หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขั้นตอนการนำวิถีของ"บรามอส "ระบบโดยรวมก่อนชนเป้าหมาย ใครมีข้อมูลบ้างครับ

โดยคุณ : tks เมื่อวันที่ : 15/03/2012 04:29:14

คืออยากทราบถึงระบบควบคุมล๊อกเป้าหมายของ จรวดนำวิถี "บรามอส" ครับ เพราะเห็นว่าในระดับ ซับโซนิคหรือซุปเปอร์โซนิค ความเร็วมากขนาดนี้ จะมีการควบุคุมอย่างไร

ต้องขออภัยที่ต้องมาถามในนี้ครับ

เครดิตภาพ คุณ RONIN และ นสพ.ผู้จัดการครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ตามความเข้าใจของผม  

บรามอสเริ่มเเรกคือ

ข้อมูลที่ป้อนตำแหน่งเป้าหมายก็มาจากแหล่งต่างๆ โดยระบบควบคุมสั่งการ C4I

ระบบจะป้อนข้อมูลเป้าหมายได้แก่ข้อมูลจาก GPS ระบบปล่อยจรวดจะคำนวณเส้นทางบิน ให้จรวดแต่ละลูก

ช่วงปล่อยตัวจะปรับเข้าหาเส้นทางบินด้วยบูสเตอร์ต่างๆควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ในตัวจรวด

ส่วนการบินด้วยนำวิถีด้วยแรงเฉื่อยแบบอากาศยานเทียบข้อมูล GPS ตามเส้นทางบินที่ออกแบบไว้ น่าจะมีตัวเช็คความสูงจากพื้นด้วย เพราะมีช่วงท้ายต้องลดระดับมาบินเรียดผืนนํ้า

ช่วงเข้าสู่เป้าหมายช่วงสุดท้ายจะใช้การค้นหาเป้าหมายด้วยเรด้าร์ (active radar seeker)ช่วงสั้นๆ คอมพิวเตอร์คำนวณและปรับทิศทางครีบหลังจนพุ่งชนเป้าหมาย จุดระเบิดหัวรบ ซึ่งอาจมีกล้องบันทึกวิดีโอส่งข้อมูลทางวิทยุป้อนกลับด้วยเป็นอ๊อฟชั่น

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 18:21:36


ความคิดเห็นที่ 2


รูป

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 18:24:02


ความคิดเห็นที่ 3


ฺทดสอบ Block III+ รุ่นที่ใช้ทางเรือ ยิงแนวตั้ง

 

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 18:33:51


ความคิดเห็นที่ 4


รัสเซียมักออกแบบจรวดสำหรับเรือรบในลักษณะนี้ ตัวหัวจรวดมีข่องดูดอากาศ ใช้เชื้อเพลิงชนิดของเหลวเป็นตัวขับดัน ทำความเร็วได้มากกว่า เทียบกับของ nato กับสหรัฐ มักใช้เชื้อเพลิงชนิดแข็ง

แต่ผมว่า brahmos นั้นมีจุดอ่อนอยู่ข้อหนึ่งคือในเมื่อมันใช้หลักการเผาไหม้โดยใช้อากาศ งั้นก็แค่ทำให้การเผาไหม้โดยใช้อากาศนั้นไม่สมบูรณ์ โดยอาจใช้ผงแม่เหล็กให้รบกวนการเผาเมื่อ brahmos บินผ่านและดูดอาาศที่มีอนุภาคเป็นผงแม่เหล็กไปรบกวนการเผาไหม้ของเครื่องยนต์

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 12/03/2012 20:19:08


ความคิดเห็นที่ 5


^

^

^ แล้วจะเอาผงแม่เหล็กไปใส่ในเครื่องยนต์มันได้ยังไงครับ  - -

แล้วแม่เหล็กปริมาณเท่าไรถึงจะไปขัดขวางปฎิกิริยาเคมีในเครื่องยนต์ Ramjet ได้ (ถ้าเป็นลูกสูบน่ะพอคิดออก)

 

นี่คือ Ramjet

โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 12/03/2012 20:51:49


ความคิดเห็นที่ 6


สิ่งที่น่าทึ่งของ BrahMos (พรหมบุตร+มอสควา กลายเป็นบรามอสได้ยังไงเนี่ย) คือ อินเดียออกมาหลากหลายรุ่นมาก

มีทั้ง Land to Land ,Air to Sea ,Sea to Land ,Submarine to sea จิปาถะ

และตั้งใจจะยัดใส่ PAK-FA ล่องหน และยังเตรียมเวอร์ชั่นถัดไปใช้เครื่องสแครมเจ็ต(เครื่องยนต์รัสเซีย) ความเร็วมัค 6 แต่ระยะยิงประมาณเดิม ในอีก 6 ปีข้างหน้า

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 21:13:58


ความคิดเห็นที่ 7


จุดอ่อนคือ ช่วงโคจร เพดานบินอาจสูงถึง 14 Km ทำให้ถึงทาสีซับเรดาร์ แต่ก็ยังจับได้ด้วยเรดาร์ของข้าศึกได้เเน่ๆ ยังมีเวลาเตรียมตัว ไม่เหมือน โทมาฮอร์คที่มีเทอร์คอมบินเลาะไปตามภูมิประเทศ หรือ เอ๊กซ์โซเซ่ ที่บินเลียดผิวนํ้าไปตั้งแต่ต้น

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 21:21:40


ความคิดเห็นที่ 8


แบบเอ๊กซ์โซเซ่ ยิงใกล้กว่าแต่มั่นใจกว่า ^^ (ยกเว้นตอนเอาเรือเข้าไปใกล้เป้า ก็เสี่ยงสูงกว่าด้วย ^^)

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 12/03/2012 21:39:58


ความคิดเห็นที่ 9


BrahMos มันน่ากลัวตรงที่ความเร็ว 2.8-3 Mach นี้เกือบ ๆ 0.83-0.9 Km/วินาทีเลยนะครับ ที่ความเร็วขนาดนี้ + บินต่ำ ๆ ตอน Terminal Phase น่าจะมองเห็นเป็นจุดแดง ๆ ได้ชัดเจนเพราะจรวดเสียดสีกับอากาศที่มีความหนาแน่นสูงอย่างรุนแรงอาวุธที่จะสกัดมันได้อย่างมั่นใจตอนนี้ ผมเข้าใจว่าก็น่าจะมีแต่ IRIS-T SL เพราะใช้ Radar Fuse ซึ่งมีระยะในการตอบสนองที่ไกลกว่า Laser Fuse แบบอาวุธปล่อยทั่ว ๆ ไป ส่วนปืนประจำเรือหรือ CIWS อื่น ๆ ก็ต้องยิงวัดดวงกันไป  

โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 12/03/2012 22:39:41


ความคิดเห็นที่ 10


สอบถามผู้รู้เกี่ยวกับอาวุธนำวิถีรุ่นนี้ เป็นอาวุธที่มีประจำการกี่ประเทศครับ นอกจากผู้สร้างร่วมระหว่างรัสเซีย กับ อินเดีย (รัสเซียมีประจำการเยอะหรือเปล่าครับ)

โดยคุณ Athit เมื่อวันที่ 12/03/2012 23:26:14


ความคิดเห็นที่ 11


จรวดจะน่ากลัวไม่น่ากลัวขึ้นอยู่ ๓ หัวข้อครับ

๑.ระยะยิง

๒.วิถีโคจร (โด่ง หรือเรียดน้ำ)

๓.ความเร็วการโคจร

 

มันมีความสัมพันธ์กันสามลักษณะ ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นปฎิภาคผกผันกัน ก็ต้องเอามาประเมินหาจุดเด่นจุดด้อย ว่ากันไป........... แต่ทั้งหมด จะขึ้นอยู่กับกุญแจดอกสำคัญ คือลักษณะการนำวิถี   อาวุธนำวิถีระยะปานกลางจนถึงไกล ไม่ว่าอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้น หรือ พื้นสู่อากาศ มีการนำวิถ๊ เด่นๆอยู่สองแบบ ได้แก่

๑.      การนำวิถีแบบกึ่งภาคส่ง (เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่ง) การนำวิถีระบบนี้จะมีความแน่นอนและแม่นยำมาก เมื่อเป้าที่ถูกเล็งมีความเร็วต่ำ เช่นเรือรบ แต่จะคลาดเคลื่อนสูง เมื่อเจอกับเป้าความเร็วสูงเช่นเครื่องบินขับไล่................การนำวิถีเริ่มด้วย การพล็อตและล็อคออนโดยเรดาร์ควบคุมการยิง จากเรือยิงหรือ เครื่องบินที่จะใช้ยิงจรวด  เมื่อปล่อยอาวุธ เรดาร์ต้องพ้อยนท์ไปยังเป้าหมายตลอดเวลา เพื่อเป็นการนำทางจนกว่าจรวดจนกระทบเป้า  จรวดประเภทนี้ได้แก่ พ-พ แบบ ฮาร์พูน , เอ็กโซเซ่ต์ ,เกเบี้ยน, ซี-๘๐๑  หรือ อ-อ ได้แก่ สกายแฟลช สแปร์โร่ว์ ซุเปอร์ ๕๕๐ .................. เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์กับ สามหัวข้อที่จั่วไว้ข้างบน จะขอกล่าวถึงแต่จรวด พ-พ ในเรือ ................. จรวดแบบนี้จะมีระยะยิงค่อนข้างสั้น เนื่องจากจะถูกจำกัดที่เส้นขอบฟ้า  ......... เราทราบดีว่า โลกมีสันฐานกลม ดังนั้น ทะเลอันกว้างใหญ่จะมีเส้นขอบฟ้าเป็นแนวกำบังธรรมชาติ  ลำคลื่นเรดาร์เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ที่ระยะมากกว่า ๒๐ ไมล์ วัตถุหลังเส้นขอบฟ้าเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเรดาร์...................... หลายคนอาจเคยเห็นตัวเลข ระยะยิงของฮาร์พูน ซึ่งอาจมากถึงร้อยกิโลเมตร  ซึ่งจะทำได้ขนาดนั้น   ต้องเกิดขึ้นจากการ ”ร่วมชี้เป้าจากอากาศยานหน้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ส่งระยะหรือทิศทางอันเป็นข้อมูล  แต่หมายถึง การกำหนดชี้เป้า เสมือนหนึ่งมีเรดาร์ควบคุมการยิงซึ่งบินล้ำไปด้านหน้า”   หากนึกภาพไม่ออกก็จินตนาการว่า  เราอันเป็นเรือยิงอยู่ห่างจากเรือเป้าหนึ่งร้อยกิโลเมตร    เราต้องส่งเฮลิคอปเตอร์ หรือเครื่องบินซึ่งมีเรดาร์ควบคุมการยิงเสมือนเรือของเรา     บินไปที่ระยะราวครึ่งหนึ่งคือห้าสิบกโลเมตร    ที่ระยะนั้นทำให้อากาศยานของเรา “อาจจะ” ปลอดภัยจากการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก(ถ้าเขามีจรวดพิสัยกลางสอยได้ก็ อาเมน)  ความสูงที่ใช้บินจะทำให้อากาศยานพ้นขีดจำกัดเรื่องเส้นแนวขอบฟ้า แต่ก็นั่นแหล่ะ บินสูงจนเห็นเขาได้ เขาก็เห็นเราได้เหมือนกัน ............ เมื่อเป็นดังนี้    การยิงก็เริ่มจากอากาศยานหน้าหาเหลี่ยมมุม ทำการล็อคออนเป้า  เราในฐานะเรือยิง ก็ปล่อยจรวด โดยโปรแกรมวิถีโคจรไปในทิศที่อากาศยานหน้ากำหนด    การส่งผ่านข้อมูลการยิง ในลักษณะ คนเล็งกับคนยิงอยู่คนละจุด มันช่างวุ่นวายหน้าดู  อนุมานเหมือนกับ ท่านถือปืนอยู่ที่มุมตึกชี้ปืนไปข้างหน้าโดยไม่เห็นเป้าหมาย แต่มีเพื่อนอีกคนอยู่อีกมุมตึก เพื่อนคนนั้นเห็นเป้าหมายชัดเจน   เขาส่องเล็งด้วยกล้องตรงไปยังเป้าหมาย และรายงานทิศทางมาให้เรา เรามีหน้าที่หักลบกลบมุมไดเร็คชั่นให้ตรงตามนั้น แล้วก็หลับหูหลับตาเล็งยิงไป ซึ่งเหมือนตาปอดปาเป้าไม่รู้จะถูกหรือเปล่า มันช่างยุ่งยากยึกยักลัซับซ้อนกะไรนี่.........................โดยรวม อาวุธยิงแบบ เซมิแอคตีปโฮมมิ่ง นี้ จะเป็นแบบเสือปืนไว แบบคาวบอย ฉายเดี่ยว  คือ เหมาะฟจะฟัดกันระยะใกล้ ไม่เกินเส้นขอบฟ้า ยืนซดกันเห็นๆ ตัวต่อตัว เดี่ยวต่อเดี่ยว ใครเร็วใครแม่นคนนั้นชนะ............. เอาหล่ะนั่นเรื่องระยะยิง ทีนี้มาวิถีโคจร   ก็เห็นกันจะๆอยู่แล้ว ว่าเรือปล่อยจรวด ท่านมาจากตรงไหน  เรียกว่า เห็นกำพืดอย่างต่อเนื่องตั้งท่านแต่ตั้งท่าเบ่งหน้าแดงหน้าเขียวแล้ว    การจะลบจุดอ่อนเรื่องการต่อต้านด้วยระบบระยประชิดก็คือ ให้เจ้าทีเด็ดจรวดลูกเขื่องมันมุดต่ำลงเรียดน้ำไปเลย คือยืนจ้องตาเห็นๆกันนี่แหล่ะ แต่ฉันขอปล่อยของแบบให้เอ็งรับยากอ่ะ (เหมือนยิงลูกโทษ ห้ดีต้องเรียดๆ คนยิงกะคนรับมองเห็นลูกกะตากัน แต่ไม่รู้เอ็งจะมาไม้ไหน ยิงเล่นทาง เรียดๆ กระทบดินก่อนหนึ่งที ต่อให้โคตรประตู แบบ บั๊กเต้ด ก็บอกรับยาก) ซึ่งมันก็ไปสัมพันธ์กับความร็ว ที่ความสูงสิบเมตรเหนือยอดคลื่น ไม่มีอาวุธนำวิถีใดบินได้เร็วเหนือสียง แม้แต่ “บามอส” ที่ว่าบินเร็วก็ทำไม่ได้  เพราะตรงนั้นความหนาแน่นอากาศมาก การบินความเร็วซุปเปอร์ที่ความสูงต่ำๆ ย่อมทำความเสียหายให้กับตัวจรวด อาจถึงแหลกเหลวระเบิดกลางเวหาก่อนถึงเป้าหมาย   ที่ว่าบินได้สองมัคนั้น มันตอนโคจรช่วงกลาง บินอยู่เกือบห้ากิโลเหนือพื้นน้ำ ....................... สรุปคือ แบบนี้ เหมาะเป็นอาวุธยิงระยะใกล้ ที่คมกริบ และต้องใช้กึ๋นของคนยิงไม่น้อย

๒.      แบบนำวิถีด้วยแรงเฉื่อยในช่วงต้นและช่วงกลาง และ แอคถีฟโฮมมิ่ง(ภาคส่ง) ในระยะสุดท้าย   จรวดแบบนี้มีความอ่อนตัวมากยิงได้ไกล และแม่นยำ เหมาะมากกับเป้าหมายที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและอยู่ห่างระยะไกลๆ  ที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ จรวด อ-อ  บีวีอาร์ แอคตีฟทุกชนิดที่มีอยู่บนโลกขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น อำราม ไมค่า อำรามสกี้ เมธีเออร์ ๙ล๙  และที่สุดก็พัฒนามาสู่จรวด พื้น-พื้น เช่น บาร์มอส   ข้อดีของการนำวิถีแบบนี้โดยเฉพาะ พ-พ   ก็คือการเอาชนะขีดจำกัดในเรื่องระยะยิง โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูล เรียกว่า ทำให้การส่งต่อข้อมูลมีความอ่อนตัวเละง่ายกว่าแบบ เซมิแอคถีฟเยอะ........................   หลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่าระบบดาต้าลิ้งค์   ระบบนี้คือการส่งผ่านข้อมูลหรือแชร์ข้อมูลต่อกันเป็นระบบเครือข่าย  ข้อมูลซึ่งถูกตรวจพบและประเมินโดยสมาชิกหนึ่ง  สามารถถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่นผ่านทางเครือข่าย เป็นสถานการณ์แบบต่อเนื่องไร้ขีดจำกัด...............    หากท่านเป็นหน่วยรบหน่วยหนึ่ง มีที่ตั้งอยู่จุดๆหนึ่ง ท่านสามารถเชื่อมโยงข้อมูล และรับทราบสถานการณ์ทั้งฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก ผ่านเครือข่ายครอบคลุมตลอดบริเวณ   เมื่อเป็นดัง  นี้ก็นำระบบเครือข่ายมาประยุกต์เป็นระบบอาวุธซึ่งมีระยะยิงไกล ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ  ไม่ว่าสมาชิกไหนเป็นผู้ตรวจพบข้าศึก  คำสั่งยิงสามารถทำได้โดยสนับสนุนจากหน่วยยิงอื่นในเครือข่ายนั้น.............................. ทีนี้เรามาดูว่า จรวดพวก แอคตีฟโฮมมิ่ง  มันทำงานกันยังไง    พวกนี้การโคจรช่วงแรกจะใช้การนำทางจากการโปรแกรมข้อมูล  โดยข้อมูลที่ได้รับจะนำไปเป็นไกด์ไลน์ ร่วมกับระบบนำวิถีด้วยระบบแรงเฉีอย  (ผมเคยเขียนไว้หลายตอนมาก เรื่องการนำร่องด้วยแรงเฉื่อย พวก ไจโรสามแกน อันสัมพันธ์ด้วยทิศทาง ความเร่งและความเร็วดังนี้)     คืออนุมานเหมือนขว้างบอลให้หมาไปเก็บ    ระบบเมมโมรี่ในจรวดจะถูกโปรแกรมด้วย ทิศทาง ระยะ และความเร็ว ของเป้าหมาย ซึ่งอาจได้รับจากระบบอำนวยการรบของเรือยิงเอง หรือจากเครือข่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อข้อมูลเพียงพอ จรวดจะรู้แล้วว่าจะต้องพุ่งออกไปในทิศทางและลักษณะไหน     เมื่อยิงออกไป จรวดจะดำรงสถานภาพการโคจร ด้วยระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อยอันสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้รับการโปรแกรมมาเบื้องต้น   ซึ่งกรณีของ บาร์มอส  จรวดจะเหินขึ้นสูงไปหลายกิโล เพื่อเพิ่มความเร็วเป็นซุเปอร์โซนิค เพื่อบินเข้าหาเป้า  ในฉ็อท แอพโพร้ช  จรวดจะลดความสูงลง(ตามการโปรแกรม) เป็นช่วงเวลาเดียวกับ เรดาร์ค้นหาที่จรวดเริ่มทำงานล็อดเป้าในโหมด ฟูล แอคถีฟโฮมมิ่ง  ดำดิ่งเรียดน้ำพุ่งตรงและชนเป้าหมาย.......................ถึงตรงนี้จะเห็นชัดว่า เจ้าเนี่ย เหมาะมาก กับการรบแบบเครือข่าย และยิงแบบไกลๆ .................. ผมยังมองไม่ออกว่า ถ้า เจอกันเดี่ยวต่อเดี่ยว ระหว่าง บาร์มอส กับ เอ็มๆ สามปด เอ็กโซเซ่ต์รุ่นพระเจ้าเหาที่ยังใช้ได้อยู่   เจ้าบาร์มอส จะสู้ได้อย่างไร   ระยะยิงร้อยกว่ากิโลไม่มีประโยชน์   เพราะเรดาร์ควบคุมการยิงของเรือ ใช้ได้แค่เส้นขอบฟ้า แถมไม่มีตัวช่วยในลักษณะการรบแบบเครือข่าย   และที่สำคัญ เจ้าบาร์มอส ถูกโปรแกรมให้บินโด่งในตอนกลาง  ถ้าเป็นการยิงในระยะยี่สิบไมล์ อาจจะใกล้เกินไป หรือถ้ายิงได้  คนถูกยิงก็ถือว่าหมูมาก เพราะยิงลูกโทษแบบเตะโด่ง ผมเคยเป็นผู้รักษาประตูตอนมอต้น ผมรู้ว่าการบินรับ มันง่ายกว่าพุ่งปัดลูกเรียด แถมรับเสร็จม้วนตัวสองรอบลุกขึ้นมายืยอย่างหล่อ สาวๆกรี๊ดๆกันเกรียว.............................ก็เห็นว่า มันมีดีมีด้อยกันคนละแบบ   ดีมาก ก็มีเสียมาก    อันนี้ธรรมดาครับ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/03/2012 11:35:59


ความคิดเห็นที่ 12


จรวดจะน่ากลัวไม่น่ากลัวขึ้นอยู่ ๓ หัวข้อครับ

๑.ระยะยิง

๒.วิถีโคจร (โด่ง หรือเรียดน้ำ)

๓.ความเร็วการโคจร

 

มันมีความสัมพันธ์กันสามลักษณะ ซึ่งแต่ละอย่างอาจเป็นปฎิภาคผกผันกัน ก็ต้องเอามาประเมินหาจุดเด่นจุดด้อย ว่ากันไป........... แต่ทั้งหมด จะขึ้นอยู่กับกุญแจดอกสำคัญ คือลักษณะการนำวิถี   อาวุธนำวิถีระยะปานกลางจนถึงไกล ไม่ว่าอากาศสู่อากาศ อากาศสู่พื้น หรือ พื้นสู่อากาศ มีการนำวิถ๊ เด่นๆอยู่สองแบบ ได้แก่

๑.      การนำวิถีแบบกึ่งภาคส่ง (เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่ง) การนำวิถีระบบนี้จะมีความแน่นอนและแม่นยำมาก เมื่อเป้าที่ถูกเล็งมีความเร็วต่ำ เช่นเรือรบ แต่จะคลาดเคลื่อนสูง เมื่อเจอกับเป้าความเร็วสูงเช่นเครื่องบินขับไล่................การนำวิถีเริ่มด้วย การพล็อตและล็อคออนโดยเรดาร์ควบคุมการยิง จากเรือยิงหรือ เครื่องบินที่จะใช้ยิงจรวด  เมื่อปล่อยอาวุธ เรดาร์ต้องพ้อยนท์ไปยังเป้าหมายตลอดเวลา เพื่อเป็นการนำทางจนกว่าจรวดจนกระทบเป้า  จรวดประเภทนี้ได้แก่ พ-พ แบบ ฮาร์พูน , เอ็กโซเซ่ต์ ,เกเบี้ยน, ซี-๘๐๑  หรือ อ-อ ได้แก่ สกายแฟลช สแปร์โร่ว์ ซุเปอร์ ๕๕๐ .................. เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์กับ สามหัวข้อที่จั่วไว้ข้างบน จะขอกล่าวถึงแต่จรวด พ-พ ในเรือ ................. จรวดแบบนี้จะมีระยะยิงค่อนข้างสั้น เนื่องจากจะถูกจำกัดที่เส้นขอบฟ้า  ......... เราทราบดีว่า โลกมีสันฐานกลม ดังนั้น ทะเลอันกว้างใหญ่จะมีเส้นขอบฟ้าเป็นแนวกำบังธรรมชาติ  ลำคลื่นเรดาร์เคลื่อนที่เป็นเส้นตรง ที่ระยะมากกว่า ๒๐ ไมล์ วัตถุหลังเส้นขอบฟ้าเป็นอุปสรรคต่อการทำงานของเรดาร์...................... หลายคนอาจเคยเห็นตัวเลข ระยะยิงของฮาร์พูน ซึ่งอาจมากถึงร้อยกิโลเมตร  ซึ่งจะทำได้ขนาดนั้น   ต้องเกิดขึ้นจากการ ”ร่วมชี้เป้าจากอากาศยานหน้า ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ส่งระยะหรือทิศทางอันเป็นข้อมูล  แต่หมายถึง การกำหนดชี้เป้า เสมือนหนึ่งมีเรดาร์ควบคุมการยิงซึ่งบินล้ำไปด้านหน้า”   หากนึกภาพไม่ออกก็จินตนาการว่า  เราอันเป็นเรือยิงอยู่ห่างจากเรือเป้าหนึ่งร้อยกิโลเมตร    เราต้องส่งเฮลิคอปเตอร์ หรือเครื่องบินซึ่งมีเรดาร์ควบคุมการยิงเสมือนเรือของเรา     บินไปที่ระยะราวครึ่งหนึ่งคือห้าสิบกโลเมตร    ที่ระยะนั้นทำให้อากาศยานของเรา “อาจจะ” ปลอดภัยจากการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก(ถ้าเขามีจรวดพิสัยกลางสอยได้ก็ อาเมน)  ความสูงที่ใช้บินจะทำให้อากาศยานพ้นขีดจำกัดเรื่องเส้นแนวขอบฟ้า แต่ก็นั่นแหล่ะ บินสูงจนเห็นเขาได้ เขาก็เห็นเราได้เหมือนกัน ............

 เมื่อเป็นดังนี้    การยิงก็เริ่มจากอากาศยานหน้าหาเหลี่ยมมุม ทำการล็อคออนเป้า  เราในฐานะเรือยิง ก็ปล่อยจรวด โดยโปรแกรมวิถีโคจรไปในทิศที่อากาศยานหน้ากำหนด    การส่งผ่านข้อมูลการยิง ในลักษณะ คนเล็งกับคนยิงอยู่คนละจุด มันช่างวุ่นวายหน้าดู  อนุมานเหมือนกับ ท่านถือปืนอยู่ที่มุมตึกชี้ปืนไปข้างหน้าโดยไม่เห็นเป้าหมาย แต่มีเพื่อนอีกคนอยู่อีกมุมตึก เพื่อนคนนั้นเห็นเป้าหมายชัดเจน   เขาส่องเล็งด้วยกล้องตรงไปยังเป้าหมาย และรายงานทิศทางมาให้เรา เรามีหน้าที่หักลบกลบมุมไดเร็คชั่นให้ตรงตามนั้น แล้วก็หลับหูหลับตาเล็งยิงไป ซึ่งเหมือนตาปอดปาเป้าไม่รู้จะถูกหรือเปล่า มันช่างยุ่งยากยึกยักซับซ้อนกะไรนี่.........................

โดยรวม อาวุธยิงแบบ เซมิแอคตีปโฮมมิ่ง นี้ จะเป็นแบบเสือปืนไว แบบคาวบอย ฉายเดี่ยว  คือ เหมาะฟจะฟัดกันระยะใกล้ ไม่เกินเส้นขอบฟ้า ยืนซดกันเห็นๆ ตัวต่อตัว เดี่ยวต่อเดี่ยว ใครเร็วใครแม่นคนนั้นชนะ............. เอาหล่ะนั่นเรื่องระยะยิง ทีนี้มาวิถีโคจร   ก็เห็นกันจะๆอยู่แล้ว ว่าเรือปล่อยจรวด ท่านมาจากตรงไหน  เรียกว่า เห็นกำพืดอย่างต่อเนื่อง แต่ตั้งท่าเบ่งหน้าแดงหน้าเขียวแล้ว    การจะลบจุดอ่อนเรื่องการต่อต้านด้วยระบบระยประชิดก็คือ ให้เจ้าทีเด็ดจรวดลูกเขื่องมันมุดต่ำลงเรียดน้ำไปเลย คือยืนจ้องตาเห็นๆกันนี่แหล่ะ แต่ฉันขอปล่อยของแบบให้เอ็งรับยากอ่ะ (เหมือนยิงลูกโทษ ห้ดีต้องเรียดๆ คนยิงกะคนรับมองเห็นลูกกะตากัน แต่ไม่รู้เอ็งจะมาไม้ไหน ยิงเล่นทาง เรียดๆ กระทบดินก่อนหนึ่งที ต่อให้โคตรประตู แบบ บั๊กเต้ด ก็บอกรับยาก) ซึ่งมันก็ไปสัมพันธ์กับความร็ว ที่ความสูงสิบเมตรเหนือยอดคลื่น ไม่มีอาวุธนำวิถีใดบินได้เร็วเหนือสียง แม้แต่ “บามอส” ที่ว่าบินเร็วก็ทำไม่ได้  เพราะตรงนั้นความหนาแน่นอากาศมาก การบินความเร็วซุปเปอร์ที่ความสูงต่ำๆ ย่อมทำความเสียหายให้กับจรวด อาจถึงแหลกเหลวระเบิดกลางเวหาก่อนถึงเป้าหมาย   ที่ว่าบินได้สองมัคนั้น มันตอนโคจรช่วงกลาง บินอยู่เกือบห้ากิโลเหนือพื้นน้ำ .......................

สรุปก็คือ แบบนี้ เหมาะเป็นอาวุธยิงระยะใกล้ ที่คมกริบ และต้องใช้กึ๋นของคนยิงไม่น้อย

๒.      แบบนำวิถีด้วยแรงเฉื่อยในช่วงต้นและช่วงกลาง และ แอคถีฟโฮมมิ่ง(ภาคส่ง) ในระยะสุดท้าย   จรวดแบบนี้มีความอ่อนตัวมากยิงได้ไกล และแม่นยำ เหมาะมากกับเป้าหมายที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงและอยู่ห่างระยะไกลๆ  ที่ใช้ระบบนี้ได้แก่ จรวด อ-อ  บีวีอาร์ แอคตีฟทุกชนิดที่มีอยู่บนโลกขณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น อำราม ไมค่า อำรามสกี้ เมธีเออร์ ๙ล๙  และที่สุดก็พัฒนามาสู่จรวด พื้น-พื้น เช่น บาร์มอส   ข้อดีของการนำวิถีแบบนี้โดยเฉพาะ พ-พ   ก็คือการเอาชนะขีดจำกัดในเรื่องระยะยิง โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูล เรียกว่า ทำให้การส่งต่อข้อมูลมีความอ่อนตัวเละง่ายกว่าแบบ เซมิแอคถีฟเยอะ........................  

หลายท่านคงคุ้นเคยกับคำว่าระบบดาต้าลิ้งค์   ระบบนี้คือการส่งผ่านข้อมูลหรือแชร์ข้อมูลต่อกันเป็นระบบเครือข่าย  ข้อมูลซึ่งถูกตรวจพบและประเมินโดยสมาชิกหนึ่ง  สามารถถ่ายทอดไปสู่สมาชิกอื่นผ่านทางเครือข่าย เป็นสถานการณ์แบบต่อเนื่องไร้ขีดจำกัด...............    หากท่านเป็นหน่วยรบหน่วยหนึ่ง มีที่ตั้งอยู่จุดๆหนึ่ง ท่านสามารถเชื่อมโยงข้อมูล และรับทราบสถานการณ์ทั้งฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก ผ่านเครือข่ายครอบคลุมตลอดบริเวณ   เมื่อเป็นดัง  นี้ก็นำระบบเครือข่ายมาประยุกต์เป็นระบบอาวุธซึ่งมีระยะยิงไกล ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ  ไม่ว่าสมาชิกไหนเป็นผู้ตรวจพบข้าศึก  คำสั่งยิงสามารถทำได้โดยสนับสนุนจากหน่วยยิงอื่นในเครือข่ายนั้น..............................

ทีนี้เรามาดูว่า จรวดพวก แอคตีฟโฮมมิ่ง  มันทำงานกันยังไง    พวกนี้การโคจรช่วงแรกจะใช้การนำทางจากการโปรแกรมข้อมูล  โดยข้อมูลที่ได้รับจะนำไปเป็นไกด์ไลน์ ร่วมกับระบบนำวิถีด้วยระบบแรงเฉีอย  (ผมเคยเขียนไว้หลายตอนมาก เรื่องการนำร่องด้วยแรงเฉื่อย พวก ไจโรสามแกน อันสัมพันธ์ด้วยทิศทาง ความเร่งและความเร็วดังนี้)     คืออนุมานเหมือนขว้างบอลให้หมาไปเก็บ    ระบบเมมโมรี่ในจรวดจะถูกโปรแกรมด้วย ทิศทาง ระยะ และความเร็ว ของเป้าหมาย ซึ่งอาจได้รับจากระบบอำนวยการรบของเรือยิงเอง หรือจากเครือข่ายอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อข้อมูลเพียงพอ จรวดจะรู้แล้วว่าจะต้องพุ่งออกไปในทิศทางและลักษณะไหน     เมื่อยิงออกไป จรวดจะดำรงสถานภาพการโคจร ด้วยระบบนำร่องด้วยแรงเฉื่อยอันสัมพันธ์กับข้อมูลที่ได้รับการโปรแกรมมาเบื้องต้น   ซึ่งกรณีของ บาร์มอส  จรวดจะเหินขึ้นสูงไปหลายกิโล เพื่อเพิ่มความเร็วเป็นซุเปอร์โซนิค เพื่อบินเข้าหาเป้า  ในฉ็อท แอพโพร้ช  จรวดจะลดความสูงลง(ตามการโปรแกรม) เป็นช่วงเวลาเดียวกับ เรดาร์ค้นหาที่จรวดเริ่มทำงานล็อดเป้าในโหมด ฟูล แอคถีฟโฮมมิ่ง  ดำดิ่งเรียดน้ำพุ่งตรงและชนเป้าหมาย.......................

ถึงตรงนี้จะเห็นชัดว่า เจ้าเนี่ย เหมาะมาก กับการรบแบบเครือข่าย และยิงแบบไกลๆ .................. ผมยังมองไม่ออกว่า ถ้า เจอกันเดี่ยวต่อเดี่ยว ระหว่าง บาร์มอส กับ เอ็มๆ สามปด เอ็กโซเซ่ต์รุ่นพระเจ้าเหาที่ยังใช้ได้อยู่   เจ้าบาร์มอส จะสู้ได้อย่างไร   ระยะยิงร้อยกว่ากิโลไม่มีประโยชน์   เพราะเรดาร์ควบคุมการยิงของเรือ ใช้ได้แค่เส้นขอบฟ้า แถมไม่มีตัวช่วยในลักษณะการรบแบบเครือข่าย   และที่สำคัญ เจ้าบาร์มอส ถูกโปรแกรมให้บินโด่งในตอนกลาง  ถ้าเป็นการยิงในระยะยี่สิบไมล์ อาจจะใกล้เกินไป หรือถ้ายิงได้  คนถูกยิงก็ถือว่าหมูมาก เพราะยิงลูกโทษแบบเตะโด่ง ผมเคยเป็นผู้รักษาประตูตอนมอต้น ผมรู้ว่าการบินรับ มันง่ายกว่าพุ่งปัดลูกเรียด แถมรับเสร็จม้วนตัวสองรอบลุกขึ้นมายืยอย่างหล่อ สาวๆกรี๊ดๆกันเกรียว.............................ก็เห็นว่า มันมีดีมีด้อยกันคนละแบบ   ดีมาก ก็มีเสียมาก    อันนี้ธรรมดาครับ

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/03/2012 11:48:17


ความคิดเห็นที่ 13


เพิ่มเติม.....................

เพื่อนมีไอเดีย  หรือเก็ทอะไรบ้างไหม................

ระหว่าง แซม ระยะปานกลาง แบบ เซมิแอคตีฟ โฮมมิ่ง รุ่น สแตนดาร์ด (ในเรือ โอลิเวอร์ หาดสาด เปอรี่)  กับ แซม ระยะ ปานกลาง แบบ แอคตีฟโฮมมิ่ง  ซีสแปร์โร่ว์ ฐานยิงแนวตั้ง..................................

ครับ ถูกต้องแล้ว......................มันคือการรบแบบเครือข่าย....................... ยินดีกับทัพเรือไทย ที่มีระบบนี้ใช้เสียที   เรือหลวงนเรศวร และ เรือหลวงตากสิน จะเป็นหน่วยยิงอันทรงประสิทธิภาพ และเท่าที่เห็น สามารถทำดาต้าร์ลิ้งค์กับกริเพ่นได้ซะด้วย  ยังไงทัพเรืออย่าเอาคืนนะครับ โด่นทัพอากาศเล่นไปสองดอก (ธนบุรี และ ศรีอยุทธยา)  หวังว่าคงไม่มีวันแบบที่เรือศรีอยุทธยาจมนะครับ เพราะจริงๆวันนี้ ทร.บอกว่า ไม่กลัวทัพอากาศแล้ว(ฟ้อย)..................

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/03/2012 12:07:02


ความคิดเห็นที่ 14


เอ๊า.............. ฮาร์พูน เอ็มๆสามแปด สี่สิบ  อินนิเชี่ยน/แอคถีฟโฮมมิ่งหมดเลย   มี กาเบรี่ยว อันเดียว เซมิแอคตีฟ........ฮ่วย........

โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 13/03/2012 13:25:35


ความคิดเห็นที่ 15


เรื่องจรวดส่งตัวจะเป็นเชื้อเพลิงแข็ง พอตั้งลำได้จะใช้เครื่องแรมเจ็ตเชื้อเพลิงเหลวเดินทาง ทำความเร็วในย่าน 2.6-2.8 มัค

มาดูการชนเป้าระดับความสูงราว 10 เมตร อินเดียบอก BLOCK II ชนได้ขนาดเล็กเพียง 1.5 x 1.5 เมตรได้อย่างแม่นยำ ในระยะไกล 290 กิโลเมตร ที่ความเร็วชนเกือบ 3 มัค

รุ่น LAND to LAND หัวรบ 200 กิโลกรัม

 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 13/03/2012 14:28:46


ความคิดเห็นที่ 16


ส่วนหัวมีฝาครอบ เข้าใจว่าเป็นบูสเตอร์ ช่วยปรับทิศทางจรวดให้จากแนวตั้งเป็นแนวนอน ทำให้ยิงได้รอบทิศทาง จะสลัดหลุดหลังปรับทิศทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไม่ทราบผมเข้าใจถูกต้องไหม


โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 13/03/2012 15:53:12


ความคิดเห็นที่ 17


ถ้าเข้าใจถูกต้อง ส่วนหัวครอบจะมีดินขับอยู่ 4 ตัว สมมุติมี  N S  E  W ตามทิศ สมมุติจะยิงไปทิศตะวันออก เวลาจุดจะจุดตัว  W ทำให้จรวดล้มไปทิศตะวันออก

จากนั้นจุดตัว E เพื่อแก้โมเม้นท์(Moment of Inertia)(เวลาเท่าไรจะมีคำนวณตามสูตรของเค๊า) จากนั้นจุดตัว N กับ S พร้อมกัน เพื่อให้ฝาครอบหลุดออก

อากาศจะไหลจากหัวผ่านเข้าไปในห้องเผาไหม้ พอดีกลับที่เชื้อเพลิงแข็งเผาไหม้หมดพอดี ก็ฉีดเชื้อเพลิงใส่เป็นการสันดาปแรมเจ็ต

จากนั้นจรวดจะค่อยๆปรับแก้ทิศทางเพื่อเข้าหาเป้าหมายอีกเล็กน้อยตามโปรแกรมเดินอากาศด้วยแรงเฉื่อยที่ตั้งไว้ 

โดยคุณ pipat2000 เมื่อวันที่ 13/03/2012 17:31:47


ความคิดเห็นที่ 18


พีเจ-10 บรามอส ร่วมพัฒนากับรัสเซีย ซึ่งของรัสเซียใช้ชื่อว่า พี-800 โอนิกส์ชื่อส่งออกยาคอน์ท รุ่นที่2ที่สามารถของรัสเซียที่สามารถโจมตีเป้าหมายจากฐานยิงบนบก เรือรบ เครื่องบิน เรือดำน้ำ ซึ่งบรามกอสไม่ได้โคจรหาเป้าหมายที่14ก.ม. แต่เป็นระบบการค้นหาเป้าหมายแบบแอคทีพและพลาสชีพ

กล่าวคือ บรามอส สามารถพุ่งชนเป้าหมายความสูง10เมตร กรณีใช้อากาศยานชี้เป้าเหนือระยะเส้นขอบฟ้า โดยปิดเรดาห์จนเมื่อใกล้เป้าหมายจึงทำการเปิดเรดาห์ เพื่อค้นหาและพุ่งชน ในระยะใกล้ด้วยความเร็วสูงโดยที่กองเรือป้องกันได้ยาก หรือโคจรจากการยิงที่ความสูง14ก.ม. เพื่อเปิดเรดาห์ค้นหาเป้าหมายและระบุตำแหน่ง ก่อนจะลดเพดานบินก่อนและพุ่งสู่เป้าหมาย โดยระบบค้นหาแบบแพร่เรดาห์และดูดกลืนเรดาห์ สามารถทำให้การพุ่งชนเป้าหมายทำได้ดีขึ้น กล่าวคือ เปิดเรดาห์ในกรณีปกติ แต่หากเป้าหมายแพร่เรดาห์ออกมาเพื่อค้นหาจรวด จรวดก็สามารถใช้เรดาห์ที่แพร่อกมานำทางสู่เป้าหมาย โดยที่เป้าหมายไม่รู้ตัวด้วยความเร็วสูงและป้องกันได้ยาก

คุณลักษณะที่กล่าวมา มีใช้ในจรวดของเรือรบชั้นคิรอฟ ที่ชื่อจรวดคือพี-700  ซึ่งก็คือจรวดรุ่นย่อลงมานั้นเองคือพี-800 นั้นแล

โดยรัสเซียเอา พี-800รุ่นฐานยิงบนบกชื่อว่า บาสชั่น-พี เข้าประจำการและได้รับความสนใจจากเวียดนาม เช่นกัน โดยรัสเซียเน้นความสนใจรวดไปที่ เคเอช-35 3เอ็ม-80 และ 3เอ็ม-54 ที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เข้าประจำการแทน โดย เครื่องบิน ที-50 เองก็จะได้รับการติดตั้ง 3เอ็ม-54 ที่มีคุณลักษณะบินต่ำและความเร็วสูง มาใช้

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 13/03/2012 18:55:14


ความคิดเห็นที่ 19


ลองดู Clip อย่างละเอียดมาครับ 

BrahMos ยาว  8.4  Booter ประมาณ 1.5  = 6.9 m
 

1.24.929-1.25.056

127 msec เดินทางได้ 25-30 m  ฉะนั้น  1 วินาทีได้  195 - 233 m/sec ครับ หรือประมาณ 0.66 -0.78 Mach ครับ  เพราะฉะนั้นแล้ว Terminal Phase ของ BrahMos เองก็ยังเป็น Subsonic แบบอาวุธปล่อยทั่ว ๆ ไปครับ
 

ถึงแม้นว่า Clip นี้อาจจะเป็นเพียงแค่การทดสอบ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่ตัว BrahMos เองจะเร็ว
จริง ๆ จัง ๆ ได้เฉพาะตอนที่บินเดินทางในเพดานบินสูงเท่านั้นหรือ  ส่วนที่เพดานบินต่ำก็อาจจะเร็วกว่าเสียงนิดหน่อยเท่านั้น   เต็มที่ไม่น่าเกิน 1.5 Mach   ครับ 


โดยคุณ Logieng เมื่อวันที่ 13/03/2012 22:34:32


ความคิดเห็นที่ 20


คุณ Ramjet ผมแค่เสนอตัวอย่างเท่านั้นครับ ถ้าคิดวิถึทางตัดอากาศออกไปได้หรือรบกวนการเผาไหม้ได้ การเผาไหม้ในห้องครื่องก็จะไม่เกิดแม้จะเป็นช่วงเวลาไม่กี่วิก็พอ

โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 14/03/2012 17:07:05


ความคิดเห็นที่ 21


ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความรู้ครับ

 


โดยคุณ tks เมื่อวันที่ 14/03/2012 17:29:14