ได้รับข่าวจากวงในว่าใกล้จะได้แบบ ฮ. สำหรับภารกิจ CSAR แบบใหม่แล้วครับ
โดยมีเครื่องที่ส่งเข้าประกวดราคา ๔ แบบ
๑. AW139
๒. MI-17
๓. EC-725
๔. S-92
ตอนนี้มีครื่องที่ผ่านคุณสมบัติ ๒ แบบ คือ แบบที่ ๓ และ ๔
ต้องมาลุ้นกันแล้วว่าจะได้แบบไหนเป็นเครื่อง CSAR ลำใหม่
อยากแหวกไปกา MI-17 , MI-24 อ่ะ
เห็นคนบ่นเรื่องเสียงน้องmiว่าดังครวญครางดีเหลือเกิน(หรือคิดไปเองก็ไม่รู้)อาจจะไม่เหมาะกับrescueเท่าไรผมเชียร์EC-725ละกันอิๆบึกดี
เชียสวยดีน่าจะได้ระยะไกลด้วย(มั้ง)EC-725
เท่าที่ผมได้ไปนั่ง MI-17 มาแล้วเสียงก็ดังในระดับนึงครับ แต่ก็คุยโต้ตอบกับคนบนเครื่องได้ดีนะครับ
ผมขอเลือก S-92 ล่ะกันครับ บินผ่านไปผ่านมาทุกวัน ลองนึงว่าเอาสี ขาวแดง มาทาสี ก็ดูเท่ไม่น้อย
ว่าแต่ไอ้ที่บินไปมาล่อหน้าล่อตาไม่ใช่แค่ S-92 หน่ะสิ มันมี AH-64 Apache ของสิงคโปร์ด้วย เห็นแล้วอยากได้จริงๆ เสียงมันเงียบดีด้วย
ถ้าเป็นแบบนั้นจริง คิดว่าหวยคงจะไปออก S-92 รึเปล่า เพราะทางบริษัทหลังจากขายให้ ทอ. ได้ 3 ลำ
ก็ทำตลาดต่อเพื่อให้ ทอ. ไทย จัดหาแทน UH-1 ของฝูง 203 ดีลนี้คงงบใหญ่อีกแน่นอน เพราะต้องการระหว่าง 14-16 ลำ
ในจะเครื่องที่อยู่ในฝูง 203 ที่ลพบุรี กับเครื่องที่ต้องไปเป็นฝูงแยกตามกองบินต่าง ๆ อีก
ส่วนตัวชอบ S-92 ครับสวยดี และดูใหญ่ดีอีกด้วย
H-92 ครับ ^_*
CSAR คืออะไรครับ
เยี่ยมครับ....S-92 ชัวงวดนี้ 2ตัวล่าง 55+
ผมว่า s-92 ชัวร์ๆ เพราะตามที่สมาชิกกล่าวแหละครับว่า ทอ. ซื้อมาแล้ว และทางซิคอร์สกี้ก็ทำการตลาดมากเพื่อดีลนี้
S 92 มาแน่ๆ
S-92 เข้าวินแน่ๆ555
อยากมีส่วนรวม S-92 หุ่นดู ดูคล่องแคล่ว รวดเร็ว ว่องไว ครับ
ครับท่านspookyผมก็ฟังเค้ามาอีกทีน่าจะเป็นเรื่องความรู้สึกมากกว่า แต่กองเชียร์s92เยอะน่าดูระวังรถผ้าป่าคว่ำนะครับอิๆ
@hinnoi 555 นั้นสิ อัดมาซ่ะเต็มคันเชียว ผ้าป่าคันนี้ งั้นทำบุญให้น้อยๆ หน่อยดีกว่า เผื่อถ้ารถไปไม่ถึงวัดนี้จะเสียใจกันเปล่าๆ 555
เห็นบอกว่าอยากได้ S-92 และ S-92 มีคะแนนประเมินตามคุณสมบัติที่เราตั้งไว้มากเป็นอันดับหนึ่งด้วยนะครับ
แต่มันต้องเปิดดูซองที่ยื่นประมูลมาก่อน ว่าเรารับได้กับเงื่อนไขที่เขาเสนอมาในซองประมูลหรือป่าว ถึงจะตัดสินใจอีกทีว่าเอาไม่เอา
หนับหนุน
พอไปดูข้อมูลใน วิกิฯ ทำไม S-92 ถึงแพงกว่า EC-725 ล่ะเนี่ย!
MI-17ราคามันถูกดี อีกอย่างทบ.มีใช้อยู่แล้ว
แต่คลาวนี้ใช้รุ่นโจมตีติดอาวุธได้นะ แบบว่าMI-17มีหลายรุ่นมากๆ
แต่ขอเสียบินได้ใกล้ไปหน่อย
MI-17 ถ้าระบบ avionics เทียบเท่า หรือดีกว่า S-92 ในราคาเบาๆ ผมว่ามีลุ้นเช่นกันครับ ผมชอบเสียงเวลาบินครับ...เงียบกว่ามากในความเร็วความสูงเท่าๆ กัน
หลายคนเชียร์S-92เพราะมันมีความเป็นไปได้สูง
ผมคิดว่าS-92ยังไงก็มาแน่
ปล.ผมเชียร์เจ้าไหนเจ้านั้นแห้วหมด ฮ่าๆ
ผมขอแทง เพลส...ไม่แทง เต็ง...
ขอแทง EC-725
ถ้าดูจากภาระกิจ CSAR ซึ่งภาระกิจหลัก การค้นหา และกู้ภัย อาจจะทั้งในแนวรบ หรือหลังแนวรบดินแดนของข้าศึก...ปัจจุบัน น่าจะเน้นการ รบร่วม ทั้ง 3 เหล่าทัพ โดยมี ภาระกิจ พลเรือน เป็นภาระกิจรอง....
EC-725 มีประสบการณ์ทั้งจากการรบ และภาระกิจ CSAR ที่ปรากฎ และน่าจะมีสิ่งที่รับรองได้...
ส่วน S-92 ผมว่า เหมาะกับเป็น ฮ.ลำเลียง มากกว่า การเป็น CSAR...ซึ่งผมว่า เป็น ฮ.ที่ใหม่มากสำหรับภาระกิจ CSAR ที่ ทอ. ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก และต้องจัดหาได้ในครั้งเดียว...ทอ.ไทย จะกลายเป็นประเทศแรก ๆ...ซึ่ง ทอ. จะกล้าเสี่ยงขนาดนั้น รึเปล่า ?
ภาพ EC-725
สามารถทำภาระกิจทางทหาร ในส่วน CSAR และสนับสนุนการรบ ได้ทั้งของ อากาศโยธิน และ ภาระกิจของ ทหารบก ได้
ขณะเดียวกัน ก็สามารถ ปฎิบัติภาระกิจในส่วนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ และ เรือลำเลียงของ ทร. ได้...
ในขณะที่ S-92
ผมดูคุณลักษณะ ฮ. น่าจะเหมาะสมในการลำเลียง และบรรทุก อุปกรณ์ เพื่อสำหรับภาระกิจพิเศษ มากกว่า...หรือใช้ CSAR สำหรับ พลเรือน ที่ไม่ต้องการความคล่องตัว หรือ หลบหลีกจากการตรวจจับของข้าศึก...
ถ้าเน้น ภาระกิจ CSAR ผมว่า ผมชอบ EC-725 มากกว่า (ขอเป็น ป๋าดัน 5 5 5 5)
ลองดูภาพเปรียบเทียบกันครับ EC-725 กับ S-92...ถ้าเราเน้นการรบ และ CSAR สนับสนุนทางบก...ไม่ใช่ ภาระกิจ ลำเลียง...
เห็นด้วยกับคุณ Juldas แต่คิดว่าอย่างไร S-92 ก็น่าจะนอนมา
92 อีก หนึ่งเสียงครับ
ป๋ามาดัน...
Behind Enemy Line
มาจาก
ย้อนหลังไปประมาณ 25 ปี
ไทย มีการปะทะ ขั้นทำสงคราม ตอบโต้กัน กับ 3 ประเทศเพื่อนบ้านนี้ เท่านั้น
ลาว
พม่า
กัมพูชา
นั่นคือ ประวัติศาสตร์ ที่ผ่านมา
แม้ใน อนาคต จะมีโอกาสที่ไม่น่าจะเกิด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะไม่เกิด...
ความน่าจะเป็น อาจจะประมาณ 1% แต่ในความหมายของการจัดหา CSAR ของ ทอ.ไทย ก็น่าจะพิจารณาจากโอกาสความน่าจะเป็น โดยใช้ข้อมูลจากอดีต เป็นสิ่งพิจารณา...
หรือ การนำไปใช้ในกิจการของ สหประชาชาติ หรือ การต่อต้านก่อการร้ายปฏิบัติการนอกประเทศ ความหมายของ CSAR ก็น่าจะใกล้เคียงกับประเทศอื่น ๆ...
ด้วยงบประมาณอันจำกัด...การจัดหาผมว่า ก็น่าจะจัดหาแบบที่มีการใช้งานกันอยู่ในปัจจุบัน และสามารถจะฝึกร่วมหรือรับความรู้ ประสบการณ์จากประเทศอื่นได้ โดยการใช้อาวุธที่มีลักษณะเดียวกัน ในภาระกิจ CSAR...โดยไม่ต้องมาเรียนรู้ใหม่กับอากาศยาน ที่ยังไม่มีใครใช้ในภาระกิจ CSAR เลย...
การฝึก และรูปแบบการใช้งานของ หน่วย อากาศโยธิน หรือ กำลังพล ที่ึฝึกเพื่อภาระกิจ Combat Search And Rescue ที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป หรือ เริ่มต้นรูปแบบใหม่ สำหรับ S-92
เอาล่ะซิครับ H-92 โดนป๋า juldas ขย่มให้เจาะประตูห้องโดยสารซะแล้ว... โอ้ว์...สะเทือนเลย ยังไงป๋าอย่าลืมประตูด้านข้างนักบินด้วยนะครับ ะทางเข้าห้องนักบินมันแคบเพราะติดแท่นวางอุปกรณ์ 5 55+
ป๋าจูเตรียมต่อตีกับเพื่อนบ้านแล้วเหรอครับ (อิๆ แซวเล่นนะครับ)
แต่พูดกันตามตรงแล้ว ผมวาตระกูล ซูเปอร์ คูการ์/พูม่านี่ดูเหมือนจะมีคนใช้เยอะกว่า s-92 อยู่พอสมควรเลยทีเดียว
ใครทราบบ้างว่าทำไมตระกูลฮอว์ค 60 ทำไมไม่มาร่วมการแข่งขันครั้งนี้ละครับ
คุณ akula นี่แช่งหรือเชียร์ s-92 กันแน่ครับ (แซวเล่นครับ)
แต่เดิม ทอ.สหรัฐ ก็มีโครงการ CSAR-X เพื่อแทน HH-60 แต่ก็ได้ถูกยกเลิกไป...ถ้าเข้าใจไม่ผิด ก็เปลี่ยนเป็น upgrade HH-60 และ HH-47 แทน หรือ ใช้ MH-60 แทน...(ไม่ยืนยัน)
ในแง่ S-92 ผมว่า มันก็ดีในแง่ ส่งกำลังพล หรือ รับ กำลังพล ในแนวรบ หรือ ถ้าเป็นในหลังแนวรบของข้าศึก ก็น่าจะเป็นประเภท รีบลง แล้ว รีบกลับ...ดูไม่น่าจะ Rescue และ แคล่วคล่องในการ Search...แต่ในแง่ Combat คงจะไม่แตกต่างกัน...
ซึ่ง ทบ. เอง ก็มีการจัดหา ฮ. สำหรับลำเลียงเป็นของตัวเอง รวมถึง ทร. ก็จะจัดหา ฮ.ลำเลียง สำหรับ นย. โดยเฉพาะอยู่ด้วยเช่นกัน...
ฮ.ของ ทอ. ผมว่า น่าจะเป็น หน่วยงานที่ควรจะมีความชำนาญ ในการ CSAR มากที่สุด....ซึ่งนอกจาก CSAR ให้กับ นักบิน ทอ. เองแล้ว...ก็น่าจะสามารถ CSAR ให้กับ ทบ. และ นย. ได้ด้วย ในกรณี กำลังพลติดอยู่ในหลังแนวรบข้าศึก หรือ ในแนวรบของตนเอง ที่ถูกวงล้อม....
จะทำให้ดู คุ้มค่า มากสำหรับการจัดหา CSAR จำนวนถึง 18 ลำ...
Fast-roping คงทำลักษณะนี้มั้งครับ แต่อันนี้เป็นของ CH-46 นะครับ
เท่าที่ลองค้นหาภาพ Fast Roping จากท้ายเครื่องจะมีเฉพาะ เครื่องแบบ 2 โรเตอร์ เช่น CH-46 กับ CH-47
ส่วนแบบโรเตอร์เดียว ที่เปิดท้ายได้ เช่น CH-53 จะไม่มีรูปการ Fast Roping จากท้ายเครื่อง...ซึ่ง S-92 น่าจะเหมือนกับ CH-53 แต่เล็กกว่า...การใช้งาน S-92 น่าจะเหมือนกับ CH-53 คือ ใช้งานได้ประตูเดียว สำหรับการโรยตัวลงพื้น ต้องทำทีละคน หรือ การใช้เทคนิค ที่ใช้ความเร็วในความถี่โรยตัว ตามกัน...แทนที่ จะโรยตัว พร้อม ๆ กัน ข้างประตูละคน...สำหรับ ฮ. โรเตอร์เดี่ยว...
Black Hawk Down
จุดเริ่มต้นของ ภาพยนตร์เรื่องนี้...
น่าจะเป็น กรณีศึกษา ของการ เริ่มต้น หรือ จุดเริ่มต้น ของการ Fast Roping Operation ที่ผิดพลาดในครั้งแรก อาจจะส่งผลให้การเกิด ช่องโหว่ หรือ ขยายไปสุ่ความเสียหายขนาดใหญ่ได้...
ส่วนตัวเชื่อว่า หากมีพื้นที่มากพอที่ท้ายแลมปืสำหรับติดคานเชือก ฟาสโลป แล้ว ก็สามารถลง ฟาสโลปจากท้ายเครื่อง s 92 ได้ครับ
ส่วนเทคนิกการขึ้นบรรทุก หรือ ลง ก็ต้องฝึกตามแบบของอากาศยาน ซึ่ง ก็คงเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
และแลมป์ท้ายก็มีข้อดีอยู่อย่างคือ การขึ้น-ลง ในการบรรทุกที่นอกเหนือจากบุคคล ครับ
มีอยู่รูปของป๋า จูลดาส ที่ไม่ใช่ ฟาสโลปครับ แต่เป็นการส่งกลับเร่งด่วน สไปริก ครับ
ฟาสโลป ท้ายแลมป์อย่างเดียว ยังมีข้อดีอีกอย่างคือ เปลืองเชือกน้อยกว่า ราคาเส้นละหลายแสนเลยนะนั่น 5555
ผมว่า EC-725 น่าจะเหมาะกว่า
งวดแรก 4 เครื่อง เข้าประจำการ 2557 งวดที่ อีก 4 เครื่อง ตามมา