ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- บริษัทวิจัยอากาศยานแห่งหนึ่งในเมืองเออร์คุต (Irkut) ของรัสเซีย จะช่วยเวียดนามพัฒนาอากาศยานไร้คนขับ หรือ UAV (Unmanned Aerial Vehicle) เพื่อใช้เป็นเป้าซ้อมในการฝึกโจมตีของเครื่องบินรบและเป็นพื้นฐานในการพัฒนา เพื่อใช้การบินลาดตระเวนและบินสอดแนมในอนาคตและในภารกิจการป้องกันประเทศ หนังสือพิมพ์ออนไลน์ "เดิ๊ตเหวียด" (Báo Đất Việt) รายงานอ้างข่าวของหนังสือพิมพ์อิซเวสเตีย (Izvestia) ของรัสเซียในสัปดาห์นี้ บริษัทเออร์คุตเอ็นจิเนียร์ได้เซ็นความตกลงเรื่องนี้กับสถาบันวิจัย และพัฒนาอากาศยาน กระทรวงกลาโหมเวียดนามวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ของรัสเซียกล่าวโดยให้รายละเอียดแต่เพียงว่า รัสเซียจะช่วยเวียดนามทำการวิจัยและผลิต UAV เพื่อใช้ในกิจการพลเรือนเป็นหลักและเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาไป เวียดนามสามารถนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นได้ โดรนเป็นคำง่ายๆ ที่ใช้แทนในการเรียก UAV แต่ในปัจจุบันโดรนส่วนใหญ่จะเป็น UAV ชนิดที่ตั้งโปรแกรมล่วงหน้า และปฏิบัติงานตามโปรแกรมนั้นๆ ด้วยตัวเองขณะออกปฏิบัติการด้วยการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบดาวเทียม ดังที่สหรัฐฯ ใช้ในการโจมตีเป้าหมายกลุ่มตอลิบานในอัฟกานิสถาน ละปากีสถภานในอดีต แตกต่างจาก UAV ทั่วไปที่ใช้ระบบควบคุมระยะไกลธรรมดา การปฏิบัติการของโดรน หรือ UAV นอกจากตัวอากาศยานแล้ว ยังจะต้องมีส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งข่ายการสื่อสารขนาดใหญ่ในการควบคุม UAV สถานีปฏิบัติการภาคพื้นดิน รวมทั้งฐานปล่อยที่มีหลายชนิด ตามความเหมาะสมในการใช้งาน โดรนบางประเภทยังคงใช้ทางวิ่งขึ้นลงเช่นอากาศยานทั่วไป ชนิดที่ก้าวหน้ากว่าจะขึ้นลงในทางดิ่ง ใช้พื้นที่ไม่มาก ขณะที่อีกบางชนิดใช้ "อุปกรณ์ดีด" (Catapult) เมื่อส่งขึ้น และ ใช้ร่มชูชีพเมื่อลงสู่พื้น เป้าหมายแรกระหว่างรัสเวียกับเวียดนามคือการผลิต UAV ขนาดเล็กน้ำหนัก 100 กิโลกรัม ที่จะสามารถบินได้ราว 16 ชั่วโมงติดต่อกัน และ ลงสู่พื้นด้วยร่มชูชีพ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสำรวจวิจัยและเก็บข้อมูลต่างๆ สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามกล่าว โดยมิให้รายละเอียดเกี่ยวกับความเร็วของ UAV ตลอดจนรัศมีปฏิบัติการ . |
||||
|
||||
|
||||
|
||||
ปัจจุบัน UAV แบบ RQ-1 "Predator" ของสหรัฐฯ ที่ใช้ปฏิบัติการทั้งในอิรักและอัฟกานิสถานสามารถบินได้นาน 20-40 ชั่วโมง หรือ RQ-1C (Gray Eagle) ก็บินได้นาน 30 ชั่วโมง หนังสือพิมพ์อิซเวสเตียอ้างคำกล่าวของนายยูริ มาลอฟ (Yuri Malov) ผู้อำนวยการบริษัทเออร์คุตเอ็นจิเนียร์ "เราเป็นหุ้นส่วนทางด้านเทคโนโลยี โดยมีพันธะสัญญาในการฝึกฝนและสนับสนุนเวียดนามให้มีศักยภาพในการใช้อากาศยาน ไร้คนบังคับ..และเมื่อสั่งสมประสบการณ์มากขึ้น เวียดนามจะสามารถพัฒนา UAV ของตนเองได้" นายมาลอฟ กล่าว ตามสัญญาที่เพิ่งเซ็นกันนี้รัสเซียจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยี UAV ให้เวียดนาม ให้สามารถผลิต UAV ออกมาได้จำนวนมากเท่าที่ต้องการ ซึ่งจะทำให้เวียดนามจะสามารถผลิต UAV ที่ใช้เทคโนโลยีสูงขึ้นไปอีกได้ในวันข้างหน้า รวมทั้งสามารถพัฒนาอากาศยานที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและบินได้ยาวนานขึ้น รัสเซียเริ่มวิตจัยและทดลอง UAV มานานกว่า 10 ปี ด้วยความร่วมมือกับอิสราเอล และ เริ่มผลิตออกมาใช้เพื่อการกลาโหมอย่างเต็มรูปแบบเพียงไม่กี่ปีมานี้ ปัจจุบันผลิตออกมาหลากหลายชนิดเพื่อสนองความต้องการในหลายแขนงงาน "โดรน" ของรัสเซียก้าวหน้าไม่แพ้ของชาติตะวันตกอื่นๆ ทั้งความเร็ว รัศมีปฏิบัติการ และ ความยาวนานของระยะเวลาที่ออกปฏิบัติการ สำหรับเวียดนามเริ่มพัฒนาและใช้อากาศยานวิทยุบังคับมาตั้งแต่ปี 2539 ในการฝึกซ้อมของเครื่องบินรบ และการฝึกซ้อมป้องกันการโจมตีทางอากาศ เป็นเป้าระบบปืนใหญ่ต่อสู้อากาศกับระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน รุ่นก้าวหน้าที่สุดในปัจจุบันเป็นรุ่นที่ซื้อจากประเทศอิสราเอล อย่างไรก็ตาม UAV ที่เวียดนามนำเข้าในปัจจุบันมีราคาแพงมาก นอกจากนั้นยังมีข้อจำกัดที่สำคัญเช่น ไม่สามารถบินได้ในความสูง และ ไม่สามารถใช้เป็นเป้าบินสำหรับฝึกซ้อมรบการโจมตีระยะไกลได้ เดิ๊ตเหวียดกล่าว. |
http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9550000034695
แล้วเราล่ะ...?
เราผลิตใช้เองแล้ว..มิใช่หรือครับ ถอยจากอิสราเอลก็มี
เห็นท่าน chin เอามาลงออกจะบ่อย ของกองทัพบกอะนะ (ขอพาดพิงหน่อยนะท่าน ผมเป็นแฟนคลับข่าวท่าน) 555
โดยส่วนตัวชอบของกองทัพเรือมาก ตัวที่ขึ้นลงทางดิ่งอะนะ หุหุ
ผมว่าตัวเครื่องบินไม่น่ามีปัญหา เทคโนโลยีของจริงน่าจะอยู่ที่กล้องถ่ายวีดีโอ กับ ระบบเชื่อมต่อดาวเทียมมากกว่า ถ้าต้องการจะเอาชนะเส้นขอบฟ้าได้ ในเบื้องต้นจะได้เชื่อมต่อระหว่างจุดได้จนกว่าเราจะมีดาวเทียบระดับต่ำไม่ก็ต้องเช่าช่องสัญญาจากมิตรประเทศ
การพัฒนาดาวเทียมนั้นด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ดาวเทียมทางทหารจะมีขนาดที่เล็กลงและราคาไม่แพงมาก สหรัฐเองก็ดูเหมือนมีโครงการที่ยิงดาวเทียมขนาดเล็กขึ้นอวกาศ
การพัฒนา uav ก็ต้องลงทุนซื้อชิประบบนำทาง