กองทัพเรือ อินโดนีเซีย แบ่งออกเป็นได้ 2 ยุค ด้วยกัน
คือ ยุคสงครามเย็น ที่กองเรือเป็นทางฝั่ง สหภาพโซเวียต เป็นส่วนใหญ่
กับ ยุคหลังสงครามเย็น ที่กองเรือจะเป็นทางฝั่งตะวันตก
ตามแผ่นภาพนี้ จะเป็น เฉพาะ กองเรือฟริเกต และ กองเรือดำน้ำ เท่านั้นน่ะครับ
หมายเลขเลข ตามแผ่นภาพ จะอ่านจาก ประเภทเรือ + หมวดเรือ + เลขที่เรือ หรือเรือลำที่ ก็จะรวมเป็น เลขสามตัว
เช่นเรือชั้นฟริเกต Armad Yani ก็จะเป็นหมายเลข 351 คือ ประเภทเรือฟริเกต = 3 หมวดเรือต่อต้านเรือผิวน้ำ = 5 ลำที่ = 1
แผ่นภาพที่ 1
กองเรือฟริเกตในอดีต ในช่วงสมัยสงครามเย็น ปัจจุบัน ปลดประจำการหมดแล้วประมาณช่วงปี 80
แผ่นภาพ กองเรือฟริเกตในอดีตและปัจจุบัน หลังช่วงสงครามเย็น
กองเรือฟริเกตในปัจจุบัน
ภาพจริง กองเรือฟริเกตในปัจจุบัน
แผ่นภาพกองเรือฟริเกต ประมาณปี 2020 ในความเห็นของผมครับ
กองเรือดำน้ำในอดีต
ภาพกองเรือดำน้ำ ในปัจจุบัน และในอนาคต
ภาพจริง กองเรือดำน้ำ
ก็จะเห็นว่า กองทัพเรืออินโดนีเซีย ที่มีการจัดหา เรือดำน้ำ จำนวน 12-14 ลำ ก็คือ การกลับไปมีตามความพร้อมรบในอดีต
เรืออินโดถึงจะเก่าหน่อย แต่ของเล่นเยอะมากครับ
ทำให้ใหม๋ครับ....น่าจะมองเห็นได้มากขึ้นครับ
แผ่นภาพหลังสงครามเย็น ได้ปลดระวางเรือรบของ โซเวียต ทั้งหมด
แผ่นภาพ กองเรือฟริเกตที่ประจำการในปัจจุบัน
แผ่นภาพ กองเรือฟริเกต ความเห็นส่วนตัวในปี 2020
เรือชั้น Ahmad Yani ซึ่งเป็นเรือมือสอง ซื้อต่อมาจาก เนเธอร์แลนด์
เพื่อยืดอายุใช้งาน กองทัพเรืออินโดนีเซีย ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก สตีม เทอร์ไบ เป็น เครื่องยนต์ ดีเซล เมื่อปี 2003 ถึง 2008
โดยจะใช้งานเรือชั้นนี้ ไปจนถึงปี 2020
และ ล่าสุด กองทัพเรือ อินโดนีเซีย ได้จะซื้อเรือ OPV จาก ทร.บรูไน อีก 3 ลำ คือ เรือชั้น Nakhoda Ragam
เรือชั้น Ahmad Yani เพิ่งติดจรวด Yakhont ไปนี่ครับ น่าจะใช้ไปอีก 20 ปีนะครับ
อ่อ เป็นข้อมูลในเว๊ปเท่าที่หามาน่ะครับ ท่าน Banyat อาจจะใช้นานกว่านั้นก็ได้ครับ...แต่ไม่แน่ใจว่า ติด Yakhont ครบทุกลำรึเปล่าครับ....เพิ่งเห็นมีติดตั้งเพียงลำเดียว ครับ...อาจจะเป็นการทดลองติดตั้ง หรือ ไม่แน่ อาจจะเป็นการพัฒนาเพื่อรองรับกับอาวุธนำวิถีต่อต้านเรือรบระยะไกล สำหรับ บรามอส หรือ อินโดนีเซีย อาจจะพัฒนาอาวุธขึ้นเอง โดยใช้พื้นฐานของ Yakhont สำหรับติดตั้งเรือรบผิวน้ำ ที่จะสร้างเองในอนาคตก็ได้ครับ...
Made in indonesia
เอาแบบเฉพาะที่น่าสนใจมานะครับ...
โดยเฉพาะเรือ FAC 40 ติดตั้ง C-705 ซึ่ง ทร.อินโดนีเซีย วางแผนจะสร้างเป็นจำนวนประมาณ 24 ลำ
และ sigma 10514 ที่จะประกอบขึ้นเองที่ อู่ของ PT.PAL ประเทศอินโดนีเซีย โดยสั่งซื้อจำนวน 4 ลำ...
ซึ่ง อินโดนีเซีย น่าจะขยายแบบต่อไปในอนาคต อาจจะเป็นเรือ DE (Destroyer Escort) ซึ่งก็น่าจะหมายถึงว่า ทร.อินโดนีเซีย น่าจะมีการพิจารณา เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ หรือ LPD ขนาดใหญ่มากขึ้น ต่อไป...ซึ่งเป็นหน้าที่หลักของ DE ที่จะเป็นเรือพี่เลี้ยง คุ้มกัน...
เช่นเดียวกับ ทร.ไทย ที่ประจำการด้วย ร.ล.จักร๊นฤเบศร์ ก็มีการจัดหาจัดหาเรือขนาด DE เช่น เรือชั้น นเรศวร มาประจำการ...และน่าจะหมายรวมถึง เรือชั้น เจ้าพระยา ด้วย...
นอกจากนั้น ทร.อินโดนีเซีย ยังดำเนินการ โครงการ Midget Submarine MI X-1 ซึ่งตามแผนโครงการ ในปีนี้ น่าจะเห็นรูปร่างและทดสอบในทะเลแล้ว...แต่ยังไม่เห็นข่าวปรากฎ....
จึงไม่แน่ว่า การจัดหา เรือดำน้ำ จาก เกาหลีใต้...อาจจะมีเงื่อนไขในเรื่อง ความร่วมมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยี่ เรือดำน้ำ เพื่อการพัฒนาโครงการ เรือดำน้ำ สร้างเอง ของ ทร.อินโดนีเซีย ด้วยก็ได้ครับ...
และถ้าเข้าใจไม่ผิด Type-206A ของ เยอรมัน ที่จำหน่ายให้ไทยนั้น ก็น่าจะเป็นที่สนใจของ ทร.อินโดนีเซีย ด้วย...ดูแล้ว อินโดนีเซีย น่าจะชอบเทคโนโลยี่ เรือดำน้ำของ ฝั่งเยอรมัน มากกว่า...ซึ่ง เรือดำน้ำของ เกาหลีใต้ น่าจะใกล้เคียงมากที่สุด...
แต่ด้วย อินโดนีเซีย ติดในเงื่อยนไขการละเมิดสิทธิมนุษย์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่ อินโดนีเซีย มีปัญหาในการจัดหาอาวุธจากเยอรมัน (รวมถึง รถถัง เลียวปาร์ค ด้วย) ซึ่งก็คงจะส่งผลกระทบถึง การจัดหาเรือดำน้ำ ด้วย....
ซึ่งถ้า ก่อนหน้านี้ อินโดนีเซีย ไม่ติดในเงื่อนไขดังกล่าว...คู่แข่งของ Type 206A ของไทย น่าจะมี อินโดนีเซีย เป็นคู่แข่งสำคัญด้วยเหมือนกัน....
น่าเสียดาย โครงการ Type 206A ของ ทร.ไทย เป็นอย่างมาก...ดูแล้วเหมือนเป็น เมล็ดพันธ์ ที่จะสามารถให้อุตสาหกรรม เรือดำน้ำขนาดเล็กของ ทร.ไทย มีความเป็นไปได้ และเติบโต สามารถเก็บเกี่ยวสร้างความเจริญได้อย่างน่าสนใจทีเดียว....
ไม่รู้ว่าผมจำผิดหรือเปล่าว่า อินโดนีเซียเคยจะเหมาเรือรบของเยอรมันตะวันออกก่อนรวมชาติกับเยอรมันตะวันตก แบบยกตะกร้า
ใข่ครับ เหมาเรือปราบเรือดำน้ำ ชั้น parchim กับ เรือระบายพลชั้น Frosch และเรือต่อต้านทุ่นระเบิด ชั้น Kondor มาจากเยอรมันตะวันออก ตรับ...
พิมพ์เกือบ 40 นาทีพร้อมข้อมูลเท่าที่จำได้ ตอนส่งหายหมด.....................................................................หมดอารมณ์แจม............
พูดถึงเรือดำน้ำก็พลาด อดคิดถึงหลายๆเรื่อง
-คนไม่มีอำนาจ ไม่มีสิทธิ์ตัดสินใจ คิดถึงอนาคต คิดถึงความคุ้มค่า ความเหมาะสม และอีกหลายๆอย่าง แต่ ท่านผู้มีอำนาจ กลับคิดแค่ ว่าจะได้เท่าไหร่ เข้ากระเป๋ายังไง .......
ถ้าเชื่อในทฤษฎีสัมพันธภาพ จะรู้ว่าอนาคตถูกเขียนไว้แล้ว
สงครามในอนาคตน่าจะเป็นสงครามแย่งชิงทรัพยากร งานนี้ทัพเรือน่าจะเหนื่อย
เพราะทางอเมริกาเริ่มกลับมาปักธงในภูมิภาคนี้แล้ว
ปัญหาคือ จีน จะแหวกสามารถวงล้อมนี้ออกไปอย่างไรเท่านั้น
ผมว่า จีน น่ากลัวกว่า สหรัฐ ครับ...
เพราะ จีน ได้ขีดเส้นไว้แล้วในอดีต ว่าส่วนไหน คือ อาณาเขตของจีน...ซึ่ง ทฤษฎี อาณาเขตดั้งเดิมโบราณของ จีน ผมว่ายังคงอยู่...
เพียงแต่ จีน รอเวลาเท่านั้น...
ประเทศไทย ตอนบน รวมถึง ภาคกลาง ก็น่าจะเป็น เป้าหมายของ จีน ซึ่งเป็นเส้นในอดีต ที่จีน เคยลากเส้นว่าเป็น เขตปกครองของ จีน...ถ้า จีน มีความต้องการในอนาคต...
สหรัฐ เป็นเพียง ธุรกิจที่โฉบฉวย ผลประโยชน์เท่านั้น..คงไม่ได้เน้น การครอบครอง...
แต่ จีน กับ ภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้...เน้น การครอบครอง มากกว่า....
เช่นกรณี ที่ สามเหลี่ยมทองคำ มีชาวเรือจีน ถูกสังหาร โดยเชื่อว่าเป็น ทหารฝ่ายไทย เป็นผู้กระทำ...จีน ได้แสดงว่า ไทย ต้องรับผิดชอบ อย่างชัดเจน และออกอาการไม่พอใจอย่างชัดเจน...
หรือ กรณี ความขัดแย้ง ไทย กับ กัมพูชา...จีน เป็นฝ่ายสนับสนุน กัมพูชา อย่างชัดเจน เช่นกัน...
ไทย กับ ประชาคม อาเซียน ที่เข้มแข็ง...จะเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะ ดุลย์อำนาจ จีน ได้...
คิดว่าประวัติศาสตร์จะซ้ำรอยไหมครับท่าน juldas
เข้ามาอ่านกระทู้ท่าน juldas ทีไรไม่เคยผิดหวังจริงๆครับ
แผนที่ประเทศจีน แสดงพื้นที่ที่จีนคิดว่าเสียไปกับนักล่าเมืองขึ้น จีนว่าได้สูญเสียดินแดนไป 19 ครั้ง สำหรับประเทศไทยว่าได้เสียให้แก่อังกฤษกับฝรั่งเศส
อ้างอิงจากหนังสือ เวียดนามแล้วไทย ของ พัน รักษ์แก้ว
ตามภาพครับ เส้นสีแดงที่วงกลมทั้งหมดครับ ที่จีนคิดว่าเป็นของจีน ซึ่งรวมไทยด้วย โดยข้อมูลนี้ ตีพิมพ์ในเอกสารเซี่ยงไฮ้ ปี 2468 แต่ภาพที่ผมดูดมาจากเว๊ปของคนจีน ก็เป็นวงสีตามรูปประกอบในหนังสือของ ท่าน พัน รักษ์แก้ว ตรับ...