์ด้านหน้า     กว้าง = 8.20 -  8.30 เมตร    ยาว = 15 เมตร  บวกลบ 20 cm.

ลิฟท์ท้าย        กว้าง = 13 เมตร บวกลบ 20 cm        ยาว = 14 – 14.20 เมตร

แล้วเอาภาพ F-35B รูปนี้มาจัดขนาดยาว   15.6 cm    ให้สเกล 1cm = 1 เมตร       ลองพับแพนหางระดับแล้วพบว่าความยาวเครื่องจะลดลงมาอยู่ที่อยู่ราวๆ   14.6 เมตร       ซึ่งความยาวขนาดนี้ถ้าจัดวางเครื่องในแนวทแยง     อาจจะสามารถนำเครื่อง F-35B  ขึ้นลงลิฟท์ท้ายได้      แต่ถ้าไม่แน่ใจผมเลยลองจัดว่าถ้าหักกรวยเรโดมออกมาด้านข้าง      ความยาวของเครื่องจะลดลงมาที่ประมาณ   13.5  เมตร     ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่า F-35B สามารถนำขึ้นลงลิฟท์ท้ายของเรือจักกรีได้

            ภายในโรงเก็บของเรือ     เมื่อเอากรวยเรโดมกลับเข้าที่เดิมแต่ยังคงพับแพนหางดิ่งอยู่       จะสามารถจัดวาง F-35B ในโรงเก็บได้ 7 เครื่องพอดี       แต่ที่กังวลคือน้ำหนักเครื่องที่หนัก 13.3 ตัน     ซึ่ง AV-8B  นั้นหนักตัวเปล่าแค่ 6.4 ตันเท่านั้น      แต่ข้อมูลบอกว่าเรือจักกรีสามารถนำเครื่อง  MH-60 จอดเก็บได้  12  เครื่อง      ซึ่ง MH-60 ตัวเปล่าหนักประมาณ 6.8 ตัน      แต่ถ้าติดตั้งอุปกรณืเพื่อทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำจะมีน้ำหนัก   8  ตัน    ดังนั้น  12 เครื่องจะมีน้ำหนักช่วงประมาณ    84 -96 ตัน           F-35B  จำนวน   7  เครื่อง      13.3 X 7  =  94 ตัน

        ผมเลยคาดเดาว่าโรงเก็บของจักกรีอาจจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ในช่วง 90 – 100 ตัน        ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าโรงเก็บของจักกรีจะสามารถจัดเก็บ F-35B ได้ครบทั้ง   7  เครื่อง       แต่ในทางปฎิบัติจริง    อาจจะเก็บ  F-35B   จำนวน 4 เครื่อง  และเฮลิคอปเตอร์  4  เครื่อง   แทน

             ส่วนดาดฟ้าลานบิน     ที่จอดอากาศยานที่ดาดฟ้าด้านหน้า     ยาวประมาณ 40 เมตร    น่าจะสามารถจอด F-35B ได้ 4 เครื่อง         ดาดฟ้าท้ายเรือยาวประมาณ   28 เมตร   อาจจะจอด F-35 ได้  ได้ 3 เครื่อง     รวมกันแล้ว  ดาดฟ้าลานบินจะจอด  F-35B  ได้  7  เครื่อง   ปฎิบัติจริงอาจจอดแค่  6  เครื่องเพื่อให้การเคลื่อนย้ายอากาศยานคล่องตัวง่ายขึ้น      และจากการที่ลิฟท์ท้ายรองรับน้ำหนักได้กว่า  20  ตัน     ดังนั้นอนุมานหยาบๆได้ว่าดาดฟ้าลานบินทั้งหมด   ทุกจุดจะสามารถรับน้ำหนักได้  20 ตันทุกจุด        ซึ่งน้ำหนัก  F-35B   เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มที่   ติดตั้งอาวุธในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศแล้วจะหนักราวๆ  20 ตัน     และถ้าติดตั้งไพลอทที่ปีกและบรรทุก Harpoon   4   ลูก กับ แอมรามและไซด์ไวด์เดอร์อย่างละ 2 ลูกแล้ว      ถ้าไม่ต้องการให้เกิน 20 ตัน   ก็จะไม่สามารถเติมน้ำมันเต็มถังได้ครับ

     ดังนั้นถ้าจะเอาจักกรีไปรับภารกิจเป็นเรือบรรทุกบ.  โดยตรง      อาจจะสามารถนำ  F-35B   ติดไปได้  10 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์  แบบ  MH-60 ไปได้  2 เครื่อง  และ AW-101  รุ่น  AEW ไปได้  2  เครื่อง   รวม 4 เครื่อง       และให้เรือฟรีเกตใหม่ 4 ลำ  ทำหน้าที่ต่อต้านเรือดำน้ำแทนได้      

      ดังนั้นที่ท่าน   AAGth_1  แนะนำว่าควรใช้  F-35B กับจักกรีโดยไม่ปรับมันเป็น  STOBAR  ก็จะดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ    เพราะไม่ต้องปรับปรุงเรือใดๆเลย      แต่จะต้องลงทุนเครื่องบินรบที่ราคาแพงมากและมีค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการสูงกว่า  AV-8B ถึง 2 เท่า     แต่ประสิทธิภาพก็สูงมากที่สุดด้วยครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 11:28:14


ความคิดเห็นที่ 3


    การเร่งจัดหาของทร.มาเลย์ให้ได้ตามเป้าในปี 2020 นี้    จะทำให้สมดุลกำลังทางทะเลของอาเซียนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก    และมาเลย์ก็จะกลายเป็นชาติน้องๆมหาอำนาจหน้าใหม่บนเวทีโลกและอาเซียน      เราจะรับมืออย่างไร  

   มาดูจักกรีของเราก่อนว่าจะปรับเป็นเรือบรรทุกบ. ได้แบบชั้น Dokdo หรือไม่    แต่วิกิพีเดียบอกว่าเรือทั้งสองแบบจัดว่าอยู่ในระดับเดียวกัน

 

  

 เมื่อวานลองเอาภาพเรือจักกรีที่ถ่ายโดยดาวเทียมภาพนี้มาดูใน  ACDsee แล้วจัดภาพให้มีขนาด 18.2 cm.   ให้สเกลขนาด 1 cm = 10 เมตร      จะสามารถวัดได้ว่า

ลิฟท์ด้านหน้า     กว้าง = 8.20 -  8.30 เมตร    ยาว = 15 เมตร  บวกลบ 20 cm.

ลิฟท์ท้าย        กว้าง = 13 เมตร บวกลบ 20 cm        ยาว = 14 – 14.20 เมตร

แล้วเอาภาพ F-35B รูปนี้มาจัดขนาดยาว   15.6 cm    ให้สเกล 1cm = 1 เมตร       ลองพับแพนหางระดับแล้วพบว่าความยาวเครื่องจะลดลงมาอยู่ที่อยู่ราวๆ   14.6 เมตร       ซึ่งความยาวขนาดนี้ถ้าจัดวางเครื่องในแนวทแยง     อาจจะสามารถนำเครื่อง F-35B  ขึ้นลงลิฟท์ท้ายได้      แต่ถ้าไม่แน่ใจผมเลยลองจัดว่าถ้าหักกรวยเรโดมออกมาด้านข้าง      ความยาวของเครื่องจะลดลงมาที่ประมาณ   13.5  เมตร     ซึ่งค่อนข้างแน่นอนว่า F-35B สามารถนำขึ้นลงลิฟท์ท้ายของเรือจักกรีได้

            ภายในโรงเก็บของเรือ     เมื่อเอากรวยเรโดมกลับเข้าที่เดิมแต่ยังคงพับแพนหางดิ่งอยู่       จะสามารถจัดวาง F-35B ในโรงเก็บได้ 7 เครื่องพอดี       แต่ที่กังวลคือน้ำหนักเครื่องที่หนัก 13.3 ตัน     ซึ่ง AV-8B  นั้นหนักตัวเปล่าแค่ 6.4 ตันเท่านั้น      แต่ข้อมูลบอกว่าเรือจักกรีสามารถนำเครื่อง  MH-60 จอดเก็บได้  12  เครื่อง      ซึ่ง MH-60 ตัวเปล่าหนักประมาณ 6.8 ตัน      แต่ถ้าติดตั้งอุปกรณืเพื่อทำภาระกิจปราบเรือดำน้ำจะมีน้ำหนัก   8  ตัน    ดังนั้น  12 เครื่องจะมีน้ำหนักช่วงประมาณ    84 -96 ตัน           F-35B  จำนวน   7  เครื่อง      13.3 X 7  =  94 ตัน

        ผมเลยคาดเดาว่าโรงเก็บของจักกรีอาจจะสามารถรองรับน้ำหนักได้ในช่วง 90 – 100 ตัน        ดังนั้นมีความเป็นไปได้สูงว่าโรงเก็บของจักกรีจะสามารถจัดเก็บ F-35B ได้ครบทั้ง   7  เครื่อง       แต่ในทางปฎิบัติจริง    อาจจะเก็บ  F-35B   จำนวน 4 เครื่อง  และเฮลิคอปเตอร์  4  เครื่อง   แทน

             ส่วนดาดฟ้าลานบิน     ที่จอดอากาศยานที่ดาดฟ้าด้านหน้า     ยาวประมาณ 40 เมตร    น่าจะสามารถจอด F-35B ได้ 4 เครื่อง         ดาดฟ้าท้ายเรือยาวประมาณ   28 เมตร   อาจจะจอด F-35 ได้  ได้ 3 เครื่อง     รวมกันแล้ว  ดาดฟ้าลานบินจะจอด  F-35B  ได้  7  เครื่อง   ปฎิบัติจริงอาจจอดแค่  6  เครื่องเพื่อให้การเคลื่อนย้ายอากาศยานคล่องตัวง่ายขึ้น      และจากการที่ลิฟท์ท้ายรองรับน้ำหนักได้กว่า  20  ตัน     ดังนั้นอนุมานหยาบๆได้ว่าดาดฟ้าลานบินทั้งหมด   ทุกจุดจะสามารถรับน้ำหนักได้  20 ตันทุกจุด        ซึ่งน้ำหนัก  F-35B   เมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็มที่   ติดตั้งอาวุธในภารกิจป้องกันภัยทางอากาศแล้วจะหนักราวๆ  20 ตัน     และถ้าติดตั้งไพลอทที่ปีกและบรรทุก Harpoon   4   ลูก กับ แอมรามและไซด์ไวด์เดอร์อย่างละ 2 ลูกแล้ว      ถ้าไม่ต้องการให้เกิน 20 ตัน   ก็จะไม่สามารถเติมน้ำมันเต็มถังได้ครับ

     ดังนั้นถ้าจะเอาจักกรีไปรับภารกิจเป็นเรือบรรทุกบ.  โดยตรง      อาจจะสามารถนำ  F-35B   ติดไปได้  10 เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์  แบบ  MH-60 ไปได้  2 เครื่อง  และ AW-101  รุ่น  AEW ไปได้  2  เครื่อง   รวม 4 เครื่อง       และให้เรือฟรีเกตใหม่ 4 ลำ  ทำหน้าที่ต่อต้านเรือดำน้ำแทนได้      

      ดังนั้นที่ท่าน   AAGth_1  แนะนำว่าควรใช้  F-35B กับจักกรีโดยไม่ปรับมันเป็น  STOBAR  ก็จะดูเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ    เพราะไม่ต้องปรับปรุงเรือใดๆเลย      แต่จะต้องลงทุนเครื่องบินรบที่ราคาแพงมากและมีค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการสูงกว่า  AV-8B ถึง 2 เท่า     แต่ประสิทธิภาพก็สูงมากที่สุดด้วยครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 11:31:55


ความคิดเห็นที่ 4


     เราก็รู้ๆกันอยู่ว่าใครสนับสนุนการเผาสามจังหวัดชายแดน   ถ้าเขาขยายกองเรือขนาดนี้ส่งผลต่อเราอย่างมาก

    ส่วนเรือฟรีเกตของเเรานั้น  ถ้าทร. สามารถจัดหาขอ   เรือฟรีเกตใหม่ 4 ลำ  DW-3000 H   เรือ OPV 3 ลำ   ทร.เราจะมีกำลังทางทะเลรับมือดังนี้  ( เอาแต่เรือที่เทียบเท่ากับเขาเท่านั้น)

เรือฟรีเกตประสิทธิภาพสูง  6 ลำ   เรือชั้นนเรศวร 2  ลำ  เรือ DW-3000H  4 ลำ

เรือ OPV ปรับเป็น corvette ชั้นดี 6 ลำ 

เรือดำน้ำ 0

เรือบรรทุกบ.  1

   ถ้าปรับจักกรีเป็นเรือบรรทุกบ.   ก็จะมี F-35B  10  เครื่อง   AW-101  AEW 2 เครื่อง   MH-60 อีก 2-3 เครื่อง  

   กำลังทางอากาศนาวีมีไม่ถึงครึ่งของเขา   เรือฟรีเกตขาดไป 4   เรือดำน้ำขาดไป 4 (และต้องของใหม่ด้วย)      ท่าทางจะไม่ไหวแล้วครับ

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 11:44:20


ความคิดเห็นที่ 5


การจัดหาอาวุธขยายกองเรือของมาเลเซียน่าจะมาจากการขยายอิทธิพลทางทะเลจีนใต้ของจีนมากกว่าครับ บริเวณนั้นอุดมไปด้วยก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน

ส่วนเรื่องของสามจังหวัดภาคใต้ก็ยอมรับว่ามีฝ่ายการเมืองภายในและประเทศเพื่อนบ้านมาผสมโรงทำให้การแก้ไขปัญหายุงยาก ถ้ามาเลเซียไม่ช่วยไทยในการแก้ปัญหา

นี้คิดว่าเส้นทารถไฟความเร็วสูงคงไม่อาจเกิดขึ้นได้ระหว่างไทยกับมาเลเซีย คนที่เสียผลประโยชน์มากสุดก็น่าตกกับมาเลเซียมากกว่าครับ

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 19/04/2012 11:59:57


ความคิดเห็นที่ 6


   ภายในปี 2020 นี้ถ้ามาเลย์ทำได้จริง   ท่าทางเราจะรับมือไม่ไหว   เรือฟรีเกตชั้นเยี่ยมขาดไป 4    เรือดำน้ำต้องการ 4-6 ลำ   และเรือบรรทุกบ.อีก  1 ลำ  

    สำหรับเรือฟรีเกตที่ขาดไป 4 ลำนั้น   ดูท่าทางข้อเสนอของป๋าจูลก็คงต้องทำด้วยแล้วละครับ  เพราะถ้าต่อใหม่อาจจะไม่ทันกาล   แต่ก็ไม่แน่ครับ    ถ้าต่อเองได้ 4 ลำก็น่าเล่น  

  แต่เรือดำน้ำ 4+2 นี่คิดหนักมากเลย

 เรือบรรทุกบ.   ดีลนี้ผมว่าถ้าจะให้เหนือกว่าโดยค่าใช้จ่ายต่ำกว่าด้วย   คงต้องดึงแผนเดิมที่จะต่อเรือ SAC-220 กลับมาใหม่แล้วล่ะครับ   อาจจะปรับให้เป็น STOBAR หรือเอาแบบเดิมๆเลยก็ได้    เรือชั้นนี้โรงเก็บสามารถเก็บ F-18 ได้ 17-18 เครื่อง   บนดาดฟ้าลานบินก็น่าจะได้มากพอๆกัน    สามารถนำเครื่อง E2-D มาใช้งานได้  2-3 ลำ   เราสามารถเลือกเครื่องบินรบได้หลากหลายตั้งแต่   F-18   F-35C   sea gripen   Rafale    ซึ่งเรือ SAC-220  น่าจะสามารถนำเครื่องบินขับไล่ไปได้  24-30 เครื่อง    แบบนี้สู้กันไหว     แล้วปล่อยให้จักรีทำหน้าที่เรือบรรทุกฮ. ล่าเรือดำน้ำได้     ถึงจะสามารถข่มกองทัพเรือมาเลย์ลงได้ครับ    

    เรือ SAC-220 ราคาพศ.นี้น่าจะประมาณ 25,000 ล้านบาท     เครื่องบินกประจำเรือน่าจะอยู่ราวๆ 70,000-80,000  ล้านบาท    แต่ถ้าใช้ F-35C  แค่ราคาของมันก็ปาไป  80,000 ล้านแล้วครับ  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 12:05:43


ความคิดเห็นที่ 7


    ใช่ครับที่ว่าเขาขยายกองเรือเพราะอิทธิพลของจีน   แต่ต้องยอมรับความจริงข้อหนึ่งว่าเรื่องสามจังหวัดชายแดนนั้น   ทางเขาก็เข้ามาเกี่ยวพันด้วย   แม้ว่าจะเกิดเพราะเรื่องภายในของเราก็ตาม    และการที่เรายังคงต้องการคลองกระโดยที่เขาไม่ได้ส่วนแบ่งอะไรเลยแบบสิงคโปร์   ปัญหาหาคาราคาซังระหว่างเรากับเขาก็อาจจะปะทุขึ้น    เหมือนเขมรที่เข้ามาเกี่ยวเพราะผลจากการเมืองภายในของเราเองและปัญหาผลประโยชน์ที่ตกลงกันไม่ได้เรื่องบ่อน้ำมัน    สุดท้ายก็ฟาดปากกันด้วยกำลัง

   ดีลคล้ายๆกันครับ   ดังนั้นความเป็นไปได้สูงที่เราจะต้องฟาดปากกับมาเลย์มี    โดยเฉพาะสมัยทักษิณมีอำนาจเราเองก็เตยเกือบฟาดปากกับเขา    ถึงขนาดที่ว่าทางโน้นมีคำสั่งเตรียมพร้อมสูงสุดเลย     คราวนี้ยิ่งถ้าตกลงกับเขมรเรื่องบ่อน้ำมันได้    เรื่องไม่มีน้ำมันใช้ตัดออกไปเมื่อไร   ผมว่าฟาดปากแบบไม่เกรงใจกันแน่     ผมไม่อยากให้ฝ่ายเราต้องเป็นแบบเขมรซะเอง  

    ไม่ประมาทเป็นดีที่สุดครับ  


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 12:14:30


ความคิดเห็นที่ 8


เอ่อ คิดไกลไปรึเปล่าครับ กลับมาครับกลับมา .....  กองทัพเรือนานๆทีจะได้งบก้อนโตสักก้อน เรื่องที่คุณพิมพ์มามัน ไกล๊ไกลเกินตัวเรา ในด้านการจัดหาน่ะครับ ถึงเหตุผลที่คุณพูดมาจะกลายเป็นจริง เราซัดกับเพื่อนบ้าน เราก็คงดิ้นรนให้กองทัพเรือพัฒนาก้าวกระโดดได้ไม่มากเท่าที่คุณพูด 

ก็พัฒนาไปตามสภาพ ถ้าปัญหามันเกินเเก้ ก็รับสภาพกันไป = =.

ผมว่าในปี 2020 เรามี opv อีก3 ลำ กะฟรีเกตใหม่สองลำ ไม่เอามือสองนะ = = อาวุธไม่ต้องเฟอเฟคได้ ปรับปรุงเรือที่มีตามครึ่งอายุการใช้งาน  ก็ีหรูมากมายเเล้วครับ เรือกองบินทหารเรือนั้น ไกลเกินจริงๆ 

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 19/04/2012 12:34:08


ความคิดเห็นที่ 9


รอดูสิงคโปร์ว่าจะขยับตามหรือเปล่าถ้าเป็นแบบที่ผมคิดแถวนี้คงเดือดแน่ เ รื่องF35bผมยังสงสัยว่าหากมีโครงการจริงเมื่อไหร่เราถึงจะได้ประจำการดูจากความต้องของหลายๆประเทศยิ่งมีข้อขัดแย้งด้านผลประโยชน์ทางทะเลมากขึ้นความต้องการน่าจะยิ่งมาก  เราในฐานะพันธมิตรลูกเมียน้อยคงต้องรอคิวอีกนาน ไม่รู้ว่าฝากสิงคโปร์ซื้อได้หรือเปล่าอิๆ   ถ้าเป็นไปได้ในเบื้องต้นผมอยากเห็นแฮริเออร์กับมาอีกครั้งอย่างน้อยก็เป็นการฝึกเตีรยมพร้อมหากจะใช้F35bต่อไป  ถ้าเป็นไปได้เรือจักรีสามารถยืดหยุ่นใช้ไป้ทั้งบรรทุก ฮ. และ บ.แล้วแต่ภาระกิจคงจะดีไม่น้อย

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 19/04/2012 12:58:40


ความคิดเห็นที่ 10


เห็นเขาขยับเราก็อดเป็นกังวลไม่ได้ แต่ถ้าเราลองคิดในมุมของสมดุลแล้วมันก็ไม่แปลก เพราะมาเลเซียเขาก็ไม่ค่อยกินเส้นทั้งอินโดนีเซีย สิงค์โปร์ แล้วถ้าจะมาง้องแง้งกับเราอีกผมว่าเขาก็กดดันตัวเองพอสมควร ลักษณะภูมิศาสตร์ก็แบ่งเป็นสองแผ่นดิน คงต้องใช้กำลังในการป้องกันที่มาก ในแง่ความสัมพันธ์ไทยเราก็มีสัมพันธ์ที่ดีกับสิงค์โปร์และอินโดนีเซีย ฉะนั้นเราน่าจะยังไม่รีบขยับตามเขา ยังไงๆถ้าเกิดสงครามจริงๆ เราก็คงไม่รบกันแค่ทางน้ำ 

โดยคุณ Fsas เมื่อวันที่ 19/04/2012 14:17:21


ความคิดเห็นที่ 11


   นั่นสิครับ   ผมก็ว่ายังไงสิงคโปร์และอินโดนีเซียก็คงต้องขยับ   ป่านนี้คงติดตามการขยายกองเรือของมาเลย์อย่างเป็นกังวลแน่ๆ    สำหรับสิงคโปร์เขาคงไม่จัดหาเรือบรรทุกบ.  เพราะเขาเป็นเกาะเล็กๆและก็ติดกัน    แต่กองเรือฟรีเกตและกองเรือดำน้ำ  กับ กำลังทางอากาศนี่คงต้องมีการจัดหาเพื่อเตรียมพร้อมกันมาก     แต่ดูจะเร่งรีบที่สุดก็คือ  อินโดนีเซีย     เพราะเขามีอดีตอันขมขื่นกันมากับมาเลย์ครับ    

     ตอนที่มาเลย์ได้รับเอกราช   ทางรัฐที่อยู่บนเกาะเบอร์เนียวเหนืออยากจะไปอยู่กับมาเลย์   ทางอินโดนีเซียนั้นไม่พอใจครับ   จึงรุกเข้าไปควบคุม   ก็เลยเกิดการสู้รบกันขึ้น    แต่ตอนนั้นมาเลย์นี่กระจอกสุดๆ   เป็นรองอินโดหลายขุม    ก็เลยให้ชาติตะวันตกช่วย   นั่นคือ  อังกฤษกับออสเตเรีย    โดยเฉพาะออสเตเรียนี่ทำหน้าที่กองหน้าเลย     ทำให้อินโดนีเซียต้องเสียรัฐทางตอนเหนือให้กับมาเลย์ไปครับ    เลยเป็นรอยแค้นฝังใจ    ทำให้อินโดต้องจัดหากองเรือขนาดมหึมาขึ้น   แม้จะเป็นของมือสองเก่าเก็บ (ตามข้อมูลของป๋าจูลกระทู้ข้างล่าวน่ะแหล่ะครับ)

   ตอนนั้นไม่ใช้จะเสียรัฐตอนบนเท่านั้น   ออสเตเรียเองก็ต้องการแยกติมอร์ตะวันออกให้ออกจากอินโดนีเซียด้วย    แต่ทำไม่สำเร็จ   ยิ่งอินโดเสริมกองทัพเรือขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว    ก็เลยเป็นอันหมดหวัง

   แต่มาได้ผลอีกครั้งเมื่อซูฮาโต้พลาดโดนพิษต้มยำกุ้งจากเราไปด้วย   ติมอร์ก็เลยต้องหลุด  

จากเรื่องรัฐมาเลย์ทางเกาะเบอร์เนียวเหนือนี่ฟังคุ้นๆเหมือนดินแดนทางใต้ของเราไหมครับ    อย่าได้ดูถูกมาเลย์นะครับ    พร้อมที่จะแทงข้างหลังเราได้เสมอ    

    " เจองูเจอแขก  ให้ตีแขกก่อน"    

คำโบราณนี้ยังใช้ได้นะครับ   บอกนิสัยคนได้ดี  

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 15:43:38


ความคิดเห็นที่ 12


มาเลเซียเองงบประมาณกลาโหมไม่ได้มากกว่าไทยนักครับ เพียงแต่ว่าการจัดสรรไปให้ ทอ. และ ทร. มากกว่าเราเท่านั้นเอง และในความเป็นจริงแล้วกองทัพเรือมาเลเซีย มีปัญหาในการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ครบตามสัญญาที่ได้กำหนดไว้ตอนแรกครับ  ยกตัวอย่างเช่น

Project เรือ OPV โครงการ  MEKO 100 ซึ่งวางแผนว่าจะจัดหามาถึง  27 ลำแต่เอาเข้าจริงแล้ว ตอนนี้ก็สร้างไปเพียงแค่ 6 ลำ  ขาดอีก 21 ลำ  และจะไม่สั่งซื้อเพิ่มเติมแล้วครับ  โดยจากแนวโน้มที่จะเอา    Laksamana class ไปทำเป็นเรือตรวจการณ์แทน
 

Project เรือ Lekiu class frigate ชุดที่ 2  ซึ่งลงนามซื้อในปี 2006 แต่ยกเลิกในปี 2009 และเอางบไปให้เรือดำน้ำแทน 

และการทุ่มงบประมาณครั้งใหม่จำนวนมากไปกับการ Gowind class frigate ถึง 80,000 ล้านบาทคงไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำได้สำเร็จครบตามจำนวน   และการจัดหาเรือชั้น Dokdo ไปพร้อม ๆ กันคงเป็นไปได้ยาก ซึ่งถ้าหากจัดหาเรือชั้น Dokdoมาจริง ๆ คงจะตามมาด้วยการลดเรือชั้น Gowind ลงไป 1-2  ลำละครับ    อีกทั้งดูท่าว่าคงจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะหาอากาศยานอย่างเช่น F-35 มาประจำการณ์บนเรือโดยเฉพาะในช่วง 15 ปีต่อจากนี้ไปครับ

สรุปว่าผมไม่ตกใจนะกับข่าวนี้     


โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 19/04/2012 16:00:04


ความคิดเห็นที่ 13


ปล่อยเขา ไม่ต้องตืนเต้น...

 

เดี๋ยว ดีเอง...

โดยคุณ nidoil เมื่อวันที่ 19/04/2012 16:08:05


ความคิดเห็นที่ 14


    อันนี้เป็นประวัติความขัดแย้งระหว่างมาเลย์กับอินโดครับ  จากวิกิพีเดีย

http://en.wikipedia.org/wiki/Indonesia%E2%80%93Malaysia_confrontation

 

    

      วิธีการใน 3 จังหวัดชายแดนของเราอาจจะไม่เหมือนัก   แต่หลักก็คล้ายๆกัน   คือ  ประชาชนในพื้นที่พึงพอใจที่จะอยู่กับมาเลย์มากกว่า   มีปัญหาระหองระแหงกัน   พอผู้คนในรัฐลงมติจะไปกับมาเลย์ปั๊บ   อินโดไม่ยอม   ลุยเข้าไป   ผลก็ออกมาอย่างที่เห็นครับ     อย่าได้ดูเบา  

   ทันทีที่อินโดพลาด   และรู้ว่าตะวันตกต้องการจะแยกติมอร์ตะวันออกด้วย    การขยายกองเรืออย่างเร่งรีบในจำนวนมหาศาล   แม้จะเป็นเรือมือสอง    แต่ก็ได้รับการช่วยเหลือจากมหาอำนาจอีกซีกที่ขัดแย้งกับตะวันตก   ติมอร์ก็เลยยังอยู่กับอินโดนีเซียต่อ   

    ดังนั้นใครว่า 3 จังหวัดไม่มีโอกาสครับ   มีครับ    ขนาดตอนนั้นอินโดนีเซียนี่เหนือกว่ามาเลย์หลายขุมยังพลาด    แล้วคราวนี้มาเลย์ไม่ได้กระจอกแบบครั้งนั้นแล้วด้วย  (แต่ลูกพี่ของเขากระจอกลงเเยอะ)    ก็พิจารณากันเอาเองครับว่า    ควรจะตามให้ทันแล้วแซง   หรือจะปล่อยให้เขาเหนือกว่าแล้วสุดท้ายมาร้องไห้รอรับชะตากรรมไป   บรรพบุรุษเสียเลือดเนื้อไปมากเพื่อรักษาดินแดนให้เราอิ่มหนำสำราญ    อย่าให้ลูกหลานภายหน้ามาชี้หน้าด่าป้ายหลุมศพของพวกเราเมื่อเวลาล่วงเลยผ่านไปนานแล้ว จะดีกว่าครับ


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 16:19:22


ความคิดเห็นที่ 15


เฮ้อ นั่นมันปีอะไร เเล้วนี่ปีอะไรครับ

เเล้วหลุมใครครับ ใครไม่ได้พยายามครับ  ก็หลุมคนที่พยายามรักษาไว้นั่นเเหละครับ ไม่ใช่หลุมผม หรือหลุมคุณหรอก ไม่เห็นเหรอครับตายกันทุกวัน

 

เเยกประเด็นคุยเถอะครับ การพัฒนากองเรือ กับชายเเดนใต้  

ใครเริ่มสงครามก่อนก็เสียเปรียบเเหละครับทุกวันนี้ ยิ่งถ้าบุกเขาเขตเราเเล้ว ไม่ต้องกังวลลิมิตการตอบโต้

สู้ปล่อยกัดกินเราทีละนิดไม่ดีกว่าหรอครับ ปัญหาเขากับชาติอื่นอีก 

 

 

 

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 19/04/2012 16:52:34


ความคิดเห็นที่ 16


ครับ มาเลย์เซียอยากได้พื้นที่สี่จังหวัดทางใต้ของเราแน่ๆ และก็รู้ๆกันอยู่ว่าผลประโยชน์ตรงนั้นมีมหาศาลไม่ใช่แค่ทรัพยากรธรรมชาติแต่เป็นเรื่องของการสร้างเส้นทางเดินเรือใหม่ซึ่งตรงนี้สิงค์โปร์ย่อมไม่ยอมให้เกิดขึ้นแน่ๆ อย่างเช่นที่สิงค์โปร์เข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจมากมายในไทยชนิดที่เขาสามารถล้มเราได้หากจะทำ อันเป็นสิ่งที่ทำให้โปรเจคคลองคอดกะของเราไม่เกิดเสียที

ทีนี้ถ้าหากจะพูดถึงเรื่องกองกำลังทางเรือของเรา ก็ต้องยอมรับว่าเขานำเราไปเยอะเหมือนกัน ถ้าจะไล่ตามก็ต้องไฟเขียวกันสุดๆ ซึ่งผมมองว่าถ้าเราสามารถจัดหายุทโธปกรณ์ได้ตามที่วางแผนไว้ก็ยังไม่น่าจะถูกทิ้งห่างมากนัก จะมีก็แต่เรือใต้น้ำนี่แหละที่ดูจะเป็นจุดอ่อนของเรา ถ้าภายใน 10 ปีเรือดำน้ำยังไม่เกิดแล้วเขาขยับเป็น 4 ลำ อันนี้ล่ะน่ากลัว ส่วนเรือผิวน้ำก็หวังว่าเราน่าจะมีโอกาศสอยคอนเทนเนอร์มือสองไม่ต่ำกว่าสี่ลำแต่ใจจริงอยากให้เป็นเรือใหม่ฟูลออฟชั่น 4 ลำมากกว่า เพราะไหนๆ u 206 ก็โดนเบรคหัวทิ่มไปแล้ว ก็ขอเรือผิวน้ำให้มันดุๆหน่อย เรือดำน้ำก็รอซื้อเรือใหม่ๆเช่น A26 ไปเลย

โดยคุณ Fsas เมื่อวันที่ 19/04/2012 17:13:14


ความคิดเห็นที่ 17


ส่วนตัวผมเห็นด้วย กับ @parachutes นะครับ 

สำหรับผมมองว่าการจะรบกันไม่ใช่อยู่ๆ จะมารบกันแบบจัดชุดใหญ่มาเหมือนสมัยก่อนแล้วครับ ส่วนใหญ่ถ้ามีปัญหากันก็เล่นกันตรงบริเวรชายแดนกันซ่ะมากกว่าครับ ดูอย่างอิสราเอล กับ ปาเลสไตน์ สิครับ โกรธเคืองกันตั้งแต่ชาติปางก่อน ยังจำกัดวงอยู่แถวบริเวณชายเดนเลยครับ หรือไม่ก็กรณีเรากับเขมร ก็มีเขาพระวิหารเป็นจุดเริ่มต้น

แต่พอมามองเรากับมาเลย์ผมก็ยังมองไม่เห็นว่าจะมีเหตุอะไรที่จะต้องเป็นกังวล ในส่วนเรื่องของ 3จังหวัดชายแดนใต้นั้นที่หลายคนกลัวว่าจะเป็นแบบติมอร์ตะวันออก แต่ผมคิดว่าจุดแตกต่างสำคัญเลยที่สามจังหวัดชายแดนใต้จะเป็นแบบติมอร์ได้ยากนั้นก็คือ คนที่อยู่ใน 3 จังหวัดครับ เพราะอย่าลืมว่าภาคใต้เราไม่ได้มีแค่อิสลามล้วนๆ นะครับ ยังมีชาวไทยพุทธ และไทยอิสลาม อยู่ด้วยเป็นจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการแบ่งแยกดินแดน และคนต้องการแบ่งยังมีอยู่น้อยมากเกินไปที่จะทำการปฏิวัติเพื่อจะแบ่งดินแดนได้

ส่วนการเสริมกำลังทางเรือผมมองเป็นเรื่องธรรมดามากครับ ตอนเราซื้อ รล.จักรีฯ มาเพื่อนบ้านก็ระแวงเราไม่ต่างอะไรกับเราในตอนนี้หรอกครับ

และอีกอย่างมันก็เป็นเรื่องปกติของประเทศที่มีพื้นที่แยกเป็นเกาะ หลายเกาะอยู่แล้วอย่างมาเลย์ อินโด ฟิลิปปินส์ ที่ต้องมีกำลังทางเรือมากว่าประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดอยู่ติดกับแผ่นดินใหญ่ เพื่อป้องกันน่านน้ำที่มีบริเวรกว้าง หยั่งอินโดเนี้ยก็จะเน้นไปทางกองทัพเรือ กับกองทัพอากาศซึ่งมารัศมีการป้องกันได้ไกลและดีกว่าการใช้กองทัพบกครับ ส่วนไทยเรานั้นมีพื้นที่ที่จะต้องใช้ทั้ง 3 เหล่าทัพในอัตราที่พอๆกัน แต่จะเน้นไปทางกองทัพบกมากกว่า ทำให้เม็ดเงินที่จะใช้ในการซื้อยุทโธปกรณ์ใหม่ๆ จะไปเน้นไปที่กองทัพบก มากกว่ากองทัพอื่นๆครับ 

ฉะนั้นแล้ว ผมว่าที่มาเลย์ซื้อเรือเพิ่มคงไม่ได้เอามาตีกับเราหรอกครับ คงจะเอาไว้เสริมทัพขู่ จีน และคู่แค้นหยั่งสิงคโปร์กับอินโดมากกว่าครับ

นอกเสียจากว่าเราจะไปพบบ่อน้ำมันขนาดใหญ่บริเวณ 3 จังหวัดช่ายแดนใต้ หรือไม่ก็เจอในบริเวณพื้นที่ทับซ้อน (อิอิ คิดเล่นๆ ครับ)

นานๆ ทีจะเหลาเยอะขนาดนี้ครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 19/04/2012 18:24:13


ความคิดเห็นที่ 18


ถ้ามาเลย์จัดหาเอาไว้คานกับจีนจริง คิดอีกแง่ ถึงตอนนั้นเราอาจมีของดีคาราถูกจากพี่จีนไว้คานมาเลย์ก็ได้

โดยคุณ aunna เมื่อวันที่ 19/04/2012 19:03:07


ความคิดเห็นที่ 19


      

          ขอบคุณครับสำหรับข่าวเรื่องที่ทร.มาเลย์ยกเลิกการจัดหาเรือฟรีเกตชั้น ลิเคียว  บาร์ท สอง     ผมตกข่าวเอง        เหตุผล คือ  เนื่องจากทร.มาเลย์ขาดเงิน   เพราะต้องการเอาเงินไปถมเรือดำน้ำทั้งสองลำจริงๆครับ    นอกจากนี้ทร.มาเลยบอกว่าต้องการเรือที่มีขนาดใหญ่กว่าเรือชั้นลิเคียวด้วยครับ   จึงเป็นที่มาของเรือชั้น  ลักษมาณา (Gowind)  ทั้ง 6 ลำ ครับ  

     

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:03:53


ความคิดเห็นที่ 20


Royal Malaysian Navy selects DCNS Gowind corvette for its Littoral Combat Ship (LCS) program
 
The Gowind frigate, designed by French company DCNS, has been selected for the Royal Malaysian Navy’s Littoral Combat Ship (LCS) programme. However, the contract for building the six ships remains on hold due to disagreements between the builder, Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd (BNS), and the end user RMN, according to people familiar with the programme.

One of the key sticking points is BNS and DCNS’s insistence that the ships adopt the SETIS combat management system (CMS) designed by the French company.

RMN instead wants another system developed by Thales, the Tacticos, being integrated into one of its vessels, KD Kasturi.

The navy had hoped to reduce the number of CMS in its fleet to reduce training and support issues. RMN chief Tan Sri Abdul Aziz Jaafar told theSun yesterday that the government had chosen the Gowind design for the LCS programme.

He declined to confirm or deny speculation that the contract would only be signed when the RMN was satisfied that its requirements were met. He, however, confirmed most of the specifications for the ship had been finalised.
     
The Gowind frigate, designed by French company DCNS, has been selected for the Royal Malaysian Navy’s Littoral Combat Ship (LCS) programme. However, the contract for building the six ships remains on hold due to disagreements between the builder, Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd (BNS), and the end user RMN, according to people familiar with the programme.
DCNS Gowind range of corvettes
(picture: DCNS)
     
BNS managing director Tan Sri Ahmad Ramli Mohd Nor, however, denied the delay was due to disagreement with the end user.

“It is up to the government. We are ready to go forward,” said Ahmad Ramli, a former RMN chief.

Despite the delay, BNS is displaying a model of the Gowind frigate at the Langkawi International Maritime Aerospace exhibition here. The frigate is 107m-long with a displacement of 2,750 tonnes.

It will be armed with a 57mm gun, surface-to-air missiles and torpedoes. With four diesel engines, the ship will have a top speed of 29 knots. theSun had reported on Tuesday that the widely speculated deal for six LCS would be delayed until next year.
     
The Gowind frigate, designed by French company DCNS, has been selected for the Royal Malaysian Navy’s Littoral Combat Ship (LCS) programme. However, the contract for building the six ships remains on hold due to disagreements between the builder, Boustead Naval Shipyard Sdn Bhd (BNS), and the end user RMN, according to people familiar with the programme.
DCNS Gowind "Combat" class scale model shown during Navdex 2011
(picture: Navy Recognition)
     
A report published in the Janes Defence Weekly stated that the Malaysian government was likely to postpone defence procurement in view of the general election, which could be held early next year.

The LCS contract has been in news since February after Defence Minister Datuk Seri Ahmad Zahid Hamidi announced that the government had awarded BNS a RM6 billion contract to build six LCS or Second Generation Patrols Vessels for the RMN.

The announcement caused an uproar as critics claimed the price of the ships were inflated.
From: The Sun Daily
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:16:33


ความคิดเห็นที่ 21


การจัดหาครั้งนี้ น่าจะเป็นเรือลักษณะ LCS

ส่วน OPV ตามโครงการ 27 ลำ อาจจะยังคงเหมือนเดิมครับ...เพราะ มาเลเซีย มีการแยก MMEA กับ กองทัพเรือ ออกจากกันครับ...

LCS นี้...ผมขอเดาว่า จะมาแทนเรือ OPV ก่อนหน้านี้ครับ....

ส่วน OPV ชั้น MEKO100 อาจจะโอนไป MMEA...

 

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:20:47


ความคิดเห็นที่ 22


แผ่นภาพตามกระทู้เก่า ที่เคยจัดทำไว้ครับ

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:23:22


ความคิดเห็นที่ 23


แผ่นภาพกองทัพเรือปัจจุบัน ลองเปรียบเทียบกับในอนาคต ตามกระทู้บนครับ

 

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:27:50


ความคิดเห็นที่ 24


    ในมุมมองผมนะท่าน  parachutes           ถึงแม้ว่า พศ. จะต่างกันอีก 8 ปี   แต่เรือรบไม่ใช่ขนมครับที่จะเดินไปซื้อที่ 7-11 หน้าบ้านได้เมื่ออยากจะได้   2-3 ปี กว่าจะต่อเสร็จ  เรือที่มาเลย์จะต่อใหม่ทั้ง 6 ลำกว่าจะต่อและปล่อยลงน้ำครบยังต้องคาดการณ์ว่า 8 ปี        และไอ้ที่ยากกว่าการซื้อเรือนั้นก็คือการฝึกบุคคลากรครับ    กว่านายทหารเรือแต่ละคนจะมีความสามารถควบคุมเรือและระบบอาวุธที่ได้รับมาใหม่    ใช้เวลาหลายปี     เอางี้ มีคนโยนปืนไรเฟิลชั้นเยี่ยมให้คุณไปรบกับคู่ต่อสู้ที่ถือ อาก้าเก่าๆ  แต่ผ่านการฝึกและการรบมาเยอะ   คุณคิดว่าคุณจะชนะเขาหรือ      

     ผมไม่รู้นะว่าใครจะคิดอย่างไร    แต่ถ้าไม่พร้อมแบบเขมร   รับรองว่าเราคงมีหลุมศพคนของเราหลายร้อยหลุมหรือนับพันหลุมแบบเขมรและอินโดนีเซียแน่ๆ   ถึงเวลานั้นจะมาดิ้นเร่าโกรธแค้นด่าทอเพื่อนบ้านไปก็ไม่มีประโยชน์    น้ำตานองหน้าไปก็เท่านั้น    ทำไมเมื่อมีเวลาและเงินกับความพร้อมมีอยู่ไม่คิดจะเตรียมตัวไว้ก่อน    พอถึงเวลาดิ้นเร่าๆ        และถ้าไม่ผิดพลาดอะไร  ลูกชายผมก็คงต้องไปนั่งเฝ้าชายแดนในอีกสัก 10-12 ปีข้างหน้า     แน่นอนว่าถ้าต้องรบกับมาเลย์เหมือนที่รบกับเขมรจริงๆ    ไม่รู้ว่าลูกผมต้องไปนอนในหลุมหรือเปล่าเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของคนรุ่นพ่อ    ถ้าวันข้างหน้าลูกหลานคุณๆต้องไปรบกับข้าศึกที่อาวุธพร้อมกว่า    คุณจะรู้สึกอย่างไร     ญาติๆของทหารเขมรนับหลายร้อยชีวิตที่ต้องตายไปเมื่อคราวล่าสุดจะคิดอย่างไร   ญาติผู้ตายในสงคราม มาเลย์-อินโดนีเซีย  ที่ต้องตายเกือบพันจะรู้สึกอย่างไร     คิดเอาเองดูแล้วกันครับ


      

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:28:41


ความคิดเห็นที่ 25


Sabtu, Oktober 30, 2010

Malaysia Will Make Six Littoral Combat Ship in The Next 10 Years

 

 
The Malaysian Inshore Patrol Vessels or batch Littoral Combat Ship program

Kuala Lumpur: Malaysian government announced that it will build the new six coastal patrol boats in the 2011-2015 period.

Malaysian Ministry of Defence in the House of Lords yesterday to answer questions raised by Tunku Abdul Aziz, said that the Ministry has been under the 10th Malaysia Plan to include the first two batches of coastal patrol ship construction program.

"Department of Defense plans to Po, the actual (Boustead) construction of a further six shipyards, the construction period will last until the 11th Malaysia Plan. The new ships will have a three-dimensional combat capability."

Department of Defense announced the consolidation of the Po, the actual shipyards continue to be a coastal patrol vessel contractor status. The first two batches of inshore patrol vessels, or now renamed the construction of Littoral Combat Ship program, Defense Department did not give any explanation, but said the new ship will have 3D capability.
 
Germany TKMS Malaysia next generation combat ship design called "MEKO 100 patrol frigate" (photo : KLSReview)

In addition, Germany and Turkey Shipbuilding in LIMA 2009 to present the Malaysian government during the first two batches of the new inshore patrol vessel program, the Littoral combat ship will use the technology in Germany or Turkey, but also to be explored.

In addition, the Defense Ministry said that according to the Government in 1995 and "cooperation Penang Shipbuilding - Naval Dockyard" (PSC-ND), or now known as Po, the actual Naval Shipyard (BNS), signed the memorandum, the authorities hope that the company commissioned the construction of 27 navy patrol vessels.

"The number 27 is considered the navy to patrol over to the Malaysian maritime enforcement agencies (MMEA) and the upcoming annual session in 2015, age 45 years, the fast attack submarine ship factors."

Ministry of Defence said today, the number 27 is still valid, but ultimately depends on the number of warships in the construction of the Government of Malaysia for each 5-year plan to develop the budget allocation.
โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 19/04/2012 23:36:03


ความคิดเห็นที่ 26


อีก 3ปีจะกระโดดกอดคอซบใหล่กันแล้วนะครับ ต่างคนต่างกำลังจ้องดูทางนี้กันมากกว่า ประเด็นอื่นเอาใว้หลอกล่อ

แถบนี้ใครๆก็มีใว้เพื่อให้อุ่นใจเท่านั้น ก็คงจะคานทางสิงคโปร์ซะมากกว่า ของหนักๆทั้งนั้น แถมมีสัมพันธ์ที่ดีกับไทยด้วย

ทัพเรือเรามีทัพอากาศเสริม ลูกร่อนยาวๆของสวีเดนเราก็มี รอแค่ครบ12ลำ อีกปีสองปี ชุด รล.นเรศวร ก็คงอัพเกรดเสร็จ

OPV อีก6ก็จัดmm-40/c-802/harpoon II ลูกยาวไปเลย ..


โดยคุณ fantom เมื่อวันที่ 20/04/2012 00:20:16


ความคิดเห็นที่ 27


ใช่ครับท่าน juldas ในปี 2010 ความตั้งใจของ RMN เป็นตามนั้นจริง แต่จากปัญหาของเรือในชุดแรกซึ่ง Commissioning ช้ากว่าแผนไปถึง 18 เดือน มีปัญหาทางเทคนิคตามมาเยอะ บวกกับค่าใช้จ่ายที่บานปลาย ทำให้ RMN ไม่ค่อยเชื่อมั่นเยอรมันเหมือนเดิมแล้วครับ โดยเปลี่ยนใจไปมองหาแบบเรือ ที่ก้าวหน้ากว่าแบบ Meko A-100 ซึ่งก็คือ Growing และจริงอยู่ว่าสัญญาของ Meko A-100 นั้นจะจัดหาเริอ 27 ลำในระยะเวลา 10-16 ปีโดย ลงนามในปี 2000 (ซื้อ Batch แรก 6 ลำรวด) ซึ่งปัจจุบันก็เลยมากว่าครึ่งทางแล้ว แต่ยังมีเรือไม่ถึงครึ่งหนึ่งของที่ตั้งใจไว้เลยครับ โดยเรือของ Batch แรกลำสุด ท้าย Commissioning เสร็จในปี 2010 แต่หลังจากข่าวนั้นในปี 2010 มา ก็ไม่การตัดสินใจสร้าง Meko A-100 เพิ่มเติมแต่อย่างใดเลยครับ พอยิ่งได้มาทราบข่าวนี้ว่าจะจัด Growing 6 ลำรวด(อีกแล้ว) โดยเป็นการทุ้มงบประมาณจำนวนมากมายขนาดนั้น ก็ยิ่งทำให้ผมคิดว่า เป็นการยืนยังถึงการเปลี่ยนใจ จาก MEKO A-100 ไปหาแบบเรือที่ใหม่กว่า ใหญ่กว่า เสตลธ์ดีกว่า อย่างแน่นอนแล้วละครับ โดยคงจะโยกงบที่ตั้งใจจะซื้อ Meko A-100 เดิมมาลงที่นี่ทั้งหมดครับ
โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 20/04/2012 00:47:35


ความคิดเห็นที่ 28


กำลังดูว่ากระทู้จะออกทะเลไปไกลรึเปล่าฮ่าๆ ยังดีที่มีคนพากลับเลยได้อ่านอะไรดีๆต่ออิๆ

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 20/04/2012 02:36:28


ความคิดเห็นที่ 29


ชั้น Kedah น่าจะเป็นอุตสาหกรรมต่อเรือภายในประเทศครับ...ถ้าจำไม่ผิด 4 ลำหลัง จะต่อที่อู่ของ ทร.มาเลเซีย ครับ...

ซึ่ง OPV ที่ ทร.มาเลเซ๊ย ต้องการจำนวน 27 ลำ นั้น น่าจะรวมถึงที่ต้องประจำการใน MMEA ด้วยครับ...

ผมเลยมองว่า Gowing นี่ น่าจะมาแทน ชั้น Kedah ส่วนชั้น Kedah ทั้งชุด น่าจะโอนไป MMEA...ซึ่ง MMEA ต้องการเรือขนาดใหญ่ จำนวน 10 ลำ...ก็จะทำให้ มาเลเซ๊ย ต่อเรือเพิ่มอีกเพียง 4 ลำ....

ก็จะทำให้ในส่วนของ กองทัพเรือมาเลเซีย ในปี 2020

ทร.มาเลเซ๊ย จะมีจำนวนกำลังทางเรือเท่าเดิม แต่มีศัภยภาพเพิ่มขึ้น โดยจะมีเรือดำน้ำเพิ่มขึ้น อีก 2 ลำ และเรือ LST อีกจำนวน 2 ลำ ซึ่งตามข่าว ก็น่าจะเป็นเรือชั้น Dokdo ซึ่งขณะนี้ ทร.มาเลเซีย ยังขาดแคลนเรือยกพล และยุทธบริการ อยู่มากครับ...(ตามแผ่นภาพครับ)

ส่วน MMEA ก็จะมีเรือ OPV ใกล้เคียงกับเป้าหมายสำหรับเรือขนาด 80-85 ม. คือจะมีขั้นต่ำ 8 ลำ ซึ่งถ้า มาเลเซีย ต่อเรือเพิ่มจากอุตสาหกรรมในประเทศ อีก 4 ลำ...ถ้าปลดเรือเก่าจำนวน 2 ลำ ออก ก็จะมีเรือครบจำนวน 10 ลำ ตามเป้าหมายโครงการที่วางไว้

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 08:41:28


ความคิดเห็นที่ 30


ซึ่งเรือชั้น MEKO 100 ผมคิดว่า อาจจะไม่ได้เป็นปัญหามากนัก...

แต่จะเป็นปัญหาของเรือดำน้ำชั้น สกอร์ปิเน่ ของ มาเลเซ๊ย ครับ...

เพราะเรือ OPV batch II นี้...ทร.มาเลเซีย ต่อการการใช้รบร่วมระหว่าง เรือดำน้ำ ครับ...ซึ่ง MEKO100 อาจจะมีปัญหาเรื่องการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเรือดำน้ำ กับ เรือ NGPV...สุดท้าย เลยต้องเลือก เรือจากฝรั่งเศส ครับ...

สังเกตุเป้าหมาย การต่อต้านและปราบเรือดำน้ำ ของ มาเลเซีย นะครับ...

เรือดำน้ำ ชั้น สคอร์ปิเน่ จาก ฝรั่งเศส

เรือผิวน้ำต่อต้านเรือดำน้ำ Growing จาก ฝรั่งเศส

เฮลิคอปเตอร์ประจำเรือ EC-275 จาก ฝรั่งเศส

ทั้ง 3 แบบ รวมกัน จะมีระบรบบร่วม Data Link หรือ Network Anti Submarine

อนาคต ทร.มาเลเซ๊ย อาจจะเป็น กองทัพเรือ ที่มี ศักยภาพ อันดับ 1 ในสงครามต่อต้านและปราบเรือดำน้ำ ในภูมิภาค ASEAN ก็เป็นได้ครับ....

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 08:56:29


ความคิดเห็นที่ 31


สคอร์ปิเน่ จะเป็น หน่วยค้นหา ล่า และทำลาย

Growing จะเป็น หน่วยเสริม ป้องกันภัยทางอากาศให้กับ สคอร์ปิเน่ และป้องกันเรือรบผิวน้ำต่อต้านเรือดำน้ำของฝ่ายตรงข้าม ให้กับ สคอร์ปิเน่ ในขณะเดียวกัน ก็สามารถปราบเรือดำน้ำ ด้วยตอร์ปิโดประจำเรือ หรือ ส่ง ฮ.ประจำเรือ หย่อนตอร์ปิโด

EC-275 จะเป็น ตา ให้กับ กองเรือ และเป็นการต่อระยะปราบเรือดำน้ำให้กับ เรือรบผิวน้ำ และอาจจะเป็น หน่วยสนับสนุน ทางอากาศให้กับเรือดำน้ำ สคอร์ปิเน่

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 09:11:30


ความคิดเห็นที่ 32


ความเห็นส่วนตัว เรื่องการปราบเรือดำน้ำ ของ ทร.มาเลเซีย จะมีระบบร่วมรบ Network Anti Submarine คือ

ระบบค้นหาและทำลายเรือดำน้ำ จากบนผิวน้ำ ด้วยเรือชั้น Growing (LCS)

ระบบค้นหาและทำลายเรือดำน้ำ จากใต้น้ำ ด้วยเรือชั้น Scorpine

ระบบค้นหาและทำลายเรือดำน้ำ จากอากาศ ด้วย ฮ. EC-275

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 09:16:02


ความคิดเห็นที่ 33


Network tracking Anti Submarine

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 11:25:36


ความคิดเห็นที่ 34


    โอ้วว......ขอบคุณครับป๋าจูล   ผมมองไม่เห็นจริงๆว่าทำไมมาเลย์ต้องซื้อเรือของฝรั่งเศสแทนที่จะเป็น MEKO-A200    ยอมรับว่านึกไม่ถึงว่าทร.มาเลย์คิดการณ์ไกลวางแผนมาดีเยี่ยมในเรื่องระบบ  Network Anti Submarine    ทำให้นึกถึงทอ.ของเราที่จะพยายพัฒนาระบบ   network  ที่ดีขึ้นมาเช่นกัน   จึงเป็นที่มาของ Jas-39  SAAB -340   ระบบเชื่อมต่อข้อมูลและบังคับบัญชาภาคพื้นดิน  

    อืมมม.....ต้องยอมรับครับว่าคนของทร.มาเลย์มองการณ์ไกลจริงๆ 

ผมกลัวว่าเมื่อถึงเวลาที่เขาวางระบบ  network anti submarine แล้วเสร็จ      คราวต่อไปเมื่อจัดหาเรือ Dokdo ทางเขาอาจจะเริ่มโครงการพัฒนาขีดความสามารถทางด้านการรบผิวน้ำและการใช้กำลังทางอากาศนาวีที่เป็นระบบอีกเช่นกันนี่สิ     เรือ Dokdo จัดซื้อมาในงบของเรือ LST ผมว่าเป็นการอำพรางวัตถุประสงค์ที่แท้จริง       เพราะเราเองก็จัดหาจีกรีโดยใช้งบเเรือบรรทุกฮ.  เพื่ออำพรางวัตถุประสงค์แท้จริงเช่นกัน     

     สังเกตไหมครับว่าเขาวางระบบเครือข่ายของอาวุธเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพทีเดียว   ปี 2020 ระบบของกองเรือดำน้ำของเขาก็จะพัฒนาแล้วเสร็จ     วันที่ดึงแผนจัดซื้อ Dokdo มาเริ่มทำนี่ผมหนาวๆร้อนๆครับ     Dokdo ไม่ใช่ LPD เท่านั้น    มันถูกออกแบบก้ำกึ่งระหว่างเรือบรรทุกบ.สกีจัมพ์และ LPD     เพื่อเป็นหลักไมล์ต่อระยะสำหรับการพัฒนา  KCV-X  ที่จะต่อ 2 ลำ  

   ใครว่ามาเลย์เขากิ๊กก๊อกและไม่อันตราย    ขอบอกว่าไม่จริง   

ควรถึงเวลาของทร.และทอ.ไทยเราบ้างซะทีนะครับในการวางระบบที่ดีมากๆแบบนี้


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 12:51:52


ความคิดเห็นที่ 35


    อ้าวรูป KCV-X ไม่มา   ลองอีกที    แบบหนึ่งจะหน้าตาเหมือน Dokdo ขยายแบบมากทีเดียว    ส่วนอีกแบบเป็น CATOBAR ครับ

      ถือว่าการวางแผนซื้อ  Dokdo ของเขามีมุมมองในการจัดหาชมเชย



โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 12:58:16


ความคิดเห็นที่ 36


สำหรับ Dokdo ถ้า มาเลเซีย จัดหามาจริง ๆ ผมยังมองว่า น่าจะเน้นเป็น LPD หรือ เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์อยู่ครับ...
เพราะ กองทัพเรือมาเลเซีย ไม่มี กองบินปีกตรึง 

อากาศยานแบบปีกตรึง อยู่ใน สังกัด กองทัพอากาศทั้งหมด ยกเว้น MMEA ครับ ที่มี CL-415 ยกเว้น มาเลเซีย เปลี่ยนแปลงรูปแบบ คือ ให้ กองทัพเรือ มี อากาศยานปีกตรึง ประจำการ

ผมคิดว่า มาเลเซีย คงยังมอบหน้าที่ อากาศยานต่อต้านเรือผิวน้ำ และป้องกันภัยทางอากาศ ในทะเล ให้กับ F/A-18D...

และในอนาคตอันใกล้ MMEA มีโครงการจะสร้างสนามบินเพิ่มเติม โดยเฉพาะบนฝั่งที่ติดกับประเทศบรูไน อินโดฯ...

ซึ่งถ้าในอนาคต สมมติ กองทัพอากาศมาเลเซีย ตัดสินใจ จัดหา ราฟาล หรือ Jas-39 มาเพิ่มเติม...

ก็คงอาจจะมอบหมายหน้าที่ การป้องกันภัยทางอากาศ สำหรับกองเรือ ให้กับอากาศยานดังกล่าว ที่น่าจะสามารถใช้สนามบินของ MMEA และเชื่อมโยงข้อมูลทางสงครามแบบ Network ร่วมกับ กองทัพเรือได้...ในกรณี เกิดความขัดแย้งในบริเวณหมู่เกาะ สแปชรี่ย์

Gowind (LCS) + Scorpine + EC-275 ต่อต้าน China Submarine

Gowind (LCS) + Rafale or Jas-39 or Typhoon ต่อต้าน J-15 China Aircraft Carrier

Scorpine + Su-30 MKI ต่อต้าน China Aircraft Carrier

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 13:38:57


ความคิดเห็นที่ 37


ผมว่าการที่ประเทศอย่าง มาเลย์ สิงคโปร์ ลงทุนกับกองทัพเรือและอากาศมากกว่าไทยก็ดูเป็นเรื่องธรรมชาตินะครับ เพราะของเขาแทบไม่มีชายแดนที่เป็นบก ที่ติดต่อกับประเทศเพื่อบ้านมากเหมือนเรา (แต่ก็น่ากลัวอยู่ดิแหละวะ)

ส่วนตัวผมอยากให้กองทัพเราลดกำลังพลลง และทดเเทนด้วยเทคโนโลยี่และอาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่า ซึ่งก็ดูเหมือนจะเป็นเทรนด์ของกองทัพสมัยใหม่

อย่างการตั้งกองพลต่างๆ ใหม่ ผมไม่แน่ใจว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะเห็นว่ากองเดิมๆ ยังขาดๆ อยู่เลย แล้วการตั้งกองพลใหม่ก็จะทำให้ต้องการเพิ่มกำลังพล(ซึ่งหมายถึงค่าใชัจ่าย) ขณะที่ยานต่างๆ ในกองพลเดิมยังไม่เต็มอัตรา

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 20/04/2012 14:17:46


ความคิดเห็นที่ 38


neosiamese2   คุณจะระบายกับผมไม่ก็ไม่มีประโยชน์ะไรหรอกครับ โน่น ตะโกนใส่คนมีอำนวจตัดสินใจสิครับ คนที่ไม่ปล่อยให้มีเรือดำน้ำ คนที่บอกว่ากลัวว่าเพื่อนบ้านจะระเเวง 

ไม่ใช่ผมจะขวางการพัฒนากองทัพนะครับ ใจผมก็อยากให้เราพัฒนากว่าที่เราเป็น เเต่เห็นการบริหาร การจัดการ มันก็รู้คำตอบของอนาคตเเล้วครับว่าต่อไปเราคงตามหลังเขาเเน่นอน 

ถ้าสมมติมีอาวุธทันสมัยเเล้วจะมีประโยชน์อะไร คุณจัดการกับศึกในประเทศรึยังครับ รบกับเขมรยังด่ากองทัพกันอยู่เลย การจัดการเเนวหน้าก็ยังมีปัญหา การเคลื่อนย้ายผูู้ป่วย มันสะท้อนถึงความพร้อมพอสมควร เเก้ไขปัญหาที่มีอยู่ก่อน อย่าเพิ่มปัญหาใหม่เข้าไป ดีที่สุดครับ 

ความขัดเเย้งระหว่างขั้วความคิด ขั้วกลุ่มก้อน ทั้งในกองทัพ เเละผู้บริหาร ก็เป็นกันมาเเต่ก่อนโน้น ขัดเเข้งขัดขากันจนการพัฒนาหลายๆด้านเป็นไปอย่างล่าช้า หรือหยุดชะงัก

 

เหอๆ สรุปสั้นๆ เลยนะครับ  รับกรรมกันไปครับ ร้องไห้กันไป สูญเสียกันไป ทำไงได้ ครับ คุณไม่ต้องรอให้ถึงวันนั้นหรอก สามจังหวัดชายเเดนใต้ก็เห็นกันอยู่เเล้วความจริงใจในการเเก้ปัญหา มีเป็นพักๆ ตามความรุนเเรงของเหตุกาณ์ เทคโนโลยีที่ควรจะเสริมเข้าไป  กลับไม่ทำให้เต็มที่เท่าที่ควร บอลลูนเอย จีที เอย  แย่ครับ  ปลงครับ พูดตรงๆ ...

ผมว่าหลายคนที่ติดตามก็รู้อยู่ว่าปํญหามันมากมาย แต่เขาก็ไม่โวยวาย ไม่ตื่นเต้น อาจเพราะคงเข้าใจดีในระบบการบริหารของบ้านเรา

 

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 20/04/2012 15:22:20


ความคิดเห็นที่ 39


สนามบินในอนาคตของ MMEA ในซีก รัฐซาราวัค ของ มาเลเซีย

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 20/04/2012 16:00:09


ความคิดเห็นที่ 40


ดูภาพด้านบนของป๋าจูแล้วก็ให้เข้าใจว่าทำไมมาเลย์ถึงต้องขยายความสามารถของกองเรือมากมาย ความเป็นประเทศอกแตกมีทะเลกั้นกลางหากโดนปิดน่านน้ำ ตัดขาดกับแผ่นดินใหญ่คงลำบากมากสมมุติว่ามีเรือดำน้ำของจีนมาป้วนเปี้ยนอยู่บริเวณนั้นลำพังกองเรือที่มีของมาเลย์คงไม่อาจดูแลได้ทั้งหมดเพราะถ้าเทียบกับพื้นที่ ยังถือว่าเล็กมากแถมเป็นทะเลเปิด อย่างนี้มาเลย์คงอยากให้อาเซียนเข้ามาช่วยด้วยมากกว่าในการจะคานอำนาจกับจีน ในกรณีพื้นที่พิพาท คงไม่มาหาเรื่องทะเลาะกันเองจะกลายเป็นเข้าทางจีนซะมากกว่า

  ส่วนสิงคโปร์นี่น่าจะลอยตัวค่อยๆขยับก็ได้ ในขณะที่บ้านเราคงต้องเตรียมคำตอบไว้เหมือนกันถึงไม่ใช่คู่กรณีโดยตรงแต่ยิ่งเราเริ่มหันไปพึ่งจีนมากขึ้นจะทำให้เราวางตัวในอาเซียนลำบาก

 

โดยคุณ hinnoi เมื่อวันที่ 20/04/2012 16:40:45


ความคิดเห็นที่ 41


อันดับแรกต้องขอขอบคุณป๋าจูลในเรื่องรายละเอียดต่างๆของข้อมูลในเรื่องนี้ครับ      ผมนำเสนอไม่เก่ง      ผมได้แค่จำข้อมูลโดยหลักภาพใหญ่แล้วนำข้อมูลต่างมาตีค่าแล้วเอาจิ๊กซอร์ของข้อมูลมาสร้างภาพให้เห็นออกมา     เมื่อเห็นความผิดปกติก็เลยพยายามบอกกล่าวให้เพื่อนๆสมาชิกท่านอื่นทราบ       แต่การนำเสนอของผมแย่   โดยเฉพาะข้อมูลในรายละเอียด    ตารางค่าต่างๆ   ภาพ    และบทความข่าว  นี่ผมแทบไม่ได้ save เก็บเอาไว้เป็นหลักฐานใดๆเลย      ดังนั้นความน่าเชื่อถือของข่าวสารและการนำเสนอจึงลดลงไปมากแทบจะกลายการเป็นเพ้อเจ้อ       ไม่ได้ป๋าช่วยในส่วนพวกนี้ผมแย่ๆแน่ๆ

                    ท่าน hinnoi  เข้าใจในประเด็นเรื่องความจำเป็นที่มาเลย์ต้องสร้างทัพเรือขนาดนี้ได้ถูกต้องครับ     แต่ในรายละเอียดด้านอื่นมีมากกว่านั้นจะพยายามบอกเล่าให้ฟังครับ 

           จากภาพของป๋าจูล    แผนที่ประเทศมาเลย์    จะเห็นว่าเป็นประเทศอกแตกครับ     มีทะเลขวางกั้น    ความมั่งคั่งรุ่งเรืองของเขามาจากทรัพยากรธรรมชาติในทะเลซะเกือบทั้งหมด    ซึ่งเทคโนโลยีปัจจุบันเพิ่งจะอำนวยความสะดวกแก่เขาในการนำเอาทรัพยากรเหล่านั้นขึ้นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้     สมัยก่อนเขาทำไม่ได้เพราะเทคโนโลยีไม่อำนวย       มาเลย์จึงเป็นรัฐยากจนไม่มีอำนาจไปทัดทานใครได้      

และจากทำเลที่ตั้งของประเทศเองก็อยู่ในจุดสำคัญเป็นอันดับสองรองจากสิงคโปร์ในเรื่องเส้นทางเดินเรือ    เขาจึงเริ่มมั่งคั่งมาจากสองสิ่งนี้ครับ  

                 การตัดคลองกระจะกระทบความมั่งคั่งที่สุดของเขาหนึ่งในสองอย่างแบบรุนแรง     

 

ลองลงภาพ KCV-X ที่ขยายแนนจาก Dokdo อีกครั้ง  ถ้าไม่ได้อีกก็ยอมแพ้แล้ว


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 19:28:30


ความคิดเห็นที่ 42


                              และเหตุผลอีกด้านที่ทำให้เขาต้องสร้างทัพเรือขนาดนี้    ก็มาจากประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของเขากับเพื่อนบ้านรอบๆตัว

               อับดับแรกสุด (ในมุมมองของเขา)  คือ  ความสัมพันธ์ระหว่างไทยเรากับเขาครับ      ถ้าใครเคยซื้อหนังสือประวัติศาสตร์มาเลเซียที่แต่งโดยคนมาเลย์และนำไปตีพิมพ์โดยชาวต่างชาติ   หรืออ่านบทความต่างประเทศเกี่ยวกับความมั่นคงของเขาแล้วต้องพาดพิงถึงเราแล้วจะเข้าใจมุมมองของเขาที่มีต่อเราทันทีครับ    แบบชัดเจนด้วย   

                     “ ขอบอกเลยครับว่าคนมาเลย์เกลียดและกลัวไทยเรามากที่สุดครับ ”         

ความเกลียดนี้ไม่ด้อยกว่าเขมรที่มีต่อเรานักหรอกครับ      เพราะแทบตลอดประวัติศาสตร์ของเขาอยู่ในสภาพเมืองขึ้นของเรามาตลอด    และเราเองก็ทำสงครามรบพุ่งบ่อย    พวกเขาจะอยู่ในสถาพถูกรีดไถเพื่อนำทรัพยากรไปใช้ในการสงครามระหว่างเรากับพม่าเนืองๆ(ตอนนั้นตรูจนจะตายอยู่แล้ว)       และเมื่อไหร่ที่แข็งเมือง   ทางเราก็จะลงไปกำราบแบบรุนแรงทุกครั้งไป        คนมาเลย์จึงชิงชังและหวาดกลัวคนไทยเรามาตลอดครับ      ต้องยอมรับครับว่าคนไทยเราสร้างรอยขมขื่นในประวัติศาสตร์ของเขามากที่สุดในบรรดาเพื่อนบ้านรอบตัวเขา       

      ช่วงที่ท่านชวลิตเป็นนายก  ท่านได้ขยายกำลังกองทัพออกไปโดยเฉพาะกำลังทางอากาศและทัพเรือ     ผมเข้าไปอ่านบทความเรื่องนี้ในข่าวต่างประเทศบ่อยๆ    และเมื่อใดที่ต้องพูดออกมาจากปากนักวิเคราะห์ทางทหารของมาเลย์ปั๊บ    อาการออกแบบน๊อตหลุดครับ     แม้ว่าการเสริมสร้างกองทัพของเรานั้นมุ่งเน้นไปที่เวียตนาม     แต่คนที่เต้นจนแทบบ้ากลับกลายเป็นมาเลยเซีย      ต้องบอกว่ากลัวจนจับจิตเลย (ไม่รู้ว่าบรรพบุรุษเราไปทำอะไรไว้บ้าง  แต่ท่าทางไม่โสภานัก)     

     เรื่องคราวล่าสุดนี้ทางเราต้องการตัดคลองกระ    เสริมทัพเรือเพื่อจุดประสงค์ป้องกันรักษาคลองกระ     แต่ไปกระทบต่อความมั่งคั่งที่สุดหนึ่งในสองอย่างของเขาครับ     และที่สำคัญดันไปกระตุ้นต่อมความกลัวของเขาด้วย     แค่กำลังทางบกก็หมดปัญญาแล้ว  นี่ยังต้องทัพเรือทัพอากาศอีก      ไม่ได้แล้วต้องทำอะไรสักอย่างแล้ว      นโยบายรัฐกันชนจึงถูกงัดมาใช้ครับ  

      ญาติที่เป็นนายทหารระดับนายพันบอกเล่ากับปากเองว่า   มาเลย์สนับสนุนแยก 3 จังหวัดชายแดนเพื่อสร้างรัฐกันชน        

คงไม่ได้สร้างเรื่องมาให้เราฟังแน่ๆครับ       ยิ่งประกอบกับข้อมูลที่เล่าให้ฟังข้างบนยิ่งชัดเจนครับ        เห็นเขาทำตัวเป็นพันธมิตรที่ดีกับเราตลอดประวัติศาสตร์      ไม่ใช่ว่าเขาจะปลื้มนะครับ (ใครจะปลื้มกับการรีดนาทาเร้น)    แต่ไม่มีทางเลือกต่างหากล่ะครับ          ดังนั้นใครที่มีความคิดว่าเราไม่ได้ไปทำอะไรเขาทำไมเขาต้องพุ่งเป้ามาที่เราด้วย      เหตุผลที่แสดงให้เห็นก็คือเรื่องนี้แหล่ะครับ      ลูกหลานของฝ่ายที่ไปกระทำเขาไว้มักจะไม่ข้าใจ        แต่ลูกหลานฝ่ายที่โดนกระทำจะได้รับบอกเล่าปากต่อปากถึงความเจ็บปวดให้คนรุ่นหลังได้จดจำกันไว้เสมอๆ

 

เอารูปสวยๆของ Dokdo ไปอีก

 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 19:34:00


ความคิดเห็นที่ 43


 ความสัมพันธ์อันดับถัดมาก็คงเป็นสิงคโปร์ กับเขา     เนื่องมาจากปัญหาเชื้อชาติที่รุนแรงในยุคต้นๆของการตั้งประเทศจนกลายเป็นสงครามกลางเมือง    และการสนับสนุนของพรรคคอมมิวนิสต์จากจีนแผ่นดินใหญ่     ประเทศมาเลย์แทบล่มสลายเลยครับตอนนั้น       คนจีนอพยพไปอยู่เกาะเล็กๆก็คือสิงคโปร์และเรียกให้นานาชาติช่วยเหลือ      แน่นอนครับว่าผู้ที่กระโดดออกมาคนแรกสุดก็คือจีน และอังกฤษ    โดยเฉพาะกับจีน      เจอแบบนี้หนาวสะท้านครับ     เกาะสิงคโปร์จึงหลุดออกจากการปกครองของเขา    สร้างรอยเจ็บแปล๊บๆให้แก่เขา (แต่ไม่ปางตายแบบไทยเราทำไว้)      

     การที่จีนขยายกองเรือออกมา    และการที่เราเพิ่มระดับความสัมพันธ์กับจีนมากขึ้น    ถึงขนาดที่ว่าอาจจะมีการฝึกร่วมกันแบบ cobra  gold  นี่สร้างความหวาดหวั่นให้เขามาก    เพราะถูกขนาบทั้งบนและล่างครับ   ทั้งไทยทั้งสิงคโปร์

 

            สุดท้ายก็คงเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเขากับอินโดนีเซีย     ดังที่บอกเล่าไปตอนต้นๆของกระทู้       มันหลีกลี่ยงไม่ได้น่ะครับ   เพราะตอนนั้นจะตั้งประเทศใหม่กัน       ไม่ขอกล่าวซ้ำ       แต่อยากบอกว่าคนอินโดนีเซียไม่ชอบคนมาเลย์นักเพราะคนมาเลย์มักจะดูถูกดูแคลนคนอินโดแบบที่ไทยดูถูกลาวนั่นล่ะ       ผมยังจำภาพข่าวตอนที่เขากระทบกระทั่งกันในเรื่องบ่อน้ำมันมื่อไม่กี่ปีมานี้    รัฐบาลมาเลย์ก็เลยหาเรื่องอ้างทำการปราบแรงงานเถื่อนนับล้านคนที่ทะลักเข้ามา   พุ่งเป้าไปที่คนอินโดนีเซียก่อนเลย    ยังจำภาพตำรวจมาเลย์รุมซ้อมแรงงานเถื่อนชาวอินโดได้ดี    ทำยังกะสุนัขเลย      

กรณีความสัมพันธ์ระหว่างมาเลยกับอินโด         มาเลย์สร้างรอยแค้นและขมขื่นฝังลึกให้คนอินโดนีเซียครับ           และด้วยเหตุนี้มั๊งครับ    คนอินโดนีเซียเลยชื่นชอบคนไทย    นิยมสินค้าไทยมากๆ    และคราว 3 จังหวัดชายแดนก็อาสามาช่วยเกลียกล่อมให้      คงเพราะประวัติศาสตร์เรากับมาเลย์มันออกมาในรูปที่คนมาเลย์เป็นรองเราในทุกๆด้าน     ซึ่งจะตรงข้ามกับเขา

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 19:39:37


ความคิดเห็นที่ 44


ถ้าคุณมัวเเต่เน้นพัฒนากองทัพ เเต่ไม่พัฒนาเเนวคิด มันก็วนเวียนอยู่เเถวนี้เเหละครับ 

ย้ำครับ หลายคนทราบ เเต่เเค่ไม่พูด มันก็เเค่นั้น ....

โดยคุณ parachutes เมื่อวันที่ 20/04/2012 20:35:02


ความคิดเห็นที่ 45


      สำหรับเรื่องเรือ LPD ที่เขาจะจัดหามานั้นผมมั่นใจมากว่าเขาจะเอาไปใช้ในฐานะเรือบรรทุกบ.มากกว่า    เพราะมีเหตุผลเชิงเทคนิคในการป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือ    ซึ่งป๋าคงจะทราบอย่างทะลุปรุโปร่งแต่เพื่อนๆสมาชิกอีกหลายท่านอาจจะไม่ทราบ    และรายละเออียดทางข้อมูลเทคนิคนั้นผมเองก็ต้องไปขุดมาจากกระทู้เก่าๆหรือไม่ก็ต้องไปดูกระทู้เรื่องนี้จากเวป TAF ของท่าน skyman ครับ   รู้สึกจะมีอยู่

   และอีกเหตุผลที่ผมมั่นใจก็มาจากเรื่องทางการเมืองระหว่างประเทศและการปกปักรักษาแหล่งทรัพยากรที่เป็นความมั่งคั่งของเขาด้วยครับ    

    ขอติดเอาไว้ก่อนเพราะต้องเดินทางไปเชียงใหม่ครับ    แม่ผมตกลงจะย้ายขึ้นไปอยู่ด้วยกันแล้ว   ต้องเตรียมการ    เลยไม่มีเวลาครับ

โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 20/04/2012 22:25:10


ความคิดเห็นที่ 46


คิดต่างได้นะครับ แต่อย่าแตกแยก ร้อยพ่อพันธุ์แม่ หลายความคิดเห็น เราจะให้คนอื่นมาคิดเหมือนเราไม่ได้หรอกครับ นอกซ่ะจากจะยอมถอยกันคนล่ะครึ่งทาง 

แล้วหันมาคุยกันดีๆ นะครับ

โดยคุณ spooky เมื่อวันที่ 20/04/2012 23:16:21


ความคิดเห็นที่ 47


กระทู่ที่ดุเดือดอย่างนี้ (อ่านแล้วมันดี)...  ผมมีข้อแนะนำ "นิดหนึ่ง" ครับ  (ใครไม่เห็น..ควรด้วยก็แล้วไป..ครับ)

เพื่อไม่ให้คนในประเทศที่เราวิจารย์...เค้า "ตกตลึงพลึงเพลิด" นะครับ .... เวลาเค้าเข้ามาอ่านโดยใช้กูลเกิลแปล

พวกเราควรจะแปลงชื่อประเทศที่เรากล่าวถึง  จะดีหรือเปล่าครับ...(เพื่อปกปิด..ความหวั่นวิตก ในข่าวเกี่ยวกับ เพื่อนบ้าน ของเราเองนะครับ)

ก็แค่ความเห็นของผมครับ   เพราะผมก็เข้าไปอ่านชาวบ้านเขามาเหมือนกันครับ... ทำให้รู้ถึงจริต จิตใจจริง ของแต่ละประเทศ

ตัวอย่างเช่น  เกาหลี ก็แปลงเป็น  เกาเหลา

             มาเลเซีย     =  มาเล่

             อินโดนีเซีย  =  อินโด่

             เวียตนาม   = เวียตต

             อังกฤต    =  อังกริด

            ฝรั่งเศษ    =  เศษฝรั่ง

             อเมริกา   =  ไอ้กัน        ฟิลิปปิน   = ปิน

             สิงคโปร์  = กะโปร์     เอาแค่สื่อสารกันได้ว่าเราพูดถึงใคร  โดยเฉพาะเรื่อง ไม่ดีทั้งหลายแหล่ นะครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 21/04/2012 02:29:46


ความคิดเห็นที่ 48


เพิ่มเติมครับอีกหน่อยครับ

เขมร  แปลงเป็น   เข-มร  หรือ ขมร

เมียนมา  แปลงเป็น  เมียนโม้  หรือ  เมียนเม่า

USA   แปลเป็น   อุสา  หรือ   มึงซ่า.... (นี่หว่า)

ถ้าเราวิจารย์ อะไรไม่ดีเกี่ยวกับพวกเค้า  เค้าก็จะไม่รู้ว่าเราวิจารย์ พวกเค้าอยู่ครับ

ด้วยความเคารพครับ...อย่าจริงจังกับผมเลยครับ

โดยคุณ airy เมื่อวันที่ 21/04/2012 02:41:41


ความคิดเห็นที่ 49


ฝรั่งเศสนะครับ ไม่ใช่ฝรั่งเศษ เห็นคำนี้คนสะกดผิดกันติดอันดับเลย สงสารคนฝรั่งเศสครับ กลายเป็น เศษไปซะงั้น

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 21/04/2012 08:39:46


ความคิดเห็นที่ 50


อีกสักครั้ง กับ กองทัพเรือ มาเลเซีย ภาพในอนาคต

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 21/04/2012 08:59:23


ความคิดเห็นที่ 51


ถ้าเราลองดูงบประมาณของ RMN ที่วางแผนไว้ในอีก 10 ปีข้างหน้าคือประมาณ 3.43  billion USD (RMN, RM10.3 billion ) เท่านั้นเองครับ

http://www.malaysiandefence.com/?p=1792

 ถ้า Growing มาทั้งหมด 6 ลำก็ใช้เงินไป 2.6 billion USD เข้าไปแล้ว  บวกกับถ้าดู Project Dokdo  คงใช้เงินประมาณ  6-700  milion USD (ราคาปี 2005 300 milion USD ต่อหนึ่งลำ)  รวม ๆ ก็พอกับงบที่มีแล้ว   และคงจะไม่มีงบประมาณพอที่จะทำโครงการอื่นแล้วละครับ ยกเว้นว่ารัฐบาลจะเพิ่มให้เป็นกรณีพิเศษ  ส่วนอากาศยานประจำเรือก็คงต้องรอหลักจาก 10 ปีนี้ ซึ่งในกระทู้มาเลเซียเองยังคาดว่าจะเป็นแค่ AV-8 ไปก่อนซะระยะ(USMC รับ F-35 แล้วขายต่อ)
  

ทั้ง ๆ ที่ความจริงจะมี Project  MLU Lekiu class  และซื้อเรือดำน้ำเพิ่ม รวมไปถึงตรวจการณ์ต่าง ๆ อีก  โดยส่วนตัวจึงมองว่างบประมาณของ RMN ดูตึงตัวเกินไปครับ  

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 21/04/2012 17:47:35


ความคิดเห็นที่ 52


พิมพ์ Gowind เป็น  Growing  เหอะ ๆ 

สนใจรายละเอียด + คนมาเลบ่นเรื่อง Gowind เชิญในกระทู้นี้นะครับ :D 

http://www.malaysiandefence.com/?p=1958

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 21/04/2012 18:05:07


ความคิดเห็นที่ 53


เรื่อง AV8 นี้เข้าใจผิดครับ มันคือ  DRB-Hicom AV8 เป็นยานเกราะล้อยางครับ 6666 

แถมรูปเรือดำน้ำ SSX24  ของ DCNS ครับ 


โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 21/04/2012 18:11:38


ความคิดเห็นที่ 54


แล้วไม่ทราบว่าตอนนี้ระหว่างเรือดำน้ำกับเรือผิวน้ำ หรือเรือดำน้ำด้วยกันเอง ตอนนี้มีระบบ Data-link ได้แล้วหรอครับ???  เคยอ่านความพยายามนี้ของกองทัพเรือสหรัฐเมื่อประมาณ 15 ปีมาแล้ว  โดยตอนนั้นพยายามใช้แสง Laser แต่ก็เห็นโครงการเงียบไปครับ 

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 21/04/2012 18:17:40


ความคิดเห็นที่ 55


http://defense-studies.blogspot.com/2012/03/dsme-offers-dw3000h-frigates-to-rtn-and.html

จากข่าวในเว็บนี้ เห็นว่า dokdo class ที่มาเลต้องการ ระวางขับน้ำต้องน้อยกว่า 8000 ตัน

แล้วจะพอสำหรับให้ F-35 ปฏิบัติการหรอครับ                                                                                     

โดยคุณ randolph69 เมื่อวันที่ 21/04/2012 21:04:56


ความคิดเห็นที่ 56


มาเลเซีย ต้องการแบบ MINI DOKDO โดยมีคุณสมบัติเรือแบบเรือชั้น San Giorgio

MINI DOKDO LPH UNTUK ATM MALAYSIA

posted in at 11:07 PG

KAPAL MINI LPH DOKDO - MALAYSIA ARMFORCES

Sebagaimana yang telah di war-warkan oleh media massa, Malaysia bakal membeli dan membina sendiri kapal MRSS bagi menggantikan kekurangan kapal sedia ada. Jenis kapal yang telah dicadangkan ialah dari jenis DOKDO buatan korea selatan 1 daripadanya akan dibina di Korea Selatan dan 2 lagi akan dibina di bagan datoh oleh NGV TECH sdn bhd.

Namun menurut media saiznya adalah lebih kecil dari saiz DOKDO yang sebenar DIMANA anggaran beratnya adalah pada 8,000ton berbanding berat asal dokdo iaitu 14000 ton.

Jadi disini penulis cuba bayangkan bagaimanakah kapal mini Dokdo malaysia ini dari segi beratnya ...bukan bentuknya...seperti mana kita ketahui bentuknya adalah mirip Dokdo LPH, cuma bagaimanakah Dokdo dengan anggaran 8000 ton Malaysia ini dibayangkan dari segi beratnya.

Setelah dibuat pencarian....akhirnya penulis dapat sebuah contoh kapal LPH ala-ala dokdo bersaiz berat sekitar 8000 ton.


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/04/2012 07:01:30


ความคิดเห็นที่ 57


ภาพ ตกแต่ง ตัดแต่ง MINI Dokdo

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/04/2012 08:09:57


ความคิดเห็นที่ 58


Mini Dokdo อีกสักรูป....5 5 5 5 5

 


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 22/04/2012 08:59:29


ความคิดเห็นที่ 59


MINI Dokdo  ขนาดน้อยกว่า8000ตัน   นี้ รู้สึกว่าจะเท่าๆหรือน้อยกว่า ร.ล.จักรีนฤเบศร   ถ้า ร.ล.จักรีนฤเบศรติดดตั้งแท่นยิง Mk.41 VLS 1แท่นผมว่ามันจะน่ากลัวกว่าMINI Dokdoนะครับ

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 22/04/2012 22:08:51


ความคิดเห็นที่ 60


เรื่องที่มาเล่(ตามคำแนะนำครับ ฮา)มาป่วนชายแดนเรานั้น ผมว่าจะด่าเค้าก็ด่าได้ไม่เต็มปากเต็มคำซะเท่าไร เพราะประเทศเราก็ป่วนคนอื่นเหมือนกันนั้นแหละ คือผมว่ามันเป็นเรื่องที่ใครๆ ก็ทำกันน่ะครับ เพื่อให้ประเทศนั้นๆ ไม่เข้มแข็งเกินไป จะได้ไม่ต้องพะวงมาก

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 22/04/2012 23:23:08


ความคิดเห็นที่ 61


ผมมองว่า มาเลเซีย ต้องการ Mini Dokdo เพื่อใช้ LPD จริง ๆ น่ะครับ...สำหรับ ยกพลขึ้นบก และยุทธบริการ. รวมถึงบรรเทาสาธารณะภัย..ที่แต่เดิมซื้อชั้น Newport มือสองจากสหรัฐ แต่ถูกไฟไหม้เสียหายไป...

โดยสเปคเรือ ผมคิดว่า ในชั้น แอนดูแรนซ์ ของ สิงคโปร์ กับ เอนฟอสเซอร์ ของ อินโดนีเซีย ที่ต่อสร้างเอง ก็น่าจะเพียงพอครับ...

แต่คงติดด้วยเงื่อนไขที่ว่า เป็นอุตสาหกรรมอาวุธของ สิงคโปร์ กับ อินโดนีเซีย ที่ชายแดนติดกัน และเรื่องการเมืองความสัมพันธ์...จึงคงไม่น่าจะมีนโยบาย ซื้ออาวุธ จากทั้ง 2 ประเทศนี้...

หวย จึงไปออกที่ เกาหลีใต้ แต่ก็ไม่แน่ว่า ถ้า อิตาลี่ มีความตั้งใจเปิดตลาดอาวุธ เพื่อหาเข้าบำรุงเศรษฐกิจในประเทศ ก็อาจจะมี ซาน จิโอจีโอ้ มาเป็นคู่แข่ง...หรือ ไม่แน่ สเปน ก็อาจจะมาเป็นตัวเลือกด้วยเช่นกัน...โดย ตอนนี้ มีแค่เพียงข่าวจาก เกาหลีใต้ ออกมาเพียงฝ่ายเดียว...คงต้องรอดู การเปิดพิจารณาจัดซื้อ อย่างเป็นทางการต่อไปครับ...

ส่วน เรือหลวง จักรีนฤเบศร ตอนนี้ ดูแลตัวเองจากภัยคุกคามได้เพียงในระยะ 5 ก.ม.  เท่านั้น...เวลา ออกปฏิบัติภาระกิจ ต้องมี ขบวนคุ้มกัน ไม่ต่ำกว่า 2 ลำ เพื่อป้องกันจากเรือรบผิวน้ำ...

ฮ. ก็ไม่มี อาวุธนำวิถี ต่อต้านเรือ...

เรือเร็วติดอาวุธนำวิถี ขนาด 250 - 500 ตัน ก็สามารถสกัด และสามารถทำลายได้แล้วครับ...

สมมติ กรณีถ้าเกิดมีความขัดแย้ง บริเวณ เกาะกูด เกาะกง หรือเหตุการณ์ความวุ่นวายเหมือนในอดีต ที่ต้องอพยพคนไทยออกมา...และถ้าในอนาคต กัมพูชา มีเรือเร็วติดอาวุธนำวิถีระยะปานกลาง ถึง ไกล ระวางขับน้ำประมาณ 250 - 500 ตัน...

ร.ล.จักรีฯ ก็คงไม่สามารถไปกดดันได้เหมือนในอดีต...และเรือฟริเกต ที่ทำการคุ้มกัน ก็ต้องมีสมรรถนะที่สูงขึ้น มีระบบป้องกันตัวระยะประชิด ซึ่งนอกจากป้องกันตัวเอง แล้ว ยังต้องป้องกัน ร.ล.จักรีฯ จากภัยอาวุธนำวิถีอีกด้วย...เรือชั้น ปัตตานี จะกลายเป็นเรือที่ไม่น่าจะเหมาะสม ที่คุ้มกันกองเรือบรรทุกเครื่องบินอีก...

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2012 07:58:13


ความคิดเห็นที่ 62


ซึ่งผมคิดว่า ร.ล.จักรีฯ ควรจะติดตั้ง MK-41 ได้แล้วครับ และควรจะติดระบบอาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำให้กับ S-70B ด้วย...

อย่างน้อย เวลาโดน รุม ด้วย เรือ FAC(M) ก็ยังมี S-70B ออกไปไล่ล่า หรือ สกัดทั้งจากเรือ FAC(M) หรือ สกัดอาวุธนำวิถีที่ยิงออกมา ถ้าระบบอาวุธนำวิถีที่ติดกับ ฮ.ไป สามารถจับเป้าเพื่อทำลายได้...

จะช่วยลด ความกดดัน และช่วยเสริมประสิทธิภาพให้กับ กองเรือฟริเกตคุ้มกัน ได้อีกทางหนึ่งด้วย...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2012 08:08:49


ความคิดเห็นที่ 63


เห็นด้วยครับที่ เรือจักรีจะติดตั้ง MK41 (น่าจะติดตั้งนานแล้ว) ติดรุ่นTactical เผื่อเอาไว้เลย แล้วน่าจะเปลี่ยนradar กับระบบอำนวยการรบใหม่ เอาsea geraff กับ9LVของ saab ก็ได้ เพื่อจะได้เข้ากับ Net Cent. 

โดยคุณ RAF เมื่อวันที่ 23/04/2012 11:00:45


ความคิดเห็นที่ 64


เห็นจักรีฯ จะทำการอัพเกรด ไม่มียัดใส่ VLS หน่อยเหรอ ป๋าช่วยดันหน่อยฮะ

ส่วนเรื่อง เรือ FAC เราเองก็น่าจะมีเหมือนกัน นัยว่าหนามยอกเอาหนามบ่ง ไว้เล่นกับ เข-มร กับ ปาร์ม่า (ขอให้ติดเรดาร์ให้เหนือกว่าละกัน)

โดยคุณ tongwarit เมื่อวันที่ 23/04/2012 15:46:07


ความคิดเห็นที่ 65


ตอนนี้เท่าที่เห็นข่าว 911 ปรับปรุงเรือระบบอำนวยการรบ กับ Link และ เรดาร์ ใหม่...

ปัจจุบัน 911 อายุ 15 ปี แล้ว...ในเร็ว ๆ นี้ ผมเชื่อว่า น่าจะมีปรับใหญ่่ อีกครั้ง...ที่เขาเรียกว่า อัพเกรดช่วงครึ่งอายุใช้งาน...(เห็นต่างประเทศเขานิยมกัน)

เรื่อง FAC(M) ที่ผมยกตัวอย่างนั้น...ในแง่จริง ๆ....การหา กองเรือ ว่าอยู่ตรงไหนนั้น ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก....แต่ถ้า เขา หาเจอได้เมื่อไหร่...มันก็จะไม่คุ้ม เมื่อถูก FAC(M) ลอบโจมตี หรือ รุม โจมตี...และ FAC จะเน้นป้องกันฝั่งของตนเอง ไปวางกำลังไกล ๆ ไม่ค่อยได้ครับ...

เช่นเดียวกับที่ สหรัฐ ก็ไม่ชอบใจนักกับ FAC(M) สเตลล์ ของ จีน ที่ติดตั้ง C-802 เพราะทั้ง เร็ว และ ระยะยิงไกล...ว่า ดู ๆ แล้ว LCS  Freedom จะเหนื่อยในการรับมือ กรณี เผื่อสหรัฐไป วางกำลังแถวน่านน้ำจีน...

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 23/04/2012 22:32:18