สรุปว่า MIG-29 ที่เมียนมาร์สั่งซื้อในรอบหลัง 20 เครื่องนั้นไม่ใช่รุ่น SMT จริงๆใช่ไหมครับ ผมอ่านจากใน Tango เล่มล่าสุดบอกว่า เป็นรุ่น B (เหมือนฝูงแรก) รุ่น UB 2 ที่นั่ง และรุ่น SE คาดว่าแบบเดียวกับกองทัพอากาศมาเลเซีย
ถ้าจริงผมก็คาดการณ์ผิดนะสิ คิดว่าจะซื้อSU-30นะเพราะ
MIG-29มันอายุการใช้งานน้อย
หน้าแหกเลยพอดีว่าซื้อแต่แทงโกมาฉบับที่234มา
ไม่ได้ซื้อTOPGUNมานานแล้ว
เป็นรุ่น B จำนวน 10 ลำ
เป็นรุ่น UB จำนวน 4 ลำ
เป็นรุ่น SE จำนวน 6 ลำ
ซึ่งรุ่น SE เน้นการป้องกันภัยทางอากาศโดยเฉพาะ ซึ่งจะใช้ AAM (Air-To-Air Missile) ได้หลากหลายกว่า รุ่น B หรือถ้าเทียบรุ่น ก็เป็น รุ่น C
Unlike the MiG-29 basic version (version B), the MiG-29SE has the increased weapon load and longer range (with three external fuel tanks). Its weapons mix includes R-27T1 medium-range missiles with IRHH, RVV-AE missiles with an active radar homing head, R-27ER1 increased-range missiles with a semi-active radar homing head and R-27ET1 missiles with IRHH. The aircraft can be fitted with active ECM systems ensuring protection from radar detection, and weapons guidance aids, improved built-in check and training systems. The MiG-29SE can simultaneously engage two air targets.
Mig-29 ของมาเลเซีย หรือ Mig-29N หรือเทียบรุ่นได้เป็น Mig-29SD
เมื่อดูจากรุ่นแล้ว Mig-29SE น่าจะทันสมัยกว่า Mig-29SD
เมื่อรวมล็อตใหม่ที่สั่งซื้อนี้แล้ว
ทอ.เมียร์ม่าร์ จะมี Mig-29
รุ่น B = 20 ลำ
รุ่น UB = 6 ลำ
รุ่น SE = 6 ลำ
ในความเห็นส่วนตัวผม
การจัดหา รุ่น B ล๊อตใหม่ จำนวน 10 ลำ นี้ น่าจะมาทดแทนของเดิม จำนวน 10 ลำ ที่ประจำการมาก่อนหน้านี้....ซึ่งน่าจะวิเคราะห์ได้ถืง ความสามารถในการซ่อมบำรุง และวงรอบการซ่อมบำรุงของ บ.ตระกูล Mig ซึ่ง ทอ.มาเลเซีย มีปัญหาที่ว่า Mig-29 มีอายุเครื่องยนต์ใช้งานประมาณ 2000 ช.ม. และต้องทำการซ่อมทำระดับโรงงาน หรือ เรียกได้ว่าต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่...โดยมีค่าใช้จ่าย เทียบเท่าการจัดซื้อใหม่เลยทีเดียว...ทอ.มาเลเซีย จึงตัดสินใจ ปลดประจำการ Mig-29N
ส่วนที่เพิ่มเติมาใหม่จริง ๆ น่าจะเป็น Mig-29 SE จำนวน 6 ลำ...ซึ่งส่งผลให้ เมียร์มาร์ ต้องจัดหารุ่น UB เพิ่มเติมจากอัตราจากเดิมอีก 2 ลำ....
Lot 1 จัดหา Mig-29B จำนวน 10 ลำ จัดหา Mig-29 UB แบบ 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบ จำนวน 2 ลำ
Lot 2 (ล่าสุด) จัดหา Mig-29 B จำนวน 10 ลำ จัดหา Mig-29 UB แบบ 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบ จำนวน 2 ลำ
จัดหา Mig-29SE จำนวน 6 ลำ จัดหา Mig-29 UB แบบ 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบ จำนวน 2 ลำ
จึ่งน่าสนใจว่า Mig-29UB จำนวน 2 ลำ น่าจะมีระบบอวิโอนิคส์ ใกล้เคียงกับ Mig-29SE เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบด้วย (คล้ายกับฝูง 102 ADF ของ ทอ.ไทย ที่จะต้องมีรุ่น 2 ที่นั่ง เพื่อฝึกเปลี่ยนแบบด้วย) ซึ่งน่าจะอนุมานได้ว่า ทอ.เมียร์ม่าร์ น่าจะมี Mig-29SE และเทียบเท่า SE รวมจำนวนประมาณ 8 ลำ
ซึ่งถ้าวิเคราะห์ว่า ทอ.เมียร์มาร์ จัดหา Mig-29B ล็อตใหม่ จำนวน 10 ลำ เพื่อทดแทนของเดิม แทนการซ่อมทำระดับโรงงานแล้ว...
ทอ.เมียร์ม่าร์ จึงยังมีโอกาส จัดหา บ.ชับไล่สมรรถนะสูง เพิ่มเติมอีกในระยะอันใกล้ ที่นอกเหนือไปจากฝูงที่จะมาทดแทน F-7 และ A-5 (กำลังหาแบบเครื่องบิน)
ผมจึงมองโอกาสว่า SU-30 กับ ทอ.เมียร์ม่าร์ น่าจะมีโอกาสสูงในระยะอันใกล้....
เพราะ SU-30 ตอบโจกท์ ได้ทั้ง เป็น บ.ขับไล่สมรรถนะสูง และ เป็น บ.โจมตี ทดแทน A-5 ได้ใน บ.เพียงลำเดียว....
อ้างอิงจาก blog ของ ท่าน skyman
มาเลเซียปลดประจำการ MiG-29 ทั้งหมดภายในปี 2553
ในที่สุดกำหนดการการปลดประจำการก็ออกมาแล้วครับผม ภายในปีหน้ามาเลเซียจะทำการปลดประจำการ MiG-29N ทั้งหมดครับ โดยภายในปีหน้าจะปลดประจำการ MiG-29N ออก 10 ลำ และสิ้นปีหน้าก็จะปลดอีก 6 ลำที่เหลือ
เขาว่ากันว่า 10 ลำที่เหลือนั่นแหละคือจำนวนความพร้อมรบที่แท้จริงของ MiG-29N ฝูงนี้ครับ
รัฐมนตรีกลาโหมของมาเลเซีย ฯพณฯ ดาโต๊ะ เสรี ดร.อามัด ซาฮิต ฮามิดิ กล่าวไว้ชัดเจนว่าเหตุผลที่มาเลเซียทำการปลดประจำการ MiG-29N ก็คือค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาเครื่องบินที่สูงครับ
ท่านกล่าวว่า มาเลเซียจัดหา MiG-29 ในราคาถูก แต่ต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงแพงครับ โดยมาเลเซียต้องจ่ายเงินทุกปีปีละ 17 ล้านริงกิต หรือราว 5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 170 ล้านบาทต่อลำ โดยในจำนวนนี้ 10 ล้านริงกิตคือค่าซ่อมบำรุงเครื่องบิน และอีก 7 ล้านริงกิตคือค่าซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ โดยคิดแล้วทุกปีมาเลเซียต้องจ่ายเงินถึง 260 ล้านริงกิตหรือราว 2.6 พันล้านบาทเป็นคือบำรุงรักษา MiG-29N ทั้ง 16 ลำครับ
ราคานี้ เท่ากับ Gripen หรือ F-16 ใหม่เอี่ยมจากโรงงาน 1 ลำ หรือเท่ากับ Su-30MKM ลำครึ่งด้วยซ้ำครับ
และนี่คือข้อเสียของเครื่องบินรัสเซียครับ ไม่มีใครปฏิเสธว่าในแง่ของประสิทธิภาพ เครื่องบินรัสเซียล้ำหน้ากว่าตะวันตกในหลาย ๆ ด้าน แต่ในแง่ของการซ่อมบำรุง เครื่องบินรัสเซียสอบตกมาก ๆ ครับ เพราะแม้ว่าราคาเครื่องบินรัสเซียจะถูกมาก แต่ค่าซ่อมบำรุงนั้นจะแพง
เช่นเครื่องยนต์ RD-33 ของ MiG-29N นั้น ต้องเข้ารับการซ่อมใหญ่เมื่อครบ 1,000 ชั่วโมง และต้องซ่อมใหญ่ไปเรื่อย ๆ ทุกปีเมื่อเครื่องยนต์มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1,000 ชั่วโมงจนถึง 4,000 ชั่วโมง ซึ่งถ้าวัดจากข้อมูลของมาเลเซียแล้วจะต้องเสียค่าซ่อมราว 35 ล้านบาทต่อเครื่องยนต์ต่อปี
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=01-11-2009&group=3&gblog=145
ทอ.เมียร์มาร์ จัดหา Mig-29B ประมาณปี 2001 จึงน่าจะมี Mig-29 หลายลำของ ทอ.เมียร์มาร์ อายุใช้งานเครื่องยนต์ มากกว่า 1000 ช.ม. จึงเป็นที่มาใน ความเห็นของผมที่ว่่า ทอ.เมียร์มาร์ คงต้องการการเฉลี่ยอายุการใช้ บ.ขับไล่ ออกไป...โดยมีความพร้อมรบของ Mig-29B เท่าเดิม เนื่องจาก ต้องมีนักบินพร้อมรบจำนวนหนึ่ง ไปบินกับ Mig-29SE....
ส่วน Mig-29SE น่าจะเป็นส่วน ฝูงบิน ที่เพิ่มเติมขึ้นมาใหม่จาก ความพร้อมรบของ Mig-29B เดิม....
อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับท่านจูดาสสำหรับพม่า
ขิ่นหยุนที่ว่าเจ๋งว่าแน่ยังจ๋อยมาแล้ว
วันดีคืนดีอยากเปลี่ยนค่าเงินพ่อเปลี่ยนเองเลย
ไม่แน่นะปีหน้าอาจสั่งซื้อเรือดำน้ำมาซัก2ลำไครจะไปรู้
เครื่องบินสู้ไทยไม่ได้เป็นผมซื้อเรือดำน้ำดีกว่าเอาไว้ขู่ไทย
ตัวคานอำนาจกับไทยเลย...ระวังเราจะได้แค่มองตาปริบๆ