หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


สื่อรัสเซียปูดข่าว เวียดนามซื้อจรวดอื้อซ่า มหาศาลไว้สอยเรือรบ

โดยคุณ : kaypui42 เมื่อวันที่ : 03/04/2012 00:48:56


-ภาพ วันที่ 21 ส.ค.2552 ในงานมอสโกแอร์โชว์ 2009 จรวดนำวิถี Kh-35E หรือ อูราเนียม-อี (Uranium-E) เริ่มสร้างตั้งแต่ยุคสหภาพโซเวียตและพัฒนามาเรื่อย ทำให้มีชื่อเรียกหลายชื่อ รัสเซียเรียก X-35Y กลุ่มนาโต้ตั้งรหัสเป็น SS-N-25 "สวิตช์เบลด" (Switchblade) บ้างก็เรียกเล่นๆ ว่า "ฮาร์พูนสกี้" (Harpoonski) นาโต้ให้ประสิทธิภาพเทียบเท่าจรวดฮาร์พูนที่ประจำการในทัพเรือสหรัฐฯ รวมทั้งในราชนาวีไทยด้วย เวียดนามซื้อจากรัสเซียมีทั้งเวอร์ชั่นติดเรือรบ ติดบนเครื่องบินและยิงจากพื้น พัฒนามาเพื่อทำลายเป้าหมายทางทะเลขนาดใหญ่โดยเฉพาะ จมเรือฟรีเกตหรือเรือพิฆาตขนาด 5,000 ตันได้ นอกจากซื้อแล้วรัสเซียกำลังจะช่วยเวียดนามผลิต "จรวดร่อน" รุ่นนี้ในประเทศอีกด้วย.
       
ASTVผู้จัดการออนไลน์ – ไม่เพียงแต่ซื้อเรือดำน้ำ เรือฟรีเกต กับเครื่องบินรบทันสมัยจากรัสเซีย เวียดนามยังซื้อระบบป้องกันชายฝั่งทันสมัยและกำลังจะซื้ออีก นอกจากนั้นยังซื้อระบบขีปนาวุธ จรวดร่อนประสิทธิภาพสูงของรัสเซียเพื่อยิงทำลายเรือรบขนาดใหญ่ของข้าศึกอีก ด้วย
       
       รัสเซียส่งมอบอาวุธเหล่านี้แล้วจำนวนมากและยังจะส่งมอบต่อไปจนถึงปี 2557 รวมมูลค่าหลายร้อยล้านดอลลาร์ สื่อกลาโหมในรัสเซียรายงานเรืองนี้โดยอ้างข้อมูลกลุ่มบริษัทผลิตและจำหน่าย ขีปนาวุธยุทธวิธี (Tactical Missiles Corporation) หรือ KTRV ภายใต้กระทรวงกลาโหม
       
       รัสเซียกำลังจะอัพเกรดจรวดนำวิถีจากอากาศสู่พื้นสำหรับทำลายเรือรบ แบบ Kh-29T ซึ่งเป็นรุ่นเก่า ให้มีประสิทธิภาพเท่ากับรุ่น Kh-29L และ Kh-29TE โดยติดตั้งระบบเลเซอร์นำวิถี รวมทั้งระบบต่อต้านเรดาร์กับการรบกวนคลื่นของฝ่ายข้าศึก รัสเซียกับเวียดนามได้เซ็นสัญญากันหลายฉบับเมื่อปีที่แล้ว เพื่อดำเนินการในเรื่องเหล่านี้
       
       จรวดนำวิถี Kh-29 (หรือ X-29 1หรือ GRAU 9M721 เป็นแบบอากาศสู่พื้น มีระยะปฏิบัติการ 10-30 กม. บรรจุหัวรบน้ำหนัก 320 กก. นำวิถีด้วยอินฟราเรดหรือเลเซอร์หรือเรดาร์ ติดตั้งในเครื่องบินรบ Su-24, Su-30, MiG-29K รวมทั้งใน Su-25
       
       ในปี 2553 กลุ่มผลิตขีปนาวุธยุทธวิธีได้เซ็นความตกลงกับเวียดนาม เพื่อจัดหาอุปกรณ์กับชิ้นส่วนที่สำคัญในการอัพเกรดจรวด Kh-29T Kh-29L กับ Kh-29TR รวมมูลค่า 570,000 ดอลลาร์
       
       กลุ่มนาโต้เทียบประสิทธิภาพจรวดรุ่นนี้เท่ากับจรวด AGM-65 "เมเวอริค" (Maverick) ที่ประจำการในกองทัพสหรัฐฯ แต่ Kh-29 มีหัวรบใหญ่กว่า ออกแบบมาเพื่อยิงทำลายลานบิน รันเวย์ สิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ รวมทั้งบังเกอร์และโรงเก็บเครื่องบินข้าศึก จึงสามารถทำลายเรือรบขนาด 5,000 ตันได้
       
       การซื้อจรวดลอตใหญ่ทำให้รัสเซียกับเวียดนามเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิด กันมากยิ่งขึ้น และรัสเซียตกลงช่วยเวียดนามผลิตจรวดนำวิถีรุ่นอูราน-อี (Uran-E) หรือ EV Kh-35E ซึ่งเป็นอาวุธนำวิถีประสิทธิภาพสูงมากสำหรับยิงทำลายเรือรบขนาดใหญ่ข้าศึก เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าว
       
       ตามรายงานของกลุ่มขีปนาวุธยุทธวิธี ปีที่แล้วได้มีการเซ็นความตกลงร่วมมือกับเวียดนามถึง 6 ฉบับ ซึ่งใช้รหัสเรียกเป็น เวียดนาม 7-9, เวียดนาม-10, เวียดนาม-11, และ เวียดนาม 12-15 ทั้งหมดนี้ล้วนแต่เกี่ยวกับการซื้อขายและความร่วมมือด้านขีปนาวุธกับจรวดนำ วิถี
       .


จรวดอูราน-อี ในงานมอสโกแอร์โชว์ 2552 เช่นกัน นำวิถีด้วยเรดาร์ ด้วยอินฟราเรด มีให้เลือกหลายเวอร์ชั่น.
       2


ภาพ จากวิกิพีเดียจรวด Kh-29 "เค็ดจ์" (Kedge) แบบยิงจากอากาศสู่พื้นทำลายเรือรบข้าศึก นำวิถีด้วยเรดาร์ ติดตั้งในเครื่องบินรบรัสเซียได้หลากหลายตระกูล ทั้งซูคอยและมิโกยันในภาพนี้เป็น Kh-29L สำหรับฝึกซ้อม รัสเซียนำออกโชว์ในงาน Kecskemét Open Day ประเทศฮังการี วันที่ 16 ส.ค.2551. รัสเซียกำลังช่วยเวียดนามอัพเกรดจรวดรุ่นนี้ให้ทันสมัยยิ่งขึ้น อันเป็นความตกลง 1 ใน 6 แพ็คเกจที่เซ็นกันลับๆ เมื่อปีที่แล้ว สำนักข่าวกลาโหมออนไลน์ในรัสเซียรายงาน.
       3


ระบบเรดาร์นำวิถีกับระบบต่อต้านเรดาร์และต่อต้านขีปนาวุธป้องกันของข้าศึกที่ติดตั้งในส่วนหัวจรวด อูราเนียม-อี.
       4


จรวด นำวิถี Kh-31A ความเร็วระดับซูเปอร์โซนิค แบบอากาศสู่พื้น ใช้ยิงทำลายเรือรบของข้าศึกเช่นกัน รัสเซียนำออกแสดงในงานมอสโกแอร์โชว์ 2552 เป็นรุ่นที่พัฒนาใหม่มีรุ่นนำวิถีด้วยเลเซอร์ทันสมัยยิ่งขึ้น เวียดนามมีประจำการมานานใช้ติดตั้งเครื่องบินรบตระกูล Su-27/Su-30 และเซ็นซื้ออีกจำนวนมาก.
       5


เรือ ดีงเตียนหว่าง (Đinh Tiên Hoàng) ซึ่งเป็นเรือฟรีเกตชั้นเกพาร์ด 3.9 ติดจรวดจรวดนำวิถี Kh-35W ประกอบด้วยท่อยิงชุดละ 4 ท่อ เวียดนามเพิ่งได้รับมอบจรวดยิงทำลายเรือรบรุ่นนี้เมื่อปีที่แล้ว มีจำนวนเพียง 33 ลูก รัสเซียจะยังส่งมอบต่อไปจนถึงปี 2547 และ ยังมีความร่วมมือผลิตจรวดรุ่นนี้ในเวียดนามอีกด้วย. -- ภาพ : Bảo Đất Việt.
       6
       
       ก่อนหน้านั้นในปี 2552 เวียดนามได้ซื้อระบบจรวดเพื่อการฝึกซ้อมแบบ 3M-24EMB จากรัสเซียรวมมูลค่า 2.359 ล้านดอลลาร์ และได้รับมอบทั้งหมดแล้ว ก่อนที่เวียดนามจะเซ็นซื้อจรวดนำวิถี 3M-24E รวมมูลค่า 23.4 ล้านดอลลาร์
       
       จรวด 3M24 เป็นอูราน-อี (Kh-35E) รุ่นที่รัสเซียผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าระดับพันธมิตรยุทธศาสตร์ เป็นจรวดร่อนความเร็วต่ำกว่าเสียงขับเคลื่อนด้วยเชื้อเพลิงแข็งผนวกกับระบบ เทอร์โบเจ็ทปฏิบัติการ130 กม. ติดระบบนำทางที่แม่นยำ มีระบบต้านเรดาร์และต้านระบบต่อสู้ขีปนาวุธของข้าศึก
       
       กลุ่มนาโต้เรียกจรวดรัสเซียรุ่นนี้ว่า SS-N-25 และเทียบคุณภาพเท่ากับจรวดฮาร์พูน (Harpoon) ที่ใช้ในกองทัพสหรัฐฯ
       
       เมื่อติดตั้งบนเรือ จรวด Kh-35E จะบรรจุในท่อยิงชุดละ 8 ท่อ ปิดผนึกมิดชิดและติดตั้งครั้งละ 2 ชุด รวม 16 ลูก สำนักข่าวโนวอสติได้สัมภาษณ์นายบอริส โอโบโนซอฟ (Boris Obonosov) ผู้บริหารกลุ่ม KTRV ในเดือน ม.ค.ปีนี้ ซึ่งได้เปิดเผยว่าระหว่างปี 2552-2553 กลุ่มนี้ได้ส่งมอบจรวดร่อน Kh-35E ให้เวียดนามรวม 33 ลูก
       
       ในปี 2554 รัสเซียได้เริ่มส่งมอบจรวดนำวิถี Kh-31Aให้เวียดนามอีกแต่ยังไม่ครบ จรวดรุ่นนี้ออกแบบเพื่อติดตั้งในเครื่องบินรบ Su-30MK2 โดยเฉพาะ เวียดนามได้ซื้อครั้งแรกเป็นมูลค่า 49.65 ล้านดอลลาร์ จากนั้นได้เซ็นซื้ออีกเป็นเงินกว่า 108 ล้านดอลลาร์ เพื่อส่งมอบในปี 2557
       
       จรวด Kh-31A มีความเร็วระดับซูเปอร์โซนิค ระยะยิงทำลายเรือรบข้าศึก ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และในทุกสภาพภูมิอากาศ มีความสามารถสูงในการหลบเลี่ยงเรดาร์ข้าศึก รวมทั้งระบบต่อต้านขีปนาวุธของข้าศึกเช่นเดียวกับ Kh-35E
       
       เวียดนามยังมีแผนการจัดซื้ออีกเป็นมูลค่า 98 ล้านดอลลาร์ในระหว่างปี 2556-2557 เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าว
       .


จรวด ฮาร์พูน (UGM-84) แบบพื้นสู่พื้น ยิงขึ้นจากเรือดำน้ำลำหนึ่งของสหรัฐฯ ใกล้กับศูนย์ทดสอบขีปนาวุธในรัฐแคลิฟอร์เนีย ในภาพวันที่ 1 เม.ย.2536 นาโต้จัดขีดความสามารถจรวดอูราน-อี (Kh-35E) ของรัสเซียเทียบเท่าจรวดรุ่นนี้ของค่ายตะวันตก รัสเซียกำลังจะช่วยเวียดนามผลิตเพื่อใช้ในประเทศ. ภาพ: วิกิพีเดีย.
       7
       
       รายงานยังระบุอีกว่าในปี 2554 รัสเซียยังได้ส่งมอบระเบิด KAB ให้กับเวียดนาม โดยไม่ได้เปิดเผยจำนวน แต่รวมมูลค่าซื้อขาย 11.174 ล้านดอลลาร์ ปีเดียวกันยังได้มอบอุปกรณ์ทหารกับทั้งชุดการฝึกให้กับฝ่ายเวียดนามด้วย รวมมูลค่าอีก 89.17 ล้านดอลลาร์
       
       ปี 2552 เวียดนามเซ็นซื้อเรือดำน้ำโจมตีชั้นคิโล (Kilo-class) จากรัสเซียจำนวน 6 ลำ มูลค่าประมาณ 2,000 ล้านดอลลาร์ยังไม่รวมค่าก่อสร้างอู่จอดกับโรงซ่อม ตลอดระบบอาวุธที่ติดตั้ง ปลายปีเดียวกันต่อกับปี 2553 เวียดนามเซ็นซื้อเครื่องบินรบ Su-30MK2 ลอตที่ 2 และ 3 โดยที่ไม่ทราบจำนวนที่แท้จริงและไม่ทราบราคา
       
       เว็บไซต์ข่าวกลาโหมได้รายงานอ้างการเปิดเผยของผู้บริหารบริษัทซูคอย ที่ระบุว่าเวียดนามมีแผนจัดซื้อทั้งหมด 44 ลำ เพื่อให้ครบจำนวน " 3 ฝูง ++" และเ ท่าที่มีรายงานผ่านสื่อนั้น ปีที่แล้วรัสเซียส่งมอบ Su-30 ให้เวียดนาม 2 ครั้งในเดือน ก.ค.และ ธ.ค. รวมจำนวน 8 ลำ แต่ไม่มีผู้ใดยืนยันได้ว่า ที่ผ่านมาได้รับไปทั้งหมดกี่ลำ
       
       เช่นเดียวกับการส่งมอบ การอัพเกรดและซื้อเพิ่มเติมขีปนาวุธกับระบบอาวุธยิงทำลายเรือรบ ตลอดจนโครงการผลิตจรวดร่อนนำวิถีประสิทธิภาพสูง ทั้งหมดนี้ก็ไม่เคยมีการเปิดเผยมาก่อนเช่นกัน.

 

 

http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000040873





ความคิดเห็นที่ 1


ทำไมเราไม่ซื้อเรือดำน้ำครับวิสัยทรรศน์คับแคบมากจริงๆคนเราทัพเรือเราควรจะเกรียงไกรสุดในภูมิภาคนะความจริง

โดยคุณ warrock เมื่อวันที่ 01/04/2012 00:28:58


ความคิดเห็นที่ 2


บอกคำเดียวว่าน่ากลัว

โดยคุณ nonarmy เมื่อวันที่ 01/04/2012 00:29:59


ความคิดเห็นที่ 3


คงเป็นผลกระทบอาการข้างเคียง จากการที่ จีน มีเรือบรรทุกเครื่องบินประจำการ ที่มี บ.J-15 (Su-30) ประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน

ซึ่งหมายถึงว่า จีน จะมีศักยภาพครองอากาศได้ทั้งทางบก และ น่านฟ้าทางทะเล ครอบคลุมในเอเชียตะวันออก

การจะกระทบ กระทั่ง กับ จีน ในเรื่องการที่ จีน ส่งเรือสำรวจทางทะเลในหมู่เกาะต่าง ๆ หรือ ในน่านน้ำที่ยังมีความขัดแย้งกันอยู่ คงต้องคิดหนักมากขึ้น

ลำดับต่อไปของ เวียดนาม คือ

การจัดหา เรือรบผิวน้ำ ป้องกันภัยทางอากาศ หลังจากนี้ต่อไป....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 01/04/2012 06:56:56


ความคิดเห็นที่ 4


ขอบอกเลยว่า    ทำไมคุณถึงจัดหนักมาก     

โดยคุณ kok129 เมื่อวันที่ 01/04/2012 11:32:00


ความคิดเห็นที่ 5


เวียดนามเขาจะโหดไปแล้ว

โดยคุณ TheSomeif เมื่อวันที่ 01/04/2012 20:09:12


ความคิดเห็นที่ 6


รบกันจริงๆจีนไม่มีทางเอาเรือแล่น...โตงๆๆเข้าน่านน้ำเวียดนามหรอกครับ

ทางบก+ทางอากาศเขาแหล่มกว่าทางน้ำมาก

เพราะงี้เขาถึงดีกับ ลาว+พม่า และดีกับไทยอีก

คิดว่าในกรณีนี้แหละใช่ประโยชน์ระยะยาว

คงเล่นทางอื่นก่อนแล้วจบทางน้ำ

อืมลืมเรื่องเรือดำน้ำอีกที่หลายๆโหลเลยครับ

โดยคุณ aeeclub เมื่อวันที่ 01/04/2012 21:13:14


ความคิดเห็นที่ 7


   ความต้องการแหล่งพลังงานน้ำมันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติรอบๆหมู่เกาะสแปรตลี่ย์นี่ท่าทางจะต้องการสูงจัดมาก    ถึงขนาดที่ว่ายอมใช้จ่ายเงินมหาศาลที่จะเอาไปพัฒนาประเทศให้ดียิ่งขึ้น   กลับต้องมาจัดหาระบบอาวุธเกินตัวไป    เพราะการขยับตัวของจีนเจ้าเดียว 

    บ่อนี้สำหรับจีน   กว่า 10000 ล้านบาร์เรล  4-5 เท่าของบ่อเจ้าปัญหาไทย-เขมร    สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีนให้เป็นมังกรติดจรวด     เวียตนามที่เสียค่าโง่เรื่องบ่อน้ำมันในเขตแดนของตน(ผู้บริหารประเทศรุ่นนั้นแย่จริงๆ)    มาตอนนี้เงินเฟ้อคุมไม่ได้มาเป็นเวลานานเนื่องจากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ต้องนำเข้า   ก็เลยต้องการน้ำมันเพื่อแก้ปัญหา     ดูจากการที่เวียตนามทุ่มเทถึงขนาดนี้  เบ่งเพื่อสู้จีนขนาดนี้    แสดงว่าสภาพเงินและปัญหาจากเรื่องพลังงานรุนแรงทีเดียว  

   มาเลย์  ดูเดือดร้อนน้อนที่สุด     ฟิลิปปินส์ต้องการน้ำมันก็เพื่อต้องการลืมตาอ้าปากกะเขาได้ซะที

ถ้าเวียตนามต้องจัดหาระบบอาวุธมากมายเกินตัวขนาดนี้ต่อไป   ผมว่าระยะยาวจะส่งผลร้ายต่อระบบเศรษฐกิจอย่างมากเลย    เพราะน้ำมันยิ่งเป็นปัญหารุนแรงกับตนเองอยู่    เครื่องบินรบที่ใช้ก็รุ่นซดน้ำมัน    เรือรบก็ซดน้ำมัน   ดูไม่จืดเลย   .........   ภาคการส่งออกสะดุดเมื่อไร   ระบบเศรษฐกิจทั้งหมดพังคลืนแน่ๆครับ 


โดยคุณ neosiamese2 เมื่อวันที่ 02/04/2012 13:08:41


ความคิดเห็นที่ 8


ใครจะตีกับใคร ขอให้ไทยปลอดภัยก็พอ แต่เพื่อนบ้านข้างๆทางตะวันออกนี่จะเอาไงกับเขาดี

โดยคุณ Kevlar เมื่อวันที่ 02/04/2012 13:48:56