หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


Oka อัตราจร420mm. กับระยะยิง45ก.ม.

โดยคุณ : MIG31 เมื่อวันที่ : 17/04/2012 05:44:18

เล็กๆน้อยๆนำมาเล่าสู่กันฟังเน้อ

ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2เข้าสู่ต้นสงครามเย็นอเมริกาและรัสเซียพัฒนาระบบอาวุธนิวเคลียร์ขนานใหญ่ ส่วนใหญ่อยู่ในรูประเบิดแบบทิ้งจากเครื่องบิน ยังไม่มีจรวดแม่นๆแบบสมัยนี้ อีกรูปแบบนึงคือการนำไปใช้ในกระสุนปืนใหญ่

โดยปืนใหญ่อัตราจรกระสุึนนิวเคลียร์ แบบM-65ของอเมริกาถูกพัฒนาขึ้นในราวปี1950 ขนาดลำกล้อง280มม และส่งไปติดตั้งในยุโรปคือที่เยอรมันตะวันตกและเกาหลีในปี1953

รัสเซียเองจึงแก้ปัญหาแบบรัสเซียคือทำปืนใหญ่ที่ยิงไกลเท่ากันหรือไกลกว่าและอัตราจรซะด้วย แถมลำกล้องต้องใหญ่กว่าคือ406มม. สำเสร็จสิ้นในปี1956ในโรงงานที่เลนินกราดผลิตออกมาทั้งหมด4คัน

ชื่อของเขาคือ2A3 Kondensator 2P น้ำหนักมากถึง64ตัน ติดตั้งบนยานเกราะสายพานคล่องตัวกว่าของอเมริกา ประจำการช่วงสั้นๆคือราวปี1956-1960 อาวุธหลักปืนใหญ่406มม. ระยะยิง25.6ก.ม. กระสุนหัวระเบิดแรงสูงหนัก570กก. ความเร็วลำกล้อง716เมตร/วินาที บรรจุ1นัดเสียเวลาไป5นาที







ความคิดเห็นที่ 1


โดยภาพของ2A3 406มม. เผยแพร่ออกไปเมื่องานสวนสนามที่จตุรัสแดงปี1957 ซึ่งนักวิเคราะห์ชาวตะวันตกมองว่าเป็นอาวุธเน้นป้องกันมากกว่าใช้รุก

ถึงจะสร้าง2A3 แล้วแต่รัสเซียยีงคงพัฒนาต่อไปโดยหันมาสร้างปืนครกอัตราจร(บ้างก็ว่าปืนใหญ่)ในปี1957 และเน้นใช้ยิงกระสุนนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี โดยต้องมีความยาวลำกล้อง20เมตร ขนาดลำกล้อง420มม. สามารถส่งกระสุนหัวระเบิดแรงสูง750กก. ไปไกลถึง45ก.ม. ใช้เวลาบรรจุกระสุน5นาทีโดยประมาณ

ปืนครกอัตราจรที่ว่าคือ 2B1Oka น้ำหนักตัวรถ55ตัน ติดตั้งบนยานสายพานตัวรถT-10 ถึงจะใหญ่และหนักก็ให้ความเร็วได้ถึง30ก.ม./ช.ม. แม้จะพยายามพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนถึงปี1960 แต่สุดท้ายก็พับไปเพราะเมื่อนำไปทดสอบทำการยิง โครงสร้างของแท่นปืนถึงตัวรถเสียหายหนักจากแรงถอยของปืนขนาดยักษ์(ขนาดร่วม17นิ้ว น้องๆปืนยามาโต้เลย) เลยหยุดพัฒนาไปเลย

ประกอบกับรัสเซียได้พัฒนาขีปนาวุธทางยุทธวิธี2K6ลูน่า ที่เบากว่า ยิงไกลกว่า แม่นกว่า และดีกว่าในหลายๆข้อมาใช้งาน ปืนใหญ่ทั้ง2กระบอกนี้จึงกลายเป็นอดีตของแปลกในยุคสงครามเย็นไปนั้นเอง

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 16/04/2012 12:45:17


ความคิดเห็นที่ 2


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 16/04/2012 12:48:43


ความคิดเห็นที่ 3


2K6 ลูน่า ขีปนาวุธทางยุทธวิธี

M-65 ปืนใหญ่นิวเคียร์ของอเมริกาขนาด280มม.

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 16/04/2012 12:51:19


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบคุณสำหรับสาระดีๆครับ

ในตอนนั้นจรวดยังพึ่งเริ่มมีการพัฒนา หลังจากจรวดวี2ของเยอรมัน ทั้งสหรัฐฯและสหภาพโซเวียต ได้นักวิทยาศาสตร์ของเยอรมันไปส่วนหนึ่ง ของสหรัฐนี่ได้ ฟอน บราวน์เจ้าจรวดวี2ไป เลยเทพจนสามารถสร้างจรวดแซทเทิร์น5 ส่งยานอพอลโล่11ไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จ แต่ทั้งสองประเทศก็ใช้นักวิทยาศาสตร์ของตัวเองด้วย

ที่กล่าวถึงจรวดก็เพราะว่า ในช่วงที่จรวดยังพัฒนาไม่ดีพอ วิธีที่จะนำระเบิดปรมาณูไปทิ้งศัตรูมีแต่ต้องใช้เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ แบกระเบิดไปทิ้งกลางเป้าหมาย แบบเดียวกับที่บี29สหรัฐทิ้งปรมาณู ลิตเติ้ลบอยใส่ฮิโรชิม่า และแฟทแมนใส่นางาซากิ ซึ่งทำได้ ในขณะที่ประเทศนั้นแทบไม่มีกองทัพอากาศเหลืออยู่แล้ว (ญี่ปุ่น) ผมยังเคยคิดเล่นๆว่า ถ้าเกิดตอนนั้น เครื่องบินไอพ่นกิ201 ที่ญี่ปุ่นได้แผนแบบมาจากME 262 ของเยอรมัน ทันได้ใช้แล้วสอยบี29ที่บรรทุกปรมาณู จะเกิดอะไรขึ้นกันนะ...

จึงกลายเป็นว่ามีปรมาณูก็จริง แต่การจะใช้เสี่ยง เพราะกว่าจะผ่าการป้องกันของกองทัพอากาศศัตรูเข้าไปได้ คงจะยากอยู่ แต่การที่รัสเซียปั๊มเครื่องทิ้งระเบิดแบบตู4 ซึ่งก็อปมาจากบี29อีกที ทำให้สหรัฐผวาไม่น้อยว่า วันดีคืนดีโซเวียตส่งฝูงตู4มาทิ้งปรมาณูใส่แผ่นดินอเมริกาจะทำไง จึงสร้างเครื่องบินสกัดกั้นแบบเอฟ89ขึ้นมา ซึ่งได้กลายเป็นบ.แบบแรกที่ติดจรวดนำวิถี รวมทั้งจรวดอากาศสู่อากาศ ติดหัวรบนิวเคลียร์!!

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 16/04/2012 18:20:45


ความคิดเห็นที่ 5


กดส่งก่อนกลัวล็อคหลุด

ปล.ที่บอกบ.แบบแรกที่ติดจรวดนำวิถี หลายถึงแบบแรกของUSAFนะครับ (แต่ไม่บอกรุ่นแหะ) ปกติเจ้าตัวนี้มีหมัดเด็ดคือจรวดไม่นำวิธีอย่าง ไมตี้เมาส์ ยิงรัวๆหลายลูก แต่ที่โหดสุดก็คือจรวดไม่นำวิถี แต่หัวรบเป็นนิวเคลียร์อีก เอาไว้ยิงบ.บรรทุกปรมาณู ไม่อยากจะคิดว่าระเบิดทีจะวินาศสันตะโรกันขนาดไหน มันคือ AIR-2 Genie

นอกจากเอฟ89 ก็ยังมีติดในอีกหลายรุ่น ส่วนจรวดติดหัวรบนิวเคลียร์แบบหลังๆคือฟินิกส์ ที่ติดกับเอฟ14ครับ

พูดอย่างเดียวคงไม่เห็นภาพขออัฟภาพ

ตู4

เอฟ89

จรวด AIR-2 Genie

เอฟ89ยิงจรวด AIR-2 Genie

อานุภาพการระเบิด






โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 16/04/2012 18:33:01


ความคิดเห็นที่ 6


วกกลับมาก่อนออกทะเลไปไกล

จรวดในยุคนั้นจุดประสงค์การพัฒนามีสองอย่าง

1.การทหาร เอามาใช้เป็นอาวุธให้มีประสิทธิภาพ ไม่บรรทุกแค่ดินระเบิด แต่บรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ไปเลย

2.แข่งขันทางอวกาศ ประกาศศักดาระหว่างโลกเสรี กับโลกสังคมนิยม

ในด้านการทหารนั้นก็พัฒนาใช้ทั้งบกเรืออากาศ ทั้งไม่นำวิถีและแบบวิถี หลักๆก็พัฒนาจากกองทัพนาซีมาดื้อๆ ในขณะนั้นปืนใหญ่ถือเป็นอาวุธตกทอดมาอย่างยาวนาน พวกก็เอามาบรรทุกหัวรบนิวเคลียร์ซะ ทำคล้ายๆพวกปืนใหญ่ขนาดยักษ์ของนาซี (ขนาดแนวคิดวี2ยังก็อปมา 555+)

แต่ก็พบว่าระยะยิงนั้นถือว่าใกล้เกินไปและใช้รุกไม่ค่อยได้ ยิงได้แต่เป้าหมายห่างไปสัก 20 40กิโลเมตร ยิ่งสหรัฐเคยทำปรส.ติดหัวรบนิวเคลียร์ แต่ระยะยิงใกล้ ผลก็คือไอ้คนยิงนี่ละจะโดนนิวเคลียร์ไปด้วย ไม่โดนแรงระเบิด ก็โดนกัมตภาพรังสีกันถ้วนหน้า สุดท้ายเลยเงียบๆและเข้ากรุไป

ความน่ากลัวของนิวเคลียร์ที่แท้จริงก็คือ การนำมาติดจรวดนี่ละ เพราะยิงได้ไกลลึกเข้าไปในแดนข้าศึก สมัยนั้น(แม้แต่สมัยนี้) การสกัดยังทำไม่ได้หรือยาก (โครงการสตาร์วอร์ของสหรัฐที่จะใช้เลเซอร์ยิงสกัดจรวดก็ปิ๊วไป กลายเป็นเอาแพรตทริออตมาสกัดจรวดแทน) ว่ากันว่าถ้าฝ่ายไหนเปิดฉากยิงจรวดนิวเคลียร์ถล่มก่อน อีกฝ่ายก็จะกดปล่อยจรวดขีปนาวุธข้ามทวีปออกมาเป็นฝูงเช่นกัน โดยเล็งเมืองสำคัญๆไว้หมดแล้ว มันจึงเป็นการแลกหมัดที่มีแต่เจ๊งทั้งคู่ ทำให้อาวุธนิวเคลียร์เป็นอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดจนไม่มีใครกล้าใช้อีก สงสารก็แต่ประเทศเล็กๆหรือประเทศอื่นที่ไม่เกี่ยว ถ้ามีการยิงจรวดจริงๆก็คงข้ามหัวไปข้ามหัวมาให้เสียวเล่น

สำหรับปืนใหญ่อลังการของโซเวียต หรือพวกรถถังคันเบ้อเริ่มโซเวียต มักจะออกมาแนว เพื่อโฆษณาชวนเชื่อ และสร้างขวัญกำลังใจให้ประชาชนครับ ว่าข้ามีอาวุธดีสุดโหดอยู่นะเฟ้ย แต่ส่วนใหญ่มักไม่ได้นำไปรบจริง แต่พี่แกก็ชอบเอาของเด็ดมาโชว์แสดงแสนยานุภาพเป็นประจำทุกปี (แม้ตอนนี้โซเวียตจะล่มไปแล้ว รัสเซียก็ยังชอบเอาอาวุธมาพาเหรดโชว์ที่จตุรัสแดงอยู่เป็นประจำ และก็ไม่พ้นเอาไว้ข่มเจ้าเดิมคือ สหรัฐฯและผองเพื่อนนาโต้นั้นแล)

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 16/04/2012 18:44:18