ดูจากรูปลักษณ์แล้วน่จะใช้งานได้หลากหลาย
เจ้านี่แพงมากๆๆๆ จนนาโต้ก็ไม่มีใครกล้าใช้ เผลอๆอเมริกันก็ไม่อยากได้เหมือนกัน แรกๆมีปัญหาตกบ่อย
มันแพงพอ ๆ กับเครื่องบินขับไล่ลำนึงครับ
***ปีแรก ๆ ที่มันตกเพราะระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหา
เปิดในวิกิ ตัวละ 70 ล้านดอลล่าร์ หรือราว 2,200 ล้านบาท
เคยมีผู้เชี่ยวชาญฝรั่งบอกว่ามันรับโหลดได้น้อย(กว่าบินขนส่ง) แพง ความปลอดภัยตํ่า(ปัญหากระแสลมวนตัดกันเอง ต้องการคอมพิวเตอร์คอนโทรลความเร็ว และมุม ขณะบินใกล้ๆพื้น) ภาระกิจก็ไม่ชัดเจน เอา sikorsky CH-53 หรือไม่ก็เครื่องบินขนส่งไปเลย ดีกว่า
อันนี้วิกิ เคสการตกของออยสเปรย์ ช่วง 1991-2010 http://en.wikipedia.org/wiki/Accidents_and_incidents_involving_the_V-22_Osprey
เห็นว่าขับยากด้วยนะครับ แต่จริงผมชอบนะตัวนี้ แต่คงไม่เหมาะกับ(กระเป๋าตัง)บ้านเรา(อยากได้เรือดำน้ำมากกว่า โฮ!)
คือถ้าคิดง่ายๆ เลยว่าทำไมประเทศเราไม่มีนู่นไม่มีนี่ก็ให้เดาข้อแรกไว้ก่อนว่ามันแพงเกิน
เรื่องความปลอดภัย ผมว่าเจ้า v-22 นี่ก็ไม่ได้อันตรายพิเศษอะไร เพราะฮ. พวกที่ใบพัดท้ายเอียงๆ ทั้งหลายเช่นแบล็กฮอว์ค s-92 ch-53 ต่างก็บินด้วยระบบ fly-by- wire (คอมฯ) ทั้งนั้น เผลอๆ ลำนี้อาจจะสมดุลกว่าซะด้วย
จากลิสต์อุบ้ติเหตุนั้น มีอุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นหลังจากการเข้าประจำการครั้งเดียวคือปี 2010 เพราะเครื่องนี่เพิ่งจะประจำการเมื่อปี 2007 ส่วน ch-53 เพิ่งตกไปเมื่อต้นปีนี้จนเจ้าหน้าที่เสียชีวิต
ส่วนหน้าที่ของมันผมว่าก็ค่อนข้างชัดเจนนะ คือมาแทนฮ. ch-46 ซึ่งเป็นฮ.ลำเลียงขนาดกลาง อยู่ระหว่าง ch-53 กับ *h-60
คอนเซปต์ก็คือฮ.ที่บินเร็ว หากจะเอาเครื่องบินขนส่งก็ขาดความยืดหยุ่นเช่นฮ. ถ้าใช้ฮ.ก็สโลว์โมล์ชั่นเกิน แต่ต้องยอมรับว่าแพงบรรลัย
V-22 เป็นฮ.ที่ผมชอบมากที่สุดเลย ในตระกูล ฮ. ทั้งรูปแบบและการลักบณะของมันเอง
แต่ถ้าจะให้ประจำการในประเทศไทยเรานั้น ก็คงจะยาก ของยากๆๆๆ มาก เพราะมันราคาแพง และก็ล้ำยุคมากไปหน่อยแถมมีพี่กันเจ้าพ่อโออิ้ง เป็นรายเดียวในตอนนี้ที่ผลิตและได้เคยอ่านข่าว นานๆ มาแล้วว่าประเทศอิสราเอล ก็ซื้อด้วยมั้งจำไม่ได้ แต่ถ้ามีประเทศอื่นสนใจรูปแบบประเภทเดียวและหลักการทำงานเดียวกันกับฮ.แบบV-22ก็อายจะราคาตกก็เป็นได้เพราะมีคู่แข่งในตลาดเพิ่มมาอีก แต่ก็คงอีกนานโขๆๆๆๆ
พูดได้เลยว่า แพงมาก ไม่คุ้มกับการใช้งานในประเทศไทย เอาเงินไปซื้อฮ.อื่นๆดีกว่าครับ
แพงแพง......มากมาย และ.....( เคยดูสารคดี เค้าว่า ขับยากมาก )
อ่านข่าวประกอบด้านล่าง
Ml-17 V5 จำนวน 3 ลำ ยังไม่ถึงพันล้าน ถ้า V-22 จำนวน 3 ลำ งบต้องตั้งที่ 6600 ล้านบาท หรือซื้อ Mi-17 ได้ 20 ลำ ทดแทนชีนุค
หลังมีข่าวกองทัพเรือ (ทร.) เสนอโครงการจัดซื้ออาวุธ และปรับปรุงยุทโธปกรณ์ มูลค่า 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ก่อนยุบสภา ในส่วนของเหล่าทัพอื่นนั้น ทั้งกองทัพบก (ทบ.) และกองทัพอากาศ (ทอ.) ก็เสนอโครงการจัดซื้อด้วยเช่นกัน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการจัดซื้อของกองทัพบก หลังจากที่ได้เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ขนาดกลาง Ml-17 V5 จำนวน 3 ลำ ซึ่งกองทัพบกจัดหาจากประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย ตามมติ ครม.ด้วยงบประมาณผูกพันข้ามปี พ.ศ. 2551-2554 จำนวน 994,929,000 บาท เพื่อใช้ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ-ชีนุก ที่มีปัญหาเรื่องซ่อมบำรุง และการจัดหาอะไหล่ทดแทนที่หาได้ยาก และมีราคาแพงมาก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ กองทัพบกกำลังดำเนินการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ UH-60-M/Black Hawk หรือ "แบล็คฮอว์ก" เพื่อใช้ในภารกิจด้านยุทธการและยุทธวิธี เพิ่มเติมอีก 3 ลำ วงเงินงบประมาณกว่า 2 พันล้านบาท และกองทัพบกกำลังจัดหารถถัง จากประเทศยูเครนอีก จำนวน 200 คัน เพื่อทดแทนรถถังรุ่น M-41 ที่กำลังจะปลดประจำการในหลายหน่วย
ส่วนการส่งมอบรถยานเกราะล้อยาง BRT3-E1 จากประเทศยูเครนที่กองทัพบกจัดหาในเฟสแรก 96 คัน มูลค่าเกือบ 4 พันล้านบาท และเฟสที่ 2 อีก 121 คัน มูลค่ากว่า 5 พันล้านบาท ขณะนี้ มีการส่งมอบให้กับกองทัพบกแล้ว จำนวน 14 คัน โดย 2 คันแรกอยู่ที่โรงงานแยกชิ้นส่วนในพื้นที่ จ.นครราชสีมา เพื่อศึกษาในการใช้เป็นอะไหล่ในอนาคต
ส่วนอีก 10 คัน ประจำการอยู่ที่กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร. 2 รอ.) จ.ปราจีนบุรี ที่กองทัพบกได้มีการตรวจรับ และทดสอบสมรรถนะไปแล้ว โดยล่าสุด ทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เตรียมที่จะโชว์แสนยานุภาพของรถยานเกราะล้อยางในอีก 1-2 เดือนข้างหน้านี้ เพื่อกลบข้อครหาต่างๆ
ขณะที่กองทัพอากาศ เดินหน้าในการจัดหาเครื่องบินขับไล่รุ่นกริพเพน เฟส 2 จำนวน 6 ลำ วงเงิน 1.6 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ครม.ได้อนุมัติโครงการไปแล้ว คาดว่าจะเข้าประจำการอีก 6 ลำ จนครบ 1 ฝูงบินในปี 2555-2556 หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กองทัพอากาศได้จัดซื้อกริพเพน เฟสแรก ด้วยวงเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท มาแล้ว และได้รับมอบเครื่องบินกริพเพนเฟสแรกครบทั้ง 6 ลำ เมื่อปลายเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวถือเป็นการพัฒนาการบินของไทยไปอีกก้าว โดยเฉพาะระบบเชื่อมโยงบังคับบัญชา เรดาร์เตือนภัยทางอากาศ และการเชื่อมโยงกับระบบของเครื่องบินรบรุ่น F-16 ซึ่งติดตั้งซอฟต์แวร์ที่สามารถใช้ปฏิบัติการร่วมกับระบบของกริพเพนได้
นอกจากนี้ กองทัพอากาศได้เตรียมที่จัดซื้อเฮลิคอปเตอร์ค้นหาชีวิตกู้ภัย เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนกรณีที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในอนาคต เนื่องจากภัยพิบัติในครั้งนี้อากาศยานที่มีอยู่ไม่เพียงพอ และเป็นอากาศยานเก่าที่ใช้งานมานานหลายปีแล้ว
สำหรับโครงการจัดซื้อของทุกเหล่าทัพ ขณะนี้ อยู่ในระหว่างการเสนอแผนการจัดซื้อตามแผนพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพ เพื่อเสนอต่อ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในที่ประชุมสภากลาโหม ก่อนที่จะนำเสนอให้ที่ประชุม ครม.อนุมัติต่อไป โดยคาดว่าโครงการจัดซื้อดังกล่าวน่าจะสามารถพิจารณาอนุมัติได้ทันก่อนวันยุบสภา ที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประกาศว่า จะยุบสภาภายในสัปดาห์แรกของเดือน พ.ค.นี้