1 . ในคลิป มันเป็นการยิงจริงๆ หรือทดลองครับ เพราะผมเห็นคลิปในแนวนี้มากเหลือเกิน
2. หากเป็นการทดลองยิง เขาก็ไม่ได้ยิงใส่เครื่องบนรบจริงๆ แล้วเขาจะรู้ได้ไงว่ามันมีประสิทธิภาพมากพอในการที่จะยิงเครื่องบินรบที่บินผ่านมาด้วยความเร็วสูงๆ
3. Brahmos มีการทดลองให้เราเห็นในการยิงเป้าหมายได้จะๆ แต่เราไม่เคยเห็นว่าเขาจะเอา S-300 มายิงเครื่องบินรบให้ดูเลยครับ แล้วแบบนี้หากรัสเซียทำจรวดออกมาขาย ก็สามารถหลอกเราได้เปล่าครับ ว่ามันยิงเครื่องบินได้ และมีความเร็วมากๆ แต่ในคลิปเราไม่เห็นว่ามันจะมีความเร็วสูงและยิงเครื่องบินรบให้เราเห็นเลยครับ
4. ทำไมรัสเซียไม่เอาเครื่องบินรบจริงๆมาบินผ่านด้วยความเร็วสูงสุด แล้วเอา S-300 ทดลองยิงครับว่ามันตามเครื่องบินรบทันหรือเปล่า แบบว่า ถอดหัวระเบิดออกจากลูกจรวด แค่นี้นักบินก็ไม่ตายแล้วครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ
ตอบเลยนะครับ
1. S-300 ยังไม่เคยมีประวัติการใช้งานในสงครามมาก่อน ดังนั้้นฟันธงว่าซ้อม
2. การซ้อมเขาก็ยิงอากาศยานไร้คนขับไงครับ พวกเป้าบินสารพัดแบบ
3. ตามที่บอกไปแล้วว่าเวลาโชว์เขาใช่โดรน เรื่องการหลอกนั้นคิดเอาง่ายว่าถ้าหาก s-300 มันห่วยจริง รัสเซียเองคงไม่ประจำการเป็นพันระบบหรอกครับ สิ้นเปลืองเงินตายพอดี
4. ก็อย่างที่บอกนะครับว่าใช้โดรนดีกว่า ถ้าใช้นักบินบินเครื่องจริงๆ แล้วยิงด้วย s 300 โดยถอดหัวรบออก เกิดโดนขี้นมาเครื่องก็ระเบิดได้เหมือนกันนะครับ ขนาดโดนปืนเครื่องบินยังตกได้ แล้วคิดดูราคาเครื่องบินรบลำละเท่าไรเป็นพันๆ ล้านบาท ไม่คุ้มครับ
รัสเซียใช้ยิงโดรน อากาศยานไร้คนขับ ที่มีความเร็วต่ำมาก พอเจอ F22 F15 ที่มีความเร็วสูง คงไล่ตามไม่ทันเพราะไม่คอยลองกับของทีเร็วๆๆ
ลูกจรวดS-300ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่?F-15ความเร็วสูงสุดเท่าไหร่?ลองหาข้อมูลแล้วเอาไปคิดเล่นๆดูนะครับว่ามันจะยิงโดนไหม
ความเร็วของจรวดขึ้นอยู่กับรุ่นที่ใช้งานด้วย ลูกจรวดบางรุ่นเร็วเกือบ4มัค
สรุปง่ายๆเลยคือ ถ้าเอาเครื่องบินจริงมาเป็นเป้าซ้อมยิง มันเปลืองครับ ให้อย่างมากเลย เอาเครื่องบินจริงมายิงเล่นแล้วถ่ายเก็บไว้โปรโมทตัวเองเท่านั้น ไม่เอาเครื่องบินจริงมาซ้อมยิงกันหรอกครับ ส่วนใหญ่จะใช้โดรนในการล่อเป้าเท่านี้ก็พอแล้วครับ ประหยัดการค่าฝึกซ้อมได้มากทีเดียว สหรัฐก็ยังใช้โดรนเหมือนกันครับ
ระบบแซม โดยเฉพาะยิงจากภาคพื้นหาภาพเวลาวิ่งชนเป้ายากครับ ใครจะไปตามถ่ายระยะ20ก.ม. แถมเร็วและบินสูงด้วย แทบทุกรุ่นในโลกส่วนใหญ่เลยเห็นแต่ตอนยิง อีกอย่างตอนกระทบเป้าก็เหมือนข้างต้นเขาให้เรดาห์ในการควบคุมการยิง มีแต่เรดาห์เท่านั้นที่เห็น จรวดไม่ได้กระทบเป้าหมายภาคพื้นที่อยู่เห็นจะๆแบบ บรามอส ฉะนั้น ก็นั้นแลไม่มีใครตามถ่ายครับ ทั้งสูง เร็ว ไกล
ตัวจรวดเขาไม่ได้ยิงแบบสตาร์ทพร้อมเครื่องบินแต่รอเครื่องบินมาในระยะแล้วใช้ความเร็วต้นที่สูงกว่าพุ่งหาเป้าหมายครับ
รู้ไหมว่ารัสเซียทดสอบs-300 กับอะไร ???????????
ก็กับmoskit ไงล่ะ ความเร็วสูงสุดคือมัค3
หรือบางทีก็ใช้เป้าทดสอบความเร็วสูง
ส่วนs-300PMU2 ลูกจรวด48N6E มีความเร็วมัค6 ทำไมจะสอยเอฟ-22 ความเร็วมัค2กว่าๆไม่ได้ แถมรับg-load ได้ถึง10กว่าG ต่อให้เอฟ-22ผลาดแผลงอย่างไรก็โดน ส่วนเรื่องการตรวจจับได้นั้น ใมันมีคำตอบอยู่ในตัวเองแล้วว่า ทำไมสหรัฐถึงพยายามกดดันรัสเซียไม่ให้ขายระบบนี้ให้อิหร่าน และ ทำไมสหรัฐถึงทุ่มเทให้กับระบบUCAV ก็เพราะระบบนี้เสี่ยงเกินไปที่จะเอามนุษย์ขับเครื่องบินไปทำลายนั่นเอง
เรื่องข้อมูลอย่างละเอียด เคยเขียนไว้ในbloggang
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=nanasarawithicy-cmu&month=12-2007&date=28&group=4&gblog=3
นี่คือเป้าจำลอง
555 เเค่เห็นความเร็วของมันก็รู้เเล้วทำไมจะตาม f-15 f-22 ไม่ทัน |
โดยคุณ : bigshield วันที่ : 2012-02-27 17:15:41
ด้วยความเคารพ จรวดยิงทางดิ่งต้องต้านแรงดึงดูดโลก ช่วงแรกจะช้า แต่ภายหลังจะเร็วมาก เหมือนกับการยิงจรวดอพอลโล่ หรือกระสวยอวกาศ ซึ่งต้องมีความเร็วสุดท้ายถึงมัค34 เพื่อให้ถึงescape velocity ช่วงแรกก็ช้าเช่นกัน แต่จรวดขนส่งมนุษย์ไม่สามารถเร่งความเร็วได้มากเพราะจะเกิดแรงGสูงมากจนอาจอัดนักบินอวกาศตายได้ แต่สำหรับอาวุธแล้ว การเร่งความเร็วไม่ใช่ปัญหา อยากจะแนะนำด้วยความเป็นห่วงว่าบางทีการอ่านหนังสือเยอะๆก็ช่วยได้ หากจะศึกษาเรื่องนี้จริงๆจังๆ
|
ส่วนเรื่องถอดหัวรบแล้วยิงใส่เป้าเครื่องบินมีคนขับนั้น
จะขออารัมภบทเรื่องKinetic energy หรือพลังงานจลน์เสียหน่อย (จริงๆต้องกล่าวไปถึงกฏ3ข้อของนิวตันด้วย)
การเคลื่อนที่ของวัตถุนั้นจะมีพลังงานจลน์เกิดขึ้นเสมอ(เพราะต้องมีพลังงานทำให้วัตถุเคลื่อนที่) และเมื่อวัตถุหยุดเคลื่อนที่ ตามกฏทรงพลังงานวัตถุจะเปลี่ยนพลังงานเหล่านั้นเป็นพลังงานรูปแบบอื่น เช่นเสียง ความร้อน แสง
พลังงานจลน์มีสูตรดังนี้ E=1/2 MV2
mคือมวลหน่วยคือกิโลกรัม vคือความเร็วหน่วยเป็นเมตร/วินาที eคือพลังงานมีหน่วยเป็นจูลส์
ตัวอย่างของอาวุธพลังงานจลน์ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ กระสุนเจาะเกราะของรถถัง ซึ่งไม่มีดินระเบิดด้านใน และใช้พลังงานจลน์ในการเจาะเกราะล้วนๆ ลูกดอกของกระสุนเจาะเกราะAPFSDS แบบM829a1 มีมวล 4.6kg ความเร็วปากกระบอกคือ 1575m/s คิดเป็นพลังงาน 5.7เมกะจูลส์ ซึ่งสามารถเจาเกราะหนา600mmได้ที่ระยะ3กม. ซึ่งพลังงานจะแปรเป็นความร้อนสูง เสียง(ช็อคเวฟหรือการขยายตัวของอากาศก็คือเสียงรูปแบบหนึ่ง) และแสง ที่ทำลายรถถังได้ทั้งคัน
ถ้าs-300ถอดหัวรบชนเครื่องบิน ลูกจรวด48n6e มีน้ำหนัก 1800kg วิ่งด้วยความเร็ว2000m/s จะเกิดพลังงาน 3.6กิกะจูลส์
คิดหรือว่านักบินจะรอด ?????
แต่ลูกจรวด48n6e ติดหัวรบขนาด 150kg ใช้ชนวนเฉียดระเบิด ซึ่งพลังงานจะถูกใช้ในการทำให้เกิดแรงอัดของอากาศและสะเก็ดความเร็วสูง ทำลายเครื่องบินได้ถึงแม้ไม่ยิงโดนจังๆ
(ระเบิดขนาด250ปอนด์ มีรัศมีการทำลายจากสะเก็ดไกลได้หลายสิบเมตรหรืออาจจะถึงร้อยเมตร)
เจ้าเสาโทรเลขหรือSA-2นั้น มีหัวรบขนาด200kg แต่ความแม่นยำแย่มาก สามารถยิงเครื่องบินระดับมัค2อย่าง เอฟ-4แฟนธอม เอฟ-105ธันเดอร์ชีฟ เอฟ-8ครูเซเดอร์ ของสหรัฐตกได้เป็นกอบเป็นกำ ทั้งๆที่เลี้ยวก็แย่ ระบบนำวิถีก็ห่วย แต่ด้วยความเร็วสูงและหัวรบขนาดมหึมา เครื่องบินสหรัฐก็โดนสะเก็ดจากหัวรบของSA-2 ร่วงจากการร่วงทั้งหมด740ลำ ร่วงจากsa-2 ถึง200กว่าลำ และบี-52อีก17ลำ
ทำไมระบบทันสมัยอย่างS-300 จะทำลายเครื่องบินแบบf-15 ไม่ได้ ??? คำตอบมีอยู่แล้ว
การระเบิดของหัวรบSA-2 กับเครื่องRF-4C รัศมีการทำลายไกลมาก
Credit: ausairpower
แล้ว S-300 ใช้ต่อต้าน แพททิออดได้รึปล่าวครับ
จะว่าไปการทำสอบหรือซ้อมรบของรัสเซีย เป้าซ้อมยิงที่ส่วนตัวอ่านเจอในตอนนี้คือการนำจรวดแซมด้วยกันมาทำเป้าซ้อม รุ่นอื่นๆนอกจากที่ท่านสมาชิคข้างต้น คือการนำSA-4กาเนฟ(2K11) ซึ่งเป็นแซมพิสัยกลางมาใช้ทำเป้าลวง และเสนอส่งออกในปี1994ใช้ชื่อว่า9M316M Virazh เห็นขนาดใหญ่ๆเทอะทะ ก็สามารถเร่งความเร็วได้ถึง4มัคเลยล่ะ นอกจากนั้นก็มี9F841 SamanหรือSA-8เก็คโค่ มาทำเป้าซ้อมยิงทำความเร็วได้ราวๆ1.4มัค ในระยะ5ก.ม. เริ่มนำมาใช้ทดสอบในปี1996ทดสอบกับS-300Vจำนวน3ระบบ Buk-M1จำนวน26ระบบและTor-M1อีก3ระบบ ในระบบผังป้องกันทางอากาศทุกระยะยิง(ไกลสุด-กลาง-ใกล้) โดยใช้เป้าซ้อมแบบOsa-AKMก็คือฐานควบคุมการยิงระบบSamanจำนวน20ระบบ
ไม่แปลกที่สหรัฐจะมีปัญหากับรัสเซียในการจัดหาระบบแซมตัวใหม่ๆตอนแรกจากS-300 จนถึงTor-M1 ที่มีระยะยิงใกล้สหรัฐเองก็ยังไม่อยากให้รัสเซียขาย โดยระบบBuk-M1/M2M/2MKE Tor-M1/M2/M2E สามารถโจมตีเป้าหมายตั้งแต่จรวดนำวิถีไปจนถึงระเบิดร่อน
อันเนื่องมาจากระบบเป้าซ้อมของรัสเซียโดยเฉพาะSamanมีขนาดที่เล็กสุดและเร็วสุด1.4มัค ซึ่งยากพอที่ระบบแซมจะทำการยิงให้โดน ก่อนหน้านี้รัสเซียทดสอบSA-2/3/4/6 กับLA-17Kของลาวอสคิน แต่มันทำความเร็วได้ราวๆ0.9มัคเอง
แพรทริออต เป็นอวป.พื้นสู่อากาศเหมือนs-300ไม่ใช่เป้าหมายของS-300 หรือระบบSAM ใดๆ แต่หากจะยิงก็คงจะได้ เพราะs-300PMU2 มีความสามารถในการสกัดกั้นอาวุธนำวิถีต่างๆอยู่แล้ว (โดยเฉพาะขีปนาวุธพื้นสู่พื้นพิสัยใกล้/ทางยุทธวิธี อย่างสกั๊ด หรือ ATACMS )
เพิ่มเติมภาพเป้ายิงถูกทำลาย
ขอเสริมท่านmig31 เรื่องสเป็คของเป้ายิงของรัสเซีย (เป็นเป้าความเร็วเหนือเสียงทั้งสิ้น)
จากเว็บhttp://militaryforces.ru/training_targets.html
จากในคลิป
96M6M
Caliber, mm
|
250
|
Length, m
|
5.72
|
Weight, kg
|
330
|
Missile climb altitude, km
|
46
|
Range to fall point, km
|
100
|
Motor operation time, s
|
4.5 - 9
|
Maximum speed of training target, m/s:
|
|
at end of active flight leg
|
1,300
|
at 20 km altitude
|
|
at trajectorys descending leg |
830
|
Fall zone measured
|
|
from estimated point, km:
|
|
in range
|
±9
|
in deflection
|
±6.5
|
Total time of flight, min
|
3.2
|
Operating temperature range, oC |
±40
|
9F841 Saman
Launch weight, kg
|
123.5
|
Flight range, km
|
up to 22
|
Flight altitude envelope, km
|
0.05 - 5
|
Flight speed in employment zone, m/s
|
150 - 250
|
Maximum flight duration, s
|
120
|
Control
|
radio command and
|
|
autonomous by program
|
ERA at 15 GHz frequency, m2
|
0.6
|
Fall sector, deg
|
±3
|
Overall dimensions, m:
|
|
length
|
3.16
|
diameter
|
0.21
|
wing span
|
0.65
|
Training target set
|
9F691
|
Number of ATS per combat vehicle
|
6
|
Range, km:
|
|
flight with radio control
|
13.5
|
possible self-destruction of ATS
|
11
|
Warmup time, min
|
1
|
Strizh
Launch weight, kg
|
4,000
|
Flight altitude, m
|
1,000 - 30,000
|
|
(50 - 1,000 with radio altimeter) |
Flight range, km
|
50 - 200
|
Flight speed, m/s
|
1,200 - 150
|
Propulsion
|
two-rating two-component
|
|
liquid propellant rocket motor |
Control
|
autonomous, using
|
|
program or radio commands |
ERA, m2:
|
|
basic missile
|
0.1 - 0.3
|
missile with Luneberg lens
|
1.5 - 2
|
Operational reliability
|
|
(trouble-free operation factor)
|
at least 0.8
|
Overall dimensions
|
|
(length x diameter x wing span), m |
12 x 0.65 x 2.6
|
หมายเหตุ ความเร็วเสียงที่ระดับน้ำทะเล=341m/s
555+ ขำ ทำไม มันจะยิงไม่ตก ถ้าอยู่ในรัศมีและโดนเจ้านี่ล็อกเป้าเรียบร้อย F-22 ก็ตามเถอะ หนาวๆร้อนๆ เหมือนกันแหละ
ส่วนความเร็ว ไม่ต้องพูดถึง S-300 มันมีความเร็วที่เหนือกว่า F-22 อยู่แล้ว โดนเจ้านี่ล็อกเป้า ตามแป๊ปเดียวก็ทัน และไม่จำเป็นต้องวิ่งชน แค่วิ่งเข้าไปใกล้ๆ แล้วระเบิด หรือวิ่งชนเลยก็ได้
ถ้าจำไม่ผิด มันเคยสอย F-117 ของเมกา ร่วงมาแล้วนิ ในสงครามโคโซโวเปล่า จำไม่ค่อยได้
อย่าคิดดูถูกอาวุธของค่ายหมีสิ อาวุธเขา ก็ได้รับการวิจัยและพัฒนาให้ก้าวล้ำเหมือนกัน
ปล.แล้วทำไม เมกา ต้องกลัวมันด้วยแหละ ทำไม ถึงไปกดดันไม่ให้รัสซียขายระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศนี้ ให้กะอิหร่าน ถ้าคิดว่า มันกระจอก แล้วจะไปกดดันมันทำไม
เทียบขนาดเป้าซ้อมยิงที่รัสเซียมี อันแรก RM-5V27 PISHCHAL TARGET MISSILEพื้นฐานจากSA-3กัว
9F841 SAMAN TARGET MISSILEพื้นฐานจากSA-8
La-17K โดรนที่นำมาทดสอบในราวทศวรรษ1960
ส่วนโดรนของอเมริกาที่หาเจอในตอนนี้ว่าเร็วสุดคือ BQM-34Fทำความเร็วได้ราวๆ1.6มัค พัฒนาในปี1968-69
กรณีหัวรบมีการพัฒนาไปมากโดยหัวรบในรุ่นของแซมต่อต้านอากาศยานหนักสุดเท่าที่มีมาของรัสเซียใช้ยิงอากาศยานคือSA-5แกรมม่อน หัวระเบิด217กก. รุ่นต่อมาพวกSA-300ทั้งหลายหัวรบจะอยู่ที่150กก. ซึ่งก็มีการพัฒนาดินระเบิดแรงสูงเข้าไปแทนที่ แต่เอาอภิมหาหัวรบหนักจริงๆต้องรุ่นสกัดกั้นICBMอย่างABM-1กาลอชหัวรบA-350ดินระเบิดหนัก450กก. แต่เหมือนจะหนักสุดแล้ว อินเดียพัฒนาระบบป้องกันICBMชื่อPrithvi I หัวรบ1ตัน พอรุ่น2 หัวรบเหลือ500กก.
แรงระเบิดขนาดนี้ต่อให้รถเกราะโดนระเบิดใกล้ๆก็ยังไม่แน่เลยหัวรบหลัก100กก. ยิ่งเครื่องบินที่วัสดุบางๆกระจุยไม่เหลือค้าฟ
เรียงจากบนABM-1กาลอชของรัสเซีย
F-117 โดนสอยในโคโซโว ด้วยจรวดโบราณอย่างSA-3ซึ่งโบราณมากถึงมากที่สุด สร้างในยุคปลาย50s ประจำการยุค60s ซึ่งโดนสอยด้วยระบบกล้องกลางคืนและกล้องสร้างภาพความร้อนที่ดัดแปลงขึ้นโดยยูโกสลาเวียเอง
และF-16 ก็โดนสอยด้วยระบบโบราณแบบนี้เช่นกัน ทั้งๆที่นาโต้ใช้ระบบECM และ แจมระบบป้องกันภัยทางอากาศอย่างหนาแน่น .............
หรือล่าสุด Tu-22M3 ของรัสเซียโดนสอยโดยSA-6ของจอร์เจีย ที่โบราณพอกัน และรัสเซียก็มีเครื่องแจมเมอร์เช่นเดียวกับนาโต้ ....
SA-5 และ ABM-1 ถ้าจำไม่ผิด สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ได้ เช่นเดียวกับระบบ NIKE-ZEUS/Herculesและ Spartan
นัดเดียวร่วงทั้งฟ้า
โดนมากับตัวสมัยยังเล่นเกมwings over europe แล้วจัดmod SA-5 ติดหัวนิวเคลียร์ไป เห็นแสงระเบิดก็ร่วงแล้ว ........ตายอนาถ
กรณีF-117 หลาบบทความอ้างว่าโดนปตอ.มั่งล่ะ SA-3ไม่ก็SA-6 แต่ส่วนนึงที่น่าสนใจคือระบบค้นหาเป้าหมายและควบคุมการยิงของยูโกฯแบบพลาสชีพที่ดูดสัญญาณที่แพร่ออกมาจากF-117
ส่วนที่โดนยิงกันก็ไม่รู้ว่าประมาทคู่ต่อสู้กันหรือไม่ เพราะอิสราเอลเคยรบกับเลบานอนหรือซีเรียเนี้ยแล ทำการแจมสัญญาณเรดาห์ควบคุมการยิงSA-6และทำการยิงทำลายด้วยจรวดต่อต้านเรดาห์ ซึ่งประเทศที่ดูเหมือนจะมีประสบการณ์ในการปะทะแซมรัสเซียมากสุดก็อิสราเอลเนี้ยล่ะครับตั้งแต่รุ่นSA-2/3/6ส่วน8ไม่แน่ใจ แต่ระบบควบคุมการยิงแบบแรกๆของรัสเซียเป็นแบบความถี่เดียวโดนแจมง่าย
ในอนาคต การพัฒนากองทัพของเพื่อนบ้าน รอบๆไทย ก็จะมีประจำการอยู่แล้วหละ คงมีการประจำการเครื่องบินตระกูลซู SU แน่ / รถถัง T-90 / ระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300,S-400
ระบบจรวดต่อสู้อากาศยาน ค่ายพี่หมี มีแต่ของหนักๆ ทั้งนั้นแฮ่ะ และได้รับการพัฒนาตลอด
รถถัง ตระกูล T-90+ นี่ ของพี่หมี ก็น่าใช้เหมือนกันแฮ่ะ
ตามนั้นครับ กรณี F117 ที่โดนสอยโดย SA3 ซึ่งอยู่ในโหมด stealth มาจาก Passive Radar & PCL (Passive Coherent Location) Systems
โดย KRTP-86 TAMARA มีส่วนสำคัญในการแกะรอยจากระบบพิสุจน์ฝ่าย IFF ของ F117 ลำที่โชคร้าย
ถ้าใช้งบเท่ากัน เครื่องบินรบมันจะมาสู้อาวุธภาคพื้นที่เป็นระบบป้องกันภัยทางอากาศได้ไงอะ
s300 น่าจะแพงมากไม่รู้อิหร่านมีใช้ไหมครับ
อันนี้ก็น่าสนใจ (ลองฝังคลิปนะครับ)
S-300 แพงไหม ขนาด Tor-M1 ระบบละ 25 ล้านดอลล่าร์ ราวๆ 750 ล้านบาท ลมจับ แบบนี้ S-300 จะเท่าไร เวียดนามทุ่มทุนสร้างจริงๆ ได้กลายเป็นกรีซง่ายๆ ^^