หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


+ การกำหนดชื่อเรียกอากาศยานของกองทัพอากาศไทย +

โดยคุณ : qwertyuiop เมื่อวันที่ : 13/04/2012 07:46:18

การกำหนดชื่อเรียกอากาศยานของกองทัพอากาศไทย

กองทัพอากาศไทยได้กำหนดให้มีระบบการกำหนดชื่อเรียกอากาศยานด้วยรูปแบบการใช้ตัวอักษรร่วมกับตัวเลข ซึ่งเป็นแนวคิดที่คล้ายคลึงกับระบบที่มีใช้ในกองทัพสหรัฐอเมริกาและประเทศอื่นๆ แต่ต่างกันตรงที่ประเทศไทยใช้ตัวพยัญชนะไทยในการกำหนดชื่อเรียก มิได้ใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ดังนี้

1) ตัวอักษรตัวแรก เป็นตัวพยัญชนะไทย (ตามด้วยเครื่องหมาย .) ใช้บอกถึงชนิดของอากาศยาน ได้แก่

บ. หมายถึง เครื่องบิน

ฮ. หมายถึง เฮลิคอปเตอร์ ตัวอย่างเช่น ฮ.6 หมายถึง เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 6 (BELL UH-1H)

 

2) ตัวอักษรตัวที่ 2 เป็นตัวพยัญชนะไทย (ตามด้วยเครื่องหมาย .) ใช้บอกถึงภารกิจหลักหรือประเภทของอากาศยาน และบางครั้งอาจมีตัวพยัญชนะไทยต่อท้ายอีก 1 ตัวเพื่อใช้บอกถึงภารกิจรอง ได้แก่

ข.  หมายถึง ขับไล่  ตัวอย่างเช่น บ.ข.19   หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/แบบที่ 19    (F-16A)

ขฝ. หมายถึง ขับไล่ฝึก ตัวอย่างเช่น บ.ขฝ.1 หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/ฝึก/แบบที่ 1 (L-39ZA/ART)

จ. หมายถึง โจมตี ตัวอย่างเช่น บ.จ.7 หมายถึง เครื่องบิน/โจมตี/แบบที่ 7 (ALPHA JET)

จธ. หมายถึง โจมตีธุรการ ตัวอย่างเช่น บ.จธ.2 หมายถึง เครื่องบิน/โจมตี/ธุรการ/แบบที่ 2  (AU-23A)

ต. หมายถึง ตรวจการณ์

ตข. หมายถึง ตรวจการณ์ขับไล่ ตัวอย่างเช่น บ.ตข.18 หมายถึง เครื่องบิน/ตรวจการณ์/ขับไล่/แบบที่ 18 (RF- 5A)

ตล. หมายถึง ตรวจการณ์ลำเลียง ตัวอย่างเช่น บ.ตล.9 หมายถึง เครื่องบิน/ตรวจการณ์/ลำเลียง/แบบที่ 9 (N-22B NOMAD)

ตฝ. หมายถึง ตรวจการณ์ฝึก ตัวอย่างเช่น บ.ตฝ.20 หมายถึง เครื่องบิน/ตรวจการณ์/ฝึก/แบบที่ 20 (Diamond DA42MPP)

ฝ. หมายถึง ฝึก ตัวอย่างเช่น บ.ฝ.19 หมายถึง เครื่องบิน/ฝึก/แบบที่ 19 (PC-9)

พ. หมายถึง ฝึกพลเรือน ตัวอย่างเช่น บ.พ.1 หมายถึง เครื่องบิน/ฝึกพลเรือน/แบบที่ 1 (CESSNA 150)

ล. หมายถึง ลำเลียง ตัวอย่างเช่น บ.ล.8 หมายถึง เครื่องบิน/ลำเลียง/แบบที่ 8 (C-130H)

ค. หมายถึง ควบคุม ตัวอย่างเช่น บ.ค.1 หมายถึง เครื่องบิน/ควบคุม/แบบที่ 1 (Saab 340AEW)

ธ. หมายถึง ธุรการ

ผท. หมายถึง แผนที่

ท. หมายถึง ทิ้งระเบิด

ทอ. หมายถึง กองทัพอากาศ

ชอ. หมายถึง ผลิตสร้างในประเทศไทย

ช. หมายถึง เชื้อเพลิง

ร. หมายถึง เครื่องร่อน

อ. หมายถึง อิเล็กทรอนิกส์

ว. หมายถึง บังคับด้วยวิทยุ

ส. หมายถึง สื่อสาร

 

3) ตัวอักษรตัวที่ 3 เป็นตัวเลขลำดับของอากาศยานแต่ละประเภท โดยเริ่มต้นจากลำดับที่ 1

ตัวอย่างเช่น

บ.ข.14 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 14 (Spitfire F/FR.14)

บ.ข.15 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 15 (F8F-1 Bearcat)

บ.ข.16 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 16 (F-84G Thunderjet)

บ.ข.17 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 17 (F-86 Sabre)

บ.ข.18 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 (F-5A)

บ.ข.19 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 19 (F-16A Fighting Falcon)

บ.ข.20 หมายถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (JAS39C/D Gripen)

 

4) สำหรับอากาศยานบางประเภท อาจมีตัวพยัญชนะไทยต่อท้ายตัวเลขลำดับ (เว้นวรรค 1 ตัวอักษร) เพื่อใช้บอกถึงประเภทย่อยของอากาศยานประเภทนั้น โดยเริ่มต้นจากตัวพยัญชนะ ก

ตัวอย่างเช่น  

บ.ข.18 หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/แบบที่ 18 (F-5A Freedom Fighter) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ 1 ที่นั่ง

บ.ข.18 ก หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/แบบที่ 18/ก (F-5B Freedom Fighter) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ 2 ที่นั่ง

บ.ข.18 ข หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/แบบที่ 18/ข (F-5E Tiger II) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ 1 ที่นั่ง

บ.ข.18 ค หมายถึง เครื่องบิน/ขับไล่/แบบที่ 18/ค (F-5F Tiger II) ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ 2 ที่นั่ง

 

หมายเหตุ: ระบบการกำหนดชื่อเรียกอากาศยานแบบนี้มีใช้เฉพาะในกองทัพอากาศ มิได้ใช้เรียกอากาศยานของกองทัพบกและกองทัพเรือ

 

http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=219:rtafdesignation&catid=8:special-article&Itemid=10

อ้างอิงจาก http://www.designation-systems.net/non-us/thailand.html

http://www.thai-aviation.net

http://www.encyclopediathai.org/aircraft/





ความคิดเห็นที่ 1


การกำหนดชื่อเรียกอาวุธปล่อยของกองทัพสหรัฐอเมริกา

ระบบการกำหนดชื่อเรียกอาวุธปล่อย จรวด และเป้าบิน ของกองทัพสหรัฐอเมริกาที่ใช้ในปัจจุบันนั้น ได้เริ่มคิดค้นโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 1963 (หลังจากที่ได้มีการตั้งระบบการกำหนดชื่อเรียกอากาศยานเรียบร้อยแล้ว ประมาณ 1 ปี) ซึ่งทำให้มีการรื้อระบบการกำหนดชื่อเรียกอาวุธปล่อยที่มีอยู่เดิมและปรับเข้าสู่การเรียกชื่อตามระบบใหม่ทั้งหมด โดยระบบใหม่นี้ได้ถูกปรับแก้เพิ่มเติมเล็กน้อย (เช่นอาวุธที่เกี่ยวข้องกับอวกาศ ในช่วงยุคปี 1988-89) และต่อมาจนถึงฉบับล่าสุดซึ่งกำหนดโดย Air Force Instruction (AFI) 16-401(I) ในการกำหนดชื่อเรียกอาวุธทางอากาศที่ใช้ทางทหารเมื่อปี 2005 โดยครอบคลุมการกำหนดชื่อเรียกเครื่องบิน อากาศยานและอาวุธปล่อยทั้งมวล อนึ่ง ระบบการกำหนดชื่อเรียกนี้บางครั้งก็เรียกว่า การกำหนดชื่อเรียกแบบ MDS ซึ่งหมายถึง "Mission-Design-Series" โดยการใช้ชุดของตัวอักษร 3 ตัว ซึ่งมีความหมายดังนี้

ตัวอักษรตัวที่ 1 หมายถึง แหล่งที่อาวุธถูกปล่อยออกไป (เช่น ยานรบหรือฐานปล่อย)

ตัวอักษรตัวที่ 2 หมายถึง ภารกิจหลักของอาวุธ

ตัวอักษรตัวที่ 3 หมายถึง ชนิดของอาวุธ

ตัวอย่าง

RGM-84D Harpoon หมายถึง

R - เป็นอาวุธที่ปล่อยจากเรือ

G -  เป็นอาวุธเพื่อภารกิจโจมตีภาคพื้น

M -  เป็นอาวุธปล่อยนำวิถี

84 - เป็นอาวุธปล่อยแบบที่ 84

D - เป็นการแก้ไขปรับปรุงครั้งที่ 4

Harpoon - ชื่อเรียกแบบทั่วไป

 

AGM - (A) ปล่อยจากอากาศยาน (G) เพื่อโจมตีภาคพื้น  (M) อาวุธปล่อยนำวิถี     เช่น  AGM-65A Maverick

AIM - (A) ปล่อยจากอากาศยาน (I) เพื่อสกัดกั้นอากาศยาน (M) อาวุธปล่อยนำวิถี   เช่น  AIM-9A Sidewinder

ATM - (A) ปล่อยจากอากาศยาน (T) เพื่อการฝึก (M) อาวุธปล่อยนำวิถี   เช่น  ATM-114B Hellfire

RIM - (R) ปล่อยจากเรือ (I) สกัดกั้นอากาศยาน (M) อาวุธปล่อยนำวิถี    เช่น  RIM-7E SeaSparrow

 

นอกจากนี้ยังมีหมายเลขรุ่นของการออกแบบหรือหมายเลขโครงการต่อท้ายชุดตัวอักษรข้างต้น และยังอาจมีตัวอักษรต่อท้ายหมายเลขรุ่น ซึ่งแสดงถึงการแก้ไขปรับปรุงของรุ่นนั้นๆ

 

อนึ่ง อาวุธปล่อยนำวิถีส่วนใหญ่มักจะมีชื่อเรียกที่จำง่ายอีกชื่อหนึ่งด้วย เช่น  Harpoon, Tomahawk, Sidewinder, Maverick เป็นต้น

 

รายละเอียดรหัสตัวอักษร

1. ตัวอักษรตัวแรก : ยานหรือฐานที่อาวุธถูกปล่อยออกไป

A (Air) หมายถึง ปล่อยจากอากาศยาน

B (Multiple) หมายถึง สามารถปล่อยจากหลายแหล่ง

C (Coffin  หรือ  Container) หมายถึง ถูกเก็บไว้ในที่เก็บแบบป้องกันอย่างดี ในแนวนอนหรือเอียงไม่เกิน 45 องศา และปล่อยจากภาคพื้น

F (Individual  หรือ  Infantry) หมายถึง แบก/ถือไปและปล่อยได้จากบุคคล 1 คน

L (Land   หรือ  Silo) หมายถึง ปล่อยจากสถานีภาคพื้น

M (Mobile) หมายถึง ปล่อยจากยานรบภาคพื้นหรือสถานีเคลื่อนที่

P (Soft Pad) หมายถึง ถูกเก็บไว้ในที่เก็บแบบป้องกันบางส่วนหรือไม่มีสิ่งป้องกัน และปล่อยจากภาคพื้น

U (Underwater) หมายถึง ปล่อยจากเรือดำน้ำหรือยานใต้น้ำ

R (Surface ship) หมายถึง ปล่อยจากยานผิวน้ำ เช่น เรือ เป็นต้น

H (Silo Stored) หมายถึง เก็บไว้ใน Silo และปล่อยจากภาคพื้น เดิมเคยใช้กับขีปนาวุธข้ามทวีป แต่ปัจจุบันตัวอักษร H ได้เลิกใช้แล้ว

S (Space)  หมายถึง ปล่อยจากอวกาศ

ต่อมาในปี 1976 ได้เพิ่มเติมตัวอักษร  G (Runway or Ground)  แต่อาจพบเห็นได้น้อยมาก

 

2. ตัวอักษรตัวที่สอง : ภารกิจหลักของอาวุธ

D (Decoy) หมายถึง เพื่อลวง ทำให้สับสน หรือเบี่ยงเบนการป้องกันตัวของฝ่ายตรงข้าม โดยการจำลองว่าเป็นอาวุธเข้าโจมตี

E (Special Electronic) หมายถึง ติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับภารกิจการติดต่อสื่อสาร การตอบโต้ การแพร่กระจายสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ หรือการบันทึกทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือถ่ายทอดสัญญาณ

G (Surface Attack) หมายถึง เพื่อทำลายเป้าหมายฝ่ายตรงข้ามทางภาคพื้นหรือทางทะเล

I (Intercept-Aerial) หมายถึง เพื่อสกัดกั้นเป้าหมายทางอากาศในบทบาทเชิงป้องกัน

Q (Drone/UAV) หมายถึง เพื่อลาดตระเวนหรือเฝ้าตรวจเป้าหมาย

S (Space) หมายถึง เพื่อทำลายเป้าหมายในอวกาศ

T (Training) หมายถึง เพื่อการฝึก

U (Underwater Attack) หมายถึง เพื่อทำลายเป้าหมายฝ่ายตรงข้ามที่เป็นเรือดำน้ำหรือยาน/อุปกรณ์ใต้น้ำ

W (Weather) หมายถึง เพื่อสังเกตการณ์ บันทึก หรือถ่ายทอดข้อมูลด้านอุตุนิยมวิทยา

ต่อมาในปี 1988-89 ได้เพิ่มเติมตัวอักษร L (Launch Detection),  N (Navigation), C (Transport), และ M (Scientific Measurements) โดยตัวอักษร C และ M ได้เลิกใช้งานตั้งแต่ปี 2006

 

3. ตัวอักษรตัวที่สาม : ประเภทของอาวุธ

M (Guided Missile) หมายถึง อาวุธที่มีระบบขับเคลื่อนของตนเอง ไม่ต้องใช้มนุษย์ควบคุม และมีระบบนำวิถีจากระยะไกลหรือจากภายในตัวเอง

R (Rocket) หมายถึง อาวุธที่มีระบบขับเคลื่อนของตนเอง และมีวิถีการเดินทางที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อถูกปล่อยออกไปแล้ว

N (Probe) หมายถึง อาวุธที่ไม่ได้เคลื่อนที่อยู่ในวงโคจรของโลก ซึ่งใช้สำหรับการเฝ้าตรวจหรือส่งข้อมูลสภาพอากาศ

ต่อมาในปี 1988-89 ได้เพิ่มเติมตัวอักษร B (Booster) และ S (Satellite)  แต่อาจพบเห็นได้น้อยมาก

 

4. คำนำหน้า

บางกรณี อาจมีตัวอักษรแสดงสถานะปรากฏที่หน้าตัวอักษรตัวแรกก็ได้  เช่น

C (Captive)  หมายถึง ใช้เฉพาะอาวุธปล่อยจากอากาศยาน โดยติดตั้งไปกับอากาศยาน (เพื่อการฝึก) แต่มิได้ถูกปล่อยออกไปจริงๆ    เช่น CATM-65E Maverick

D (Dummy)  หมายถึง อาวุธที่ไม่มีหัวรบหรือดินขับ ใช้สำหรับการฝึกภาคพื้นในการติดตั้งอาวุธ  เช่น DATM-9L Sidewinder

J (Special Test, Temporary)   หมายถึง สามารถเปลี่ยนแปลงกลับไปเป็นสู่การกำหนดค่ามาตรฐานเดิมได้ หลังจากเสร็จสิ้นการทดสอบ

M (Maintenance)  หมายถึง อยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง

N (Special Test, Permanent)  หมายถึง ถูกดัดแปลงแก้ไขสำหรับการทดสอบ และไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาให้เหมือนค่าเดิม

X (Experimental) หมายถึง อยู่ระหว่างการทดลอง    เช่น  XAGM-48A Skybolt

Y (Prototype) หมายถึง ต้นแบบ  เช่น YCQM-121A Pave Tiger

Z (Planning)  หมายถึง โครงการตามแผน แต่ในปัจจุบันมีการใช้ตัวอักษรนี้น้อยมาก เนื่องจากไม่นิยมกำหนดชื่อเรียกก่อนที่จะมีการสร้างต้นแบบ เช่น ZUGM-89A Perseus

 http://dtad.dti.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=218:missile-designation&catid=8:special-article&Itemid=10

อ้างอิงจาก http://www.designation-systems.net

โดยคุณ qwertyuiop เมื่อวันที่ 12/04/2012 20:46:18