จากกระทู้ T016169 ที่ขอแผนภาพกองเรือจากป๋าจูล และข้อมูลจากท่าน Chelsea ที่ว่าผบ.ทร. บอกนายกว่าต้องการเรือ OPV 9 ลำ แต่มีแล้ว 6 ลำ และต้องการเรือฟรีเกตประสิทธิภาพสูง 4 ลำ แต่มีแล้ว 2 ลำแต่เป็นเรือเก่าควรหามาทดแทน แสดงว่าต้องปลดเรือชั้น Knox ทั้งสองลำแน่ๆ แล้วต่อใหม่สองลำเพื่อทดแทน พร้อมต้องการใหม่อีกสอง เป็น 4 ลำ มาลุ้นกันครับว่าจะเป็นเรือขยายแบบจากชั้นกระบี่ให้เป็น 3000 กว่าตัน หรือจะซื้อจากต่างประเทศทั้ง 4 ลำ หรือจะซื้อแบบมาต่อเองในประเทศทั้ง 4 ลำ ครับ แบบว่าเรือดำน้ำ 4-6 ลำไม่ได้ ก็ขอเรือฟรีเกต 4 ลำแทนแล้วกัน
ลิงค์ข่าวครับ http://www.dailynews.co.th/politics/20345
ขอขอบคุณท่าน Chelsea ที่กรุณานำลิ้งค์ข่าวมาให้อ่านครับ
" เรือโอพีวีเราต้องการ 9 ลำแต่ตอนนี้เรามี 6 ลำ เรือฟรีเกตสมรรถนะสูงเรามีความต้องการ 4 ลำ แต่เรามี 2 ลำซึ่งเป็นเรือที่เก่าแล้วสมควรจัดผามาทดแทน"
งงอยู่หน่อยนึงครับว่า ทร.เรามี OPV 6 ลำแล้วหรือนี่ มีแค่ 3 เองไม่ใช่หรือครับ งานนี้ต้องรบกวนป๋า juldas มาทำแผนภาพใหม่ที่นี่แล้วนะครับ
เรานับเรือชั้นอื่นอีก สามลำเป็นกองเรือตรวจการครับ เลยรวมเป็นหก ลำ
เรื่องเรือฟรีเกต ผมว่าคงอีกนานครับ เพราะโครงสร้างต้องสร้างเเบบเรือรบ เเต่ เรือ ตกก ใช้เทคนิคเรือพานิชย์ในการสร้าง คงจัดหาจาก ต่างประเทศ
เดาว่า เรือฟริเกต DW3000H จะนำมาครับ แต่ถ้าจัดหาถึง 4 ลำ เรือจีน+ระบบอาวุธตะวันตกอาจจะมาอีกก็ได้ครับ
DSME Offers DW3000H Frigates to RTN
Bangkok: South Korea’s Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering (DSME) made its presence felt in Defense & Security 2012 by showcasing its range of shipbuilding skills and technologies. DSME is at the Bangkok show to propose its latest frigate design to the Thai Royal Navy. The vessel proposed is a DW 3000H with 3,000 tonnes displacement and 114 metres in length.
http://defense-studies.blogspot.com/2012/03/dsme-offers-dw3000h-frigates-to-rtn-and.html
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยังโปรยยาหอมเหมือนยุคพี่ชาย ด้วยการให้ทุกเหล่าทัพเสนอแผนการพัฒนากองทัพ ว่าต้องการอาวุธยุทโธปกรณ์ใด หรือที่เรียกว่า เสนอเป็นแพ็กเกจ ที่เป็นจริงได้ขึ้นมา ไม่ใช่เสนอมา 9 แสนล้าน แบบในยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ก็ทำให้กองทัพมีความหวัง
โดยเฉพาะกองทัพเรือ ที่แม้จะไม่ได้ซื้อเรือดำน้ำเยอรมันมือสอง แน่แล้ว เพราะมีทั้งสิ่งที่มองไม่เห็น และมือที่มองไม่เห็น สกัดไว้ ทั้งๆ ที่เยอรมนี พร้อมยืดเวลาจาก 29 กุมภาพันธ์ ให้ถึงเดือนเมษายนนี้ก็ตาม ที่คาดว่าจะมีการเสนอโครงการอื่นทดแทน เช่น เรือฟรีเกตสมรรถนะสูง 4 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 2 ลำ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV อีก 3 ลำ
ที่มาครับ :http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333778777&grpid=01&catid=&subcatid
opv อีก 3 นั่นคงเป็นเรือแบบเรือกระบี่ ที่มีแผนต่อให้ครบ 4 รวมกับ นราธิวาส ปัตตาณี ครบ 6
ส่วนเรือฟริเกต ถ้าไม่มากไป ขอตัวนี้ได้ม่ะ ได้ข่าวว่าเมกาต้องการจะปลดประจำการ เพื่อลดงบประมาณกองทัพ
แต่ อวป. ต่างๆของมัน + ระบบเอจิส ถ้าได้มา เราคงเทพ อันดับต้นๆ ของ อาเซี่ยนเลยแหละ
หรือขอเป็นเดสตรอยเยอร์หนักๆ แบบที่จีนต่อ แล้วเอาไปโม ระบบ สวีเด็น โซน่าฝรั่งเศษ เครื่องเยรมัน เหล็กญี่ปุ่น อิอิ
ในความเห็นผม สำหรับความเห็นของ ผบ.ทร. ตามแผ่นภาพน่ะครับ...
ความหมายของ
ร.ล.ตาปี
ร.ล.คีรีรัฐ
และ ร.ล.มกุฎราขกุมาร
คือ OPV
เนื่องจาก เรือทั้ง 3 ลำ ไม่มีการติดตั้ง อาวุธ พื้น สู่ พื้น
ในปัจจุบัน จึงทำหน้าที่ เหมือน เรือตรวจการณ์ใกลฝั่ง นั่นเอง
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง ตามความหมายข้างต้น ผมมองอยู่ 2 ทางเลือก คือ
1. จัดหาเรือ OHP มือสอง จำนวน 4 ลำ ในคราวเดียว เช่นเดียวกับตอนจัดหา เรือชั้น Knox ซึ่งเรือช้้น OHP สามารถรองรับการปฏิบัติการด้วย S-70B และ MH-60S และ R ได้
2. จัดหาเรือ ที่มีมิติการต่อต้านเรือดำน้ำ ที่มีศักยภาพ เช่น โซนาร์แบบทันสมัย ความสามารถยิง ตอร์ปิโดแบบติดร้อคเกตแบบแนวดิ่ง การติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับเรือดำน้ำแบบ ลากท้าย และลาน ฮ. สามารถรองรับ ฮ.แบบ S-70B หรือ MH-60S หรือ R ได้
" โดยเฉพาะกองทัพเรือ ที่แม้จะไม่ได้ซื้อเรือดำน้ำเยอรมันมือสอง แน่แล้ว เพราะมีทั้งสิ่งที่มองไม่เห็น และมือที่มองไม่เห็น สกัดไว้ ทั้งๆ ที่เยอรมนี พร้อมยืดเวลาจาก 29 กุมภาพันธ์ ให้ถึงเดือนเมษายนนี้ก็ตาม ที่คาดว่าจะมีการเสนอโครงการอื่นทดแทน เช่น เรือฟรีเกตสมรรถนะสูง 4 ลำ และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 2 ลำ รวมทั้งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง OPV อีก 3 ลำ"
ขอเดาว่า
เรือฟริเกตสมรรถนะสูง 4 ลำ = OHP มือสอง
เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ 2 ลำ = MH-60R
เรือครวจการณ์ไกลฝั่ง อีก 3 ลำ = เรือชั้น กระบี่ จำนวน 3 ลำ ตามแผนโครงการเดิม
ซึ่งเรือ OHP ของ ทร.สหรัฐ ได้มีการปรับปรุงเรือ เพื่อลดค่าใข้จ่ายในการปฏิบัติงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ซึ่ง OHP มือสอง อาจจะติดตั้ง MK-41 เพิ่มเติม จำนวน 8 ท่อยิง และติดตั้ง MK-13 กลับเหมือนเดิม เช่นเดียวกับ ทร.ตุรกี และ ทร.ออสเตรเลีย แต่ด้วย ทร.ไทย ไม่มีการใช้ SM-1 ระบบเรดาร์ตรวจจับ จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงมากมาย...
โดย
MK-13 ใช้ยิง Harpoon Missile
MK-41 ใช้ยิง RUM-139 VL-ASROC ต่อต้านเรือดำน้ำ
และ ESSM ต่อต้านอากาศยาน
ผมอยากให้กองทัพเรือจัดหาเรือฟรีเกตแบบ2ลำต่อต้านอากาศ2ลำแบบต่อต้านใต้น้ำ แบบนี้จะดีมั้ยหว่า
กรณี สมมติ ตามการเดาของผม ภาพของ กองเรือยุทธการ จะเป็นดังนี้ครับ
จัดหา OHP มือสอง จำนวน 4 ลำ (คาดว่า สหรัฐ น่าจะพอจำหน่ายให้ได้ เพราะมีเรือ LCS จำนวน 4 ลำ เข้าประจำการทดแทนแล้ว)
และสร้าง OPV ชั้นกระบี่ เพิ่มอีก 3 ลำ ตามโครงการเดิม
ก็จะทำให้ มีเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 4 ลำ (เน้นต่อต้านเรือดำน้ำ) และมีเรือ OPV จำนวน 9 ลำ ครบตามความต้องการ ภายในปี 2559 - 2560 ตามแผนความต้องการเดิม
ตามแผนภาพ และตามข้อมูลการให้สัมภาษณ์ของ ผบ.ทร. จะเห็นว่า
กองเรือตรวจอ่าว
หมวดเรือที่ 1 มีเรือ OPV จำนวน 9 ลำ (เรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง)
หมวดเรือที่ 2 มีเรือ FAC จำนวน 9 ลำ (เรือเร็วโจมตี)
หมวดเรือที่ 3 มีเรือตรวจการณ์ปืน จำนวน 9 ลำ
รวมทั้งหมด 27 ลำ
"ส่วน ทบ. นั้นก็เล็งที่จะขอซื้อเพิ่มรถถัง T-92 Oplot จากยูเครน อีก 3 กองพัน จากที่ซื้อไปแล้ว 1 กองพัน ที่ พล.อ.ประยุทธ์ เดินทางไปดูด้วยตนเองที่ยูเครนมาแล้ว พร้อมการันตีในคุณภาพ เช่นเดียวกับที่เชิญนายกรัฐมนตรีไปชมการฝึกคชสีห์ ก็เพื่อโชว์ศักยภาพรถเกราะ BTR จากยูเครน ด้วยนั่นเอง"
จากลิ้งค์ข่าวที่ท่าน chelsea ลงให้ใหม่.....ทบ.จะเอา Oplot อีก 3 กองพันให้ครบหนึ่งกรม 200 กว่าคัน! มาแทน ลีโอ A-4 มือสอง ........
จาก http://thaiarmedforce.com/distribution/viewtopic.php?f=6&t=783&start=45
บอกว่าทร. จะทำการปรับปรุงเรือชั้นคำรณสินธุ และปรับปรุงเรืออีก 4 ชุด
ข่าวเพิ่มเติมจากเวป TAF ของท่าน Skyman ครับ
http://www.thaiarmedforce.com/taf-military-news/54-rtn-news/447-das2012-thales.html
เนื้อข่าว
07/03/2555 17.00 น. ThaiArmedForce.com - Thales เผยได้รับคัดเลือกในโครงการปรับปรุง ร.ล.คำรณสินธุ และได้เสนอทางเลือกในการปรับปรุงเรืออีก 4 ชุดให้กับกองทัพเรือไทย
บริษัท Thales ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพเรือไทยในโครงการปรับปรุงระบบการรบของเรือตรวจ การณ์ปราบเรือดำน้ำชุด ร.ล.คำรณสินธุ จำนวน 3 ลำ และได้ลงนามในสัญญากับกองทัพเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยผู้บัญชาการทหาร เรือเป็นตัวแทนของฝ่ายไทย และขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามสัญญา
Mr. Pim Van Wensveen ที่ปรึกษาอาวุโสด้านระบบอาวุธทางเรือของ Thales ได้ให้รายละเอียดกับ ThaiArmedForce.com ระหว่างงาน Defense & Security 2012 ว่าโครงการนี้ประกอบด้วย
(1) การเปลี่ยนระบบอำนวยการรบจากระบบ NAUTIS-P ของ BAE เป็นระบบ TACTICOS ที่มีคอนโซลควบคุมการทำงาน 2 ชุด
(2) การเปลี่ยนระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง Sea Archer ของ BAE เป็นระบบ Mirador
(3) การเชื่อมต่ออุปกรณ์เดิมภายในเรือเข้ากับระบบ TACTICOS ประกอบด้วยระบบตรวจจับ คือ เรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ AWS-4 ของ BAE เรดาร์เดินเรือ Bridgemaster E ของ Sperry Marine ศูนย์เล็งกำหนดเป้าหมายสำหรับปืนใหญ่กล (TDS) และโซนาร์ DSQS-21 ของ Atlas ระบบอาวุธ คือ ปืนใหญ่เรือ 76/62 มม. ของ OTO Melara และปืนใหญ่กล 30/82 มม. ของ Breda/Rheinmetall แต่ไม่รวมถึงแท่นยิงตอร์ปิโด และระบบนำร่องต่างๆ
ทั้งนี้แม้ว่า Thales ได้เสนอให้กองทัพเรือเปลี่ยนเรดาร์ AWS-4 เป็นเรดาร์ตรวจการณ์พื้นน้ำ/อากาศ Variant (ทำงานในช่วงความถี่ C-band และ X-band) พร้อมระบบพิสูจน์ฝ่าย TSB2525 ที่ทันสมัยกว่า (ใช้งานอยู่กับเรือชุด ร.ล.กระบี่) แต่กองทัพเรือยังคงเลือกใช้เรดาร์เดิม ซึ่งน่าจะมาจากงบประมาณที่จำกัด Thales ก็ยังคาดหวังว่ากองทัพเรืออาจจะเลือกที่จะเปลี่ยนเรดาร์เมื่อได้รับงบประมาณ เพิ่มเติมในอนาคตThales กล่าวว่านี่เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ทาง Thales ได้รับความไว้วางใจจากกองทัพเรือไทยในช่วงเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ตั้งแต่โครงการเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุด ต.991 และ ต.994 รวม 6 ลำ โครงการปรับปรุงระบบการรบของเรือตรวจการณ์ปืนชุด ร.ล.สัตหีบ 3 ลำ และโครงการเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ อีก 1 ลำ ซึ่งทั้งหมดใช้ระบบอำนวยการรบแบบ TACTICOS เป็นแกนหลักเหมือนกัน รวมทั้งใช้ระบบตรวจจับและควบคุมการยิง และระบบรวมการสื่อสารจาก Thales เช่นกัน
ในอนาคต Thales ยังได้เสนอแผนการปรับปรุงเรือผิวน้ำชุดอื่นๆ ของกองทัพเรือไทยเช่นเดียวกัน เพื่อให้เทคโนโลยีของเรือแต่ละลำในกองทัพเรืออยู่ในระดับที่ก้าวทันกัน นอกจากเรือตรวจการณ์แบบต่างๆ ที่ Thales มีส่วนรับผิดชอบในการก่อสร้างหรือปรับปรุงดังที่กล่าวไปแล้ว และเรือฟริเกต ชุด ร.ล.กระบุรี ที่กำลังดำเนินการปรับปรุงโดยบริษัทจากประเทศจีน นอกจากนี้แม้ว่าทาง Thales จะรู้สึกเสียดายที่ไม่ได้รับการคัดเลือกจากกองทัพเรือในโครงการปรับปรุงระบบ การรบ/ระบบอาวุธของเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ที่ Thales เห็นว่าบริษัทของตนน่าจะได้รับการคัดเลือกมากกว่าบริษัท Saab ของสวีเดน แม้ว่าเงื่อนไขของกองทัพเรือจะต้องการให้ระบบอำนวยการรบใหม่ที่จะติดตั้ง สามารถเชื่อมต่อกับระบบ Tactical data-link ของสวีเดนได้ก็ตาม แต่ระบบของ Thales ก็สามารถทำการเชื่อมต่อ (Integrate) กับ link ของสวีเดนหรือรวมทั้ง Thai-link ที่กองทัพไทยพัฒนาขึ้นเองได้เช่นกัน โดยไม่จำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์ของ Saab แต่อย่างใด
สำหรับในอนาคต Thales ได้ให้ข้อมูลกับ ThaiArmedForce.com ว่า Thales มีแผนงานที่จะเสนอให้กับกองทัพเรือเพื่อปรับปรุงระบบการรบของเรืออีก 4 ชุด คือ
เรือตรวจการณ์ปืน ชุด ร.ล.หัวหิน 3 ลำ (ซึ่งมีพื้นฐานจากเรือชุด ร.ล.คำรณสินธุ และมีแผนแบบใกล้เคียงกันมาก) จะได้รับการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรบให้สูงขึ้น โดยอาจจะมี
(1) การติดตั้งระบบอำนวยการรบ TACTICOS (คอนโซล 3 ชุด) เรดาร์ Variant พร้อมระบบพิสูจน์ฝ่าย TSB2525 เรดาร์และออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง LIROD Mk.2 (เหมือนกับ ร.ล.กระบี่) ศูนย์เล็งปืน TDS ระบบรวมการสื่อสาร ICS ระบบรวมการเดินเรือ INS
(2) เชื่อมต่อเรดาร์เดินเรือของ Sperry Marine ที่มีอยู่เดิม 2 ชุด เข้ากับระบบ TACTICOS
(3) เชื่อมต่อระบบอาวุธที่จะติดตั้งใหม่ คือ ปืนใหญ่เรือ 76/62 มม. ของ OTO Melara และปืนใหญ่กล 30 มม. ของ MSI/ATK เข้ากับระบบ TACTICOS (อาวุธเหล่านี้ควรติดมาพร้อมกับเรือตั้งแต่ต้น แต่ด้วยงบประมาณจำกัดขณะนั้นจึงไม่สามารถจัดหาได้)
นอกจากนี้ Thales ยังเสนอการติดตั้งแท่นยิงแบบ Tetral สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่-อากาศ Mistral 4 นัด อีก 1 แท่น ด้วย ทั้งนี้การปรับปรุงเรือชุดนี้น่าจะคุ้มค่ามาก เพราะ เรือมีอายุเพียงประมาณ 10 ปีเท่านั้น
นอกจากนี้หลังจากที่กองทัพเรือได้ส่งเรือผิวน้ำเข้าปฏิบัติการปราบปราม โจรสลัดในอ่าวเอเดนไปแล้ว 2 ครั้ง เพื่อให้การปฏิบัติการในอนาคตมีประสิทธิภาพดีขึ้นและสามารถปฏิบัติการร่วม กับกองทัพเรือต่างประเทศได้ (โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบ link-11) ทาง Thales จึงเสนอแผนปรับปรุงระบบการรบของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ชุด ร.ล.ปัตตานี 2 ลำ และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ชุด ร.ล.สิมิลัน 1 ลำ โดยเน้นการเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ (Situational Awareness) ให้สูงขึ้น
โดยแผนแบบที่เสนอประกอบด้วย
(1) การติดตั้งระบบอำนวยการรบ TACTICOS (คอนโซล 1 ชุด) (ในเรือ ตกก. จะเชื่อมต่อกับระบบ COSYS ของ Atlas ที่มีอยู่เดิม และระบบ COSYS จะใช้เพื่อการใช้อาวุธ/ควบคุมการยิงเป็นหลัก)
(2) การเปลี่ยนเรดาร์ RAN-30X/I ของ Selex เป็นเรดาร์ Variant พร้อมระบบพิสูจน์ฝ่าย TSB2525
(3) การเชื่อมต่อสัญญาณภาพจากระบบออปโทรนิกส์ควบคุมการยิง TMX/EO ของ Rhienmetall เข้ากับระบบ TACTICOS
(4) การติดตั้งระบบ ESM (เฉพาะเรือ ตกก.)
(5) การติดตั้งระบบ link-11 เพื่อรับส่งข้อมูลกับเรือและอากาศยานของกองทัพเรือต่างประเทศที่ปฏิบัติการ ในพื้นที่ร่วมกัน และกับศูนย์ควบคุมบัญชาการรบบนฝั่งของกองทัพต่างประเทศ (กองทัพเรือได้เคยทดลองใช้ Terminal ของ link-11 ระหว่างปฏิบัติการในโซมาเลียมาแล้ว)
(6) การติดตั้งระบบรับข้อมูลจากอุปกรณ์แสดงตนเองอัตโนมัติของเรือและอากาศยาน (Automatic Identification System: AIS และ Automatic Dependent Surveillance-Broadcast: ADS-B) เพื่อช่วยในการระบุฝ่าย ระบุตำแหน่ง และช่วยในการค้นหาข้อมูลหลักฐานการจดทะเบียนต่างๆ (เช่น ชื่อ หมายเลข ชื่อเจ้าของ ภาพถ่าย ฯลฯ) ของเรือและอากาศยานพลเรือน ที่ผ่านเข้ามาในพื้นที่รอบๆ เรือ ในระยะที่ไกลกว่าที่ระบบตรวจจับของเรือจะตรวจพบได้ตามปกติ (โดยเฉพาะเป้าอากาศ ที่เรือบางลำไม่มีเรดาร์ตรวจการณ์ทางอากาศ) และสะดวกกว่าการใช้ระบบ IFF ปกติ (ซึ่งใช้ได้เฉพาะกับอากาศยานเท่านั้น)สำหรับเรือผิวน้ำที่ติดตั้งระบบควบคุมการยิง WM-series ซึ่งปัจจุบันใช้งานมานานแล้ว แต่ยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่ในระดับที่คุ้มค่าจะปรับปรุงในระดับจำกัด (โดยไม่มีการเปลี่ยนเรดาร์ใหม่) เช่น เรือคอร์เวต ชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์ เรือเร็วโจมตีปืน ชุด ร.ล.ชลบุรี หรือเรือเร็วโจมตีอาวุธปล่อยนำวิถี ชุด ร.ล.ราชฤทธิ์ ทาง Thales ได้เสนอแผนการปรับปรุงเพื่อเพิ่มการหยั่งรู้สถานการณ์ให้สูงขึ้น คล้ายกับในเรือชุด ร.ล.ปัตตานี โดยปรับระบบ WM ไปเป็นระบบรองของระบบ TACTICOS ที่ติดตั้งใหม่ ซึ่งจะเข้าไปแทน Tactical Display Console (TDC) เดิม และจะมีการติดตั้งระบบ AIS และ ADS-B ด้วยเช่นกัน
ThaiArmedForce.com ได้สอบถามเกี่ยวกับโครงการปรับปรุงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ชุด ร.ล.จักรีนฤเบศร ซึ่ง Thales ได้กล่าวว่ากองทัพเรือมีแผนความต้องการเรดาร์ที่มีระยะตรวจจับราว 250 กิโลเมตร และระบบอำนวยการรบใหม่สำหรับเรือลำนี้มาหลายปีแล้ว แต่โครงการยังไม่มีความแน่นอน โดยกองทัพเรือเสนอโครงการนี้ครั้งแรกเมื่อกว่า 6 ปีมาแล้ว
นอกจาก นี้ Thales ยังได้สนทนากับ ThaiArmedForce.com เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการปรับปรุงเรือฟริเกตชุด ร.ล.เจ้าพระยา 2 ลำ และโครงการเรือฟริเกตแบบใหม่ของกองทัพเรือในอนาคตอีกด้วย
ขอขอบคุณเนื้อข่าวจาก TAF ของท่าน Skyman และ ทีมงานเป็นอย่างยิ่งครับ
เพื่อนๆ TFC สามารถเข้าไปพูดคุยในบอร์ดแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับท่านสมาชิกใน TAF ได้เลยครับ
สรุปจากเนื้อข่าวของ TAF เรือชั้นคำรณสิณธุ จะทำการเปลี่ยนระบบอำนวยการรบใหม่เป็น Tacticos เปลี่ยนระบบควบคุมการยิงอิเลคโทรออปติคใหม่ และ เชื่อมต่อระบบอำนวยการรบเข้ากับระบบตรวจการและระบบอาวุธ
เมื่อไม่ได้เรือดำน้ำมาถ่วงอำนาจเพื่อนบ้านทางใต้ กองเรือปราบเรือดำน้ำจึงต้องปรับปรุงยกชุด
Thales เสนอ ทร. ให้ upgrade เรือชั้น หัวหิน 3 ลำ
เปลี่ยนระบบอำนวยการรบใหม่เป็น Tacticos
เปลี่ยนระบบตรวจจับและระบบควบคุมการยิงใหม่
ติดตั้งปืน 76/60 ติดตั้งปืน 30 มม.ของ MSI แท่นยิงมิสมรัลแบบ Tetral
เรือชั้นนี้น่าจะปรับปรุงนานแล้วครับ ต่อมาก็ 10 ปีแล้ว ต้องรับมือกับเรือตรวจการณ์รุ่นใหม่ของมาเลย์ ถ้าปรับปรุงเรือชั้นนี้ใหม่ตามที่ Thales เสนอจริงๆ ก็จะทันสมัยกว่าเรือชั้นชลบุรี
ใน TAF ดูเหมือนจะเชียร์เรือฟรีเกตจาก DW3000H จากเกาหลีใต้กันนะครับ เพราะขนาดใกล้เคียงเรือชั้นนเรศวร ถ้าติดตั้ง VLS Mk-41 และ K-VLS ที่ติดตั้ง K-ASROC ก็น่าสนใจนะครับ แต่เรือชั้นนี้ต้องติดตั้งระบบโซน่าร์ลากท้ายที่ทันสมัย ระบบ ASROC หรือ K-ASROC ระบบตอร์ปิโด ระบบโซน่าร์หัวเรือที่ทันสมัย และสุดท้าย ESSM กับ SM-2 แม้ว่าระบบอำนวยการรบจะไม่ได้ระดับเอจีส
ปล. ถ้าต้องจัดหาเรือใหม่ ผมสนับสนุนให้ต่อเรือชุดในประเทศครับ ลำแรกอาจจะต่อที่บ้านเขา 3 ลำที่เหลือต่อเองในประเทศ แต่ว่าอู่เรือบ้านเราจะต้องต่อเรือ OPV 3 ลำด้วยนี่สิ ตารางชนกันวุ่นแน่
เรือดำน้ำน่าจะได้นะเสียดายจังน่าจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลักแทนอารมณ์ของใครคนใดคนนึง
ตามตารางของป๋าจูล ดูเหมือนเรือหลวง ตาปี , คีรีรัฐ , มงกุฎราชกุมาร จะต้องจัดเป็น OPV แต่เรือ 3 ลำนี้ก็จวนจะปลดเต็มแก่ จำได้ว่าถ้าเรือหลวงกระบี่ต่อเสร็จจะทำการปลดเรือหลวงมงกุฎราชกุมารออกไป แสดงว่ายังขาดเรือ OPV ไปหลายลำ
เรือหลวง ตาปี คีรีรัฐ มงกุฎราชกุมาร ปลดเมื่อไหร่ก็ต้องต่อ OPV อีก 3 ลำเข้ามาทดแทนหลังปี 2560 แน่ๆ งานนี้ท่าทางเรือชั้นกระบี่คงต้องต่อถึง 7 ลำ
ผมว่าระหว่างนี้ทัพเรือน่าจะขอ...จองซื้อเรือชั้น "Hamilton Class" ของเมกันมาใช้ในกองเรือตรวจอ่าวซัก 2 ลำ คงประหยัดงบประมาณได้มาก
ทีเดียว เพราะที่ "ประเทศปิน" ได้มาในราคาที่เปิดเผยล่าสุด มีราคาแค่ 8 ล้านดอลล่าร์เท่านั้นเอง ไม่รู้ว่า "ปิน" ต่อแบบสุดๆ มาหรือเปล่า?
คิดเป็นเงินไทยแค่ 240 ล้านบาทเท่านั้น ถ้าซื้อแบบไม่ถอดอุปกรณ์ออกเลย ไม่น่าจะเกิน 600-700 ล้านบาทไทยนะครับ
เพราะถึงเรือเก่า แต่ไม่ได้โทรมมากมายอะไร (จุดเด่นคือมีขนาดใหญ่ดี) ก็เอามาใช้ตรวจอ่าว และฝึกภาคสนามทหารใหม่ยังไงก็คุ้มค่าแล้วครับ
การพัฒนาอาวุธของกองทัพเรือคงทำได้ไม่เร็วอะไรมากนัก ก็อาศัยประโยชน์จาก Hamilton ไปเลื่อยๆ ก่อนก็ได้นี่ ...ครับ
ร.ล.กระบี่ น่าจะมาแทน ร.ล.ปิ่นเกล้า น่ะครับ....
ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร น่าจะประจำการอยู่จนกว่า ตกก.ใหม่ อีก 3 ลำ จึงจะทะยอยเข้าประจำการ....
ร.ล.ชั้นพุทธฯ ทั้ง 2 ลำ ก็ขยายอายุประจำการออกไป น่าจะจนกว่า จะมีเรือต่อต้านเรือดำน้ำแบบใหม่ มาทดแทน...ถ้า โครงการ เรือดำน้ำ ดับสนิท....
แต่ถ้า โครงการ เรือดำน้ำ ยังดำเนินการต่อไป และสามารถเข้าประจำการได้ภายใน 5 - 7 ปีนี้...เรือชั้น พุทธฯ ก็น่าจะปลดระวางเร็วขึ้น...ร.ล.ตาปี กับ ร.ล.คีรีรัฐ และ ร.ล.มกุฎราชกุมาร คงจะประจำการต่ออีกระยะหนึ่ง แม้จะมีเรือ ตกก. ใหม่ จำนวน 3 ลำ มาทดแทน...และรอจนกว่า จะได้เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ มาทดแทน...
กองเรือสำหรับ ต่อต้าน และปราบเรือดำน้ำ น่าจะประกอบด้วย
กรณีถ้าสามารถจัดหา เรือดำน้ำ มาได้...ภายในปี 2559
กองเรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ
กองเรือฟริเกตที่ 1 ประกอบด้วย 3 หมวดเรือ คือ เรือชั้น ตาปี จำนวน 2 ลำ ร.ล.มกูฎราชกุมาร จำนวน 1 ลำ เรือชั้น รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ เรือชั้น คำรณสินธ์ จำนวน 3 ลำ
หลังจากปี 2559 - 2564 น่าจะประกอบด้วย
กองเรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ
กองเรือฟริเกตที่ 1 ประกอบด้วย 3 หมวดเรือ คือ เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ เรือชั้น รัตนโกสินทร์ จำนวน 2 ลำ เรือชั้น คำรณสินธ์ จำนวน 3 ลำ
แผ่นภาพในความเห็น กรณี แบบ ทร. จัดหามาได้แบบ สูงสุด วงเงินงบประมาณน่าจะอยู่ระหว่าง 60,000 ล้านบาท
แผ่นภาพการจัดหาในความเห็นแบบส่วนตัว แบบ ต่ำสุด วงเงินงบประมาณน่าจะอยู่ระหว่าง 40,000 ล้านบาท
โอ้ววว......ผมชอบแผนภาพอันล่าสุดของป๋าจูลจริงๆ โดยเฉพาะดีลที่ได้เีรือดำน้ำ กองเรือตรวจอ่าวนี่มีเรือระดับ corvette ชั้นดี 9 ลำ เรือดำน้ำ 2 และ เรือฟรีเกตชั้นเยี่ยมอีก 2 ถึงแม้ว่าเรือฟรีเกตชั้นเยี่ยมอาจจะต้องกลายเป็นเรือชั้นเปอร์รี่ 4 ลำที่ upgrade แล้วก็ตาม จะเป็นช่วงที่ทร.มีขีดความสามารถสูงสุดเท่าที่ผมเคยเห็นเลยครับ
เรือเปอร์รี่ที่ทำการปรับปรุงระบบเครื่องยนต์แล้วแพงขนาดลำละ 6,000 ล้านเลยหรือครับนี่ เท่าที่ทราบเรือรุ่นนี้รุ่นลำตัวยาวก่อนทำการปรับปรุง ราคาสร้างเรือต่อลำยุคนั้นก็ราวๆ 5,000-6,000 ล้านบาทไปแล้วนี่ครับ โห......ขายมือสองในราคาที่ตัวเองเคยต่อมาใหม่ๆเลยนะนี่ แต่ยอมรับว่าอาจเป็นเพราะค่าเงินดอลล์ที่ดิ่งค่ามาตลอด 20 ปี และเรือชั้นนี้เองก็ยังมีคุณค่าและประสิทธิภาพสูงพอสำหรับยุคนี้ แต่ถ้าราคาสัก 3000-4000 ล้านนี่น่าสนใจมากกว่าเยอะ เมกานี่เค็มจริงๆ
5 5 5 5 ...เป็น ราคา เดา ครับ ท่าน neosiamese2
แต่เท่าที่ผมสังเกตุนะครับ....การขายอาวุธ มือ 2 ส่วนใหญ่จะใช้ราคาแรกเริ่มที่จัดหามาน่ะครับ...เว้นแต่ ขายแต่ตัวเรือจริง ๆ ก็จะถูกลงหน่อยครับ...ซึ่งมันจะเป็นราคาเมื่อ 20-30 ปีก่อน...
ส่วนราคาที่ผมประเมินไว้นั้น เป็นราคาการอัพเกรดและการติดตั้งระบบอาวุธเพิ่มเติมเช่น MK-41 รวมถึง อาวุธต่าง ๆ ที่ต้องจัดหาเพิ่มเติมครับ....
สังเกตุง่าย ๆ ครับ...แค่ เรือชั้น กระบุรี เปลี่ยนแค่ ตัวลูกจรวดจาก C-801 เป็น C-802 ก็ตกลำละประมาณ พันกว่าล้านแล้วครับ...ถ้ารวมทั้งหมดที่ทำการอัพเกรดจะตกลำละประมาณเกือบ 3000 ล้านบาท...
ผมเลยคำนวณคร่าว ๆ ว่า แค่เฉพาะตัวเรือของ OHP น่าจะอยู่ประมาณ 3000 ล้านบาท ต่อ ลำ...ส่วนอีกประมาณ 2000 ล้านบาทต่อลำ อาจจะหมายถึง การจัดหาอาวุธ ทั้งตัวระบบการยิง และ ตัวลูกจรวด และอื่น ๆ ส่วนอีกประมาณ 1000 ล้านบาท อาจจะหมายถึงการ Refit ตัวเรือ และการปรับเปลี่ยนของเก่า ใช้ ของใหม่ ทดแทน เพือสำหรับการใช้งาน ประมาณ 15 ปี เป็นขั้นต่ำ
ซึ่งผมมอง กรณี ที่ เรือชั้นพุทธฯ ทำไมถึงอายุประจำการสั้น ก็น่าจะเนื่องจาก ขณะนั้นเราเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ จ่ายเงินเขาไม่ครบ...เขาเลยปรับตามสภาพงบประมาณของเราน่ะครับ...และถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ระบบโซนาร์ ลากท้าย และ โซนาร์ชักหย่อน น่าจะไม่ได้ให้มาด้วยครับ...ซึ่งถ้าขณะนั้น เรามีงบประมาณชำระครบตามสัญญาเขา เรือขั้นพุทธฯ น่าจะยังมีอายุประจำการอีกนานครับ...และระบบตรวจจับเรือดำน้ำเราน่าจะครบเครื่องกว่านี้ครับ...
คุณJuldasครับ มีความเป็นไปได้มั้ยครับ ในกรณีที่เราจะต่อเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เราจัดหาเรื่อOHPแค่2ลำ เพื่อปิดช่องว่างระหว่างจัดหาเรือ โดยเร่งต่อเรือตรวจการณ์ให้ครบทั้ง9ลำเพื่อพัฒนาทักษะ แล้วจึงเริ่มการจัดซื้อเรือฟริเกตสมรรถนะสูงโดยต่อจากต่างประเทศ1ลำ และต่อเอง1ลำ รวมทั้งอาจจะเพิ่มอีก2ลำเพื่อทดแทนเรือOHPที่จะครบอายุ
ซึ่งเรือชั้นพุทธฯ ของ ทร.ไทย เรานั้น
ระบบโซนาร์ตรวจจับ นอกจากตรงหัวเรือแล้ว...
จะแบ่งเป็น มีระบบโซนาร์ ลากท้าย (AN/SQR-18A(V)1) จำนวน 1 ลำ (ร.ล.พุทธเลิศหล้าฯ)
รเะบบโซนาร์ แบบชักหย่อน จำนวน 1 ลำ (AN/SQS-36(V)) จำนวน 1 ลำ ( ร.ล.พุทธยอดฟ้าฯ)
ผมคิดว่า จำนวนพร้อมรบจริง ๆ น่าจะมีจำนวน 4 ลำ ครับ...ถ้า เรา ไม่มี เรือดำน้ำ เลยจริง ๆ....และในการทำโครงการ ผมคิดว่า ทร. ก็น่าจะเสนอ 4 ลำ ครับ...แต่ตามโครงการเดิม ที่เสนอเพียง 2 ลำ...เพราะ มันมีโครงการ เรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ อยู่ด้วยครับ...ในแง่ การต่อต้าน และ ปราบเรือดำน้ำ จึงมอบภาระกิจหลักให้ กองเรือดำน้ำ ไปเลย...เรือรบผิวน้ำ จึงพอจะลดจำนวนให้สมดุลย์กับงบประมาณได้ คือ เหลือ 2 ลำ ครับ...
และตามภาพข้างบน ข้างต้น ของเรือชั้น พุทธฯ ผมคิดว่า ระบบโซนาร์ ทั้งแบบลากท้าย และ แบบชักหย่อน ไม่ได้ติดมาด้วยครับ...เพราะไม่เคยเห็นการซ้อมรบ และทดลองการใช้เลยครับ...ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด เราตั้งงบประมาณไว้ประมาณ 4000 ล้านบาท ของเรือทั้ง 2 ลำ...แต่การจ่ายจริง น่าจะเป็นเพียง หลักร้อยล้านบาท (ไม่ยืนยันครับ)...เพราะเคยดู รายงานอนุมัติของสภาครองเกรส ที่เผยแพร่ในอินเตอร์เนต ขายให้ไทย จำนวน 1 ลำ ประมาณ 1 ล้านเหรียญ หรือ 10 ล้านเหรียญ ไม่แน่ใจครับ...ส่วนอีกลำหนึ่ง ทร.สหรัฐ ใช้การช่วยเหลือแบบทดแทนเรือชั้น ไซโคลน คื้อ ได้ตัวเรือฟรี ๆ เสียแต่ค่าปรับปรุงเท่านั้น ซึ่งก็รู้สึกว่า จะไม่ได้มีจำนวนมากเท่าไหร่ครับ...(ไม่ยืนยันข้อมูลในขณะนี้นะครับ...แต่เคยอ่านผ่านตา และจดจำไว้คร่าว ๆ ครับ)
หมายความว่าในอนาคตการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงก็เป็น 4ลำเพื่อทดแทนเรือOHPสิครับ
ตามแผ่นภาพทัง 2 แบบ ที่ เพิ่ม กองเรือฝึก ขึ้นมา เนื่องจาก
กำลังทางเรือ เช่น สมมติ จัดหา เรือ OHP จำนวน 4 ลำ และ เรือ ตกก. อีกจำนวน 6 ลำ รวมจำนวน 10 ลำ ในระยะเวลาภายใน 10 ปี หรือ การจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 2 ลำ และ เรือ ตกก. อีกจำนวน 10 ลำ รวมจำนวน 10 ลำ ในระยะเวลาภายใน 10 ปี....
นั่นหมายถึง กองทัพเรือ ต้องเร่งผลิต นายเรือ จำนวนมากกว่าเดิมหลายเท่า...ไม่งั้น อาจจะเกิด การขาดแคลนบุคลากรระดับ ผู้บังคับการเรือ ขึ้นได้...
จึงคาดว่า กองทัพเรือ คงน่าจะตั้ง กองเรือฝึก แยกออกมา เพื่อจะได้เน้นการฝึกนายเรืออย่างเดียว เพื่อผลิตบุคลากรได้เร็วขึ้น และทันการใช้งานกับเรือที่จะทะยอยเข้าประจำการ...
ผมว่าน่าจะเป็นตามที่ ผบ.ทร. ให้สัมภาษณ์ ครับ...น่าจะเป็น 4 ลำ เพื่อ ทดแทน เรือดำน้ำ ที่ยังไม่มีความชัดเจน และต้องใช้ระยะเวลาเท่าไหร่...
แต่เรือฟริเกตสมรรถนะสูง จำนวน 4 ลำ ไม่ว่าในปัจจุบัน หรือ อนาคต อย่างน้อยก็คงต้องจัดหาในจำนวนนี้...ดังนั้น เพือลดช่องว่างของ ศักยภาพการปราบเรือดำน้ำ ที่เริ่มมีเรือดำน้ำจำนวนประจำการเพิ่มขึ้นในโลกนี้ มากกว่าในอดีตหลายเท่าตัว...จึงต้องเปลี่ยนแผน จัดหาเลยทีเดียว จำนวน 4 ลำ....
ต้องอย่าลืม ระยะเวลาการซ่อมทำ ด้วยครับ...
ถ้าเราจัดหา เรือผิวน้ำ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ จำนวน 2 ลำ หมายถึง เรามี เรือผิวน้ำ พร้อมเข้าทำสงครามทันที 1 ลำ ครับ...เพราะอีกลำ ก็ต้องซ่อมทำ หรือ ให้ลูกเรือพัก...และอาจจะประจำการได้ใน ฝั่งทะเล ฝั่งใด ฝังหนึ่งเท่านั้น...หรือ ถ้า เรือลำใด ลำหนึ่ง เกิดอุบัติเหตุ ชนหินโสโครก ต้องซ่อมทำเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ความพร้อมรบต่ำกว่าที่ควรจะเป็นครับ...หรือในการ อัพเกรดเรือ จะต้องคำนวณระยะเวลาเป็นอย่างดี เพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อความมั่นคง...
ถ้าเราจัดหา เรือผิวน้ำ ที่มีความสามารถปราบเรือดำน้ำ จำนวน 4 ลำ หมายถึง เรามี เรือผิวน้ำ พร้อมเข้าทำสงครามทันที 2 ลำ ครับ...และสามารถจะประจำการได้ทั้ง 2 ฝั่งทะเล....และในการอัพเกรดเรือ ที่ต้องใช้ระยะเวลานาน ก็จะไม่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคง
ฮะๆๆๆ......ถ้าทร.เราได้งบขนาดต่อเรือใช้ไม่ทันหาลูกเรือมาทำงานบนเรือไม่ทันบ้างก็ดีนะครับ ...........เท่าที่ทราบ ทร.มาเลย์เจอปัญหานี้แล้ว ต้องซื้อเรือฝึกใหม่เอี่ยมเลยจากเกาหลีใต้ 2-3 ลำ 555555........น้ำตาร่วง.........เพราะลูกเรือไม่พอใช้ เรือต่อใช้ไม่ทัน
คงต้องลุ้นตรับ โครงการนี้ใช้งบประมาณมาก บวกโครงการต่างๆของทร.ที่ยังผูกพันข้ามปีอีกหลายโครงการ ก็คงต้องเดากันว่าทร. จะเลือก เรือ OHP ปรับปรุง 4 ลำ หรือจะเลือกต่อเรือใหม่ 2 ลำ .......แต่ไม่ทราบว่างานนี้ ทร.จะได้เลือกเองหรือไม่ เกรงว่าเลือกแล้วแต่ หากสายเกาหลีใต้แข็งจริง อาจจะได้เรือใหม่ 4 ลำเลยครับ งานนี้ถึงเรือดำน้ำโดนโรคเลื่อน แต่คาดว่าอย่างไรเสียโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง ของทร. คงจะวิน วิน ไม่ว่าผลจะออกมาแบบใดครับ
เรือOPVที่กองทัพเรือเรามี ผมว่ามันไม่ค่อยเป็นการตรวจการที่ครบถ้วนเท่าไหร่ ท่าเทียบกับของมาเลย์เซียที่มีส่วนสำคัญ คือมีโซน่า ในรุ่นMEKO A100 ถึงจะไม่มีตอปิโดปราบเรือดำน้า แต่ก็เป็นเรือตรวจการที่ครบสามมิติ ซึ่งยิ่งเราไม่มีเรือดำน้าแล้วเรายิ่งต้องมีการค้นหาที่เต้มรูปแบบ การใช้งานที่สามารถปรับไปใช้ตรวจการร่วมกับฮ.ปราบเรือดำน้ำ อยากจะเห็น3ลำที่กำลังจะจัดหามีระบบโซน่าด้วยอย่างยิ่งเลยครับ เสียดายจริงๆถ้าไม่มี